ชีวิตในโรงเรียนในประเทศไทย: การทำลายกัน, การลงโทษเพื่อคายความลับ, การว้าก, สงครามระหว่างแก๊งมีอยู่ทั่วไป


-แก๊งนักเรียนไทยต่อสู้กันด้วยปืน, มีดพร้า, มีด, ระเบิดที่ทำมาจากที่บ้าน บ่อยครั้งในตอนกลางวัน

-การทรมาน และบางครั้งการว้ากที่รุนแรงจะเป็นสิ่งที่พบมากในประเทศไทย

................

Kollawach Doklumjiak อยู่ในช่วงกลับบ้านในกรุงเทพฯ เมื่อมีวัยรุ่นหลายคนใช้มีดแทงเขา พวกวัยรุ่นเจอเขาบนถนน และปรี่มาแทงเขาทันที

Kollawach เคยเป็นนักเรียนเทคนิค ในช่วงวัยนี้ พอเจอเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง ก็เป็นเหตุผลที่เพียงพอแล้วสำหรับการโจมตี “พวกเขาต้องการจะแทงฉัน” เขาพูดเสียงเบาๆ ซึ่งตอนนี้เขาเป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ “พวกเขาต้องการที่จะฆ่าฉัน”

เขาหนีรอดมาโดยการกระโดดลงไปในคลองที่เน่า  ที่หาได้ไม่ยากในเมือง ซ่อนตัวในน้ำเน่าเหม็น สุดท้ายพบที่ปลอดภัยในวัดพุทธ

เขากล่าวว่า อาราม เป็นที่ที่สงครามระหว่างแก๊งวิทยาลัยเทคนิคไม่เกิด ซึ่งการต่อสู้ของพวกเขาคือกลางถนนในวันฟ้าใสบนถนนในกรุงเทพฯ พวกเขาจะใช้ปืน, มีดพร้า, มีด, และระเบิดที่ทำมาจากบ้าน

“ถึงจะมีสถานีตำรวจอยู่ใกล้ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย” ยังเคยมีการต่อสู้ในนั้น “เจ้าหน้าที่มักมองไปทางอื่น หากเขามีจำนวนมากกว่า”  Kollawach กล่าว

ปกติแล้ว กลุ่มเยาวชนจะตั้งเป็นแก๊งให้เท่ากับคู่แข่ง การโจมตีคือการต่อยแล้วหนี มุ่งหวังเพียงประการเดียวนั่นคือได้สิ่งที่เป็นอนุสรณ์หรือสิ่งที่ได้จากข้าศึก เช่น ตรา หรือหัวเข็มขัดที่มีชื่อโรงเรียนของฝ่ายตรงข้าม 

การดักซุ่มทำร้ายเป็นเรื่องปกติ Peng อดีตนักเรียนเทคนิค ซึ่งชื่อนี้เป็นชื่อสมมติขึ้นมา  เขากล่าวว่าได้เคยยิงนักเรียนเทคนิคที่เป็นคู่อริในธนบุรี เป็นเรื่องฉาวโฉ่ที่ว่านักเรียนที่เรียนเทคนิคจะมีการทะเลาะเพื่อชิงพื้นที่ (turf war)

ตอนนี้ Peng อายุ 20 แต่ยังจำได้ดีถึงนักเรียนที่กำลังรอรถเมล์ เขามีปืน และยิงออกไป 3 นัด โดยไม่มีคำเตือน “ฉันยิงเขาทางด้านซ้าย และวิ่งหนีไป” เขารำลึกถึงมันด้วยความภาคภูมิใจ

เขากล่าวว่า “เขาคงทำเช่นเดียวกับฉัน มันคล้ายกับสัตว์ประหลาดและนักล่า พวกเขาล่าเรา และเราล่าพวกเขา”

ฉากที่ต่อจากนี้เหมือนกับ  Kollawach

เย็นวันหนึ่งหลังจากเลิกเรียน เขาพร้อมเพื่อน 2 คนกำลังยืนอยู่ เมื่อมีวัยรุ่น 2 คน ขี่มอเตอร์ไซค์เข้ามา หนึ่งในบรรดาของพวกเขายิงปืนลูกซอง และกำลังเหนี่ยวไก Kollawach ถูกยิงที่รักแร้ แต่เพื่อนอีกคนโชคร้ายมาก เขาถูกยิงที่หัว สมองเขาได้รับความกระทบกระเทือน

เขาพูดว่า “นักเรียนคนอื่นๆกล่าวว่าเธอต้องสู้เพื่อโรงเรียน เมื่อใดก็ตามที่เธอจมอยู่ในความเชื่อนี้ เธอก็ต้องต่อสู้เพื่อชีวิตของเธอด้วย”

Kollawach คนที่เติบโตในสลัมในเมือง ถูกกดทับด้วยความรุนแรง และการทำร้ายกัน ตอนนี้ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแก๊งของโรงเรียน นั่นคือ “เพื่อความอยู่รอดของตนเอง” เขาไม่อายที่จะต่อสู้ หากจำเป็นจริงๆ

เขามีปัญหากับกฎหมายด้านครอบครองอาวุธที่ผิดกฎหมาย และความผิดอื่นๆ เขาย้ายโรงเรียนหลายครั้งเพื่อความปลอดภัย เขายังคงรังเกียจในการใกล้กับอดีตเพื่อนร่วมโรงเรียน ที่ขอร้องให้เขาถือมีด

เขากล่าวว่าปืนยังคงหาได้ง่าย “มันง่ายที่จะถือปืนในโรงเรียน ฉันเอาปืนมาได้ในพริบตา”

ปืนปากกาที่ยิงได้ทีละนัดสามารถหาได้ในโรงเหล็กในสถานที่ทำงานของเด็กเทคนิค ปืนปากกาใกล้เคียงกับปากกา แต่อำนาจทำลายล้างหากยิงใกล้ๆ ปืน BB ที่ถูกดัดแปลง, ปืนพกชนิดลูกโม่, ปืนพกแบบกล็อก (Glock pistol) จะพบเจอเป็นธรรมดาในการแย่งชิงพื้นที่ของนักเรียน

“วัยรุ่นพวกนี้โดยมากเป็นพวกใจอ่อน รู้สึกประทับใจได้ง่าย และมาจากพื้นฐานที่ไม่ดี” Rattapoom Kotchapong กล่าว Rattapoom เป็นอดีตอาจารย์ และตอนนี้ทำงานเป็นผู้สอนพิเศษ “การร่วมกับแก๊งโรงเรียนทำให้เขามีจุดมุ่งหมายว่าจะทำอะไรและเป็นเจ้าของบางสิ่ง”

ความรุนแรงในการใช้ปืนที่มีอยู่เป็นระยะๆ จำลองความรุนแรงของการใช้ปืนในสังคมไทยอย่างยิ่งใหญ่ที่สุด ชุมชนที่ชอบตัดสินด้วยปืนพร้อมที่ยิงใครในประเทศตามความพอใจ ทั้งที่กฎหมายการห้ามใช้ปืนยังคงมีอยู่ และอัตราฆาตกรรมที่เกี่ยวกับปืนยังคงสูงที่สุดในเอเชีย

แก๊งโรงเรียนบางแห่งได้กลายมาเป็นกองทหารกลุ่มเล็กที่ติดอาวุธและอันตราย พวกเขาจะมีคลังอาวุธที่หลบซ่อน ในนั้นมีแต่อาวุธที่สะสมมาหลายปี คนในแก๊งกล่าว “นักเรียนโรงเรียนเทคนิคสู้กันมาเกิน 50 ปีแล้ว มันจึงเป็นปัญหาใหญ่” Kollawach กล่าว

การทำร้ายกันไม่ใช่เป็นปัญหาเดียวเท่านั้น ยังมีการว้ากอีก การว้ากปฏิบัติกันมานาน และไม่เฉพาะเด็กเทคนิคเท่านั้น แต่ยังรวมสถาบันอื่นๆด้วย โรงเรียนมัธยม, วิทยาลัย, และมหาวิทยาลัยจำนวนน้อยมากที่ไม่ได้รับผลจากการว้าก

เดือนแห่งการรับน้อง นักเรียนปี 1 ต้องผ่านกิจกรรมเปลี่ยนแปลงตัวตน (initiative activity) เพื่อให้เข้าใจวลีว่าอาวุโส (seniority), คำสั่ง (order), ประเพณี (tradition), ความสามัคคี (unity), จิตวิญญาณ (sprit) ย่อว่า SOTUS หลายๆกิจกรรมเป็นพฤติกรรมที่โง่เขลาเบาปัญญาไม่อันตราย แต่พิธีกรรมเลื่อนสถานภาพบางแห่งก็จัดเป็นพวกหยามเกียรติ และค่อนข้างทำให้คู่ขาเกิดความเจ็บปวดก่อน (sadistic)

 “ความคิดคือการสอนเรื่องระเบียบวินัย แต่วิธีการกลับเป็นพวกชอบทำร้ายกันเอง” Keerati Panmanee กล่าว เขาเป็นคนอายุ 29 ที่เคยโฆษณาในสื่อสังคมออนไลน์ต่อต้านการว้ากนี้ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา “โซตัส (SOTUS) ให้อำนาจปีแก่ๆ และทำหน้าที่เหมือนการแกล้งกัน”

กลุ่มทางเฟซบุ๊คของเขามีคนติดตามจำนวน 200,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นพวกใส่ร้ายเรา พวกเขากล่าวว่าเราเป็นพวกคนขี้ฟ้อง และคนทรยศในการพูดแต่เพียงเรื่องเดียว” เขาพูดแบบขุ่นๆ

เพจต่อต้านโซตัสของเขามีคนเข้าร่วมทุกวัน คนเหล่านี้คือคนที่ถูกว้าก เสียงที่ขอความช่วยเหลือมักจะไม่มีใครได้ยินภายในระบบการศึกษา  ที่จะให้คุณค่าแก่ความสมานฉันท์ และต่อต้านความแตกต่างระหว่างปัจเจกและความเป็นอิสระ

“ครูมักจะมองไม่เห็น และรุ่นพี่หลายคนที่กำลังว้ากอยู่กลับรู้สึกว่ากำลังทำสิ่งดี โดยการสอนรุ่นน้องให้เคารพและนอบน้อม ฉันเคยคิดอย่างที่ว่าเหมือนกัน” Keerati อธิบาย “เราอยู่ในสังคมที่ถูกกดทับช่วงชั้นและความเป็นอาวุโส” เขาเสนอ

กิจกรรมรับน้องใหม่บ่อยครั้งจะทำให้เราลดคุณค่าจนกลายเป็นการทำร้ายกัน นักศึกษาคนใหม่บ่อยครั้งจะถูกสั่งจากรุ่นพี่ให้ร้องเพลงโรงเรียนด้วยเสียงอันดังเป็นเวลาหลายชั่วโมงหลังจากเลิกเรียน

“ฉันเกลียดมัน แต่ไม่มีทางเลือก” นักศึกษาหญิงเยาวชนที่ต้องทุกข์ทนกับความเจ็บปวด หลังจากที่เข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยในสาขาเคมี อธิบาย “เมื่อเธอหมดเรี่ยวหมดแรง รุ่นพี่จะชี้หน้ามาที่เธอ และพูดว่า ดูที่เธอทำสิ พยายามให้มากกว่านี้อีก”

นักศึกษาปี 1 อาจถูกฝึกแบบทหาร โดยมากนอกมหาวิทยาลัย อาจอยู่ในรูปของไปเข้าค่าย พวกเขาถูกสั่งให้ฝึกออกกำลังกาย จนกระทั่งพวกเขารู้สึกว่าทนไม่ไหวแล้ว “พวกเราไม่ต้องการเห็นคนอ่อนแอแบบนี้ในโรงเรียน หากรับไม่ได้ ก็ลาออกไปซะ” พวกเขาเตือน

การหยามเกียรติ และงานที่เกี่ยวข้องกับเพศมักจะนำมาใส่ด้วย นักศึกษาหญิงอาจถูกสั่งให้จูบปลัดขิกที่ทำมาจากไม้ นักศึกษาชายอาจถูกขี้ผึ้งร้อนๆใส่อัณฑะ ซึ่งอาจเกิดแผลเป็นได้

นักศึกษาสามารถเลือกที่จะไม่เข้าร่วมในกิจกรรมเหล่านั้นได้ แต่ถ้าเขาทำ เขาจะถูกดูแคลน ทับถม และไม่มีใครคบ

“ดูเหมือนว่าโซตัสจะทำให้เราสามัคคี แต่บางครั้งอาจทำตรงกันข้ามกันก็ได้ Peerada Nuruk อายุ 21 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 สาขาการจัดการวัฒนธรรม ที่มหาวิทยาลัยแถวชลบุรี

“หลังจากฉันปฏิเสธที่เข้าร่วมตอนปี 1 เพื่อนร่วมชั้นหลายคนไม่พูดกับฉัน แต่บางคนก็พูดอยู่” หล่อนเสริม

หากพูดอย่างแดกดัน เหยื่อของการว้ากคือคนที่ชอบการว้าก หรือชอบระบบโซตัส “มันคล้ายๆกับเป็นสตอกโฮล์ม ซินโดรม” Rattapoom กล่าว “นักศึกษาทำระบบนี้ให้เป็นอมตะ โดยการไปรักสิ่งที่เกลียด”

ในขณะนั้นความเจ็บปวดส่งผลให้นักศึกษาปี 1 บาดเจ็บ และถึงตายมาแล้ว ในเดือนกรกฎาคม เด็กชายอายุ 15 ปี เรียนอยู่ในชั้นมัธยมใกล้กรุงเทพฯตายลงจากการเตะของรุ่นพี่ๆในการว้าก อีก 2-3 วันต่อมา เด็กอายุ 16 ปีตายลงในลักษณะเดียวกัน

เหตุการณ์แบบนี้นำเป็นหัวข้อข่าวได้เสมอ แต่การทำร้ายทางจิตและกายยังไม่ถูกเผยแพร่มีมากมายนัก นักกิจกรรมต่อต้านการว้าก กล่าว

“ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามควบคุมมัน แต่การว้ากก็เลวไปเสียหมด” Panuwat Songsawatchai ที่เป็นนักกิจกรรมด้านขวาและเป็นนักการเมืองแบบเสรีนิยม “ส่วนใหญ่ในการว้ากทำกันอย่างเป็นความลับ” เขาเพิ่มเติม “ทุกวันนี้เราอาจไม่เห็นปี 1 แต่งตัวแปลกๆ แต่พวกเขาก็ถูกทำให้อัปยศอดสูทางอื่น”

การทำลายหรือการไม่แสดงออกการปฏิบัติบางอย่างเป็นงานที่ไม่มีจุดหมาย ทำไปก็ไร้ประโยชน์ (Sisyphean task) Panuwat กล่าว “โซตัสหยั่งรากลึกในสังคมไทย ตั้งแต่เด็กๆ เราต้องเชื่อฟังพ่อแม่, ครูอาจารย์, และรุ่นพี่” เขาเสริม “พวกเราถูกบังคับไม่ให้ถามคำถามและคิดแต่เรื่องส่วนตัว ดังนั้นนักเรียนนักศึกษาหลายคนจึงก้มหน้า และทำสิ่งที่บอกและไม่ถามคำถามใดๆ”

แต่บางคน เช่น Kollawach กลับพูดออกมา เขาผ่านพิธีกรรมการรับน้องใหม่ที่เน้นการทำโทษที่โรงเรียนเทคนิค, ได้รับความช่วยเหลืออันหลากหลายจากรุ่นพี่ เช่นได้รับเครื่องราง และพวงกุญแจ เขายังคงมีพวกมัน

“ฉันคิดว่าคนทุกคนต้องไม่ผ่านเรื่องไร้สาระแบบนี้ในโรงเรียน ฉันต้องการยุติประเพณีนี้ ไม่มีอีกต่อไป”

แปลและเรียบเรียงจาก

Tiber Krausz. School life in Thailand: abuse, torture, hazing, deadly gang wars are rife

https://www.scmp.com/lifestyle/family-relationships/article/3025776/school-life-thailand-abuse-torture-hazing-deadly

หมายเลขบันทึก: 674340เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2020 07:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2020 07:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท