ความเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกิจการ


บทความนี้เป็นบทความที่สรุปเกี่ยวกับความรู้ที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์วิทยา ฟองวาสนาส่ง ในหัวข้อเรื่อง การรวมกิจการ ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับผู้ที่จะประกอบธุรกิจทุกประเภทและเป็นเนื้อหาที่บุคคลทั่วไปและผู้ที่ประกอบธุรกิจทุกประเภทควรศึกษาอย่างยิ่ง

       เมื่อวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2549 อาจารย์วิทยา ฟองวาสนาส่ง ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการรวมกิจการ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

           [ การรวมกิจการ หมายถึง การนำกิจการที่แยกต่างหากจากกันมารวมเป็นหน่วยงานทางเศรษฐกิจเดียวกัน โดยการที่กิจการหนึ่งรวมกับอีกกิจการ หรือการที่กิจการหนึ่งเข้าควบคุมสินทรัพย์สุทธิและการดำเนินงานของอีกกิจการหนึ่ง

 

                [ ประเภทของการรวมกิจการ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

                   1. การรวมกิจการแบบแนวนอน จะเป็นการรวมกิจการที่มีลักษณะเหมือนกันเข้าด้วยกัน เช่น Major กับ EGV เป็นต้น

                   2. การรวมกิจการแบบแนวตั้ง จะเป็นการรวมกิจการหนึ่งกับกิจการหนึ่งที่สินค้าหรือบริหารมีความเกี่ยวข้องกัน เช่น การรวมกันของกิจการผลิตน้ำอัดลมกับกิจการผลิตขวด เป็นต้น

                   3. การรวมกิจการแบบผสม การรวมกิจการแบบนี้จะไม่สนใจว่าเป็นธุรกิจเดียวกันหรือไม่ เช่น การรวมกันของธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้ากับธุรกิจภาพยนตร์ เป็นต้น

 

          [ วิธีการรวมกิจการ สามารถทำได้ 4 แบบ คือ

                   1. การควบกิจการ หมายถึง การรวมธุรกิจโดยกิจการหนึ่ง ซื้อหรือรับโอน สินทรัพย์สุทธิทั้งหมดของอีกกิจการหนึ่งหรือหลายกิจการ ซึ่งอาจจะกระทำโดยการ

                             - โดยการแลกเปลี่ยนหุ้นทุน

                             - โดยการชำระเป็นเงินสด

                        - โดยการชำระเป็นหุ้นกู้ หรือสินทรัพย์อื่นๆ

                                        - กิจการของผู้ซื้อหรือรับโอนจะยังคงอยู่

                             - กิจการของผู้ถูกซื้อหรือโอนจะต้องล้มเลิกไป หรือกลายเป็นหน่วยงานหนึ่งของกิจการของผู้ซื้อ

                   2. การรวมกิจการ หมายถึง การรวมธุรกิจโดยการจัดตั้งกิจการขึ้นใหม่ เพื่อรับโอนสินทรัพย์สุทธิทั้งหมดของกิจการที่ดำเนินงานอยู่แล้วตั้งแต่ 2 กิจการขึ้นไป โดย

                             - กิจการเดิมต้องล้มเลิกไป

                        - กิจการที่จัดตั้งขึ้นใหม่จะเป็นผู้ดำเนินการต่อ

              3. การซื้อหุ้น หมายถึง การรวมธุรกิจโดยกิจการหนึ่งซื้อหุ้นที่มีสิทธิ

ออกเสียงทั้งหมดหรือบางส่วนของอีกกิจการหนึ่ง โดยการ

                        - โดยการชำระเป็นเงินสด หุ้นทุน หรือหุ้นกู้

                        - กิจการที่ขายหุ้นและกิจการที่ซื้อหุ้นยังคงดำเนินการต่อไปอย่างอิสระแยกจากกัน

                        - ความสัมพันธ์ของทั้งสองกิจการจะเป็นไปในรูปของบริษัทในเครือ

                        - กิจการที่ซื้อหุ้นจะกลายเป็นบริษัทใหญ่ และ กิจการที่ขายหุ้นจะกลายเป็นบริษัทย่อย

              4. การซื้อสินทรัพย์สุทธิ หมายถึง การรวมธุรกิจโดยกิจการหนึ่งซื้อสินทรัพย์สุทธิของอีกกิจการหนึ่ง จะกระทำโดย

                        - โดยไม่มีการซื้อหุ้นทุนของกิจการนั้น

                        - กิจการผู้ซื้ออาจออกตราสารหนี้ หุ้นทุน หรือสินทรัพย์ต่างๆให้กับกิจการผู้ขาย

                        - กิจการผู้ขายยังคงดำเนินกิจการอยู่ต่อไปเป็นหน่วยงานอิสระ

                        - ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในลักษณะบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย

 

        [ เหตุผลและประโยชน์ของการรวมกิจการ

              1. ประหยัดต้นทุน เช่น เรื่องสถานที่,อุปกรณ์ เป็นต้น อีกทั้ง

                        - ลดต้นทุนการผลิต ทำให้สามารถขยายสายการผลิตได้มากขึ้น

                        - เพิ่มโอกาสในการสร้างความแตกต่างของสินค้า(การรวมแบบผสม)

                        - ลดต้นทุนด้านการวิจัยและพัฒนา เพราะจะไม่ต้องลงทุนในการเริ่มต้นใหม่(สูง)

                        - ลดต้นทุนด้านการดำเนินงาน เช่น เรื่องบุคลากร เป็นต้น

                     2. ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ

                        - ด้านการบริหารเงิน มีโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้น

                        - มีความสามารถในการก่อหนี้สูงขึ้น เพื่อนำมาใช้ในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นได้

                        - ต้นทุนทางการเงินต่ำลง

              3. ดำเนินงานได้ต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก

                        - สร้างโอกาสในการลงทุน

                        - เพิ่มอำนาจในการดำเนินธุรกิจ การเจรจาต่อรอง

                        - สร้างอัตราการเติบโตของรายได้

              4. หลีกเลี่ยงการเข้าดำเนินงานโดยกิจการอื่น

              5. ลดคู่แข่งขันและเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด

              6. ความต้องการในสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

              7. ประโยชน์ด้านภาษี

 

     ý ท้ายคาบเรียนอาจารย์วิทยา ฟองวาสนาส่ง ได้ให้นักศึกษาทำการรวม

กิจการที่นักศึกษาสนใจจะทำ โดยการจับคู่กับนักศึกษาด้วยกันในห้องเรียน ซึ่งพอจะสรุปความรู้ได้คร่าวๆ คือ ในการรวมกิจการนั้นจะต้องดูความเหมาะสมเรื่องของสถานที่ เวลาและกิจการที่จะนำมารวมว่าสามารถไปด้วยกันได้หรือไม่ เช่น ธุรกิจประดับยนต์ กับ ธุรกิจสปา เมื่อนำมารวมในที่หนึ่งแล้วจะมีความเหมาะสมและลงตัว คือ เมื่อลูกค้าที่มาใช้บริการของธุรกิจประดับยนต์ ซึ่งในตัวของธุรกิจประดับยนต์แล้วนั้นเวลาในการให้บริการลูกค้าแต่ละรายนั้นจะใช้เวลาในการให้บริการไม่ต่ำกว่ารายละประมาณ 1 ชั่วโมงขึ้นไป ทำให้ระยะเวลาในการคอยของลูกค้านั้นจะศูนย์ไปเปล่า

หากมีการเพิ่มธุรกิจสปาอยู่ในที่เดียวกันแล้วนั้นจะทำให้ธุรกิจทั้งสอง

ธุรกิจสามารถเอื้ออำนวยการกัน คือ เมื่อเวลาในการรอการให้บริการของธุรกิจประดับยนต์ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาลูกค้าก็อาจจะเข้าไปใช้บริการของสปา เช่น นวดหน้า,นวดฝ่าเท้า เป็นต้น ทั้งนี้อาจจะขึ้นอยู่เวลาในการให้บริหารของธุรกิจประดับยนต์ ยิ่งใช้เวลามากขึ้นเท่าไหร่ จำนวนเวลาที่ลูกค้ารอและใช้บริการของธุรกิจสปาก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย

         ทั้งนี้ ในความคิดส่วนตัวเองคิดว่า ธุรกิจที่เพื่อนร่วมชั้นสนใจจะทำเป็น

ธุรกิจของตนเองนั้น สามารถนำมารวมกันอยู่เป็นที่เดียวกัน เพราะมีทั้งผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจสปา,หนังสือมือสอง.กิ๊ฟช๊อป, ขายเสื้อผ้า-กระเป๋า,สถาบันกวดวิชา,เบเกอร์รี่ และอื่นอีกมากมาย นำมาอยู่รวมกันเป็นแหล่งเดียวกัน ซึ่งก็อาจจะคล้ายๆ กับ Complex เมื่อนำมาอยู่รวมกันทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการจะมีความเพลิดเพลิน และทำให้ธุรกิจแต่ละธุรกิจอยู่ร่วมกันได้ เอื้ออำนวยกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะต้องขึ้นอยู่กับสถานที่ กิจการที่มีความเหมาะสมที่จะนำมารวม โดยในการรวมกิจการกันนั้นคิดว่าในแต่ละกิจการควรจะมีฐานลูกค้าอยู่บ้าง มิใช่เป็นการเปิดตัวของกิจการใหม่ทั้งหมด เพราะจะทำให้เสียต้นทุนในการบริหารจัดการส่วนกลาง,การโฆษณาประชาสัมพันธ์ และอื่นๆ อีกมากมาย จนอาจทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นมากตามไปด้วย                                                          

หมายเลขบันทึก: 66401เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากทราบว่า จะรวมหุ้น กันอย่างไร

1.ทุนจดทะเบียน 2 ล้าน ของนายทุน A

2.เงินกู้นอกระบบ 5 ล้าน ของนายทุน A

3.ลูกหนี้ การค้า 12 ล้าน กิจการ

4 สินค้าคงเหลือ 4 ล้าน กิจการ

5.เงินของนายทุน B 14 ล้าน กู้มาลงทุน

ตอนนี้จะรวมกัน นายทุน A 35 % นายทุน B 65 %

จะต้องหักหนี้กันอย่างไร

Sirintip

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท