รูปในบล็อก กับ tacit knowledge


พอมีรูปแล้วดูคึกคักขึ้นมาก

เครื่องมือ IT ส่วนใหญ่ จะมองเน้นเรื่อง (Information) คือเน้นการ
ถ่ายทอดข้อมูล และความรู้แบบชัดแจ้ง (explicit knowledge) เป็นหลัก
เทคโนโลยีที่ยากๆ เช่น data mining, natural language processing
ก็เป็นการทำงานกับ Information ทั้งนั้น  ในขณะที่ความรู้ 90% ยัง
อยู่ในตัวคน เป็น tacit knowledge ที่เจ้าของรู้ แต่ไม่ได้แสดงออกมา

แล้วปกตินั้น "ความรู้แฝง" เหล่านี้ ถ่ายทอดกันอย่างไรเล่า?
ถ้าอิงตาม model SECI ของ Nanoka จะพบว่ากลไกหลักของ
การถ่ายทอด tacit->tacit ก็คือกระบวนการ socialization หรือ
การเข้าสังคมน่ะเอง  เช่น การจะสอนการผิวปาก หรือขี่จักรยาน
ก็ต้องสาธิตให้เห็นด้วยตา แล้วให้คนเรียนได้ลองทำ ถ้ายังไม่ได้
ก็สาธิตให้ดูใหม่ และทดลองใหม่ แบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทำเป็น

หันมามองในบริบทของบล็อกบ้าง  ข้อความในบล็อกมีข้อจำกัดที่
ไม่สามารถสื่อความรู้ลึกๆ ออกมาได้หมด  บางอย่างต้องอ่านแบบ
"ระหว่างบรรทัด" หรือตีความเอง (บางทีก็ตีความผิด)  ข้อจำกัดตรงนี้
เป็นเรื่องของเทคโนโลยีปัจจุบัน ที่ทำให้การสื่อสารแบบ Blog2Blog
ยังไม่ได้รสชาติเทียบเท่ากับแบบ Face2Face  คงต้องรอให้ระบบ
video conference แพร่หลายมากขึ้นก่อนกระมัง

ตอนนี้ สิ่งที่ใกล้เคียง Face2Face ที่สุด ก็คือ การใช้รูป ในบล็อก
ผมสังเกตความรู้สึกตัวเอง เวลาอ่านบล็อกที่มีรูปและไม่มีรูปแล้ว
จะต่างกันค่อนข้างมาก  ผมเชื่อว่ารูปเป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่ง
ที่ช่วยถ่ายทอด tacit knowledge ได้  ผ่านทางภาพที่ rich
ในความหมาย และการใช้ diagram ในการสื่อเรื่องยากๆ ออกเป็นภาพได้
ยกตัวอย่างเช่น บันทึกเรื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการจัดการความรู้
ถ้าไม่มีรูป ก็จะรู้สึกเป็นแค่ "ข่าว" ชิ้นหนึ่ง  แต่พอมีรูปแล้วดูคึกคักขึ้นมาก
หรือการที่ผมเขียนอธิบายถึง Blog and Dialogue ที่มี diagram
ของกระบวนการ ทำให้บันทึกน่าอ่านขึ้นด้วย

ใครที่ยังไม่เคยหัดใส่รูปในบันทึก สามารถไปอ่านที่ อ.จันทวรรณ
สอนวิธีใส่รูป ได้ครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 670เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2005 02:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลูกสาวอ.ที่ผมเคารพเรียนเปียนโนกับครูแบบ 1 ต่อ1 อ.บอกว่าเรียนแบบพระเจ้าตาคือเรียนชีวิต จิตใจด้วย ซึ่งสมัยก่อนครูจะรู้จักเด็กทุกคน และครูต้องเป็นแม่พิมพ์ด้วย แต่เดี๋ยวนี้เป็นการเรียน"หนังสือ"โดยใช้เทคโนโลยีช่วยมากขึ้น ความรู้เมื่อก่อนติดตัวครู และจะถ่ายทอดผ่านศิษย์ที่เชื่อใจเพราะครูรู้ว่าความรู้เป็นดาบสองคม เอาไปใช้ในทางไม่ดี จะเสียมากกว่าได้ ความรู้จึงตายไปกับครูมาก ความรู้นอกจากเป็นเทคนิค/ทักษะแล้ว ยังมีคุณค่าทางใจด้วย ผมเห็นว่ากิจการตระกูลที่สืบทอดต่อ ๆกันมา โดยรุ่นลูกหลานได้นำความรู้สมัยใหม่เข้ามาประยุกต์กับความรู้เก่าแก่ของตระกูลและได้ผลงอกงามดำรงอยู่ได้คือการจัดการความรู้ ซึ่งหลายสิ่งหลายอย่างถูกทำลายไปด้วยวาทกรรมการพัฒนาโดยเฉพาะในซีกชุมชน

มนุษย์หลีกหนีสังคมไม่พ้น เมื่อการเรียนเป็นเรื่องความรู้และการแข่งขันเทคโนโลยีจึงเข้ามาเติมเต็มเรื่องเหล่านี้ด้วย  ทั้งการchat ออนไลน์ และBlog น่าจะเป็นวิถีใหม่ที่ห้องเรียนและหน้าที่การงานแบ่งแยกคนมากขึ้น แต่ก็มีข่าวร้าย ๆเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสายด่วนนี้เสมอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท