สร้างเครื่องมือเพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย



ในช่วงวันที่ ๒๐ - ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๒  ผมตั้งหน้าตั้งตาอ่านร่างต้นฉบับหนังสือ Best Buys, Wasted Buys and Contested Buys in NCD Prevention   ที่ นพ. ยศ ตีระพัฒนานนท์ รวมทีมจัดทำ    จากไอเดียที่เกิดขึ้นระหว่างการเตรียมจัด PMAC 2019 :    “The Political Economy of NCDs: A Whole of Society Approach” (1) 

 อ่านแล้วเกิดความรู้สึกว่า คำว่า evidence-based policy making    ซึ่งฟังดูไพเราะงดงามนั้น    ในบริบทของประเทศรายได้ปานกลางถึงรายได้ต่ำ อาจเป็นมายา เพราะหลงใช้ evidence ของประเทศอื่นสังคมอื่น ซึ่งมักเป็นของประเทศรายได้สูง    ที่ระดับ transferability เอามาใช้ในบริบทของประเทศยากจนมีข้อจำกัด   

หัวใจอยู่ที่ “ความซับซ้อน” (complexity) ของเรื่องนั้น    ซึ่งในกรณีนี้คือ โรคไม่ติดต่อ (NCD)    ตัว  evidence จึงมีความซับซ้อนมาก    ดีที่สุดคือสร้าง evidence ของตนเอง    แต่อาจไม่ทันกาล    ต้องเอา evidence จากประเทศอื่น (หรือจากทั้งโลก) มาปรับใช้    หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยวิธีใช้ evidence อย่างระมัดระวัง    มีการตั้งคำถามหรือข้อสงสัยต่อ evidence นั้นๆ ว่าใช้ในบริบทของตนเองได้จริงหรือ   

หนังสือเล่มนี้ เสนอ “เครื่องมือ” (ซึ่งในที่นี้เรียกว่า framework  ตั้งชื่อว่า SEED) สำหรับให้ NCD managers ในประเทศไม่รวยใช้    ในการตรวจสอบ evidence    ผู้ใช้ต้องเข้าใจว่า เป็นเครื่องมือที่มีความซับซ้อน    หรืออาจเรียกว่า เป็นเครื่องมือช่วยให้คิดเป็นระบบ ครบถ้วน และรอบคอบ    โดยตระหนักว่า หากใช้ evidence ไม่เป็น    นโยบายหรือมาตรการที่ใช้จะเป็น wasted buy หรือ contested buy   คือใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่า     ไม่เป็น best buy หรือคุ้มค่า 

ที่สำคัญคือ อย่าเชื่อ gut feeling   และอย่าเผลอสร้าง policy-based evidence   คืออย่าสร้าง evidence เพื่อสนองนโยบาย      

ระหว่างอ่านต้นฉบับมาถึงบทที่ ๖  ผมเกิดความคิดขึ้นว่า ไม่ว่าประเทศจะรวยจนเพียงใด ต้องการโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา (intellectual infrastructure) ที่ผมก็ไม่ทราบว่าหมายถึงอะไรบ้าง     แต่สาระในต้นฉบับเอ่ยว่า ประเทศเคนยาไม่มี local guidelines ในการทำ economic evaluation    ทำให้ผมคิดว่า นี่คือสภาพของการขาดโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาอย่างหนึ่ง    แต่ละประเทศน่าจะมีกระบวนการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาของประเทศ    และหาทางสร้างเสียให้แข็งแรงและพัฒนาต่อเนื่อง    

ในภาพรวม ผมตีความว่า นักวิชาการด้านนโยบายต้องมีทั้งสมรรถนะทางวิชาการ และความมั่นคงทางคุณธรรม (integrity) ไม่ถูกผลประโยชน์ทำให้โอนเอน

หนังสือเล่มนี้จะเปิดตัววันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ นี้   โปรดรอติดตามครับ    หนังสือนี้จะอยู่ในหลายรูปแบบ    และน่าจะมีกระบวนการให้ผู้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็น interactive user   ที่ผู้ใช้มีส่วนร่วมสร้างความรู้หรือวิชาการว่าด้วยการใช้ evidence ในประเทศไม่รวย เพื่อการป้องกัน NCD    

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ต.ค. ๖๒

บน TG 910  ไปลอนดอน  


    

หมายเลขบันทึก: 673251เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2019 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2019 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท