รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ๒-๒๕๖๑ (๔) หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมจัดโครงการผสาน "บวร" บริหารจัดการขยะ อบต.หนองแสง


วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ นิสิต+อาจารย์ร่วม ๑๐๐ คน เข้าพื้นที่บริการชุมชนบ้านโพธิ์กลาง อบต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม เป็นการคืนข้อมูลการศึกษาการบริหารจัดการขยะสู่ชุมชน ภายใต้ชื่อโครงการ "ผสานต้นทุนสังคมวัฒนธรรม บ้าน-วัด-โรงเรียน (บวร) เพื่อส่งเสริมกระบวนการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจากชุมชน"

ผู้มาร่วม

สมาชิกที่มาร่วมกิจกรรมวันดีนี้ มีคร่าว ๆ ดังนี้ ...  อาจมีมากกว่านี้หากสังเกตแบบครบกระบวนการ (ผู้สนใจอาจติดตามรายงานโครงการจาก ผศ.ดร.อภิพงษ์ พุฒคำ หัวหน้าโปรเจ็คได้ครับ)

  • ท่านเจ้าอาวาสวัดบางโพธิ์ 
  • สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • สิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม (ทสจ.มหาสารคาม)
  • นายก อบต.หนองแสง  ผอ.กองการสาธารณสุข และทีม
  • ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อสม. (อาสาพัฒนาหมู่บ้าน)
  • คุณพ่อกัมปนาท ศรีสุนทร ข้าราชการบำนาญ ปราชญ์ชาวบ้านผู้เป็นที่พึ่ง 
  • ชาวบ้านกว่า ๑๐๐ คน
  • คณาจารย์จากสาขาวิชา จำนวน ๕-๖ ท่าน 
  • นิสิตกว่า ๑๐๐ คน 
เป็นเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนและขับเคลื่อนที่มีพลังมาก ๆ  เวทีหนึ่งครับ ... เสียดายที่ผมต้องเดินทางไปร่วมค่ายชมรมตามรอยเท้าพ่อต่อจากนั้น จึงไม่ได้อยู่เรียนรู้ร่วมด้วยตลอดงาน 

กระบวนการ

การบูรณาการกระบวนการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน ทั้ง ๖ ขั้นตอน ได้แก่ ศึกษา วิเคราะห์ปัญหาความต้องการ วางแผนและจัดทำโครงการ ดำเนินโครงการ และ คืนข้อมูลสู่ชุมชน เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้นแบบหนึ่งได้เลย ภายใต้ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ระยะทางห่างไกลมหาวิทยาลัยกว่า ๔๐ กิโลเมตร และวัตถุประสงค์จะให้นิสิตทุกคนได้มีประสบการณ์ลงพื้นที่ชุมชนด้วย

มีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูลล่วงหน้า แล้วนำผลสรุปต่าง ๆ มานำเสนอในวันงาน ทำให้ได้ความรู้ที่สดใหม่ ใกล้ตัว

นอกจากการคืนข้อมูลแล้ว ยังมีผู้รู้ปราชญ์ชาวบ้านมาถ่ายทอดประสบการณ์ มีกิจกรรมฐานการเรียนรู้ ๔ ฐาน ได้แก่

  • 3Rs  (๓ช. คือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมา ใช้ใหม่(รีไซเคิล))
  • ของเสียอันตราย
  • ปุ๋ยมูลไส้เดือน
  • การแยกพลาสติกขาย 
มีการแสดงการเซิ้งขยะอีสานสามัคคี การเปิดตลาดซื้อขายวัสดุรีไซเคิล จัดทำโรงแยกขยะ และมีพิธีเปิดผ้าคลุมป้าย เปิดใช้อย่างเป็นทางการด้วย


ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ 

ความรู้จาก คุณอรสา แก้วพา  หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ รักษาการ ผอ.กองการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.หนองแสง

  • การบริหารจัดการขยะเป็นหน้าที่โดยตรงของ อบต. โดยกองการสาธารณสุขฯ ของ อบต. 
  • ตอนนี้ อบต. หนองแสงมี ๒๘ หมู่บ้าน 
  • การจัดการขยะแบ่งตามลักษณะพื้นที่ได้ ๒ รูปแบบ คือ 
    • พื้นที่กึ่งเมือง ได้แก่ พื้นที่ที่รอยต่อติดกับเทศบาลอำเภอวาปี  ๑๑ หมู่บ้าน  จะมีรถเก็บขนขยะจาก อบต. ไปกำจัดที่บ่อขยะหนองปลิง 
    • พื้นที่ชนบท ในที่นี่้ก็คือ อบต.หนองแสง ๑๗ หมู่บ้าน  ไม่มีการเก็บขนขยะ ใช้วิธีการส่งเสริม รณรงค์ ให้คนในชุมชนบริหารจัดการขยะเอง โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ จาก อบต. อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ จนถึงปัจจุบัน 
  • ตอนนี้มีหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะด้วยตนเองแล้ว ๒ หมู่บ้าน มีกองทุนจัดการขยะแล้ว ๗ กองทุน มีการรับซื้อขยะรีไซเคิลไปขายอย่างเป็นระบบ 
  • หมู่บ้านต้นแบบการจัดการขยะคือ หมู่ที่ ๑๘ หมู่บ้านหนองคุไชย และหมู่ที่ ๑๙ บ้านไชยทอง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศการบริหารจัดการขยะของจังหวัด ประจำปี ๒๕๖๐
  • หมู่ที่ ๒๐ บ้านโพธิ์ ที่เป็นเป้าหมายของหลักสูตรฯ นี้  ยังไม่ได้เป็นเป้าหมายของโครงการ/กิจกรรม จาก อบต. จึงเป็นการดีที่จะได้ขยายงานต่อไป 
ความรู้จากสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม
  • นโยบายของจังหวัดคือ ให้จัดการขยะในครัวเรือนของตนเองก่อน อะไรที่จัดการในครัวเรือนไม่ได้ ค่อยเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐเก็บขนและกำจัดต่อไป 
  • ปัญหาขยะที่สำคัญของชุมชนชนบท คือ ขยะมีพิษหรือขยะอันตราย และขยะติดเชื้อ
  • หากชุมชนต้องการการสนับสนุน ส่งเสริมใด ๆ  สามารถเขียนโครงการเสนอไปยังสิ่งแวดล้อมจังหวัดได้ 
ความรู้จากนักวิชาการ คณาจารย์มหาวิทยาลัย 
  • ใครมีหน้าที่ต้องจัดการขยะและของเสียอันตราย   ....   คำตอบ คือ  คนที่ก่อขยะและของเสียอันตราย ... หรือก็คือทุกคนนั่นเอง 
  • จากการสำรวจข้อมูลในชุมชน พบว่า คนส่วนใหญ่ตอบว่า "ชาวบ้าน"
  • (ท่านอาจารย์โต๋งให้ดูคลิปนี้ครับ)
  • การประเมินการพัฒนาด้านการจัดการขยะของครัวเรือน อาจแบ่งเป็น ๕ ระดับ  ... ทางหลักสูตรได้มอบหมายให้นิสิตลงพื้นที่ชุมชนเข้าสัมภาษณ์ แลประเมินให้กำลังใจด้วยการมอบ "ดาว" ตามระดับคุณภาพ เป็น ๕ ระดับ ดังนี้ 
    • มีการแยกวัสดุรีไซเคิล ให้ ๑ ดาว 
    • มีการแยกวัสดุอินทรีย์ เศษอาหาร หรือขยะเปียก ให้ ๑ ดาว
    • มีการแยกขยะทั่วไป ให้อีก ๑ ดาว 
    • มีการแยกขยะมีพิษหรืออันตราย ให้อีก ๑ ดาว 
    • มีวิถีชีวิตลดใช้พลาสติก ให้ ๑ ดาว  ....  แบบนี้ให้ ๕ ดาว 
  • ผลการสำรวจพบว่า กว่าร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มตัวอย่าง  ได้ ๔ ดาว 
  • ผลสำรวจพบว่า 
    • ชาวบ้านกว่าร้อยละ ๙๐ บอกว่า เศษแก้วเป็นของเสียอันตราย  ...ซึ่งไม่ใช่ 
    • ชาวบ้านเข้าใจว่า หลอดไฟต้องทุบก่อนทิ้ง  ... เข้าใจผิด นำไปทิ้งเลย 
    • ชาวบ้านเข้าใจว่า รางหลอดไฟก็เป็นของเสียอันตราย ... เข้าใจผิด รางหลอดไฟไม่ใช่ของเสียอันตราย 
    • ชาวบ้านเกือบทั้งหมดเข้าใจว่า ภาชนะของของเสียอันตราย ต้องล้างก่อนนำไปทิ้ง ... ซึ่งเข้าใจผิด ห้ามล้างเด็ดขาด 
  • ของเสียอันตราย  คืออะไร มีอะไรบ้าง จะจัดการอย่างไร  
    • เศษแก้วเป็นของเสียอันตรายหรือไม่?  ....  ชาวบ้านกว่าร้อยละ ๙๐ บอกว่าเป็น แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่  (ชาวบ้านเข้าใจผิดเกือบหมด)
    • ของเสียอันตราย โดยทั่วไปทางราชการจะจัดเก็บคัดแยกด้วยถังสีส้ม 
    • ของเสียอันตรายได้แก่  สิ่งที่เป็นอันตราย สารเคมี และภาชนะที่บรรจุของเสียอันตรายเหล่านั้น 
    • ของเสียอันตรายแบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ 
      • กลุ่มถ่ายไฟฉายและแบตเตอรี่แห้ง ....  ให้นำไปทิ้งในถังส้ม (หรือถังแดง)
      • กลุ่มหลอดไฟ หลอดฟลูออเรสเซนท์ สารเคมีเปียก... เพราะมีสารเคมีอันตรายอยู่ภายใน
      • ยาปราบศัตรูพืช ... ห้ามล้าง ให้นำไปทิ้ง 
    • วิธีการดูว่าอันตรายหรือไม่ ให้ดูที่ข้างกล่อง ว่ามีสัญลักษณ์เหล่านี้อยู่หรือไม่  รูปไฟ รูปหัวกะโหลก รูปฟอง ฯลฯ

สารไวไฟ ติดไฟ

สารอันตราย ยาปราบศัตรูพืช สารพิษ

สารเคมีอันตราย 
  • ขยะทั่วไป ... จากการสำรวจชาวบ้าน 
    • ส่วนใหญ่ใช้วิธีการเผา ประมาณร้อยละ ๖๐ ที่เหลือใช้วิธีการฝังกลบและนำไปทิ้งที่อื่น  ซึ่งยังไม่ค่อยถูกหลักนัก 
    • การเผาจะทำให้เกิดสารพิษ ไม่ควรเผาเลย  
    • ควรจะลดปริมาณให้มากที่สุด ลดการใช้ถุงพลาสติก ให้ใช้ตะกร้าแทน ใช้ปินโตแทน ใช้ขวดน้ำไว้เติมได้ 
    • ตอนมีการจัดงาน งานบุญ งานทาน งานต่าง ๆ ในสถานที่ราชการ บ้าน วัด โรงเรียน ให้รณรงค์ อย่างจริงจัง ทั้ง "บ้าน วัด โรงเรียน"
    • ถ้ามีขยะแล้ว ไม่ต้องเผา และไม่ต้องฝัง แต่นำมาแยกล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง  แล้วนำไปขายได้ทั้งหมด 
    • (อ.โต๋ง ให้ดูคลิปเครื่องล้างขยะพลาสติก)

    • ส่วนคลิปด้านล่างนี้ คือ การวิจัยของ อาจารย์ที่ มทส. ในการเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน ...สนใจเชิญดูครับ 


ความรู้จากพ่อปราชญ์ประจำหมู่บ้านและท่านเจ้าอาวาส
  • บ้านวัดโรงเรียนต้องมีส่วนร่วมด้วยช่วยกัน
  • ท่านบอกว่าความสำเร็จเกิดได้ด้วยความร่วมมือ 
  • หมู่บ้านนี้ถือเป็นหมู่บ้านนักปราชญ์ มีครูกว่า ๘๐ คน ที่เป็นลูกหลานจากหมู่บ้านนี้ จากที่มีเพียงแค่ ๒๐๐ กว่าหลังคาเรือน  น่าจะเป็นหมุ่บ้านที่มีลูกหลานไปเป็นครูมากที่สุดในจังหวัด 
  • ดังนี้จึงได้รับความร่วมมือกับชุมชนอย่างเข้มแข็ง ร่วมพลังในการทำผ้าป่าสามัคคีทีใดก็ได้รับความร่วมมือร่วมใจกันเต็มที่ 
แนวปฎิบัติของชุมชนที่น่าเรียนรู้

  • มีการจุดธูปเทียน กราบไหว้ สวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัยก่อน เริ่มพิธิี
  • เริ่มกล่าวแนะนำประธานฝ่ายสงฆ์ หรือ ผู้นำฝ่ายสงฆ์ก่อน 








ขอขอบพระคุณรูปภาพบรรยายกาศทั้งหมดจากท่าน ผศ.ดร.อภิพงษ์ พุฒคำ หัวหน้าโครงการ มากครับ 
หมายเลขบันทึก: 660161เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2019 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2019 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท