พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล


พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนักการเมืองสตรีชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเมื่อปี ๒๕๔๔ ในฐานะโฆษกกระทรวงกลาโหมคนแรก(พ.ศ. ๒๕๓๘) ทั้งยังประสบความสำเร็จในการนำเสนอ ให้ทหารเกณฑ์ได้รับเบี้ยเลี้ยงเท่าค่าแรงขั้นต่ำ ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา

พันโทหญิงฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เสนอให้ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๓๙ ทำให้ทหารเกณฑ์ได้รับเบี้ยเลี้ยง เท่ากับค่าแรงขั้นต่ำเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาการหนีทหาร ในอดีตมีคดีการหนีทหารของบุคคลมีชื่อเสียงในสังคมหลายคดี รวมถึงคดีหนีทหารของบุคคลทั่วไป เพราะทหารเกณฑ์ไม่มีค่าตอบแทน

การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอนุมัติงบประมาณหลายพันล้าน เพื่อจ่ายเป็นเบี้ยเลี้ยทหารเกณฑ์มีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย ทำให้ พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุลถูกนายเสนาะ เทียนทอง โจมตีว่าการที่ขออนุมัตินโยบายดังกล่าวสำเร็จเป็นเพราะความสัมพันธ์ส่วนตัว

พศ. ๒๕๔๔ พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เป็นนายทหารหญิงคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย

พ.ศ. ๒๕๔๕ พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เป็นผู้ดูแลการก่อตั้ง โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง กระทรวงกลาโหม

ประวัติ

พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เกิดเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๐๙ มีชื่อเล่นว่า ปราง เป็นบุตรีของ ฯพณฯ นายสุขวิช รังสิตพล อดีตผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

อ้างอิง http://www.kpi-lib.com/multim/ebook6/pln378.pdf

กับ นางผิวผ่อง ณรงค์เดช รังสิตพล น้องสาวของประสิทธิ์ ณรงค์เดช, เกษม ณรงค์เดช และ พี่สาวของ ดวงใจ สุวรรณมาศ ภักดีภูมิ ภรรยา พลตำรวจเอกโกวิท ภักดีภูมิ มีน้องสาวและน้องชายอย่างละ1คนคือ

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง นาวาตรีหญิง ฐิติพร รังสิตพล สุวัฒนะพงศ์เชฏ มีชื่อเล่นว่า อาจารย์ประจำภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี สมรสกับ นายแพทย์สุบรรณ สุวัฒนะพงศ์เชฎ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

นาย ณัฐพล รังสิตพล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)กระทรวงอุตสาหกรรม[18][19]สมรสกับ นางไรรัตน์ รังสิตพล ผู้ประสานงานโครงการประจำประเทศไทย องค์การเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ

==การศึกษา==

โรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก

โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย https://sites.google.com/site/wanglangwattana/sisy-kea-thi 

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (สอบเทียบ)

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จาก คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยhttps://alchetron.com/Chulalongkorn-University

คณะเศรษฐศาสตร์ University of Colorado at Boulder en:University of Colorado at Boulder, en:List_of_University_of_Colorado_Boulder_alumni

สำเร็จปริญญาโท University of Dallas en:University_of_Dallas#Notable_people, en:University of Colorado at Boulder, en:University of Dallas

==การรับราชการทหาร==

พ.ศ. ๒๕๓๑ -  ๒๕๓๒ ร้อยตรี - ร้อยโท แผนกทูตทหาร กองวิเทศสัมพันธ์ กรมข่าวทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด

พ.ศ. ๒๕๓๓ –  ๒๕๓๙ ร้อยเอก - พันตรี กองการฑูตฝ่ายทหารต่างประเทศ สำนักวิเทศสัมพันธ์ กรมข่าวทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด

พ.ศ. ๒๕๓๘ - 2539โฆษกกระทรวงกลาโหมคนแรก รัฐบาลนายกรัฐมนตรี[[บรรหาร ศิลปอาชา]]

พ.ศ. ๒๕๓๙ ลาออกจากราชการทหาร

==ผลงานขณะดำรงตำแหน่งโฆษกกระทรวงกลาโหม==

หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ส่งผลให้กองทัพมีปัญหาด้านภาพลักษณ์เสียหายอย่างมากทั้งในประเทศไทยและในเวทีโลกทำให้ นายชวน หลีกภัยผู้นำรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬต้องรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นพลเรือนคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้ เพราะนานาชาติขาดความเชื่อมั่นบุคลากรของกองทัพไทยหลังจากเหตุการณ์ทหารยิงประชาชนเผยแพร่ไปทั่วโลก

หลังจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ นายบรรหาร ศิลปอาชาได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในกระแสโลกาภิวัตน์ทำให้ประเทศไทยได้ริเริ่มการปฏิรูปหลายอย่าง เช่น การเริ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ อันเป็นที่มาของร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ.  ๒๕๔๒ โครงการทั้ง ๒ เริ่มในรัฐบาลนายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา และ เสร็จในรัฐบาลนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย สมัย ๒

ในอดีต ปัญหาหนีทหารเป็นปัญหาใหญ่ ทำให้กองทัพต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการนำบุคคลมารับโทษ และยังทำให้กองทัพขาดแคลนกำลังพล มีการปลอมใบรับรองการเกณฑ์ทหาร หรือ การหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหารด้วยวิธีการต่าง ๆ ทำให้กองทัพมีปัญหาด้านกำลังพล

คณะทำงานโฆษกกระทรวงกลาโหมของ พันโทหญิงฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เพื่อความก้าวหน้าของกองทัพ ได้เสนอ

๑) การแต่งตั้ง นายพลหญิงเพื่อความเท่าเทียมกันในสาขาวิชาชีพ เฉพาะที่สตรีมีบทบาทสำคัญ และท่านผู้หญิง [[อภิรดี ยิ่งเจริญ]] ได้รับการแต่งตั้งเป็นคนแรก เมื่อ ๒๓ เมษายน  ๒๕๔๐

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/008/2.PDF

๒) โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดของข้าราชการกระทรวงกลาโหม เพื่อปรับลดขนาดของข้าราชการและเพิ่มประสิทธิภาพ ตามมติคณะรัฐมนตรี 19 สิงหาคม 2540

http://digi.library.tu.ac.th/thesis/po/0038/08CHAPTER_3.pdf

http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program1-4-2.jsp?t_ser=8364&gcode=14591&Txt_condition=

เป็นผลสำเร็จเป็นระเบียบปฏิบัติในกองทัพ

==การทำงานการเมือง==

พันโทหญิง ฐิฎา ดำรงตำแหน่งในทางการเมืองตามลำดับคือ

พ.ศ.  ๒๕๔๐ รองโฆษกพรรคความหวังใหม่

พ.ศ.  ๒๕๔๒รองเลขาธิการ พรรคความหวังใหม่ 

ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๔ สังกัดพรรคความหวังใหม่ อ้างอิง https://www.ryt9.com/s/refg/22…

ได้รับตำแหน่งเป็น กรรมาธิการทหาร กรรมาธิการสิทธิเด็ก สตรี และเยาวชน สภาผู้แทนราษฏร

พ.ศ. ๒๕๔๕ พรรคความหวังใหม่ ได้ยุบพรรคเข้ารวมกับพรรคไทยรักไทย พ.ท.หญิงฐิฏา จึงย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์

พ.ศ.  ๒๕๔๕ ได้รับตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมาธิการ กิจการสภา และ กรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร

พ.ศ.  ๒๕๔๗ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

นอกจากนี้ พ.ท.หญิง ฐิฏา ยังมีผลงานที่สำคัญ อาทิ การรณรงค์ให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สอนภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เช่นเดียวกับโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของนายสุขวิช รังสิตพล การปฏิรูปการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งคือ ต้นแบบของร่างพระะราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ.  ๒๕๔๒

== โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง==

พ.ศ.  ๒๕๔๔ - มีนาคม  ๒๕๔๕ พันโทหญิงฐิฏา ดูแลการก่อตั้งโครงการนำร่องโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง (ยุบพรรคย้ายไปพรรคฝ่ายค้าน) โดยการนำเด็กและเยาวชนที่ติดยาเสพติดเข้ารับการอบรมในค่ายทหารทั่วประเทศไทย และผลักดันพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.  ๒๕๔๕

มีสาระคือ ผู้ที่เสพยาเสพติดจะต้องเข้าบำบัดที่สถานที่เพื่อการฟื้นฟู แต่ในช่วงเวลานั้นผู้ที่ต้อบเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดซึ่งอยู่ในข่ายผู้ติดยาเสพติดเป็นจำนวนมาก ทำให้สถานฟื้นฟูที่เปิดดำเนินการอยู่ไม่เพียงพอรองรับ กระทรวงกลาโหม จึงให้ความร่วมมือ ทั้งสถานที่และบุคคลากร ตามภูมิภาคต่าง ๆ ปัจจุบันนอกจากกระทรวงกลาโหม ยังมีในส่วนของกระทรวงยุติธรรม และกระทรวงมหาดไทย รวมถึงวิทยาลัยลูกผู้ชาย

นอกจากภาระกิจหลักในด้านความมั่นคงทั้งภายนอก และภายใน ที่กระทรวงกลาโหมดูแลและป้องกันประเทศแล้ว ในยามประเทศชาติว่างเว้นจากศึกสงครามนอกจากการฝึกและการเตรียมความพร้อม ทหารยังมีภาระกิจรองที่ดูแลพี่น้องประชาชนจากภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น ภัยธรรมชาติ ภัยจากยาเสพติด โครงการหนึ่งที่กระทรวงกลาโหมดำเนินการร่วมกับกรมราชทัณฑ์คือ โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองที่นำนักโทษในคดียาเสพติดไม่ร้ายแรงเข้าอบรมวิชาชีพ นักเรียนโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองจะได้รับการอบรมวิชาชีพเพื่อให้โอกาสในชีวิตอีกครั้ง นักเรียนโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองส่วนใหญ่หันไปประกอบอาชีพสุจริตและไม่หันกลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก ปัจจุบันโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองดำเนินการมาเป็นปีที่15 มีการต่อยอดขยายเป็นโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองที่กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรมดูแลเรียกว่า วิทยาลัยลูกผู้ชาย และ โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง สังกัด กระทรวงสาธารณสุข พันโทหญิงฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เป็นผู้ดูแลการก่อตั้งโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองในค่ายทหารทั่วประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕

==ผลงานด้านงานการเมือง==

นโยบายการเกณฑ์ทหาร (การปฏิรูป) กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๔๐

“การปฏิรูปกองทัพสมัยรัชกาลที่ ๕ (ยกเลิกระบบทาสและระบบไพร่เป็นระบบการเกณฑ์ทหาร)”

การเกณฑ์ทหารของรัฐไทยโบราณเป็นไปในลักษณะที่ทุกคนอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์อุปถัมภ์ ระหว่างขุนนางและไพร่ หมายความว่าชายไทยทุกคน มีหน้าที่ต้องทำงานให้รัฐผ่านการทำงานให้ขุนนาง (ระบบไพร่)ไพร่หลวงก็ต้องทำงานรับใช้ พระมหากษัตริย์ หรือบางคนไม่ต้องการทำงานรับใช้ ก็สามารถจ่ายเงินให้แก่ขุนนางเพื่อแลกกับการไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานเมื่อโลกมีความก้าวหน้าทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ทำให้ลักษณะการเกณฑ์ทหาร แบบเดิมได้ทหารที่ไม่มีความสามารถในการใช้อาวุธสมัยใหม่ และรัฐไทยกำลังเผชิญกับปัญหา ของการก่อกบฏภายในราชอาณาจักรและการคุกคามของลัทธิล่าอาณานิคม ส่งผลให้รัฐไทยจำต้องปรับตัวการปรับตัวของรัฐไทย

นั่นก็คือ การปฏิรูปกองทัพให้มีความทันสมัย โดยสร้างกฎเกณฑ์สำหรับการเกณฑ์ทหารแบบใหม่หรือการปฏิรูปกองทัพ ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิรูปกองทัพในยุคการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูปการศึกษา(รัฐบาลนายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา ที่เริ่มให้ค่าเบี้ยเลี้ยงเท่าค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อการแก้ไขปัญหาการหนีทหาร ตามข้อเสนอของ พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล โฆษกกระทรวงกลาโหม ๒๕๓๘-๒๕๔๐)

การปฏิรูปกองทัพของไทย คือการปฏิรูปแนวทางการคัดเลือกทหารให้เป็นไปโดยสมัครใจ นโยบายของรัฐบาลที่แถลงในรัฐบาลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๐) แถลงต่อรัฐสภาในวันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๙ ซึ่งการแถลงการณ์ครั้งนั้นได้กล่าวถึงแนวนโยบาย ด้านความมั่นคง ที่ได้มีข้อเสนอใหม่ที่ ให้ปรับปรุงระบบการคัดเลือกทหารให้เป็นไปด้วยความสมัครใจ ดังนี้

“…๑๐.๑ นโยบายด้านการรักษาความมั่นคงของรัฐ…

๑๐.๑.๔ ปรับปรุงระบบการคัดเลือกทหารให้เป็นไปด้วยความสมัครใจ

๑๐.๑.๕ ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพ มีส่วนร่วมในการ ช่วยผลิตกำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการ ฝึกอาชีพให้แก่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทหาร…” (ข้อตกลงระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ(สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๓๘-๒๕๔๐ และกระทรวงกลาโหม (พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล โฆษกกระทรวงกลาโหม ๒๕๓๘-๒๕๔๐)

ภายหลังการประกาศนโยบายต่อรัฐสภา (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๙)

กระทรวงกลาโหม ได้รายงาน ความคืบหน้าถึงแนวทางใหม่ของระบบการคัดเลือก ทหารว่า กระทรวงกลาโหมได้ดำเนินการจัดระบบงานทหารกองประจำการอาสาสมัครขึ้น ให้มีผล บังคับใช้ตั้งแต่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ และคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๐เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สนับสนุน และปฏิบัติตามแผนงานทหารกองประจำการอาสาสมัครมีคณะกรรมการอำนวยการ แผนงานทหารกองประจำการอาสาสมัครรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานกรรมการ

ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กรรมการทำหน้าที่ช่วยประสานงานและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้แผนงานทหารกองประจำการอาสาสมัคร บรรลุวัตถุประสงค์เป็นผลสำเร็จตามนโยบาย

นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมได้กำหนดรายละเอียด หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับสมัครตามความ ต้องการของเหล่าทัพการคัดเลือกทหารแนวทางใหม่ ได้จัดระบบการฝึกและระยะเวลาประจำการทั้งหมด ๔ปี โดยปีที่ ๑-๒ จะได้รับการฝึกตามหลักสูตรขั้น สูงสุด สอดแทรกการศึกษาและฝึกวิชาชีพ

ปีที่ ๓-๔ จะเป็นการฝึกทบทวนและส่งเสริม ด้านการศึกษาและวิชาชีพเพื่อเตรียมการเข้าสู่การ ประกอบอาชีพหลังจากปลดประจำการต่อไป ซึ่งใน แผนงานทหารอาสาสมัครได้วางมาตรการจูงใจให้ประชาชนสมัคร เป็นทหาร คือ

เรื่องการศึกษา การฝึกวิชาชีพ กับสิทธิและค่าตอบแทนต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ ระบบการคัดสรรรูปแบบใหม่ได้วางแผนว่าจะเริ่มเปิดรับสมัคร คู่ขนานกับทางเลือกระบบเดิม

เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ พ.ศ. ๒๕๔๐ อันเป็นจุดสิ้นสุดของทางเลือกใหม่ของระบบการ เกณฑ์ทหารของไทย

พ.ท.หญิง ฐิฏา มีผลงานที่สำคัญอาทิ การรณรงค์ให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สอนภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เช่นเดียวกับโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของนายสุขวิช รังสิตพล การปฏิรูปการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งคือ ต้นแบบของร่างพระะราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. ๒๕๓๔

==โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง==

พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดูแลการก่อตั้งโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ – มีนาคม ๒๕๔๕ (ยุบพรรคย้ายไปพรรคฝ่ายค้าน)

โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง เป็นการนำเด็กและเยาวชนที่ติดยาเสพติดเข้ารับการอบรมในค่ายทหารทั่วประเทศไทย และผลักดันพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ มีสาระคือ ผู้ที่เสพยาเสพติดจะต้องเข้าบำบัดที่สถานที่เพื่อการฟื้นฟู แต่ในช่วงเวลานั้นผู้ที่ต้อบเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดซึ่งอยู่ในข่ายผู้ติดยาเสพติดเป็นจำนวนมาก ทำให้สถานฟื้นฟูที่เปิดดำเนินการอยู่ไม่เพียงพอรองรับ กระทรวงกลาโหม จึงให้ความร่วมมือ ทั้งสถานที่และบุคคลากร ตามภาคต่าง ๆ

ในปัจจุบัน นอกจากกระทรวงกลาโหม ยังมีในส่วนของกระทรวงยุติธรรม และกระทรวงมหาดไทย รวมถึงวิทยาลัยลูกผู้ชาย และเพื่อรองรับงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จากกรมราชทัณฑ์ การทรวงยุติธรรม มีระยะเวลาในการบำบัดและฟื้นฟูเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ สภาพร่างกาย สร้างจิตสำนึกที่ดี ให้เกิดความเข้าใจในโทษและพิษภัยของยาเสพติด ตลอดจนการเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถเลิกเสพยาเสพติดได้พร้อมที่จะกลับไปใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว ชุมชน สังคมได้อย่างปกติสุข

ระยะการฝึกอบรมรุ่นละ ๓ เดือน ปีละ ๒ รุ่น เพื่อดำเนินการฟื้นฟู ผู้ต้องขังใกล้จะครบกำหนด การปล่อยตัวในคดียาเสพติดไม่ร้ายแรง เพื่อระบายความแออัดในเรือนจำ เนื่องจากในขณะนั้นมีคดีเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นจำนวนมาก

โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง กระทรวงกลาโหม ๒๕๔๕ ได้เปิดการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่สมัยของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑๙/๒๕๔๔ลงวันที่ ๓๑พ.ค.๒๕๔๔ เรื่อง แนวทางการใช้พลังแผ่นดินเพื่อเอาชนะยาเสพติด )

อ้างอิง http://fileserver.idpc.net/lib…

กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองบัญชาการทหารสูงสุด และ กระทรวงกลาโหม ได้ร่วมมือกับ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม จัดตั้งโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง ในค่ายทหารทั่วประเทศไทย โดยมี พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นเป็นผู้ดูแลการก่อตั้ง 

อ้างอิง https://www.govserv.org/TH/Ban…

รวมถึงเพื่อให้รองรับงานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จากกรมราชทัณฑ์ การทรวงยุติธรรม มีระยะเวลาในการบำบัดและฟื้นฟูเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ สภาพร่างกาย สร้างจิตสำนึกที่ดี ให้เกิดความเข้าใจในโทษและพิษภัยของยาเสพติด ตลอดจนการเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถเลิกเสพยาเสพติดได้พร้อมที่จะกลับไปใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว ชุมชน สังคมได้อย่างปกติสุข

นักเรียนที่จบการฝึกอบรมต้อง ปฏิญาณตน ว่าจะเป็นพลเมืองดีของชาติ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และไม่หวนคืนกลับไปสู่ยาเสพติดทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นผู้เสพ ผู้จำหน่าย ในทุกกรณี และได้ร่วมกันดื่มน้ำสาบาน ถ้ายุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ขอให้ต้องคมหอก คมดาบ และศาตราวุธทุกชนิดอีกด้วย

==โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพบก==

อ้างอิง http://www.rtadrc.com/index.as…

ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง พล.ร.๑๑

ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิสร จังหวัดสระบุรี

ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองกรมทหารพรานที่ ๒๖ จังหวัดนครราชสีมา

ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 12 รักษาพระองค์

ศูนย์วิวัฒน์พลเมือง มทบ.๒๓

ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองศูนย์สงครามพิเศษ

ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองร้อยฝึกรบพิเศษที่ ๒

ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองกรมการสัตว์ทหารบก

ศูนย์วิวัฒน์พลเมืองกองพลทหารราบที่ ๙

ศูนย์การทหารราบ (ค่ายธนรัชต์) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ค่ายสุริยพงษ์ จังหวัดทหารบกน่าน จังหวัดน่าน

ค่ายจักรพงษ์ จังหวัดปราจีนบุรี

ค่ายไพรีระย่อเดช จังหวัดสระแก้ว

ค่ายพระนั่ง เกล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

ค่ายวชิรปราการ จังหวัดทหารบกตาก. จังหวัดตาก

ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

ค่ายบดินทร์เดชา จังหวัดยโสธร

กรมทหารม้าที่ ๔ จังหวัดสระบุรี

กรมทหารม้าที่ ๕ จังหวัดสระบุรี

โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือ

โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือ ๑

โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือ ๒

โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือ ๓

โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองบัญชาการทหารสูงสุด

หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 51 จังหวัดอำนาจเจริญ

หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 53 จังหวัดศรีสะเกษ

หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 55 จังหวัดชัยภูมิ (ภูเขียว)

==โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองแบบพิเศษกองทัพอากาศ กองทัพอากาศ==

อ้างอิง http://www.rtadrc.com/index.aspx?pid=557c5587-7f65-4014-a6d0-3fa5442bac1e

ศูนย์ฟื้นฟูฯ บน. ๕๖ (สงขลา)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ โรงเรียนการบิน (นครปฐม)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองทัพอากาศทุ่งสีกัน (กรุงเทพมหานคร)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๔๖ (พิษณุโลก)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ อาคาร ๕๐๑๗ (AIR HOUSE) (กรุงเทพมหานคร)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๕ (ประจวบคีรีขันธ์)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๒๑ (อุบลราชธานี)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๔ (นครสวรรค์)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๔๑ (เชียงใหม่)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๒ (ลพบุรี)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๑ (นครราชสีมา)

ศูนย์ฟื้นฟูฯ กองบิน ๒๓ (อุดรธานี)

==โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองแบบพิเศษ กองทัพเรือ ฐานทัพเรือสัตหีบ==

เนื่องจากในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีผู้ติดยาเสพติดที่อยู่ในข่ายรุนแรง (Hard Core) และต้องเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นเป็นจำนวนมาก ทำให้สถานที่สำหรับใช้ฟื้นฟูที่ดําเนินการอยู่ไม่เพียงพอต่อการรองรับปริมาณผู้เข้ารับการฟื้นฟูที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นทางกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม จึงมีความจําเป็นต้องเปิดสถานฟื้นฟูเพิ่มเติมและมีการควบคุมดูแลที่เข้มงวดเพิ่มขึ้น

เพื่อการนี้ จึงได้ขออนุญาตกองทัพเรือ เพื่อขอใช้เรือนจำของฐานทัพเรือสัตหีบ ปรับปรุงสถานที่สำหรับใช้ดําเนินการดังกล่าว โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองแบบพิเศษ” ซึ่งอยู่ในการบังคับบัญชาของศูนย์อํานวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด

อ้างอิงhttps://sites.google.com/a/eis…

_ ขอบเขตการให้บริการ _

๑. ฟื้นฟูสมรรถภาพผตู้ติดยาเสพติดแบบ ควบคุมตัวเข้มงวดพิเศษ แก่ผู้ป่วยตามพระราชบัญญัติ ฟื่นฟูมรรถภาพผู้ติดยาเสพ

ติดพ.ศ. ๒๕๔๕ ตามมาตรา ๑๙

๒. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดด้วยวิธีชุมชน บําบัดแบบผสมผสานวินัยทหารและศีลธรรม

๓. การฟื้นสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จํานวน ๒๐๐ คนต่อปี

๔. ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจแก่ผู้เข้ารับการ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยมีระยะเวลาฟื้นฟู ๑๘๐ วัน

๕. มีการฝึกอาชีพพื้นฐานเพื่อให้ เกิดทักษะและเป็นแนวทางการประกอบอาชีพ

๖. ให้การดูแลและรักษาพยาบาลเบื้องต้น เมื่อมีการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง

โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือแบบพิเศษ ต้ังอยู่ในเรือนจําฐานทัพเรือสัตหีบ เบอร์โทรติดต่อ ๗๒๔๑๘ ตัวอาคาร กองบังคับการ โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง อยู่นอกเรือนจำส่วนเรือนนอนของผู้ติดยาอยู่ ด้านใน เป็นตึก ๒ ชั้น ช้ันล่างไว้สํากรับนอน ชั้นบนไว้ สาํหรับทำกิจกรรมกลุ่มบำบัด รอบอาคารเป็นสนามหญา้ มีพื้นท่ีกว้างพอสมควรปลูกหญ้าเขียวขจี โดยมีไว้สำหรับ ฝึก การเข้าแถวและระเบียบวินัย มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้น่าอยู่ บางพื้นที่ปลูกผักสวนครัว

พ.ศ. ๒๕๔๕ ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ (มอส) ศิลปินสังกัดค่ายแกรมมี่เป็นพี่อุปถัมภ์ ให้กับเยาวชนจากสถานพินิจทั่วประเทศ โครงการโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง ค่ายฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต

พ.ศ. ๒๕๕๓ โรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองกองทัพเรือได้รับโล่ห์รางวัลจาก กระทรวงยุติธรรมจากนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

==เครื่องราชอิสริยาภรณ์==

พ.ศ. ๒๕๔๔ - Order of the White Elephant - 2nd Class (Thailand) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

พ.ศ. ๒๕๔๕ - Order of the Crown of Thailand - 1st Class (Thailand) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)

พ.ศ. ๒๕๔๗ - Order of the White Elephant - 1st Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)

อ้างอิง

https://www.govserv.org/TH/Bangkok/1884819291741952/Ministry-of-Defence—Thailand

↑https://static.cambridge.org/resource/id/urn:cambridge.org:id:binary:20180515111551054-0795:S002191181700136X:S002191181700136Xsup001.pdf

↑http://www.thairath.co.th/Content/364183

↑http://pong.phayao.police.go.th/militserv1.pdf

↑http://www.tamanoon.biz/tamanoon/example/maprang.htm

↑http://www.mod.go.th/

↑http://wiki.kpi.ac.th/images/5/5f/Pln378.pdf?fbclid=IwAR3eU8odUYSRchmCrXeQXlSfSEbPUHfZ4Zr2ipZQrpnFVRC8C8s0UIbSDeM

↑https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/main.php?filename=index_05

↑ประวัติผู้สมัคร ส.ส. กรมการปกครอง

↑http://prestigeonline.com/th/people/personalities/4-questions-with-the-narongdej-brothers/

↑https://www.cattelecom.com/cat/contentManager/423/8/1/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9E%E0%B8%A5+%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4

↑http://www.gistda.or.th/main/th/node/1894

↑http://www.magazinedee.com/home/main/magazinedetail/id/31743-hisoparty-vol-12-no-2-june-2016.html

↑ประวัติ 1) https://urban.cpe.ku.ac.th/ThailandResearch/?nameID=26235

↑http://medinfo2.psu.ac.th/pr/chest2012/file/CV/CV_Thitiporn.pdf

↑http://medinfo2.psu.ac.th/pr/chest2012/file/CV/CV_Thitiporn.pdf

↑http://www.aiglemag.com/home/wind-beneath-moms-wings

↑https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/news_1053607

↑http://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/42638

↑https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_62960

หมายเลขบันทึก: 661280เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2019 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2019 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท