ประสบการณ์ ทำให้ฉันเรียนรู้ว่า


 " we do not learn from experience we learn from reflecting on experience "     John Dewey

        เริ่มต้นคาบเรียนด้วยการเปิดม่านหน้าต่างบานใหญ่ เพื่อมองและสังเกตสิ่งต่างๆข้างนอกหน้าต่างบานนั้น

        วันนี้ 4 พฤศจิกายน 2562 ดิฉันและเพื่อนๆ ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ร่วมกันทำงานๆหนึ่ง (Activities) ซึ่งประกอบไปด้วย กลอน บทเพลง และสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ (Task) โดยทั้งสามอย่างต้องถูกรวมอยู่ใน 1 คลิปวิดีโอ ความยาวไม่เกิน 3 นาที ภายในระยะเวลา 44 นาทีนี้

        ทันทีที่รับทราบโจทย์แล้ว สมาชิกในกลุ่มแต่ละคน ต่างขอเสนอตัวเองในการรับผิดชอบประเภทงานที่ตนถนัด ซึ่งเป็นด้านที่ตนมีความสามารถและมีศักยภาพมากที่สุด แต่เกิดปัญหาที่ว่าเราไม่ทราบขอบเขตของเนื้อหาที่ต้องทำ ทำให้ขอบเขตที่มีมันกว้างจนไม่สามารถลงมือทำได้ กระทั่งมีเพื่อนคนหนึ่งได้ถามอาจารย์ถึงหัวข้อของงาน (Perception) และได้รับคำตอบว่า ให้เรานำสิ่งที่ได้เห็นจากการมองออกไปนอกหน้าต่างก่อนหน้านี้ มาแต่งเป็นงานประเภทต่างๆ และให้สอดแทรกเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion & Prevention) เข้าไปด้วย เห็นได้ว่า อาจารย์พยายามเชื่อมโยงงานที่สั่งให้สอดคล้องกับโมเดล EHP หรือ Ecology Of Human Performance ที่เพิ่งสอนไป

        หลังจากนั้น การปฏิบัติงานจึงเริ่มต้นขึ้น เราต่างพยายามนำสิ่งที่เราเห็นจากการมองออกไปนอกหน้าต่าง มาเขียนร้อยเรียง และเชื่อมโยงจนเป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยสอดแทรกการส่งเสริมสุขภาพ ออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกันตามจินตนาการของสมาชิกแต่ละคน เมื่อ กลอน บทเพลง และสุนทรพจน์ได้ถูกแต่งขึ้นอย่างเสร็จสมบูรณ์ เราจึงนำทั้งสามอย่างมาผสมผสานกัน จนเกิดเป็นคลิปวิดีโอที่พร้อมจะส่งให้อาจารย์ด้วยความภาคภูมิใจ

        เมื่อนำเหตุการณ์ดังกล่าวมาคิดวิเคราะห์ จะได้ว่าสามารถนำมาเชื่อมโยงกับทักษะ (Skills) ที่ต้องใช้ได้ดังนี้

• Sensorimotor ได้แก่

         - การใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ เช่น การมองเห็นสิ่งต่างๆภายนอกหน้าต่าง และการได้ยินคำสั่งจากอาจารย์ เป็นต้น

         - การรับรู้รายละเอียดของงาน เช่น การรับทราบหัวข้อ และระยะเวลาในการทำงาน เป็นต้น 

         - การวางแผนการทำงาน เช่น การแบ่งงานตามความถนัดของแต่ละบุคคล 

         - ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายขณะทำกิจกรรม เช่น การลงมือเขียน การเดินไปสำรวจสิ่งต่างๆ

• Cognetive ได้แก่

         - ความเข้าใจในคำสั่ง

         - ความตื่นตัวในการทำงานภายใต้ขีดจำกัดของเวลา

         - การมีสมาธิกับการทำงาน ทั้งการแต่งกลอน บทเพลง และสุนทรพจน์

         - การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

         - การเรียนรู้การทำงานเป็นทีม

         - ความสามารถในการผสมผสานผลงานทั้ง 3 รูปแบบผ่านคลิปวิดีโอ โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์

• Psychological  ได้แก่

        - ความเชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถของตนเอง และบุคคลอื่น

        - การวางแผน และจัดการเวลา เพื่อให้งานสำเร็จตามเวลาที่กำหนด

        - ความสามารถในการควบคุมตนเอง ภายใต้ความกดดันและความเครียด

        - ความภาคภูมิใจในผลงานที่ออกมา

        กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นการสร้างประสบการชีวิต (Life experience) อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก่อนจะนำมาซึ่งประสบการณ์ที่ว่านั้น เราต้องอาศัยทักษะ (Skills) หลายอย่างเพื่อข้ามผ่านความท้าทาย ได้แก่ ความสามารถในการการรับรู้สิ่งที่ต้องทำ และการจัดการกับข้อมูลที่ได้รับ (Sensorimotor) การบูรณาการความรู้ความเข้าใจ ผ่านการคิดวิเคราะห์ (Cognetive) รวมถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Psychological) สิ่งเหล่านี้เมื่อหลอมรวมกันแล้วทำให้เรามีความสามารถที่จะเอาชนะกับความท้ายทายต่างๆที่เข้ามาได้ จนเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมในที่สุด

        และสำหรับดิฉันแล้ว ประสบการณ์ที่ได้ในวันนี้ เป็นดั่งพื้นฐานให้ฉันได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น เป็นการศึกษาที่ได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติในเวลาเดียวกัน ทั้งยังทำให้ห้องเรียนมีชีวิต นอกจากนี้ทำให้ดิฉันเห็นว่า การปรับสิ่งแวดล้อมเป็นอีกสิ่งที่สำคัญ สำหรับการสร้างประสบการณ์ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมสามารถกระตุ้น หรือยับยั้งการทำกิจกรรมของมนุษย์ได้ ดั้งนั้นสิ่งเหล่านี้จึงทำให้ นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มากกว่าแค่การเป็นผู้ฟัง

หมายเลขบันทึก: 673026เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2019 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2019 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท