แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ


หลักสูตร คือ หัวใจของการจัดการศึกษา ศักยภาพของครูช่วยพัฒนาการศึกษาของชาติ

     การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จโดยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียงกันตามมิติความต้องการจำเป็นของแต่ละสถานศึกษา มีกิจกรรมร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาซึ่งหมายถึงกระบวนการสร้างแผนหรือแนวทางในการจัดมวลประสบการณ์ที่จัดทำโดยบุคคลหรือคณะบุคคลในระดับสถานศึกษาเพื่อใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นหลักสูตรแกนกลางที่กำหนดจากส่วนกลางที่ปรากฏในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  และส่วนที่เกี่ยวกับสภาพชุมชนและท้องถิ่นซึ่งพัฒนาโดยเขตพื้นที่การศึกษา และส่วนเพิ่มเติมที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับความสนใจ ความต้องการและความถนัดของผู้เรียนรวมทั้งความเหมาะสมกับสภาพสังคม กระบวนการใช้หลักสูตรสถานศึกษาและการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแบบเครือข่ายสถานศึกษา ทั้งหมด    7 ประการ ด้วยกันดังต่อไปนี้
        1.  ปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแบบเครือข่ายสถานศึกษา
ทรัพยากรบุคคลจะต้องมีจิตแห่งการใฝ่รู้ ตระหนักในการพัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีจิตใฝ่รู้สร้างความรู้ด้วยตนเองตามมาตรฐานหลักสูตรโดยใช้กระบวนการวิจัย บุคคลต้องตระหนักในการพัฒนาวิชาชีพตนโดยใช้กระบวนการวิจัยและการจัดการความรู้
แต่ละสถานศึกษาจะต้องจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและแนวทางในการปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรทุกระดับทุกประเภท จะต้องสร้างความเข้มแข็งในสถานศึกษาด้านทรัพยากรบุคคลของสถานศึกษาเองจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรและสามารถสร้างความเข้าใจให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร่วมมือกันระหว่างสถานศึกษาและองค์กรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียนและท้องถิ่น  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของบุคคล  ชุมชน  ท้องถิ่นและสังคมไทยในอนาคต
        ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมได้ จะต้องพัฒนาครูและบุคลากรบุคคลให้เข้าใจถึงเป้าหมายการพัฒนาการจัดการศึกษา มาตรฐานการจัดการศึกษา มาตรฐานหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในระดับการศึกษานั้น ๆ และโดยภาพรวม ทฤษฎี หลักการ แนวคิด และกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน
        สังคมแห่งการเรียนรู้ในองค์กร ควรมุ่งเน้นให้ใช้พลังของความรู้ที่ขับเคลื่อนด้วยกลยุทธ์ของกระบวนการการจัดการความรู้และอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสื่อสารและสารสนเทศ เพื่อมุ่งสู่การปรับเปลี่ยนทางสังคม ทำให้ข้อมูลสารสนเทศและความรู้ กระจายไปได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว โดยเน้นให้เกิดการการสร้าง กระจายและใช้สารสนเทศและความรู้ ใน3 ลักษณะสำคัญ คือ      1) การได้มาซึ่งองค์ความรู้อย่างลุ่มลึกเกิดเป็นนวัตกรรมด้วยการใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยอาจมุ่งเน้นให้เกิดปัจจัยที่ส่งผลกระทบสูง  2) การให้การศึกษาและฝึกอบรมเพื่อให้เกิดทักษะและความสามารถระดับสูง   3) มีการจัดการโครงสร้างงานใหม่ให้เป็นสังคมฐานความรู้ ที่มีความรู้ในเหตุผล ต้องการเหตุผลเพื่อให้เกิดภาพหรือแนวทางที่ชัดเจนว่าจะต้องทำอย่างไร และที่ต้องทำเช่นนั้นเพราะอะไร เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ โดยใช้การจัดการเป็นกระบวนการปรับรื้อโครงสร้างใหม่เพื่อมุ่งสู่ประสิทธิผลก่อให้เกิดมูลค่าทางปัญญา รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร และทำไปเพื่ออะไร จนเกิดเป็นความเชื่อและเกิดพันธะสัญญาร่วมกันที่จะมุ่งไปสู่การปฏิบัติ แสดงถึงองค์กรเกิดความรู้ที่จะทำสิ่งต่าง ๆอย่างรู้ทิศทาง เชื่อมั่นและยอมรับกันจนเกิดเป็น คุณค่าทางสังคมขององค์กร เปลี่ยนแปลงการดำเนินงานจากการใช้ความรู้เป็นการใช้ปัญญา เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยนำการจัดการความรู้ (Knowledge  Management) มาใช้ในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมีกระบวนการดังนี้
      1.  ผู้บริหารให้อิสระในการทำงาน ทำให้บุคลากรมีความคิดอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้และคุณธรรม ทุกคนทำงานอย่างมีปฏิสัมพันธ์ เกิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการแบบบูรณาการ โยงใยการทำงานแบบใยแมงมุมเพื่อดำเนินงานหรือแก้ปัญหาครู ไม่ครบชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก
       2.  บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้เกี่ยวข้องมีจิตแห่งการใฝ่รู้ มีความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ของตน ตระหนักในการพัฒนาผู้เรียน พัฒนาตน พัฒนาองค์กร ชุมชน สังคม ด้วยการเข้าถึงซึ่งคุณภาพตามมาตรฐาน มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและงานทางวิชาการ โดยใช้วิธีการพัฒนางานวิชาการทั้งระบบไปพร้อมกัน คือ ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน ด้านปัจจัย และด้านบริหารจัดการ
     3.  ใช้นโยบายในการทำงานวิชาการแบบ “ไม่มีใครเด่น ไม่มีใครด้อย” เพราะถือว่าทุกคนช่วยกันทำงานทุกงานพร้อมกันทั้งระบบ ทำให้ทุกคนมีปริมาณงานที่เท่าเทียมกัน มีผลงานที่เหมือนกัน ก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน ไม่เกี่ยงงานกันทำ ไม่อิจฉาริษยากัน ทุกคนมีความสามัคคี ช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานวิชาการจนสำเร็จ ใช้กระบวนการจัดการความรู้ มีปฏิสัมพันธ์ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
       4.  การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ทรงคุณวุฒิ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เรียน รวมทั้ง       การประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง
      5.  บุคลากรในสถานศึกษาจะต้องมีใจเป็นหนึ่งเดียว มีความสามัคคีในกลุ่ม ใช้การพัฒนางานและปฏิสัมพันธ์เชิงบวก มีขวัญ กำลังใจ และเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุผล ด้วยการเสียสละทั้งกาย สติปัญญา และทรัพยากร เมื่อมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น บุคลากรทุกคนจะร่วมด้วยช่วยกันคิดแก้ไขปัญหาจนสำเร็จลุล่วงโดยไม่รอความช่วยเหลือจากหน่วยงานระดับสูง ทำให้เกิดการขับเคลื่อนงานวิชาการ
      6.  การพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถ เข้าใจจุดหมายจนสามารถกำหนดเป้าหมายแนวทางร่วมกัน ทุกคนเห็นประโยชน์ร่วมกัน มีจิตแห่งการ   ใฝ่รู้โดยใช้กระบวนการวิจัยและการจัดการความรู้เป็นตัวขับเคลื่อน และมีปัจจัยสนับสนุนด้านแหล่งเรียนรู้และคลังความรู้ รวมทั้งต้องทำร่วมกันอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับบุคคล กลุ่ม สถานศึกษา ชุมชน เครือข่ายสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา องค์กรท้องถิ่น เครือข่ายเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด องค์กรสังคม 
         ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปัจจัยการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีจิตแห่งการใฝ่รู้ ครูและนักเรียน ควรร่วมกันสร้าง สร้างจากการแลกเปลี่ยน  การรับรู้ สู่การเรียนรู้ พัฒนาวิชาชีพแห่งตน และสังคม มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและกันอย่างเชื่อมโยง เกิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเชื่อมโยงต่อกันเพื่อการพัฒนาจนเกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้จะส่งผลต่อการพัฒนาสิ่งใดใดที่มีทั้งความเหมือน ความแตกต่าง ความพร้อมและความไม่พร้อม เมื่อทุกคนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เครือข่ายแห่งการเรียนรู้ย่อมมีพลัง  ทำให้ทำประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ด้วยกลยุทธ์เครือข่ายความร่วมมือ การจัดการความรู้ และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาแบบเครือข่ายสถานศึกษา

หมายเลขบันทึก: 66304เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

จิตแห่งการใฝ่รู้  ครูและนักเรียน ควรร่วมกันสร้าง

สร้างจากการแลกเปลี่ยน  การรับรู้ สู่การเรียนรู้

เมื่อทุกคนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

เครือข่ายแห่งการเรียนรู้ย่อมมีพลัง

 

     อาจารย์ค่ะ เหมี่ยวขอขอบพระคุณ สำหรับ ตุ๊กตาหมีสวมครุย มน.  ที่ครอบครัว "แก้วอุไร"  "กลิ่นเจริญ" และ "ทองนุ้ย"  มอบให้เป็นของขวัญวันรับปริญญานะค่ะ  ขอขอบพระคุณค่ะ

        แล้วปีใหม่นี้ มีแต่คำอวยพรให้อาจารย์นะค่ะ 

  • ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลาย ดลบรรดาให้ ครอบครัว "แก้วอุไร"  (อาจารย์วารีรัตน์ อาจารย์รุจโรจน์ น้องจาว่า น้องจาเป่า) มีสุขภาพร่ายกายแข็งแรง ปราศจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งปวง มีความสุขสมความมุ่งมาดปรารถนา ตลอดปี 2550

                                            ด้วยความเคารพอย่างสูง

        อาจารย์เคยนำ ความรู้ในเรื่องนี้ มาให้อ่านค่ะนับเป็นโชคดีของนิสิต ปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน ชั้นปี 1 อย่างเราที่ได้มีโอกาสเรียน รับความรู้จากอาจารย์ 

         หลายอาทิตย์แล้วค่ะ ที่เราเฝ้าแต่อ่าน Text ที่อาจารย์แนะนำให้ หลังปีใหม่นี้เราคงจะได้ นำเสนอกัน แต่ไม่รู้ว่าจะตรงประเด็น อ่านแล้วเข้าใจถูกต้องหรือเปล่าค่ะ   แต่ว่าก็ทำให้ฝึกอ่านตำราวิชาการภาษาต่างประเทศดี ฝึกทักษะการอ่านและทำความเข้าใจแล้วเปรียบเทียบ หาเหตุและผลกับหลักสูตรในเมืองไทย

         ส่วน Sheet ที่ส่งอาจารย์วันพฤหัสฯ เหมี่ยวจะขออนุญาตเพิ่มเติม ส่วนของ Balance ด้านหลังนะค่ะ รู้สึกว่ามันยังไม่ครบสมบูรณ์

อุเทน ทักคุ้ม (ป.บัณฑิตวิชาชีพครู)
เป็นเนื้อหาที่ตรงกับหัวข้อรายงานของผมเลยครับอาจารย์อ้อย ขอบพระคุณมากนะครับ

อาจารย์เคยสอนผมเหมือนกัน และเป็นที่ปรึกษางานวิจัยด้วย  แล้วในตอนนี้ผมก็นำเอาข้อมูลบางส่วนของอาจารย์ไปสอนนักศึกษาของผมด้วยเช่นกัน ข้อมูลทางการศึกษาของอาจารย์เป็นประโยชน์มากๆ ครับ  เพราะตอนนี้ผมก็มาสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งสอนในรายวิชา การพัฒนาและการใช้หลักสูตร ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆ ครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท