ประชานิยม "เวเนซุเอล่า" (๑)


ประเทศเวเนซุเอล่าเคยร่ำรวยที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ด้วยประเทศนี้มีบ่อน้ำมันขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แม้ตอนนี้ก็ยังมีน้ำมันดิบนั้นอยู่  แต่ขณะนี้ประเทศนี้กำลังจะล่มสลาย ประชาชนประมาณ ๓๐ ล้านคน คนรวยหนีออกนอกประเทศ (ทิ้งบ้าน) ไปแล้วเกือบ ๓ ล้านคน คนชนชั้นกลางกลายเป็นคนจน เกิดโกลาหลทั่วประเทศ .... อะไรทำให้เวเนซุเอล่ามาถึงจุดตกต่ำขนาดนี้  หากท่านอ่านเรื่องทั้งหมดต่อไปนี้ ท่านจะเห็นคุณค่า และเกิดศรัทธาในพระปรีชาสามารถของ ในหลวง ร.๙ อย่างยิ่ง

ประเทศเวเนซุเอล่า ตั้งอยู่ที่ทวีปอเมริกาใต้ ดูแผนที่

สังเกตว่า อยู่ในเส้นละติจูดใกล้เคียงกับประเทศไทยเรา ดังนั้นภูมิศาสตร์จึงไม่ได้แตกต่างไกลกันนัก คือ เป็นประเทศที่สามารถพึ่งตนเองด้านอาหารด้วยการเกษตรได้ไม่ยาก ... ซึ่งแต่ก่อนบรรพบุรุษของเขาก็ทำการเกษตร ล่าสัตว์ ประมง พึ่งตนเองมาตลอด ... ก่อนจะเปลี่ยนไปเมื่อพบบ่อน้ำมัน


เวเนซุเอล่า ค้นพบบ่อน้ำมันในปี 1914 เป็นบ่อน้ำมันที่มีปริมาณน้ำมันมากที่สุดในโลก ว่ากันว่า สามารถขุดขายไปได้อีกถึง ๓๐๐ ปี ที่เดียว 

ประวัติศาสตร์ย่อ (ที่มา)
  • ปี 1498 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส  คือชาวยุโรปคนแรกที่มาถึงดินแดนที่เป็นประเทศเวเนซุเอล่าตอนนี้ 
  • ปี 1499 ชาวสเปนนำโดย Alonso de Ojeda (อลองโซ่ เดอร์ โอเจดา) เป็นกลุ่มที่สองที่มาถึงที่นั่น  พวกเขาเรียกเป็นครั้งแรกว่า Venezuela (เวเนซุเอล่า) แปลว่า เมืองเวนิสน้อย 
  • ปี 1521 เริ่มก่อตั้งเมืองขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนำเอาทาสชาวแอฟาริกาเข้ามาทำงาน  เป็นเมืองขึ้นเล็ก ๆ ของสเปน ที่ไม่ได้รับความสนใจ
  • ปี 1811 แยกตัวออกเป็นอิสระได้ชั่วคราว ก่อนถูกสเปนยึดครองกลับเหมือนเดิม 
  • ปี 1821 ได้รับเอกราชเป็นครั้งแรก โดยการนำของ Simon Bolivar (ไซม่อน โบลิวาร์) ... นี่น่าจะเป็นสาเหตุที่ เวเนซุเอล่า มีชื่อเต็ม ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Bolivarian Republic of Venezuela (สาธารัฐโบลิวาร์แห่งเวเนซุเอล่า)  โดยรวมอยู่กับประเทศโคลอมเบีย (Colombia) และเอลกาวาดอร์ (Ecuador) โดยใช้ชื่อว่า Gran Colombia 
  • ปี 1830 แยกออกเป็นประเทศอิสระอย่างสมบูรณ์ โดยปกครองด้วยระบบทหารเรียกว่า Caudillos นำโดย Jose Antonia Paez จนกระทั่วปี 1848
  • 1870 - 1888 นายพล Guzman Blango (กุซแมน บลังโก) ขึ้นปกครอง
  • ปี 1914-1922 ค้นพบบ่อน้ำมัน ที่มีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก คือบ่อใหญ่ที่สุดในโลก 
  • 1945 -1958 ช่วงการเปลี่ยนผ่าน อยู่ภายใต้การปกครองของ Marcos ders Jimenez 
  • ปี 1958 - 1997 มาเป็นประชาธิปไตย ระหว่างนั้น ในปี 1976 ประธานาธิบดี Calos Andres Perez  (คาลอส แอนเดรส เปเรซ) เริ่มประกาศใช้นโยบายที่เรียกว่า La Grand Venezuela ที่ต้องการยึดกิจการพลังงานจากเอกชนเป็นของรัฐ 
  • ปี 1998 Hugo Chavez (ฮูโก้ ชาเบซ) รับเลือกเป็นประธานาธิบดีด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสังคมนิยม ในปี 1999 และปกครองประเทศด้วยนโยบาย ประชานิยม ประชารัฐสุดโต่ง  และต่อต้านการปกครองจากอเมริกาและยุโรป คล้ายคิวบา เขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2006 และเสียชีวิตในปี 2013
  • ปี 2013 - ปัจจุบัน ประธานาธิบดี Nicolas Maduro สืบอำนาจต่อจากชาเวส  และกำลังผจญกับวิกฤตอย่างหนัก 
สังเกตว่า ประวัติศาสตร์ประเทศไม่ได้มาจากระบบราชาธิปไตย  แต่เป็นแบบ Absolute power หรือที่เรียก สมบูรณายาสิทธิราช ... ที่คือเหตุผลหนึ่งที่ ฝรั่งไม่เข้าใจ ระบบ "ราชาธิปไตย" โดยเฉพาะ "ธรรมราชาธิปไตย" ของประวัติศาสตร์ไทย 

โครงการประชานิยมของ ฮูโก้ ชาเวส (บันทึกที่เขียนเรื่องนี้ดีมาก ๆ อยู่ที่นี่)

ประธานาธิบดี ฮูโก้ ชาเวส (คนไทยออกเสียงแบบนี้) ขึ้นมาปกครองประเทศด้วยการชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น บนนโยบายประชานิยม และเปลี่ยนการปกครองแบบสังคมนิยม หันหลังให้กับอเมริกาและยุโรป และยึดเอากิจการน้ำมันทั้งหมดมาเป็นของรัฐ โดยตั้งบริษัทน้ำมันของรัฐที่เรียกว่า Petroleos de Venezuela (PDVSA) ขึ้นมาดูแลผลประโยชน์เองทั้งหมด และทำหน้าที่นำเงินรายได้การขายน้ำมัน มาใช้จ่ายไปกับโครงการประชานิยมต่าง ๆ จำนวนมาก ตั้งแต่ปี 2003 เรียกว่า "ภารกิจโบลิวาร์" (Bolivarian Missions) (อ่านบทความนี้เขียนดีมาก)  เช่น สวัสดิการสังคม อุดหนุนการศึกษา อุดหนุนสินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ  ด้วยเหตุนี้ แม้จะเวลาจะผ่านไปถึง 15 ปี ประชาชนเวเนซุเอล่า ยังมองชาเวซ เป็นเหมือนวีรบุรุษ ในขณะที่สำนักงานกองทุนระหว่างประเทศ หรือ  IMF วิเคราะห์ว่า นโยบายประชานิยมอันยาวนานนี้เองที่ทำลายระบบทุกอย่างของประเทศ

ที่มา คลิก
โครงการกว่า 4,000 โครงการของฮูโก้ ชาเวซ มุ่งหวังสิ่งสำคัญคือคะแนนเสียง ไม่ได้สร้างสรรค์สังคม หรือวางรากฐานของสังคมใด ๆ  ไม่ได้นำมาสร้างงาน สร้างอาชีพ แต่กลับส่งเสริมให้คนทิ้งอาชีพของบรรพบุรุษ  พึ่งคนอื่น ประเทศอื่นทั้งหมด 
  • อุดหนุนราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคให้ต่ำกว่าความเป็นจริง
    • น้ำมันราคาถูกมาก ถูกกว่าราคาน้ำเปล่ากว่า ๕๐ เท่า  ทำให้การใช้น้ำมันในประเทศเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
    • อุดหนุนราคาสินค้าต่าง ๆ ให้ถูกว่าราคาจริง โดยนำเข้าสินค้าต่าง ๆ จากต่างประเทศ แล้วอุดหนุนด้วยงบรัฐบาลให้ราคาต่ำ ทำให้ธุรกิจและการผลิตภายในประเทศสู้ไม่ไหว เจ๊งและเลิกผลิตไป เป็นการทำลายอาชีพของคนในประเทศตนเอง ... เลิกพึ่งตนเอง 
    • เมื่อนำเข้าอาหารมากขึ้น อุดหนุน แล้วนำมาขายราคาถูก เกษตรกร การเพาะปลูกต่าง ๆ ในประเทศก็ลดลง จนเกือบจะหยุดไป  ... พึ่งคนอื่นเต็มที่  เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นยาวนานถึง 17 ปี จึงไม่แปลกใจที่ทำไมต้องไปรอขอรับการช่วยเหลือจากรัฐกันอย่างเดียว 
    • อุดหนุนราคาน้ำมัน โดยรัฐบาลอุดหนุนทั้งค่าขนส่งน้ำมันไปยังปั๊ม ค่าจ้าง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในปั้ม ทำให้ราคาน้ำมันถูกมาก ลิตรละไม่ถึง ๑ บาทเท่านั้น 
    • อุดหนุนค่าไฟฟ้า 
  • อุดหนุนสวัสดิการสังคม อุดหนุนการศึกษา แก้ปัญหาความยากจนด้วยการแจก 
  • สร้างบ้านเอื้ออาทร กว่า 2 ล้านหลัง 
  • ฯลฯ


  • ในปี 2003 ฮูโก้ ชาเวซ ยังเข้าควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราทั้งหมดภายในประเทศ การแลกเงินสกุลต่างประเทศจะต้องทำผ่านผู้แทนของรัฐบาลเท่านั้น และทำให้อัตราการแลกเปลี่ยนภายในประเทศ และระหว่างประเทศที่รัฐบาลเท่านั้นที่แลกได้ มีอัตราที่แตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามจริง  ... นั่นคือจุดเริ่มต้นของปัญหาการเฟ้อของเงิน จากปัญหาการค้าเงินในตลาดมืด (ดูกราฟ) และเฟ้ออย่างรุนแรงจนเงินโบลิวาร์ไร้ค่าไปแล้วในขณะนี้ 
  • ฮูโก้ ชาเวซ เป็นมะเร็งในสมอง และเสียชีวิตในปี 2013 ผู้สืบทอดของเขาคือ นิโคลัส มาดูโร่ (Nicolus Maduro) 
ที่มา คลิกที่นี่
 
  • ปี 2016 เกิดราคาน้ำมันดิบตกต่ำ จาก 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลงเหลือเพียง 30 บาทต่อบาร์เรลเท่านั้น  ทำให้รายได้ของรัฐบาลลดลง ในขณะที่รายจ่ายไปกับโครงการประชานิยมมีเท่าเดิม 
  • รัฐบาลแก้ไขปัญหาด้วยการพิมพ์เงินออกมาใช้ สุดท้ายก็เฟ้อจนไร้ค่า อย่างที่กล่าวไป 

ไก่ตัวนี้หนัก 2.4 กิโลกรัม ราคา 14,600,000 โบลิวาร์ (ดูรายละเอียดสินค้าอื่น ๆ จาก ที่มาของภาพนี้ที่นี่)

  • นอกจากจะเจอวิกฤตน้ำมันแล้ว ปัญหาภัยแล้งยังทำให้การเพาะปลูกยังให้ผลผลิตน้อย ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร 
  • ชนชั้นเศรษฐี (แทนที่จะเสียสละและสามัคคี) เดินทางอพยพหนีออกนอกประเทศไปเกือบ ๓ ล้านคน 
ที่มา https://www.bbc.com/thai/international-47048389


  • ประชาชน 90% เปอร์เซ็นต์ ของประเทศขณะนี้ ยากจน ขาดแคลนอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค  ไฟ้ฟาดับติดต่อกันหลายวัน ขาดแคลนยารักษาโรค และกำลังจะเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ระหว่างผู้นำฝ่ายค้าน คือ นายฮวน กุย โด ซึ่งหนุนหลังโดยสหรัฐอเมริกาและยุโรป กับนายนิโคลัส มาดูโร ซึ่งหนุนหลังโดยรัสเซียและจีน ... รายละเอียดของความขัดแย้ง มีเบื้องหลังเบื้องลึกมากมาย ขอมาเล่าวันหลังอีกบันทึกต่างหาก
ส่วนตัวผมคิดว่า ฮูโก้ ซาเวซ เป็นคนดี คนดีที่ทำเพื่อประชากรคนยากคนจน เสียดายที่เขาขาดคนอย่าง "ขงเบ้ง" อยู่ข้างกาย เพราะจริง ๆ แล้ว ทุกประเทศที่รวยเพราะน้ำมัน ส่วนใหญ่ก็ล้วนแต่ใช้ปกครองแบบรัฐสวัสดิการ แต่มักจะเป็นระบบเบ็ดเสร็จของกษัตริย์ หรือ "ราชาธิปไตย"  ... ค่อยมาตีความกันต่อไปครับ 
หมายเลขบันทึก: 660439เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2019 00:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2019 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท