จากวิจัย...สู่ธุรกิจของ วิชัย เชิดชีวศาสตร์


เส้นทางสู่ความสำเร็จในการดำเนินการวิจัย ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ มามากมาย กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ ที่ท่านสามารถพูดได้อย่างภาคภูมิใจว่า ท่านและทีมงานวิจัยของท่าน เป็นกลุ่มที่อยู่แถวหน้าสุดในเรื่องงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ กวาวเครือ

วิชัย เชิดชีวศาสตร์

  • เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปฟังการบรรยายเรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาไปสู่นวตกรรมใหม่   โดย รศ.ดร. วิชัย เชิดชีวศาสตร์  ผู้ได้รับรางวัลเมธีส่งเสริมนวตกรรม สาขาธุรกิจชีวภาพ ปี 2549   ในการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพในการวิจัยของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ในเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ที่ท่านอาจารย์ได้เล่าเส้นทางสู่ความสำเร็จในการดำเนินการวิจัยเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพืช กวาวเครือ และ พัฒนาจนกระทั่งสามารถนำไปสู่การทำธุรกิจได้นั้น ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ มามากมาย กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ ที่ท่านสามารถพูดได้อย่างภาคภูมิใจว่า  ท่านและทีมงานวิจัยของท่าน เป็นกลุ่มที่อยู่แถวหน้าสุดในเรื่องงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ กวาวเครือ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่เป็นระดับโลก  ผลงานได้รับการจดสิทธิบัตรไปแล้วในต่างประเทศหลายอัน  และ จะได้รับสิทธิบัตรในประเทศไทยเองอีกหลายอันในระยะเวลาอันใกล้นี้  รวมทั้งนำผลการวิจัยและพัฒนาไปใช้ในเชิงธุรกิจได้แล้ว
  • ท่านเล่าให้ฟังว่า การวิจัยที่จะนำไปสู่การพัฒนาไปจนถึงขั้นเป็นนวตกรรมใหม่ และนำไปใช้ในเชิงธุรกิจได้นั้น   ประการสำคัญคือ  ผู้วิจัยเองจะต้องมีความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ และ ทำอย่างต่อเหนื่อง  หลังจากการตัดสินใจจะทำเรื่องใด โดยจะต้องมีข้อมูลที่ครอบคลุมและทันสมัยในเรื่องนั้น  ซึ่งในปัจจุบัน เทคโนโลยีด้าน ICT มีส่วนช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ  ได้ไม่แตกต่างกันมากแล้ว  ท่านบอกว่าการดูและอ่านข้อมูลงานวิจัยจะต้องวิเคราะห์เจาะลึกลงไปจนกระทั่งสามารถมอง เห็นทิศทาง หรือ Trends ของเรื่องนั้นออก ว่าการวิจัยในเรื่องนั้นมีแนวโน้มจะไปในทิศใด  ต้องรู้ว่าใคร หรือ ทีมวิจัยใด เป็นผู้นำในเรื่องนั้น ๆ บ้าง  โดยวิธีนี้เมื่อตัดสินใจว่าจะทำวิจัยเรื่องใด ก็จะมีข้อมูลพร้อมที่เขียนโครงการได้ครบอยู่ในมืออยู่แล้วท่านเล่าว่า แม้แต่ การตั้งชื่อเรื่อง ที่จะส่งไปตีพิมพ์ก็มีความสำคัญ ต่อการที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารนั้นหรือไม่ ?  เราจะต้องรู้ว่า คำใดที่กำลังอยู่ในกระแส หรือ ทิศทางที่เขาสนใจ  เพื่อให้บรรณาธิการใหญ่ของวารสารนั้นอ่านแล้วเกิดสนใจที่จะดูลึกลงไป และส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิจารณาต่อ  ถ้าชื่อเรื่องไม่มีคำที่ถือว่าเป็นคำหลัก หรือ Key words ที่น่าสนใจ ถึงแม้เนื้อหาข้างในจะดี โอกาสที่จะได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ โดยเฉพาะในวารสารที่มี Impact factor สูงก็อาจจะมีน้อย
  • อีกเรื่องที่ท่านเน้น  นอกเหนือจากการทำวิจัยในเรื่องเดียวอย่างต่อเนื่อง แม้จะพบอุปสรรคมากมายก็ตาม ก็คือ การทำงานเป็นทีม โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญข้ามสาขา เมื่อเห็นว่าตัวเองไม่มีความชำนาญในเรื่องนั้นมากพอ  ท่านยกตัวอย่างผลงานจำนวนมากของท่านที่ทำร่วมกับ อาจารย์ด้านเคมี ชีวเคมี และ แม้แต่กับแพทย์  พยาบาล รวมทั้งการเชื่อมโยงกับภาคเอกชน  ท่านยกตัวอย่างเรื่องของการที่จะนำเอา กวาวเครือแดง ไปทดสอบผลในไก่ในฟาร์มขนาดใหญ่ของบริษัทเอกชน  ท่านต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ Big Boss ของบริษัทนั้น ให้เชื่อมั่นใน กวาวเครือแดง ของท่านเสียก่อน โดยให้ทดสอบด้วยตัวเองเป็นต้น 
  • ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key Success Factor) 
  •           1. ต้องมีความมุ่งมั่น และทำอย่างต่อเนื่องระยะยาว ในเรื่องที่ทำ 
  •           2. วางแผน และ แสวงหาพันธมิตรที่มีจุดหมายเดียวกัน
  •           3. ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญข้ามสาขา  ทำงานเป็นทีม
  •           4. ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ร่วมงาน หรือ ผู้ร่วมลงทุน

 

หมายเลขบันทึก: 66308เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • แวะเข้ามาเก็บเกี่ยว ค่ะ อาจารย์ ^__
  • ขอบพระคุณค่ะ   อาจารย์ Panda รวดเร็ว (ปานกามนิตหนุ่ม) อีกแล้ว
  • เนื่องจากผมไม่ใช้เครื่องมือช่วยครับ ใช้ Deep listening โดยไม่ได้จดเลย  จึงต้องรีบบันทึกจากประเด็นหลักที่จับได้ ก่อนลืม
  • การบันทึกจับประเด็นไม่ใช่การจดตามสิ่งที่เขาพูดทั้งหมดครับ  ลำดับก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนตามที่ผู้พูดนำเสนอครับ
  • นี่เป็นความเห็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นรูปแบบของการเป็น คุณลิขิต 
  • เพราะถ้าต้องการเก็บทุกอย่าง ปัจจุบันมีเครื่องมือบันทึกทั้งภาพและเสียงได้สมบูรณ์อยู่แล้วครับ
  • KM ไม่ทำไม่รู้ ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท