know how หรือ know why


สังคมไทยเรากำลังก้าวไปสู่วิกฤตทางสังคมยุคสารสนเทศในปัจจุบัน คำว่าวิกฤตหมายถึงกำลังแย่และไปผิดทาง เช่น การบริโภคข้อมูลอย่างปราศจากการกรอง ทุกวันนี้หากไปท่องอินเตอร์เน็ต จะได้ข้อมูลมากอย่างท่วมท้น แต่ไม่ค่อยมีสาระ หรือไม่แน่ใจว่าจะถูกต้อง เพราะขาดการตรวจสอบยืนยัน

มีเรื่องเล่าให้ฟังครับ

อนุสนธิจากไปฟังการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ของสวช.จัดขึ้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพ ในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครองสิริราชสมบัติครบหกสิบปี

เป็นงานใหญ่มากมีผู้เข้าร่วมนับสี่ห้าร้อยคน แบ่งออกเป็นหลายๆหัวข้อ รวมทั้งผลงานที่ได้รับรางวัลระดับชาติหลายประเภท มีการจัดบูทออกนิทรรศการมากมายโดยหน่วยงานของรัฐและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย

ผมเลือกเข้าไปนั่งฟังเสวนาเรื่องวิกฤตของสังคมไทยในเรื่องสังคมสารสนเทศ ดูน่าสนใจดี มีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์สองท่าน เป็นดอกเตอร์สาวสวยน่ารักจากคณะสารสนเทศศาสตร์ ชื่อ ดร.พะรองรง อีกท่านเป็นศาสตราจารย์ชิดชนก ทางคณิตศาสตร์ จับประเด็นที่น่าสนใจได้โดยสรุปดังนี้

สังคมไทยเรากำลังก้าวไปสู่วิกฤตทางสังคมยุคสารสนเทศในปัจจุบัน คำว่าวิกฤตหมายถึงกำลังแย่และไปผิดทาง เช่น การบริโภคข้อมูลอย่างปราศจากการกรอง ทุกวันนี้หากไปท่องอินเตอร์เน็ต จะได้ข้อมูลมากอย่างท่วมท้น แต่ไม่ค่อยมีสาระ หรือไม่แน่ใจว่าจะถูกต้อง เพราะขาดการตรวจสอบยืนยัน

ท่านวิทยากรใช้คำว่า “in forming…in information society “

คือการเข้าไปรับข้อมูลในสังคมข่าวสารแล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยเต็มที เช่นหากดูตัวเลขว่าคนไทยเข้าไปใช้อินเตอร์เน็ตวันๆหนึ่งมากน้อยขนาดไหน จะเห็นว่ามากจนเห็นโฆษณาอินเตอร์ความเร็วสูงที่เรียกว่าbroad brand เกลื่อนเมือง

แต่อย่าให้จำนวนตัวเลขนั้นหลอกตาเอา เพราะผลวิจัยออกมาว่า ไอ้ที่ Access กันอยู่โครมๆจนสายแทบไหม้ bandwidth มากเท่าไหร่ก็ไม่พอนั้นไม่ใช่เป็นเพราะคนเข้าไปหาความรู้

            แต่ที่จำนวน Access มากเพราะเด็กมัธยมเข้าไปเล่นเกมส์มากต่างหาก 

หันไปวิจัยใน search engine   ดังๆ อย่าง กูเกิ้ล (google) ต้องขำจนกูกลิ้ง แทบตกท้องร่องเพราะปรากฏว่า ตัวเลขที่เข้าไป search ข้อมูลในเน็ตนั้น มีคำสามคำที่ใช้มากที่สุดเรียงตามลำดับ

            คือ sex…god…and job !!!

            อย่าเพิ่งยิ้ม เพราะท่านก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนที่ใช้คำสามคำนี้

ดังนั้น จึงสรุปว่าอย่าไปสนมันว่าจำนวน access มากเท่าใด ให้สนใจว่าคนเข้าไปใช้ทำอะไรดีกว่า

 

ยกตัวอย่างใกล้ตัวอีกหนึ่งตัวอย่าง เดี๋ยวนี้ตรวจการบ้านเด็กสมัยนี้ต้องดูให้ดี

รายงานของเด็กที่ดูดี เริ่ดหรู เรียบร้อย พิมพ์สวย เล่มหนาปึก จะให้คะแนนอย่างไร ส่วนใหญ่เด็ก หาข้อมูลในเน็ตแล้วก๊อปมาง่ายๆ มีหมดทั้งรูปภาพประกอบ เป็นรายงานที่ดูน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง

                ผมอ่านดูแล้วแทบเข้าไปกราบเด็ก เพราะดูฉลาดปราดเปรื่องเกินขนาดหัวกะโหลกที่มีอยู่ แต่พอไปซักไซ้ตั้งคำถามเอาเข้าจริง ปรากฏว่าฟังแล้วแทบหงายกลิ้งล้มทั้งยืน

                เด็กตอบไม่ได้เลยว่าสาระในนั้นมีอะไรบ้าง เขียนเรื่องอะไรก็ไม่รู้ อ้างถึงใครก็ไม่รู้ ขนาดถามถึงสำนวนเด็ดๆที่ใช้ในรายงานนั้นแทบทุกหน้า เด็กก็ส่ายหน้าว่าไม่รู้ไม่ได้อ่านตอบซื่อๆว่า

                ผมก๊อปมาเฉยๆครับ!

ครับ เมื่อก่อนเราวัดความรู้เด็กได้จากการจำ ว่าจำดีจำได้มาก เดี๋ยวนี้วัดความจำไม่ได้แล้ว วัดได้แต่ทักษะการค้นหาและก๊อปๆๆๆ เท่านั้น

                ป่วยการพูดถึงองค์ความรู้

เมื่อทศวรรษก่อน สังคมไทยตื่นตัวกันมากเรื่องเทคโนโลยี นักวิชาการพูดถึงแต่ความรู้ระดับ Know how คืออยากได้ความรู้ว่าทำอย่างไร เกิดตลาดการฝึกอบรมและหนังสือการตลาดขายดีหลายเล่ม สอดรับกับนโยบายรัฐบาลขยายตลาดธุรกิจ SME และซื้อขายสินค้า Brand ดังทั่วโลก เช่น ธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มุ่งค้ากำไรจาก know how เรียกว่าใครฉลาดและประสบความสำเร็จก่อนคนอื่น ก็ขายวิธีการประสบความสำเร็จของตน

เป็นสูตรสำเร็จที่นิยมทำตามกันง่ายๆ

รวยตามก้นคนที่รวยแล้ว ว่างั้นเฮอะ

                รวยตามกันมากๆ จึงเกิดอาการสมองตัน คือคิดเองไม่เป็นแล้ว ชีวิตมีแต่คอยดูก้นคนรวยว่า จะหันไปทางไหนบ้าง 

ศัพท์สมัยใหม่เรียกว่าโรค know how ครับ แต่

คำพังเพยไทยๆเรียกว่าโรค เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง

 

คนฉลาดสมัยนี้ ต้องสร้างค่านิยมใหม่ อย่าไปสนใจหาซื้อ know how อย่างเดียว  แต่ให้สนใจว่า know why คือให้ถามตนเองก่อนว่า ทำไมต้องทำ ดีกว่า

                จะได้ฉลาดขึ้นมาอีกระดับ ไม่งั้นรูที่ทวารจะบานเอาง่ายๆ เพราะเป็นโรคอึตามช้างนั่นแหละครับ

นี่คือวิกฤตของการ in forming…ของสังคม  Information วันนี้!!

  

                                                                                               พิชัย กรรณกุลสุนทร

                                                                                                        

  

             
หมายเลขบันทึก: 67050เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2006 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ลูกศิษย์วัดห้วยส้ม

จริงอย่างที่อาจารย์บอกค่ะ ประเทศไทยเราต้องเริ่มเปลี่ยนวัฒนธรรมการศึกษาของเด็กให้เป็น Learning organization ให้ได้

ขอบคุณครับ

ดีใจที่มีศิษย์จากห้วยส้มมาถึงที่นี่

ลองเขียนบันทึกเกี่ยวกับประสบการณ์ปฏิบัติธรรมดูซิครับ

พิชัย

 

วิธีการปฏิรูปการศึกษาที่น่าจะดีที่สุด น่าจะเริ่มด้วยการบรรจุหลักสูตร "ห้วยส้ม" เข้าไปเป็นหลักสูตรบังคับในทุก ๆ ระดับชั้น  โดยเริ่มต้นที่ผู้บริหารก่อนเลย  อาจารย์ว่าอย่างนั้นไหมคะ

จากลูกศิษย์ห้วยส้มอีกคนหนึ่งค่ะ

ณัชร

ป.ล. เวลาหนูตรวจข้อสอบเด็ก  หนูก็จะเกิดความรู้สึกที่กำหนดยากค่ะ  คือไม่ทราบว่าจะหัวเราะดี หรือ ร้องไห้ดีน่ะค่ะ  ประมาณนั้น  คือบางทีมันก็ขำมาก แต่มันก็เศร้ามากด้วย  เมื่อคิดว่านี่คืออนาคตของชาติน่ะนะคะ  แล้วเป็นห่วงเขาน่ะค่ะ  คือไม่รู้ว่าเขารู้ตัวกันบ้า่งหรือเปล่า  แล้วก็ไม่รู้ว่าจะช่วยกันได้อย่างไร  แล้วถ้าจะช่้วย จะเริ่มที่ตรงไหน  ในเรื่องที่เด็กรุ่นใหม่คิดอะไรเองไม่เป็นนี่น่ะค่ะ 

ถึงหนูณัชร

แต่หนูก็เป็นตัวอย่างของเด็ก(รึปล่าว)รุ่นใหม่ที่อาจารย์ภาคภูมิใจนะ เพราะคงเป็นแบบที่ดีได้สำหรับลูกศิษย์

บางทีอาจารย์ก็รู้สึกแก่ไปเหมือนกัน เลยต้องมาทำเล่นๆหัวๆอยู่บ้าง เพื่อให้เด็กๆรู้สึกว่าเข้าใกล้ได้บ้าง

พิชัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท