4 ภาษา


ภาษาไทย ภาษามลายู(มาเลย์) ภาษาอาหรับ ภาษาอาหรับ

ปัญหาอย่างหนึ่งของคนที่ทำงานที่วิทยาลัยอิสลามยะลา คือ ภาษา

เมื่อก่อนผมทำงานที่ห้องทะเบียน เวลานักศึกษามาติดต่อ บางครั้งไม่รูว่าจะสอบถามเขาด้วยภาษาอะไร เพราะที่นี้มีใช้หลายภาษามาก

ภาษาแรก คือ ภาษาไทย ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาไทย เป็นภาษาที่ติดต่อกันเป็นทางการ โดยเฉพาะกับราชการภายนอก

ภาษาที่สอง คือ ภาษามลายู หรือ ภาษาถิ่น จะใช้พูดคุยกันทั่วๆไป กับกลุ่มที่มาจาก 4-5 จังหวัดชายแดนใต้

ภาษาที่สาม คือ ภาษาอาหรับ เป็นภาษาศาสนา เมื่อก่อนนักศึกษาที่จะเรียนที่นี้ต้องพูดอ่านเขียนภาษาอาหรับได้ เพราะมีสาขาวิชาที่เปิดสอน เพียงสามสาขาวิชาซึ่งต้องใช้ภาษาอาหรับในการสื่อสารและเรียนรู้

ภาษาที่สี่ คือ ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาสากล จะใช้มากขึ้นหลังจากเปิดสอนไอที เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ

ดังนั้น นักศึกษาของเราจึงมีหลายลักษณะ ถ้าเป็นคนไทย มีภาษาเป็นพื้นฐานอยู่ สามารถติดต่อด้วยภาษาไทยได้

ถ้าเป็นชาวมาเลย์หรืออินโด ต้องใช้ภาษามลายูกับภาษาที่เขาเลือกเรียน ถ้าเลือเรียนศาสนาก็สามารถสื่อสารด้วยภาษาอาหรับได้

ถ้าเป็นนักศึกษาที่มาจากที่อื่น เช่น จีน กัมภูชา เวียดนาม เวลามาติดต่อกับวิทยาลัยเขาจะใช้ภาษาที่เขาเรียนสื่อสาร เช่น

ถ้าเขาเรียนศาสนาหรือภาษาอาหรับ เขาจะสื่อสารกับเราภาษาอาหรับเท่านั้น

ถ้าเรียนไอทีหรือภาษาอังกฤษก็จะติดต่อด้วยภาษาอังกฤษเท่านั้น

ดังนั้นเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการแก่นักศึกษา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้หลายภาษา

ผมเองก็งง เวลามาหน้าแปลกๆเป็นชาวจีนหรือกัมภูชาไม่รู้จะเริ่มต้นสื่อสารด้วยภาษาอะไรดี

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาษานานาชาติ
หมายเลขบันทึก: 66468เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2006 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท