นโยบาย กลไก ในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจังหวัดพะเยา Policy and Mechanism in Elders’ Wellness Enhancement of Phayao Local Administrative Organization


๑.บทคัดย่อ

      การศึกษาวิจัยเรื่อง นโยบาย กลไก ในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบาย กลไก และ กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ วิเคราะห์การสร้างนโยบาย กลไก ในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ และศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

                ประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ(In-depth  Interview) คือ ผู้บริหาร ๓ คนประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา และผู้ดูแลโครงการ กิจกรรม งานส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ นายกเทศมนตรีตำบลแม่กา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต๋อม โดยคัดเลือกแบบเจาะจงเฉพาะองค์การบริหารจังหวัดพะเยา เทศบาลตำบลแม่กาและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านต๋อมและประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญการสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion)ผู้วิจัยได้กำหนดผู้เชี่ยวชาญโดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน ๑๕ รูป/คนแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน ๓คนกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ จำนวน ๓ รูป กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน ๓คน และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนผู้สูงอายุ เช่น ครูผู้สอน และผู้บริหารโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน ๖ คน

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depthInterview)และแบบการสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion)การวิเคราะห์ข้อมูลตามชนิดเทคนิคการวิจัย ๒ ชนิด ได้แก่ข้อมูลการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)ทั้งหมดโดยใช้ เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อด้วยหลัก สังเคราะห์เนื้อหาโดยใช้เทคนิค6C’[1]และเทคนิคใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเทคนิคกระบวนการวิภาษวิธี(Dialectic Process :DP) มี ๔ ลักษณะ โดยการนำข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์และสังเคราะห์พร้อมทั้งนำเสนอผลสรุปการวิจัยและอภิปรายผลแบบพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า      

            .นโยบาย กลไก และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

                    ) นโยบาย นโยบายที่กำหนดจะประกาศไว้อย่างกว้างๆ สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมจนถึงแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสอดคล้องกับพันธกิจ (Mission) มีการกำหนดเป้าประสงค์ (Goal) หรือจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา สำหรับรายละเอียดการดำเนินงานที่เกี่ยวกับสุขภาวะผู้สูงอายุจะกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์

                    )กลไก กลไกพัฒนาทั้ง ๓ หน่วยงาน ได้จัดทำแผนยุทธศาสต์การพัฒนา และแผนพัฒนา ๓ ปี เป็นระบบในการบริหารจัดการองค์กร โดยมีกลไก คือ หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ มีกองทุน และมีโครงการที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ

                    )กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในส่วนของกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ เป็นการดำเนินงานอยู่ ๓ ลักษณะ คือกระบวนการดำเนินงานตามโครงการการดำเนินงานโครงการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกภาคส่วนของเทศบาลตำบลแม่กา โดยมีทรัพยากรในการบริหารจัดการแบบ ๔ M และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะของเทศบาลตำบลบ้านต๋อม มุ่งให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพิงตนเอง และร่วมกันดำเนินกิจกรรมในรูปของชมรมผู้สูงอายุ การจัดกองทุนสวัสดิการให้และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะผู้สูงอายุ และการสร้างองค์ความรู้โดยการจัดอบรมให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ

          .การสร้างนโยบาย กลไก และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

          การสร้างนโยบาย กลไก และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ และนโยบายของรัฐ เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ นำไปสู่การดำเนินงานในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สู่การดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น แผนพัฒนาจังหวัดพะเยา แผนพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดพะเยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพะเยา

          .ปัญหาอุปสรรคในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

          . องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาสภาพปัญหาอุปสรรคในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เป็นสภาพปัญหาในระดับจังหวัด การแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่จะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ดำเนินการแก้ไขและให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณีไป

          . เทศบาลตำบลแม่กา-บ้านต๋อมสภาพปัญหาอุปสรรคในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีสภาพปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับสุขภาวะทั้ง ๔ ด้าน คือ สุขภาวะทางกาย ได้แก่ ปัญหาสุขภาพทางกาย ที่อยู่อาศัยมาเหมาะสม สุขภาวะทางสังคม ได้แก่ ปัญหาสังคมผู้สูงอาย การสร้างความเข้าใจ เข้าถึง และเข้าร่วม ด้านนโยบาย เป็นต้น สุขภาวะทางจิตใจ ได้แก่ ปัญหาสุขภาพทางจิต การเกิดความเครียด และสุขภาวะทางปัญญา ได้แก่ ขาดการจัดการเรียนรู้ ขาดการจัดการความรู้ และขาดการบูรณาการ

Abstract

The study entitled “Policy and Mechanism in Elders’ Wellness Enhancement of Phayao Local Administrative Organization” aimed at studying policy, mechanism and process in elders’ wellness promotion, to analyze the process how to make policy and mechanism for elders’ well-being enhancement, and to investigate problems and obstacles in taking care of seniors in the Local Administration Organization in Amphue Muaang, Phayao.

          Population that were important informants in  an in-depth  interview were 3 three chief executives  consisting of  the Chief Executive, the Chief Administrator of the Phayao Provincial Administrative Organization, the caregiver of the elderly health promotion program, the Chief Executives of the  Maeka Sub-district Administrative Organization, Ban Tom  Sub-district Administrative Organization with purpose sampling,specifically,Phayao Provincial Administrative Organization, Maeka Sub-district Municipality, and Baan Tom Sub District Administration Organization and key informants in Focus Group Discussion with 15 purposive sampling of  experts, divided into 4 groups, namely three administrators of local government organizations,3 Buddhist monks, 3 seniors and a group  involved with older school, such as teachers and 6 high school administrators.

          Research tools in the study include an in-depth interview and focus group discussion. Data analysis was carried out based on two types of research techniques: in-depth interview data employing content analysis, using 6C technique for content synthesis, and dialectic process (DP) for content analysis consisting of 4 aspects and all of which were analyzed and synthesized, along with a summary of the research and a descriptive discussion.

Findings were as follows:

          1) Mechanism and process of enhancing elders’ health of local administrative organizations In Muang District, Phayao:

   (i) Policy: The determined policy is broadly announced and consistent with and linked to the Constitutional Law to the development plan of the local government organization, also in accordance with the Mission, goal or purpose for development. For details on the operations related to the elders’ wellness, they are formulated in the strategies.

          (ii) Mechanism: The three developmental mechanisms in three institutions have developed a three-year strategic development plan with a mechanism, a main responsible department consisting of a committee or a subcommittee, funds and projects related for enhancing the well-being of the elders.

          (iii) The process of enhancing the health of the seniors:

          In the process of enhancing the health of the elders, there are 3 types of actuations, namely, the process of implementing the project with participation if the community in all sectors of Maeka Municipality based on the  resources  with 4M management and the process of enhancing the health of Ban Tom Municipality emphasizing self-reliance ofthe elderly group, carrying out activities in the form of an elderly club, a welfare provision,  a provision of an environment   ideal for   the well-being of the elderly people, and a building up knowledge  by providing knowledge training and health promotion among elderly people.

          2) A creation of  mechanisms, policies and processes to enhance the well-being of the seniors in  the local administrative organizations, in Muang District, Phayao:

          Creating mechanisms, policies, and processes to enhance the well-being of the elderly group of the local administrative organization in Muang District, Phayao, is consistent with and linked to the Constitutional Law andthe State’s policies on the elders’ wellness that leads to the implementation of the National Economic and Social Development Plan, to the Ministry of Public Health, Department of Local Administration,Phayao Provincial Development Plan, Local Development Plan, local government organizations in Phayao.

          3) Problems and obstacles in elderly care in local administrative organizations in Muang District, Phayao:

             (i) Phayao Provincial Administration Organization: The problems and obstacles in elderly care in Phayao Provincial Administration Organization are the provincial level ones. Most of the problems will be solved jointly with the local government in the area of implementation with a solution of case-by-case assistance.

          (ii) Maeka Municipality, and Bantom Municipality: With regard to the barriers for taking care of the seniors in the local administrative organizations. In the district of Muang Phayao Province, there are four types of health problems, including physical health with residence of ill condition, social well-being with social problem in elderly society, building an understanding, accessing and participating in policy etc., mental well-being with mental health issues and stress, and intellectual well-being i.e. lacking of learning management, knowledge management, and deficiency of integration.

๒.บทนำ

   ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมดประมาณ ๖๖ ล้านคน โดยเป็นประชากรสัญชาติไทยและไม่ใช่สัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ ๖๔ ล้านคน และประชากรที่ใช้สัญชาติไทยและไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานย้ายถิ่นจากประเทศเพื่อบ้านอีกอย่างน้อย ๒ ล้านคน สำหรับประชากรไทยจำนวน ๖๔ ล้านคนค่อนข้างคงตัวแล้ว ปัจจุบัน อัตราเพิ่มประชากรสูงเพียงประมาณ   ร้อยละ ๐.๕ ต่อปีเท่านั้น เทียบกับอัตราเพิ่มที่สูงกว่าร้อยละ ๓ เมื่อ ๔๐-๕๐ ปีก่อน อย่างไรก็ตามในช่วงเวลานี้แม้ขนาดประชากรจะค่อนข้างคงตัว แต่โครงสร้างอายุของประชากรได้เปลี่ยนไปอย่างมาก จากการเป็นประชากรเยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัย ในปี ๒๕๕๖ มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปมากถึง ๙.๖ ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๔ ของประชากรทั้งหมด

ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงอายุมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ แล้ว อันเป็นผลจากการที่อัตราเกิดของคนไทยลดลงอย่างมากและชีวิตของคนไทยที่ยืนยาวขึ้น สังคมไทยได้รับรู้และตระหนักถึงสถานการณ์  การสูงวัยของประชากรพอสมควรแล้ว แต่สิ่งที่สังคมยังไม่ตระหนักชัดและยังได้รับข้อมูลไม่มากนัก คือ  ภาพสังคมสูงอายุไทยในอนาคตนับจากนี้เป็นต้นไป โครงสร้างของประชากรไทยจะสูงอายุขึ้นอย่างเร็วมาก คลื่นประชากรรุ่นที่เกิดในช่วงปี ๒๕๐๖-๒๕๒๖ หรือที่เรียกว่า “ประชากรรุ่นเกิดล้าน” ซึ่งมีอายุ ๓๐-๕๐ ปี  ในปี ๒๕๕๖ กำลังเคลื่อนตัวกลายเป็นประชากรสูงอายุกลุ่มใหญ่ในอีก ๑๐-๒๐ ปีข้างหน้า ทำให้ประเทศไทยกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” อีกเพียงไม่ถึงสิบปีข้างหน้า ประมาณปี ๒๕๖๑ จะเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และประชากรสูงอายุจะมีสัดส่วนประมาณ ๑ ใน ๕ ของประชากรทั้งหมด[2]              

          ในขณะที่แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ตามลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการให้การดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย โดยเฉพาะเจ็บป่วยด้วยโรคไร้เชื้อ เช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ทำให้มีภาวการณ์พึ่งพาต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องและระยะยาวผู้สูงอายุจำนวนมากมีปัญหาข้อเข่าเสื่อม และครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุมีฟันแท้เหลือน้อยกว่า ๒๐ ซี่ ทำให้ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน[3]

          ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมอนามัย ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จึงได้ร่วมดำเนินงานแผนงาน “โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ” โดยบูรณาการงานร่วมกับภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีเป้าหมายสำคัญเพื่อส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่พึงประสงค์โดยผสมผสานมาตรฐานการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งสุขภาพกายและจิต ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเข้าถึงการบริหารสุขภาพอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม พัฒนาระบบบริการเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้มีคุณภาพทั้งในสถานบริการและการบริการเชิงรุกในชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ และผู้พิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี[4]

          วัยสูงอายุเป็นวัยสุดท้ายของชีวิต มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมที่เกิดขึ้นเฉพาะวัยที่อาจทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพอันเกิดจากโรคได้ ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษซึ่งการให้การดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมสุขภาพจึงต้องพิจารณาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจครอบครัวจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการที่จะดูแลผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดำรงรักษาสุขภาพที่ดีเพื่อชะลอการเสื่อมของร่างกายและป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ

          ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุมากขึ้นเป็นลำดับ มีการกำหนดพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้สูงอายุให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น[5]ตลอดจนมีแผนยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ และให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความมั่นคงให้แก่สังคมและประเทศชาติ เพราะนอกจากผู้สูงอายุจะเป็นเสาหลักของครอบครัวและสังคมแล้ว ผู้สูงอายุยังนับเป็นปราชญ์อันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ยาวนาน ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์ให้คนรุ่นหลังได้อย่างมากมายมหาศาล และเป็นภูมิปัญญาแห่งสังคม[6]

             แผนนโยบายาของรัฐได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่๒(พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๖๔) จัดแบ่งเป็น๕ ยุทธศาสตร์[7]ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพประกอบด้วย๓มาตรการหลักยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุประกอบด้วย๖มาตรการหลักยุทธศาสตร์ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุประกอบด้วย๔มาตรการหลักยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุระดับชาติและการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุประกอบด้วย๒มาตรการหลักและยุทธศาสตร์ด้านการประมวลพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติประกอบด้วย๔มาตรการหลัก

          นอกจากนั้นองค์การสหประชาชาติได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในแต่ละด้านประกอบด้วย[8]ด้านความมีอิสรภาพของผู้สูงอายุ เช่น ผู้สูงอายุควรได้รับการสนับสนุนจากการได้รายได้ครอบครัวการช่วยเหลือสนับสนุนทางสังคมและการช่วยเหลือตนเองเพื่อสามารถเข้าถึงปัจจัย๔ (น้ำอาหารที่พักอาศัยเครื่องนุ่งห่ม) รวมถึงการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุควรได้รับโอกาสในการทำงานหาเลี้ยงชีพหรือเบี้ยเลี้ยงต่างๆเป็นต้น ด้านการมีส่วนร่วม เช่นผู้สูงอายุที่มีส่วนร่วมในสังคมรวมถึงมีส่วนร่วมในการพัฒนาและดำเนินการทางนโยบายซึ่งมีผลโดยตรงต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุรวมถึงนโยบายเกี่ยวกับการแบ่งปันและถ่ายทอดทักษะและประสบการณ์กับเยาวชนรุ่นใหม่ผู้สูงอายุควรได้รับโอกาสในการเข้าร่วมการให้บริการแก่สังคมส่วนรวมหรือการเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครที่เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของตนเองเป็นต้น และด้านการบรรลุในสิ่งที่ต้องการ เช่น สูงอายุควรได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเองผู้สูงอายุควรได้รับโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทางการศึกษาวัฒนธรรมศาสนาและการพักผ่อนหย่อนใจเป็นต้น

          องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นองค์กรที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจด้านการจัดบริการสาธารณะแก่ชุมชน รวมทั้งการกิจเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ซึ่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒นั้น ได้กำหนดอำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะไว้หลายด้าน โดยเฉพาะด้านการสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส ไว้ในหมวด ๒มาตรา ๑๖ (๑๐) ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล ให้การสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส และมาตรา ๑๗ (๒๗) ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในการสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่นเดียวกับเทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล

          เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามพระราชบัญญัติข้างต้น จึงได้กำหนดให้จัดทำแผนปฏิบัติการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๓โดยให้มีการถ่ายโอนภารกิจด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต และเรื่องการส่งเสริมอาชีพให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส การนันทนาการ การส่งเสริมกีฬา หรือการจัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การศึกษาทั้งในและนอกระบบ รวมถึงการสาธารสุข เช่น การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าในปัจจุบัน การจัดบริการสาธารณะในด้านการจัดสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์ ได้มีการดำเนินการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ งบประมาณ และบุคลากรบางส่วน จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ไปให้ส่วนท้องถิ่นดำเนินการ

          นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บัญญัติเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นไว้เป็นการเฉพาะ ตั้งแต่มาตรา ๒๘๑ถึง มาตรา ๒๙๐เพื่อกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น โดยมีสาระสำคัญว่า รัฐต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลัก แห่งการปกครองตนเอง ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รวมทั้งมีอำนานหน้าที่โดยทั่วไปในการดูแลประชาชนในท้องถิ่น และได้บัญญัติเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุไว้ ดังนี้ คือ มาตร ๕๓บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ มาตรา ๘๐ (๑) โดยสรุป คือ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุขการศึกษา และวัฒนธรรม ได้แก่ คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้

          จากภารกิจที่รับการถ่ายโอนและกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น ย่อมจะส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจเพิ่มมากขึ้น และภารกิจหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญ คือ งานสวัสดิการสังคม  สังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มของปัญหาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตามโครงสร้างของประชากร ในอีก ๑๐-๒๐ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีประชากรกลุ่มนี้ไม่น้อยกว่า ๑๑ ล้านคน จนอาจเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการจัดสวัสดิการสังคม และมาตรการในการรองรับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม ทั้งในด้านความรู้ การจัดการทรัพยากร และบริการทางสังคม รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยเห็นความสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยศึกษาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลตำบลแม่กา และเทศบาลตำบลบ้านต๋อม ในด้านนโยบาย กลไก และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เพื่อนำมาใช้ในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ โดยนำรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ โดยการนำผู้สูงอายุ องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมคิด วิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการดำเนินการ และสรุปบทเรียนที่ได้ โดยผู้วิจัยเชื่อว่า กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมจะสามารถพัฒนางานการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุให้มีคุณค่าในตนเอง ลดภาระทางด้านการพึ่งพิง โดยใช้แนวนโยบายของรัฐ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุต่อไป

๓.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

           ๓.๑ เพื่อศึกษานโยบาย กลไก และ กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ                             ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

          ๓.๒ เพื่อวิเคราะห์การสร้างนโยบาย กลไก ในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

          ๓.๓ เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์กรปกครอง               ส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

๔.ขอบเขตการวิจัย

             การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยในภาคสนาม โดยกำหนดขอบเขตการวิจัย ดังนี้

               ๔.๑ ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาเนื้อหาจากเอกสาร ตำราทางวิชาการ โดยมุ่งประเด็นที่จะศึกษา ดังนี้

                    ๑) ศึกษานโยบาย กลไก และ กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ                             ของรัฐ และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

                    ๒) วิเคราะห์การสร้างนโยบาย กลไก ในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

                    ๓) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์กรปกครอง               ส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

             ๔.ขอบเขตด้านพื้นที่และประชากร และกลุ่มตัวอย่าง

                    ๑) ขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง  โดยกำหนดเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

                   ๒) ขอบเขตด้านประชากร ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตผู้ให้ข้อมูล โดยศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นโยบาย กลไก และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview)และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดพะเยา ๓ แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เทศบาลตำบลแม่กา และเทศบาลตำบลบ้านต๋อม

๕.บทสรุป

             ..นโยบาย กลไก และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

                    ) นโยบาย การกำหนดนโยบายจะเป็นไปตามนโยบายที่ได้นำเสนอในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง และนำเสนอในสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา และเทศบาลทั้ง ๒ หน่วยงาน ดังนั้นนโยบายที่กำหนดจะประกาศไว้อย่างกว้างๆ สอดคล้องกับพันธกิจ (Mission) มีการกำหนดเป้าประสงค์ (Goal) หรือจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา สำหรับรายละเอียดการดำเนินงานที่เกี่ยวกับสุขภาวะผู้สูงอายุจะกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกันทั้ง ๓ หน่วยงาน นั่นคือ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาสังคม การศึกษา และวัฒนธรรม และกำหนดไว้ในแนวทางพัฒนา

                    )กลไก กลไกพัฒนาทั้ง ๓ หน่วยงาน ได้จัดทำแผนยุทธศาสต์การพัฒนา และแผนพัฒนา ๓ ปี เป็นระบบในการบริหารจัดการองค์กร โดยมีกลไก คือ หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ ประกอบด้วยสำนักปลัก และกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ มีกองทุน และมีโครงการที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ทั้ง ๓ หน่วยงาน ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยามีกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดพะเยา และมีการจัดตั้งโครงการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพชุมชนด้านการพัฒนาศักยภาพ คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ในระยะจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดพะเยา ส่วนเทศบาลทั้ง ๒ หน่วยงาน มีกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ได้แก่ โรงเรียนผู้สูงอายุ โครงการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ โครงการสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพ (สปสช.)โครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งตำบลบ้านต๋อมเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ

                    )กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในส่วนของกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ เป็นการดำเนินงานอยู่ ๓ ลักษณะ คือกระบวนการดำเนินงานตามโครงการตั้งแต่การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจนถึงการรายงานผลการดำเนินงานโครงการและการดำเนินงานโครงการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกภาคส่วนของเทศบาลตำบลแม่กา โดยมีทรัพยากรในการบริหารจัดการแบบ ๔ M ประกอบด้วยทรัพยากรบุคคล (Man) งบประมาณ (Money) การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม (Management) และวัสดุอุปกรณ์ (Material) และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะของเทศบาลตำบลบ้านต๋อม มุ่งให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพิงตนเอง และร่วมกันดำเนินกิจกรรมในรูปของชมรมผู้สูงอายุ การจัดกองทุนสวัสดิการให้และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะผู้สูงอายุ และการสร้างองค์ความรู้โดยการจัดอบรมให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ

          .การสร้างนโยบาย กลไก และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

          การสร้างนโยบาย กลไก และกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ และนโยบายของรัฐ เกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ นำไปสู่การดำเนินงานในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สู่การดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น แผนพัฒนาจังหวัดพะเยา แผนพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดพะเยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพะเยา

          แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ได้กำหนดการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุไว้ในยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาสังคม การศึกษา และวัฒนธรรม โดยมีแนวทางพัฒนา ๒ แนวทาง ได้แก่ การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคมและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็ก สตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนโดยมีกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ได้แก่ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดพะเยา และโครงการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพชุมชนด้านการพัฒนาศักยภาพ คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ในระยะจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดพะเยา เป็นตัวขับเคลื่อนกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดพะเยา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

          แผนพัฒนาเทศบาลตำบลแม่กา ได้กำหนดการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุไว้ในยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาสังคม การศึกษา และวัฒนธรรม โดยมีแนวทางพัฒนา ๓ แนวทาง ได้แก่การส่งเสริมและสร้างองค์ความรู้  องค์กรชุมชนหรือภาคประชาชนให้มีความเข้มแข็งเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการส่งเสริมและสนับสนุนระบบการจัดสวัสดิการประชาชน  กลุ่มเป้าหมาย  เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงโดยมีกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ได้แก่กองทุนหลักประสุขภาพแห่งชาติ โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุวัดห้วยเคียนเหนือ โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุวัดแม่กาโทกหวาก และโครงการจ่ายเบี้ยยังชีพ จะเห็นได้ว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นไปตามแผนพัฒนาสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำหรับโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุทั้ง ๒ โครงการ เป็นการดำเนินการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา ส่วนโครงการจ่ายเบี้ยยังชีพ เป็นการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ นโยบายของรัฐ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          แผนพัฒนาเทศบาลตำบลบ้านต๋อม ได้กำหนดการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุไว้ในยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาสังคม การศึกษา และวัฒนธรรม โดยมีแนวทางพัฒนา ๑ แนวทาง ได้แก่การส่งเสริมให้ประชาชน ตระหนักถึงอัตลักษณ์และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้มแข็ง เพิ่มทักษะและสมรรถนะ พร้อมสู่ประชาคมอาเซียนโดยมีกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ได้แก่โครงการสนับสนุนกองทุนหลักประสุขภาพแห่งชาติ โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุวัดร่องห้า โครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งตำบลบ้านต๋อม และโครงการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะเห็นได้ว่า โครงการสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นไปตามแผนพัฒนาสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำหรับโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุวัดร่องห้า เป็นการดำเนินการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุตามยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา ส่วนโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต และโครงการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ นโยบายของรัฐ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          .ปัญหาอุปสรรคในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

           ..๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาสภาพปัญหาอุปสรรคในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา เป็นสภาพปัญหาในระดับจังหวัด การแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่จะร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ดำเนินการแก้ไขและให้ความช่วยเหลือเป็นรายกรณีไป

            ๕..๒ เทศบาลตำบลแม่กา-บ้านต๋อมสภาพปัญหาอุปสรรคในการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีสภาพปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับสุขภาวะทั้ง ๔ ด้าน คือ สุขภาวะทางกาย ได้แก่ ปัญหาสุขภาพทางกาย ที่อยู่อาศัยมาเหมาะสม สุขภาวะทางสังคม ได้แก่ ปัญหาสังคมผู้สูงอาย การสร้างความเข้าใจ เข้าถึง และเข้าร่วม ด้านนโยบาย เป็นต้น สุขภาวะทางจิตใจ ได้แก่ ปัญหาสุขภาพทางจิต การเกิดความเครียด และสุขภาวะทางปัญญา ได้แก่ ขาดการจัดการเรียนรู้ ขาดการจัดการความรู้ และขาดการบูรณาการ

.๔ ข้อเสนอแนะ

                ๑. ด้านนโยบายการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุการกำหนดนโยบายการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพะเยา เป็นการกำหนดนโยบายไว้อย่างกว้างๆ ไม่ได้เจาะจงเฉพาะการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ และไม่ครอบคลุมสุขภาวะทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางจิตใจ และสุขภาวะทางปัญญา ส่วนใหญ่มุ่งเน้นสุขภาวะทางกาย เช่น การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การดูแลรักษาสุขภาพ และการช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย เป็นด้านหลักรวมทั้งไม่ได้กำหนดนโยบายเชิงรุก นั่นคือ การกำหนดนโยบายการเสริมสร้างและพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอนาคต

              ๒. ด้านกลไกการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพะเยา ควรกำหนดกลไกให้ครอบคลุมทั้ง ๔ M ได้แก่ การบริหารจัดการ (Management) หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบและบุคลากรในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทำงาน (Man) งบประมาณดำเนินงาน (Money) และวัสดุอุปกรณ์ (Material) เพื่อให้การบริหารจัดการด้านการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น

              ๓. ด้านกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุกระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพะเยา ยังไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่ดำเนินงานตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการเป็นด้านหลัก ดังนั้น อาจจะมีการกำหนดนโยบายแบบแนวคิดเชิงระบบ ดังแผนภูมิต่อไปนี้

Process

-การบริหารจัดการ

-ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ เช่น วงจรคุณภาพ (Damming)

Input

-บุคลากร

-ผู้สูงอายุ

-งบประมาณ

-อาคารสถานที่

-วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ

Output

-ผลสัมฤทธิ์ของการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุทั้ง ๔ ด้าน

Outcome

-วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุดีขึ้น

บรรณานุกรม

๑.  ภาษาไทย :

          ๑.๑ ข้อมูลปฐมภูมิ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

_________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.

           ๑.๒ ข้อมูลทุติยภูมิ

(๑) หนังสือ:

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. การศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้สื่อในศูนย์การเรียน ชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธันวาธุรกิจ, ๒๕๔๓.

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. หลักการพื้นฐานการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ.๒๕๔๑.กรุงเทพฯ:มิตรภาพการพิมพ์, ๒๕๔๑.

ชูศักดิ์ เวชแพทย์. สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๓๑.

ประเวศ วะสี.การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพและความสุข.กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม, ๒๕๔๘.

พนิตนาฏ ชำนาญเสือ และ ทัศนีย์ เกริกกุลธร. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ  อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี.กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๔๕.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546.

__________.พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, 2540.

__________.พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : ดวงแก้ว, 2544.

__________. อายุยืนอย่างมีคุณค่า.กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา, ม.ป.ป.      

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม). หลักประกันชีวิต ทุกลมหายใจใช้เวลาให้เป็นประโยชน์.กรุงเทพมหานคร:สถาบันบันลือธรรม,ม.ป.ป.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต).หลักแม่บทของการพัฒนาตน. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546.

__________.พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. อาร์พริ้นเตอร์แมสโปรดักส์ จำกัด, 2546.

__________. สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ.พิมพ์ครั้งที่๖.กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง, ๒๕๕๑. 

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับบราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒.กรุงเทพฯ: นานมีบุคสพับลิเคชั่นส, ๒๕๔๖.

ศักดิ์ฐาพงษ์ ไชยศร.โปรแกรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุหญิง.เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๐.                                                               

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร.สวัสดิการผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔.

ละเอียด แจ่มจันทร์และสุรี ขันธรักษวงศ์.สาระทบทวนการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์.กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง จำกัด, ๒๕๔๙.

สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส). สุขภาพทางจิตวิญญาณฯ สู่สุขภาพทางปัญญา, กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ์, ๒๕๔๖. 

สุรกุล เจนอบรม. วิสัยทัศนผูสูงอายุและการศึกษานอกระบบสําหรับผูสูงอายุไทย.กรุงเทพฯ : นิชินแอดเวอรไทชิ่งกรุฟ, ๒๕๔๑.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ.สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์,๒๕๔๕.

           (๒) บทความในวารสาร :

ชุติกาญจน์ฉัตรรุ่งและนพนันท์ สิงห์ลาว.“ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี”,วารสารการพยาบาลและการสาธารณสุข.ฉบับที่ ๑, (๒๕๔๗) : ๑- ๑๒.

บรรลุ ศิริพานิช."สุขภาพผูสูงอายุ", วารสารคลินิก.ปีที่ ๖ฉบับที่ ๖ (๒๕๓๓) : ๔๓๒- ๔๓๖.

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต). “สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ”,พุทธจักร.ปีที่ ๕๙ ฉบับที่๑๑(พฤศจิกายน ๒๕๔๘) :๕–๑๐.                                     

มนูญ คันธประภา. “ทัศนคติในการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในการดำเนินชีวิต”,วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ (กันยายน ๒๕๕๓) : ๖๖.

สุรีย์พันธ์ บุญวิสุทธิ์และคณะ. “ภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุไทย”,วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม.ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒๑ (๒๕๔๑) : ๘๒ – ๘๙.

           (๓)รายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ :

ชนินัฐวโรทัย และคณะ. “การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางละมุง”.รายงานการวิจัย. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๓๙.                                     

ทิพย์วดี เหลืองกระจ่าง. “การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาผู้สูงอายุ”.ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (พุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔.

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑ – ๑๒.“การจัดบริการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในระดับตำบลอย่างมีส่วนร่วม”, รายงานการวิจัย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ ๑ - ๑๒, กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, ๒๕๕๕.

[1]นภัทร์  แก้วนาค, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ( Qualitative Data Analysis Techic) , หน้า ๖. (ถ่ายเอกสารเย็บเล่ม)

[2]มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. ๒๕๕๖, สนับสนุนโดย คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กองทุนผู้สูงอายุ, (กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับชิง จำกัด (มหาชน, ๒๕๕๗), หน้า ๖.

[3]กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยปี ๒๕๕๖ ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี., ๒๕๕๖), หน้า ๒.

[4]เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒.

[5]ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖, สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha. soc.go.th, ๕มิถุนายน ๒๕๕๘.

[6]สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ,โลกของผู้สูงอายุไทย, สืบค้นจาก http:// thaihealth.or,th/ node/๙๐๒๔, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘.

[7]ศูนย์ศตวรรษิกชนสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล http://www. thaicentenarian. mahidol. ac.th/TECIC/index.php/for-elderly/policy/๔๙--๒-๒๕๔๕-๒๕๖๔)

[8]Dupuis, Kousaie, Wittich and Spadafora, ๒๐๐๗ : ๒๗๓-๒๙๒


หมายเลขบันทึก: 661303เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2019 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2019 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท