เรื่องเล่า ดร.ผึ้ง ตอนที่ 21 บอกผู้สูงอายุอย่างไรให้เหมือนไม่ออกคำสั่ง How to



หลายท่านน่าจะเจอเหตุการณ์คล้ายๆ กัน คือผู้สูงอายุ ไม่ฟังที่เราเตือนท่านด้วยความห่วงใย เฉพาะเรื่องการอาหารรสเค็ม รสจัด

ผู้เขียนเห็นแม่กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำยี่ห้อหนึ่ง แม่บอกว่า เปรี้ยวมาก ไม่เค็มเลย แต่พอผู้เขียนพลิกดูปริมาณโซเดียมข้างซองแล้ว พบว่า รสต้มยำนั้นมีปริมาณโซเดียมสูงกว่ารสหมูสับ

ผู้เขียนบอกว่า แม่ใส่มะนาวให้เปรี้ยวๆ แทนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเทเครื่องปรุงหมดซอง

แม่บอกว่ามะนาวแพงลูกละเจ็ดบาท ไม่ใส่หรอก ใส่เครื่องปรุงเปรี้ยวๆ รสจัดดี ประหยัดด้วย

ผู้เขียนก็นั่งอธิบายให้แม่ฟังว่า เกลือเยอะมาก แต่มีรสเปรี้ยวนำ และแม่ประหยัดเงินค่ามะนาว 5 บาท สิบบาท แต่แม่ป่วย สุขภาพไม่ดี แม่ต้องหาหมอ ค่ารถไปหาหมอแต่ละครั้ง ค่าน้ำมัน แพงกว่าค่ามะนาวนะแม่ แต่ทว่าแม่คิดตามไม่ทัน เพราะไปแนวเศรษฐศาสตร์ ยากเกินสำหรับแม่และไกลตัวเกินไป

ซี่งแม่บอกว่า แม่ไม่เคยกินยี่ห้อนี้เลย  และแม่ไม่ได้กินบ่อย เลยลองกิน รู้สึกว่า อร่อย เส้นนุ่มดี (แม่บอกแบบนี้ มีนัยยะ ว่าแม่ชอบ แม่คงกินอีกแน่ๆ)

ไหนๆ ก็คงห้ามไม่ได้แล้ว แม่ก็คงแอบกินแน่ๆ ผู้เขียนเลยซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อนี้ให้เลย โดยมีหลายรส

และพิมพ์ข้อความไว้ด้วย ว่าปริมาณเกลือเท่าไหร่ แม่จะได้ทราบว่า รสที่เปรี้ยวๆ รสจัดนั้น ปริมาณเกลือมากที่สุด ต่อไปจะได้กินรสที่มีเกลือน้อยหน่อย แต่พิมพ์ปริมาณโซเดียมเป็นมิลลิกรัม แม่ก็คงไม่เข้าใจ เลยต้องแปลงหน่วยให้เป็นช้อนชา จึงคำนวณแบบค่าประมาณการแล้วปัดตัวเลขเพิ่ม (ให้สูงๆไว้ แม่จะไม่ได้กล้ากินเยอะ) แต่อาจจะยังไม่พอ ควรเพิ่มคำเตือนด้วย

ตอนแรกผู้เขียนพิมพ์ว่า “เทเครื่องปรุงครึ่งซองก็พอค่ะ” คิดอีกที เหมือนผู้เขียนสั่งแม่ ให้เทเครื่องปรุงครึ่งซอง...แม่คงรู้สึกไม่ดี เพราะแม่เคยบ่นว่า ทำไม ใครๆ (ลูก) ชอบสั่งแม่ ไม่ให้ทำนั่น ไม่ให้ทำนี่ ไม่ให้กินนั่น ไม่ให้กินนี่ (น้อยใจ)

ผู้เขียนเลยเปลี่ยนใหม่ พิมพ์เป็นคำชมเชย...”แม่ศรี เก่งที่สุดเลย กินได้โดยไม่ปรุง อิอิ”

หลังจากเอาไปให้แม่ แม่บอกว่า ขอบใจนะลูก (แต่ซื้อมาทำไมเยอะแยะ)

พอแม่อ่านปริมาณเกลือ แม่บอกว่า โอ้โห เกลือเยอะจัง เป็นช้อนเลย ไม่กล้ากินแล้ว กินอย่างอื่นดีกว่า

สรุปคือแม่ไม่อยากกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปเลย

ผู้อ่านสามารถลองนำไปใช้ได้นะคะ

ภัทรพร คงบุญ

24 พฤษภาคม 2562

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสหมูมะนาว มีโซเดียมเยอะที่สุด

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสามรส พร้อมข้อความที่พิมพ์แปะไว้

หมายเลขบันทึก: 661795เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2019 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2019 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

There are (possibly intended) confusion in labelling ‘food nutritional value’. For example: Salt (NaCl) is labelled as ‘Sodium’ (Na) instead of salt (NaCl).

To see a little clearer: 1 teaspoon of salt is about 5000 mg (5 g)1 teaspoon of salt contains about 2000 mg (2 g) of Sodium (Na) and 3000 mg of Cl

Recommended Daily Intake (RDI) for Sodium (Na) : 2300 mg (about 1 teaspoon of salt)

We should label ‘salt’ as salt for benefits of people. (Not as Na for manufacturers.)

Incidentally 1700 mg - 5100 mg of Chlorine (Cl in NaCl) per day is needed for making our digestive acid (weak/~10% HCl). That also says we should limit our salt to 1 teaspoon per day.

Please help make food labelling for people (not health professionals).

I made a serious typing error in my comment above. Where it says “…our digestive acid (weak/~10% HCl)…” - this is wrong. The correct information is “… our digestive acid (weak Hydrochloric acid HCl, about 0.5% or 5,000 parts per million or 0.01-0.1 mol/litre concentration)…”.

But this is not wrong and still begging “Please help make food labelling for people”.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท