อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

การแพทย์พื้นบ้าน : หัตถการนึ่งยา/ทับอิฐ


การแพทย์พื้นบ้าน : หัตถการนึ่งยา/ทับอิฐ

                                                                                                                โดย  พท.ดร.ศุภฤกษ์  ภมรรัตนปัญญา

            ศาสตร์การแพทย์พื้นบ้าน  เป็นศาสตร์ที่คนไทยนำมาใช้ในการดูแล รักษา ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพและอาการเจ็บป่วยสำหรับคนไทยมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะในกลุ่มชนบทที่ห่างไกลการสาธารณสุขยังคงเลือกการแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์พื้นบ้านเป็นอันดับแรกในการใช้รักษาอาการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ยังเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือกันอย่างเหนียวแน่น ในกลุ่มชาติพันธ์ที่ยึดถือในขนบธรรมเนียมทางวัฒนธรรมการแพทย์ซึ่งเชื่อมโยงกับความเชื่อในทางศาสนาและพิธีกรรม มาเกี่ยวข้องในวิถีชีวิตการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวและชุมชนด้วย ซึ่งในปัจจุบันทางการถือว่าการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการใช้สมุนไพรในครัวเรือนนั้นเป็นหลักสาธารณสุขมูลฐานที่ป่วยบรรเทาอาการได้ในระดับต้นก่อนส่งต่อผู้ป่วยมาเข้าระบบการดูแลรักษาตามหลักการแพทย์แผนปัจจุบันต่อไป

                การนึ่งยาหรือการทับอิฐนั้นเป็นการนำเอาศาสตร์การแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์พื้นบ้าน มาใช้ในการดูแลรักษาฟื้นฟูมารดาหลังคลอดในขณะอยุ่ในเรือนไฟ อีกทั้งเป็นหัตถการทางการแพทย์ฯที่สามารถทำให้กับมารดาในระยะหลังเรือนไฟได้อีกด้วย  ซึ่งการนึ่งท้องหรือทับอิฐนั้นเป็นการนำเอาความร้อนมากระตุ้นให้สมุนไพรหรือเครื่องยาให้ออกฤทธิ์ได้เต็มที่ โดยสรรพคุณหลัก  จะช่วยในการขับเลือดทำให้มดลูกแห้ง  ขับน้ำคาวปลา แผลแห้งและทำให้ท้องของมารดาหลังคลอดนั้นยุบเข้าที่สวยงามไม่หย่อนคล้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่มารดาหลังคลอดทุกท่านพึ่งประสงค์ อีกทั้งการทำหัตถการนี้มีวิธีทำที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน อีกทั้งเครื่องยาที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบนั้นก็สามารถหาได้ในครัวเรือน โดยมีวิธีการง่ายๆดังนี้

  เครื่องยาประกอบ   ๑. สารส้ม ๒. ไพร ๓. ดีปลี ๔. กระเทียม ๕. พริกไทย ๖. ดินประสิว สิ่งละ 1 บาท                              

  เครื่องยาหลัก          . ใบมะกา เท่าจำนวนยาทั้งหลายข้างต้นรวมกัน

   วิธีการรักษา          นำใบระกาน้ำหนักเท่ากับยาทั้งหมดรวมกันคลุกเคล้ากับสุราหรือน้ำส้มสายชูก็ได้แล้วแผ่ลงบนหน้าท้องตรงมดลูก แล้วเอาผ้าทำเป็นพวงมาลัยครอบยาทั้งหมดไว้ เอาหม้อหรืออิฐที่เตรียมไว้แล้วตั้งไฟให้ร้อนจัดแล้ววางทับลงบนยา นาบคลึงไปมาบนหน้าท้องให้ร้อน โดยทำวันละ ๒ ครั้ง เช้า - เย็น
                ดังที่กล่าวมานั้นเป็นขั้นตอนการทำหัตถการที่ง่ายและไม่ซับซ้อน แต่ทั้งนี้ก็ควรจะได้รับการรักษาโดยแพทย์ฯ ที่เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์โดยตรง  เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอันตรายได้ในขณะที่ทำการบำบัดรักษา


หมายเลขบันทึก: 665185เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2019 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2019 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท