ชื่อโครงการวิจัย/ชุดโครงการ (ภาษาไทย) รูปแบบการดำเนินงาน และการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง (ภาษาอังกฤษ) Model of operation and management of elderly school With a central temple



ส่วน ก    : ลักษณะโครงการวิจัย/ชุดโครงการวิจัย

™ใหม่

™ต่อเนื่อง  

 ระยะเวลา ....1... ปี …0……เดือนปีนี้เป็นปีที่ 1(ระยะเวลาดำเนินการวิจัยไม่เกิน 5 ปี)

ประเภทโครงการ

Uโครงการวิจัย

™ชุดโครงการวิจัย

ประเภทงานวิจัย

Uพื้นฐาน (basic Research)   ™พัฒนาและประยุกต์(Development)

™วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operational Research)™วิจัยทางด้านคลินิก (Clinical Trial)     

™วิจัยต่อยอด (Translational research)      ™การขยายผลงานวิจัย (Implementation)

ประเภทการใช้งบประมาณ

Uหน่วยงานดำเนินการวิจัยเอง                  ™จัดจ้างหน่วยงานอื่นวิจัย

ส่วนข:องค์ประกอบในการจัดทำ

1. ผู้รับผิดชอบ

คำนำหน้า

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่งในโครงการ

หน่วยงาน

สัดส่วนการมีส่วนร่วม

ดร.

พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ

หัวหน้าโครงการ

รัฐศาสตร์

40

ผศ.

คนอง  วังฝายแก้ว

ผู้ร่วมวิจัย

รัฐศาสตร์

30

รศ.ดร.

พระครูโสภณปริยัติสุธี

ผู้ร่วมวิจัย

รัฐศาสตร์

1๕

ดร.

พระครูพิศาลสรกิจ

ผู้ร่วมวิจัย

รัฐศาสตร์

1๕

2. สาขาที่สอดคล้องกับงานวิจัย

          2.1สาขาการวิจัยหลัก OECD     5. สังคมศาสตร์                                        

        สาขาการวิจัยย่อย OECD 5.7 สังคมศาสตร์ : รัฐศาสตร์

        ด้านการวิจัย                         สังคม/มนุษยศาสตร์

2.2สาขา ISCED         03 Social sciences, journalism and information

                                                030 Social sciences, journalism and information not further defined

                                      0312 Political sciences and civics

3. คำสำคัญ (keyword)

      คำสำคัญ (TH)    รูปแบบการดำเนินงาน,การบริหารจัดการ, โรงเรียนผู้สูงอายุ, วัดเป็นศูนย์กลาง

            <b>คำสำคัญ </b><b>(EN)</b>        Model of operation Elderly school administration And the temple is central

     

4. เป้าหมายการวิจัย

       สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙) ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ ๑๑ สังคมผู้สูงอายุ : การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ  การพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุและการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว/ชุมชน

5. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย

             ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมดประมาณ ๖๖ ล้านคน โดยเป็นประชากรสัญชาติไทยและไม่ใช่สัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร ๖๔ ล้านคน และประชากรที่ใช้สัญชาติไทยและไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานย้ายถิ่นจากประเทศเพื่อบ้านอีกอย่างน้อย ๒ ล้านคน สำหรับประชากรไทยจำนวน ๖๔ ล้านคนค่อนข้างคงตัวแล้ว ปัจจุบัน อัตราเพิ่มประชากรสูงเพียงประมาณ   ร้อยละ ๐.๕ ต่อปีเท่านั้น เทียบกับอัตราเพิ่มที่สูงกว่าร้อยละ ๓ เมื่อ ๔๐-๕๐ ปีก่อน อย่างไรก็ตามในช่วงเวลานี้แม้ขนาดประชากรจะค่อนข้างคงตัว แต่โครงสร้างอายุของประชากรได้เปลี่ยนไปอย่างมาก จากการเป็นประชากรเยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัย ในปี ๒๕๕๖ มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปมากถึง ๙.๖ ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๔ ของประชากรทั้งหมด

          ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงอายุมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ แล้ว อันเป็นผลจากการที่อัตราเกิดของคนไทยลดลงอย่างมากและชีวิตของคนไทยที่ยืนยาวขึ้น สังคมไทยได้รับรู้และตระหนักถึงสถานการณ์  การสูงวัยของประชากรพอสมควรแล้ว แต่สิ่งที่สังคมยังไม่ตระหนักชัดและยังได้รับข้อมูลไม่มากนัก คือ  ภาพสังคมสูงอายุไทยในอนาคตนับจากนี้เป็นต้นไป โครงสร้างของประชากรไทยจะสูงอายุขึ้นอย่างเร็วมาก คลื่นประชากรรุ่นที่เกิดในช่วงปี ๒๕๐๖-๒๕๒๖ หรือที่เรียกว่า “ประชากรรุ่นเกิดล้าน” ซึ่งมีอายุ ๓๐-๕๐ ปี  ในปี ๒๕๕๖ กำลังเคลื่อนตัวกลายเป็นประชากรสูงอายุกลุ่มใหญ่ในอีก ๑๐-๒๐ ปีข้างหน้า ทำให้ประเทศไทยกลายเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” อีกเพียงไม่ถึงสิบปีข้างหน้า ประมาณปี ๒๕๖๑ จะเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ที่ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และประชากรสูงอายุจะมีสัดส่วนประมาณ ๑ ใน ๕ ของประชากรทั้งหมด[1]             

ในขณะที่แนวโน้มผู้สูงอายุอยู่คนเดียวหรืออยู่ตามลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการให้การดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อายุยิ่งสูงยิ่งเจ็บป่วย โดยเฉพาะเจ็บป่วยด้วยโรคไร้เชื้อ เช่นความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง ซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ทำให้มีภาวการณ์พึ่งพาต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องและระยะยาวผู้สูงอายุจำนวนมากมีปัญหาข้อเข่าเสื่อม และครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุมีฟันแท้เหลือน้อยกว่า ๒๐ ซี่ ทำให้ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน[2]

             ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมอนามัย ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จึงได้ร่วมดำเนินงานแผนงาน “โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ” โดยบูรณาการงานร่วมกับภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีเป้าหมายสำคัญเพื่อส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่พึงประสงค์โดยผสมผสานมาตรฐานการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งสุขภาพกายและจิต ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเข้าถึงการบริหารสุขภาพอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม พัฒนาระบบบริการเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้มีคุณภาพทั้งในสถานบริการและการบริการเชิงรุกในชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ และผู้พิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี[3]

                   วัยสูงอายุเป็นวัยสุดท้ายของชีวิต มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมที่เกิดขึ้นเฉพาะวัยที่อาจทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพอันเกิดจากโรคได้ ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษซึ่งการให้การดูแลช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมสุขภาพจึงต้องพิจารณาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจครอบครัวจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการที่จะดูแลผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุดำรงรักษาสุขภาพที่ดีเพื่อชะลอการเสื่อมของร่างกายและป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ

                   ในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุมากขึ้นเป็นลำดับ มีการกำหนดพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้สูงอายุให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น[4] ตลอดจนมีแผนยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ และให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความมั่นคงให้แก่สังคมและประเทศชาติ เพราะนอกจากผู้สูงอายุจะเป็นเสาหลักของครอบครัวและสังคมแล้ว ผู้สูงอายุยังนับเป็นปราชญ์อันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ยาวนาน ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์ให้คนรุ่นหลังได้อย่างมากมายมหาศาล และเป็นภูมิปัญญาแห่งสังคม[5]

6. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

  ๖.๑ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุโดยวัดเป็นศูนย์กลาง

  ๖.๒ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุโดยวัดเป็นศูนย์กลาง

                                   ๖.๓ เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการศึกษาผู้สูงอายุโดยวัดเป็นศูนย์กลาง

7. ขอบเขตของการวิจัย

        คณะผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตในการวิจัย ดังนี้

    ๗.๑ ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ ศึกษาการบริหารจัดการโรงเรียนผู้อายุโดยวัดเป็นศูนย์กลาง วิเคราะห์ระบบการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุโดยวัดเป็นศูนย์กลางและเพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการศึกษาผู้สูงอายุโดยวัดเป็นศูนย์กลาง

               ๗.๒ ขอบเขตผู้ให้ข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตผู้ให้ข้อมูล โดยศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุโดยวัดเป็นศูนย์กลาง  ศึกษา การบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุโดยวัดเป็นศูนย์กลาง โดยการจัดเวทีสัมมนา และการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) จากกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา วัด  กองแล และวัดธรรมมิการาม ตำบลขุนควร  อำเภอปง จังหวัดพะเยา

             ๗.๓ ขอบเขตในด้านเวลา ๑ ปีงบประมาณ

             ๗.๔ ขอบเขตด้านพื้นที่ วัดกองแล และวัดธรรมมิการาม ในเขตพื้นที่ อำเภอปง จังหวัดพะเยา

8. ทฤษฎี สมมุติฐาน และกรอบแนวคิดของโครงการวิจัย

9. การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (information) ที่เกี่ยวข้อง

          แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายของรัฐ  :   ความหมายของนโยบาย  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ได้กำหนดความหมายของนโยบายไว้ว่านโยบาย หมายถึง หลักการและวิธีปฎิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ และ ปทานุกรม Oxford English Dictionary ได้ให้คำจำกัดความของนโยบายไว้ว่า นโยบาย หมายถึงความฉลาดและการใช้ดุลยพินิจที่หลักแหลมในทางการเมืองศิลปะแห่งการดำเนินกิจการของบ้านเมือง การดำเนินการที่ฉลาดรอบคอบแนวทางการดำเนินการของรัฐบาลพรรคการเมือง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการได้ให้ความหมายของคำว่านโยบายไว้เพิ่มเติม ดังนี้

Helco (อ้างถึงใน จุมพล หนิมพานิช, ๒๕๔๙ :๕) ได้กล่าวถึงความหมายของนโยบายไว้ว่า นโยบาย เป็นมากกว่าแนวทางการดำเนินการที่จงใจหรือตั้งใจ

            Brain W. Hogwood and Lewis A.Gunnได้ให้คำนิยามของคำว่านโยบายในฐานะต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ นโยบายในฐานะป้ายประกาศกิจกรรมของรัฐบาลในฐานะเป้าหมายทั่วไปของกิจกรรมของรัฐที่พึงปรารถนา ในฐานะข้อเสนอที่เฉพาะเจาะจงในฐานะการตัดสินใจของรัฐบาล ในฐานะการให้อำนาจอย่างเป็นทางการ ในฐานะแผนงานในฐานะผลผลิต ในฐานะผลลัพธ์ ในฐานะทฤษฎีและตัวแบบ และสุดท้ายในฐานะกระบวนการ

           Friedrich กล่าวไว้ว่า นโยบาย คือข้อเสนอสำหรับแนวทางการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาลภายในสภาพแวดล้อมแบบหนึ่งซึ่งจะมีทั้งอุปสรรค และโอกาสบางประการด้วยอุปสรรคและโอกาสที่มีนั้นเองที่ผลักดันให้มีการเสนอนโยบายขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์และเอาชนะสภาพการณ์เช่น นั้นทั้งนี้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดนั้นเอง

Knezevich ได้ระบุไว้ว่า นโยบาย หมายถึงข้อความทั่วไปที่อธิบายถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุถึงคำแถลงนโยบาย (policy statement) เป็นแนวทางในการดำเนินงาน

McNichols กล่าวว่า นโยบาย หมายถึงการตัดสินใจที่มีความฉลาดและหลักแหลมกล่าวคือเป็นการกระทำที่ไตร่ตรองและลึกซึ้งของผู้บริหารระดับสูง

         Chang and Campo – Folres ระบุว่า นโยบาย หมายถึง กรอบพื้นฐาน (A Basic Framework) ที่เป็นตัวกำหนดปัญหาหลักของบริษัท จุดมุ่งหมาย ปณิธานวัตถุประสงค์ทั่วไป และแนวทางชุดหนึ่งซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานทางธุรกิจภายใต้กรอบแนวคิดรวมของบริษัท

Stecklein อธิบายว่า นโยบาย หมายถึง ข้อความที่ให้แนวทาง (Guideline) สำหรับการพัฒนาและการดำเนินงานของหน่วยงานหรือแผนงาน (Program) ซึ่งสะท้อนให้เห็นทั้งโดยตรงและโดยอ้อมถึงหลักการพื้นฐานหรือความเชื่อถือของผู้รับผิดชอบสำหรับหน่วยงานหรือแผนงาน นั้นๆ

อมร รักษาสัตย์ ได้ให้ความหมายของนโยบายไว้ว่า นโยบาย หมายถึงอุบายหรือกลเม็ดที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายส่วนรวมในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเหมาะสมที่สุด

ประชุม รอดประเสริฐ กล่าวว่านโยบายเป็นข้อความหรือความเข้าใจร่วมกันอย่างกว้าง ๆที่ใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจเพื่อการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆของผู้บริหารและของหน่วยงาน

วิจิตร ศรีสะอ้าน ได้เปรียบเทียบว่านโยบายเปรียบเสมือนเข็มทิศและหางเสือในการเดินเรือที่จะพาเรือไปในทิศทางที่กำหนดไว้ได้ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดนโยบายการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันเพื่อจะพาประเทศให้พัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการ

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า นโยบาย หมายถึงแนวทางหรือกรอบที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการนโยบายหมายถึงหลักการและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการขององค์กรต่างๆทั้งองค์กรในระดับชาติซึ่งหมายถึงรัฐบาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งอาจจะหมายถึงเมืองนคร มหานคร เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบล[6]

นโยบายอาจจะหมายถึงการใช้ดุลยพินิจที่หลักแหลมในทางการเมืองศิลปะแห่งการดำเนินกิจการของบ้านเมือง การดำเนินการที่ฉลาดรอบคอบแนวทางการดำเนินการของรัฐบาลและพรรคการเมืองซึ่งนโยบายนั้นเป็นมากกว่าแนวทางการดำเนินการที่จงใจหรือตั้งใจที่จะทำ

นิยามของคำว่านโยบายในฐานะต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้คือนโยบายในฐานะการประกาศกิจกรรมของรัฐบาลในฐานะเป้าหมายทั่วไปของกิจกรรมของรัฐบาลที่พึงปรารถนา ในฐานะข้อเสนอที่เฉพาะเจาะจงในฐานะการตัดสินใจของรัฐบาลและในฐานะการให้อำนาจอย่างเป็นทางการ

นโยบายอาจจะเป็นข้อเสนอสำหรับแนวทางการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคลหรือรัฐภายในสภาพแวดล้อมแบบหนึ่งซึ่งจะมีทั้งอุปสรรค และโอกาสบางประการด้วยอุปสรรคและโอกาสที่มีนั่นเองที่ผลักดันให้มีการเสนอนโยบายขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์และเอาชนะสภาพการณ์เช่นนั้นทั้งนี้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดที่ต้องการ

คำว่านโยบายหมายถึงข้อความทั่วไปที่อธิบายถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุถึงคำแถลงนโยบายเป็นแนวทางในการดำเนินงานอาจจะหมายถึง การตัดสินใจที่มีความฉลาดและหลักแหลมกล่าวคือเป็นการกระทำที่ไตร่ตรองดีแล้วของผู้บริหารองค์กรนั้นๆ

นโยบายอาจจะหมายถึงข้อความที่ให้แนวทางสำหรับการพัฒนาและการดำเนินงานของหน่วยงานหรือแผนงานที่สะท้อนให้เห็นทั้งโดยตรงและโดยอ้อมถึงหลักการพื้นฐานหรือความเชื่อถือของผู้รับผิดชอบสำหรับหน่วยงานหรือแผนงานนั้นๆ

10. ระดับความพร้อมที่มีอยู่ในปัจจุบัน

10.1 ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี(Tehnology Readiness Level: TRL) (สำหรับเป้าหมายที่ 1, 2)

TRL ณ ปัจจุบัน ไม่ระบุ

อธิบาย.....................................................................................................................................................

TRL เมื่องานวิจัยเสร็จสิ้น ไม่ระบุ

อธิบาย......................................................................................................................................................

      10.2 ระดับความพร้อมทางสังคม (Societal Readiness Level: SRL) (สำหรับเป้าหมายที่ 2)

SRL ณ ปัจจุบัน ไม่ระบุ

อธิบาย......................................................................................................................................................

SRL เมื่องานวิจัยเสร็จสิ้น ไม่ระบุ

อธิบาย.....................................................................................................................................................

11. ศักยภาพองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะพัฒนา

      11.1) ศักยภาพทางการตลาดของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะพัฒนา สำหรับเป้าหมายที่ 1 (หากระบุเป็นตัวเลขได้ โปรดระบุ)

11.1.1) ขนาดและแนวโน้มของตลาด/โอกาสทางการตลาด

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

11.1.2) ลักษณะเฉพาะ/ความใหม่ของผลงานวิจัยที่แตกต่างจากที่มีในปัจจุบัน

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

11.2) ผลกระทบของโครงการที่มีต่อสังคม ในรูปแบบของการกระจายรายได้ (Income distribution) และการแก้ไขปัญหาของชุมชน สำหรับเป้าหมายที่ 2

11.2.1) ความต้องการของชุมชน/ปัญหาของชุมชน

.......................................................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................................

11.2.2)ผลกระทบที่เกิดจากงานวิจัยในรูปแบบของการลดผลกระทบทางลบ หรือขยายผลกระทบทางบวก (หากระบุเป็นตัวเลขได้ โปรดระบุ)

.......................................................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................................

12. วิธีการดำเนินการวิจัย                                                                

             ๑๒.๑ ตั้งคณะทำงาน ระดมความคิดเห็นปรึกษาหารือ การวางกรอบในการดำเนินการวิจัย ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

             ๑๒.๒ ศึกษาค้นคว้าเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบงานวิจัยให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่ต้องการศึกษา

             ๑๒.๓ ปฏิบัติการภาคสนาม โดยการจัดกิจกรรมการศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนาสู่กลุ่มเป้าหมาย

             ๑๒.๔ เก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และรายงานผล

13. สถานที่ทำการวิจัย

ในประเทศ/ต่างประเทศ

ชื่อประเทศ/จังหวัด

พื้นที่ที่ทำวิจัย

ชื่อสถานที่

ประเทศไทย

อ.ปง  / พะเยา

ภาคสนาม

1. วัดธรรมมิการาม ต.ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา

2. วัดกองแล ต.ขุนควร อ.ปง จ.พะเยา

14. ระยะเวลาการวิจัย

ระยะเวลาโครงการ 1ปี 0เดือน

วันที่เริ่มต้น1 ตุลาคม 2562วันที่สิ้นสุด30 กันยายน 2563

แผนการดำเนินงานวิจัย (ปีที่เริ่มต้น สิ้นสุด)

ปี(งบประมาณ)

กิจกรรม

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ร้อยละของกิจกรรมในปีงบประมาณ

2562

การจัดประชุมคณะทำงาน คณะที่ปรึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางการทำงานให้สอดคล้องกับพันธกิจและเป้าหมายของโครงการ

X

X

2562

การจัดประชุมคณะทำงานคณะผู้ติดตามและประเมินผลภายใน เพื่อทำความเข้าใจและหารือทิศทางการดำเนินงานเชิงยุทธศาสตร์และการบริหาจัดการ

X

X

2562

ดำเนินโครงการติดตามและประเมินผล

X

X

X

X

X

X

X

X

X

2562

จัดสัมมนาเชิงวิชาการ

X

X

X

2562

ดำเนินการจัดพิมพ์ผลงาน หรือชุดความรู้ของโครงการ

X

รวม

100

15. งบประมาณของโครงการวิจัย

15.1 แสดงรายละเอียดประมาณการงบประมาณตลอดโครงการ(กรณีของบประมาณเป็นโครงการต่อเนื่อง ระยะเวลาดำเนินการวิจัยมากกว่า 1 ปี ให้แสดงงบประมาณตลอดแผนการดำเนินงาน)

ปีที่ดำเนินการ

ปีงบประมาณ

งบประมาณที่เสนอขอ

ปีที่ 1

2562

30,000

ปีที่ 2

2564

รวม

30,000

15.2 แสดงรายละเอียดประมาณการงบประมาณปีที่เสนอขอ

ประเภทงบประมาณ

รายละเอียด

งบประมาณ (บาท)

งบบุคลากร

งบดำเนินการ : ค่าตอบแทน

1. ค่าตอบแทนคณะผู้วิจัย

10,000

งบดำเนินการ : ค่าใช้สอย

1. ค่าตอบแทนผู้ให้ข้อมูล

10,000

งบดำเนินการ : ค่าวัสดุ

1. ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์สิ้นเปลือง 

1.1 กระดาษพิมพ์ ขนาด A 4

1.2 ค่าหมึกพิมพ์

2. ค่าจัดพิมพ์เอกสารายงานการวิจัยและเผยแพร่

5,000

5,000

รวม

          30,000

15.3เหตุผลความจำเป็นในการจัดซื้อครุภัณฑ์ (พร้อมแนบรายละเอียดครุภัณฑ์ที่จะจัดซื้อ)

ชื่อครุภัณฑ์

ครุภัณฑ์ที่ขอสนับสนุน

ลักษณะการใช้งานและความจำเป็น

การใช้ประโยชน์ของครุภัณฑ์นี้เมื่อโครงการสิ้นสุด

สถานภาพ

ครุภัณฑ์ใกล้เคียงที่ใช้ ณ ปัจจุบัน (ถ้ามี)

สถานภาพการใช้งาน ณ ปัจจุบัน

ไม่มีครุภัณฑ์นี้

ไม่มีครุภัณฑ์นี้

16. ผลผลิตผลลัพธ์ และผลกระทบจากงานวิจัย (Output/Outcome/Impact)

ผลงานที่คาดว่าจะได้รับ

รายละเอียดของผลผลิต

จำนวนนับ

หน่วยนับ

ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ

ผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับ

ปี

2562

ปี

2563

ปี

2564

ปี

2565

ปี

2566

รวม

1. ต้นแบบผลิตภัณฑ์ – ระดับอุตสาหกรรม

ต้นแบบ

13. องค์ความรู้ใหม่

1. ชุดกระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองพะเยา

1

เรื่อง

1. หลักสูตรท้องถิ่น

2. แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น

17. สถานที่ใช้ประโยชน์

ในประเทศ/ต่างประเทศ

ชื่อประเทศ/จังหวัด

ชื่อสถานที่

ในประเทศ

กรุงเทพมหานคร

1. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

2. กระทรวงศึกษาธิการ

3. กระทรวงวัฒนธรรม

ในประเทศ

พะเยา

1. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

2. วัด/ชุมชน

3. สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน

4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

18. แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย (ถ้ามี)

ในช่วงไตรมาสที่ 3-4 (ระยะเวลา 6 เดือน) ตามตารางแผนการดำเนินงาน จะได้นำองค์ความรู้ที่เรียบเรียง มาจัดสัมมนาและทำกิจกรรมถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมาย

19. การตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง

Uไม่มีการตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญา และ/หรือ สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง      

™ตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ไม่มีทรัพย์สินทางปัญญา และ/หรือ สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง

™ตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว มีทรัพย์สินทางปัญญา และ/หรือ สิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง

รายละเอียดทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง

หมายเลขทรัพย์สินทางปัญญา

ประเภททรัพยสิน

ทางปัญญา

ชื่อทรัพย์สินทางปัญญา

ชื่อผู้ประดิษฐ์

ชื่อผู้ครอบครองสิทธิ์

20. มาตรฐานการวิจัย (ถ้ามี)

£มีการใช้สัตว์ทดลอง

£มีการวิจัยในมนุษย์

£มีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่

£มีการใช้ห้องปฎิบัติการที่เกี่ยวกับสารเคมี

21. หน่วยงานร่วมลงทุน ร่วมวิจัย รับจ้างวิจัย หรือ Matching Fund

ประเภท

ชื่อหน่วยงาน/บริษัท

แนวทางร่วมดำเนินการ

การร่วมลงทุน

จำนวนเงิน

(In cash (บาท))

ภาคการศึกษา (มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย)

ไม่ระบุ

ภาคอุตสาหกรรม (รัฐวิสาหกิจ/บริษัทเอกชน)

ไม่ระบุ

22. ลงลายมือชื่อ หัวหน้าโครงการวิจัย/ชุดโครงการวิจัย พร้อมวัน เดือน ปี

                                                                          

ลงชื่อ

                                                                            (พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ,ดร.)

                                                                                 หัวหน้าโครงการวิจัย

                 

               [1]มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. ๒๕๕๖, สนับสนุนโดย คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กองทุนผู้สูงอายุ, (กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับชิง จำกัด (มหาชน, ๒๕๕๗), หน้า ๖.

               [2]กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, รายงานการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยปี ๒๕๕๖ ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี., ๒๕๕๖), หน้า ๒.

                 [3]เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒.

                 [4]ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖, สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha. soc.go.th, ๕มิถุนายน ๒๕๕๘.

                 [5]สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ,โลกของผู้สูงอายุไทย, สืบค้นจาก http:// thaihealth.or,th/ node/๙๐๒๔, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘.

[6]www.naewna.com/politic/columnist/๓๙๔๓

หมายเลขบันทึก: 661302เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2019 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2019 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท