Reflection 1 สะท้อนการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2


สถานที่: ศูนย์เครือข่ายฝึกอบรมปัญญาปฏิบัติ นครปฐม

กิจกรรมที่ได้ไปทำรู้สึกอย่างไร

                เป็นการลงชุมชนครั้งแรกที่มีแค่นักศึกษาปี3และอาจารย์ ใส่ชุดวอร์ดลงชุมชนครั้งแรก รู้สึกต้องรับผิดชอบการดูแลผู้ป่วยเต็มตัว ทั้งตื่นเต้น กังวล แล้วก็กลัวว่าจะทำพลาด ทำได้ไม่ดี กลัวว่าความรู้ของตนไม่เพียงพอที่จะรักษา/แนะนำผู้ป่วยที่เราอุตส่าห์ไปหาถึงบ้าน หลังจากได้ลองลงชุมชนไปเยี่ยมบ้านครั้งแรกเข้าหาพูดคุยแนะนำวิธีต่างๆให้ลุงส.(นามสมมุติ) รู้เลยว่าตนเองยังมีความรู้ไม่มากพอ ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหนทำอะไรก่อนหลัง รู้สึกอึดอัดทุกครั้งที่เกิดความเงียบขึ้นไม่รู้จะถามอะไรต่อและยิ่งไม่รู้วิธีแก้ท้องอืดทำให้ช่วยอะไรลุงส.ไม่ได้เลยจนอาจารย์ต้องเข้ามาช่วยทำให้ บางอย่างแม้จะเคยเรียนมาแต่เมื่อไม่ได้ใช้กลับจำไม่ได้พอเวลาใช้จริงก็ลืม เช่น สิทธิ์ของผู้พิการเรื่องการขอรถนั่งคนพิการ หลังจากเยี่ยมบ้านได้ไปฟังเรื่องเกษตรอินทรีย์ของชุมชนคลองใหม่ที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบธกส.ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้สึกทึ่งกับคุณลุงที่เริ่มโครงการ จากอาการป่วยของตัวเองแล้วอยากหายเลยเริ่มทำเกษตรอินทรีย์ เมื่อทำออกมาได้ดีก็นำไปบอกต่อคนอื่นเพื่อให้สุขภาพและรายได้ที่ยั่งยืน

ได้เรียนรู้อะไรจากการไปทำกิจกรรม
      -วิธีการแก้ท้องอืด ใช้หมอนพิงหลังให้นั่งตัวตรง 90 องศา(นั่งหลังตรง)  โน้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย ค้าง 5 วินาที/ครั้ง ทำเมื่อว่าง และท่านวดท้อง 3 ท่า ทำก่อน-หลังอาหารทุกมื้อ ให้ทำ 5 รอบ ท่า1)ให้กดท้องฝั่งขวาในแนวเดียวกับสะดือ จากนั้นกดวนลงมาจนถึงใต้สะดือเป็นจุดที่7 และให้กดต่ำลงมาเป็นจุดที่8 และกดต่ำลงมาอีกแล้วให้หมุนวนที่จุดสุดท้าย ท่า2) ให้กดเหนือสะดือ ฝั่งขวา แล้วกดไล่ลงมา อีก 2 จุด จากบนลงล่าง ท่า3) ให้เขย่าท้อง โดยจะเขย่าในระนาบเดียวกับท่าที่2 จากบนลงล่าง และแนะนำให้กินน้ำมันละหุ่งเพื่อให้ถ่าย(น้ำมันละหุ่งเป็นยาระบาย) ทานอาหารที่มีกากใย ทานข้าวให้ตรงเวลาให้ตรงเวลา

      -สิทธิ์ของผู้พิการ สามารถขอรถนั่งคนพิการได้หนึ่งคัน/5 ปี และถ้าเสียสามารถซ่อมได้ตลอด

      -การทำเกษตรอินทรีย์ ลดการเจ็บป่วยจากสารเคมีทั้งตัวเกษตรกรและผู้บริโภค การจะทำได้บริเวณรอบๆก็ต้องทำด้วยไม่อย่างนั้นก็แทบจะสูญเปล่าเพราะละอองสารเคมีมีสิทธิ์ปลิวมากับลม

นำไปพัฒนาในวิชาชีพกิจกรรมบำบัดอย่างไร
      -การทำเกษตรอินทรีย์ในผู้ป่วยที่ต้องทำอาชีพเกษตรกรแต่มีสุขภาพที่ไม่ดี เราสามารถแนะนำกับผู้รับบริการที่สนใจต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ หรือแม้กระทั่งแนะนำให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหันมาบริโภคพืชผักที่ไม่ใช้สารเคมี

      -ศึกษาสิทธิ์ของผู้พิการเพื่อให้สามารถแนะนำได้อย่างเหมาะสมและเพื่อไม่ให้ผู้พิการเสียสิทธ์ของตัวเองไป จดจำเครือข่ายที่สามารถให้ความช่วยเหลือหรือเกี่ยวข้องกับผู้พิการคนนั้นเพื่อให้เขาได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

หมายเลขบันทึก: 675005เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2020 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท