การดูแลผู้สูงวัย........เป็นเรื่องของใครกัน?


การดูแลผู้สูงวัย........เป็นเรื่องของใครกัน? 

อ.สายฝน อินศรีชื่น

             หากพูดถึงการดูแลผู้สูงอายุ คงต้องพูดเรื่องการเตรียมความพร้อมของเราเพื่อที่จะเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพอย่างที่คาดหวังกัน จะเห็นได้จากข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เรื่องจำนวนประชากรผู้สูงอายุ การขับเคลื่อนโครงการสำหรับผู้สูงอายุ หรือแม้แต่การขับเคลื่อนเพื่อเป็นนโยบายสาธารณะ ก่อนอื่นเราคงมาดูกันว่าเราเตรียมพร้อมกันได้เหมาะสมแล้วหรือยัง .....เริ่มจาก



ุ             - การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ และประชาชนในทุกช่วงวัยให้มีความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อม และมีทัศนคติที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุเกิดเป็นพลังบวกได้เพียงพอหรือไม่ การจัดตั้งโรงเรียนสูงอายุสามารถเข้าถึงเรื่องเหล่านี้ หรือโครงการต่างๆสามารถทำให้คนช่วงวัยอื่นๆ เห็นว่าผู้สูงอายุเป็นพลังและหลักชัยของสังคม ได้หรือยัง?
            - การส่งเสริมการออมที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย
เพื่อเป็นสร้างหลักประกันทางรายได้ที่มั่นคง เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ และประชากรช่วงวัยต่างๆเห็นความสำคัญในเรื่องเหล่านี้แค่ไหน?
            - การส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ
โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก เยาวชน และวัยทำงาน ซึ่งเริ่มเห็นโครงการเกิดขึ้นหลากหลาย แต่ยังไม่เห็นรูปแบบที่ชัดเจน คงต้องติดตามกันต่อไป
            - การส่งเสริมการวางแผนชีวิตของผู้สูงอายุและครอบครัว
ได้ดำเนินการไปแค่ไหน ในขณะที่การคาดการณ์ว่าในอนาคตไม่เกิน 10 ปี ข้างหน้า ประชากรวัยทำงานจะลดน้อยลง เทียบเป็น 1: 4 ของประชากรสูงอายุ การดูแลภายหน้าจะเป็นอย่างไร?
            - การเข้าถึงบริการสุขภาพ บริการสาธารณะ และสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
ยังพบมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ และประสิทธิภาพแตกต่างกันอยู่หรือไม่ และการสร้างการมีส่วนร่วมการพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุในระดับชุมชนได้อย่างเหมาะสมแล้วหรือยัง?
            - การส่งเสริม การพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ
ตอบโจทย์ตามบริบทแล้วหรือ
            - การจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ระหว่างหน่วยงาน
ปัจจุบันครอบคลุมแค่ไหน?

             สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ได้บอกว่าไม่มีใครสนใจ หรือไม่มีใครดำเนินการ แต่จะบอกว่าได้มีการริเริ่ม และพัฒนาในแต่ละด้านมาพอสมควรแล้ว คงเป็นสิ่งที่เราคงต้องติดตามกันต่อไป และที่สำคัญ จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมในแต่ละด้านเป็นเรื่องของทุกๆคน ทุกช่วงวัย เพราะหากรอจนเป็นผู้สูงอายุแล้วค่อยทำคงจะไม่ทันเหตุการณ์ ทุกคนจึงต้องเริ่มต้นดูแลตนเอง วัยผู้ใหญ่นอกจากจะดูแลตนเองแล้ว คงต้องส่งเสริมให้วัยเด็กและวัยรุ่นเกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง การมีกริยามารยาท ความอ่อนน้อมให้กับผู้สูงอายุ คำนึงถึงคุณค่า ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุเองก็ต้องดูแลตนเอง ภาครัฐและเอกชนทั้งหน่วยงานสุขภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คงต้องช่วยกันขับเคลื่อนตามนโยบาย ท้องที่ท้องถิ่น ก็มีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพระดับชุมชน สถาบันการศึกษาคงต้องเข้าไปช่วยเหลือในกิจกรรมบริการวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ 
การส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในแต่ละจังหวัดมีโครงการ หรือMotto หลากหลาย เช่น Motto "ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย" เพื่อเป็นเมืองน่าอยู่สำหรับผู้สูงอายุของจังหวัดแพร่ ซึ่งตัวดิฉันได้มีโอกาสเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการส่งเสริมเพื่อบริหารสมองป้องกันภาวะหลงลืมในผู้สูงอายุ เราคงต้องติดตามกันต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่กำลังร่วมกันขับเคลื่อน อย่าท้อในสิ่งที่กำลังทำ ขอให้มีพลังนะคะ 

                                        ขอพลังจงสถิตย์

                                                                        

หมายเลขบันทึก: 660828เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2019 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2019 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท