ผลลัพธ์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวแปรเดียว


ประสบการณ์ชีวิตขณะที่ทำงานกับเพื่อนร่วมเดือนเกิด รู้สึกดีที่ได้ร่วมงานกับเพื่อนกลุ่มใหม่ๆจะได้สนิทกับเพื่อนเพิ่มขึ้น เราได้รับมอบหมาย 3 หัวข้อ ซึ่งเราก็จะแบ่งกันทำคนละ1หัวข้อ แต่พอเราลงมือทำกันจริงๆ ทุกคนต้องแลกเปลี่ยนความคิดกันหาวิธีช่วยกันทำออกมาให้งานบรรลุตามเป้าหมาย ได้ประสบการณ์ในการแต่งกลอนโดยมีเวลาเป็นตัวกำหนดและคำต่างๆที่เราจดไว้ในสมุดตอนต้นคาบ ท้าทายตัวเราที่ต้องใช้ความคิดและสติในการคิดบทกลอน ซึ่งเราก็คิดว่าจะแต่งทันมั้ย แต่พอลองแต่งจริงๆใช้เวลาไม่นานเท่าที่คิดไว้ และเราได้ข้อคิดเพิ่มขึ้นคือยิ่งคิดยิ่งได้มาก แต่การลงมือทำได้มากกว่า ไม่ต้องคิดมากแต่ลงมือทำเลย และตัวเราเองนี่แหละที่จะก้าวผ่าน task นั้นได้ด้วยทักษะและความสามารถ กลอนที่แต่งได้ คือ

คาบหลักการคือคาบที่สร้างสรรค์

ต้องช่วยกันขบคิดและแก้ไข

EHP จะยากไปไหนไกล

ถ้าพวกเราร่วมใจไปด้วยกัน

อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมที่แบนราบ

ไม่เห็นภาพว่าเป็นโมเดลไหน

งั้นลองมองทะลุหน้าต่างไป

เห็นสิ่งใดลองสังเกตเรียบเรียงมา

เห็นวัตถุที่ดูเหมือนไร้ชีวิต

ถูกลิขิตให้เป็นแค่ที่ฝัน

ไม่เหมือนนกที่บินอยู่รวมกัน

ดูสุขสันต์มีอิสระเสรีเอย

แม้บินผ่านฝูงควันที่แน่นหนา

ก็ยังกล้าโบยบินบนฟ้าไกล

ต่างจากคนที่แม้หาสุขได้

แต่ไม่เคยพอใจที่ได้มา

ดังนั้นจึงก่อให้เกิดปัญหา

สุขภาพทางกายและจิตใจ

เราจึงใช้ EHP เข้ามาช่วย

สังเกตด้วยสิ่งรอบตัวของเราก่อน

แล้วนำมาคิดเป็นภาพสะท้อน

ลองดูก่อนก้าวข้ามปัญหาไป

หลังจากแต่งกลอนเสร็จ เราก็ช่วยเพื่อนแต่งเนื้อเพลง ช่วยเพื่อนคิดคำศัพท์ภาษาอังกฤษในการแต่งสุนทรพจน์ ซึ่งประสบการณ์ชีวิตในครั้งนี้ก็จะติดตัวเราไป รวมถึงมิตรภาพที่ดีในการทำงานร่วมกับเพื่อนๆได้ทั้งเสียงหัวเราะและความสนุกในการร้องเพลง

ประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานในวันนี้ คือโมเดลEHP : Ecology of Human Performance เป็นโมเดลที่ทำให้เราสังเกตุสิ่งแวดล้อมได้เก่งขึ้น และความท้าทายจากโจทย์ที่อาจารย์ได้มอบหมาย โมเดลนี้จะประกอบไปด้วย

งานที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ คือ Task ได้แก่ 1.แต่งกลอน 2.แต่งเพลง 3.กล่าวสุนทรพจน์เป็นภาษาอังกฤษ ทั้ง3งานนี้รวมเป็น1กิจกรรม ซึ่งเมื่อเราได้รับมอบหมายงานมาเราก็ต้องรับรู้รายละเอียด คือ Perception ซึ่งจะเชื่อมโยงระหว่างตัวบุคคลหรือประสบการณ์ชีวิตกับContext ได้แก่

1.Temporal จังหวะชีวิตที่มีเวลาเป็นส่วนประกอบโดยจะต้องมีจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด เวลาทำงานก็มีโทรศัพท์ไว้คอยดูว่าอีกกี่นาทีถึงเวลากำหนดส่ง ซึ่งงานที่ได้ทำนั้นให้เวลา44นาที เป็นการกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ชัดเจน

2.Physical อาคาร สิ่งแวดล้อมที่จับต้องได้ เช่น กลุ่มเราถ่ายโดยนั่งเก้าอี้ที่ชั้น4 หน้าห้องบรรยาย ใช้โทรศัพท์อัดวิดีโอ

3.Social สังคม เช่น เพื่อนที่เกิดในเดือนเดียวกัน

4.Cultural วัฒนธรรม การสื่อสาร การใช้ภาษา เช่น การแต่งกลอน แต่งเพลง การพูดสุนทรพจน์เป็นภาษาอังกฤษ

ต่อมาคือการรับรู้เข้าใจของ Person หรือ Experience(การได้รับประสบการณ์ชีวิต) ได้แก่

1.Sensorimoter คือ ร่างกายที่มีการเคลื่อนไหว เช่นการอ่านกลอน การร้องเพลง การพูดสุนทรพจน์

2.Cognitive คือ ความรู้ ความเข้า เช่นรู้ว่าเราได้รับมอบหมายอะไร มีรายละเอียดอะไรบ้าง

3.Psycological คือ จิตใจที่มุ่งมั่นจะทำ

ทั้ง3หัวข้อหลักนี้ได้แก่ EXPERIENCE CONTEXT TASK ซึ่งทั้ง3หัวข้อนำมาเชื่อมกันเป็นช่วงความสามารถ คือ Performance Range เช่น ถ้าเพื่อนที่เกิดเดือนเดียวกับเรามีความสามารถมากมีประสบการณ์ เช่น พูดดี แต่งกลอนดี ร้องเพลงดี ช่วงความสามารถของกลุ่มเราก็จะกว้างมากขึ้น แต่ถ้าเรามีทักษะและความสามารถแต่มีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวขัดขวาง Performance range ก็จะแคบ เพราะว่าจะทำกิจกรรมได้แต่ไม่เต็มความสามารถ

หมายเลขบันทึก: 673020เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2019 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2019 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท