การจัดกระบวนการเรียนรู้ในงาน Counseling


การจัดกระบวนการเรียนรู้ในงาน Counseling

จากบันทึก “Pitfalls in the Counseling Process” (1) โดยโรงพยาบาลมะเร็งได้ชวนไปบรรยายเรื่อง Pitfalls in the Counseling Process : หลุมพรางที่เกิดขึ้นในกระบวนการให้คำปรึกษา ก็เลยได้โอกาสออกแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ฐานคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาใช้ ไม่ว่าจะเป็น Transformative Learning (TL), Reflective Learning, Interactive Learning, ฐานคิดของ KM โดยใช้เทคนิค BAR, Share & Learning, AAR ร่วมกับการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่เป็น Tacit Knowledge ของแต่ละบุคคล เพื่อให้เกิดมุมมองที่กว้างและลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ในฐานะของวิทยากรกระบวนการ ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้กระบวนการดำเนินไปตามความเชื่อมโยงที่ได้ออกแบบไว้ กระตุ้นกระบวนการด้วยการตั้งคำถาม การสะท้อนคิด และเติมเต็มองค์ความรู้ในส่วนที่ขาด

ตัวเนื้อหา (Content) ที่ใช้ก็คือ เรื่อง Pitfalls in the Counseling Process : หลุมพรางที่เกิดขึ้นในกระบวนการให้คำปรึกษา ซึ่งถ้าย้อนมองการเรียนรู้ในสาขานี้ส่วนใหญ่ ก็จะเป็นการบรรยาย และการฝึกทักษะทางด้านการให้คำปรึกษา ดังนั้นการออกแบบการเรียนรู้ในรอบนี้จึงเป็นความท้าทายส่วนตัวของตัวเอง ที่นำประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้คนยังไม่ค่อยคุ้นเคยมาใช้

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

ในช่วงแรก : เป็นการทำ BAR คล้ายการประเมินประสบการณ์ ตลอดจนความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนในเรื่อง ดังกล่าว และเป็นการทำ Ice Breaking เพื่อทำลายกำแพงที่ปิดกั้นการเรียนรู้ ช่วยทำให้เกิดการผ่อนคลาย และคุ้นเคยกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การทำกิจกรรมในขั้นลำดับต่อไป

จากนั้นก็ให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ผ่านมา ที่สะท้อนถึงการเคยเกิดขึ้นของ Pitfalls in the Counseling Process กระบวนการนี้จะทำให้ทุกคนเริ่มใคร่ครวญและทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว จากนั้นในฐานะกระบวนกรก็บรรยายสรุปเพิ่มเติมเพื่อให้ภาพชัดเจนยิ่งขึ้น

ช่วงบ่าย

กระบวนการถูกปรับเมื่อผู้เรียนขอเสนอทางเลือก และไม่ขัดต่อการออกแบบการเรียนรู้ที่ได้วางไว้ เราปรับให้กระบวนการจาก 3 กิจกรรม ให้เนียนเนื้อบูรณาการเหลือเป็นกิจกรรมเดียว คือ การวิเคราะห์ case ที่เคยพบมาจากประสบการณ์ และร่วมกันออกแบบวางแผนการให้คำปรึกษาเพื่อลด Pitfall ที่อาจเกิดขึ้นได้ จากนั้นนำเสนอแบบ Role Play (แสดงบทบาทสมมติ) ร่วมกับให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยสะท้อนคิด (Critical Reflection)

จาก Role Play ดังกล่าว นำไปสู่การเกิดประเด็นการเรียนรู้สองอย่าง คือ

  1. หลุมพรางของผู้ให้คำปรึกษามือใหม่ที่มุ่งให้ข้อมูลคำแนะนำ จนลืมการสำรวจถึงปัญหาและความทุกข์ของ Client ที่อยู่ตรงหน้า
  2. กรณีของการให้คำปรึกษาเป็นครอบครัว เรามักโฟกัสความทุกข์ของคนใดคนหนึ่ง อาจเสี่ยงต่อการละเลย Client คนอื่นๆ ได้ และที่สำคัญการชี้นำของผู้ให้คำปรึกษาอาจทำให้ขาดอิสระของการค้นหาทางออกของชีวิตและความทุกข์ด้วยตนเองของ Client

โดยภาพรวม บรรยากาศค่อนข้างผ่อนคลาย

และทุกคนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง แม้จะเป็นในช่วงเวลาอันสั้น มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนค่อนข้างมาก วิทยากรละออกจากการเป็นผู้บรรยายหรือเป็นผู้บอกความรู้ แต่คอยเติมเต็มในส่วนที่ยังขาดและสรุปหรือสะท้อนคิดในประเด็นที่สำคัญ

ท้ายสุดเราทำ AAR (After Action Review) เป็นการให้ทุกคนได้ใคร่ครวญและสะท้อนถึงผ่านคำถามสามข้อ คือ 

  1. ความรู้ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม หรือเป็นความรู้ใหม่ได้ที่ได้รับ
  2. ความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะที่เรียนรู้
  3. ถ้าอยากเข้าร่วมเรียนรู้อีกครั้งในอนาคต อยากเรียนรู้ในเรื่องอะไร

หกชั่วโมงผ่านไป

เป็นประสบการณ์ที่ดี ที่ได้ใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้นี้ในการสอน “การให้คำปรึษา” แต่การจะออกดอกออกผลได้นั้น คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคลจะไปปรากฏเมื่อเขาเจอสถานการณ์จริง และลงมือฝึกฝน ซึ่งสิ่งนี้เรียกว่า Authentic Learning 

13-03-62

หมายเลขบันทึก: 660436เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2019 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2019 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท