ทำไมจึงสนใจ...." บ้านเรียน " (Home School )


โรงเรียนที่มุ่งแต่จะสอนข้อสอบให้เด็กได้คะแนน o-net NT สูง ๆ โดยขาดการสร้างเสริมทักษะชีวิตและภูมิคุ้มกันชีวิตในจิตสำนึก ที่เรียกว่า...คนดี...อย่างจริงจัง ตรงกันข้าม โรงเรียนกลับสร้างบันไดของการมุ่ง " เอาชนะ " ด้วยการ " ประชันขันแข่ง" ให้กับนักเรียนโดยไม่ทันยั้งคิด ว่า....นักเรียนได้คะแนน o-net NT สูง ๆ แล้ว ... เด็กได้อะไร


 " ทำไมจึงสนใจ...." บ้านเรียน " (Home School ) "  เป็นคำถามของน้องน้อย

ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนรู้  " บ้านเรียน " (Home School ) ของ สพป.

ที่เอ่ยถามคุณมะเดื่อ เมื่อคุณมะเดื่อไปพบและขอปรึกษาแนวทางในการจัดการเรียน

แบบ " บ้านเรียน " (Home School ).............

อันที่จริงแล้ว....ก่อนหน้านี้คุณมะเดื่อยังไม่เคยคิดที่จะศึกษาแนวทางการจัดการศึกษา

แบบนี้มาก่อนเลย  ทั้ง ๆ ที่ " บ้านเรียน " ปรากฏอยู่ในกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษา 

ขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ. 2547  มาแล้ว  แต่ในบ้านเมืองเรา จะยังไม่คุ้นหูกันเลย

แม้จะเคยได้ยินมาบ้าง แต่ก็นึกไม่ออกว่า การจัดการศึกษาแบบนี้...เป็นอย่างไร  ?

สำหรับคำถามที่น้องน้อยถามคุณมะเดื่อว่า ..."ทำไมจึงสนใจ...." บ้านเรียน " (Home School ) "

คำตอบที่คุณมะเดื่อตอบน้องน้อยในวันนั้นคือ...." ตลอด ๔๐ กว่า ปี ในการทำหน้าที่ครู

ในระบบโรงเรียน ทำให้คุณมะเดื่อรู้ถึงระบบนี้ดีว่า ข้อดี ข้อเสีย เป็นอย่างไร  จึงอยากจะ

ศึกษาระบบการศึกษาแบบ " บ้านเรียน" ดูบ้าง  เพราะยังไม่เคยศึกษามาก่อนเลย "


  ..... นับเนื่องแต่สมัยปู่  ย่า  ตา  ทวด ของเรา  การเรียนรู้จากครอบครัว

หรือการเรียนรู้จากที่บ้าน ก็มีมาแล้ว  โดยเฉพาะ ในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม

ขนบธรรมเนียม การปฏิบัติตน  การประกอบอาชีพ  ตลอดจน ระเบียบวินัย

หรือแม้แต่การอ่าน การเขียน  ก็มีการปลูกฝังให้ลูกหลานมาตลอดเวลา

จะเห็นได้จาก  ในระยะที่คุณมะเดื่อเป็นครูในช่วง ๑๐ ปีแรก ๆ คุณมะเดื่อ

และครูในระยะนั้น  จะเหนื่อยก็เฉพาะ การสอนให้เด็ก ๆ อ่านออก เขียนได้

เป็นส่วนใหญ่  ส่วนในเรื่องของคุณธรรม  จริยธรรม  กิริยามารยาท หรือ

ระเบียบวินัยนั้น  ทางครอบครัวได้อบรมบ่มนิสัยมาให้เรียบร้อยแล้ว

โรงเรียนเป็นเพียงผู้เน้นย้ำและสานต่อเท่านั้น แต่...ครั้นต่อมา สิ่งที่

บ้านได้เตรียมพร้อมมาเพื่อส่งต่อให้โรงเรียนก็ลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ 

จนถึงปัจจุบัน  เกือบจะไม่หลงเหลือให้ครูได้สานต่อเลย  ภาระหน้าที่

ของครูจึงต้องทำทั้งสอนหนังสือ และอบรมบ่มนิสัยแต่แรกเริ่มทีเดียว

นั้่นคือ....เริ่มตั้งแต่สอนให้รู้จัก  " ฟัง  ดู  พูด  อ่าน  และ เขียน" 

ซึ่งนับวันแต่จะหนักยิ่งขึ้น  เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ไม่รู้จักฟัง  ไม่รู้จักดู

พูดสื่อสารไม่เป็น  ซึ่งไม่ต้องพูดถึงการ อ่าน และการเขียน ว่า

จะหนักเพียงใด...?

    ส่วนในเรื่องของ  ระเบียบ วินัย  สัมมาคารวะ  กิริยา มารยาท

คุณธรรม จริยธรรม  โดยเฉพาะ สมาธิ ความอดทน ความขยัน

หมั่นเพียร...การใช้เหตุผล แทบไม่ต้องกล่าวถึง  

เพราะครูจะต้องรับภาระสอนเกือบ ๆ ๑๐๐ %  ....  

ที่สำคัญยิ่ง...เด็กยุคหลัง ๆ สร้างปัญหาเป็น แต่...

แก้ปัญหาไม่เป็น...

   จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า...ทำไม...เราจึงเห็นข่าวเด็กวัยรุ่นวุ่นวาย

สร้างปัญหา  ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งในครอบครัว และในสังคม

ทุกวัน...ทั้ง ๆ บางเรื่องบางประการ ไม่ต้องมีสาเหตุอะไรมากมายหรือ

ไม่ต้องรู้จักกันมาก่อน ก็มาสามารถ...ฆ่า...กันได้ !!  และข่าวการ

ฆ่าตัวตายหนีปัญหาชีวิต เพราะคิดแก้ปัญหาไม่ได้ ก็เพิ่มขึ้น

ทุกวัน  !!


   
" ครอบครัว" เป็นหน่วยสังคมที่เล็กที่สุด แต่สำคัญที่สุด

สมัยก่อน " รั้วของบ้าน "  คือ " ครอบครัว" เป็นรั้วที่แข็งแกร่ง

ที่สุด สามารถสอนบุตรหลานใรครอบครัว ให้รู้จักทักษะชีวิต

และมี " ภูมิคุ้มกันในชีวิต"  ด้วย " คุณธรรมและจริยธรรม

รวมทั้ง มีระเบียบวินัย การคิด  การใช้เหตุและผล"

   แต่ปัจจุบัน  ....  หาได้ยากยิ่งจากครอบครัว

ในสังคมปัจจุบัน....อาจจะพูดได้ว่า...ขณะนี้

สถาบันครอบครัวไทยกำลัง...ล่มสลาย...

ภาพที่คุณมะเดื่อเห็นจนชินตา คือ...พ่อแม่..ในปัจจุบันที่มี

อายุเฉลี่ยไม่เกิน ๓๐  พาลูกไปกินข้าวเช้าที่ร้านขายข้าว

ตอนเย็นซื้ออาหารไปกินที่บ้าน  หรือไม่ก็ไปกินข้าว

นอกบ้าน  ....  ภาพลูก ๆ หลาน ๆ ในวัยที่ยังไม่เข้าเรียน

เป็นต้นไป รวมทั้งผู้ปกครอง  นั่งก้มหน้ากับมือถือจน

ติดเป็นนิสัย....แทบจะไม่ได้พูดจาพาทีกันเลย...

การสื่อสาร  ความสัมพันธ์ และในครอบครัว  จึงไปอยู่

ใน  " มือถือ " เกือบทั้งหมด



การจัดการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน...ในปัจจุบัน ก็ไม่สามารถ

จะ  " ตอบโจทย์ " ให้กับสังคมได้เลย  โดยเฉพาะในสภาวะที่

ต้องรับภาระงานของครอบครัวที่ส่งมาให้เต็ม ๆ อย่างที่ได้กล่าวมา

และยิ่งถ้า โรงเรียน ไม่มีระบบการจัดการบริหารที่ดีพอ ย่อมจะมีทั้ง

รอยรั่ว  รูโหว่  ให้เด็ก ๆ ได้หลุดลอดออกไปสู่ความ  " เสื่อมทราม" 

ของสังคมภายนอกอย่างไร้ภูมิคุ้มกันได้โดยง่าย...ตัวอย่างที่เห็นได้

ชัด ๆ ก็คือ...โรงเรียนที่มุ่งแต่จะสอนข้อสอบให้เด็กได้คะแนน o-net

NT  สูง ๆ โดยขาดการสร้างเสริมทักษะชีวิตและภูมิคุ้มกันชีวิตในจิตสำนึก

ที่เรียกว่า...คนดี...อย่างจริงจัง ตรงกันข้าม โรงเรียนกลับสร้างบันไดของการมุ่ง

" เอาชนะ "  ด้วยการ " ประชันขันแข่ง"  ให้กับนักเรียนโดยไม่ทันยั้งคิด

ว่า....นักเรียนได้คะแนน o-net  NT  สูง ๆ  แล้ว ... เด็กได้อะไร กับคะแนนนั้นบ้าง

(โดยเฉพาะ เด็กประถมศึกษา) เด็ก ๆ  จะเอาคะแนนนั้นไปทำอะไรในชีวิตประจำวัน

ที่มากไปกว่า...การอ่าน การเขียน กระนั้นหรือ ...??

( ซึ่งอาจจะมีบ้าง ที่บางคน เอาคะแนน o-net ไปใช้ในการเรียนต่อ

ในระดับมัธยม...แต่..จะสักกี่คนกันเล่า...แล้วเด็กคนอื่น ๆ ล่ะ...?)

โดยสรุป...ผู้ที่ได้รับผลจากคะแนน  o-net    NT  ที่สูง ๆ นั้น

คือ...ใคร...???


๔๐  กว่าปี  บนเส้นทางของการศึกษา  คุณมะเดื่อ

ไม่เคยย้ายโรงเรียนเลย...แต่...มีผู้บริหารโรงเรียน

๕  คน  และ ได้มีโอกาสทำงานการศึกษา ตั้งแต่ระดับ

โรงเรียน   อำเภอ   จังหวัด  และ สพฐ.  ทั้งในฐานะ

ของคณะทำงานจัดทำหลักสูตร  จัดทำสื่อ  หรือหน้าที่

ของ  " ครูตู้"   และได้มีโอกาสทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมอาชีพ 

ทั่วทุกภาคของประเทศไทย  ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือก

ไปให้เป็นคณะทำงานทั้งสิ้น  ในการสนทนาปราศรัยกัน ก็มักจะ

นำเอาปัญหาต่าง ๆ ในโรงเรียนมาคุยกัน....และถึงแม้ว่าแต่ละคน

จะมาจากแต่ละจังหวัด  แต่ปัญหาที่นำมาพูดคุยกัน...ก็เหมือนกับว่า

มาจาก...โรงเรียนเดียวกัน...เป็นปัญหาเดียวกัน  เหมือนกันทั้งสิ้น  !!



คุณมะเดื่อร่ายยาวมาทั้งหมดทั้งสิ้นนี้...คือ..." คำตอบ"

ของคำถามว่า...ทำไมจึงสอนใจ " บ้านเรียน"  ซึ่งคุณมะเดื่อ

กำลังตัดสินใจที่จะ  " ถอยหลังเข้าคลอง" ย้อนรอยบรรพบุรุษ

ที่สร้างสังคมการเรียนรู้ที่บ้าน  สร้างภูมิต้านทานชีวิต และสร้าง

ทักษะชีวิต  ( แต่ไม่ปิดกั้นสังคมของมนุษย์ )

 ให้กับหลาน ๆ  ...  ในปีการศึกษาหน้านี้...!!




หมายเลขบันทึก: 661997เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2019 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2019 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัสดีครับพี่ครู-จำได้ว่าประมาณปี 58 ได้มีโอกาสต้อนรับพี่ครูที่บ้านไร่ของผม-ณ เวลานั้นเรากำลังเริ่มเดินตามความฝันแบบค่อยเป็นค่อยไป-เวลาผ่านมาประมาณ 5 ปีเศษ ณ ตอนนี้เราได้มีโอกาสต้อนรับผู้คนที่เข้ามาเยือนและร่วมเรียนรู้วิถีชีวิตในแบบของเรา ที่เรียกที่นี่ว่า FarmSchool-เห็นความเป็นไปแบบก้าวหน้าของพื้นที่การเกษตรของพี่ครูแล้ว คาดว่าอีกไม่นานเกินรอ ต้องได้สำเร็จตามใจหมายแน่ๆ ครับ-ไว้หากมีโอกาสคงได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดกันนะครับ-ด้วยความระลึกถึงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท