ติดตามชมรมต้นกล้าพันธุ์ดี _ ๐๒ : ค่ายพัฒนาจิต รู้จักเป้าหมายชีวิตตนเอง ของนักเรียน English Access Program รุ่น ๓


วันที่ ๙ - ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๒ ทีมวิทยากรกระบวนการของชมรมต้นกล้าพันธุ์ดี  "รันร่วม" ค่ายพัฒนาจิต รู้จักเป้าหมายชีวิต ของนักเรียน English Access Program รุ่นที่ ๓  (ผมบันทึกกิจกรรมของรุ่น ๑ ไว้ที่นี่, รุ่น ๒ ไม่ได้ไป "รันร่วม")  โดยกำหนด "หัวปลา" BAR ไว้ ๒ ประการ ว่า  ๑) ให้รู้จักกัน และ ๒) ให้รู้จักตนเอง ก่อนจะปิดกิจกรรมค่าย ผม AAR โดยให้ นั่งหลับตา ทำสมาธิ แล้วระลึกถึงชื่อเพื่อนที่จำได้ให้ได้มากที่สุดใน ๒ นาที  ปรากฎว่า ต่ำสุด จำได้ ๕ คน สูงสุดจำได้มากถึง ๒๔ คน ความถี่มากสุดอยู่ที่ประมาณ ๑๕ คน ... สะท้อนว่า ประสบผลสำเร็จยิ่งสำหรับวัตถุประสงค์ข้อแรก ส่วนเป้าข้อที่ ๒ สังเกตจากกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น สัตว์สี่ทิศ อิคิไก ฯลฯ ลองถามและอ่านงานดู ประมาณว่านักเรียนนั้นได้เรียนรู้ตนเองมาก ๆ  แต่จะเกิดผลรู้ภายในจริง ๆ หรือไม่ อย่างไร ก็ไม่อาจจะทราบได้ ... ขอบันทึกสังเคราะห์ให้เห็นประเด็น ๆ ไป ว่าอะไรน่าจะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จของทีม  เพียงเพื่อเก็บไว้ในความทรงจำร่วมกันเท่านั้น ดังต่อไปนี้ 

๑) วิทยากรกระบวนการ


ปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่งก็คือ ทีมกระบวนกรนั่นเอง โดยส่วนตัวผมเข้าใจว่า ทีมชมรมต้นกล้าพันธุ์ดี เป็นทีมเดียวที่จัดกิจกรรมในลักษณะนี้ ลักษณะที่เน้นกระบวนการเรียนรู้นำ ทุกกิจกรรมตั้งอยู่บนฐานของความการเรียนรู้ โดยเฉพาะการเรียนรู้จากภายใน ผ่านกระบวนการ สนุก สุข สร้างสรรค์  (อ่านโมเดล ๓ กำลัง ส. ได้ที่นี่) นี่คือพวกเขาครับ กระบวนกรจากชมรมต้นกล้าพันธุ์ดี

ไมค์เบอร์ ๑ ออกแบบกิจกรรม นำกระบวนกร แสน ศึกษาศาสตร์ สังคม ปี ๔ 
ไมค์เบอร์ ๒ น้องปอ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ปี ๑ 
staff training  พี่แอ๊ การท่องเที่ยว ปี ๓
staff traing บีปี ๒ มนุษย์ฯ 
ไมค์หมาบเลข ๕ เนส ศึกษาศาสตร์ สังคม ปี ๓
มือกลอง กาย ศึกษาศาสตร์ สังคม ปี ๑ 
เมย์ ศึกษาศาสตร์ ปฐมวัย ปี ๔  แม่ครัว - แม่งาน 
แฟน ศึกษาศาสตร์ สังคม ปี ๑  ไมค์-กลอง


๒) กระบวนสันทนาการ "การสนุก
"

ต้องยอมรับว่า "สนุก" คือประตูเปิดสู่สิ่งใด ๆ ทั้งหมด  เป็นด่านแรกที่ต้องผ่านให้ได้ ละลายพฤติกรรมไม่ ไม่สนุกจากภายใน งานนั้นจะไม่ได้ผล โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมกับเด็ก ๆ  เยาวชน  เพลง กิจกรรม และวิธีการนำต่าง ๆ ได้เผยแพร่ไปแล้ว และยังคงคิดใหม่ และเผยแพร่ไปเป็นวิทยาทานอย่างต่อเนื่อง

๓) กิจกรรมเรียนรู้แบบ Active Learning  (เรียนรู้อย่างมีความสุข)

กิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมด เป็นแบบตื่นตัว  (Active Learning) บนฐานของกิจกรรม หรือมักเรียกว่า Activity-based Learning (ABL)  เช่น ถุงใบใหญ่ คาร์ดเกมส์ สัตว์สี่ทิศ อิคิไก มหาสมุทรเลือด ฯลฯ ... หากใครสนใจจริง ๆ  ผมแนะนำให้มาร่วมกิจกรรมกับพวกเขาครับ  ... ผมเองน่าจะแก่เกินไปที่จะมาเขียนให้ท่านฟังในรายละเอียด

๔) มีเป้าหมาย 

สิ่งที่ทำให้กิจกรรมเป็นไปอย่างไหลรื่น และสนุกอย่างหนึ่งคือ การเติมเงื่อนไขให้กระตุ้นความพยายามของตนและคนในทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม โดยทีมกระบวนการใช้ จำนวนเงิน "แบงค์กาโม่"  และมีการสรุปสุดท้ายให้ได้ชื่นชมความสำเร็จร่วมกัน

ขอจบด้วยภาพประทับใจ เก็บไว้ดูเมื่อระลึกถึง

ขอบใจนิสิตชมรมต้นกล้าพันธุ์ดีทุกคนที่มา "รันร่วม" ขอเป็นกำลังใจให้ส่งต่อทีม "วิทยากรกระบวนการ" แบบนี้ต่อไปสุ่รุ่นน้อง ๆ  ต่อ ๆ ไป  สร้างประโยชน์น้อยใหญ่ให้กับส่วนรวมครับ

หมายเลขบันทึก: 660382เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2019 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2019 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท