ถอดบทเรียน : "การศึกษาทั่วไปในศตวรรษที่ ๒๑" ศาสตราจารย์ ดร.จรัส สุวรรณเวลา


วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๒ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.จรัส สวุรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา (คลิกประวัติท่านที่วิคกิพีเดียที่นี่)  ให้เกียรติและเมตตามาบรรยายบอกทิศทาง “การศึกษาทั่วไปในศตวรรษที่ ๒๑” ณ ห้องประชุมชั้น ๓ อาคารวิทยพัฒนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) … ขอกราบขอพระคุณท่านเป็นอย่างสูงครับ บันทึกนี้ผมจะสรุปแนวทางที่ท่านชี้บอกสำหรับการพัฒนาการศึกษาทั่วไปในศตวรรษที่ ๒๑  น่าจะเป็นประโยชน์ยิ่งต่อกระบวนการปรับปรุงหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมที่กำลังจะดำเนินไป และสำหรับเพื่ออาจารย์มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

ผมขออนุญาตท่านว่าจะนำสิ่งที่ท่านพูดมาเผยแพร่บอกต่อ และนำไปปฏิบัติเต็มตามกำลัง (ที่ตัวผมมี)  … ผู้ใหญ่ที่ธรรมเข้าถึงใจ ผมไม่เห็นใครจะหวงความรู้สักแม้แต่หนึ่งคนเลย ….  (ศ.นพ.วิจารณ์ พาณิชน์, ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา, และคุณครูเพื่อศิษย์ ทั้งหมด ทุกท่านล้วนยินดีให้เป็นวิทยาทานทั้งสิ้น)

จับประเด็น "แนวทางการจัดการศึกษาทั่วไปในอนาคต"



  • ท่านลองตรวจสอบดูก่อนว่า อาจารย์ที่มาร่วมฟังบรรยาย เลือกหมายเลขใด เกี่ยวกับสภาพของการศึกษาทั่วไป 
    • ท่านถามว่า ใครบ้างที่เลือกหมายเลข ๑  หมายถึง เห็นความสำคัญมากแต่ความจริงนั้นยังห่างไกล 
    • ใครบ้างที่เลือกหมายเลข ๙  ที่ ทำกันไปได้ดี แต่ไม่มีความสำคัญใด ๆ 
    • คนจำนวนหนึ่งเลือกหมายเลข ๕  ... ท่านแปลว่า เป็นกลุ่มที่ไม่รับผิดชอบ  ไปก็ได้ ไม่ไปก็ได้ ...

  • พื้นฐานการศึกษาของประเทศไทย มาจากประเทศใด 
    • มาจากฝรั่งเศส ไหม ที่เน้นไปทางการสร้าง "นัก" ต่าง ๆ สอนให้เป็นนักวิชาชีพ 
    • มาจากอังกฤษไหม ที่เน้นสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 
    • มาจากเยอรมันไหม ที่เน้นกระบวนการวิจัย 
    • หรือมาจากสหรัฐอเมริกา ที่เน้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน 

  • การศึกษาทั่วไป สำคัญแค่ไหน 
    • เป็น "ติ่ง" เล็ก ๆ ต่ออยู่กับระบบใหญ่ใช่ไหม ... เป็นลูกเมียน้อยใช่ไหม 
    • สำคัญหรือไม่ หรือไม่สำคัญ 

  • ท่านถามว่า ในอีก ๑๐ ข้างหน้า การศึกษาจะเปลี่ยนไปเพียงใด ให้เลือกระหว่าง ๑ ถึง ๑๐  ... ท่านเฉลยว่า น่าจะสัก ๒๐ ...

  • ความรู้มีมาก มีอยู่แล้ว  และเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล เป็นการระเบิดของความรู้ 

  • นอกจาเพิ่มขึ้นแล้ว ลักษณะการเกิดขึ้นของความรู้นั้น ไม่ได้ต่อเติมหรืองอกใหม่ แต่เหมือนความรู้มีชีวิต มีเกิดขึ้น ตังอยู่ และดับไป 

  • ท่านพูดเกี่ยวกับลักษณะขององค์ความรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

  • เนื้อหาสาระ ไม่ใช่สิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญ มี ๓ ประการ ได้แก่ 
    • คุณธรรม จริยธรรม 
    • สมรรถนะจำเป็น 
    • ความเชี่ยวชาญตามความถนัดของตนเอง 

  • นี่คือเป้าหมายของประเทศ 
    • คนไทยฉลาดรู้ 
    • คนไทยอยู่ดีมีสุข
    • คนไทยสามารถสูง
    • พลเมืองไทย ใส่ใจสังคม 

  •  ทีมคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา สรุปว่า สมรรถนะ ๑๐ ประการที่ต้องมีในศตวรรษที่ ๒๑

  • ปริญญาวิชาชีพ ไม่จบอยู่แค่ได้ปริญญาเหมือนเดิมแล้ว  แต่เป็นการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
  • มหาวิทยาลัยต้องรับผิดชอบให้เขามีงานทำ สามารถทำงานได้ สามารถสร้างงานได้ ไม่ใช่การสอนให้เขาจบปริญญาเท่านั้น 
    • ไม่ใช่ให้ปริญญาเขา ๓๒,๐๐๐ คนไป ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า มีตำแหน่งงานอยู่เพียง ๒๔,๐๐๐ คนเท่านั้น .... อีก ๗,๐๐๐ คนจะต้องงานแน่นอน 
  • การเรียนในมหาวิทยาลัยนั้น สิ่งหลักสำคัญที่สุดแน่นอนว่า  คือการสร้างวิชาชีพ (Professionalism) จึงมีคำว่า "นัก" เกิดขึ้น  
  • แต่ต้องมีส่วนอื่นประกอบ คือ ทักษะและสมรรถนะอื่นด้วย เช่น ทักษะชีวิต สมรรถนะด้านการใช้ความรู้ต่าง ๆ อื่น ๆ ด้วย เช่น ความรู้เรื่องสุขภาพ สังคม ฯลฯ 
  • การจัดการศึกษาที่ผ่านมา มุ่งเฉพาะด้านวิชาชีพ  และพยายามผลักส่วนที่เหลือไปไว้ในการศึกษาทั่วไป .... ซึ่งไม่ใช่ ....  
  • ที่ถูกต้องนั้น  การสอนวิชาชีพนั้น จะต้องสอนจิตวิญญาณของวิชาชีพนั้น ๆ ด้วย  ครูอาจารย์นั้นคือ "บุพการี" ครูอาจารย์ไม่ใช่ผู้รับจ้างสอน (เหมือนปัจจุบัน) ครูอาจารย์เป็นบุพการี คือเป็นผู้ให้ ให้ความรักความเมตตา ให้การอุปการะโดยไม่หวังผลตอบแทน 
    • คำว่า "บุพการี" เป็นคำไทย ที่ไม่ในภาษาอื่น 
    • ครูเป็นผู้ให้ ให้การดูแล และศิษย์ผู้ได้รับการดูแล ก็จะดูแลคนอื่นต่อ ๆ ไป 
  • การศึกษาทั่วไป ควรจะเป็น "การศึกษาเพื่อสร้างสมรรถนะพื้นฐาน" (Enabling Competence)  คือสิ่งจำเป็นที่จะช่วยสร้างให้เกิดสิ่งอื่น ๆ  เป็นฐานของการอุดมศึกษา 

  • โลกเปลี่ยน คนเปลี่ยนไป ...บางทีไวกว่า ๒๐ ปี 
    • คนโบราณ (T) 
    • คนเบบี้บูม (Baby Boom)
    • คนเจนเนอเรชั่น X ... หลายคน ตอนนี้เป็นผู้บริหาร
    • คนเจนเนอเรชั่น Y เริ่มเมื่อมีคอมพิวเตอร์  ... ตอนนี้เป็นคนทำงานส่วนใหญ่
    • คนเจนเนอเรชั่น Z  เริ่มเมื่อมีอินเตอร์เน็ต ... ตอนนี้เป็นนิสิต นักศึกษา นักเรียน 
  • เมื่อเปรียบเทียบกับการระเบิดของความรู้ (Knowledge Explosion) จะเห็นว่า แต่ละรอยต่อของยุค จะเกิดการเปลี่ยนแปลง 
    • Technolgical Transformation  จาก BB เป็น X
    • Social Transformation จาก X เป็น Y
    • Digital Transformation จาก Y เป็น Z
  • การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นการเปลี่ยนรูปไป  จากยุคแรกที่ Informative -> Formative -> Transformation 

  • ดังนั้น เด็กสมัยนี้แตกต่างจากครูอาจารย์ที่สอนอยู่  เด็กเป็น Digital Native ส่วนครูอาจารย์เป็น Digital Immigrant 
  • บทบาทของมหาวิทยาลัยจึงเปลี่ยนไป ไม่ใช่การรับนักเรียนมาสร้างนักวิชาชีพแบบมอบใบปริญญา  แต่นักศึกษาจะไม่ใช่เพียงนักเรียน เป็นคนทุกช่วงวัย  โดยบทบาทใหม่ของมหาวิทยาลัยคือ 
    • Workforce 
    • Upskill
    • Traning และ 
    • Re-Education 
  • สิ่งที่มหาวิทยาลัยจะต้องพิจาณาให้ดีคือ "ผู้บิหาร" ซึ่งมักเป็นคนมาจากยุค Gen X  ถ้าเป็นผู้บริหารที่เป็น X แล้วไม่เข้าใจ Z มองไม่เห็น จึงพยายามบีบ Z ให้เป็นแบบเดิมที่ตนเข้าใจ จะทำให้เกิดปัญหา ... ปัญหาช่องว่างระหว่างวัย 
    • ต้องเปิดประตูมหาวิทยาลัยให้กว้าง  ให้ได้มีส่วนร่วมและโอกาสในการบริหาร 
    • New Leader 
    • Modern management 
    • ฯลฯ

  • ทำให้หลายสิ่งต้องเปลี่ยนไป
    • การเรียนการสอนเปลี่ยน 
      • Self-access ot knowledge 
      • Active Learning 
      • Project-based, Problem-based
      • Research-based 
      • Experiential Learning in workplace
      • ฯลฯ 
    • งานหรืออาชีพก็เปลี่ยน  หลายอาชีพหายไป เช่น พนักงานธนาคาร ฯลฯ 
    • มหาวิทยาลัยต้องมองกลุ่มเป้าหมายใหม่ 
    • โอกาสใหม่ และการสร้างความสามารถในการแข่งขัน  เช่น โชห่วยที่ต้องเจ๊งไปเมื่อห้างใหญ่เข้ามา
    • ต้องสร้างคนที่เป็น "นัก" ในอนาคตเองได้ จะรอดได้ 

  • สมัยก่อนเด็กหน้าห้องเก่งกว่าเด็กหลังห้อง แต่สมัยนี้ เด็กหลังห้องที่เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านมือถือ เก่งกว่าครูอีก ....
  • ทุกวันนี้ Digital Literacy เป็นเรื่องจำเป็น
    • on air คือ องค์ความรู้จำนวนมากกลายมาเผยแพร่ทั้งภาพแสงเสียง ออกอากาศไปทั่ว 
    • online คือ ความรู้ต่าง ๆ ออนไลน์ สืบค้นได้จากทุกที่ทุกเวลา 
    • on ground คือ 
  • คนต้องสามารถเข้าใจ เข้าถึง ประทับใจ คัดเลือกเป็น เกิดแรงบันดาลใจ (Inspiration)  สร้างความเข้าใจของตนเองได้ และปรับใช้ได้ 
  • การศึกษาทั่วไป จะต้องเข้าสู่ยุค Digital Educaiton Transformation  

  • ผู้เรียนขณะนี้ในระดับมหาวิทยาลัยลงไป พวกเขาเหมือนเป็นคนสัญชาติดิจิตอล (digital native)  การศึกษาจึงไม่เหมือนกับคนยุคก่อนนั้นที่เป็น (digital immigrant) 
  • ลักษณะสำคัญ ที่เป็นของการศึกษาสำหรับคนยุค digital native เช่น 
    • การสื่อสารแบบใหม่  
    • การเรียนรู้สมัยใหม่ จะต้องมีลักษณะ
      • Multidisciplinary  คือ บูรณาการหลาย ๆ ศาสตร์
      • Muti-sectoral คือ ไม่จำเป็นต้องเป็นคณะหรือหลักสูตร แต่ร่วมมือกันหลายหลักสูตร 
      • Multicultural คือ พหุวัฒนธรรม ผู้เรียนรับรู้และได้สัมผัสข้ามวัฒนธรรม 
      • Work-in-team คือ การทำงานเป็นทีม
    • รูปแบบการเรียนสมัยใหม่ จะต้อง 
      • Social Media Learning เรียนรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
      • Learning Community สร้างชุมชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สนใจและนักปฏิบัติร่วมกัน 
      • Communication Plaform การเรียนแบบส่งผ่านความรู้ หรือถ่ายทอดเก่าไปแล้ว  ไม่ใช่สื่อสารทางเดียวแล้ว 
      • Learning Platform เปลี่ยนไป 
    • สื่อแบบใหม่ ไม่ใช่เพียงอ่านหรือดูให้รู้ตาม แต่เป็นสื่อสะท้อนความคิด ความอ่านของผู้สร้าง และสามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ชมได้ด้วย เช่น 
      • Augmented reality
      • Multimedia 
      • MEME 
      • ฯลฯ

  • เด็กสมัยใหม่ เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงแล้ว  พวกเขา คิดเป็นระบบ คิดข้ามขั้น คิดนอกกรอบ คิดเร็ว ลดคำ สิ่งที่เขาต้องการ คือ 
    • Multitasking ทำงานหลายอย่างพร้อม ๆ กัน 
    • Abstraction จับประเด็น อ่านจับใจความ
    • Creativity สร้างสรรค์
    • Entrepreneurship เป็นผู้ประกอบการ
  • สิ่งที่ต้องเน้นเป็นปลายทาง คือ จะต้องสามารถ
    • มีส่วนร่วมหรือสร้างนวัตกรรม  โดยเฉพาะนวัตกรรมด้านกระบวนการ ทำการศึกษาทั่วไปใหม่  เช่น 
      • จุฬาฯ ตั้งเป้าว่า นิสิตต้องได้ภาษาอังกฤษ 
      • จึงกำหนดเป็นมาตรฐานขึ้น ว่า นิสิตต้องผ่านการฝึกฝนด้านภาษาอังกฤษ แสดงไว้ในใบประกาศ 
      • จึงเกิดการสร้างศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง 
      • เกิดระบบ CU-Test การทดสอบที่มีมาตรฐานของจุฬาฯ ขึ้น 
      • ฯลฯ 
    • ไม่ใช่เพียงสร้างนวัตกรรมแต่ต้องไปให้ถึงการนำไปใช้ประโยชน์ได้ 
  • ต้องไม่ดูถูกเด็ก  ต้องมองใหม่ เขาทำได้ ไม่ใช่ 
    • เด็กอนุบาล ต้องเขียนหนังสือ ต้องอ่านหนังสือ ต้องติวหนังสือ .... ทำให้ความสามารถอย่างอื่นหายไปหมด 

  • อาจแบ่งยุคของการศึกษาได้ ๓ ยุค ได้แก่
    • Informative Learing  การเรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่แล้ว  นำไปสู่ Information competence คือ สมรรถนะในการใช้สารสนเทศ 
    • Formative Learning การศึกษาเพื่อสร้างอาชีพ สร้าง "นัก" ในสาขาวิชาต่าง ๆ  เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในอาชีพ 
    • Transformative Learning การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงจากภายใน  ทั้งที่ใช้งานทันที และเจริญได้เองในอนาคต
  • ทักษะที่ควรเน้นในการศึกษายุคนี้ที่สุด 
    • การค้นหาความรู้ (Access) 
    • การใช้ความรู้อย่างถูกต้อง (Applications)
    • การสร้างความรู้ (New knowledge)

  • การศึกษาทั่วไปจะเป็นฐานด้านกระบวนการเรียนรู้ไปสู่ Entrusted Professinal Activities คือ คุณลักษณะเฉพาะของแต่ละอาชีพสาขา จะเป็นหมอต้องมีคุณลักษณะอย่างไร ฯลฯ 
  • ต้องสร้าง "ชานบันได" ไว้ เป็น เป้าหมายรายทางย่อย หรือ Milestones ก่อนจะไปถึง EPA 
  • ต้องมี "บันได" คือที่ชัดเจนจากการฝึกฝนแบบต่าง ๆ Observation Simulation Experience Hand-on Supervision 

  • ต่อไป รูปแบบการเรียนรู้จะไปสู่ Digital Learning Platform  
    • Google จะกลายเป็นมหาวิทยาลัย  เป็น Virtual programs
    • มีหลักสูตรที่หลักหลาย ออนไลน์ให้เรียนได้จากทุกที่ทุกเวลา 


สรุปแนวทางที่ท่านแนะนำ มมส.

  • การศึกษาทั่วไป คือ การศึกษาที่จะสร้างทักษะและสมรรถนะในการสร้างทักษะในศตวรรษที่ ๒๑  (Enabling Competenc)  มุ่งสร้างนวัตกรรมด้านกระบวนการเรียนรู้เพื่อนำองค์ความรู้ไปใช้ทั้งแบบใช้ทันที และเจริญขึ้นได้เองอีกในอนาคต
  • ปล่อยให้อาจารย์สอนในสิ่งที่อาจารย์อยากสอน
  • เน้นให้ผู้เรียนเป็น Creator  ลดการเป็น Consumer 
  • มุ่งสู่ Digital Learning Platform  
  • สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
หมายเลขบันทึก: 661428เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2019 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2019 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท