ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร


คณะกรรมการหรือคณะที่ปรึกษาขององค์กร ปฏิบัติงานอย่างไรเมื่อเทียบกับคุณลักษณะและพฤติกรรมเหล่านี้?

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร

Board of Director Responsibilities

พลตรี มารวย  ส่งทานินทร์

[email protected]

9 มกราคม 2563

บทความเรื่องความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร นำมาจากบทความเรื่อง Board of Director Responsibilities ประพันธ์โดย Harry Hertz “The Baldrige Cheermudgeon เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 จากเว็บไซต์ : https://www.nist.gov/blogs/blogrige/board-director-responsibilities

ผู้ที่สนใจบทความนี้ในรูปแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ https://www.slideshare.net/maruay/board-of-director-responsibilities

เกริ่นนำ

  • กรอบของ Baldrige Excellence Framework มีค่านิยมและแนวคิด 11 ข้อ ซึ่งทำหน้าที่เป็นพื้นฐานสำหรับการกำหนดคุณลักษณะของภาวะผู้นำ
  • คุณลักษณะภาวะผู้นำนี้ มุ่งเน้นไปที่บทบาทคณะกรรมการบริหาร และเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของพวกเขา
  • ค่านิยมและตัวอย่างนี้ สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมเท่าเทียมกัน ของภาครัฐ เอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจและความท้าทาย ที่แตกต่างกันในเวลาที่กำหนด

1. ใช้เป็นแนวทางของภาวะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์

  • ทำให้ผู้บริหารสูงสุด (CEO) รับผิดชอบในการยึดมั่นค่านิยมและพันธกิจขององค์กร
  • มีการทบทวนวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ผลการปฏิบัติงานของ CEO และระบบ เพื่อการบรรลุความสำเร็จขององค์กร
  • สร้างแรงบันดาลใจและสร้างแรงจูงใจให้องค์กรประสบความสำเร็จสูง ด้วยความผูกพันของบุคลากรในระดับสูง
  • ส่งเสริมความถูกต้อง ทำให้ผู้นำยอมรับความผิดพลาด และกระตุ้นให้พวกเขากล้ารายงานข่าวร้าย

2. ทำให้มั่นใจว่ามีมุมมองอย่างเป็นระบบ

  • ทำให้ CEO รับผิดชอบในการกำหนดมุมมองอย่างเป็นระบบทั่วทั้งองค์กร ชี้แนะและประเมินองค์กรแบบองค์รวม
  • มุ่งเน้นไปที่ทิศทางกลยุทธ์และลูกค้า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม
  • สร้างความมั่นใจในการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศขนาดใหญ่ (พันธมิตร ผู้ส่งมอบ ลูกค้า ชุมชน) ซึ่งองค์กรดำเนินงานอยู่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและนวัตกรรม

3. ทำให้ผู้นำรับผิดชอบต่อความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า

  • ทำให้ผู้นำรับผิดชอบต่อวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นลูกค้า โดยบูรณาการมีส่วนร่วมของลูกค้าและความภักดีของลูกค้าให้เป็นแนวคิดเชิงกลยุทธ์
  • เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองความต้องการของลูกค้าและตลาดเกิดใหม่
  • ทำให้ผู้นำรับผิดชอบต่อการพัฒนาองค์กรที่เป็นนวัตกรรม และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าซึ่งแตกต่างจากคู่แข่ง

4. ให้คุณค่ากับคน

  • ทบทวนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้แน่ใจว่า ได้มุ่งเน้นไปที่งานที่มีความหมาย มีส่วนร่วม เสริมสร้างพลัง ความรับผิดชอบ การพัฒนา และความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากร
  • ทำให้ผู้นำรับผิดชอบ ต่อสภาพแวดล้อมขององค์กรด้านความปลอดภัย
  • สร้างความมั่นใจในวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม ที่ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของพนักงานและคณะกรรมการ

5. ทำให้ผู้นำมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้และความคล่องตัวขององค์กร

  • ทบทวนความสามารถขององค์กร เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และเพื่อความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน
  • ตรวจสอบความสามารถขององค์กรในการจัดการความเสี่ยง และดำเนินการเปลี่ยนแปลงด้วยรอบเวลาที่สั้นลง
  • ทำให้ผู้นำรับผิดชอบในการฝังการเรียนรู้และการปรับปรุง ในวิธีการดำเนินงานขององค์กร

6. มุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จขององค์กร (การพัฒนาอย่างยั่งยืน)

  • ทำงานกับผู้นำเพื่อสร้างการมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยระยะสั้นและระยะยาว ที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงองค์กร ผู้มีส่วนได้เสีย และความสำเร็จของตลาดในอนาคต รวมถึงความสามารถและทักษะหลักที่จำเป็น
  • วางแผนสืบทอดตำแหน่งเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้นำสูงสุด คัดเลือก CEO และกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสม
  • มุ่งเน้นไปที่ "ภาพรวม" เพื่อให้แน่ใจว่าการวางแผนองค์กรได้คาดการณ์ตลาดในอนาคต เศรษฐกิจ และอิทธิพลทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม

7. มีแนวทางองค์กรเพื่อสร้างนวัตกรรม

  • ทำให้ผู้นำรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมที่มีการระบุโอกาสเชิงกลยุทธ์ และบุคลากรได้รับการสนับสนุนในการจัดการกับความเสี่ยงที่ชาญฉลาด

8. การกำกับดูแลองค์กรโดยข้อเท็จจริง

  • กระตุ้นให้องค์กรมีการวัดผลประกอบการ ทั้งภายในองค์กรและสภาพแวดล้อมการแข่งขัน
  • สร้างความมั่นใจว่า ข้อมูลและการวิเคราะห์ถูกนำมาใช้ ในการตัดสินใจด้านปฏิบัติการและเชิงกลยุทธ์
  • ท้าทายผู้นำและองค์กร เพื่อวิเคราะห์ความหมายที่ใหญ่ขึ้น จากข้อมูลและสารสนเทศ
  • ดำเนินการตรวจสอบและควบคุมทางการเงิน

9. สนับสนุนการมีส่วนร่วมทางสังคม

  • ทำหน้าที่เป็นแบบอย่างการกำกับดูแล เรื่องความรับผิดชอบต่อสาธารณะและชุมชน
  • ทำให้ผู้นำรับผิดชอบต่อการกระทำขององค์กร ที่นำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร
  • สร้างแรงจูงใจให้องค์กรมีการปฏิบัติเหนือกว่ากฎหมายและข้อบังคับ

10. ทำให้มั่นใจในจริยธรรมและความโปร่งใส

  • แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีจริยธรรมสูง ในทุกกิจกรรมและการมีปฏิสัมพันธ์ของคณะกรรมการและองค์กร
  • กำกับดูแลด้วยความโปร่งใส ผ่านการสื่อสารอย่างเปิดเผยของข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้อง
  • ทำให้ผู้นำรับผิดชอบการสื่อสารที่เปิดเผย ของข้อมูลองค์กรที่ชัดเจนและถูกต้อง

11. มั่นใจได้ว่ามุ่งเน้นที่การส่งมอบคุณค่าและผลลัพธ์

  • ขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ
  • ผลักดันผู้นำองค์กรให้เหนือกว่าข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้เสีย และสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด

สรุป

  • คณะกรรมการหรือคณะที่ปรึกษาขององค์กร ปฏิบัติงานอย่างไรเมื่อเทียบกับคุณลักษณะและพฤติกรรมเหล่านี้?
  • พวกเขาปฏิบัติตามหน้าที่ทั้งหมดหรือไม่?
  • พวกเขาก้าวข้ามบทบาทที่ได้รับ และก้าวสู่บทบาท "ภาวะผู้นำ" หรือไม่?
  • การประเมินตนเองโดยใช้คุณลักษณะเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของคณะกรรมการหรือไม่?
  • สิ่งดังกล่าวข้างต้นนี้ สามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางสู่การสร้างองค์กรที่มีสมรรถภาพสูง โดยความร่วมมือกับผู้นำระดับสูงขององค์กร

****************************

หมายเลขบันทึก: 674313เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2020 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2020 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาต ส่งต่อนะท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท