4 ข้อห้าม ของ ผู้บริหาร (ผอ. โรงเรียน) ในยุคนี้


4 ข้อห้าม ของ ผู้บริหาร (ผอ. โรงเรียน) ในยุคนี้(คัดลอกมาครับเครดิตด้านล่าง)

1) ห้ามพยายาม “เปลี่ยนแปลง” ทันที ที่ย้ายมาโรงเรียน
การไปยืนประกาศต่อหน้าบรรดาบุคลากรในโรงเรียนตั้งแต่แรกเลยว่า ‘ต่อไปเราจะทำแบบนี้นะ’ รวมถึงทำเป็นเมินเฉยกับสิ่งที่มีอยู่ หรือตะลุยทำไป เหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จำเป็นนั้นเป็นวิธีการที่ผิด หากผู้บริหารต้องการการยอมรับและเปิดรับจากครู ผู้บริหารควรใช้เวลาปีแรกทั้งปีในการรับฟังความคิดเห็นของครู และสังเกตวัฒนธรรมของโรงเรียน เราอาจไม่เปลี่ยนอะไรในโรงเรียนเลยในปีแรก นอกจากการปรับภูมิทัศน์
ผู้บริหารไม่ควรสั่ง ให้ครูทำสิ่งที่เคยเห็นว่าดีในโรงเรียนเก่าของตัวเองกับโรงเรียนใหม่ แล้วหวังว่าทุกอย่างจะเป็นไปได้สวยเหมือนกัน ทุกโรงเรียนมีวัฒนธรรมของตัวเอง วัฒนธรรมของนักเรียนและวัฒนธรรมของครู ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเข้าใจสิ่งนี้ ไม่ใช่ว่าโครงการอย่างเดียวกันจะเหมาะไปกับทุกที่

2) ห้ามมองข้ามครูผู้มากประสบการณ์ในโรงเรียน
เป็นเรื่องง่ายที่จะโน้มน้าวให้ครูน้องใหม่ที่เพิ่งจะเข้ามาสอนเข้าร่วมโครงการใหม่ ครูที่ยังเด็กไม่มีประสบการณ์มากนัก มักไม่สามารถบอกได้ว่าโครงการใหม่นั้นจะกระทบนักเรียนและผู้สอนอย่างไร แต่ครูผู้มากประสบการณ์จะมีความรู้และวิจารณญาณ ครูเหล่านี้อยู่กับโรงเรียนในช่วงที่โรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วครั้งแล้วครั้งเล่า ประสบการณ์ที่พวกเขามี เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ผู้บริหารควรใส่ใจ ไม่ใช่ทำเป็นมองไม่เห็น
บางครั้งครูผู้มากประสบการณ์ถูกมองว่าเป็นพวกสงสัยไปทุกเรื่องและเฉื่อยในการตอบรับโครงการใหม่ แต่ความเป็นจริงแล้ว ครูกลุ่มนี้คือบุคคลที่ผู้บริหารควรเข้าหาเพื่อขอคำแนะนำและหาข้อมูลเชิงลึกมากที่สุด บุคลากรที่อยู่กับโรงเรียนมานานจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวให้บุคลากรอื่น ๆ เปิดรับโครงการใหม่อีกด้วย

3) ห้ามมั่นใจเกินไป
มีเส้นบาง ๆ ระหว่างการเป็นผู้นำและเป็นหัวหน้า ครูทุกคนมีแนวโน้มจะนับถือและทำตามผู้บริหารที่ดูมีความเป็นผู้บริหารอย่างแท้จริงอยู่แล้ว ผู้บริหารไม่ควรแต่ออกคำสั่งจากห้องทำงานของตัวเอง แต่ผู้บริหารควรออกมาลุยงานเคียงบ่าเคียงไหล่บุคลากรอื่น ๆ เดินเข้านอกออกในทุกห้องเรียน ได้พูดคุยสอบถามความต้องการของครู
เวลาของผู้บริหารและผู้ช่วยผู้บริหารไม่ได้สำคัญไปกว่าเวลาของครู ดังนั้น พวกเขาไม่ควรมาขอให้ครูทำสิ่งที่พวกเขาเองก็ไม่ยอมทำ

4) ห้ามเพิกเฉยต่อคำแนะนำหรือข้อมูลจากครูในโรงเรียน
ผู้บริหารควรเป็นผู้ฟังที่ดี โรงเรียนควรสร้างพื้นที่พูดคุยกับครูแบบจริงใจ และเคารพซึ่งกันและกันเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้พูดถึงข้อกังวลตลอดจนแสดงความคิดเห็น ต้องเปิดกว้างรับฟัง สิ่งที่ครูอยากจะบอกเล่าแบ่งปันด้วย
ถึงแม้ผู้บริหารจะไม่อาจทำตามทุกข้อแนะนำได้ แต่อย่างน้อย ผู้บริหาร “ควรบอกเหตุผลให้ครูทราบ ว่าทำไมถึงไม่ได้” รวมถึงชี้แจงเหตุผลเบื้องหลังการตัดสินใจบางอย่างด้วย หากครูทราบว่าการที่พวกเขารับฟังและเต็มใจปฏิบัติตามความคิดริเริ่มใหม่นั้นสำคัญต่อผู้บริหาร พวกเขามีแนวโน้มจะยอมรับโครงการใหม่นั้นเพราะเห็นว่ามีความพยายามอย่างจริงจังที่จะริเริ่ม การยอมรับจะเพิ่มสูงขึ้นถึงแม้ว่าสิ่งใหม่นั้นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่พวกครูจะเลือก หากพวกเขามีสิทธิเลือกเองก็ตาม

เครดิต(https://www.kruupdate.com/%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3-%e0%b8%9c%e0%b8%ad-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99/?fbclid=IwAR1MC-cGBVlSBr5yG8BZFxGlM4qvaSnJUzrsmo_wDe84ALZEaI1F_2JRnb0)

หมายเลขบันทึก: 673252เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2019 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2019 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท