บนเส้นทางแห่งการฟื้นฟูสุขภาพ: ครบรอบ ๑ ปี วันที่เข้ารักษาตัวในห้อง ICU.


ไอ ซี ยู…

ย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว ๒๕๖๑ ในวันนี้ ใจคอไม่ดีเลย … ครอบครัวเราก็คงสภาพไม่ต่างไปจากครอบครัวอื่นๆ เมื่อมีสมาชิกในบ้านต้องเข้ารับการรักษาในห้องพยาบาลผู้ป่วยอาการวิกฤติ  ICU. เมื่อผู้ป่วยสูงวัย อายุ ๘๕ ปี เพศชาย ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่า น้ำท่วมปอด เริ่มจากมีอาการไข้ และไอ จนรู้สึกเหนื่อย หอบ  เบื้องต้นไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนในตัวจังหวัด แพทย์สังเกตอาการ และให้ยามากิน และยาละลายเสมหะ พร้อมทั้งตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งไม่พบ จริงๆแล้วแพทย์แนะนำให้นอนค้างเพื่อสังเกตอาการ แต่ผู้ป่วยขอกลับบ้าน  และวันรุ่งขึ้นผู้ป่วยก็ต้องแอดมิท โดยเป็นการไปห้องฉุกเฉินที่โรงพยาบาลด้วยอาการหอบ ซึ่งไม่เคยมีประวัติมาก่อน
..
สุขภาพโดยรวมผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เบาหวาน และหัวใจ (โดยใส่ stent ถ่างเส้นเลือดตีบที่หัวใจ ประมาณ ๑๐ ปีมาแล้ว) ประวัติการเข้าโรงพยาบาลแบบฉุกเฉินไม่มี และครั้งนี้เป็นครั้งแรก สมาชิกในครอบครัวต่างเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น …การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจ.. ตลอดระยะเวลา ๑ ปี และอีกต่อไปๆๆ และสามารถแลกเปลี่ยน การดูแลผู้ป่วย ข้อพึงระวัง ให้กับเพื่อนๆ/ ญาติพี่น้องได้
..
ผู้ป่วยใช้ระยะเวลาตั้งแต่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ถึง ๕ ธันวาคม  ในห้อง ICU ต่อเนื่องกันถึงสองโรงพยาบาล (refer มาจากโรงพยาบาลแรก)  และเมื่อมาพักฟื้นที่ห้องพิเศษ แม้กระทั่งการเดินก็ต้องฝึกใหม่ พอเริ่มจะดีขึ้นนิดหน่อย ก็ติดเชื้อดื้อยาระดับรุนแรงที่กระเพาะปัสสาวะ ก่อนจะกลับบ้านแล้วเชียว …จึงต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลต่อไปอีก ทั้งวอร์ดก็ต้องปรับกระบวนการดูแลผุ้ป่วย  สามวันผ่านไปเมื่อตรวจพบว่าติดเชื้ออะไร? ? ความรุนแรงระดับใด?? ก็มีป้ายติดหน้าห้องผู้ป่วย ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านระมัดระวังที่จะไม่แพร่เชื้อจากห้องนี้ไปห้องอื่น หรือบริเวณอื่น และญาติผู้เฝ้าไข้ก็ต้องระมัดระวังตัวอย่างไร  มีคุณพยาบาลเข้า/ออก ฉีดยาตามระยะเวลา dose ของยาแต่ละชนิด มีผู้ช่วยพยาบาลวัดไข้/ความดัน ฯลฯ เป็นระยะๆ
..
แล้วเราก็ผ่านภาวะวิกฤตินั้นมาได้อีกหนึ่งครั้ง ใช้ทุกศาสตร์ในการดูแลผู้ป่วย ผนึกทุกพลังกาย/ใจ จนกระทั่ง ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๑  ได้กลับมาพักฟื้นที่บ้าน  จัดซื้ออุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆที่จะช่วยตรวจสอบเบื้องต้นสภาวะของผู้ป่วย และให้ได้รับการฟื้นฟูอย่างเหมาะสมต่อไป หากมีอาการแทรกซ้อนก็นำไปพบแพทย์ได้ทันท่วงที ก่อนที่อาการจะหนักและยากในการรักษา
..
จากฟิลม์เอกซ์เรย์ปอดของผู้่ป่วยไม่ค่อยดี  ทำให้ผู้ป่วยต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง ด้วยพลังใจที่เข้มแข็ง
..
ดีใจที่สุดที่ได้กลับมาบ้าน สูดอากาศบริสุทธิ์ มีน้องหมา แมว และอื่นๆที่รอคอยการกลับมาของหัวหน้าครอบครัว  และขอบคุณบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และที่สำคัญนอกจากสมาชิกในครอบครัวแล้ว ญาติสนิท มิตรสหาย ก็มีส่วนช่วยฟืนฟูสภาพร่างากายผู้ป่วยเช่นกัน เพียงแต่ต้องระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อซ้ำ ปัจจุบันนี้เดินออกกำลังกายช้าๆ และเริ่มต้นจากระยะทางใกล้ๆ จากนั้นค่อยๆเพิ่มทีละน้อย…  good mindset

หมายเลขบันทึก: 673293เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2019 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2019 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท