การจัดการความรู้


การทำให้ห้องสมุดเป็นแกนกลางในการเป็นหน่วยงานจัดการองค์ความรู้ และการกระตุ้นให้มีการใช้ความรู้เพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กรบนพื้นฐานการให้บริการที่ดี เป็นสิ่งที่ท้าท้ายคนในวงการห้องสมุดไม่น้อย
ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาเรื่อง การจัดการความรู้สู่การพัฒนาองค์กรเรียนรู้ ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการ PULINET ได้จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในโอกาสที่ข่ายงาน PULINET ได้ดำเนินการมาครบสองทศวรรษ ในการสัมมนาดังกล่าว มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านมาให้ความรู้เกี่ยวกับ KM ทั้งในเรื่องของความสำคัญ ความจำเป็นในการจัดการความรู้ จุดเริ่มต้นในการจัดการความรู้ ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้ และชุมชนปฏิบัติ

การจัดการความรู้ไม่ได้เป็นเรื่องยาก แต่ละองค์กรสามารถทำ KM โดยเริ่มจากการเรียนรู้จากความสำเร็จ (Best Practice) หรือความผิดพลาด (Lessons learned) แต่สิ่งที่ยากที่สุดน่าจะเป็นวัฒนธรรม และพฤติกรรมของคนในองค์กร ทั้งในเรื่องการให้ความร่วมมือ วิธีการทำงานและการสื่อสาร การมีเจตคติที่ดีในการแบ่งปันความรู้ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และให้เกียรติกัน การเคารพในสิทธิและความคิดเห็นของผู้ร่วมงานในทุกระดับ และการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีต เป็นต้น การสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการสนับสนุนความสำเร็จของการทำ KM นอกเหนือจากปัจจัยอื่น ๆ

การทำให้ห้องสมุดเป็นแกนกลางในการเป็นหน่วยงานจัดการองค์ความรู้ และการกระตุ้นให้มีการใช้ความรู้เพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กรบนพื้นฐานการให้บริการที่ดีนั้น เป็นสิ่งที่ท้าท้ายคนในวงการห้องสมุดไม่น้อย

มีบางประเด็นที่วิทยากรได้พูดถึงซึ่งดิฉันคิดว่าสามารถสะท้อนภาพการทำ KM ในมหาวิทยาลัยได้ ท่านวิทยากรได้พูดให้ฟังว่า กุญแจ 4 ดอก ของ KM กับระบบในมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย content ซึ่งมีมาก แต่กระจัดกระจาย People มีเยอะ แต่แยกกันคิด Process มีระบบแต่ขาดการประสาน Technology ทันสมัยแต่ขาดการบำรุงรักษา
หมายเลขบันทึก: 67000เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2006 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท