บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

นาฏศิลป์๒


นาฏศิลป์  เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าศิลปะแขนงอื่นๆ  ความสำคัญของนาฏศิลป์มีดังนี้

        1. นาฏศิลป์  แสดงความเป็นอารยประเทศ  บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองดี

ก็ด้วยประชาชนมีความเข้าใจศิลปะ  เพราะศิลปะเป็นสิ่งมีค่าเป็นเครื่องโน้มน้าวอารมณ์  ให้ไปในทางที่ดีเป็นแนวทางนำให้คิด  และให้กำลังใจในการที่จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่บ้านเมืองสืบไป

        2. นาฏศิลป์เป็นแหล่งรวมศิลปะ  ประกอบด้วยศิลปะประเภทต่าง ๆ มาเกี่ยวข้อง

สอดคล้องกัน  เช่น  ศิลปะการเขียน  การก่อสร้าง  การออกแบบเครื่องแต่งกาย  และวรรณคดี  ศิลปะแต่ละประเภทได้จัดทำกันด้วยความประณีตสุขุมทั้งนี้ก็เนื่องด้วยศิลปะเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของชาติ  มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ต้องมีศิลปะของตนไว้เป็นประจำ  นับแต่โบราณมาจนถึงทุกวันนี้  รวมความว่า นาฏศิลป์มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น  สร้างความเป็นแก่นสารให้แก่บ้านเมืองด้วยกันทั้งนั้น(สุมิตร  เทพวงษ์.2548 : 2)

  นาฏศิลป์  หรือศิลปะแห่งการแสดงละครฟ้อนรำนั้นมีมูลเหตุที่เกิด  ดังนี้

     1. เกิดจากที่มนุษย์ต้องการแสดงอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ให้ปรากฏโดยมีจุดประสงค์สงค์เพื่อเป็นการสื่อความหมายเป็นสำคัญ  เริ่มตั้งแต่มนุษย์แสดงอารมณ์ตามธรรมชาติออกมาตรง ๆ  เช่น การเสียใจก็ร้องให้  ดีใจถูกใจก็ตบมือส่งเสียงหัวเราะ มนุษย์ใช้กิริยาอาการเป็นสื่อความหมายให้ชัดเจนขึ้น  กลายเป็นภาษาท่ามีการประดิษฐ์คิดท่าทางให้มีลีลาที่วิจิตรบรรจงขึ้น  จนกลายเป็นท่วงทีลีลาท่ารำที่งดงามมีลักษณะที่เรียกว่า  “นาฏยภาษา”  หรือ  “ภาษานาฏศิลป์”  ที่สามารถบอกความหมายด้วยศิลปะแห่งการแสดงท่าทางที่งดงาม

     2. เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการเอาชนะธรรมชาติด้วยวิธีต่างๆ  ที่นำไปสู่การรำเพื่อบูชาสิ่งที่ตนเคารพตามลัทธิศาสนาของตน  ต่อมาจึงเกิดเป็นความเชื่อ ในเรื่องเทพเจ้า  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิที่เราเคารพบูชา  โดยเริ่มจากการวิงวอนอธิษฐาน  จนถึงสุดท้ายมีการประดิษฐ์เครื่องดนตรี  ดีด  สี  ตี และเป่า  การเล่นดนตรี  การร้องและการรำเกิดขึ้นเพื่อให้เทพเจ้า เกิดความพอใจมากยิ่งขึ้น

     3. เกิดจากการที่มนุษย์คิดประดิษฐ์หาเครื่องบันเทิงใจ  หลังจากหยุดพักจากภารกิจประจำวัน  เริ่มแรกอาจเป็นการเล่านิทาน  นิยาย  มีการนำเอาดนตรี  และการแสดงท่าทางต่าง ๆ ประกอบเป็นการร่ายรำ  จนถึงขั้นแสดงเป็นเรื่องราว

     4. เกิดจากการเล่นเลียนแบบของมนุษย์  ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในขั้นต้นของมนุษย์ นำไปสู่การสร้างสรรค์ศิลปะแบบต่าง ๆ นาฏศิลป์ก็เช่นกัน  จะเห็นว่ามนุษย์นิยมเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ ทั้งจากมนุษย์เองสังเกตจากเด็ก ๆ ชอบแสดงบทบาทสมมุติเป็นพ่อเป็นแม่ในเวลาเล่นกัน  เช่น การเล่นตุ๊กตา  การเล่นหม้อข้าวหม้อแกง  หรือเลียนแบบจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  ทำให้เกิดการเล่น  เช่น การเล่นงูกินหาง  การแสดงระบำนกยูง  ระบำม้า เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 673299เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2019 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2019 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท