หลักสูตรศาสตร์พระราชา กับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 รุ่นที่ 3


เรียน ผู้เข้าร่วมโครงการ

ตามที่ท่านได้ตอบรับเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหาร “หลักสูตรศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำ ยุค 4.0” (หลักสูตรการเรียนรู้ 7 วัน) ซึ่งมีกำหนดการจัดกิจกรรมในระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึง 25 เมษายน 2562 นั้น

ผมในฐานะผู้อำนวยการโครงการ และเป็นตัวแทนในนามของ Chira Academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ระหว่างประเทศ ใคร่ขอขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านให้เกียรติและความไว้วางใจในการเข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนให้มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความสามารถ มีภาวะผู้นำ มีแรงบันดาลใจ มีทัศนคติในการทำงานเชิงรุกและเชิงบวก มีทุนทางสังคมและเครือข่ายที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อการทำงานและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผมและคณะผู้จัดโครงการฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหาร“หลักสูตรศาสตร์พระราชา กับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0”นี้ จะสามารถสร้างความประทับใจ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา เป็นแรงบันดาลใจ และพลังของผู้นำในอนาคตต่อไป

จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตรศาสตร์พระราชา กับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 ปี 2

สรุปการบรรยาย

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้

Learning Forum - Case Study - Workshop & Coaching

หัวข้อ  ผู้นำยุค 4.0 กับการบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศด้วยศาสตร์พระราชา

โดย     ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562

(บันทึกสรุปการเรียนรู้โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)


ปฐมนิเทศและแนะนำทฤษฎีการเรียนรู้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  หลักสูตรนี้ทำเป็นปีที่ 2 เป็นหลักสูตรครั้งที่ 15 ของกฟผ.

การพัฒนาคนต้องอย่างต่อเนื่อง ทำแล้วทำอีก

  สมัยขงจื้อมีสุภาษิตจีน กล่าวว่าปลูกแตงกว่า 3 เดือน ปลูกมะม่วง 3-4 ปี ปลูกคนชั่วชีวิต ได้รับเกียรติให้ทำโครงการกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง  รุ่นนี้ถือว่าสำคัญ หลักสูตรนี้เป็น กฟผ. ส่วนหนึ่ง และมี 2 องค์กรที่มาร่วมคือ กสทช. และบริษัทสี่พระยาก่อสร้าง จำกัด

  ยกตัวอย่าง นักเศรษฐศาสตร์ด้านทรัพยากรมนุษย์อย่าง Gary Becker  อย่างหลักสูตรนี้คือการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ หมายถึงเราต้องมีการลงทุน (เสียก่อนได้)

Diversity กับการบริหารการเปลี่ยนแปลง

  ในยุคปัจจุบันต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันอย่างหลากหลาย และจัดการกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้

และควรเน้นการลงทุนด้านคน

  1. การลงทุนด้านคน นอกจากเป็นการลงทุนที่เรียกว่าเสียก่อนแล้ว ประเด็นที่สำคัญคือการมีวิธีการเรียนที่ดี อย่างการเรียนในกลุ่มต้องให้กลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดเวลา

  2. การกระจายบทบาทหน้าที่ให้ทีมของเรา (Empowerment)

การศึกษาดูงานที่ดอยตุงโมเดล

  ต้องเน้นการเชื่อมโยงให้ได้ และสร้าง Impact ให้จัดขึ้น

  1. ผู้นำด้านนวัตกรรม  อย่าง กฟผ.มีการเปลี่ยนแปลงมากไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม และชุมชน

  2. การคิดเรื่องชุมชน

  3. การสร้าง Impact – คือการนำความรู้เข้าไปที่ตัวเอง และนำ Soft Skill ที่มีในตัวออกมาสร้างประโยชน์ให้ได้

แนวทางการพัฒนาเรื่องคน

1. เน้น 2R’s ประกอบด้วย

1. Reality คือต้องรู้ Where are we? ดูสถานการณ์ปัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

2. Relevance คือสำรวจตลอดเวลาว่าอะไรเกี่ยวข้องกับเรา อย่าง กฟผ.ต้องมองในอนาคตว่าหลักสูตรนี้ 7 วันทำแล้วได้อะไร และเชื่อมโยงกับชุมชนอย่างไร

  ฝากให้ทุกท่านอ่านหนังสือเรื่อง Start with Why? ขอเสนอเป็น Option ให้นำไปแจก ใครสนใจก็ให้นำไปอ่าน

  Concept คือ เมื่อรู้แล้วต้องนำไป Apply กับ 2 R’s ให้ได้ อย่างในวันนี้มี Reality ของ กฟผ. กสทช. และสี่พระยาก่อสร้าง ในรุ่นนี้จะทำอย่างไรให้เราเรียนรู้ศาสตร์พระราชา และศึกษาดูงานดอยตุง  เพื่อสามารถนำไป Apply และสร้างให้เกิด Impact ได้จริง

  Why ? คือ ทำไมเราไม่สามารถเอาชนะอุปสรรคบางอย่าง อะไรก็ตามที่เรารู้ในห้องนี้คือต้องรู้ว่าเราจะทำอะไร และต้องทำกับชุมชน แต่ทำไมบางครั้งคนนอกองค์กรเกิดความไม่ไว้ใจ อย่างมีปัญหากับชุมชนที่กระบี่ และจะนะ เป็นต้น ดังนั้นการเรียนรู้ทั้ง 7วัน ต้องสร้างให้เป็นผู้นำที่เข้าใจเรื่องชุมชนได้ด้วย

2. ประเด็นโป๊ะเช๊ะ คือ เรียนแล้วได้อะไรที่เป็นประเด็นดี ๆ นำไปต่อยอดได้

3. การเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่ใช่แค่เรียนและ 7 วันแล้วจบ

สรุป Why ? สำคัญอย่างไร

1. เอาชนะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น สร้างความเข้าใจกับชุมชน

2. 3 V คือ Value Added, Value Creation , และ Value Diversity อยากให้มีความหลากหลายและแชร์ความคิดเห็นกัน

3. การปะทะกันทางปัญญา ต้องการนำสิ่งที่อยู่ข้างในของแต่ละท่านออกมา ให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมากขึ้น ให้แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

4.เปิดโลกทัศน์ให้คนในห้องนี้เห็นการเปลี่ยนแปลง ส่วนมากคนที่เปิดใจกว้างได้คือคนที่อ่านหนังสือ และ
มีนิสัยในการเรียนรู้

5. วิธีการเรียนรู้ Learning how to learn จึงมีส่วนสำคัญในการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตและนำความรู้ไปใช้งาน

6. สร้างให้เกิด Impact และทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความยั่งยืน

กระบวนการเรียนรู้

      1. 17 Sustainable Goals เป็นเป้าหมาย โดยมีวิธีการที่สำคัญคือ ศาสตร์พระราชานำไปสู่ความยั่งยืน ด้วยเล็งเห็นว่าภูมิคุ้มกันที่อยู่รอดได้คือความรู้        อย่าง กฟผ.จะทำเรื่องชุมชน ต้องปูพรมให้เห็นความสำคัญ ให้ดูว่า Impact เรื่องความยั่งยืนเกี่ยวกับอะไร

          2. การเข้าใจบริบทเรื่องความจริงและตรงประเด็นกับสิ่งที่จะทำ (2R’s)

          3. ต้องชนะเล็ก ๆ และต่อเนื่อง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          บทบาทคือการสร้างเสริมทักษะความคิดใหม่ ๆ โดยใช้ประสบการณ์ของนักสื่อมวลชน ที่ช่วยในการจับประเด็น

          บางคนจับประเด็นเร็วจะสามารถต่อยอดได้ บางคนอาจไม่ได้ แต่ที่น่าสนใจคือคนที่คิดเร็ว และเข้าใจเร็ว จะทิ้งเร็ว แต่บางคนเข้าใจช้า จะบ่มและยั่งยืนกว่า แต่บางคนได้ทั้งสองอย่าง ดังนั้นต้องเข้าใจเรื่องความหลากหลาย

          สรุปคือ การจับประเด็นต้องเริ่มจากความเข้าใจก่อน และถึงต่อยอดได้

          หลักสูตรที่แนะนำตอนต้นคือการลงไปเรื่องคน เป็นเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์

          การจับประเด็นที่คิดต่อยอดในเชิงทรัพยากรมนุษย์ได้มีอะไรบ้าง

          1. Change เพราะทุกท่านอยู่ 4.0 กำลังไป 5.0 ทุกท่านต้องรับมือให้ได้

          2. ศาสตร์พระราชา ต้องเริ่มจากความเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โครงการที่ตอบโจทย์ของ กฟผ. คือการสร้างการเรียนรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้

          3. การพัฒนาผู้นำ 4.0

สรุปคือ ในโครงการที่จัดขึ้นทั้ง 7 วันนี้จะมีแนวทางให้เดิน  มีกระบวนการเรียนรู้ และให้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ประกอบการตัดสินใจ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การเรียนรู้ต้องดูว่าตัวเองได้อะไร องค์กรได้อะไร และผลที่สังคมได้คืออะไร ต้องแชร์ความรู้ไปให้คนอื่นด้วย อย่างการเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้สรุปมาว่าวันนี้ได้อะไร เพราะ เราทุกคนเป็น We the Media สิ่งที่ท่านทำอยู่มีคุณค่ามาก ถ้าแชร์ไป Social Media จะมีประโยชน์มาก

วัตถุประสงค์

  1. 1. เพื่อเตรียมความพร้อมผู้บริหารระดับสูงให้มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความสามารถ มีภาวะผู้นำ มีแรงบันดาลใจ มีทัศนคติในการทำงานเชิงรุกและเชิงบวก มีความพร้อมในตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ รวมถึงพร้อมรับตำแหน่งบริหารที่สูงขึ้น
  2. 2. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มพูนทักษะ และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง โดยประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อการทำงานอย่างยั่งยืน
  3. 3. เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้เข้ารับการอบรม และเครือข่ายในการทำงานเพื่อสังคมและชุมชน
  4. 4. เพื่อพัฒนาสมรรถนะความสามารถ (Competency) ของผู้บริหารระดับสูง
  5. 5. เพื่อถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ (Process of Learning) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ แก้ปัญหา และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมในการเรียนรู้และนำไปสู่การเป็นองค์การและสังคมแห่งการเรียนรู้ รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรม

ตอบโจทย์ “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0”

ศาสตร์พระราชา

คืออะไร สำคัญอย่างไร เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0อย่างไร  เราจะน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการทำงานและการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข มีความสมดุล และยั่งยืนได้อย่างไร?

ผู้นำยุค 4.0

มีคุณสมบัติอย่างไร มีบทบาทอย่างไร ควรจะมีหลักคิดและแนวทางในการทำงานและการดำรงชีวิตอย่างไร

“ผู้นำ” จะน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการทำงานและการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข มีความสมดุล และยั่งยืนได้อย่างไร?

ยุทธศาสตร์การพัฒนาและบริหารคุณภาพของทุนมนุษย์ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง

(1) Macro - Micro

(2) ปลูก - พัฒนา

(3) เก็บเกี่ยว – บริหาร เช่น Motivation

(4) ทำให้เกิดผลสำเร็จ/สร้างคุณค่า (Execution) – เช่น การสร้างหลักสูตรให้เกิด Impact และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง

(5) การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง วันนี้ วันพรุ่งนี้ และอนาคตไปด้วยกัน

โลกและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่าง ๆ ถึงปัจจุบันและอนาคต

จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Forth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น

- sustainability+ (ยั่งยืน)

- wisdom+ (ความฉลาด)

- creativity+ (ความคิดสร้างสรรค์)

- Innovation+ (Innovation)

- intellectual capital (ปัญญา)

HR Architecture

          เวลาพูดถึงชุมชนให้พูดถึงโครงสร้างอายุด้วย เช่นเด็ก วัยรุ่น คนทำงาน และผู้สูงอายุเป็นอย่างไร ตัวอย่าง การปฐมนิเทศ ของ ต้องเน้นให้รู้วัฒนธรรมขององค์กร

ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 คืออะไร ?

          ทำอย่างไรการบริหารจัดการเทคโนโลยีใหม่ ๆ สอดคล้องไปกับสังคม

ทุนมนุษย์

           

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital             ทุนมนุษย์

Intellectual Capital      ทุนทางปัญญา

Ethical Capital             ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital        ทุนแห่งความสุข

Social Capital              ทุนทางสังคม

Sustainability Capital    ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital             ทุนทาง IT

Talented Capital          ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ทุนมนุษย์ในยุคต่อไปไม่ได้วัดจากปริมาณการศึกษา ดังนั้นเราต้องสร้างคนให้มีปัญญา จริยธรรม และความสุขในการทำงาน และที่สำคัญคือการสร้างสังคมให้มี Networking ยิ่งมีความหลากหลายมากเท่าไหร่ โอกาสประสบความสำเร็จมีมาก  ต้องฝึกว่าความหลากหลายคืออนาคตของคนในห้องนี้ และที่สำคัญที่สุดคือทุนแห่งความยั่งยืน ประเด็นคือเราจะไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างไร

          ฝากให้ทุกท่านคิดการนำทุนแต่ละเรื่องไปต่อยอด ต้องถามเรื่องคุณภาพการลงทุนเรื่องคน สำคัญมากกว่าปริมาณที่ทำอยู่ 

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital         ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital      ทุนทางความรู้

Innovation Capital      ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital      ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital         ทุนทางวัฒนธรรม

          ที่สำคัญคือต้องควบคุมทุนทางอารมณ์ให้ได้ เพราะถ้าไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้จะทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างมากมาย ที่สำคัญคือการรู้รากเหง้าของตัวเอง อย่างประเทศไทยอยู่ได้ด้วยทุนทางวัฒนธรรม  ความขัดแย้งไม่ได้เป็นความขัดแย้งทางวัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมเหมือนกัน  เพียงแต่โอกาสที่ได้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

          ในวันนี้ Quotation ที่ชอบมากที่สุดคือ เบอร์ 1 ของ Microsoft บอกว่า ในชีวิตต้องการ 2 อย่างคือ

1. Curiosity คือ อยากรู้อยากเห็นมาก ๆ สนใจและถาม

2. Learning คือ หิวการเรียนรู้

          ดังนั้น การจัดการชุมชน ต้องเรียนรู้จากชุมชน ที่สำคัญที่สุดคือไม่ว่าจะทำอะไรต้องเริ่มต้นค้นหาความจริงก่อน (Reality) ความจริงวันนี้กับอดีตเปลี่ยนไป และสำคัญอีกเรื่องคือจะทำอะไรต่อ (Relevance) การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนได้

2 i’s : Tool of Learning & Development

ต้องมี Inspiration คือจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจให้เขา และสร้างให้เกิด Imagination คือจินตนาการ

          Inspiration มีข้อดีคือสร้าง Passion อยากขอให้ทุกท่านสำรวจตัวเองว่า Passion เกี่ยวกับเรื่องคนในชุมชนคืออะไร เพราะถ้าไม่มี Passion ในการทำงานจะไม่สามารถกระเด้งไปสู่สิ่งอื่นเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน

HRDS เพื่อการสร้างทุนแห่งความสุข การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการบริหารทุนมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

  1. 1. Happiness
  2. 2. Respect

3. Dignity

  1. 4. Sustainability               

3 L’s

1. Learning from pain     เรียนรู้จากความเจ็บปวด

2. Learning from experiences    เรียนรู้จากประสบการณ์

3. Learning from listening     เรียนรู้จากการรับฟัง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          สิ่งที่อาจารย์พูดมาตั้งแต่เช้าเป็นการสร้างอิทธิพลทางความคิด ว่าทำไมใน 40 กว่าปีของการทำงานดร.จีระ พูดเรื่องคนติด Top 10 ในระดับข้างบน เพราะนำการเรียนปริญญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์ + ทุนมนุษย์ของ Gary Becker ที่ได้รางวัลโนเบล ใช้ 40 ปีจากประสบการณ์การทำงาน ในแนวทางพัฒนาทุนมนุษย์ของอาจารย์

          ฝาก HR Architecture เรื่องโครงสร้างประชากรในชุมชน มีการวางโครงสร้างแบบไหน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          คนมีความรู้ดีไม่จำเป็นต้องเรียนมาก แต่ต้องฝึกให้เขาคิดบ่อย ๆ  อย่างการมี Methodology ที่ดีจะทำอะไรก็ได้แต่ที่สำคัญต้องมีการ Transfer ไปส่วนอื่นได้ด้วย ถ้าเปลี่ยนได้จะประสบความสำเร็จ เช่น การเข้าใจและนำไปใช้กับชุมชนได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทฤษฎี 3 วงกลมเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ

1. บริบทขององค์กร

          ยกตัวอย่าง อยากให้คนของ กฟผ.มีความเข้าใจชุมชน สิ่งที่ทำคือ ทำเพื่อองค์กร เพื่อประเทศชาติ และเพื่อตัวเอง เราจะมีความมั่นคงทางพลังงานได้อย่างไร

2. Competency

          ค่อย ๆ สร้างผ่านการเรียนรู้

3. Motivation

          เช่น HRDS ประกอบด้วย Happiness ความสุขร่วมกัน , Respect คือ การเคารพนับถือซึ่งกันและกัน Dignity คือการยกย่องให้เกียรติซึ่งกันและกัน และ Sustainable คือความยั่งยืน มีทฤษฎีของ ดร.จีระ ที่นำไปสู่ความยั่งยืนคือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือการเดินทางสายกลาง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 3 ห่วงคือ พอประมาณ มีความสมดุล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยมีเงื่อนไขคือ ความรู้ คู่คุณธรรม

ตัวอย่าง อิทธิพลของ EGAT มีความเข้าใจชีววิถีมากน้อยแค่ไหน         ยกตัวอย่างเขื่อนสิรินธร นำที่ของชาวบ้านมาทำเขื่อน คนที่อยู่ท้ายเขื่อนได้ประโยชน์ แต่คนที่มีปัญหาคือคนอยู่เหนือเขื่อน  ชีววิถีไม่ใช่แค่ EM แต่เป็นการใช้ชีวิตเพื่อให้สิ่งแวดล้อมมีสภาวะแวดล้อมที่ดี เพราะถ้าสภาพแวดล้อมที่ดีจะเกื้อกูลพลังงานที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ชีววิถี ทำ 4 อย่างคือ

1. เกษตร

2. ประมง เช่นเลี้ยงปลานิล สำหรับคนจน เลี้ยงปลาเค้าสำหรับคนมีเงิน

3. ปศุสัตว์

4. ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

สรุปคือ อิทธิพลทางความคิดของ ศ.ดร.จีระ ด้านการพัฒนาคน และทำให้คนสนใจด้านทรัพยากรมนุษย์ อิทธิพลของในหลวงรัชกาลที่ 9 ผ่านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ขอฝากรุ่นนี้ศึกษาเรื่องชีววิถีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน  เราจะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับชุมชน สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร

Learn – Share - Careกฎ 12 ข้อของกระบวน WORKSHOP แบบ Chira Way

1. เลือกประธานกลุ่มที่เหมาะสมเป็นผู้นำ

2. เลือกเลขานุการกลุ่มที่สามารถสรุปประเด็นและจดบันทึกได้ดี

3. ประธานอธิบายหัวข้อว่าคืออะไร คาดหวังอะไร ต้องทำอะไร?

4. บริหารเวลา – มีน้อย/มีมาก

5. สนใจสมาชิกทุกๆ คนในกลุ่ม ศึกษาว่าเขาเก่งอะไร มีศักยภาพเรื่องอะไร

6. กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม

7. สร้างบรรยากาศให้ทุกคนมีเกียรติ

8. สร้างบรรยากาศที่ปลอดภัย ให้ทุกคนอยากพูด ไม่กลัว แต่สุภาพเรียบร้อยถ้าขาดอะไร.. ประธานกลุ่มช่วยเสริม กระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) เป็นหลัก

10.     เลขาฯ สรุป และเตรียมการนำเสนอ

11.     การนำเสนอ – เลือกคนที่มีภาวะผู้นำ อาจเป็นประธานหรือคนอื่น ๆ ก็ได้

12.     ใช้คนนำเสนออย่างน้อย 3 คน จะช่วยให้เกิด “Value Diversity”

Workshopที่ 1  (ใช้ระยะเวลา 8 นาที นำเสนอกลุ่มละ 3 นาที)

1. คำว่า “ศาสตร์พระราชา กับ การพัฒนาผู้นำยุค 4.0” ในความคิดเห็นของท่านเป็นอย่างไร? สำคัญอย่างไร? และท่านคาดหวังอะไรจากการเข้าร่วมหลักสูตรนี้? และมีข้อเสนอแนะอย่างไรเพื่อพัฒนาหลักสูตรนี้

กลุ่มที่ 1  

          การจะประสบความสำเร็จในอนาคตไม่ใช่องค์ความรู้อย่างเดียว แต่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมด้วย เป็นสิ่งที่ต้องสร้างการเชื่อมกันระหว่างพันธกิจและชุมชน ต้องสร้างการยอมรับ เน้นการสร้างความกระหายในการเรียนรู้ ใช้หลักเข้าใจ – เข้าถึง- พัฒนา ใช้การพัฒนางานพร้อมกับชุมชน

          ความคาดหวังคืออยากรู้ทักษะและวิธีในการเข้าถึงเพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานร่วมกัน

กลุ่ม 2

          ในบริบทการบริหารสิ่งที่เจอคือบริบทด้านนอก เทคโนโลยีที่มาเร็ว ชุมชนสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทเข้ามาเยอะ เกิดการแตกต่างทางความคิดตาม Generation ที่แตกต่างกัน สิ่งแตกต่างเหล่านี้ทำให้คนที่ต้องเป็นผู้นำองค์กรเข้าใจ เรียนรู้ และพัฒนา

          ความคาดหวังคือวิธีการนำไปพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุด

กลุ่ม 3

          ศาสตร์พระราชา ได้ยินมานาน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาให้ชุมชนมีความยั่งยืน สิ่งสำคัญคือการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 กฟผ.ต้องปรับตัวให้ทันนวัตกรรมที่เปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นทุนมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงเร็วมากเป็นอย่างไร สุดท้ายที่ต้องทำให้ชุมชนหรือองค์กรอยู่แบบยั่งยืนจะทำอย่างไร วิธีการต้องเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ยกตัวอย่างกฟผ.สมัยก่อนอยู่ได้เพราะเป็นผู้สร้างแต่หากไม่เข้าไปในชุมชนอย่างให้เกียรติและศักดิ์ศรีคงไม่สามารถทำอะไรต่อได้ ปัญหาคือไม่ได้ฝังรากลึกในชุมชนแต่แรก อย่าง กฟผ.มีโครงการชีววิถีในมือแต่ไม่ทำอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้อยู่ในใจกฟผ.อยู่แล้วแต่ต้องพัฒนาต่อเนื่องเรื่อย ๆ

          ความคาดหวังคือ ได้ความรู้หรือประสบการณ์มาใช้กับกฟผ.ได้อย่างยั่งยืน

กลุ่ม 4

          การศึกษาความจริง และข้อเท็จจริง เริ่มต้นจากความเข้าใจ แก่นได้ เข้าถึงได้ ถึงไปพัฒนาได้ เริ่มจากผู้นำต้องเข้าใจก่อน และมีคุณธรรม และในขณะนี้เรากำลังเข้าสู่ยุคที่ 5.0 ที่ต้องเกี่ยวพันกับเทคโนโลยียิ่งต้องเข้าใจ

          ความคาดหวังคือ ยังไม่เข้าใจว่าศาสตร์พระราชาคืออะไร เพราะเราเข้าใจในสิ่งที่เราไม่เข้าใจจะเป็นประโยชน์ และหลังจากเข้ารับหลักสูตรนี้ จะสามารถเข้าถึงและนำไปพัฒนางานต่อได้

กลุ่มที่ 5

          ศาสตร์คือแนวคิด ผู้นำคือสิ่งที่นำความคิดกับศาสตร์มาพัฒนาสู่ชุมชนอย่างยั่งยืนได้อย่างไร และทำอย่างไร  สิ่งที่ปฏิบัติผ่านมาคือการไปบังคับและฝืนความเป็นชุมชน แต่การนำทุกศาสตร์เข้าไปเป็นสิ่งที่ยากมากในการพัฒนาแต่สำคัญเพราะถ้าชุมชนทำตามจะนำไปสู่ความสำเร็จและยั่งยืน ชุมชนรับได้จะก็จะไปต่อได้

          ความคาดหวังคือ ศึกษาศาสตร์พระราชาให้ถ่องแท้ว่าคืออะไร

กลุ่มที่ 6

          เราจะทำอย่างไรเปลี่ยนชุมชนที่คัดค้านเป็นพันธมิตร เป็นเพื่อนเรา พูดแทนเรา ส่งเสริม คัดค้านและสนับสนุนแทนเรา ศาสตร์พระราชาเป็นศาสตร์ที่หล่อหลอมมาแล้วว่าคืออะไร สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นเครื่องมือและปรัชญาที่ดีในการนำสู่การพัฒนาตัวเองให้ยั่งยืน และต่อเนื่อง  ความสำคัญเป็นสิ่งที่แน่นอนเพราะโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

          ความคาดหวังคือ การได้รับความรู้ ความเข้าใจ แรงบันดาลใจ ได้การปฏิสัมพันธ์ รู้เขาว่าอยากได้อะไร และรู้เราด้วยว่าเป็นอย่างไร และหวังใช้พื้นที่แบ่งปันความรู้ เรียนรู้จากคนหลากหลายและจะได้พรรคพวกในที่สุด

กลุ่มที่ 7

          อบรมมาหลายหลักสูตร แต่ละหลักสูตรมีแนวคิดที่จะนำมาประยุกต์รวมกัน ผู้นำ 4.0 คือผู้นำยุคปัจจุบันที่ก้าวทันโลก ศาสตร์พระราชาคือการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนาสู่ความยั่งยืน เราต้องเรียนรู้ศาสตร์พระราชาว่าไปใช้อย่างไร โครงการกฟผ.จะสำเร็จได้ชุมชนต้องยอมรับ ให้ความสำคัญมาก คือทำอย่างไรแล้วจะยั่งยืน นำศาสตร์พระราชาไปพัฒนาโครงการ สิ่งสำคัญคือชุมชน

          ความคาดหวังคือ ได้รับความรู้เพิ่มเติม ความรู้ใหม่ และได้รู้จักกับเครือข่ายต่าง ๆ รวมถึง กสทช. และสี่พระยาก่อสร้าง การทำงานแต่ละภารกิจต้องใช้ความรู้และความสัมพันธ์กับพื้นที่ ในอนาคตอาจต้องใช้ Drone เพื่อสร้างเครือข่ายกับกสทช.ได้ ระดับผู้บริหารควรเน้นเครือข่ายมากกว่า

กลุ่มที่ 8

          เมื่อพูดถึงศาสตร์พระราชานึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งท่านได้สร้างพระราชกรณียกิจเยอะมาก  ได้เห็นมือถือและกล้องติดตัว เพราะพระองค์ท่านต้องการเข้าถึงพื้นที่จริง ๆ ต้องการทราบข้อเท็จจริง คือรู้จริง เข้าใจจริง ๆ และทำให้เห็นตัวอย่างโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ให้บุคคลในพื้นที่มาดูและรับรู้วิธีการต่าง ๆ ประชาชนจะเข้าถึงความคิด เกิดการระเบิดจากข้างใน และยอมรับองค์ความรู้ที่บอกว่าอะไรเหมาะกับพื้นที่และสภาพแวดล้อมนั้น ๆ เมื่อเข้าใจ เข้าถึงแล้วประชาชนจะยอมรับการพัฒนา

          การพัฒนาผู้นำยุค 4.0 ถ้าจะทำอะไรต้องใช้กรอบความคิดเดียวกันคือความเข้าใจ  และเข้าถึงคือการพัฒนาสิ่งใดต้องได้รับการยอมรับจากสังคมด้วย โดยเฉพาะยุคเทคโนโลยีที่เผยแพร่รวดเร็ว ยุค 4.0 ต้องเข้าใจเข้าถึงเหมือนศาสตร์พระราชา และทำอย่างไรให้ยั่งยืนคือนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาให้ถูกต้อง ประหยัดและยั่งยืนได้

          ความคาดหวังคือ ความรู้ที่ลึกซึ้งในศาสตร์พระราชาเพื่อไปประยุกต์ใช้ยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะโดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          1. มาตรฐานการวิเคราะห์ปัญหามีคุณภาพสูง  เพราะมีหลายท่านพูดถึงเรื่องการไว้เนื้อเชื่อใจ และสิ่งต่าง ๆ ถ้าเราคิดเป็นทฤษฎี Ladder Theory ถ้ากระไดมี 10 ขั้น ขั้นแรกคือความรู้เรื่องศาสตร์พระราชา  และ Learning how to learn คือนำความรู้ไปกระตุ้นให้คิด หรือเรียกว่า Process ในการปรึกษาหารือกัน ทำให้การนำเสนอมีคุณค่ามาก นำพื้นฐานที่แต่ละท่านมีไปสร้างให้เกิดความจริง และนำสู่การนำเสนอโครงการนวัตกรรมในวันสุดท้าย และทุกครั้งที่ทำโครงการต้องเริ่มต้นด้วยกันและคิดด้วยกัน

          2. อ่านสรุปบรรยายหลักสูตรศาสตร์พระราชปีที่แล้วว่าพูดอะไรบ้าง หลักสูตรปีที่แล้วและปีนี้ต้องทำให้เหมือนไข่ดาวและขนมปัง มีการผสมผสานที่ดีและมีความต่อเนื่อง

          3. ความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ชุมชนอย่างเดียว แต่อยู่ที่องค์กรของเรา ที่ต้องมีความเข้าใจและ Process ในการเรียนรู้ ไม่ใช่แค่ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย แต่ให้ทุกคนที่เรียนรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลว่าเราได้อะไรจากการเรียนรู้

          การมาอยู่ที่นี่ของอาจารย์จีระ ก็เสมือนได้เรียนรู้จากทุกท่านด้วยเช่นกัน

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ  Project Coaching and Effective Project Presentation (1)

โดย     ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

Business Model

เป็นการมองถึงอนาคตของธุรกิจ

คำถาม

1. การเติบโตของ EGAT ปัจจุบันเป็นอย่างไร? (Zero Growth, Slow growth, Minus Growth, High Growth)

เราจะทำธุรกิจแบบเดิม แบบสัมพันธ์กับแบบเดิม หรือไม่สัมพันธ์เลย

สิ่งที่ควรคิดคือ

1. มองภาพธุรกิจรอบด้าน

2. ธุรกิจที่จะทำใหม่ตอบโจทย์ลูกค้าหรือไม่

3. เชื่อมโยงกับระบบนิเวศหรือไม่

การแสดงความคิดเห็น

ระบบนิเวศน์คือระบบเครือข่ายของเรามีความใกล้เคียงกัน การจำหน่ายจะให้ใครบ้าง สิ่งสำคัญคือธุรกิจตอบโจทย์สังคมและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และตอบอย่างไร เมื่อคิดโครงการขึ้นมาจะทำอย่างไรให้เกิดคุณค่าที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และมูลค่าที่มี่ต่อองค์กรเป็นหลัก

ระบบนิเวศน์ธุรกิจ

          ธุรกิจที่ล้มเหลวคือไม่เข้าใจระบบนิเวศน์ทางธุรกิจ คือ

1. ระบบนิเวศน์ธุรกิจแบบออกแบบเอง เช่น แอปเปิ้ล

          - ออกแบบเพื่อครอบคลุมทุกวงจร

          - แทรกซึมธุรกิจอื่นได้หรือไม่

ระบบนิเวศน์ธุรกิจแบบใหม่

          ปัจจุบันมีความซับซ้อนกว่าเดิม  ทุกท่านใช้มือถือ Smart Phone มีใครไม่เคยซื้อสินค้าผ่าน Smart Phone บ้าง หรือใครบ้างลองธุรกิจในห้างแล้วกลับมาซื้อ Smart Phone

          สรุปคือ ถ้าธุรกิจแบบเดิมทำแบบเดิมไม่นึกถึงระบบนิเวศน์ที่เปลี่ยนแปลงใหม่จะยาก

กลุ่มที่นั่งตรงนี้ต้องนั่งคุยกันว่าตัวที่ทำให้ธุรกิจเกิดขึ้นจริงจะเป็นแบบไหน

Why? Business Model

1. Tangible & Intangible

          - สิ่งที่จับต้องได้เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ฯลฯ

          - สิ่งที่จับต้องไม่ได้ จะมีมูลค่ามหาศาล เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ความรู้ Know how  คือสิ่งที่ไม่สามารถประเมินได้ว่าเป็นแบบไหน ซึ่งแนวโน้มโลกจะเป็นแบบนั้น

2.  ** Business Model ชนิดใหม่คือ Less is More คือน้อยแต่ได้มาก

          - การลงทุนแบบ Smart และผลที่ได้กลับมาคือ Value สูง

Less is More Business

วิเคราะห์จาก 1. Cost         2. Benefit

ตัวอย่าง กฟผ.ปัจจุบัน Cost สูง แต่ Benefit กำหนดราคาไม่ได้ แต่ถ้ากำหนดราคาจริง ๆ สามารถทำได้

- สินค้าส่วนใหญ่ ต้นทุนสูงกำไรน้อย

- สินค้า Know How ต้นทุนไม่สูงกำไรมาก

สรุปคือสิ่งที่ทุกท่านต้องคิดต่อไปใน Business Model ยุคดิจิทัลจะทำอย่างไร เช่น Uber , Airbnb ,drivemate, fastwork ใช้ Business Model ที่เป็น Platform โดยไม่มีสินค้าเป็นของตัวเอง แต่ใช้วิธีการรวบรวมของจากคนที่มีสร้างเป็น Platform

กรณีศึกษา

          ปตท. สินทรัพย์ 1.1ล้านล้านบาท มากกว่า Apple ที่มี 2 แสนล้านบาท แต่ผลตอบแทนของ ปตท. 9% แอปเปิ้ล ผลตอบแทน 172 % คำถามคือใครควบคุมระบบนิเวศน์ดีกว่า

          สิ่งนี้คือวิธีคิดธุรกิจที่เรียกว่า Less is more

Business Model ที่จะทำในอนาคตจะทำอย่างไร ?

1. ตอบโจทย์ลูกค้า

2. มีความแตกต่าง

3. ตอบโจทย์ EGAT

การแสดงความคิดเห็น

1. กฟผ. มีข้อจำกัดต่างจากหน่วยงานอื่นเนื่องจากมีกระทรวงพลังงานควบคุม

คำตอบคือ

1. ในวันข้างหน้าสามารถทำอะไรได้มากกว่าไฟฟ้า

2. มีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอะไรกับไฟฟ้าหรือไม่

          และถ้าธุรกิจไม่สามารถเดินต่อไปได้ พรบ. สามารถปรับปรุงได้หรือไม่ ในเชิง Business เราต้องอยู่รอด ดังนั้นสิ่งที่ต้องคิดคือ Business Mindset ที่ต้องปลูกฝังกับองค์กรในอนาคต

          ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่อยู่ใน พรบ.คล้ายกับ กฟผ.เช่น

- การท่าเรือเวลาคิด Port จะคิด Port ที่อยู่ในน้ำ ก็สามารถทำธุรกิจที่ร่วมทุนกับต่างชาติได้

- การเคหะฯ กรณีแผนก่อสร้างที่ดินแดง มีการนำระบบดิจิทัลเข้ามาใช้จำนวนมาก

คำถามคือ

Business Model Canvas 9 ข้อ

1. ทำธุรกิจอะไรที่มีคุณค่าและตอบโจทย์ลูกค้า

          - คิดจากจุดที่ลูกค้ามีปัญหาแล้วนำมาทำได้หรือไม่ เช่น Uber คิดจากการเรียกแท็กซี่และไม่มีลูกค้า

          - ใครเป็นลูกค้า

          - ช่องทางเป็นอย่างไร

          - สร้างความสัมพันธ์อย่างไร

คำถามคือ

1. จะทำอะไรที่มีคุณค่าและมูลค่าต่อลูกค้า (Value Prepositions)

2. ใครจะซื้อ ช่องทาง ความสัมพันธ์เป็นแบบใด (Customer Segments, Channels, Customer Relationships)

3. ทำอย่างไร (Key Resources , Key Activities, Key Partners)

4. คุ้มไหม (Cost Structure ,Revenue Streams)

สรุปคือคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการคืออะไร อย่างการไฟฟ้าจะทำอะไรได้บ้าง

วิเคราะห์ Business Model

1. Value Prepositions คุณค่าที่ส่งมอบ อาทิ Organic Products, One Stop Service

          - คุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการคืออะไร

          - บริการของเราช่วยแก้ปัญหาในจุดไหนของลูกค้า

          - ผลิตภัณฑ์และบริการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าอย่างไร

2. Customer Segments กลุ่มลูกค้าของเราเป็นกลุ่มไหน

          - B2B (งานใหญ่ งานกลาง งานเล็ก) หรือ

- B2C (Niche Market, Mass Market)

3. Channels ขายอย่างไร ? ผ่านทางไหน?

          1.การขายเองโดยตรงผ่านหน้าร้าน ผ่านเว็บ หรือผ่านทางคู่ค้า

          2. ช่องทางที่มี่ประสิทธิภาพ สามารถกระจายคุณค่าของธุรกิจไปยังลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพรวมไปถึงการใช้ต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

4. Customer Relationships การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างไรบ้าง ?

          มีเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่คอยให้ความช่วยเหลือ Facebook, Twitter, ศูนย์บริการ (Call Center) หรือช่องทางที่ช่วยให้ลูกค้าช่วยเหลือตัวเองได้เช่น Web-Self Service เป็นต้น

5.Key Resource ทรัพยากรหลักของบริษัท

          - เงินทุน ทรัพยากรบุคคล  เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา

6. Key Activities กิจกรรมสำคัญ

          - กระบวนการปฏิบัติงาน

          - การจัดการ Supply chain ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ถ้าคุมได้จะสามารถคิดธุรกิจได้ครบขั้นตอน Supply Chain

7 Key Partner คู่ค้าหรือแหล่งวัตถุดิบสำคัญ

          - หุ้นส่วนที่ไม่ใช่คู่แข่ง

          - หุ้นส่วนที่เป็นคู่แข่ง

          - หุ้นส่วนที่รวมกันแล้วเกิดเป็นธุรกิจใหม่

          - หุ้นส่วนแบบต้องพึ่งพากันจึงจะอยู่รอด

8. Cost Structure วิเคราะห์ต้นทุน ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไร

          เช่น ค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบ , ค่าระบบฐานข้อมูล , ค่าใช้ข่ายอันเกิดจากวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม , ค่าใช้จ่ายด้านการผลิต และค่าใช้ข่ายด้านการตลาด เป็นต้น

          - ต้นทุนคงที่

          - ต้นทุนผันแปร

          - ต้นทุนผลิตมากแล้วถูกลง

          - ต้นทุนซ้อรวมกันแล้วถูกลง

9. Revenue Streams การหารายได้ของเราเป็นอย่างไร เงินสามารถเข้าสู่ธุรกิจได้ทางใดบ้าง เช่น ขายสินค้า ค่าบริการ ค่าสมาชิก ค่ายืมหรือค่าเช่า ค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขาย ค่าโฆษณา

          ยกตัวอย่าง 7-Eleven ทำอะไร เพื่อตอบโจทย์ระยะเวลาอันสั้น มีช่องทาง มีสาขา มี E-Stamp มีทรัพยากรอะไรบ้าง

          Starbucks Business Model วิธีคิดคือ 1. Unique Coffee  2.คิดงานหรือทำธุรกิจโดยไม่คิดเวลาชั่วโมง มีคน มี Brand มีโรงงานผลิต  พนักงาน Starbuck เมื่อเวลาไม่มีคนวัฒนธรรมคือคุยกันในการปรับปรุงร้านค้าแล้วบันทึกส่งไปที่สำนักงานใหญ่  ต้นทุนมีค่ากาแฟ ค่าเช่า ค่าทุน และรายได้มาจากการขายกาแฟ ขายของที่ระลึก 

          สรุปคือ อนาคตถ้าทำธุรกิจเป็นไปได้หรือไม่ที่จะไม่สร้างเอง แต่เก็บค่า License ได้หรือไม่ การทำธุรกิจต้องคิดรอบด้าน

การนำเสนอโครงการเชิงนวัตกรรมในวันสุดท้าย

          ต้องคำนึงถึงเรื่องศาสตร์พระราชา ซึ่งหมายถึงความยั่งยืน ดังนั้นสิ่งที่ต้องเพิ่มในการเขียน Business Model 9 ข้อ เป็น 11 ข้อคือ

10. Social and Environmental Cost

11. Social and Environmental Benefit คือคุณค่าที่มีต่อองค์กรแล้ว คุณค่าที่มีต่อสังคมมีอะไรบ้าง

          ธุรกิจยุคใหม่ ไม่ใช่ทำ Minimize cost แต่ต้องทำอย่างไรให้เป็น Reasonable Profit , Smart Cost และตอบโจทย์ทุกคนร่วมกัน เช่น การใช้ Block chain Technology เช่นถ้าแต่ละบ้านมี Solar Roof และ Smart Tool จะเกิดอะไรขึ้นกับ กฟผ.

          ถ้าไม่สามารถทำให้ธุรกิจเติบโตและแข็งแกร่งทุกท่านต้องเป็น Think Tank ในการคิดธุรกิจขึ้นมา  สรุปคือทุกท่าต้องคิดธุรกิจที่ Smart ต้องใช้กระบวนการในการกลั่นกรอง

การคิดโจทย์นำเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานที่มีอยู่

เวลาคิดแผนต้องตอบโจทย์ใน 11 ช่อง และนำไปใช้ได้จริงคือ

1. Value Prepositions คุณค่าที่ส่งมอบ

2. Customer Relationships การสร้างความสัมพันธ์

3. Channels ขายช่องทางไหน

4. Customer Segments กลุ่มลูกค้าของเราเป็นกลุ่มไหน

5.Key Resource ทรัพยากรหลัก

6. Key Activities กิจกรรมสำคัญ

7 Key Partner คู่ค้าหรือแหล่งวัตถุดิบสำคัญ

8. Cost Structure วิเคราะห์ต้นทุน

9. Revenue Streams การหารายได้

10. Social and Environmental Cost

11. Social and Environmental Benefit

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ขอแนะนำเรื่อง

- การไม่ต้องวิตกกฎระเบียบมากนัก

- อยากให้ธุรกิจไปสู่ชุมชนมากหน่อย แทนที่จะเป็น Customer ทั่วไป อยากให้เป็น Area Base มากขึ้น คิดแบบ Modern Business และถ้า Business เป็นประโยชน์กับชุมชน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นที่ดอยตุงแต่ที่ไหนก็ได้ Business คือกิจกรรมที่ กฟผ.คิดได้ คือ Knowledge หรือ Knowhow

2. การเริ่มต้นคิดจากช่องไหน

          1. เริ่มจาก Value Preposition คือคุณค่าที่ส่งมอบ

2. ใครคือ Customer, ช่องไหนก่อน, สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างไร สินค้าบริการอะไรที่ส่งมอบให้ลูกค้า ขายกลุ่มไหน ช่องทางไหน และจะส่งต่อลูกค้าอย่างไร

3. Key Resources คือทำให้สำเร็จต้องทำอะไรบ้าง แล้วคิด Activities และหา Partner

4. วิเคราะห์ต้นทุนของเราว่าเป็นแบบไหน และรายได้มาจากไหน 

5. ท้ายสุดเราจะมีต้นทุนที่จะ Contribute ให้กับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เช่น Green Business ต้องมีต้นทุนในการทำ และสุดท้าย Benefit ที่องค์กรได้และชุมชนได้คืออะไร เช่น Contribute 60% สู่ชุมชน 40% เข้ากระเป๋าเป็นต้น

          สรุป สิ่งที่ทำคือการสร้างคุณค่า สามารถตอบโจทย์ EGAT และสังคมได้ด้วย

เพิ่มเติมโครงการที่เราจะทำและชื่อว่าอะไร

หัวข้อการโครงการเบื้องต้น

กลุ่มที่ 1 จะทำโรงไฟฟ้าเพื่อชุมชนเพื่อความยั่งยืน

แนวคิดคือ พูดถึงโรงไฟฟ้าคนจะไม่ชอบ แต่ว่าถ้าชุมชนเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าและชุมชนเป็นคนผลิตเชื้อเพลิง เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า ชุมชนจะมีรายได้จากการผลิตไฟฟ้า สิ่งที่จะได้คือ จะมีรายได้อย่างต่อเนื่องและไม่กลัวโรงไฟฟ้า กลุ่มที่จะเป็นเครือข่ายในอนาคตอาจมีการขยายเพื่อนที่จะผลิตด้วย

กลุ่มที่ 2 ศูนย์ Senior Healthcare Center

          เป็นผู้สูงอายุต่างชาติ จะดูแลผู้ป่วยต่างชาติ เนื่องจากดูศักยภาพจากการมีที่รับรอง ปรับปรุงดูแลผู้สูงอายุ

          กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุต่างประเทศ และกลุ่มเกษียณอายุ

          รายได้จะนำรายได้ให้ชุมชน นำลูกหลานชุมชนมาเรียน อบรม การดูแลพื้นที่ใช้ชุมชนบริเวณรอบ ๆ รายได้ที่แบ่งปัน ผู้สูงอายุของลูกหลานจะได้รับดูแลผู้สูงอายุ

กลุ่มที่ 3 การต่อยอดจากโครงการชีววิถี

          ทำเป็นเครือข่ายบ้านพักรับรองของลูกเขื่อนของ กฟผ. ทำเป็นโฮมสเตย์คือ มีสินค้าโอทอปอยู่แล้ว ก็ทำเป็นอาชีพ กฟผ.น่าจะสนับสนุนให้ชุมชนมีอาชีพและอยู่อย่างยั่งยืน ทำเป็นเครือข่ายชุมชนรอบเขื่อน รูปแบบคล้ายบ้านแม่กำปอง ทำเป็นโฮมสเตย์ หรือบ้าน…เชียงใหม่

กลุ่มที่ 4 Green Energy

          การรับซื้อพลังงานสีเขียวเพื่อไปจำหน่ายต่อโรงงานอุตสาหกรรม ทำอย่างไรจะรับซื้อพลังงานสีเขียมมากขึ้น และกฟผ.ตั้งต้นรับซื้อพลังงานสีเขียวได้ สร้างรายได้

กลุ่มที่ 5 ดูแลผู้สูงอายุ

          ไม่เหมือนกลุ่ม 2 ต้นทุนทางวัฒนธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ และคาดว่าในอนาคตผู้สูงอายุจะมากขึ้น ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น สิ่งอำนวยความสะดวก และต้นทุนน่าจะคล้ายกลุ่ม 2 แต่พื้นฐานความคิดมาจากที่ต่างกัน

กลุ่มที่ 6 EGAT College

          ขาย Knowledge  Learning Center เพราะว่าทรัพยากร EGAT ที่มีค่ามากคือคน มีการสะสมองค์ความรู้มาก น่าจะนำมาเผยแพร่ ขายและต่อยอดได้

กลุ่มที่ 7 การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

          เน้นลูกค้าเกรด A ในระดับพรีเมี่ยมคือการดูแลลูกค้าทั้งหมดทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ มีการเชิญ Partner มาช่วย ตั้งแต่การดูแลผู้สูงอายุ โดยดึงชุมชนท้องถิ่นเข้ามา มีการส่งเสริมอาชีพ เช่นการนวดไทย จนกระทั่งถึงการดูแลผู้ป่วยติดเตียง มีแพทย์ พยาบาล ดูแลด้านการสาธารณสุขให้ได้รับการดูแลที่ดีตั้งแต่ต้นจนวาระสุดท้าย ส่วนอีกด้านหนึ่งทำเป็นรีสอร์ทเพื่อมาเยี่ยมเยียนผู้มาพัก Partner เป็นคนมาพัก ทำให้พื้นที่ของ กฟผ.ซึ่งมีหลายแห่งสามารถสร้างรายได้ได้ดีและตอบสนองสังคมโลก  คนที่มีศักยภาพในการจ่ายน่าจะเข้ามาด้วย

กลุ่มที่ 8 EV Charger Station

          เรื่อง EV Charger Station มีสถานี Charge Battery เปลี่ยน Battery สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า มีแบตเตอรี่ในการสำรอง เราจะใช้ Station ในศูนย์ไฟฟ้าจ่าย ไม่ต้องเสียค่าที่ ได้ไฟถูก อย่างกรณีบัตรเงินและบัตรทอง และมีการสร้าง Loyalty ให้คนมาเติบเรื่อย ๆ

ข้อเสนอแนะจาก ดร.เกริกเกียรติ

แต่ละกลุ่มดูการตอบโจทย์ ศาสตร์พระราชาได้หรือไม่ และท้ายสุดทุกธุรกิจจากนี้ที่เป็น Business Model ต้องให้สังคมเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่กำไรเป็นตัวตั้ง ไม่เช่นนั้นจะไม่อยู่อย่างยั่งยืน

ปาฐกถาพิเศษ

หัวข้อ  เรื่องเล่าจากศาสตร์พระราชา…ถอดบทเรียนความสำเร็จสู่การพัฒนา

โดย     นายลลิต ถนอมสิงห์

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562

(บันทึกสรุปการเรียนรู้โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)


คำถาม : ทุกท่านอยากฟังเรื่องอะไรเกี่ยวกับศาสตร์พระราชา ?

การแสดงความคิดเห็นจากผู้เข้ารับการอบรม

1. ศาสตร์พระราชาคือพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9  อยากรับรู้การประยุกต์ใช้ในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างไร เนื่องจากมีบริบทที่แตกต่างกัน อยากเห็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้และผลออกมาเป็นอย่างไรบ้า ไม่ต้องลองถูก ลองผิด เป็นลักษณะการเรียนรู้จากประสบการณ์

2. สิ่งที่ท่านอาจารย์ภูมิใจในการติดตามในหลวงรัชกาลที่ 9 แล้วประสบความสำเร็จ

------------------------------------------------------

แนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9

แนวพระราชดำริของในหลวง ร.9 ไม่ใช่สูตรสำเร็จ  ไม่ใช่การคิดเป็นชิ้น ๆ แต่เป็นเรื่องการน้อมนำไปใช้ประโยชน์

อาจมองว่าเข้าใจยาก แต่ความจริงแล้วเป็นเรื่องที่ฟังแล้วเข้าใจง่าย ให้ฟังถึงสิ่งที่ปรารถนาในสิ่งที่อยากให้เป็น นำบทเรียนไปประยุกต์ พัฒนาและปรับใช้ในองค์กรได้

สิ่งที่อยากนำเสนอคือ

สิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำเหมือนเข้าใจยาก แต่จริง ๆ ไม่เข้าใจยากเลย แต่เป็นสิ่งที่ประเสริฐในการน้อมนำพระราชดำริไปปฏิบัติ

          เราไม่ได้ปฏิเสธการพัฒนา หลายสิ่งที่ประเทศพัฒนาเจริญขึ้นมาก แต่สิ่งที่หลงเหลืออยู่คือการศึกษาว่าหลายสิ่งที่ทิ้งไว้จากการพัฒนาคืออะไร คนที่มีโอกาสดีสามารถขึ้นได้ดี แต่คนที่ไม่มีโอกาสจะสามารถขึ้นได้หรือไม่ คนในชนบทไม่ใช่จนแล้วไม่ฉลาด หลังจากที่ทำงานพบว่าคนชนบทมีอะไรที่ดีกว่ามาก ดังนั้นโอกาสในการใช้ชีวิตและดำรงชีวิตที่อยู่อย่างเป็นสุข เป็นเรื่องที่น่าสนใจ จะทำอย่างไรให้คนเหล่านั้นได้รับโอกาสและเข้าถึงโอกาสเหล่านั้น 4 พันกว่าโครงการฯ เป็นบทเรียนการพัฒนาที่ดี ที่ทำให้คนทุกภาคได้เข้าถึงโอกาสต่าง ๆ เหล่านั้นในทุกมิติในทุกเรื่อง

ปัญหาคือประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสทำให้ประชาชนยากจน

          การพัฒนายังมีปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สิ่งที่พบคือประชาชนยังยากจนอยู่ แต่ความหมายของคำว่ายากจนมีการคำจำกัดความยาก บางคนอาจมองว่าความยากจนคือ ต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน แต่ความจริงเป็นอย่างนั้นจริงหรือ ถ้าอย่างนั้นแล้วขอทานที่มีรายได้มากกว่า 3,000 บาทจะเรียกว่ายากจนหรือไม่  

ในเรื่องเหล่านี้ในหลวงรัชกาลที่ 9 รับทราบดี  พระองค์ท่านจึงมองว่าที่ปัญหาประชาชนยากจนนั้นความจริงแท้คือ การขาดโอกาสในการเข้าสู่สังคม

          ประเด็นคือ การใช้ชีวิตของคนไทย ต้องการไปถึงจุดหมายโดยไม่ได้คิดว่าชีวิตจะเป็นอย่างไร แล้วใช้ประเทศเดินหน้าไปโดยไม่ได้ยั้งคิดว่าคืออะไร

Thailand 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย

คำว่า 4.0 คือการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามามีบทบาท ในยุค 4.0 เราต้องเน้นเรื่องการพัฒนาคน การจัดการคน เห็นคุณค่าของคน คุณค่าทางวัฒนธรรม ทางสังคมที่มีอยู่

          - เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

          - เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง“นวัตกรรม”

          - เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

          - เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิต ไปสู่ภาคบริการมากขึ้น

          - 4.0 คือ ยุคของนวัตกรรมและโลกที่ทันสมัยในการประยุกต์ Digital Life ผนวกกับนวัตกรรม

- เป็นยุคของการบริหารจัดการคนเป็นเรื่องของความเชื่อในความเป็นมนุษย์และคุณค่าที่มีอยู่ในตัวทุกคน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงพัฒนาประเทศอย่างไร

ยกตัวอย่างทำไปต้องเป็นหญ้าแฝก แต่เป็นหญ้าอย่างอื่นได้หรือไม่ หรือพระราชทานฝายในล้ำห้วย ความจริงคือหญ้าแฝก หรือฝายเป็นแค่เพียงตัวอย่างที่พระองค์ท่านอยากให้คิด

พระองค์ท่านทรงพัฒนาระบบให้คนคิดต่อ สอนให้คนคิดต่อว่าจะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่พระราชทานอย่างไร อะไรคือสิ่งที่มีความจำเป็นในชีวิต ที่จะต้องแก้ไขและดูแลโดยด่วน เพราะการสานต่อสิ่งเหล่านั้นเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องไปคิดต่อเพื่อพึ่งตัวเองได้

สิ่งที่ต้องคิดคือจะจัดการอย่างไร  พระองค์ท่านสอนให้คิดว่าจะพัฒนาต่ออย่างไร สอนให้คิดและพัฒนาอยากรู้ว่าจะไปทำอะไรต่อ  อย่างการดูงานไม่ใช่ชะโงกทัวร์ แต่ต้องเป็นการดูงานที่ได้ความรู้สู่การพัฒนา

สิ่งที่พระองค์ท่านจะทำในช่วงระยะเวลาที่ขึ้นครองราชย์ มีหลักการ มีแนวทาง มีวิธีการ บนข้อจำกัดที่ต้องมี เป็นสิ่งที่ทำเต็มความสามารถตรงตามที่พระองค์ท่านรับสั่ง คือการสร้างความสุขให้พวกเรา อย่างสิ่งที่เราเป็นอยู่นี้คือสิ่งที่พระองค์ท่านสร้างไว้ให้มีความสุขสบาย

สิ่งที่ต้องเปลี่ยนผ่านตลอดระยะเวลาในการแก้ปัญหาพระองค์ท่านมีบทบาทสำคัญ

1. เข้าใจความคิด

          การเข้าใจความคิดของคนเป็นศาสตร์ที่สำคัญ  การที่คนมีความคิดเป็นตัวของตนเอง สิ่งสำคัญเข้าใจคือบริบทของคน หมายถึงต้องเข้าใจภูมิสังคม คือต้องเข้าใจภูมิศาสตร์และสังคมศาสตร์ควบคู่กัน

เราต้องเข้าใจถึงความคิดของเขาเหล่านั้น ไม่ปฏิเสธ ยอมรับ เปิดใจรับฟังในสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่า สุข ทุกข์ เชื่อ ต่อต้าน

แต่ต้องเข้าใจว่าสิ่งที่ควรจะเป็นคืออะไร สิ่งที่ถูกต้องคืออะไร ซึ่งอาจไม่ใช่สองความคิด แต่คือสิ่งที่ดีที่สุด ณ ขณะนั้น คงไม่สามารถพูดเป็นชิ้น ๆ ได้

2. สร้างโอกาส

          นอกจากการเข้าใจแล้ว พระองค์ท่านทรงสร้างโอกาสให้กับประชาชน เช่นชาวบ้านที่ห้วยทราย อยู่ไม่ได้เพราะแห้งแล้งมาก ทำมาหากิจอะไรไม่ได้ ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น

          สร้างโอกาสให้คนได้เห็น ว่าสิ่งนี้คือวิธีการ แต่การทำไม่ต้องเลียนแบบ เพียงแค่ขอให้นำไปคิด ไปทำ และทำให้ประสบความสำเร็จ

          ไม่สามารถ Copy งานโครงการพระราชดำริฯ ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ เพราะเป็นสิ่งที่ Copy ไม่ได้ แต่ต้องเรียนรู้จากความตั้งใจ ความละเอียด

          ยกตัวอย่าง การพัฒนาดอยตุง เสมือนให้ชาวบ้านแก้ผ้า แล้วจะทำให้รู้ว่าเราจะพัฒนาเขาอย่างไร แต่เราคงไม่ต้องทำตามอย่างนั้น

3. การพัฒนาคน พัฒนาความคิด พัฒนาชีวิต “พัฒนา” เพื่อความสุขของประชาชน”

          พระองค์ท่าน ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ก็นเพื่อแสดงให้เห็นตัวอย่างของความตั้งใจที่มีในตัวของแต่ละคนเอง พระองค์ท่านทรงสอนให้คนยืนบนขาตัวเอง พึ่งตนเอง อย่าหวังว่าไปดูโครงการพระราชดำริแล้วนำไป Copy เพราะจะไม่สามารถพัฒนาได้

          ให้สร้างสรรค์สิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง และต่อยอดจะเสมือนดอกไม้ที่โตเองแล้วเบ่งบานและงาม

           

โครงการพระราชดำริ (กว่า ๔,๐๐๐ บทเรียน : โครงการ)    

          อยากให้ใช้ว่าเป็นบทเรียน ไม่ใช่โครงการฯ เพราะสามารถเป็นบทเรียนที่สามารถเรียนรู้ทั้งประสบความสำเร็จและล้มเหลว

          สิ่งที่จะพูดคือ แก่นของความคิด ที่พระองค์ท่านฝากไว้ เราจะเรียนรู้จากสายตา นำไปประยุกต์ และปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละท่าน

          มีหลายสิ่งที่พระองค์ท่านฝากไว้ เช่น ฝนหลวง ทุกสิ่งที่พระองค์ท่านฝากไว้ในประเทศไทย ในสถานที่ ในเรื่องต่าง ๆ เป็นสิ่งที่พระองค์ท่านนำไปใช้ประโยชน์

“... การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์

ในสังคมวิทยา ภูมิประเทศตามสังคมวิทยา คือนิสัยใจคอของคน เราจะไปบังคับให้คนคิดอย่างอื่นไม่ได้

เราต้องแนะนำ เราเข้าไปช่วย โดยที่จะคิดให้เขาเข้ากับเราไม่ได้  แต่ถ้าเราเข้าไปแล้ว เราเข้าไปดูว่า

เขาต้องการอะไรจริงๆ แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจ หลักการของการพัฒนานี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง …”

          เราแค่อธิบายให้เขาเข้าใจตัวเขาเอง เราเป็นเพียงคนนอก มีหน้าที่สนับสนุน และส่งเสริมให้เขาไปถึงจุดหมาย เพราะเราไม่สามารถบังคับใครได้

ภูมิสังคม

ภูมิศาสตร์ : ธรรมชาติ

- ภูมิประเทศ   ทรัพยากรธรรมชาติ

- สิ่งแวดล้อม ( ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ )

สังคมวิทยา : คน

- อุปนิสัย  ภูมิปัญญา

- วัฒนธรรมประเพณี  ความเชื่อ

การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ

“การพัฒนา คุณภาพ ของประชาชนให้สามารถ พึ่งพาตนเองได้ พอเพียงต่อการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักการของ เหตุผล เป็นเครื่องมือในการเข้าถึง ความจริง หรือ ความรู้ ที่ปฏิบัติได้จริง เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้กับตนเอง ครอบครัว และประเทศ รวมทั้งเพื่อให้เกิด ความพร้อม รับการเปลี่ยนแปลงใดๆที่จะเกิดขึ้น เพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศให้สงบ มั่นคง และยั่งยืนสืบไป”

- การพัฒนาความคิดคน เป็นคนกตัญญูดีแล้ว แต่ต้องพึ่งพาตัวเองให้มากขึ้น อย่าไปพึ่งพาคนอื่นมากนั้น ใช้เหตุผลเป็นเครื่อง

          - มีเหตุผลในการเข้าถึงความจริง

- มีใจเข้มแข็งพอที่จะเอาชนะอุปสรรค

ศาสตร์พระราชา คือ

1. ธรรม/ความจริง

2. ธรรม-ธรรมชาติ /ความรู้  

          หมายถึงสิ่งที่ดีที่มีอยู่ในตัว

พระองค์ท่านสอนให้ ทำ ทำ ทำ

          ทำแล้วต้องคิดให้ไว แล้วจะรู้ว่าถูกหรือไม่ ต้องแก้ไขปัญหาให้เร็ว

พระองค์ท่านทรงทำอะไร? – “ทำราชการ”- ทรงทำ ตามงานพระองค์ท่าน ทำตามหน้าที่ของพระองค์  ทำอย่างไร และทำทำไม

ทรงทำอะไร อย่างไร ทำไม

1. ทรงทำอะไร - ทรงสร้างต้นแบบ บทเรียนในการเรียนรู้ “ ประโยชน์สุข ”

ทรงสร้างต้นแบบ พระราชทานบทเรียนในการเรียนรู้ โครงการพระราชดำริ  กว่า ๔,๐๐๐ บทเรียน เช่น

- ความคิดริเริ่ม - โครงการส่วนพระองค์

- แก้ไขปัญหาเฉพาะ - โครงการหลวง

- ความมั่นคง - โครงการตามพระราชดำริ

- สนับสนุนการพัฒนาประเทศ - โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

- เสริมงานพัฒนา – มูลนิธิชัยพัฒนา ฯลฯ

กรณีศึกษา : อ่างเก็บน้ำใต้ดินที่เชียงดาว : เขื่อนปิดปากถ้ำหินปูน

พระองค์ท่านรับสั่งให้ทำเขื่อนปิดปากถ้ำหินปูน 12.5 เมตร น้ำเหลือ 10,000 ลูกบาศก์เมตร (ไม่มีใครทำถวายด้วยเหตุผลคือ ไม่มีใครทำในโลกนี้มาก่อน)

ทำเขื่อนเสร็จภายในวันเดียว ทูลเชิญในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จทอดพระเนตร แต่ภายในเดือนกว่าน้ำแห้ง มีหลายคนบอกว่าทำทำไม เอาเงินมูลนิธิฯทำทำไม

หลังจากนั้น 3 ปีผ่านไป มีจดหมายมาว่า ต่อไปการทำอ่างเก็บน้ำจะยากลำบากเพราะรบกวนประชาชน ให้ทำอย่างกรณีศึกษาเขื่อนที่เชียงดาว

ให้ไปหาอีกที่หนึ่งที่แม่ฮ่องสอน พระองค์ท่านรับสั่งให้ทำอีกเหมือนที่เชียงดาว แต่เบื้องต้นไม่รู้ว่าทำทำไม

สอบถามอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ไปตรวจสอบข้อมูล แล้วถึงรู้เหตุผลว่า ทำไมทำเขื่อนปากถ้ำหินปูน ในที่สุดรู้แล้วว่าเป็นต้นแบบการพัฒนาน้ำของประเทศไทยในภาคเหนือ ถ้าทำได้ดี ประเทศไทยจะไม่ขาดน้ำ

ข้อสรุป สิ่งที่น้ำรั่วจากเขื่อนปิดปากถ้ำหินปูน คือรั่วไปให้ชาวบ้านใช้ทำการเกษตร  จากการสอบถามชาวเขามา 3 ปี น้ำไม่แห้ง     

ประเด็นคือน้ำผิวดินเพิ่มมากขึ้น คนที่ใช้ประโยชน์รู้ว่าเขาใช้อะไร แต่ผู้รู้ไม่รู้ว่าใช้ทำอะไร เพราะไม่ยอมรับว่าไม่รู้

2. ทรงทำอย่างไร - ทรงสอน ให้รู้จักคิด โดยใช้ เหตุผล และความจริง “ ธรรม ”

 “... ผู้ที่มุ่งหวังความดี  และความเจริญมั่นคง ในชีวิตจะต้องไม่ละเลยการศึกษา ความรู้ ที่จะศึกษามีอยู่ สามส่วน คือ ความรู้วิชาการ ความรู้ปฏิบัติการ  และ ความรู้คิดอ่าน ตามเหตุผลความจริง

ซึ่งแต่ละคน ควรเรียนรู้ให้ครบ เพื่อสามารถนำไปใช้ประกอบกิจการงาน และแก้ปัญหาทั้งปวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ... ”                        พระบรมราโชวาท  วันที่ 24 มกราคม 2530

    

          การใช้ความรู้ทั้งวิชาการ และปฏิบัติจะทำให้กระบวนการพัฒนามีประสิทธิภาพ  สิ่งสำคัญคือ ความคิดอ่านตามเหตุผล และความเป็นจริง เช่น คนบริเวณนั้นใช้น้ำติดบ่อ การเสียเงินทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนแถวนั้น ควรทำอย่างไรให้คุ้มเช่น อ่างเก็บน้ำที่เชียงดาว ใช้จำนวนเงินไม่มาก ไม่จำเป็นต้องลงทุนมากเกินความจำเป็น ควรใช้ความรู้ 1 ใน 3 ในการทำ อย่าติดตำรา ให้นำความรู้ที่มีอยู่ในตัวคุณเอง ทำให้ประสบความสำเร็จ

          ศาสตร์ที่พระองค์ท่านสอนให้คิด ไม่ใช่ดูตามตำราแล้วทำตามสิ่งเหล่านั้น แต่ต้องดูว่าความจริงคืออะไร แล้วนำไปพัฒนา ปรับใช้

3. ทรงทำทำไม – หน้าที่ “ครอง” แผ่นดิน

          ทำไมพระองค์ท่านทำให้คนรู้สึก

“...พระเจ้าอยู่หัวยังต้อง เหนื่อย ต้องลำบากทุกวันนี้เพราะว่าประชาชนยัง ยากจน อยู่
เมื่อประชาชนยากจนแล้ว อิสรภาพ เสรีภาพเขาจึงไม่มี และเมื่อเขา ไม่มีอิสรภาพ เสรีภาพ เขาก็เป็น   ประชาธิปไตยไม่ได้...”

          “...ถ้าเราไม่ไปช่วยพัฒนาชนบท ประเทศไทยก็ต้องหายนะ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปพัฒนา ... เพราะว่าถ้าบ้านเมืองเรามีความเจริญ มีความมั่นคงก็ทำให้เรา อยู่ได้ ...ความมั่นคงที่เป็นปัจจัยสำคัญ คือ

ความมั่นคงของประชาชนทั่วไปในชนบท... เป็นประชาชนส่วนรวมประชาชนส่วนรวมหรือประชาชนทั้งหมดนั้น คือ   ชาติเราจึงต้องปฏิบัติให้ ชาติ คือประชาชนส่วนรวมมีความมั่นคง  เพื่อเราจะอยู่ได้...”

          การพัฒนาก็เพื่ออะไร ... ก็เพื่อเราเอง

๗๐      70

          70 เลขนี้คือกระบวนการที่เรียกว่านวักตรรม แต่เลขนี้ ๗๐ จะเรียกนวัตกรรมได้หรือไม่ อย่ารอที่คนต่างชาติบอกว่าให้เราทำนวัตกรรม แต่เรามีนวัตกรรมเป็นตัวของตัวเอง



Learning Forum-Case Study-Workshop & Coaching

หัวข้อ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) กับการพัฒนางานและองค์การให้ความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

โดย  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

      อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

WORKSHOP 2 (ทุกกลุ่มทำทุกข้อ)

  1. 1. วิเคราะห์ Disruptive ยุค 4.0 ด้านที่ส่งผลกระทบต่อ EGAT และเป็นเหตุผลที่กลุ่มของท่าน เลือกทำโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลง (หลักการและเหตุผลของโครงการ)
  2. 2. ท่านต้องการให้โครงการไปสู่เป้าหมายใดบ้าง ใน SDG โดยเลือก 3 เป้าหมาย พร้อมอธิบายเหตุผล (เป้าหมายโครงการ)
  3. 3. วิเคราะห์กระบวนการศาสตร์พระราชา ที่กลุ่มจะนำมาใช้ เพื่อใหั   โครงการบรรลุเป้าหมาย SDG (กระบวนการสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน)
  4. 4. วิเคราะห์กลยุทธ์ด้านทุนมนุษย์ตามทฤษฎี Chira Way  3 เรื่อง ที่ตอบโจทย์ Disruptive ในข้อ 1. และอธิบายการนำมาปรับใช้เพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ  (กระบวนการทุนมนุษย์ ปลูก เก็บเกี่ยว และทำให้สำเร็จ)

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ในโจทย์ Workshop ให้เลือก 3 เรื่องใน Sustainable Development Goals ของ UN และอะไรที่จะทำเป็น Mean หรือวิธีการ

          ยกตัวอย่างของ UN เบื้องต้นออก Millennium Goals แล้วค่อยพัฒนา SDG นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ สิ่งสำคัญคือวิธีการที่ไปสู่เป้าหมาย ทุกเรื่องที่ทำขอให้ Reality , Get thing done และ Overcome Difficulty

          Emerging กับ Boundary คือ Trend เรื่องคน อย่าคิดเฉพาะเรื่องไฟฟ้า แต่มี Opportunities ใหม่ ๆ ขึ้นมา ในรุ่นนี้ขอให้เน้นคำว่า Why ? แต่ทำไมถึง How? กับ What? EGAT ไม่มีปัญหาเพราะทำได้อยู่แล้ว แต่ขอให้ทุกคนเอาชนะแบบ Ladder Theory

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ข้อที่ 1 การคิดนวัตกรรมทางความคิดต้องเกิดจากคนในกลุ่มที่ต่อยอดสิ่งใหม่

          การทำโครงการฯ : ต้องใส่เรื่องประเทศไทย 4.0 เรื่องศาสตร์พระราชา และโครงการเชิงนวัตกรรม

          การคิดโครงการเชิงนวัตกรรม - นวัตกรรมอาจไม่ได้ใหม่ทั้งหมด

          - นวัตกรรมต้องตอบโจทย์สังคมและเศรษฐกิจ เช่น โรงไฟฟ้าชุมชนที่นำเสนอ พลิกมุมนิดเดียวก็สร้างเป็นนวัตกรรม ให้ใส่จุดเด่นที่ดูน่าสนใจและเป็นนวัตกรรมในโครงการฯ

          - นวัตกรรมที่คิดโครงการฯมาต้องตอบโจทย์ชุมชนเมือง ชุมชนเศรษฐกิจ หรือชุมชนชายแดนก็เลือกเอา

ข้อที่ 2 โครงการนวัตกรรมไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร ลองคิดประมาณ 3 เป้าหมาย  พร้อมอธิบายเหตุผลว่าทำไมต้องเลือก 3 ข้อนี้

ข้อที่ 3 วิเคราะห์กระบวนการศาสตร์พระราชา ไปสู่ความสำเร็จก็วิเคราะห์ได้

ข้อที่ 4 เรื่องคนมีความสำคัญมาก ให้หา 3 เรื่องตามทฤษฎี Chira Way ว่าทำไมถึงเลือกเรื่องนี้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

ข้อดีของ ดร.จีระ คือ Process ในการเรียนรู้

          Sustainability ต้องไปสร้าง Knowledge หรือ Wisdom เป็นตัวอย่างของ 3 V คือ Value Diversity เราเป็นสังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรมดีมาก

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

สิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พูดคือมาจากธรรมะ ความจริง

1. มีคุณธรรม จริยธรรม

2. ใฝ่รู้

3. การต่อยอด

          Research อยู่ที่วิธีการทำ และ 2R’s มาจาก Reality and Relevance เราหา Mean คือศาสตร์พระราชา และหาธรรมะ

          เราต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ผู้ครองหัวใจคนไทยและคนทั้งโลก

Quotations

          Building sustainable cities - and a sustainable future - will need open dialogue among all branches of national, regional and local government. And it will need the engagement of all stakeholders - including the private sector and civil society, and especially the poor and marginalized.                                                          - Ban Ki-moon-

“Sustainability creates new knowledge and wisdom with multidisciplinary approach.”

- Unknown -

ตัวอย่างหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน..สะท้อนบทเรียนเรื่อง “ผู้นำและการพัฒนาชุมชนที่สามัคคีและยั่งยืน” อย่างไร?

  • - ภูมิสังคม
  • - รู้จริง (เป็นระบบ)
  • - เริ่มจากจุดเล็ก ๆ
  • - เรียบง่าย (ประโยชน์สูงสุด)
  • - ไม่ติดตำรา
  • - ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • - อธรรมปราบอธรรม
  • - ขาดทุนคือกำไร
  • - ปลูกป่าในใจคน
  • - ยึดความถูกต้อง
  • - ประโยชน์ส่วนใหญ่
  • - องค์รวม
  • - บริการที่จุดเดียว
  • - มีส่วนร่วม
  • - รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง
  • - เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
  • - รู้ รัก สามัคคี
  • - ระเบิดจากข้างใน
  • - พึ่งพาตนเอง
  • - ตั้งใจ (ความเพียร)
  • - ซี่อสัตย์
  • - อ่อนน้อมถ่อมตน
  • - พออยู่ พอเพียง (เศรษฐกิจพอเพียง)

รู้ – รัก – สามัคคี

          รู้ คือ จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริง

          รัก คือ จะทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้นๆ

          สามัคคี คือ ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือ ร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ    

พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นตัวอย่างขององค์กรแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจพอเพียง

วิธีการคิด 4 แนว ก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
1) ทำอะไร
2) ทำอย่างไร
3) ทำเพื่อใคร
4) ทำแล้วได้อะไร

เปลี่ยน Complexity มาเป็น Simplicity  ผู้นำที่ดีต้องประสานงานและบูรณาการ

6 หลักการในการทำงาน

1) คิด Macro ทำ Micro

          2) ทำเป็นขั้นเป็นตอน

          3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

          4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้นๆ

          5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ   (Communication, Coordination, Integration)

          6) ทำอะไรต้องมีผู้เป็นเจ้าของ

Sustainable Development Goals

เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจน

เป้าหมายที่ 2: ขจัดความหิวโหย

เป้าหมายที่ 3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

เป้าหมายที่ 4: การศึกษาที่เท่าเทียม

เป้าหมายที่ 5: ความเท่าเทียมทางเพศ

เป้าหมายที่ 6: การจัดการน้ำและสุขาภิบาล

เป้าหมายที่ 7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้

เป้าหมายที่ 8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

เป้าหมายที่ 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน

เป้าหมายที่ 10: ลดความเหลื่อมล้ำ

เป้าหมายที่ 11: เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน

เป้าหมายที่ 12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เป้าหมายที่ 14: การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล

เป้าหมายที่ 15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก

เป้าหมายที่ 16: สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก

เป้าหมายที่ 17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ศาสตร์พระราชาเป็นการปฏิบัติไปสู่ความยั่งยืน ครอบคลุมในทุกมิติ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

6 Chira’s Factors of Sustainability

  1. 1. Balance the short-term and the long-term benefits
  2. 2. Be environmentally friendly
  3. 3. Balance the morality, ethics and development - เราจะยั่งยืนได้ต้องมีความเป็นมืออาชีพ และมีคุณธรรมจริยธรรม เพราะไม่มีสิ่งใดในโลกที่เก่งและโกง
  4. 4. Be based on  scientific thinking, analytical thinking, life-long learning and learning society
  5. 5. Benefit the majority instead of small groups of people – ความยั่งยืนต้องทำให้คนส่วนใหญ่อยู่ได้
  6. 6. Be self – reliant – พึ่งตัวเอง

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital             ทุนมนุษย์

Intellectual Capital      ทุนทางปัญญา

Ethical Capital             ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital        ทุนแห่งความสุข

Social Capital              ทุนทางสังคม

Sustainability Capital    ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital              ทุนทาง IT

Talented Capital          ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์/ยุค 4.0

Creativity Capital         ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital      ทุนทางความรู้

Innovation Capital       ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital       ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital         ทุนทางวัฒนธรรม

Leadership Roles (Chira Hongladarom Style)
1. Crisis management        การจัดการภาวะวิกฤต

2. Anticipate change          คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้

3. Motivate others to be excellent     การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

4. Conflict resolution          การแก้ไขความขัดแย้ง

5. Explore opportunities     การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น

6. Rhythm & Speed           รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

7. Edge ( Decisiveness )      กล้าตัดสินใจ

8. Teamwork                    ทำงานเป็นทีม

9. Uncertainty Management         การบริหารความไม่แน่นอน

WORKSHOP 2 (ทุกกลุ่มทำทุกข้อ)

1.วิเคราะห์ Disruptive ยุค 4.0 ด้านที่ส่งผลกระทบต่อ EGAT และเป็นเหตุผลที่กลุ่มของท่าน เลือกทำโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลง (หลักการและเหตุผลของโครงการ)

2.ท่านต้องการให้โครงการไปสู่เป้าหมายใดบ้าง ใน SDG โดยเลือก 3 เป้าหมาย พร้อมอธิบายเหตุผล (เป้าหมายโครงการ)

3.วิเคราะห์กระบวนการศาสตร์พระราชา ที่กลุ่มจะนำมาใช้ เพื่อใหัโครงการบรรลุเป้าหมาย SDG (กระบวนการสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน)

4.วิเคราะห์กลยุทธ์ด้านทุนมนุษย์ตามทฤษฎี Chira Way  3 เรื่อง ที่ตอบโจทย์ Disruptive ในข้อ 1. และอธิบายการนำมาปรับใช้เพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ  (กระบวนการทุนมนุษย์ ปลูก เก็บเกี่ยว และทำให้สำเร็จ)

กลุ่มที่ 8

โครงการ EV Charging Battery Service

          ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าที่ใช้ทางเลือกมากขึ้น มีผลต่อการไฟฟ้าคือ ทำให้การไฟฟ้ามีรายได้ลดลง ตัวหลักคือการหารายได้จากธุรกิจใหม่ รถไฟฟ้ามีโอกาสเกิดขึ้นสูง หลายคนอยากหาพลังงงานสะอาด รถไฟฟ้าต้องการแบตเตอรี่ แต่เราไม่มีปั๊มแบตเตอรี่  การเสียเวลาชาร์ตครึ่งชั่วโมงไม่ตอบโจทย์ จึงคิดว่าจะทำเป็น Pool แบตเตอรี่ รับลูกเก่าแล้วเอาลูกใหม่ไป ตัวที่ตอบโจทย์คือ มองเรื่อง Green Energy , เศรษฐกิจ , นวัตกรรม

          ใช้การเปลี่ยนแปลงตั้งเป็น Business ใช้ 2R’s คือทุกคนหนีไม่พ้นการเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก Green Energy มาแรง Relevance คือการตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวัน

กลุ่ม 7

          พลังงานสามารถสร้างเองได้ กระทบกับรายได้ของ กฟผ. มองหาธุรกิจใหม่ที่ตอบโจทย์คือศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุเนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย เรามีทั้งสถานที่และทรัพย์สินที่ลงทุนได้ ทำให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ จ้างงาน มีการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ ทำให้การจ้างงานดีขึ้น ตอบโจทย์ 3 ข้อ SDG

          ดำเนินการเรื่องการวิเคราะห์ว่าจะใช้ศาสตร์พระราชาอย่างไร ผู้สูงอายุที่ดูแลเป็นผู้สูงอายุแต่ร่างกาย แต่สมองไม่ได้สูงอายุ ต้องดูแลสังคม ร่างกาย จิตใจ เพื่อให้เขานำความรู้มาสู่สังคม

          ใช้ Chira Way ในเรื่อง 8K’s ทุนมนุษย์และ Sustainability ทำให้มีประโยชน์ทำอย่างไรในการสร้างประโยชน์ต่อตัวเอง เป็นทั้งผู้บริการและให้บริการ นอกจากนี้นำกลับมาใข้ในชีวิตประจำวันได้ และเรื่อง Happiness และ Sustainability จะอยู่ในองค์กรนั้น

ดร.จีระเสริมว่า

          ถ้ากฟผ.มองเรื่อง Electric Car และทุนแห่งความสุข จะเป็นเป้าหมายไปสู่ความยั่งยืนได้

กลุ่มที่ 6

          EGAT College มีบุคลากรหลายสาขา มี KM มากมาย สร้างระบบองค์ความรู้รวมกันเป็น Online และแก้ปัญหาเรื่อง Disruptive โดยการนำ Internet of Thing ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ที่บ้าน เพราะมองว่าบุคลากรสามารถรวมตัวเป็น KM ขององค์กร ทุกคนสามารถเข้าดูได้ ตอบโจทย์ การศึกษาที่เท่าเทียมกัน มีระบบออนไลน์ถ่ายทอดให้สังคมได้ เพราะระบบอินเทอร์เน็ต เข้าได้ทุกทาง ลดความเหลื่อมล้ำ ทุกคนสามารถเข้าเรียนได้ และตอบโจทย์เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน และเรื่องอุตสาหกรรมนวัตกรรมโครงการพื้นฐานต่าง ๆ

          วิเคราะห์โครงการศาสตร์พระราชา เพื่อให้ความรู้ เอาไปต่อยอดให้ประชาชนประยุกต์ความรู้ เอาประสบการณ์ที่มีอยู่ให้คนนำไปต่อยอด จุดอ่อนคือเชิญวิทยากรที่สามารถสอนได้พูดในเรื่องยากเป็นเรื่องง่ายให้เด็กและคนทั่วไปเพื่อนำไปคิดค้นนวัตกรรมเพิ่ม

          ใช้ทฤษฎี 4L’s ในการนำไปสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

กลุ่มที่ 5

          ผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง เอาสินทรัพย์ที่มีอยู่คือบ้านพักตามเขื่อนเป็นบ้านพักผู้สูงอายุ คืนกำไรให้สังคมคือ กฟผ.อยู่ได้ สังคมอยู่ได้ มีเป้าหมายคือขจัดความยากจน มีความเป็นอยู่ที่ดี การจ้างงานมีคุณค่า และเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ

          ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุคือถ้าสังคมผู้สูงอายุมีความสุขจะดูแลลูกหลานต่อไป

          โครงการจะทำต่อเนื่องเพื่อให้สังคมมีความสุขมากขึ้น

          ใช้ 3 V’s เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มมูลค่า และใช้ทฤษฎี 8K’s 5K’s มาปรับใช้

กลุ่มที่ 4

          เนื่องจากกฟผ.ประสบปัญหาเรื่องความมั่นคง การทำ Green Energy เรามีศักยภาพ เราต้องยอมรับกระแสโลกเปลี่ยน กฟผ.ไม่ได้ผลิตอย่างเดียว เราไม่ได้ห้ามแต่เราให้ กฟผ.อาจไปดูด้านการบริหารจัดการ สามารถตั้งกติกาในการควบคุมได้ สามารถอยู่ร่วมกันได้ และทำให้ผู้ผลิตอยู่อย่างไร เป้าหมายที่มองคือ การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เมื่อมีรายได้ มีคุณภาพจะมีสุขภาพที่ดี เราสามารถกำหนดกฎกติกา และดำเนินการได้ มีกติการ่วมกัน และดูเรื่องความยั่งยืน ถ้าผู้ใดมีจริยธรรม และคุณธรรมให้นำคนนั้นมาสร้างกติกา จะได้กติกาที่มีคุณธรรม

          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน

          ใช้ 2R’s ในการพัฒนาทุนมนุษย์ คือดูเรื่องความจริง ที่ต้องมีความชัดเจนว่าทำได้หรือไม่ อีกเรื่องมองเรื่อง HRDS เพราะความสุขทำให้ยั่งยืน ให้ความเคารพเขาเขาจะเคารพกลับ และการเคารพในความเป็นศักดิ์ศรีมนุษย์ และสุดท้ายคือความยั่งยืนจะเกิด

ดร.จีระ เสริม

          เรื่องที่พูดในวันนี้คือ Disruption, SDG , นำศาสตร์พระราชาไปสู่เป้าหมายและเสริมแนวคิดของกคน เราจะรวมพลังเอาชนะอุปสรรคได้อย่างไร เด็กรุ่นใหม่เก่ง แต่ในสังคมต้องคำนึงถึงทุกรุ่น อย่างการเรียนวันนี้ไม่มีใครเก่งกว่าใคร เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน อย่าง Learning Opportunity คือการปะทะกันทางปัญญา ซึ่งจะทำให้เกิดความแตกฉาน ต่อไปคือการเอาชนะอุปสรรคร่วมกัน เน้นถามคำถาม Why? สิ่งสำคัญคือทำต่อเนื่อง ทั้ง 7วันให้ประเมินตนเองตลอดเวลาว่าวันนี้ได้อะไร

กลุ่มที่ 3

           R ตัวแรกคือความจริงเกิดอะไรขึ้นทำไมต้องทำ เรามีกำลังการผลิตเท่าไหร่ บุคลากรเท่าไหร่ เกิดอะไรขึ้นกับคนจำนวนมาก กฟผ.ทุกวันนี้ที่ส่งเงินเข้ารัฐ และสัดส่วนที่เหลือ ถามว่าใน 5-6 ปีมีผลกระทบกับเราหรือไม่ อย่างไรก็ตามภาพรวมของประเทศเป็นส่วนหนึ่ง เป็นสัดส่วนกำลังผลิต เทคโนโลยี ไฟต้องไม่เกิน 2 บาท มีผลกระทบกับคนของเราหรือไม่ ระดับประเทศเป็นอย่างไร ในส่วน กฟผ. เพื่อความอยู่รอดองค์กรต้องทำอะไรอย่างหนึ่งว่าอยู่ได้อย่างไร ต้องมีกำลัง สินทรัพย์เพื่อต่อยอดไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน บุคลากรสร้างคุณค่าอย่างไร จะนำสินทรัพย์มาสร้างบ้านพัก ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว และทำ Application ที่คนคลีก ดูข้อมูล นำสู่การต่อยอดทางการท่องเที่ยวหลายอย่าง เช่น ที่พัก หรือโฮมสเตย์จะใช้เครือข่ายได้อย่างไร ทำแล้วมีผลอะไรบ้าง

              โครงการที่จะทำไปสู่ SDG คือขจัดความยากจน มีรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิต มีการจ้างงาน มีคุณค่า ลดความเหลื่อมล้ำ และเมืองและถิ่นฐานยั่งยืน มีงานทำ ครองชีพได้ ย้ายถิ่นน้อยลง กฟผ. อยู่ได้ ชุมชนอยู่ได้ อยู่อย่างยั่งยืน

กลุ่มที่ 2

          Disruptive กระทบต่อรายได้ ประเด็นคือเรามีโอกาสทำอย่างอื่นด้วยทรัพยากรที่มีและต่อยอดได้ เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ดูจากเป้าหมายก่อนคือ ทำให้คนมีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะจะทำศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุระดับพรีเมียม เกิดการจ้างงานในชุมชน ชุมชนมีรายได้ ขจัดความยากจนได้ เมืองและถิ่นฐานยั่งยืนได้ และเป้าหมายในข้อ 17 ก็จะได้

          ศาสตร์พระราชาที่นำมาใช้คือเริ่มจากการรู้จริง คือการเก็บข้อมูล เนื่องจากในหลวงรู้แหล่งน้ำของประเทศทุกจุด เช่นในหลวงร.9 รู้แหล่งน้ำทุกจุด ต้องเริ่มจากจุดเล็กเพื่อให้เกิดประโยชน์เรียบง่าย หลักการเอากำไรเหมาะสม และใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ เช่นผู้สูงอายุต้องการเพื่อน สังคมที่ดี คิดว่าพื้นที่เขื่อนเหมาะสมเนื่องจากเป็นธรรมชาติ พักผ่อนได้ ตอบโจทย์ผู้สูงอายุได้

          Chira Way ใช้จาก 2R’s คือสร้างศูนย์พรีเมี่ยมดูแลผู้สูงอายุ สร้างโอกาสธุรกิจของประเทศ Relevance คือ ผู้สูงอายุมากขึ้นจะมีภาระต่อลูกหลายและประเทศ ถ้าทำได้จะช่วยลดความเครียดในการดูแลผู้สูงอายุ มีการฝึกคนในพื้นที่ให้พร้อมในการดูแลผู้สูงอายุตนเอง และท้ายสุดสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนได้ เริ่มจากผู้เกษียณก่อนคือให้องค์กรมีการดูแลสวัสดิการต่อเนื่อง พนักงานจะมีแรงจูงใจสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ สิ่งนี้คือสวัสดิการที่ให้พนักงาน และท้ายสุดพัฒนาคุณภาพของคน ที่ชุมชนเป้าหมายคือเด็กและเยาวชนที่อยากเป็นหมอ สร้างแรงบันดาลในใจการดูแลคน

กลุ่มที่ 1

          การพัฒนาที่ยั่งยืนในการดูแลชุมชน  จะทำอย่างไรให้เข้าสู่การแข่งขันโรงไฟฟ้าขนาดเล็กได้บ้าง เช่น โรงไฟฟ้า Biomass มีกำลังผลิตค่อนข้างมาก อย่างกฟผ.อาจมีการทำประมาณ 40 เมกะวัตต์ใช้พื้นที่การเกษตรให้เกษตรกรมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งโรงไฟฟ้าไม่ใช่กฟผ.เป็นเจ้าของคนเดียว แต่มีหุ้นส่วนคือชาวบ้านและชุมชนเพิ่มด้วย

          การเข้าไปสู่ SDG คือ การลดความเหลื่อมล้ำ ชาวบ้านจะได้เข้ามาทำงานร่วมกัน  การสร้างสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก เนื่องจากชาวบ้านมีส่วนร่วม ชุมชนมีส่วนร่วม ทำให้มีรายได้แล้วเขาจะมีความสุขมากขึ้น และนำไปสู่ความร่วมมือเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถส่งพลังงานไฟฟ้าได้ตลอดปี

          การน้อมนำศาสตร์พระราชาโดยดูสภาพภูมิสังคมเป็นหลัก ดูการมีส่วนร่วมชุมชน ให้ชุมชนระเบิดความคิดภายใน ให้ชุมชนพึ่งพาอย่างยั่งยืน

          ยึดหลัก 8K’s  2R’s และท้ายสุด 3 V’s เพื่อเพิ่ม Value Added ให้ชุมชน

ดร.จีระ เสริมว่า

          รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ชัดมากเนื่องจาก 2R’s ชัดขึ้น อนาคตไม่ใช่ Engineering Culture แต่คือ Leadership & Management Culture จุดที่อันตรายคือเมื่อไปปะทะกับ Culture เดิม แต่ก่อนคนเป็นวิศวะไปอยู่นอก Silo ปรับตัวไม่ได้ แต่ท้ายสุดคืออยู่กับการปรับตัวในการนำไปปรับใช้ ถึงเรียกว่า Life Long Learning

          สิ่งที่นำเสนอทั้งหมดผ่านการเอาการเรียนรู้ใน 6 วันจะเป็นประโยชน์ให้สอดคล้องกับ Main Goal ของ กฟผ.

          สิ่งที่อันตรายที่สุดคือ Execution ถ้าดูทุนมนุษย์มี Macro ไปสู่ Micro แต่ไม่มีเรื่องปลูกกับการเก็บเกี่ยวก็ไม่รอด

          สิ่งที่คนอายุมากมีคือ Wisdom ไม่ใช่เกิดจากความเก่งอย่างเดียว แต่เกิดจากประสบการณ์ที่ผ่านความล้มเหลว มีเรื่องการปรับ Mindset  

          การพูด 1,2,3 เราต้องถูกกระตุ้นไป 4,5,6

Special Talk

หัวข้อ ศาสตร์พระราชากับการประยุกต์ใช้ในองค์กรของ  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

โดย นายชฎิล ชวนะลิขิกร

       ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่กำกับดูแล และธรรมาภิบาลองค์กร

ปตท.เกิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ปัจจุบันมีอายุ 41 ปี เกิดมาจากความขาดแคลนน้ำมัน ประเทศไทยโชคดีที่การจัดการอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก ไม่เคยมีไฟฟ้าดับ ช่วงนั้นจึงตั้งการปิโตรเลียมขึ้นมาเพื่อดูพลังงานจากก๊าซธรรมชาติ และเชื้อเพลิง ซึ่งนอกจากการนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยแล้ว ยังมีส่วนประกอบเคมีอื่น ๆ ที่สามารถไปต่อยอดได้ อย่างการนำก๊าซธรรมชาติไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งในขณะนั้นธุรกิจน้ำมันไม่แข็งแกร่ง แต่ได้มีการพัฒนาต่อเนื่องเรื่อย ๆ จนสู้บริษัทน้ำมันต่างชาติที่ขายน้ำมันในไทยได้ จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2544  ปตท. จึงคิดจะทำเรื่อง Upstream และให้มีการระดมทุนมากขึ้นจึงได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ.2544  และมีสังกัดคือกระทรวงอุตสาหกรรม

ปตท. แม้มีการเปลี่ยนนโยบายหลายครั้ง แต่เนื่องด้วยมี Business Instruction ชัดเจนจึงทำให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ และทำให้ปตท.กลายเป็นผู้เล่นในธุรกิจเชื้อเพลิงที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในอนาคตคาดว่าผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนอาจเป็นเครือข่ายของ EGAT และมีผู้เล่นใหม่ ๆ เข้ามามากขึ้น

หลังจาก ปตท. เข้าตลาดหลักทรัพย์ก็ได้มีการปรับปรุงเรื่อย ๆ มีการทำ Downsteam มีธุรกิจโรงกลั่น IRPC และ Thaioil มีการประมูลในภาคอุตสาหกรรมได้ ทำให้ธุรกิจต่อไปจะเป็นปตท.มากกว่าเชฟรอน

ด้าน Upstream จะมี ปตท.สผ. ให้ความร่วมมือกันในเรื่องถ่านหิน

ด้าน Downstream จะเป็น Retail มีการตั้งบริษัทใหม่ เป็น PTTOR มีการทำ 7-eleven กาแฟอเมซอน ที่ต้องทำสิ่งนี้เพื่อให้เลี้ยงโครงการฯได้ นอกจากนี้ก็มีปิโตรเคมิคอนของ ปตท. และมีไฟฟ้าที่ทำใช้เอง เนื่องจากปตท.เป็นธุรกิจที่ทำพลังงานค่อนข้างมาก

ส่วนที่ปตท.ทำเองมีค้าธุรกิจน้ำมันประกอบด้วย ค้าปลีกน้ำมัน เชื้อเพลิงหล่อลื่น น้ำมันและก๊าซLPG  LPG ครัวเรือน บริหารโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจน้ำมัน ฯลฯ มีการแยกคนที่ดูแลท่อออกมาตั้งเป็น 1 Business Gas มีเรื่อง Trading ซื้อขายพลังงานล่วงหน้าเพื่อความมั่นคง มีการซื้อขายพลังงานใหม่

จาก 40 ปีที่ผ่านมาของ ปตท. พบว่า มีกำไรตลอด รายได้ปีก่อนนู้นประมาณ 2 ล้านล้านบาท ปีนี้ประมาณ 2 ล้านสองแสนบาท ในขณะที่ราคาน้ำมันโดยเฉลี่ยแล้วตกมาอยู่ 69 เหรียญสหรัฐฯ สังเกตได้ว่าปีพ.ศ 2558 ธุรกิจน้ำมันกำไรลงมา

สิ่งที่เชื่อมาตลอดคือการใช้ศาสตร์พระราชาในการบริหารธุรกิจให้อยู่รอดได้ เนื่องจากใช้ในการรักษาสมดุลการบริหารพอร์ตของธุรกิจ  มีการนำส่งรายได้ให้รัฐ 4 ส่วน คือ มีภาษีเงินได้นิติบุคคล กองทุนรวมวายุภักษ์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินเดือน รวมส่งรายได้เข้ารัฐประมาณ 8 หมื่นสองพันล้านบาท  รวมทั้งหมดประมาณ 8 แสนกว่าล้านบาท

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          ไม่ใช่การทำธุรกิจที่หยุดนิ่ง หรือไม่ขยายตัว หรือไม่ดูสิ่งแวดล้อม หรืออะไร  แต่แท้จริงเป็นการทำธุรกิจที่ก้าวสู่โลกาภิวัตน์ โดยดูผลกระทบจากทั้งภายนอกและภายใน สิ่งที่ดูในกลุ่มผู้บริหารคือ

การดูว่าลงทุนเกินตัวหรือไม่

เป้าหมายหลักเศรษฐกิจพอเพียงเรื่อง SDG ไม่รู้ไม่ได้แล้ว

เราจะต้อง Contribute อะไรให้เข้าสู่ SDG Goal  

UN ยอมรับว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือไปสู่ SDG Goal

          การดำเนินธุรกิจแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข สามารถมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจอย่างไร มีหลักการในการบริหารจัดการโดยยึด 3 ห่วง 2 เงื่อนไขเป็นตัวดำเนินงานที่ทำให้เกิดความยั่งยืน คือการพูดถึง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่ทุกองค์กรสามารถนำไปใช้ได้

          เรื่องยุทธศาสตร์ของ ปตท. ต้องไปสู่ Sustainable Growth for All โดยยึดหลักของ PPP คือ People , Planet , Prosperity

          สร้างคนให้เป็นคนเก่ง คนดี (รับผิดชอบต่อสังคม, มีคุณธรรมจริยธรรม) มีการ Synergy ในกลุ่ม มุ่งปฏิบัติงานเป็นเลิศ มุ่งผลิตนวัตกรรม พนักงานทุกคนต้องมี Digitalization ต้องมีการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ มีเรื่องการปฏิบัติงานที่ทุกคนต้องขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกัน

          มีโครงการด้านโรงเรียน สังคม มีการทำ Social Enterprise มีเรื่องการทำสิ่งแวดล้อมเช่น ชุมชนคุ้งบางกระเจ้า

          ปัจจุบันการพัฒนาโครงการต้องดูว่าโครงการ Lean หรือยัง ? มีการลดขนาดได้มากกว่านี้อีกหรือไม่? มีการลงทุนเพิ่มหรือไม่ ? มีการตัดสินใจซื้อสัมปทานระหว่างประเทศ มีการตัดสินใจเพื่ออนาคตใหม่ (Decide now) มีการหวังผลระยะยาว การทำต่อไปเป็นเรื่องความซื่อสัตย์ Innovation และ Good Governance ที่ใช้เป็นแนวทางในการ Formulate Strategy

FrameWork ในองค์กร

          1. นำหลักการ World Business Council อุตสาหกรรมปิโตรเลียม  อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ฯลฯ

          2. ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          3. CSR ของกระทรวงอุตสาหกรรม

          4. เข็มทิศธุรกิจ SDG Compass คือการทำให้บรรลุเป้าหมาย

          การปฏิบัติตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหลักสากล ความสมดุล คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย การสร้างความตระหนักรู้ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเรื่องนวัตกรรม การเป็น Good Relationship มีการนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้  อย่างเรื่องความมีเหตุผล มีการประเมิน วิเคราะห์ เรื่องภูมิคุ้มกัน เป็นเรื่องการบริหารความเสี่ยง มีเรื่องหลักความรู้ คุณธรรม ในการนำมาใช้ในธุรกิจ

การบริหารธุรกิจตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

1. ความพอประมาณ

          ปตท.เติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป รายได้ไม่มาก กำไรไม่มาก แต่ทำหน้าที่สร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ จนเข้าตลาดมีพันธกิจในการขยายงาน ค่อย ๆ โตมาเรื่อย ๆ จนถึงปี พ.ศ. 2544 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ ปตท. แต่อยู่บนพื้นฐานการไม่ทำอะไรเกินตัว

          ความพอประมาณ ทุกธุรกิจ มีเส้นทางที่เติบโตใน Value Chain ถ้าเราไม่ไปไม่ได้ หรือทำธุรกิจแบบเดิม ๆ คงไม่มี ปตท. ในวันนี้

          การทำเรื่องก๊าซ น้ำมัน ปิโตรเคมีคอล เป็นธุรกิจที่ไม่มีอะไรมา Support ปตท.ทำดิจิทัลเกี่ยวอะไรกับพลังงาน  เริ่มต้นอาจใช้ในการซ่อมบำรุง วิศวกรรม ทุกอย่างที่โตต้องโตในสายงานที่ขยายงานเรื่อย ๆ

          ปตท. ถ้าดูเรื่องการขยายงาน ส่วนใหญ่หนี้น้อยมาก  ปตท.อยู่ที่ 2 ประชากรสามารถชำระได้  มุมมองเชิงธุรกิจอาจมีปัญหาคือการ Generate Value ได้น้อยมาก แม้ว่าธุรกิจปตท.มีความมั่นคง แต่เงินที่สะสมโตตามเงินเฟ้อไม่ทัน บางครั้งปตท.อาจต้องดูถึงความสามารถในการแบกรับความเสี่ยงและลงทุนได้มากกว่านี้

ดูวีดิโอ What does it all mean ? ดูแล้วคิดอย่างไร ?

          การเรียนรู้สมัยนี้ เรียน How to learn ? จะเรียนอย่างไร ? เราคิดอย่างไรกับธุรกิจเรา เราทำธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องอย่างไร ?

          เราต้องติดตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ต้องพอเพียงและสู่ความยั่งยืน เรื่องความมีเหตุ มีผล การติดตาม และดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เราคิดว่าการบริหารธุรกิจจะทำให้ไปสู่ความอย่างยั่งยืนอย่างไร ทรัพยากรธรรมชาติจะเป็นอย่างไรต่อไป จะมีมากขึ้นอย่างไร  Culture ขององค์กรต้องเป็นอย่างไร ต้องมีการวางแผน มีการนำมาสร้างธุรกิจของเรา เรียกว่า ELV คือ Electricity Value Chain มีการคุยถึงเรื่อง life style เรื่องยา เรื่อง Cosmetic

          ปตท.ต้องตระหนักว่าจะเกิดขึ้น และไม่ทำไม่ได้ เกิดจากฐานการส่งเสริม Innovation ภายใน มีเรื่องการร่วมมือการทำวิจัยภายนอก มีเรื่อง Start up , M&A และ Income

          มีการทำธุรกรรมใหม่ ๆ ที่เชื่อมกับแบงค์ 

2. ความมีเหตุมีผลที่สามารถอธิบายได้

- มีการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบสถานการณ์ทางธุรกิจ สิ่งแวดล้อม  สังคมอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างสภาพแวดล้อมในหน่วยงาน มีเรื่อง Speed เรื่อง Innovation และ Reference

- มีความรอบคอบในการตัดสินใจ โดยคำนึงถึง ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีเหตุและมีผล

- บริหารจัดการความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เช่น ผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน ชุมชนได้อย่างสมดุล เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนของกิจการ

3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

          - มีนโยบายและแผนการบริหารความเสี่ยงทั้งด้านธุรกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม มีการปรับตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งในอนาคตอันใกล้และไกล

- มีเครือข่ายทางสังคม จากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียต่าง ๆ เช่น ประเทศ พนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า สังคมชุมชน

มีการบริหารความเสี่ยงที่ดี มีเครือข่าย มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีหน่วยตรวจสอบ เพื่อทำหน้าที่ให้เต็มที่ มีคณะกรรมการจัดการ 24 คณะ ว่าด้วยความเสี่ยง กิจการเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าปฏิบัติดีแล้วไม่ว่าจะเป็นคู่ค้าหรือลูกค้าเขาจะพูดแทนเราได้ ถ้าพูดแทนได้จะทำให้การบริหารนั้นสามารถประสบความสำเร็จได้

4. ความรู้

          - นำหลักความรู้ และวิชาการที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการวางแผนและการบริหารจัดการขององค์กร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุล ความยั่งยืนและการพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง

          - ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ นำภูมิปัญญาไทย หรือประยุกต์ภูมิปัญญาไทยเข้ากับความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อบริหารธุรกิจของหน่วยงานได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมเตรียมองค์กรก้าวข้าม Resource Base สู่ Knowledge Base Organization

มีInnovation Institute ดูแลศูนย์ Base เดิมคือ Oil Gas เป็น Innovation ฐานธุรกิจเดิม มีการพัฒนาผู้นำ ทำให้เปิดมุมมองบางอย่าง มีเรื่องการส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กร

มีโครงสร้างหลักสูตรของสถาบันพัฒนาผู้นำและการเรียนรู้กลุ่ม ปตท. (PLLI) มี L

หลักสูตรที่เป็นLeadership Development Program, Core Program, Functional Program ตาม Career Path  และ Elective Program

 Leadership มีระดับผู้บริหาร ผู้อำนวยการส่วน ผู้อำนวยการฝ่าย การส่งเสริมนวัตกรรมในหลายกลุ่มหน่วยงาน ต้องมีการกำกับดูแลพอสมควร มีการนำ Trend มาเป็นแนวคิดในการดำเนินงาน

เรื่องนอกปตท. มีการตั้งสถาบันสอนปริญญาโท และโรงเรียนกำเนิดวิทย์สอน ม.4-ม.6 ปตท.มีผู้สนับสนุนด้านไอที มีการหา Partner มาช่วยทำ มีการสนับสนุนอาคารเรียนรวม ถ้าคิดว่าเรื่องนี้มีความสำคัญจะร่วมกับเราได้       

การสร้างวังจันทร์วัลเลย์ เมืองนวัตกรรมระดับโลก มีการนำนักวิจัยผู้มีความรู้มาอยู่ใน EECi เป็น Innovation ในการลงทุนทำธุรกิจ เป็นการพัฒนาเมืองแบบ Smart City มีการให้เช่าที่ดิน ทำเมืองให้คนเช่าอยู่ มีการทำ Facility และเชื่อว่าถ้าทุกคนอยู่รวมกันจะมีการขับเคลื่อนที่ดี ถ้าแยกกันอยู่จะไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ เป็นหนึ่งในธุรกิจของ ปตท. ซึ่งเกิดจากการประเมินสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5. คุณธรรม

          - ซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินธุรกิจภายใต้หลักคุณธรรมจริยธรรม

          - เอาใจใส่ต่อผลกระทบที่มีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม โดยประกาศนโยบายธรรมภิบาลอย่างชัดเจน

          - กำหนดคุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยม

องค์กร ปตท. ต้องเป็นองค์กรต้นแบบแห่งความโปร่งใส ผลประกอบการที่ดี และ Zero  Non Compliance  เพราะเมื่อเกิด Incident ที่ไหนจะส่งผลกระทบต่อปตท.แน่ ๆ สิ่งนี้จึงเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้ ยุทธศาสตร์ที่ต้องถูกยกระดับเพื่อการบริหารจัดการ เป็นองค์กรต้นแบบเพื่อความโปร่งใส Strategy คือทำอย่างไรที่สร้าง Culture ให้คนเป็นคนดี นอกจากนี้ได้ตั้งหน่วยงานใหม่เป็น Governance and Compliance

ชุดความคิดของ ปตท. ใช้คำว่า SPIRIT

          ปตท.มีค่านิยม SPIRIT เป็นค่านิยมหลัก (Core Value) เป็นพื้นฐานในการสร้างความคาดหวังและความเชื่อมั่นในการทำงานที่เชื่อมโยงไปสู่การสร้างวัฒนธรรมในการอยู่และการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร เนื่องจาก ปตท.มีความมุ่งมั่นเพื่อให้ธุรกิจพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

          1. Synergy สร้างพลังร่วมอันยิ่งใหญ่

          2. Performance Excellence ร่วมมุ่งสู่ความเป็นเลิศ

          3. Innovation ร่วมสร้างนวัตกรรม

          4. Responsibility for Society ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม

          5. Integrity & Ethics ร่วมสร้างพลังความดี

          6. Trust & Respect ร่วมใจสร้างความเชื่อมั่น

          ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความพยายามและสื่อสารในองค์กร มีการทำโครงการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ โครงการพลิกผืนป่าคืนแผ่นดินด้วยพระบารมี โครงการรักษ์น้ำ รักษ์ป่า รักคุ้งบางกระเจ้า  โครงการฝนเทียม  โครงการสวนสมุนไพร โครงการหญ้าแฝกการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ และผลิตเครื่องใช้ เป็นต้น

ความสำเร็จบนฐานพอเพียง

หลายโครงการได้รับรางวัล เป็นการใช้ความรู้เข้าไปสนับสนุนชุมชน เป็นการได้รับรางวัลมา เช่นโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่คุ้งบางกระเจ้า พยายามทำให้เป็น Our คุ้งบางกระเจ้า พัฒนาเป็นโอเอซิสในเมือง

Social Investment Paradigm Shift

          พลิกปิรามิดให้คนอยู่เองได้ มีการทำโครงการต่าง ๆ ในนี้       

- วิสาหกิจเพื่อสังคม มีการลงทุนต่อยอด

- การจัดตั้งบริษัทสานพลังวิสาหกิจชุมชนจำกัด (บริษัทตัวกลางในการรับซื้อสินค้าจากชุมชน)

- Café Amazon Coffee Sourcing

          - Café Amazon for Chance เป็นการสร้างอาชีพให้คนพิการสามารถพึ่งตัวเองได้ ให้มีการติดตามและพัฒนาตลอดเวลา (มีการจ้างงานอย่างน้อย 1%)  มีการทำตามแนวทางที่ดี

Dow Jones Sustainability Indices

          ทุกเรื่องเป็นเรื่องความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม

สรุป ศาสตร์พระราชาสามารถนำไปใช้ได้ทุกองค์กร ทุกธุรกิจ ถ้าคิดจะยั่งยืน ต้องปรับตัวตลอดเวลา มุ่งผลเพื่อความยั่งยืน นำแนวทางศาสตร์พระราชาไปใช้ในการดำเนินการ

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ในสิ่งที่ ปตท.ทำทั้งหมด กระบวนการรับรู้ของพนักงานที่สะท้อนขึ้นมา วัดได้ด้วยวิธีใด และพอใจหรือยัง

          ตอบเป็นคำถามที่ดีมาก อย่างเรื่อง Employee Satisfaction / Employee Engagement คือการเห็นองค์กรทำสิ่งที่ดี มีแผนงานก้าวหน้า มีเทคโนโลยี และทำเพื่อสังคม เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้พนักงานภูมิใจมากและพร้อมเป็นทูต ทุกคนต้องพูดได้ สื่อสารได้และจะเป็นความภาคภูมิใจของทุกคน

2. ตอนเริ่มต้นทำบริษัท SE เริ่มต้นด้วยงบเท่าไหร่

          ตอบเริ่มแรกเป็นเงินทุนหมุนเวียน ประมาณ 4-5 ล้านบาทในการซื้อกาแฟ และมีรอบระยะเวลารับคืน ยังไม่ใช้ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ แต่เรื่อง Amazon for Chance ใช้เงินมากหน่อย เงินนี้เชื่อว่าจะทำให้อยู่ได้  และจะทำดอกผลได้ มีที่ร้านตรงท่าพระอาทิตย์ บางลำพู


Special Talk

หัวข้อ ศาสตร์พระราชากับการประยุกต์ใช้ในองค์กรของ  บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด

โดย  ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา

      รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและบริหาร บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด

เวลาผู้บริหารมองคนสามารถสแกนคนได้อย่างไรบ้าง ?

งานวิจัยบอกว่ามนุษย์เกิดมามีจุดแข็ง 5 เรื่อง (Strength Base Competency) และเมื่อไหร่เจอ What you can ? ประสบความสำเร็จแน่นอน

          แนวคิดเรื่องศาสตร์พระราชาในเรื่องเอกชนทำอะไรบ้าง ? ศาสตร์พระราชาเป็นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่แท้จริง

          1. การระเบิดจากข้างใน – การเปลี่ยนแปลงพัฒนาองค์กรเริ่มจากที่ไหน การพัฒนาองค์กรต้องนำตัวเทคโนโลยีมาใช้ นำเรื่องดิจิทัลเข้ามา แต่เมื่อไหร่คนในองค์กรเป็นศูนย์ การยอมรับเป็นศูนย์ 0 * อะไรก็เท่ากับศูนย์

          การเปลี่ยนแปลงองค์กรเริ่มต้นที่คนในองค์กรทั้งสิ้น ดังนั้นต้องเชื่อมั่นในคุณค่าของคน แนวทางการยกระดับความสามารถของคน อยากเห็นกฎ กติกาในการแลกเปลี่ยน

          - ให้ทำอะไรก็ทำ

          - ถามต่อแลกเปลี่ยนกัน

          - ไม่ว่าจะเริ่มเลทขนาดไหน แต่ตอนเลิกต้องตรงเวลา

          - 1 ใน ความภูมิใจคือเป็นองค์กร

          สิ่งที่ทำให้องค์กรมีชีวิตคือคน ทั้งสิ้น

แนวคิดของศาสตร์พระราชากับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์

1. เศรษฐกิจพอเพียง ต้องมีหลัก 3 อย่างด้วยกันคือพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน เราจะทำให้คนในองค์กรแข็งแรงที่สุดได้อย่างไร

ธุรกิจที่ดีควรมีลักษณะพื้นฐานอย่างไร

          - องค์กรมีจุดยืน

          - อะไรคือพันธกิจสำคัญ อะไรมี Mission ที่ชัดเจน

          - เป็นองค์กรที่ Productive ในอดีตปลาใหญ่ได้เปรียบ แต่ปัจจุบันปลาใหญ่เสียเปรียบ เพราะสิ่งที่เริ่มองค์กรใหญ่ จะเกิดอาการยากลำบาก และสิ่งนื้คือโจทย์สำคัญที่องค์กรเล็ก ๆ ได้เปรียบ เพราะเมื่อไหร่ที่องค์กรใหญ่ไม่ Productive จะน่ากลัวมาก

กรณีเกิดสึนามิ มีคน 2 ประเภทคำถามคือคนไหนรอด

          1. ประเภทแรกมองทุกอย่างสวยงาม วิ่งเข้าไปดูอย่างเดียว

          2. อีกคนวิ่งหนีอย่างเดียว

          เมื่อไหร่คนในองค์กรรู้สึกว่าอยู่ท่ามกลางการแข่งขัน คนกลุ่มนี้จะมี Sence of Urgency สูง คนกลุ่มนี้จะมี Productive สูงมาก

รู้หรือไม่ว่า Start Up ทำงานแบบไหน

          Speed การทำงานเร็วมาก ไม่ผูกติดเรื่องการบริหารผลงาน แต่ดูที่ว่าจะทำอะไรที่ตอบโจทย์ธุรกิจ ให้ธุรกิจไปได้

          ความน่ากลัวอยู่ตรงไหน ? สังเกตได้ว่าตัวเต็งจะแพ้ตอนท้าย ๆ สิ่งนี้คืออยากบอกว่าองค์กร Productive หรือไม่ ทำอย่างไรให้คนมี Productive ทำอย่างไรให้องค์กรเป็น Living Organization แก่นคือ มากกว่าจิตสำนึกรับผิดชอบของสังคม คือความมีมนุษยธรรมที่อยู่ในตัวองค์กร

          การสร้างองค์กรให้มี Black Bone ที่แข็งแรงจะเป็นอย่างไร อะไรคือเรื่องสำคัญ

บริษัท มิตรผล จำกัด

          เชื่อในคุณค่าของคน ทำอย่างไรให้คนแข็งแรงที่สุด

พระราชนิพนธ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องพระมหาชนก จุดพีคคือตอนเรือล่ม

1. เริ่มต้นคือการตั้งสติก่อน สิ่งนี้สะท้อนปัญญา

2. Save พละกำลังให้มากที่สุด

3. มีความเพียรอันบริสุทธิ์

          เราจะสร้าง Mindset ให้กับคนในองค์กรได้อย่างไร

          มิตรผลคิดและมองเรื่องการพัฒนาอีกแบบหนึ่งคือ ทำอย่างไรให้พนักงานมีภูมิคุ้มกันมากที่สุด ทางปัญญา วิธีคิด ความพร้อมด้าน Physical ต่าง ๆ การระเบิดจากข้างในมีความเชื่อว่า ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง เมื่อไหร่มีการวาง Factor ไว้ ทำให้การเปลี่ยนแปลงง่ายมาก

          1. วิสัยทัศน์

          2. การสื่อสาร

          3. เครื่องมือสนับสนุน

          4. แผนปฏิบัติการ

          5. แรงจูงใจ

          6. ทักษะการทำงาน

          และเมื่อไหร่การเปลี่ยนแปลงถ้าคนไม่มี Skill คนจะกลัว แต่ถ้าคนมีทักษะ มีความรู้จะไม่กลัว ดังนั้นการระเบิดจากข้างในคือทำอย่างไรให้คนมีศักยภาพ และใช้ศักยภาพพัฒนาองค์กร ดังนั้นการพัฒนาองค์กรสำคัญ เพราะการพัฒนาคือการสร้างภูมิคุ้มกันองค์กรระยะยาว

          การสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงมีอะไรบ้าง เช่น ออกกำลังกาย และกิน  เราทำให้เห็นว่าที่มิตรผล มีโอกาสในการเติบโต เป็นที่พนักงานเข้ามาอยู่แล้วมีความสามารถมากขึ้น

          ตัวชี้วัดวัดไม่ยาก ให้วัดจากวันที่เข้ากับวันที่ออกจากองค์กร ว่าความรู้ของวันเข้ากับวันออกความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นหรือไม่ หมายถึง ทำอย่างไรให้เขาเก่งขึ้น

          เชื่อว่าในองค์กรทุกท่านใช้โมเดลการเรียนรู้ 70:20:10

          70 % คือ คนเราเก่งเร็ว เก่งช้าขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ที่เจอ ถ้าเจองานที่ท้าทาย เจองานที่ยาก ถ้าทำงานมา 30 ปีแต่เจอโจทย์แบบเดิมก็จะงั้น ๆ แต่ถ้า 10 ปีเจอโจทย์ยาก ก็จะเจ๋งกว่า ดังนั้นการวางรูปแบบการให้ประสบการณ์จะมีประโยชน์มาก เช่น การคิด Start up คิด Project เรียนรู้จากประสบการณ์ท้าทายที่มอบหมายให้

          20 % คือ การสร้างโอกาสในการพัฒนาคน เรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่นในองค์กร เช่น หัวหน้า เพื่อน หรือแม้แต่บางครั้งเด็กก็สอนผู้ใหญ่ได้

          10 % คือการเรียนรู้ในระบบ คือห้องเรียน แต่การเรียนรู้ผ่านไป 90 วัน จำได้ไม่ถึง 5%

          ที่มิตรผลทำอะไรมากกว่านั้น จากแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 9

อะไรคือ Key Success ที่ทำให้มิตรผลเป็น World Class และยั่งยืนอย่างแท้จริง

          หัวใจสำคัญคือ

1. สร้างทักษะการเรียนรู้ให้เกิดในองค์กรอย่างไร

          2. Learn how to learn ถ้ามี Learning Skill สามารถเรียนรู้ทุกอย่างได้ในโลกนี้

          การเปลี่ยนองค์กรอย่างหนึ่งที่สำคัญคือ ต้องหาคนเก่ง ๆ เข้าองค์กร เช่นมีเด็กคนหนึ่งทำ Digital Platform ได้ ไม่จบปริญญาตรี อายุ 32 ปี เรียกค่าตัวแพงมาก บอกว่าการศึกษาไม่สำคัญ แต่มี Learning Skill มี Profile มีประสบการณ์ สามารถทำอะไรก็ได้

แนวทางการเรียนรู้แบบโมเดลของ Peter Senge (5 Discipline)

          1. Mental Model – สอนให้พนักงานเปลี่ยนกรอบวิธีคิด คือขยายกรอบ คนแบบเดิมอยู่ที่ Fixed Mindset มี Program ขยาย Mindset

          2. Personal Mastery – รู้ลึก รู้จริงในสิ่งที่เชี่ยวชาญ

          3. Shared Vision – มีเป้าหมายร่วม

          4. Team Learning – เรียนรู้เป็นทีม

          5. Systematic Thinking – การคิดอย่างเป็นระบบ

          สิ่งนี้มิตรผลได้นำมาทำโครงการ Learning Camp มิตรผล คือ CE – Mitr Phol Learning Camp หลักสูตร 5 วัน ในบริษัทมิตรผลใช้เงิน 2,200 บาท เพราะใข้วิธีการระเบิดจากข้างใน มีการให้คนข้างในที่เก่ง ๆ เวียนมาสอน

          การเปลี่ยนองค์กรได้ เพราะปั้นคนในองค์กรให้มี Skill จะทำอย่าไรให้เด็กมีเวทีลองเล่นเรื่อย ๆ ฝึกเด็กกลุ่มนี้ เด็กกลุ่มนี้จะกลายเป็น Change Agent และกลายเป็น Word of Mouth ต่อมามีคนสมัครเข้าร่วมโครงการฯ เกิน 2,000 คน สิ่งนี้คือการบริหารแบบพอเพียง

การสร้างภูมิคุ้มกันให้คนในองค์กร อะไรคือสิ่งที่ต้องทำ

          ถ้าคนไม่มีความสุขในการทำงานจะทำงานด้วยความสุขได้อย่างไร ถ้ามีปัญหาเรื่องส่วนตัว เรื่องการใช้ชีวิต มิตรผลมีโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานกลุ่มมิตรผล มีการให้กู้โดยปลอดดอกเบี้ย แต่พนักงานต้องเปลี่ยนรูปแบบวิถีการใช้ชีวิต มีการคุยเรื่องส่วนตัว แต่ปัญหาคือหนี้นอกระบบ HR มีการต่อรองหนี้ ตั้ง Target เป็น Haircut  มีการจัด Classified กลุ่ม มีกระบวนการไกล่เกลี่ย ทำกระบวนการ Below the line และ Above the line ผลคือทำมา 4 ปี NPL ไม่มี มีการติดตามพฤติกรรมต่าง ๆ เงินที่พนักงานกู้ หัวหน้ากับ HR ถือให้การใช้เงินต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน พนักงานบางคนทำรายได้เสริม และบางคนพ้นหนี้อย่างรวดเร็ว  เลี้ยงปลากัด ปลาสวยงาม ปลูกผัก เป็นต้น

          ความสุขของคนทำงานคือ การเห็นคนเปลี่ยนแปลงมีชีวิตที่ดีขึ้น ความสุขที่แท้จริงของผู้บริหารคือการสร้างความสุขให้องค์กร ลูกน้อง ไม่ใช่เพื่อตัวเราเอง

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. โครงการที่ผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วม คนที่ประสบความสำเร็จไม่สำเร็จกี่คน

          ทุกเดือนจะมีการประเมินพนักงานกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มที่แย่สุดคือกลุ่ม D และดูว่าจะขยับมากลุ่ม C กลุ่ม B กลุ่ม A อย่างไร  Progress อยู่ใน 1 ใน 5  มา C กับ B เยอะมาก แต่สิ่งที่ทำตรงนี้ไม่ได้เพื่อสร้าง Engagement Score

สรุปการบรรยาย

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ  Project Coaching and Effective Project Presentation (2)

โดย     ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562

(บันทึกสรุปการเรียนรู้โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

หลักคิดโครงการนวัตกรรม

1. นวัตกรรมคิดใหม่ที่ไม่มีใครคิด

2. ต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่

3. คิดจากลูกค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

ประเด็นที่ต้องชัดในมุม Business Model Canvas คือ

1. คุณค่าที่ส่งมอบ

- ทำไมถึงเลือกโครงการนี้

- ตอบโจทย์อะไร

ยกตัวอย่างในโครงการฯ กลุ่มนี้ต้องตอบโจทย์นวัตกรรม และศาสตร์พระราชา ดังนั้นการคิดโครงการต้องไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรอย่างเดียว

- จะส่งมอบอะไรให้ลูกค้า

2. กลุ่มลูกค้า

          - ใครคือลูกค้า

3. ช่องทางลูกค้า

          - ส่งถึงลูกค้า ช่องทางเป็นอย่างไร

4. การสร้างความสัมพันธ์

          - ความมีส่วนร่วม เช่น การดึงชุมชนมาช่วย ธุรกิจ ชุมชน สังคม ลูกค้าได้หมดเป็นต้น

เช่นการทำ EV จะสามารถเชื่อมโยงกับชุมชนอย่างไร

5. ทรัพยากรหลัก

          - ทำบนพื้นฐานที่มี

6. คู่ค้าหรือแหล่งวัตถุดิบสำคัญ

7. กิจกรรมสำคัญ

8. ต้นทุน

          - ใช้ตรงส่วนไหน ต้องนั่งคิดให้ชัดเจน

9. รายได้

การทำ Business Model ยุคใหม่แบบ Social Enterprise

คือ Minimize Profit แต่ชุมชนได้มาก หลักคือ ยิ่งให้ยิ่งได้ รวมถึงอะไรก็ตามที่เป็นแรงบันดาลใจให้ชุมชนทำร่วมกับเรา ให้เขามีส่วนร่วมกับเรามากที่สุด 

สิ่งสำคัญที่ทำ Business Model คือ Passion and Inspiration และต้องตอบโจทย์ สังคม ลูกค้า และคู่ค้า ไม่ใช่โครงการที่ใช้เงิน แต่ต้องเป็นโครงการที่หาเงินไปทำ

          กรณีศึกษาโครงการของ กฟผ. ไม่ได้จบที่ต้นทุนและรายได้อย่างเดียว แต่เป็นเรื่องการใช้ต้นทุนของศาสตร์พระราชา คือต้นทุนที่ใช้ในการทำงานกับชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และผลตอบแทนที่คืนสู่สังคม และสิ่งแวดล้อม

          โครงการที่คิดมาจะเติมอะไรให้ดูน่าสนใจ คิดหัวข้อให้ดูว้าว ตอบโจทย์องค์กร สังคม ชุมชน ได้ทั้งเงินและภาพลักษณ์ในการทำโครงการแบบ Social Enterprise มากขึ้น

การนำเสนองาน

ยกตัวอย่าง Prezi Program จะช่วยในการนำ Touch Screen Present สามารถดึง PowerPoint หลายหน้ามารวมนำเสนอในจอเดียวได้ เป็นตัวที่การตลาดนิยมใช้

ต้องมีข้อมูลวิเคราะห์ในการเห็นได้ในหน้าจอเดียว ทำอย่างไรให้เป็น Landmark ได้ทั้งรายได้ ชุมชน โดยไม่ต้องออกไปข้างนอก ให้ดูว่าระหว่างทางใครจะมา และสามารถใช้กระบวนการจัดการอย่างไร และทำอย่างไรให้โครงการเราผสมไปกับระบบนิเวศน์ได้

หัวข้อการโครงการเบื้องต้น

กลุ่มที่ 1 EGAT Top Mart

กลุ่มที่ 2 Senior Healthcare Center

กลุ่มที่ 3 EGAT Eco Tourism

กลุ่มที่ 4 พลังงานสะอาดวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมจำกัด

กลุ่มที่ 5 บ้านสุขภาพปูราชินี

กลุ่มที่ 6 EGAT Academy

กลุ่มที่ 7 EGAT Smart Healthcare Resource

กลุ่มที่ 8 Smart EV Charging and Changing Station

         

กลุ่มที่ 6 EGAT Academy

1. คุณค่าที่ส่งมอบ

          ศูนย์การเรียนรู้ EGAT หรือ EGAT Academy หลักการคือเห็นบุคคลของกฟผ. มีความรู้เยอะมาก รู้เยอะแต่ไม่ได้รู้กว้าง มีหลักสูตรหลากหลาย ไม่อยากให้ความรู้ที่มีอยู่หายไป ถ้ามีช่องทางที่ง่ายในการทำเป็น Platform ดึงข้อมูลความรู้จากส่วนต่าง ๆ ตั้งเป็น EGAT School, Academy นำหลักสูตรของแต่ละหน่วยงานมา ตั้งเป็นหลักสูตรการอบรม Online  ทำคล้าย Ted Talk เช่น วิธีการสร้างโรงไฟฟ้า ทำอะไรให้ประสบความสำเร็จ

          สรุปคือนำความรู้จากผู้มีประสบการณ์และบุคคลากรที่หลากหลายมา ไม่ทิ้งไป

2. ลูกค้าคือใคร

          คนภายในได้แก่ พนักงานฝ่ายปฏิบัติการผู้บริหาร และผู้ที่เกษียณ อย่างความรู้ทั่วไปในการทำโรงไฟฟ้า ระบบการจัดหาเชื้อเพลิง

          ลูกค้าภายนอก ได้แก่ ต่างประเทศ คนที่เป็นเครือข่ายพลังงาน

3. การสร้างความสัมพันธ์

          จะสมัครสมาชิกเป็นรายปี หรือรายเดือน เพราะนโยบายเน้นขายความรู้

4. Key Partner

          บุคลากรภายใน และ Partner ผู้ร่วมอุดมการณ์ เช่น กฟภ. ปตท. คู่ค้าต่าง ๆ  มีบริษัทไอที Marketing

5. Resource

          มีเครื่องไม้เครื่องมือ ความรู้ต่าง ๆ มีโรงไฟฟ้า ที่สามารถจัดเป็น Package ทัวร์ได้ มาเรียนด้วยเที่ยวด้วย

6. Activities

          เชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยมาได้ ไปช่วยสอนได้ ช่วยสังคมได้

7. ต้นทุน

          ค่าใช้จ่ายภายในและภายนอก

ข้อเสนอแนะจาก ดร.เกริกเกียรติ

          มีการทำ Online และ Offline มี Platform Online ที่ไม่ต้องลงทุน ไปหา Content มาใส่ ทำแบบ Real Time วิธีคิดค่าธรรมเนียมมีการ Subsribe ต่อปี สิ่งเหล่านี้ลงทุนไม่มาก แต่คืนสู่สังคมได้มาก ในภาคปฏิบัติอาจใช้ Offline

          ถ้าตกผลึกดีจะเป็นการนำ Knowledge และ Knowhow มาใช้ สามารถทำเป็นหลายภาษาและจะได้ลูกค้าต่างชาติมาเรียนได้

กลุ่มที่ 2 ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของกฟผ. Senior Healthcare Center

1. คุณค่าที่ส่งมอบ

เนื่องจากในประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ผู้สูงอายุ การเตรียมดูแลผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ EGAT โชคดีที่มี Infrastructure มากจะทำอย่างไรที่ต่อยอด และได้ผลกำไรคืนกลับมาสามารถแบ่งปันสังคมและคนรอบข้าง

          มีการจำลองว่าเราต้องการได้รับอะไรจากสิ่งที่ได้รับกลับมา เช่น ความสะอาด ความสะดวก เพื่อน ความปลอดภัย ปัจจัย 4 ความมีคุณค่าของตัวเอง (ทำอย่างไรให้มีคุณค่าต่อ) และกลับคืนสู่สังคมที่มีคุณค่าผู้สูงอายุ

2. กลุ่มลูกค้า

          พนักงาน กฟผ. เป็นสวัสดิการต่อเนื่อง

          ผู้สูงอายุในชุมชน

          ชาวต่างประเทศ

3. ความสัมพันธ์

          ได้พนักงานที่มีแรงจูงใจว่าจะได้รับการดูแลตลอดแม้หลังจากเกษียณ ได้ส่วนลดลูกค้า และส่วนลดชุมชนในพื้นที่

4. ช่องทาง

          การประชาสัมพันธ์ สร้าง Social Media มีรูปแบบที่จองผ่านเว็บไซด์

5. ผู้เกี่ยวข้อง

          โรงพยาบาลที่เป็น International ชุมชน โรงแรม นักโภชนาการ Airbnb

6. กิจกรรม

          - สำรวจลูกค้าไปที่ชุมชนศรีสวัสดิ์

- จัดกิจกรรมการออกกำลังกาย

7. ทรัพยากร

          เนื่องจากเขื่อนท่าทุ่งนามาทำศูนย์ฯ  มีห้องพักอยู่แล้ว นำมาปรับปรุงให้สอดรับกับสมาชิกมากขึ้น

8. ต้นทุน

          มีการส่งคนดูแลผู้สูงอายุ นักโภชนาการ ดูแลออกกำลังกาย แพทย์ชุมชน ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค บริหารจัดการ การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน กรณีเจ็บป่วยกะทันหัน มีรายได้อนาคต

9.สิ่งที่ได้รับ

          ส่วนลดในการดูแลของชุมชน การสร้างอาชีพของลูกหลาน ส่งเสริมอาชีพทางด้านนวดแผนไทย ให้ชุมชนที่มีฝีมือด้านนี้รับดูแล มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์และผักปลอดสารพิษ ควบคุมคุณภาพมาใช้ในศูนย์

          ผู้เกษียณจะรู้สึกมีคุณค่า มีความรู้ด้านไหนก็ไปตั้งห้องเรียนเล็ก ๆ ที่มีคุณค่าสามารถถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์

          เขื่อนท่าทุ่งนาต่อไปจะกลายเป็น Landmark ทางการท่องเที่ยว

กลุ่มที่ 4 พลังงานสะอาดวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมจำกัด

1. คุณค่าที่ส่งมอบ

พลังงานสะอาดวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมจำกัด บริษัทนี้ที่จะจัดตั้งจะเป็นบริษัทลูกของกฟผ.ได้หน่วยสรรพากรในการลดภาษี สามารถบริหารจัดการโดยไม่มีการแบ่งเงินปันผล เป็น Agency ในการจัดหาพลังงานสะอาด ชุมชนต่าง ๆ จะเป็นหาเป้าหมายพลังงานสะอาด

มีคู่ค่าและลูกค้า ระบบการซื้อขาย ชุมชนสหกรณ์และครัวเรือนไปรวมตัวกัน ณ ตอนนี้จะเอาส่วนนี้ไปขายที่ไหน พอรับซื้อจะจัดตั้งเป็นสหกรณ์เป็นชุมชนรวมกัน

2. ลูกค้า

- นิคมอุตสาหกรรมที่ต้องการ Green Energy

- ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะใช้พลังงานแห่งไหน

3. ช่องทาง

          มีการจัดตั้ง Roof Top รวมกลุ่มการผลิตไปขายได้ มี Online Application เป็นตัว Block chain จะรู้ว่ามีเชื้อเพลิงจากไหนได้บ้าง เมื่อรวมกันแล้ว

4. ความเชื่อมโยง

          นิคมอุตสาหกรรมที่ต้องการ Green Energy เพื่อสร้าง Partner เน้นการยิ่งให้ยิ่งได้

5. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

          ชุมชน ลูกค้า ครัวเรือนชุมชนสหกรณ์ เครือข่ายนิคมอุตสาหกรรม

6. กิจกรรม

          ส่งเสริมให้ชุมชนผลิตพลังงานสะอาด

7. ช่องทาง

การซื้อผ่านระบบส่งของกฟผ. Blockchain

8. ต้นทุน

          - ต้นทุนการจัดตั้งบริษัท

          - ต้นทุน Blockchain Technology และเทคโนโลยีต่าง ๆ ระบบและเทคนิค

          - บุคลากรการบำรุงรักษาในอนาคต

          - เครื่องมือ

9. รายได้

          ขายไฟบริษัท และนิคมอุตสาหกรรม การรับงานต่อยอดธุรกิจได้

10.สังคม

- เมื่อไม่มีใครทำ กฟผ.จะทำเพื่อส่งมอบต่อสังคม และลูกค้าอย่างแท้จริง 

          - เรื่องรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นการซื้อไฟที่ชุมชนผลิตหลงเหลือจากการเกษตร เมื่อได้กำไรจะปันสู่ส่วนรวม ให้ชุมชนพัฒนา ต่อยอด สร้างสรรค์สิ่งที่มีประโยชน์ต่อไป

กลุ่มที่ 5 บ้านสุขภาพปูราชินี

1. คุณค่าที่ส่งมอบ

ดูแลผู้สูงอายุ เน้นการทำทางธรรม ทำเรื่อย ๆ และทำนอกกรอบใช้บ้านปูรชินีดูแลสุขภาพกายและใจ และเน้นเนื่องความสวยงามผู้สูงอายุ

2. ลูกค้า

- ผู้มีอายุ 65-75

- ประชาชนที่มีรายได้ปานกลางและรายได้สูง

3. กิจกรรม

สมัครเป็น Package ให้เลือก

4. ต้นทุน

การปรับปรุง สถานที่ สวนต่าง ๆ ใช้บ้านพักรับรองที่ดี มีการเตรียมความพร้อมของบุคลากรเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ

5. ผู้เกี่ยวข้อง

โรงพยาบาล  มีการดูแลชุมชนรอบเขื่อน

6. ทรัพยากร

          ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน

7. รายได้

การบริการสินค้าชุมชนต่าง ๆ มีรายได้เพิ่ม 20%

8. สังคม

แรงงานท้องถิ่น สร้างงานให้ชุมชน

คืนสู่สังคม – ชุมชนได้อยู่ร่วมกับเราไม่ต้องทำงานที่อื่น สร้างชุมชนรอบข้างให้เข้มแข็ง

กลุ่มที่ 7 EGAT Smart Healthcare Resource

1. คุณค่าที่ส่งมอบ

          จากการประเมินผู้สูงอายุในปัจจุบันที่มีจำนวนมาก ยกตัวอย่างในกรุงเทพฯ ราคาพื้นฐาน 40,000 บาทต่อเดือนที่มีรายได้สูงมาก มีสถานที่และที่ดินจำนวนมากที่สามารถทำเป็นรีสอร์ท หรือ Long Stay เป็นไปได้ คิดถึงลูกค้าไม่จำกับเฉพาะคนไทย ชุมชน สังคมรอบข้างเพื่อให้ได้ความสุขร่วมกัน ใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดเพื่อลดต้นทุนเบื้องต้น EGAT Smart Healthcare Resource สร้างชุมชน การจ้างงาน สุขภาพกายใจ ไม่ทิ้งวิถีชีวิต มีเรื่องระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม สร้างคุณค่าให้มีประโยชน์มากขึ้น

2. ลูกค้า

          ระดับพรีเมี่ยมเพื่อให้เกิดความแตกต่าง

3. ทรัพยากร

มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการจัดทำสถานที่ต่าง ๆ และคนกฟผ.มีความสามารถในการบริหารจัดการ สามารถทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

4. ผู้เกี่ยวข้อง

          ผู้มีความเชี่ยวชาญ เช่นโรงพยาบาลชั้นนำ เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ

5. ต้นทุน

          ต้องมีรายได้มากพอที่ครอบคลุมผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองไม่ได้

6. รายได้และการต่อยอดสู่สังคม

การกระจายรายได้ไปสู่ลูกค้า ส่งเสริมการปลูกพืช จ้างแรงงาน เพิ่มทักษะรองรับกำลังแรงงานเพื่อดูแลผู้สูงอายุได้

กลุ่มที่ 1 EGAT TopMart

1. คุณค่าที่ส่งมอบ

          EGAT Topmart คือ  T – Tumbol , O-Outstanding , P-Product การใช้ทรัพยากรให้น้อย เป็นประโยชน์จะทำให้โอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น บริการชุมชนที่มีคุณภาพ ครัวเรือน รอบเขื่อน โรงไฟฟ้ากฟผ. อัตลักษณ์ท้องถิ่น และบริการตามวิถีชุมชน

2. ลูกค้า

          ครอบครัว แม่บ้าน ผู้บริโภครักสุขภาพ ผู้สัมมนา นักท่องเที่ยวที่รักธรรมชาติ

3. ช่องทางจำหน่าย

          มี I get mart เชื่อมกับ CAT Telecom และมีไปรษณียไทยเชื่อมLogistic

4.ความสัมพันธ์         

          รักษาคุณภาพและผลิตภัณฑ์ที่ดี มีบัตรสมาชิกสะสมแต้มใช้เป็นส่วนลด สร้างลูกค้าให้มี Loyalty มากขึ้น

4. Key Partner

          CAT ไปรษณีย์ไทย วิสาหกิจชุมชน กสทช. (ให้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง) และให้การกำกับดูแลผู้ประกอบการ มีการขอความร่วมมือและบังคับใช้กฎหมายเพื่อสนับสนุนผู้ด้อยโอกาส

5.กิจกรรม

          กระบวนการผลิตสินค้า ชำระเงินออนไลน์ การจัดส่ง

6. ต้นทุน

          มีที่พักกฟผ. ที่พักชุมชน ผลิตภัณฑ์ชุมชน ค่าบริหารจัดการ การดำเนินการ

7. รายได้

          เพื่อแบ่งให้ชุมชน

8. ผลกระทบ

          ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับสังคมและวิถีชีวิต ถ้ามีนักท่องเที่ยวมากขึ้น วิถีชีวิตก็มีผลกระทบบ้าง มีการอนุรักษ์ ส่งเสริมวัฒนธรรม สร้างความสามัคคี รักบ้านเกิด สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน

กลุ่มที่ 8 Smart EV Charging and Changing Station

1.คุณค่าที่ส่งมอบ

          ขายพลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ เพราะเชื่อว่าในอนาคตรถไฟฟ้ามาแน่ คิดถึงโมเดลที่ต่อยอดคือ แบตเตอรี่  ทำอย่างไรที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ใช้พลังงานสะอาด ปัญหาคือใช้เวลาชาร์ตนาน ทางแก้คือคู่ค้าที่ใช้รถยนต์ อาจมีการนำรถไปจอดในเมือง มีกระบวนการเสียบปลั๊กและชาร์ตแบตเตอรี่เอง ไม่ได้ขายแบตเตอรี่แต่ขายพลังงานไฟฟ้า

2. ลูกค้า

          ลูกค้าที่ใช้รถ

3. ช่องทาง

          มี Sub Station บริเวณเส้นทางสัญจร การใช้ไฟฟ้ามาก เริ่มจากกรุงเทพฯและปริมณฑลก่อน

4. กิจกรรม

          - การใช้บัตรสมาชิก มีแต้มลดเนื่องจากมีคู่แข่งจำนวนมาก

          - การแก้ พรบ.ปลดล็อก

          - Sub Station

5. ทรัพยากร

          - สามารถผลิตไฟเอง สามารถลดต้นทุนได้ ตัวชารต์ไฟ แบตเตอรี่

6. ต้นทุน

          ค่าสถานที่ แบตเตอรี่ ค่าแรงงาน

7. ผู้เกี่ยวข้อง

          บริษัทรถยนต์ที่ผลิตไฟฟ้า บริษัทแบตเตอรี่ ชุมชน

8. รายได้

          ตัวไฟฟ้าแบตเตอรี่ การขายของที่ระลึกจากชุมชนบริเวณใกล้เคียง

9. สังคม

          แบตเตอรี่ที่เก่าแล้วจะกำจัดซากอย่างไร มีการจ้างแรงงานชุมชนเข้ามา

          สร้างประโยชน์ให้ชุมชน มีส่วนร่วม อย่างเช่นการมี Sub Station สถานีไฟฟ้าย่อย

กลุ่มที่ 3 EGAT Eco Tourism

1. คุณค่าที่ส่งมอบ

          จากโครงการที่ทำไว้อยู่แล้วคือการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และดูแลสิ่งแวดล้อม การต่อยอดคือการมองศักยภาพกฟผ.กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนอยู่อย่างยั่งยืน การทำอย่างต่อเนื่องและบูรณาการจึงคิดโครงการทำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ EGAT Eco Tourism ทำร่วมกับชุมชนเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีการทำโฮมสเตย์ และพื้นที่ที่พัฒนาต่อได้

2. ผู้เกี่ยวข้อง

          ดูชุมชนที่มีสุขภาพพร้อม กรมอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ พื้นที่รอบ

3. กิจกรรม

          การสนับสนุนโครงการชีววิถี จะต่อยอดเรื่องทำที่พักเพิ่ม พัฒนาพื้นที่เพิ่ม สถานที่ท่องเที่ยวเพิ่ม สินค้าพื้นบ้านที่มีอยู่ และการเกษตร เช่นการสนับสนุนชุมชนเลี้ยงปลาดุก ปลานิล พัฒนาผักสวนครัว และออแกนิสก์

4. ทรัพยากร

          การเป็น Coaching  Trainning และพาไปศึกษาดูงาน

5. การเชื่อมโยง

          เครือข่ายการเชื่อมกับ Social Media เช่น Facebook, Line และเครือข่ายกฟผ.

6. ช่องทาง

          ช่องทางเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว

7. ลูกค้า

          ลูกค้ากฟผ. อดีตพนักงานกฟผ. นักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

8. ต้นทุน

          มีงบประมาณที่สนับสนุนอยู่แล้ว มีสถานที่ที่มีความพร้อมอยู่แล้ว

9. รายได้

          ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถอยู่กับกฟผ.ได้

10. สังคม

          การอนุรักษ์พื้นที่ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ชุมชนในพื้นที่มีรายได้มั่นคง สามารถอนุรักษ์ วัฒนธรรมประเพณี

ข้อเสนอแนะอาจารย์เกริกเกียรติ

          ทั้ง 8 กลุ่มสามารถสรุปได้ 3 ส่วนคือ

          1. โครงการเกี่ยวกับไฟฟ้า เช่น Green Energy , EV

          2. โครงการสัมพันธ์กับไฟฟ้า เช่น สังคมการเรียนรู้

          3. โครงการไม่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เช่น บ้านผู้สูงอายุ ชุมชนชีววิถี ใช้ทรัพยากรที่กฟผ.มีอยู่

สำเร็จได้จากการทำ

1. Less is more

2. ทำได้จริงหรือไม่

3. ทำได้รวดเร็วหรือไม่

          กลุ่มที่น่าสนใจคือสินค้า ที่ทั่วไปคือ OTOP อาจไม่ตอบโจทย์ เป็นไปได้หรือไม่ที่มาจากเขื่อน หรือจะซื้อสินค้าต้องมาที่นี่เท่านั้น เพื่อสร้าง Value Preposition ที่นำไปสู่ชุมชน

          ในกลุ่มบ้านพักผู้สูงอายุ และ Eco Tourism สามารถทำแบบเชื่อมโยงได้หรือไม่

          ตัวที่มีความเสี่ยงคือบ้านพักผู้สูงอายุ ต้องทำระยะยาวและไม่สามารถเลิกได้ ต้องมีการผ่านกฎหมายด้วย  สามารถทำบ้านผู้สูงอายุแบบ Agoda ได้หรือไม่ ทำ Platform ของเทคโนโลยีแล้วนำบ้านใส่ไปในนั้น  ความเสี่ยงอาจจะน้อยลง เช่นเป็น Platform Homestay ให้มากกว่า Airbnb และ Agoda

          ทั้ง 9 ช่องต้องเริ่มจากคุณค่าคืออะไร ใครคือลูกค้า มีช่องทางอย่างไร มีความสัมพันธ์อย่างไร มีทรัพยากรพอหรือไม่ กิจกรรมที่ทำให้สำเร็จ มีเครือข่ายหรือไม่ และปัจจุบัน E-Learning สามารถพัฒนาเป็น M-Learning คือ Mobile Learning

สรุปการบรรยาย

ปาฐกถาพิเศษ    หัวข้อ  การประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

โดย    คุณกรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์

          อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562

ศาสตร์พระราชา

          ที่ดอยตุงมีอะไรบ้าง สิ่งที่ศาสตร์พระราชาทำไม่ใข่เกษตร ศาสตร์พระราชาสร้างคือความสุข การนำเทคโนโลยีเข้าชุมชนต้องเป็น Simple Technology

          เกษตรทฤษฎีใหม่สอนให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้

สิ่งที่เห็นในศาสตร์พระราชาคือ

1. ปรัชญา เช่น เศรษฐกิจพอเพียง

2. องค์ความรู้ เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง

ความสุข

          ความสุขของคนไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับการมีศักยภาพขนาดไหน มีทางเลือกแบบไหน สิ่งสำคัญคือ

ทำไมต้องเรียนศาสตร์พระราชา

1. ศาสตร์พระราชาสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ ยกตัวอย่าง โครงการเสื้อเบอร์ 5 ,ยับแต่เท่ห์

2. ในชีวิตมีเรื่องอะไรมากมายให้หลากหลาย อย่ามองว่าเป็นปัญหา

3. สิ่งที่ทำทุกวันนี้เราทำอะไร

4. เราจะจำกัดขอบเขตอย่างไร เพราะทุกอย่างมี Boundary ทั้งหมด

5. เป็นภารกิจเพื่อชาติ เราจะคิดถึงชาติอย่างไร เมื่อชุมชนแข็งแรง สังคมแข็งแรง ประเทศชาติแข็งแรง

การนำศาสตร์พระราชาไปปรับใช้

ยกตัวอย่าง ดอยตุงโมเดล เป็นตัวอย่างนำศาสตร์พระราชาไปใช้

ข้อสังเกตคือทำไมชุมชนยังไม่เข้าใจ กฟผ. เนื่องจากชุมชนมีข้อจำกัดคือชุมชนขาดโอกาส กรณีศึกษาที่ดอยตุง ได้เข้ามาตอบโจทย์แก้ไขปัญหาการขาดโอกาสของชุมชน

วิธีคิดของดอยตุงคือ ขายอย่างไรให้ได้มากขึ้น เช่น มีการนำเมล็ดกาแฟไปคั่ว บด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม มีจุดรักษาพันธ์กาแฟ มีแมคคาเดเมีย และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากดอยตุง โดยใช้วิธีการสร้างแบรนด์และยกระดับแบรนด์ให้มีมูลค่าเพื่อสร้างรายได้ มี Partner เช่น IKEA

สิ่งที่น่าสนใจคือ รายได้ GDP ของดอยตุงสูงกว่าในเมืองเชียงราย 3 เท่า เหตุเพราะอะไร 

วิธีคิดที่น่าสนใจคือ

1. ทำอย่างไรให้ชุมชนยอมทำ

2. รูปแบบที่ทำคือกาแฟ และมีผลิตภัณฑ์ที่หลายหลายอื่น ๆ

ยกตัวอย่างกฟผ. มีเขื่อนหลากหลาย เราจะยกผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าอย่างไร

3. ศาสตร์พระราชาคือปรัชญาและวิธีคิดที่คนไปประยุกต์ใช้

4. การทำงานมีลักษณะการมอบหมายงาน ไม่มีการ Interrupt

5. ศาสตร์พระราชามีเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือภูมิคุ้มกัน จะขายของได้ ต้องมีตลาด ถ้ากาแฟไม่มีตลาดก็พังทั้งระบบ  ดอยตุงมีมืออาชีพทำงานและมีแบรนด์ กฟผ. ไปส่งเสริมชีววิถี ชาวบ้านจึงมองกฟผ.เป็นเศรษฐีใจดีที่ชอบให้ ชาวบ้านบอกว่า ถ้ากฟผ.ไม่ให้การสนับสนุน ชาวบ้านก็จะไม่ทำโครงการ เมื่อไม่ทำโครงการ ชาวบ้านก็ไม่เสียหาย

ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยเสด็จที่แห่งหนึ่ง พระองค์ท่านมีพระราชดำรัสว่า ต้องมีวิธีการบริหารจัดการของเน่าเสีย มีโรงงานแปรรูป มีการตลาดส่งเสริมการขาย

ดอยคำเป็นการแปรรูปที่มีตลาด และจะเข้าถึงชุมชนได้ จะมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย ทุกอย่างอยู่ที่ความยั่งยืน ต้องมีการบริหารความเสี่ยง

ถ้าจะส่งเสริมการตลาดให้ชุมชน ต้องมั่นใจว่า สิ่งนั้นขายได้ ทราบว่า ขายให้ใครและขายได้กี่ปี ถ้าขายไม่ได้ มีใครที่สามารถบอกได้ว่า ควรเลิกได้ และแจ้งล่วงหน้า 3 ปี ถ้าส่งเสริมการผลิตมากเกินไป ก็เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด (Oversupply) บางครั้งของบางอย่างขายได้มาก ก็มีคนอยากผลิตมาก ทำให้ราคาตก ผู้ผลิตยากจน เวลาหน้าแล้ง ก็ต้องแจ้งชาวบ้าน แต่ชาวบ้านไม่เชื่อ ถ้าเป็นชุมชน ก็เกิดคำถามว่า ทำทำไม ชุมชนที่เข้มแข็งจะมีกติกาชุมชน บริหารชุมชน กติกาชุมชนสำคัญมาก คนนอกเข้าไปทำอะไรไม่ได้

6.ศาสตร์พระราชาคือ ทำอะไรแล้วจะต้องเกิดความยั่งยืน เช่น การส่งเสริมชีววิถี ต้องให้ทุกปีหรือไม่ ถ้าให้ทุกปี ก็ไม่ยั่งยืน

คุณวีระวัฒน์ ชลายน อดีตผู้ว่าการกฟผ.กล่าวว่า คนของกฟผ.มีความเป็นตัวของตัวเองมาก หลงตัวเองว่า เก่ง แล้วมองตนเหนือคนอื่น ทำให้คนอื่นไม่ชอบ

ที่ดอยตุง มีประชาชนพื้นถิ่นหลากหลายเผ่า มีภาษาพูดถึง 8 ภาษา เมื่อข้าราชการเข้ามา ประชาชนเหล่านี้ก็ไม่เชื่อถือ

สิ่งที่ควรดูที่ดอยตุง คือ ทำอย่างไรจึงสำเร็จ ตีความอย่างไร

ต้องทำความเข้าใจชุมชน

ดอยตุงจ้างชาวบ้านปลูกกาแฟ แล้วชาวบ้านได้เงิน ทำให้ชาวบ้านเข้าใจและยกที่ให้ เป็นการระเบิดจากข้างใน การเลี้ยงแพะจะขายในรูปแบบใด อาจแปรรูปเป็นสิ่งต่างๆ เมื่อชาวบ้านเข้ามาอยู่ในกระบวนการก็จะเข้าใจ การให้ฟรีเป็นการทำลายความเข้มแข็ง ปัญหาคือกฟผ.ให้มากเกินไปจนชุมชนร้องขอ ต้องอย่าให้ฟรี ถ้าให้คนเลี้ยงแพะ มีลูกแพะแล้วให้คนอื่นเลี้ยงจะเกิดภาวะ oversupply

7. ศาสตร์พระราชาคือ ต้องคิดมากขึ้น คิดครบ ดอยตุงมีองค์ความรู้ที่ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องแล้วไปส่งเสริมให้ชาวบ้านทำ อย่าทำอะไรให้ชุมชนต้องเสี่ยง ชาวบ้านต้องการคำแนะนำ เป็นคนน้ำไม่เต็มแก้ว

ถ้าโรงไฟฟ้าหมดสัญญา ชุมชนที่เคยได้รับโครงการ CSR จะอยู่อย่างไร  ต้องคิดเรื่องความยั่งยืน กฟผ.ต้องทำแล้วพร้อมจะจากชุมชนไป

ต้องประยุกต์ใช้ CSV ให้เหมาะสม นวัตกรรมใหม่ CSV แบบกฟผ.คืออะไร ต้องเข้าใจความหลากหลาย ภูมิคุ้มกัน

รัชกาลที่ 9 ทรงเน้นให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ อย่าเน้นให้อย่างเดียว ต้องหาคนมาส่งเสริม สอน และขาย การขายต้องออกแบบให้เป็นที่ต้องการของตลาด กฟผ.หาตลาดให้ชุมชน แต่ปัญหาคือคนกฟผ.เป็นตลาดที่ซื้อกันเอง

การช่วยส่งเสริมชุมชนทำได้โดย

1.ต้องทำให้คนขายของได้มากขึ้น

2.ทำให้ขายของได้ราคาสูงขึ้น

ในการทำให้สำเร็จ ต้องใช้วิธีหาคนอื่นมาช่วยลงแขก ก็คือ ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยขาย

โมเดลสิรินธรคือบูรณาการเครือข่ายโดยต้องทำให้ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย

ทุกวันนี้ ทุกคนต้องการแบ่งปันช่วยเหลือสังคม ตลาดหลักทรัพย์มีคะแนนความยั่งยืนให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้มีเงินทุนสนับสนุนเรื่องนี้ กฟผ.ควรร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ กรณีแม่เมาะ มีดารามาช่วยแนะนำแม่เมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม ควรมีการจัดสรรพื้นที่ให้ชุมชนทำและดูแลแบบมีกรอบ อาจมีการโฆษณาเชิงสังคม

การมีเครือข่ายทำให้มีการนำคนมาดูงาน กฟผ.จัดงานจักรยานใช้งบเป็นล้าน ถ้าได้เงินจากเครือข่าย ก็จะมีเครือข่ายโปรโมทงานให้ เพราะเขาต้องหาลูกค้าและคนมาจัดกิจกรรมให้

การทำงานกับเครือข่ายต้องมีทักษะคือ มีองค์ความรู้ลึกๆ ทักษะการทำงานในการบริหารจัดการโดยใช้ศาสตร์พระราชาคือ Lobbyist (ทักษะการค้นหา) จับคู่แล้วทำให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เป็นเครือข่าย ต้องสอนเรื่องการเจรจาต่อรอง ความคิดสร้างสรรค์ในการจับคู่แล้วได้ประโยชน์ร่วมกัน

ยุคสมัยเปลี่ยนไป องค์ความรู้เดิมใช้ไม่ได้ แต่เก็บเป็นประวัติศาสตร์ที่ภาคภูมิใจในหอเกียรติยศได้ ไม่ใช่ต่อยอด ต้องนำเด็กรุ่นใหม่มาช่วยพัฒนาความรู้ใหม่ๆ อาจเปิดพื้นที่ให้ช่วยทำงานแล้วจะไปรอด

องคมนตรีบอกว่า รัชกาลที่ 9 ตรัสว่า อย่าทำงานแบบราชการ เพราะทุกข์ของประชาชนรอไม่ได้

กฟผ.มีงานหลากหลายที่ไม่ใช่ของกฟผ. เป็นงานช่วยคนอื่น ต้องช่วยชุมชนขับเคลื่อนให้สำเร็จ

สิ่งสำคัญมากคือ การขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้นำ เช่น ผู้ว่า

ต้องใช้ภาวะผู้นำในการขับเคลื่อน อย่ายอมแพ้

ขอให้กำลังใจทุกคนในการขับเคลื่อนกฟผ. มีความสุขและประสบความสำเร็จ

งานศาสตร์พระราชาเป็นงานที่สร้างความสุขให้กับชุมชนและสังคม ถ้าคิดแค่ชุมชน ก็มองเรื่องผลกระทบ ถ้าคิดเชิงสังคม จะทำงานได้มากกว่านี้ กฟผ.เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมไม่ใช่สร้างแค่ไฟฟ้า ถ้าคิดแบบนี้ จะทำสิ่งต่างๆได้อีกมากมาย เมื่อไปที่ใด ก็จะไม่เกิดปัญหา แต่จะได้รับการตอบรับที่ดีจากสังคมเพราะไปสร้างความสุขให้สังคม

สรุปการบรรยาย

Special Talk หัวข้อ ศาสตร์พระราชากับการประยุกต์ใช้และการสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ

                            โดย ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

                            ประธานที่ปรึกษา 

                            บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์มา 70 ปี มีโครงการในพระราชดำริประมาณ 4,600-4,700 โครงการ ถือว่ามีจำนวนมากและยิ่งใหญ่สำหรับชีวิตคนที่ได้ทำโครงการ และแต่ละโครงการเกิดจากความทุกข์ของประชาชน ทุกข์อยู่ในอริยสัจสี่ สาเหตุปัญหาคือสมุทัย เป็นแนวทางที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งได้รับการยืนยันจากพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี

โครงการของในหลวงรัชกาลที่ 9 มีทุกที่ เป็นภูมิปัญญาของมนุษยชาติ ไม่ใช่แค่ของคนไทย แต่คนไทยไม่ได้เข้าไปซึมซับในแต่ละโครงการ

จากที่ได้สำรวจแล้วทั่วประเทศ ได้ขอความกรุณาให้ดร.สุเมธ ตันติเวชกุลคัดโครงการในพระราชดำริออกมาจาก 4,600 โครงการ เหลือ 81 โครงการที่โดดเด่น จัดทำเป็น 9 เส้นทางตามรอยพระราชา พิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเรียบร้อยแล้ว แจกฟรี มีการอบรมวิทยากรประจำแต่ละโครงการให้สามารถนำเสนอแบบประชาชนเข้าใจได้ง่าย ในการเข้าไปศึกษาดูงาน ควรจะแจ้งไปล่วงหน้าเพื่อให้ได้รับความรู้ศาสตร์พระราชา ทั้งฟังบรรยายและทำกิจกรรม

ทุกๆ 4 กิโลเมตรบนคลองมหาสวัสดิ์มีศาลาดิน ชุมชนนี้มีปัญหาน้ำท่วม น้ำเสีย รัชกาลที่ 9 ทรงทราบปัญหาและพระราชทานแนวพระราชดำริผ่านดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ปัจจุบันนี้ น้ำเสียกลายเป็นน้ำใส ชาวบ้านที่เคยเป็นหนี้ตอนนี้เดินตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง ซื้อรถเงินสด แสดงให้เห็นว่า ใครนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ก็ได้ผลจริง ศาลาดินขึ้นอันดับหนึ่งในไลน์ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม ได้รับที่ดิน 1,900 ไร่ เดินทางจากราชประสงค์โดยเรือ 1 ชั่วโมง มีการทำข้าวตู มีฟักข้าวทำให้หน้าใส มีการเก็บดอกบัว เรียนรู้การพับดอกบัว 22 วิธี

ถ้าได้เรียนรู้เรื่องของในหลวงรัชกาลที่ 9 จะรู้ว่า ท่านไม่ได้อยู่ในหัวใจ แต่อยู่ในวิถีชีวิต ทำอย่างไรให้ศาสตร์ทั้งหลายที่ท่านพระราชทานเข้ามาอยู่ในชีวิตของเรา วิธีการหนึ่งก็คือ ไปศึกษาดูงานที่โครงการของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นการเรียนรู้ปัญหาจากชาวบ้าน โครงการของรัชกาลที่ 9 มีมาก เกี่ยวกับ ดิน น้ำ ลม ไฟ ครอบคลุมทุกเรื่อง

ลักษณะการลงพื้นที่ ประกอบด้วย การรับหนังสือเดินทางตามรอยพระราชา แบ่งกลุ่มตามฐานต่างๆ รับโจทย์/ภารกิจ กิจกรรมฝึกทั้งกาย-จิต สอดแทรกคุณธรรม 4+1 (เป็นเรื่องศาสตร์พระราชา) คิดวิธีแก้ไขปัญหา ออกมานำเสนอแนวคิดและแรงบันดาลใจ

ผู้ที่จะสื่อสารได้ดีต้องมีคุณสมบัติ

  1. Open เปิดไลน์ไว้ เปิดรับข้อมูล คำวิพากษ์วิจารณ์
  2. Collaboration เป็นนักประสานสิบทิศ ร่วมมือเป็นกระบวนการ Facilitators ไปเรื่อยๆทำให้เรียนรู้ซึ่งกันและกันได้
  3. Sharing

คุณธรรม 4+1 ประกอบด้วย พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา มีความรับผิดชอบ

คุณธรรมเหล่านี้มาจากแผนแม่บทคุณธรรมแห่งชาติฉบับที่ 1 ซึ่งทุกหน่วยงานต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกัน 4 ข้อแรกมีแรงบันดาลใจจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ถ้าทำทั้ง 4 ข้อได้ ประเทศไทยเจริญ

เรื่องจิตอาสาเป็นพระราโชบายของในหลวงรัชกาลที่ 10

  1. พอเพียง ในการประชุม ต้องตรงประเด็น เข้าร่วมเฉพาะคนเกี่ยวข้อง การประชุมที่มาเลเซียมีการแจกน้ำดื่มฟรี ผู้เข้าร่วมประชุมดื่มขวดเดียวตลอดทั้งวัน แสดงถึงจิตสำนึกความพอเพียง ต่างจากไทย เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของชีวิตที่สามารถสอนลูกหลานได้ รัชกาลที่ 9 บอกว่า พอเพียงคือ ทำอะไรที่เหมาะสม คนรวยมีของแพงได้ แต่ต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ท่านปัญญานันทภิกขุกล่าวว่า ความพอใจคือความเป็นเศรษฐีอยู่แล้ว รัชกาลที่ 9 เสวยข้าวผัดก้นกระทะ เป็นความพอเพียงที่แท้จริง ประเทศไทยต้องการความช่วยเหลือ ผู้นำ 4.0 จะสามารถช่วยเหลือได้ ประเทศอื่นบอกว่า อย่าทำแบบไทย ประเทศลาวชอบเวียดนามมากกว่าไทย มองว่าโชคดีที่ฝรั่งเศสมายึดอินโดจีนจึงไม่ต้องอยู่ใต้ไทย ประเทศในอินโดจีนก็กำลังก้าวข้ามเศรษฐกิจไทย มองประเทศไทยเป็นทางผ่าน ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาตนเอง เศรษฐกิจและคุณธรรม
  2. วินัยช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสะท้อนให้เห็นวินัยของคนไทยที่อดทนเข้าแถว คนไทยควรนำวินัยแบบนี้มาใช้ในด้านอื่นของชีวิตประจำวันด้วย เช่น เข้าแถวซื้อของ ในการสร้างวินัย ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน เช่น มีรัชกาลที่ 9 เป็นต้นแบบ
  3. สุจริต ต้องตามรอยรัชกาลที่ 9 ให้ได้ ตอนที่ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณเดินทางมาเปิดตัวหนังสือ White Ocean ภาษาอังกฤษ และแสดงความเป็นห่วงประเทศไทยในฐานะที่ท่านดูแลอาเซียน อาเซียนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของไทย เป็นมรดกทางการทูต ท่านถนัดลงนามใน Bangkok Declaration อาเซียนเป็นขบวนการที่มีพลัง White Ocean Strategy เป็นเรื่องที่ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ทำ ก็จะลำบาก เพราะไม่มีใครจะคบค้าสมาคมด้วย ต้องหลุดพ้นจากคอรัปชั่นแล้วจะชนะทุกคน

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวว่า เศร้า สังเวชและโกรธที่เขียนว่า คนไทยทำอย่างไรไม่โกง เป็นการประจานตัวเอง การคอรัปชั่นครองเมืองไปทั่วทุกแห่งและระดับ ต้องส่งโลกที่สมบูรณ์พอสมควรให้แก่ลูกหลาน จะได้ไม่เป็นการเนรคุณต่อแผ่นดิน การทุจริตเป็นปัญหาสำคัญ แต่เราก็ปล่อยเรื่อยๆ

จีนมีความเด็ดขาดในการปราบคอรัปชั่น ลงโทษดาราที่ไม่เสียภาษี

จากที่ได้ไปจีน ร้านค้าใช้ QR code และ Facial Recognition

ทะเลสาบหังโจว ให้ใช้เรือไฟฟ้า ไม่ให้ทำลายธรรมชาติ

ในโชว์รูมขายรถ ไม่มีพนักงานขาย แต่ใช้ระบบสแกนหน้า เมื่อขับรถออกมาตัดบัญชีอัตโนมัติ

งบการศึกษาไทยมีมาก (6 แสนล้านบาท) แต่คุณภาพการศึกษาน้อย เกิดจากอะไร

รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัส “ถ้าทุจริตแต่นิดเดียวก็ขอแช่งให้มีอันเป็นไปพูดอย่างนี้หยาบคาย

แต่ว่าขอให้มีอันเป็นไป”และเป็นอย่างนั้นจริง และท่านยังทรงมีพระราชดำรัสว่า “ภายใน 10 ปี เมืองไทยน่าจะเจริญ ข้อสำคัญคือ ต้องหยุดการทุจริต ให้สำเร็จ และ ไม่ทุจริตเสียเอง”

4. จิตอาสา คนไทยเป็นแชมป์โลกด้านจิตอาสา เพราะมีน้ำใจ ขี้สงสารช่วยผู้ตกทุกข์ได้ยาก

รัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัส “ไม่ต้องจำว่าฉันคือใคร แต่จำว่าฉันทำอะไรก็พอ”

ช่วงลงพื้นที่ศึกษา “ดอยตุงโมเดล”

จากศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนางาน ชุมชน และสังคม

ณ จังหวัดเชียงราย

วันพุธที่ 13 มีนาคม 2562

ชมศูนย์ข้อมูลโครงการพัฒนาดอยตุง

บรรยาย โดย คุณอมรรัตน์

                สมเด็จย่าเสด็จมาดอยตุงเมื่อปีพ.ศ. 2530 ตอนนั้น มีภูเขาแห้งแล้ง ไม่มีต้นไม้ ชาวบ้านอาศัยอยู่บนภูเขาและทำไร่เลื่อนลอย ช่วงฤดูนี้ มีการเผาเพื่อให้วัชพืชต่างๆไหม้ไป เป็นการเตรียมพร้อมรับฤดูฝน เมื่อฝนตก พืชก็จะงอกงาม แต่ฝนแล้ง พืชพรรณไม่งอกงาม ชีวิตชาวบ้านจึงมีความเสี่ยง ถ้าชาวบ้านมีไม่พอกิน ก็ต้องปลูกฝิ่น เพราะฝิ่นเป็นยาชนิดเดียวที่พวกชาวบ้านใช้รักษาตัวเอง ซึ่งชาวบ้านไม่มีหมอและองค์ความรู้ด้านการรักษาพยาบาล และฝิ่นก็ปลูกได้ในฤดูหนาวที่ไม่มีฝนแล้ว ชาวบ้านมีฤดูฝนแค่ 3-4 เดือนเท่านั้น ถ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปัญหาจะหนักกว่าเดิม

                เหตุผลที่ชาวบ้านปลูกฝิ่น เพราะฝิ่นเป็นยาและสามารถช่วยชีวิตเขาได้ ไม่ต้องนำลงไปขาย แค่ปลูกอย่างเดียว มีคนมาซื้อถึงที่ ก็คือ กลุ่มติดอาวุธต่างๆ ถ้าสมเด็จย่าไม่ขึ้นมาดอยตุง ทุกกลุ่มและทุกหมู่บ้านมีกองกำลังติดอาวุธเป็นของตัวเอง ถือเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างอันตราย

                จุดขายฝิ่นและอาวุธสงครามในอดีตก็คือกลางดอยตุง ปัจจุบันคือตรงกาดดอยตุง

                ตอนที่สมเด็จย่าเสด็จมาก็ได้ไปจุดสูงสุดคือดอยช้างมูบ บริเวณนั้นไม่มีต้นไม้ และเป็นสถานที่ปลูกฝิ่น ท่านจึงมีรับสั่งว่า จะปลูกป่า ท่านจึงไปเรียนรู้จากรัชกาลที่ 9 ซึ่งทรงทำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รัชกาลที่ 9 ก็ทรงเรียนจากสมเด็จย่าในฐานะลูก แต่ในฐานะที่ทำโครงการพัฒนาดอยตุง สมเด็จย่าเรียนรู้จากรัชกาลที่ 9 ตอนพระชนมายุ 87 พรรษา ท่านเสด็จด้วยพระองค์เองทุกที่ รัชกาลที่ 9 ทรงมีศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จย่าซึ่งมีพระดำริจะปลูกป่าจึงเสด็จไปทอดพระเนตรศูนย์นี้ นอกจากปลูกป่าแล้วต้องสร้างฝายด้วย ท่านก็เรียนจากที่นี่ เมื่อปลูกป่าแล้วต้องมีอาชีพ ปลูกพืชแล้วต้องมีการแปรรูป ท่านก็ได้เสด็จไปทอดพระเนตรที่โครงการหลวงดอยอ่างขาง อยู่ใกล้พื้นที่ดอย ท่านส่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และสมเด็จย่าก็เสด็จด้วย ทรงไปศึกษาแล้วส่งคุณชาย (ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล) ซึ่งเป็นราชเลขาของสมเด็จย่าในเวลานั้น ปัจจุบันท่านเป็นประธานคณะกรรมการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง สมเด็จย่าส่งท่านไปเรียนที่สวนจิตรลดา เป็นแหล่งเรียนรู้ที่รัชกาลที่ 9 ใช้พระราชวังของท่านทำงานโดยนำความรู้ทั้งหมดมาใช้

                เมื่อมาทำที่ดอยตุง สมเด็จย่าทรงพิจารณาว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ป่าหมด สิ่งที่เรามองว่า เป็นปัญหา สมเด็จย่าทรงมองว่า เป็นปลายเหตุของปัญหา

                ปัญหาที่แท้จริงคือ คนบนดอยตุงเจ็บ ก็ใช้ฝิ่นรักษาตัวเอง และฝิ่นก็แก้ปัญหาที่เขาไม่มีจะกินด้วย คนบนดอยตุงจนเพราะไม่รู้ว่าจะนำอะไรมาทำมาหากิน  เขาไม่รู้ว่าฝิ่นไม่ดี เขารู้แค่ว่า ฝิ่นเป็นยาและช่วยชีวิตเขาให้มีข้าวกินได้ เขายากจนและขาดโอกาส

                เมื่อสมเด็จย่าเสด็จมา ท่านมีรับสั่งว่า ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี แต่เขาไม่มีทางออกและไม่มีทางเลือก เพราะฉะนั้นการที่ดอยตุงมา ท่านต้องแก้ไขที่คนให้มีทางเลือกและทางออก ไม่ได้อยู่แบบเดิมๆ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนคนเหล่านี้ได้ทันที ต้องมีกระบวนการ

                เมื่อสมเด็จย่าทรงปลูกป่า ท่านก็รับสั่งว่า เมื่อปลูกป่าแล้ว ทำอย่างไรให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้และต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพราะไม่สามารถแยกคนกับสิ่งแวดล้อมออกจากกันได้

                แต่วิธีการคือ จะไม่ช่วยชาวบ้านด้วยการให้ เมื่อให้แล้ว เขาต้องรู้ว่าจะไปทำอะไรต่อ สมเด็จย่าทรงเน้น “ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเขาเอง” ทำให้เขาคิดว่า ถ้าพวกเขาไม่ได้รับความช่วยเหลือต่อไปแล้ว พวกเขาจะอยู่ได้อย่างไร

                สมเด็จย่ายึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ทรงเชื่อว่า ถ้าคนเป็นคนดี เศรษฐกิจก็จะดี สังคมที่มีคนดีอยู่รวมกัน ก็จะเป็นสังคมที่ดี ถ้าคนมีคุณภาพชีวิตดีแล้ว ก็จะมองเรื่องสิ่งแวดล้อม ในการปลูกป่า ต้องเริ่มที่ปลูกคน ต้องให้คนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นก่อน แล้ว“ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเขาเอง”

                3 ขั้นของการพัฒนา

  1. อยู่รอด
  2. อยู่อย่างพอเพียง
  3. อยู่อย่างยั่งยืน

วิธีการคือ ยึดคนเป็นศูนย์กลาง มองที่ชาวบ้านเป็นหลัก ทำอย่างไรให้ชาวบ้านบนดอยตุงมีข้าวกิน

ตลอดปีและเข้าถึงบริการสาธารณสุข เมื่อกินอยู่พอแล้ว ก็ต้องพัฒนาศักยภาพตนให้มีรายได้เพียงพอกับการดำรงชีวิต มีเงินดูแลตนเองและครอบครัว ส่วนขั้นสูงสุดคือ มีรายได้มากกว่ารายจ่าย บางคนกลัวความสำบากและความเสี่ยงจึงไม่คิดต่อยอด ต้องคิดเอง ทำเป็น ต่อยอด ยั่งยืนและจะเข้มแข็ง ในอนาคต ก็จะคิดถึงสิ่งแวดล้อม

                สิ่งสำคัญที่สุดคือรู้ข้อมูลพื้นที่

บรรยาย โดย คุณณัฐกร

                โครงการดอยตุงได้รับมอบจากกรมป่าไม้ให้สำรวจพื้นที่ เก็บข้อมูลจริง ดูจำนวนคน ทำงานอะไรและขาดอะไร ปัญหาในการเก็บข้อมูลคือ คนพูดภาษาไทยได้มีจำนวนน้อย จึงมีอาสาสมัครเป็นคนที่ไปเรียนในโรงเรียนที่พูดภาษาไทยได้มาช่วยเก็บข้อมูล ต่อมามีการนำมาอบรมทีมเพื่อสื่อสารกับชาวบ้าน

                คุณพิพัฒน์ บุญชอบ ช่วยพัฒนาอาสาสมัคร เป็นผู้นำชาวบ้านสร้างคนเพื่อรักษาควมเข้มแข็งให้ชุมชน เก็บข้อมูลเศรษฐกิจ สังคม รายได้

                ปีพ.ศ. 2530 เป็นต้นมา คนดอยตุงไม่มีสัญชาติไทย โครงการดอยตุงจึงออกบัตรสมาชิกดอยตุงทำให้เดินทางไปยังที่ต่างๆได้ เป็นการแสดงฐานะเป็นคนแม่จัน นอกจากนี้ยังมีทะเบียนโครงการพัฒนาดอยตุงคล้ายทะเบียนบ้านทั่วไป ตอนนี้คนดอยตุงมีนามสกุลแล้ว มีหนังสือรับรองการเข้าอยู่อาศัยที่โครงการพัฒนาดอยตุงออกให้คล้ายโฉนด เป็นสัญญาว่า ทำกินบนพื้นที่นี้แล้วได้มากกว่าไปถางป่าเอง

                พื้นที่ดอยตุงมีประมาณ 1 แสนไร่ มีพื้นที่ติดชายแดนเมียนมา  24 กิโลเมตร มีประชากร 10,000 คนเศษ ทางโครงการมีการสำรวจข้อมูลปีละครั้ง ประชากรประกอบด้วยหลายเผ่าได้แก่ อาข่า ไทยใหญ่ ลาหู่ จีนยูนนาน

                การให้อ.ส.ค. (อาสาสมัคร) แต่ละคนดูแลหมู่บ้านของตน ทำให้เกิดความสะดวกในการสำรวจในครัวเรือน การประมวลผลข้อมูลเป็นรูปเล่ม เปรียบเทียบทุกปี เป็นการวัดผลการทำงานของดอยตุง ตอนแรกที่ทำมี 19 หมู่บ้าน ตอนนี้มี 29 หมู่บ้าน ทางโครงการมีการควบคุมจำนวนประชากรคือ คนที่อยู่ดอยตุงต้องเกิดจากสมาชิก ไม่ใช่คนอพยพเข้ามา

                คนดอยตุงมีรายได้สูงกว่าเส้นยากจนของประเทศไทยถึง 3 เท่า ถือเป็นเป้าหมายของการทำงานในปัจจุบัน

                60% ของคนดอยตุงอยู่ในพื้นที่ ส่วน 40% ย้ายไปทำงานที่อื่น คนดอยตุงมีความรู้ภาษาจีนและเกาหลี เพราะตอนกลางวันเรียนโรงเรียนไทย ส่วนตอนเย็นเรียนภาษาจีน นักเรียนจบม.6 ไปทำงานต่างประเทศ เก็บเงินมาสร้างบ้าน รายได้ต่อครัวเรือนของดอยตุงสูงกว่าค่าเฉลี่ยภาคเหนือและจังหวัดเชียงราย ในอนาคต มีเป้าหมายต้องการให้มีรายได้สูงกว่ากทม. และมีรายได้จากการจ้างงานในพื้นที่มากขึ้น

                โครงการดอยตุงมีการจัดสรรพื้นที่ให้ชาวบ้านทำกินและปลุกป่า จึงได้ป่าคืนมา 70% จนถึงปัจจุบัน

บรรยาย โดย คุณอมรรัตน์

                การปลูกป่าแบบดอยตุงทำโดยการถางและทำความสะอาดป่า นำต้นไม้มาเข้าแถว ทำให้ไม่มีความหลากหลายทางชีวภาพเพราะปลูกชนิดเดียวกันทั้งหมด

                สมเด็จย่าทรงมองว่า สิ่งที่ชาวบ้านจะได้รับจากการปลูกป่าคือ การเป็นลูกจ้างในการปลูกป่า ต้องใช้เวลา 3 ปีให้ต้นไม้ฟื้น ทำให้ชาวบ้านร่วมเป็นเจ้าของ และไม่ต้องหากินแบบเดิม กรมป่าไม้มีอัตราค่าจ้างปลูกป่าในสมัยนั้นวันละ 15 บาท แต่โครงการดอยตุงให้วันละ 40 บาท

                ในการกำหนดรายได้ให้ชาวบ้าน โครงการดอยตุงคำนวณเปรียบเทียบจากรายได้ที่ชาวบ้านได้จากฝิ่น ฝิ่น 1 จ๊อย คิดเป็นรายได้ 1,200 บาท ชาวบ้านขายฝิ่นได้ทั้งเดือน  10  จ๊อย คิดเป็นรายได้ 12,000 บาท

                อ.ส.ค.ไม่มีรายได้ ต้องทำให้อ.ส.ค.เข้าใจและเชื่อก่อน ชุมชนเป็นผู้เลือกอ.ส.ค.ให้โครงการ ถ้าชุมชนไม่ชอบโครงการ ก็เลือกคนเกเรมาให้ แต่ทางโครงการก็เปลี่ยนอ.ส.ค.ให้เป็นผู้นำได้แล้วส่งเสริมให้เขาทำดีโดยขัดเกลาไปในทางที่ถูก

                การปลูกป่าใช้พื้นที่ 9,900 ไร่ ใช้เงินมหาศาล เมื่อทรงมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา สมเด็จย่าทรงใช้กลยุทธ์เงินที่จะสร้างป้ายถวายเปลี่ยนเป็นบริจาคให้ท่านปลูกป่าแปลงละ 3,300 บาท สะท้อนให้เห็นว่า อย่านำเงินมาเป็นอุปสรรค สมเด็จย่าทรงมองว่าชาวบ้านทำแล้วได้อะไร ชาวบ้านทำงานถูกกฎหมายและได้รับเงิน ในการจ่ายค่าจ้างให้ชาวบ้าน ต้องจ่ายแบบรายวันและลงพื้นที่จ่าย สมเด็จย่าทรงมองว่า นอกจากจะได้เงินแล้ว ต้นกล้าต้องแข็งแรง การปลูกป่าเป็นการเปลี่ยนทักษะการทำไร่เลื่อนลอยมาเป็นการเรียนรู้การขุดหลุมแล้วปลูก

                การแก้ปัญหาความเจ็บ ก็มีหน่วยแพทย์ พอ.สว.

                การแก้ปัญหาความไม่รู้ก่อนที่จะมีมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ก็มีโรงเรียนต.ช.ด.

                ปัญหาใหม่ที่พบคือ การให้ชาวบ้านปลูกป่าทำให้บางคนมีรายได้แล้วนำไปซื้อฝิ่น จึงมีโครงการบำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด 1,000 วัน

บรรยาย โดย คุณณัฐกร

                ดอยตุงมีคน 469 คนเข้ารับการบำบัดการติดยาเสพติด มีการประเมินผล เมื่อผ่านการประเมินแล้ว จึงส่งกลับบ้าน และมีการสร้างเสริมอาชีพด้วย

                นอกจากนี้มีโครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ได้รับป้ายพระราชทานของสมเด็จย่า ในฐานะที่แก้ปัญหาได้ครบวงจรและส่งเสริมให้มีรายได้พอเพียง

บรรยาย โดย คุณอมรรัตน์

                ในการปลูกคน ต้องต่อยอดเสริมศักยภาพ สร้างความมั่นใจ ระเบิดจากข้างใน ส่งเสริมให้เขาทำได้ เช่น ฝึกชาวบ้านปลูกป่าพื้นฐานแล้วพัฒนามาเป็นป่าเศรษฐกิจ

                โครงการดอยตุงเลือกปลูกกาแฟอาราบิกาเพราะปลูกในป่าและพื้นที่หนาวเย็นที่เคยปลูกฝิ่นได้ และเลือกปลูกแมคคาเดเมียเพราะเป็นพืชตระกูล Nut เหมือนพืชพื้นถิ่นเดิมคือต้นก่อ แต่มีศักยภาพในตลาดต่างประเทศสูงกว่า นอกจากนี้เมื่อมีผลก็สามารถนำมาแปรรูปได้

                ในการปลูกกาแฟอาราบิกาและแมคคาเดเมียต้องกู้ไจก้า ซึ่งสามารถใช้เงินคืนได้หมดเมื่อ 3 ปีที่แล้วโดยกระทำการผ่านบริษัท นวุติ

                ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ นำวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ดีมาออกแบบให้เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นการสร้างงานให้คน และคนก็ไปสร้างงานได้

ศึกษาดูงาน ณ บริษัท นวุติ จำกัด

บรรยายสรุปเกี่ยวกับ บริษัท นวุติ จำกัด และแมคคาเดเมีย โดย คุณสุรศักดิ์ เสียงดี

พื้นที่นวุติไซต์ 1 เดิมเป็นพื้นที่สีแดงมียาเสพติด ต่อมาสมเด็จย่าเข้ามาทรงงานและสร้างพระตำหนักดอยตุงขึ้นมา

บริษัท นวุติ จำกัดก่อตั้งขึ้นในวโรกาสที่สมเด็จย่าทรงมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาของพื้นที่โดยปลูกป่าเศรษฐกิจ แต่เดิมมีภูเขาหัวโล้น ขาดสาธารณูปโภค มีกองกำลังติดอาวุธ คนไร้สัญชาติ ทำให้การทำมาหากินเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีการปลูกฝิ่น

การแก้ปัญหาที่รากทำโดยสมเด็จย่าตั้งบริษัทต่างๆ นำทีมโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัท เอื้อชูเกียรติ จำกัด ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บริษัทมิตซุยไทยโยโกเบ จำกัด และบริษัทมิตซุยแอนด์คัมปานีไทยแลนด์ จำกัด ระดมหุ้นกันก่อตั้งเป็นบริษัท นวุติ ซึ่งเป็นธุรกิจเพื่อสังคม มีการปลูกป่า ซึ่งได้มีการไปศึกษาดูงานหลายแห่ง จึงเลือกแมคคาเดเมียและกาแฟ

เหตุผลที่เลือกปลูกกาแฟคือ เป็นพืชที่ปลูกใต้ป่าได้เลย กาแฟอาราบิกาต้องการสารอาหารประเภทเดียวกับฝิ่น จึงปลูกทดแทนฝิ่นได้ นอกจากนี้ กาแฟยังประสบผลสำเร็จด้านคุณภาพ

เหตุผลที่เลือกปลูกแมคคาเดเมียคือ พื้นที่นี้เดิมมีต้นก่อซึ่งเป็นพืชตระกูล Nut เหมือนกัน แมคคาเดเมียมีอายุยืน 80-100 ปี ต้องใช้แรงงานคนมากในการปลูกจึงเป็นการสร้างงาน นอกจากนี้ ยังสามารถแปรรูปได้หลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้มาก

แมคคาเดเมีย 1 ต้นให้ผลผลิต ปีละ 50 กิโลกรัม เมื่อสีผล 50 กิโลกรัมออกเป็นกะลา ก็จะเหลือผลผลิตต้นละ 20 กิโลกรัมต่อปี  เมื่อกะเทาะเป็นเมล็ด จะเหลือผลผลิต ต้นละ 4 กิโลกรัมต่อปี  

โรงงานต่างๆต้องใช้ความร้อนจากเปลือกแมคคาเดเมีย เป็นการแปรรูปขยะเป็นพลังงาน

ในการเก็บเกี่ยว ต้องรอผลร่วงลงมาจากต้น แล้วคนไปเก็บผลใต้ต้น นำเม็ดไปสี แล้วนำเม็ดไปอบ 7 วันให้แห้งซึ่งเดิมใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง เมื่อกะเทาะเมล็ดแล้ว เหลือเปลือกปีละ 200-300 ตัน จึงนำมาเผาเป็นพลังงาน ถ่านที่เหลือดูดกลิ่นได้ดีกว่าถ่านชนิดอื่น ส่วนขี้เถ้านั้น นำมาผสมกับน้ำเคลือบเซรามิก ถ้าเซรามิกเผาพร้อมเปลือกแมคคาเดเมีย จะกลายเป็นลายอีกแบบหนึ่ง ส่วนเม็ดแมคคาเดเมียสามารถนำมาปรุงรสต่างๆขายได้ เม็ดเบอร์ 5 ขนาดเล็ก สามารถส่งขายเป็นแมคคาเดเมียปั่นได้ ส่วนเม็ดเบอร์ 6-7 นำมาทำคุกกี้หรือขนมได้ จึงเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าขึ้นมา รสชาติน้ำผึ้งดอกแมคคาเดเมียเป็นเอกลักษณ์

UN อนุญาตให้ใช้ตรา UN ประทับบนสินค้าดอยตุง ซึ่งเป็นรายเดียวที่ได้รับอนุญาตแบบนี้

บรรยายสรุปเกี่ยวกับ การปลูกกาแฟ โดย คุณหลวง

กาแฟมี 2 ส่วน ส่วนที่เป็นของชาวบ้านปลูกใต้ป่า อีกส่วนเป็นแปลงต้นแบบของนวุติ แต่ก่อนมี 6 ไซต์ ปัจจุบันเหลือแค่ 5 ไซต์ ไซต์ที่ 5 แมคคาเดเมียดีกว่ากาแฟ จึงตัดกาแฟทิ้ง มีพิกัดว่าบ้านไหนปลูกกาแฟบ้าง มีการสำรวจในปี 2553 ร่วมกับป่าไม้มีการแบ่งขอบเขตชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดการรุกล้ำ กาแฟกระจายครอบคลุม 24 หมู่บ้าน เริ่มต้นปลูกกาแฟในปี 2532 หลังจากการปลูกป่าในปี 2530 มีการทดลองปลูกหลายอย่างจนได้กาแฟและแมคคาเดเมีย ยังไม่สามารถให้ชาวบ้านดูแลแมคคาเดเมียได้เพราะมีเรื่องของคุณภาพและการบริหารจัดการเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ให้ชาวบ้านปลูกกาแฟได้เพราะ ตั้งแต่ปี 2532 ได้มีการจ้างชาวบ้านปลูกกาแฟแบบรายวันแต่มีปัญหาเพราะชาวบ้านมองแค่เป็นการรับจ้างไม่ได้เป็นเจ้าของ ต่อมาทางโครงการดอยตุงได้ให้ชาวบ้านดูแลเป็นเจ้าของไร่กาแฟครอบครัวละ 10 ไร่ และได้เป็นเจ้าของผลผลิตทั้งหมด เขาได้เงินจากการขายกาแฟมากกว่าเป็นลูกจ้างโครงการ ในปี 2540 โครงการได้นำแปลงนวุติมานำร่องให้ชาวบ้านได้เป็นเจ้าของเต็มตัวแต่มีข้อแม้ว่า เสียค่าเช่าต้นละบาทต่อปี ณ ตอนนั้น หลายสิบปีต่อมา ชาวบ้านขอลดเหลือต้นละ 50 สตางค์นำมาเป็นทุนหมุนเวียนในกรณีคนที่อยู่ไกลไม่สามารถออกไปซื้อปุ๋ยได้ จะนำเงินนี้ไปซื้อให้เขาก่อน แล้วส่งไปตามหมู่บ้านโดยผ่านเจ้าหน้าที่หมู่บ้าน

กาแฟมีอายุยืน 80 ปีถึง 100 ปี มีความคุ้มทุนในการดูแลประมาณ 30 ปี  ถ้าเกิน 30 ปีผลผลิตจะลดลง

ปัจจุบันมีสมาชิกที่อยู่ภายใต้การดูแลของโครงการ 791 ราย 1,402 แปลง 5,008 ไร่ 2 งานที่มีการขายกาแฟให้กับโครงการดอยตุง ส่วนพื้นที่อีก 4,000 กว่าไร่จะเป็นกลุ่มที่ขอแยกออกไปทำธุรกิจของตัวเอง ทางโครงการก็ได้มีการทำคุณภาพให้ได้ใกล้เคียงกัน เช่น การดูแล การแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ

การส่งเสริมกาแฟต้องมีตัวเชื่อมคือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมกาแฟ มีหน้าที่ทำตามนโยบายหลักเรื่องกาแฟเพื่อทำความเข้าใจกับเกษตรกรในพื้นที่ ปัจจุบันนี้ มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมกาแฟ 15 คน จาก 24 หมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยรุ่นหัวไว ใจสู้ กล้าพูด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ แล้วเจ้าหน้าที่ส่งเสริมกาแฟก็ไปทำความเข้าใจกับคนในหมู่บ้านว่า ทางโครงการมีนโยบายอะไรบ้างเกี่ยวกับการปลูกกาแฟและการเก็บเกี่ยว เจ้าหน้าที่มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมกาแฟ เจ้าหน้าที่จึงจำเป็นต้องมีความรู้ที่แม่นยำเกี่ยวกับกาแฟ เช่น ความรู้ทั่วไปเรื่องสายพันธุ์กาแฟ การเพาะ การเลือกสายพันธุ์ วิธีปลูก การเลือกกล้า การเลี้ยงกล้า การดูแลกล้า การเตรียมดินปลูก รวมถึงเรื่องโรคและแมลงด้วย

หลังจากปลูกกาแฟไปปีที่ 3 จะมีต้นที่ดี มีคุณภาพต่อเนื่อง เรื่องของการเก็บกาแฟที่สุกดี รสชาติที่ดีของกาแฟขึ้นอยู่กับการสุก สังเกตได้จากสี ถ้ามีน้ำ 2 หยด ก็เก็บได้ หรือใช้มิเตอร์วัดได้เกิน 18-20 บิทขึ้นไป

สิ่งที่โครงการส่งเสริมและแนะนำ เกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้

กาแฟที่ชาวบ้านเก็บมาต้องผ่านกระบวนการ QC กาแฟลอยขึ้นมาเพราะเม็ดฝ่อ กระรอกเจาะ เมื่อก่อน นำกาแฟชนิดนี้ไปทำปุ๋ย ปัจจุบันได้คัดส่วนดีที่หลงเหลืออยู่ของกาแฟชนิดนี้ คือ เม็ดที่ไม่ถูกเจาะไปทำกาแฟเกรดต่ำ ส่วนกาแฟที่จมก็นำขึ้นมาคัด กาแฟที่สุกไม่เต็มที่หรือไม่ตรงตามเวลาที่ต้องการ แห้งเสียก็ต้องคัดทิ้ง กาแฟที่ผ่าน QC แล้วจะนำไปใส่กระสอบ ปัจจุบัน การขนส่งต่างๆใช้รถของชาวบ้าน แต่ก่อนโครงการมีรถแค่ 6 ไซต์งานก็ไปทั่วแล้ว ปัจจุบันมี 24 หมู่บ้าน จึงต้องลดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยจ้างรถชาวบ้านขนส่งคิดราคาตามระยะทางเป็นรายกิโลเมตร ถ้ากาแฟเสียหาย  เจ้าของรถต้องรับผิดชอบ ก่อนที่จะให้ทำงาน ต้องมีการทำข้อตกลงกันก่อน

คำถาม

1.มีการเพิ่มคุณภาพกาแฟด้วยชะมดหรือไม่

ตอบ

เรื่องของชะมดเป็นความชอบส่วนบุคคล  ราคาจะแพงด้วยกรรมวิธี ในตัวชะมดจะมีกรดทำให้มีกลิ่นในตัวเมล็ดกาแฟ

2.ราคากาแฟต่างกันเพราะอะไร

ตอบ

ราคากาแฟที่ปลูกในพื้นที่สูงน้อยกว่า 800 เมตรจากระดับน้ำทะเลราคาจะเป็นอีกแบบ ทางโครงการเจรจากับชาวบ้านและรับซื้อในราคาเดียวกัน แต่ละช่วงเวลา ราคากาแฟก็ไม่เท่ากัน ขึ้นกับสถานการณ์และคุณภาพกาแฟ คุณภาพของกาแฟกขึ้นกับอุณหภูมิ ความเย็น การสุก และตลาดโลก การกำหนดราคากาแฟต้องดูตลาดโลก ราคากาแฟของโครงการเป็นเกรดกลางเมื่อดูราคาตลาดโลกแล้วต้องดูราคากาแฟไทย ถ้าราคาต่ำเกินไป ชาวบ้านก็อยู่ไม่ได้ กาแฟทุกกระสอบมีการติดตามข้อมูลย้อนหลังว่ามาจากที่ใด ใครทำ QC ข้อมูลนี้จะส่งกลับไปที่ไร่ มี Google Earth ป้อนพิกัดแปลง มีฝ่ายไร่เช็คเกษตรกรแต่ละราย มีโปรแกรมรับซื้อและวิเคราะห์ข้อมูล

กาแฟจะออกดอก 3-5 ช่วงต่อปี แต่ละช่วงห่างกัน 1-2 สัปดาห์ แม้อยู่ในพวงเดียวกัน กาแฟแต่ละเม็ดสุกไม่เท่ากัน จำเป็นต้องเก็บทีละเม็ด โดยเก็บจากเม็ดที่สุกก่อน

เม็ดกาแฟมี 2 สี คือ เหลืองกับแดง เป็นคาร์ติมอร์เหมือนกันแต่ต่างสายพันธุ์

ในการเก็บ กาแฟเม็ดสีแดงเก็บง่ายกว่า กาแฟเม็ดสีเหลืองถ้าทิ้งไว้นานจะสุกเกินไป

ทางโครงการมีผู้เชี่ยวชาญต่างชาติมาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกาแฟก่อน เช่น ลักษณะสายพันธุ์ นอกจากนี้มีอาจารย์ที่อยู่ในโครงการหลวงต่างๆมาให้ความรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์กาแฟต่างๆ ที่มาของแต่ละสายพันธุ์ กาแฟโครงการเป็นกาแฟเกรดกลาง (คาร์ติมอร์) ได้ 6-7 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เลือกคาร์ติมอร์เพราะออกผลผลิตดีที่สุดในพื้นที่นี้ ถ้าไปปลูกที่อื่น อาจไม่เหมาะสม เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจพื้นที่ก่อนทำอะไรต่างๆ 

                กาแฟช่วยให้ชาวบ้านมีอาชีพ ทำให้ไม่มีไฟป่าเพราะชาวบ้านดูแลไม่ให้หญ้ารก

3.เมื่อเปรียบเทียบกาแฟดาวกับกาแฟโครงการแล้วเป็นอย่างไร

ตอบ

                กาแฟดาวปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม แต่คุณภาพ การเก็บ กระบวนการแปรรูป หรือที่ปรึกษาอาจจะดีไม่เท่าโครงการ ทางโครงการมีการนำที่ปรึกษามาพัฒนาแปลงกาแฟให้ได้มาตรฐาน มีการปลูกกาแฟขั้นบันได มีการไปดูงานที่ประเทศกัวเตมาลาและปานามาแล้วนำมาปรับใช้

ชมและฟังบรรยาย ณ หอแห่งแรงบันดาลใจ

ที่มาของหอแห่งแรงบันดาลใจคือ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2539 เป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จย่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จเข้าไปถวายสักการะพระบรมศพ ท่านทรงไปลาสมเด็จย่า คุณชายราชเลขาก็ได้เข้าเฝ้า รัชกาลที่ 9 มีรับสั่งกับคุณชาย ทำอย่างไรไม่ให้คนลืมสมเด็จย่า หมายความว่า เด็กที่เกิดในเวลานั้นเป็นต้นมาจะไม่รู้จักสมเด็จย่าแล้ว คุณชายก็สนองพระราชดำรัสนั้นมา คุณชายก็ได้มาที่โครงการดอยตุง คนที่มาจังหวัดเชียงรายต้องมาที่โครงการดอยตุงแน่นอน เมื่อมาแล้วก็ต้องได้ประโยชน์ คุณชายจึงคิดว่าเมื่อคนมาที่นี่แล้วก็ต้องให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติ มีจิตใจที่ดีเบิกบาน และได้รับความรู้มีสติปัญญากลับไปด้วย จึงจัดตั้งหอนี้ขึ้นมาเดิมชื่อ หอพระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เปิดให้เข้าชมปี 2545 ต่อมาปี 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนามีพระชนมายุครบ 84 พรรษา ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยและคุณจิทัศ ศรสงคราม มีคณะทำงานได้จัดนิทรรศการเคลื่อนที่เทิดพระเกียรติพระองค์ท่านไปตามภาคต่างๆซึ่งชื่อว่า แสงหนึ่งคือรุ้งงาม หลังจากปีนั้น ท่านก็เสด็จสวรรคตอีกองค์ ทางคณะผู้บริหารและผู้ใหญ่จึงหารือกันว่า จะจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาไปที่ไหนได้เพราะว่านิทรรศการชั่วคราวก็สิ้นสุดลงแล้ว จึงมาดูสถานที่ สถานที่นี้ถ้ามีสมเด็จย่าซึ่งสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาก็เสด็จด้วยตั้งแต่วันแรก และทั้งสองพระองค์

ใช้สถานที่ของหอนี้แล้วปรับเปลี่ยนโดยคุณจิทัศ ศรสงครามซึ่งเป็นทั้งผู้ดูแลและออกแบบ ทางผู้ใหญ่จึงมองว่าทำไมทั้งสองพระองค์จึงทรงงานหนัก ทำไม ทำเพื่ออะไร ทำเพื่อใคร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำเพื่อใคร อันนี้สะท้อนให้เห็นการทำงานของราชสกุลมหิดลว่า ท่านทรงสั่งสอนกันมาให้ทำเพื่อประเทศชาติบ้านเมืองแล้วทรงเป็นแรงบันดาลใจซึ่งกันและกันในครอบครัวและแรงบันดาลใจนี้ส่งผลต่อคนไทยทุกคน แรงบันดาลใจของทุกพระองค์คือความยุ่งยากของประชาชน ถ้าเราได้ทำตามหน้าที่ของเราแล้วแบ่งปันให้คนอื่นบ้างตามศักยภาพที่เราทำได้เพราะฉะนั้นแรงบันดาลใจจากราชสกุลมหิดลทำให้พวกเราแรงบันดาลใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น

กิจกรรมถอดบทเรียน ครั้งที่ 1


ได้อะไรจากการดูงานดอยตุงโมเดล


1. ปัญหาที่เจอในพื้นที่มาดูงานเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก ซึ่งถ้าไม่ตั้งสติให้ดีจะท้อ ได้รับแรงบันดาลใจคือเชื้อพระวงศ์ระดับสูงเห็นความทุกข์ของประชาชนจึงมีความตั้งใจ และเป้าหมาย ได้หาวิธีการคือการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

ทำจากจุดเล็กก่อน ได้มีการวาง Vision ก่อน ปัญหาที่เห็นต้องไปหารากเหง้าของปัญหา แก้จากความจน ความเจ็บ และเริ่มต้นจากจุดที่แก้ โดยอาจไม่ต้องเรื่องเงิน แล้วศรัทธาจะตามมา เนื่องจากเห็นภาพเดียว กัน วิธีการบริหารคือทำอย่างมีหลักการ มีการทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อเริ่มให้เห็นว่าก่อนเริ่มโครงการมีการเริ่มต้นและจะเริ่มขั้นต่อไปก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ และคนรุ่นใหม่จะทำต่อไป เริ่มจากฐานข้อมูลแล้ว ก็นำโครงการมาดูว่าต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่าเดิม ต้องทำของใหม่แล้วชีวิตไม่ต่างกว่าเดิม แต่อาจดีกว่าเดิม ทำให้เกิดความร่วมมือต่าง ๆ ตามมา เป็นการปรุงอย่างกลมกล่อมและสมดุล จะทำให้เกิดความยั่งยืนต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

2. การมาดูงานครั้งนี้จะปรับปรุงโครงการอย่างไร อะไรที่ปรับได้กับ Chira Academy หรือ Chira way ได้ในเรื่อง HRD และ 3 R’s ชัดมากคือ

1) Reality เกิดจากการเก็บข้อมูลและดูสภาพความเป็นจริง ทุกขั้นตอนต้องมาดูของจริงก่อน มาดูสภาพจริงก่อน  เช่นเดียวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ไม่ชื่อใคร ต้องศึกษาเอง

2) Respect คือศึกษาจากของจริงที่มีอยู่ของคนในพื้นที่ และ Respect ที่ 2 คือแง่การยอมรับ อย่างการมีบัตรประชาชน เป็นการยอมรับคน ๆ หนึ่งให้มีสถานภาพในประเทศไทย สร้างการมีส่วนร่วม มีสัมมะโนครัว และโฉนด มีการกำหนดขอบแขตความเป็นเจ้าของ แล้วเขาจะภูมิใจในสิ่งที่ให้เขา ก่อให้เกิดการทำงานที่สอดคล้องกัน  สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวสื่อนำไปถึงพวกเขาคืออาสาสมัคร นำโอกาสให้คนท้องถิ่นไปพูดภาษาท้องถิ่นที่มีอยู่ ทุกคนอยู่คนละเผ่าแต่สามารถมารวมกันให้เกิดการมีโครงการนี้ขึ้น และสุดท้ายคือ

3)Resolution คือการแก้ปัญหาในมุม Chira Way มีปัญหาต้องสู้ และต้องเอาชนะปัญหานั้น ทำไปละจะประสบความสำเร็จ

3. หัวใจการพัฒนาคือคน การให้ที่สำคัญที่สุดคือการให้โอกาส เพราะได้ถุกต้องถูกเวลาของเขาทุกอย่างจะสำเร็จเอง

4. ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องใช้ศาสตร์พระราชาคือต้องเข้าใจถึง Root Course คือต้นเหตุของปัญหาแท้จริงคืออะไร และเมื่อรู้ปัญหาแล้วต้องเข้าถึงปัญหานั้น แล้วพยายามเข้าใจในการไปหาข้อมูล พบปะกับคน อยากได้อะไร หรือมีความต้องการอะไรในการใช้ชีวิต และต้องพัฒนาคือให้คนมีการเรียนรู้และดึงเขาออกจากวังวนเดิม ไปสู่การพัฒนาที่มีโอกาสยั่งยืนกว่า นับว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่โชคดีประเทศหนึ่ง

5. หอแรงบันดาลใจ พบวีดิโอที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 คือการศึกษาถ้ามองอย่างเป็นระบบต้องระเบิดจากข้างในแล้วให้เขาแก้ปัญหา และปัญหาเล็กจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ถ้าไม่ถูกแก้ ต้องมีการศึกษาวางแผนและปฏิบัติ  มีการปรับใช้กับ PDCA และการติดตามหนังสือภูมิสังคม ทุกอย่างสรุปได้หมดในแผ่นเดียว

          การดูจากโครงการพัฒนาดอยตุง เริ่มต้นจากการสร้างคน การระเบิดจากข้างใน และให้โอกาสคน และเห็นคุณค่าเพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้

6. การเข้าหอเรียนรู้ ได้รับการบรรยายให้เห็นภาพ สามารถมองถึงพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบิดา รู้สึกซาบซึ้งที่ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ที่ห่วงใยประชาชน  ดอยตุงโมเดลน่าจะนำไปต่อยอดหรือไปปรับใช้ในส่วนไหนของประเทศ

7. ในวันนี้ได้ดูงานหลากหลายแต่ยังไม่ได้ดูตัวเอง ว่าจะทำอะไรให้เป็นประโยชน์  ดูตัวอย่างของสมเด็จย่า พระชนม์มายุ 87 ปียังทำอะไรที่เป็นประโยชน์มากมาย หรือตัวอย่างที่มีชาวเขาย้ายมากว่าจะเลิกฝิ่นได้ 3 ครั้ง แต่ประสบความสำเร็จ นับเป็นแรงบันดาลใจ ได้ยกตัวอย่างของจังหวัดน่านพบว่ามีความแห้งแล้งมาก ได้แนวคิดหลายอย่างจากการดูงานเพื่อนำไปปรับใช้

8. ถ้าเป็นคนหนึ่งที่ทำตามพระองค์ท่าน ยังคิดไม่ออกในสายพลังงานจะประยุกต์ใช้อย่างไรในภารกิจของ กฟผ.เอง และคนนอกได้มองกฟผ.ในมุมของหลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนาหรือไม่ คิดว่เมื่อสิ้นกฟผ.ไปแล้วคิดหรือไม่ว่าทำอะไรบ้าง

9. สิ่งที่ดูหลายอย่างเป็นกรณีศึกษาที่ดี สภาพปัญหาของแต่ละที่ แต่ละถิ่นแตกต่างกัน ทั้งหมดเป็นศาสตร์และศิลป์คือทำอะไรให้อยู่ได้ ไม่มีอะไรตายตัว ให้นำกรณีตัวอย่างไปประยุกต์ใช้

10. สุดท้ายอยู่ที่ตัวเราจะนำไปปฏิบัติอย่างไร

11. ดูหอแรงบันดาลใจเห็นความเสียสละที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงลำบากกว่าคนทั้งหลาย และพบว่าคนไม่ประสบความสำเร็จในหลายด้านอีกมาก แต่สิ่งที่ได้รับคือการทำความดีให้แผ่นดินเกิดเพื่อรับใช้สังคมต่อไป

12. การพัฒนาอยู่ที่คนเป็นหลัก เริ่มจากคนมีปัญหาอย่างไร และจะทำอย่างไรให้คนสบาย แล้วมองถึงสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับ กฟผ.ถ้าใส่ใจ เขาจะทำงานอย่างมีความสุขและผลงานจะดี

13. ตอนกลางวันได้เห็นการบรรยาย เห็นผลลัพธ์ว่าปัจจุบันเป็นอย่างไรเริ่มจากอดีตที่พระองค์ได้คิดในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ให้ดีขึ้น นำหลักวิศวกรรมศาสตร์และเกษตรกรรมมาร่วมกัน ใช้ศาสตร์หลายศาสตร์ การประยุกต์ใช้ มีพันธกิจแตกต่างไป จะดูจุดแข็งอย่างไรบ้าง ให้เสริมจุดนั้น เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ชุมชนนั้น

14. การพัฒนาคนในเบื้องต้น เป็นเรื่องสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ต้องมีการพัฒนแบบไหนถึงจะทำให้ยั่งยืนได้

15. การหาความรู้ในสิ่งที่จะดำเนินการต่อไป นำความรู้ที่ได้มาพัฒนากับเครือข่าย และสร้างให้คนมีส่วนร่วม มีเจ้าของ ให้มีส่วนร่วมมากขึ้น และมีมาตรการว่าจะทำอย่างไร

16. สิ่งท่าดูในวันนี้คือสิ่งที่ทำตามที่พระองค์ท่านสอนตั้งแต่เด็ก เช่น ฝนหลวง ฯลฯ คำสอนของท่านทุกอย่างนำมาซึ่งความสุขของคนไทย

17. การทำอะไรให้ชุมชนต้องทำอย่างเข้าใจ เข้าถึงและให้ชุมชนมีส่วนร่วม แต่ EGAT ที่ทำมาไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชน ควรสร้างให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในการทำโครงการใดต่อไป

18. อยู่ต่างจังหวัดมาตลอด ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง อาทิโครงการแก้มลิง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากดอยตุงโมเดล ตามศาสตร์พระราชาคือเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ต้องเข้าใจตัวเอง เข้าใจทีมงานว่าจะทำอะไรกับชุมชน  สำรวจชุมชน ถึงจะไปพัฒนาได้ ต้องขึ้นกับริบทแต่ละพื้นที่ว่าทำอย่างไร

19. หอแรงบันดาลใจ ทำให้ทราบว่าทั้งสมเด็จย่าฯ และในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรักประชาชนมาก จึงทำอะไรก็ตามที่ทำให้ประชาชนมีความสุขอย่างยั่งยืน และทำอะไรก็ตามถ้ามีความพยายามไม่ว่าจะยากขนาดไหนก็จะประสบความสำเร็จ

20. โครงการที่เกิดขึ้นได้ เราจะเจอปัญหาทุกอย่าง และเจอปัญหาราษฎร ที่เกิดได้เพราะความร่วมมือหลายภาคส่วน อยากให้หลายส่วนคิดอย่างนี้ได้เหมือนกัน เน้นการสร้างการยอมรับและทำงานร่วมกัน

21.โครงการพัฒนาดอยตุงไม่ได้หยุดการพัฒนาต่อเนื่อง อย่าง EGAT ก็ต้องนำเรื่องการพัฒนาเป็นปัจจัยในการดำรงอยู่ของกฟผ. อย่างเปลือกแมคคาเดเมียมีการนำเปลือกมากองเผาเพื่อได้เชื้อเพลิง แสดงถึงใช้ชองทุกอย่างอย่างมีคุณค่า และสร้างคุณค่าไม่ทิ้ง

22. ได้ดูจุดที่สำเร็จ แต่ได้มองถึงจุดตั้งต้นของความสำเร็จ เริ่มต้นจากกรอบวิธีการคิด และวิธีการในการพัฒนาพื้นที่ การปรับใช้ กฟผ. คนที่ทำได้จริงอาจมีจำนวนจำกัด ดังนั้นจะทำอย่างไร ต้องมองว่าหลายหัวดีกว่าหัวเดียว เราอย่าคิดเองคนเดียวควรมีการระดมความคิด  และดูข้อมูลที่นำมาใช้ในการกำหนดทิศทาง ควรหาข้อมูลจากภาคสนามและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เราควรรับฟังความต้องการเขาจริง ๆ ไม่ใช่คิดเอง สรุปคือ ส่วนแรกคือคิดระดมสมอง และกลั่นกรอง ส่วนที่สองคือข้อมูลชัดเจนเพื่อกำหนดวิธีคิดและปฏิบัติ

23. บุคคลที่ทำงานที่นี่ต้องมีความอดทนสูงมากและมีเป้าหมายชัดเจน เนื่องจากเจอแรงปะทะมาก ไม่ใช่ทุกอย่างทำง่าย ต้องขอขอบคุณทุกคนที่ทำงานเพื่อประเทศชาติของเรา

24. จากที่นั่งฟังมา ความจริงคือนำปัญหามาก่อน พระองค์ท่านคิดว่าจะสำเร็จออกมาได้อย่างไร แล้วหากระบวนการปิดช่องปัญหา ไม่ต้องเปลี่ยนใคร เริ่มจากเปลี่ยนตัวเองก่อน เราลงมือหรือยัง

25. สิ่งที่ได้คือ สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่ปัญหา แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือสิ่งที่มองไม่เห็น บางครั้งแก้ปัญหาอาจมองว่ามันเป็นปัญหาต้องเริ่มจากมองว่าปัญหาคืออะไร ให้เริ่มมีแนวทางงในการนำไปปรับใช้ได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          จากการฟังทุกท่านให้ความคิดดีมาก วิทยากรถามประโยคหนึ่งคือ กฟผ.ไม่ทำอะไรก็อยู่ได้ ทำไมต้องเรียนรู้ที่นี่ แต่ความจริงคือไม่ทำอะไรอยู่ได้หรือไม่ ต้องกลับไปถามก่อนว่า อะไรที่ Disrupt กฟผ. ทำไมกฟผ.ถึงเริ่มลดคนลงไป  ถ้ากลับไปดูคือโลกเปลี่ยนแปลงทุกยุค ตอนนี้กำลังมีพลังงานใหม่  ถ้าพลังงานใหม่มาจะทำอย่างไร อย่างไรก็ตาม 2.0 และ 3.0 ยังอยู่หรือไม่ ก็ยังอยู่ และอีกไม่นานกำลังไป 5.0 แล้ว ประเด็นคือเราต้องปรับตัว

          ถอดบทเรียนเพื่อไปพัฒนางาน ขอชื่นชมวิทยากรที่พูดเพราะเสมือนอยู่ในสายเลือดในการทำจริง ถ้ากฟผ.จะทำอะไรที่ทำแบบศาสตร์พระราชาต้องลงไปลึกในเรื่องศาสตร์พระราชา อย่างดูที่หอแรงบันดาลใจ ท่านประธานพูดถึงสิ่งเล็ก ๆ หยดน้ำหยดเดียวคือแรงกระเพื่อม

          ดอยตุงเริ่มจากงานเล็ก ๆ โครงการดอยตุงพัฒนาพื้นที่โดยรอบ มีหลายที่ได้รับอานิสงค์จากดอยตุงโมเดล เราจะต้องทำโครงกรเชิงนวัตกรรม 1)ใหม่เอี่ยม 2)ของดีมีอยู่ อย่างดอยตุงทำจากของดีมีอยู่  ไม่แคะก็ไม่เห็น การทำโครงการเชิงนวัตกรรม ดอยตุงโมเดล สิ่งที่ทุกท่านพูดคือ ปัญหาที่ทำให้เกิดโครงการเชิงนวัตกรรม แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดโครงการเชิงนวัตกรรมคือโอกาส อย่างในปัจจุบันไม่ได้เห็นปัญหา แต่เป็นการมองเห็นโอกาสในการพัฒนาเช่นการแฟใส่แมคคาเดเมียมากที่สุดในประเทศไทย สิ่งสำคัญคือ ถ้าเราจะทำโครงการสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ Story ต้องไปดูว่าสิ่งทำโครงการสอดคล้องกับนโยบายของ กฟผ.อย่างไร  เช่นการคิดทรัพยากรที่มีอยู่ว่าทำเพื่อกฟผ. และคนรอบกฟผ. อย่างภารกิจดอยตุง การจัดการพื้นที่ให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน แบ่งเป็นป่าเศรษฐกิจ ป่าชุมชน ป่าใช้สอย

          เรื่องแม่เรียนจากลูก ลุกเรียนจกแม่ หมายถึงพระองค์ท่านคุยกัน ความมั่นคงของคนคือความมั่นคงของประเทศชาติ ถ้าวันนี้ดอยตุงไม่จัดการตั้งแต่สมัยนู้น วันนี้ก็จะไม่มีดอยตุงแบบนี้

          การทำโครงการให้ไปดูวิสัยทัศน์โครงการ และมาดูบทเรียนว่าดอยตุงสอนอะไร ส่วนหนึ่งคือผู้นำ ผู้นำต้องมีบารมี ไม่ใช่คนมีบารมีทุกคน

          ถอดบทเรียนเห็นภาวะผู้นำคือในหลวงรัชกาลที่ 9 สมเด็จย่า พระพี่นาง จนมาถึงผู้นำในปัจจุบัน และยังมีผู้นำชุมชน และหมู่บ้าน ต้องมีผู้นำทั้งภาครัฐ เอกชน วิชาการ ชุมชน  ผู้นำ 4.0 ต้องลดความเหลื่อมล้ำ และต้องเก่ง ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องสร้างศรัทธา และสืบทอด และท้ายที่สุด ผู้นำต้องสร้าง Platform ให้คนอื่นเล่นเพื่อสร้างความเป็นเลิศ

          ในมุมมองกฟผ. ยุคคุณสถาพรทำชีววิถีเริ่มตั้งแต่ปี 2540 และเริ่มเป็นรูปร่างในปี 2542   ศาสตร์พระราชาได้เรียนรู้อะไร

          เรืองเขื่อน อย่างท่านที่มาจากน่านพูดดีมากคือการดึงสายไฟฟ้าแรงสูงข้ามจากหงสาวดีมาให้ประชาชนใช้ แต่ชาวบ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ หรืออย่างเขื่อนก็มีปัญหาคือเหนือเขื่อนกับใต้เขื่อน

          ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ คือการทำทั้งกระบวนการ ในยุคใหม่ทำร่วมกับสังคมและเกิดผลทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เราต้องทำได้และขายของได้

          เรื่องการปลูกป่า มีเรื่องการขยายทักษะ คือการพัฒนาศักยภาพคน ในการยกระดับคน ต้นน้ำมีเรื่องอยู่รอดหายเจ็บ หายจน กลางน้ำ คือมีความพอเพียง มีทักษะ ปลายน้ำ คือการสร้างนวัตกรรม ให้คนมีงานทำ นวัตกรรมเกิดจากทักษะ+ ความรู้ และนำมาสู่โจทย์ของ Diversity คือการร่วมมือกันทำหลายฝ่าย ส่วนอีกเรื่องคือเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ดูวันนี้ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ต้องขายของให้ได้ ทำดีขนาดไหน ขายของไม่ได้ก็จบ และสุดท้ายคือทุนมนุษย์  ทฤษฎีดีตรงไหน คือกรอบแนวคิดเอาไว้จับ จะเห็นทั้ง Reality และ Relevance คือทำอะไร และทำให้สำเร็จ สำคัญที่สุดคือ สืบทอด สุดท้ายคือ Stakeholder ทำคนเดียวไม่สำเร็จ

สรุป คือทุกท่านกลับไปแล้วจะทำอะไรต่อ ทุกท่านเป็นผู้นำที่ต้องนำพากฟผ.ไปในอนาคต ผู้นำที่ดีที่ในหลวงและสมเด็จย่าทำให้ดูคือ นำทำ และพาทำ หมายถึง พระองค์ท่านไม่อยู่กับห้องและอยู่กับที่ ลูกน้องจะเชื่อได้อย่างไรถ้เราไม่ทำ สิ่งนี้คือสิ่งที่แสดงให้เห็น พระบารมีมาจากการศรัทธาในสิ่งที่ท่านทำทั้งหมด เกียรติยศไม่ได้มาด้วยชาติกำเนิด แต่เกิดจากการกระทำ เกิดจากการปฏิบัติองค์

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2562

ศึกษาดูงาน “ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ”

โรงงานกระดาษสา

บรรยายช่วงที่ 1 โดย คุณอมรรัตน์

กระดาษสาเป็นภูมิปัญญาที่ชาวบ้านรู้จักใช้ประโยชน์  และเพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้ จึงให้ชาวบ้านตัดปอสามาจำหน่ายให้โรงงาน แล้วโรงงานสร้างงานต่อให้คนในพื้นที่ได้โดยจ้างคนพื้นที่เป็นพนักงานช้อนกระดาษสา ทำกระดาษสาและผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา

บรรยายช่วงที่ 2 โดย คุณเสา

                ชาวบ้านตัดกิ่งปอสามาขายโรงงานกิโลกรัมละ 22-35 บาท เมื่อ 6 เดือนผ่านไป ปอสาจะแตกกิ่งใหม่ กิ่งที่ชาวบ้านนำมาขายอาจจะลอกเปลือกหรือไม่ลอกเปลือกก็ได้ ปอสาต้นใหญ่มี 2 ชนิด ชนิดใบวงรีกับชนิดใบแหลม

                ในการช้อนเยื่อกระดาษสา ต้องแช่ปอสาไว้  1 คืน แล้วต้มกับโซดาไฟเพื่อให้เปลือกลอกออก บรรดาพนักงานรุ่นลุงและป้า มาคัดเปลือกไม้ออก ถ้าจะย้อมสี ต้องฟอกขาวด้วยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์กับโซเดียมซิลิเกต แล้วมาคัดตาไม้ออก จากนั้น โม่เยื่อให้ละเอียดเพื่อนำไปใช้เป็นกระดาษสา

                โรงงานกระดาษสามีวิธีช้อนกระดาษสา 2 แบบ

                1.การช้อนกระดาษสาไทย โดยใช้เฟรมตาข่าย ช้อนเสร็จแล้ว ตากแดด

                2.การช้อนกระดาษสาญี่ปุ่น เกิดจากแนวคิดของโรงงานกระดาษสาในการเพิ่มมูลค่า จึงมีผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมาสอนให้พนักงาน โดยนำอุปกรณ์มาจากญี่ปุ่นคือ ไผ่เซกิ มีต้นทุนประมาณ 3,000 บาท มีปัญหาคือไม้ไผ่หักแล้วต้องซ่อมตลอดเวลา พนักงานจึงคิดจะลดต้นทุนโดยนำไผ่ไทยมาสานเลียนแบบ ทำให้ต้นทุนลดลงเหลือพันกว่าบาท ใช้งานได้นาน 6 เดือน ต่อมานำพลาสติกมาสานเป็นตาข่าย นำเยื่อกระดาษสามาไว้บนเฟรมแล้วนำแผ่นซิลค์สกรีนมากดทับ ทำให้ต้นทุนเหลือ 45 บาท จึงใช้มาถึงปัจจุบัน ทำให้ผลิตกระดาษได้วันละ 160-200 แผ่น ถ้าเป็นไผ่เซกิ จะทำได้วันละ 70-80 แผ่น เฟรมมีน้ำหนัก 5 กิโลกรัมยังไม่รวมเยื่อกับน้ำ ถ้าทำกระดาษ 80 แกรม น้ำหนักเฟรมรวมเยื่อกับน้ำจะเท่ากับ 9 กิโลกรัม ถ้าทำกระดาษ 120 แกรม น้ำหนักเฟรมรวมเยื่อกับน้ำจะเท่ากับ 15 กิโลกรัม พนักงานต้องช้อนกระดาษคนละ 160 แผ่นต่อวัน

ในน้ำมีสารกระจายตัวเรียกว่า  ยูเรไนต์ น้ำและเยื่อสา ส่วนเยื่อที่เสีย ก็สามารถนำไปตีใหม่ได้

เมื่อช้อนได้ 20 แผ่น ก็จะไปสลัดน้ำออก ประมาณ 45 นาที จะนำขึ้นตากบนสเตนเลส โดยใช้พลังความร้อนจากเตาชีวมวล และกระดาษจะแห้งภายใน 15-20 นาทีหรือแล้วแต่ความหนาของกระดาษ

เมื่อกระดาษแห้งแล้ว จะนำไปทำ QC เพื่อดูความหนา นำเศษไม้ชนิดอื่นหรือฝุ่นออกด้วยการนำสก๊อตเทปมาปะ ถ้าเป็นเยื่อสา ก็จะเก็บไว้

การเพิ่มมูลค่า นำกระดาษสาที่ผ่าน QC แล้วมาทำลวดลาย เช่น พับเป็นปกสมุด ถ้าขายกระดาษสาธรรมดาที่ผ่านการสกรีนแล้ว จะได้ราคา 90-100 บาท ถ้าเพิ่มมูลค่าด้วยการทำปกสมุด กระดาษ 1 แผ่นสามารถทำปกสมุดได้ 6 เล่ม เล่มละ 290 บาท แล้วก็เพิ่มมูลค่าขึ้นไปเรื่อยๆ

ที่ติดฝาผนังซึ่งญี่ปุ่นสั่งทำมา กระดาษ 1 แผ่น ทำได้ 2 ชิ้น ชิ้นละพันกว่าบาท ทางโรงงานแค่สกรีนลงไป ข้างในเป็นกระดาษแข็ง

ความแตกต่างของกระดาษสาไทยและกระดาษสาญี่ปุ่น คือ กระดาษสาไทยมีความขรุขระ แม้จะนำถ้วยสังกะสีมารีดบนกระดาษสา กระดาษสาไทยก็ยังไม่เรียบเท่ากับกระดาษสาญี่ปุ่น กระดาษสาไทยใช้การตากแดดให้แห้ง ส่วนกระดาษสาญี่ปุ่นนั้นใช้แปรงปัดให้ติดกับตัวเตาสเตนเลสจึงมีความเรียบ

ลวดลายต่างๆจะเน้นเอกลักษณ์ในพื้นที่ ดังจะเห็นในพัดลายชนเผ่า

อีกวิธีในการทำลวดลายกระดาษสาคือ ช้อนกระดาษสาให้บางที่สุดคือ 20 แกรม ใช้พลาสติกใสวางบนกระดาษสา แล้วใช้น้ำฉีดให้มีลวดลาย

ทางโรงงานมีการรับผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้าด้วย  ราคาผลิตคำนวณจากเวลาทำงาน และบัญชีคำนวณต้นทุนการผลิต แล้วส่งใบเสนอราคาให้ลูกค้า

โรงงานทอผ้า

บรรยาย โดย ป้าคำ

                ป้าคำเคยทอผ้าคำ ต่อมาย้ายไปทำงานที่บ่อพลอย กาญจนบุรี หลังจากนั้นมีคนติดต่อให้ไปทำงานสวนกล้วยไม้ที่หนองแขมมีรายได้วันละ 25 บาทได้นอนวันละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 9 ปีจนถึงปีพ.ศ. 2530

                เมื่อโครงการดอยตุงเริ่มขึ้น แม่ของป้าคำขอให้ป้าคำกลับมา ตอนที่ป้าคำยังไม่ได้ทำงาน ก็ทอผ้าลำให้ชาวเขาไปปัก นายอำเภอมาพบป้าคำทอผ้าอยู่บ้านแบบไม่มีรายได้และเมื่อมีพ่อค้ามารับซื้อ ก็มีการกดราคา นายอำเภอจึงไปปรึกษาผู้ใหญ่ให้ป้าคำมีงานทำ

                คุณชายซึ่งเป็นเลขานุการในสมเด็จย่ามาหาป้าคำ โดยแนะนำให้หาเพื่อน 10 คนมารวมกลุ่มกัน คุณชายกลับมาอีกครั้ง นำอุปกรณ์การทำงานมาให้ แล้วชี้แจงการจ่ายค่าตอบแทนว่า อัตราวันละ 50 บาท แต่เงินออกเดือนละครั้ง หลังจากนั้น ก็ได้นำอาจารย์มาสอนทำให้สามารถทอผ้าลายขิตได้วันละ 12-13 เมตร

                เพื่อนของป้าคำ 4 คนเคยออกจากกลุ่มไปรับจ้างปลูกป่า แต่ป้าคำไม่ท้อถอย

                จนกระทั่งปีพ.ศ. 2536-2537 โครงการดอยตุงประกาศรับคนงานเพิ่ม กลุ่มของป้าคำเป็นผู้สอน ตอนนี้โรงทอผ้ามีพนักงาน 140 คน สิ่งสำคัญอยู่ที่ความอดทน พยายามขยายผลต่อไปเรื่อยๆ สมเด็จย่าทรงเป็นกำลังใจให้ทำงาน ทำให้ได้ทำงานใกล้บ้าน นอกจากนี้หน้าโรงงานทอผ้ามีศูนย์เด็กอ่อนดูแลลูกให้พนักงาน ส่วนคนที่มีอายุ 60 ปีกว่า ก็ยังคงทำงานอยู่

                ในโรงงาน มีคน 3 รุ่นทำงานคือ

                1.รุ่นลูก ทำงาน QC ได้ค่าจ้างรายวัน

                2.รุ่นแม่ ทำงานทอผ้า ได้ค่าจ้างแบบเหมา

                3.รุ่นยาย ทำงานหมุนหลอด ได้ค่าจ้างรายวัน

                ตอนแรกที่เข้ามาทำงาน พนักงานได้ค่าจ้างวันละ 300 บาท เมื่อทำงานต่อไประยะหนึ่ง ได้ค่าจ้างวันละ 370 บาท

โรงคั่วกาแฟ

โรงคั่วกาแฟของโครงการดอยตุงรับซื้อกาแฟเชอรี่ (เมล็ดกาแฟสุกทั้งสีเลืองและสีแดง) ซึ่งชาวบ้านต้องเก็บทีละเม็ดเพราะกาแฟทั้งพวงสุกไม่พร้อมกัน

ช่วงที่เก็บกาแฟเป็นช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ก็เป็นช่วงที่ปิดรับซื้อกาแฟแล้ว โรงคั่วกาแฟของโครงการดอยตุงจะรับซื้อกาแฟเชอรี่จากสมาชิกที่ขึ้นทะเบียนไว้กับโครงการเท่านั้น ในการรับซื้อกาแฟ มีการชั่งน้ำหนัก จดบันทึก ทำให้สามารถจ่ายเงินให้กับชาวบ้านได้อย่างถูกต้อง

เมื่อกาแฟมาถึงโรงคั่วกาแฟ ก็ต้องมีการคัดคุณภาพ สุ่มตรวจในแต่ละวัน เมื่อสีกาแฟแล้ว ก็จะได้กาแฟกะลา มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ ลานด้านหลังโรงคั่วกาแฟ มีไว้ตากกาแฟด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หลังจากนั้น มีการตรวจวัดความชื้นของกาแฟ วันละ 2-3 ครั้ง ถ้ามีความชื้นไม่เกิน 12% ก็สามารถเก็บใส่กระสอบได้

ต่อมา สีเปลือกกะลาเป็นสารกาแฟ เป็นเมล็ดดิบที่ยังไม่คั่ว ใน 1 ครั้งที่เก็บ อาจจะมีเมล็ดต่างกัน มีเครื่องแยกเกรดและขนาดให้ง่ายต่อการคั่วในแต่ละรอบ เมื่อคั่วแล้วได้สาร Peaberry เป็นเมล็ดเดี่ยวของกาแฟ บางครั้งข้างหนึ่งฝ่อไปทำให้สารอาหารครบถ้วนใน 1 เม็ดเชอรี่

                เมื่อได้สารกาแฟ เข้าโรงคั่ว คัดด้วยเครื่องแล้วคัดด้วยมือ ที่โรงคั่ง มีเครื่องคั่วนำเข้าจากเยอรมนี ใช้สารกาแฟ 50 กิโลกรัมต่อหม้อ คั่วได้ 30 หม้อต่อวัน

                การคั่วกาแฟมี 3 ระดับคือ

                1.คั่วอ่อน จะได้กาแฟมีรสเปรี้ยว

                2.คั่วเข้ม

                3.คั่วเข้มมาก

                การคั่วกาแฟเป็นการลดความเปรี้ยวของกาแฟ

                การเพิ่มมูลค่าของกาแฟ

                1.กาแฟเชอรี่ ราคารับซื้อกิโลกรัมละ 15-20 บาท แต่ทางโครงการดอยตุงรับซื้อกิโลกรัมละ 22 บาท

                2.กาแฟกะลา ใช้ราคารับซื้ออ้างอิงตลาดโลก บางครั้งชาวบ้านทำเองแล้วขายเป็นกาแฟกะลา ราคากิโลกรัม 90-120 บาท

                3.สารกาแฟ ทางโครงการดอยตุงไม่รับซื้อประเภทนี้จากชาวบ้าน แต่ราคาขายกิโลกรัมละ 200 บาท

                4.กาแฟคั่วบรรจุซองธรรมดา ราคาขั้นต่ำกิโลกรัมละ 400 บาท

                5.กาแฟคั่วดอยตุง กิโลกรัมละ 1,200-1,300 บาท

                6.กาแฟถ้วยในร้านดอยตุง กิโลกรัมละ 3,500-4,000 บาท ราคาแก้วละ 120 บาท

                ถ้าสามารถสร้างการเพิ่มมูลค่านี้ได้ครบวงจร ก็จะสร้างกำไร การจ้างงาน ทุนการศึกษาเด็กในโครงการพัฒนาดอยตุง

โรงงานเซรามิก

บรรยายช่วงที่ 1 โดย คุณอมรรัตน์

                โรงงานเซรามิกไม่ใช่ภูมิปัญญาเดิม แต่จะเป็นโอกาส เป็นสิ่งที่จะทำได้ในอนาคต เกิดจาการจากการตัดถนนขึ้นโครงการดอยตุง ทำให้มีไฟฟ้า น้ำประปาตามมา กรมทางหลวงทำถนนให้โดยมีมาตรฐานเหมือนถนนปกติแต่มาทำบนดอย ต้องมีการตัดดินออก เกิดปัญหาดินสไลด์ ทำให้สมเด็จย่าทรงถามรัชกาลที่ 9 ท่านทรงแนะนำให้ปลูกหญ้าแฝก โครงการดอยตุงจึงมีศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกที่ใหญ่ที่สุด สถานที่ตั้งศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือเดิมเป็นสถานที่ตั้งของศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝก ตอนนี้ ศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกได้ย้ายไปอยู่แถวอ่างเก็บน้ำห้วยไคร้ ศูนย์ศึกษาพัฒนาหญ้าแฝกทำงานร่วมกับหน่วยราชการ จำหน่ายหญ้าแฝกให้ประชาชนไปปลูก รัชกาลที่ 9 ทรงให้สมเด็จย่าทรงลองทำ 6 เดือนแล้ว สมเด็จย่าทูลเชิญรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 9 เสด็จมาปลูกหญ้าแฝก รากหญ้าแฝกลึกลงดินเป็นตาข่ายกันดินสไลด์และเก็บอาหารให้พืชด้วย แต่ต้องมีการตัดใบเพื่อให้รากหากินได้ลึกขึ้น หญ้าชนิดนี้ก็เป็นหลังคา เมื่อทิ้งก็กลายเป็นปุ๋ยได้ ส่วนที่เหลือ ดีไซน์เนอร์นำมาทอกับผ้าทอเป็นเสื่อรองจาน เมื่อมีเศษหน้าเหลือ ก็ผสมดินทำเป็นกระถางหญ้าแฝกที่ย่อยสลายได้ภายใน 6 เดือน โดยนำต้นไม้ทั้งกระถางใส่ลงดิน นอกจากนี้มีวัยรุ่นดอยตุงอยากทำงานศิลปะจึงพัฒนาเป็นเซรามิกดอยตุง

บรรยายช่วงที่ 2 โดย คุณเล็ก

มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงมีความร่วมมือศิลปะเซรามิกกับเทศบาลเมืองคะซะมะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีอาจารย์จากญี่ปุ่นมาสอน ทำให้ชิ้นงานเซรามิกมีน้ำหนักเบาลงและมีมูลค่าเพิ่ม

สูตรดินในพื้นที่ที่มีคุณสมบัติทำให้ชิ้นงานน้ำหนักเบาคือ ดินฮ่องแฮ่

                การขึ้นรูปด้วยมือ ใช้แป้นหมุนไฟฟ้า ใช้ดินจากแผนกเตรียมดินผสม มีกระจกส่องดูให้สมดุล หลังจากขึ้นรูปแล้ว ก็เผาเบื้องต้นด้วยเตาชีวภาพ แล้วเคลือบ วันหนึ่ง ทำได้คนละ 80 ชิ้น

                การขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์มีมอเตอร์ช่วย วันหนึ่งทำได้คนละ 280 ชิ้น เมื่อได้ชิ้นงาน ก็นำไปใส่เตาอบ 15 นาทีเพื่อให้เกิดการล่อนตัว

                การขึ้นรูปด้วยงานหล่อโคลน ทำโดยใช้ดินโคลนใส่ลงไปในแม่พิมพ์ (Mold) ปิดไว้ 4 นาที เพื่อให้พิมพ์ดูดความชื้นแล้วดินเกาะผนังแม่พิมพ์

                การเผารอบแรกเป็นการเผาบิสกิต ทำให้ดูดซับน้ำได้ดี จากนั้นนำไปชุบสี แล้วเผาเคลือบอีกโดยใช้เวลานานกว่าการเผารอบแรก เมื่อได้ชิ้นงานแล้วส่ง QC

แลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้นำชุมชน และเยาวชนที่สืบสานงานของดอยตุง

บรรยายโดย  

นายวีระชิต วรัญชิตกุล นายก อบต.

นายอาผา  อาจอ สมาชิก อบต. / ผู้นำทางศาสนาคริสต์

นางมยุรา สิลาวงศกรกุล ประธานกลุ่มสตรี หมู่บ้านขาแหย่ง

นายชำนาญ  อดิสุนทรกุล  ผู้อาวุโสในชุมชนอาข่าป่ากล้วย

นายวันชัย ปรีชาสถานพรกุล สมาชิก อบต.

นายสาม นามปัด เจ้าหน้าที่ต้อนรับส่วนท่องเที่ยว

การพบปะผู้นำชุมชน

นายกอบจ.ฯ

ก่อนดอยตุงจะเกิดขึ้น เป็นพื้นที่ภูเขาหัวโล้น คนไม่มีอาชีพ ไม่มีงานทำ ไม่มีทางออก คนต้องเอาตัวรอดจากการอยู่ในพื้นที่นี้ ต้องวิ่งมาวิ่งไประหว่างไทยและพม่า พอรัฐบาลแบ่งเขต พี่น้องอาจอยู่คนละสัญชาติเช่น ไทยกับพม่า อาชีพ ไป ๆ มา ๆ

          พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ มีแม่สาย แม่ฟ้าหลวง และเชียงราย เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่น เป็นที่ขึ้นชื่อของสามเหลี่ยมทองคำ เป็นแหล่งกำลังต่าง ๆ อาทิ รัฐฉาน มี่วิธีการและวิธีปฏิบัติ

          2531 – 2532 ดอยตุงเริ่มต้นเข้ามา แต่ชาวบ้านช่วงแรกไม่เชื่อเพราะไม่ได้รับโอกาส มีกลุ่มอาสาสมัครเป็นผู้ประสานระหว่างดอยตุงและชุมชน มี 6 ชนเผ่าในพื้นที่ กลุ่มอาสาสมัครจะเป็นตัวประสาน แต่รุ่นแรกจะลำบากมากเพราะต้องต่อสู้กับคนที่ไม่เข้าใจเป็นการต่อสู้กับคนที่มีการศึกษาพูดภาษา ดร.กับชาวบ้านที่พัฒนาเอง จึงเกิดความขัดแย้งทางภาษา อีกเรื่องคือพูดภาษาไทยได้ไม่กี่คน จึงมีตัวแทนในการสื่อสาร

          อาชีพเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงโดยปริยาย รุ่นบุกเบิกเป็นรุ่นที่ลำบากที่สุดในการทำความเข้าใจ

          1. การเข้ามาเริ่มต้น จะพูดว่ามาทำอะไร เช่น ทำคุณภาพชีวิต การศึกษา ไม่พูดถึงเรื่องยาเสพติด ชาวบ้านจะใช้เวลา 3-4 ปีในการเรียนรู้ ไม่ใช้วิชาการ ใช้การปฏิ่บัติในการจ่ายเงินให้เขา ใข้ประสบการณ์ ทำให้การประกอบอาชีพเปลี่ยนแปลงไป

          2. การทำงานใด ๆ ก็ตาม จะใหญ่หรือเล็กไม่สำคัญ ขึ้นอยู่กับหมวกที่สวม อย่ามองว่าหมวกสำคัญมากเกินไป ถ้ามองว่าสำคัญมากเกินไปจะทำให้การทำงานมีอุปสรรค เพราะการมีหมวกไม่ได้สร้างด้วยใจบริสุทธิ์ ต้องวางหมวกไว้ข้างทาง แต่ดูว่าจิตใจทำด้วยอะไร

          3. วิธีการสร้างโอกาส และทำให้รุ่นหลังมีโอกาสมากกว่ารุ่นเรา ปัจจุบันกำลังส่งคนในพื้นที่ชุมชนศึกษามากขึ้น และมีคนในพื้นที่บางคนที่จบ ดร. ประเด็นคือจะทำอะไรให้คนในชุมชนมีโอกาสมากที่สุด สิ่งที่ต้องสร้างคือ ต้องสร้างให้ชุมชนอยู่รอด เรียนรู้ 4 ภาษา 1. ชนเผ่า 2. ภาษาไทยวัฒนธรรมไทย 3. ภาษาจีน 4. ภาษาอังกฤษ

          ผลที่ตามมาคือคน ๆ เดียวสามารถทำได้หลายอย่าง สร้างคนให้เป็นคนดี และมีประสิทธิภาพ

          1.หลักการทำงานไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก อย่าเป็นน้ำเต็มแก้ว เพราะถ้าน้ำเต็มแก้วเติมเมื่อไหร่น้ำจะล้น เราต้องรับฟังเหตุผลทั้งส่วนใหญ่ส่วนเล็กมาประกอบในการทำงาน เพราะความคิด ความอ่านแตกต่างกัน เป้าหมายอาจเดียวกัน แต่ประสบการณ์แตกต่างกันทำให้วิธีการไม่เหมือนกัน

          2. อย่ามีอคติ ทุกคนไม่มีถูก ไม่มีผิดหมด เพราะเมื่อมีอคติเมื่อไหร่ ปัญหาทุกอย่างจะไม่จบ

คู่ต่อสู้คือตัวเราคนเดียว อย่ายึดปัญหาเป็นกรอบในการดำเนินชีวิตแต่ให้ยึดเป็นปัญหาการพัฒนาองค์กร

ตัวแทนชุมชนคนที่ 2

          อยู่กับดอยตุงตั้งแต่รุ่นบุกเบิกครั้งแรก การทำงานครั้งแรกให้อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ดอยตุง เข้าไปเก็บข้อมูลรายบุคคลทุกครัวเรือน เป็นเสมือนการเจาะลึก การเข้าไปสัมผัสกับชาวบ้าน ต้องไปกินนอนกับแต่ละหมู่บ้าน

          การทำงานสมัยก่อนเป็นดินแดง เป็นภูเขาหัวโล้นทั้งหมด ฝนตกมาก็ไม่มีที่ซึมซับน้ำ

          ทุกวันมีความผูกพันกับดอยตุงเนื่องจากทำงานจิตอาสามาตลอด อยู่กับชุมชนมาตลอด

ตัวแทนชุมชนคนที่ 3

          ทำส่วนงานพัฒนาเด็กและเยาวชน สิ่งที่รู้คืออดีตเป็นอย่างไร และจะพัฒนาอย่างไรให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีพื้นที่ให้เยาวชนเรียนรู้ และสานต่อสู่การพัฒนาพื้นที่เยาวชน

ตัวแทนชมชนคนที่ 4

          ดอยตุงเมื่อก่อนไม่มีต้นไม้ ร้อนมาก ปลุกฝิ่น ไม่มีน้ำ ไม่มีถนน ไม่มีไฟฟ้า และไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรเลย

ตัวแทนชุมชนคนที่ 5

          พ่อแม่อพยพจากยูนานมาเมืองไทย อดีตดอยตุง 45 ปีก่อน พ่อสูบฝิ่น ตัวเขาเป็นลูกชายคนโตตอนนั้นอายุประมาณ 15-16 ปี มีคนจากชายแดนในการขนฝิ่น ปลูกฝิ่น  แต่ด่อนจะไปทำมาหากินที่ไหนก็ไม่ได้ เงินที่ได้มาก็ไปซื้อข้าว ซื้อปลาทู และเลี้ยงน้องอีก 4-5 คน ต้องเดินทางขนฝิ่นไปข้างล่าง ได้โลละ 300 บาท แต่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนจ้างขนฝิ่น ยอมไป เพราะไม่ไปจะไม่มีเงินซื้อกินข้าว

          การพัฒนาดอยตุงเมื่อปี 2531 ตอนแรกคนในหมู่บ้านไม่เชื่อ เพราะพูดไทยไม่ได้ กลัวถูกจับไปพม่า คิดว่าถ้าจะมาสู้ก็ต้องสู้ ตอนหลังมีอาสาสมัครเข้ามา มีการเรียนภาษาจีน และพูดว่าที่มานั้นเป็นการมาดีจริง ๆ

          สลับกันมากว่าจะเชื่อได้ต้องใช้เวลา 2-3 ปีกว่าจะไว้ใจ

ตัวแทนชุมชน เผ่าอาข่า

          คุณวันชัย ได้เจอสมเด็จย่าบ้างในช่วงแรก ๆ เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่จบการศึกษาระดับสูง จบปี 2549 แต่ทัศนคติคนบนดอยกับคนข้างล่างค่อนข้างแตกต่าง

          ทำไม่คนในพื้นที่กับเผ่าอยู่อย่างสามัคคีได้ดี เพราะ แต่ละเผ่าผ่านเรื่องร้ายมาด้วยกันมาก ทำให้ทัศนคติในการอยู่ร่วมกันได้ดี ผู้นำของบนดอย หลายท่านไม่ว่าใครขึ้นมา คน ๆ นั้นจะมีโอกาสเป็นผู้นำไม่ต่ำกว่า 2-3 สมัย เนื่องจากมีทัศนคติว่าดีแล้วจะไปเอาเขาลงทำไม

          ผู้นำบนดอยต่างกับพื้นราบ ผู้นำบนดอยไม่ต้องให้อะไรทั้งนั้น มองว่าเป็นผู้นำต้องให้เขา สิ่งที่ทุกคนควรทำคือการทำให้เขา ต่างจากพื้นราบที่การเป็นผู้นำคือจะได้มากกว่าให้

          การอยู่ร่วมกันของพี่น้องชนเผ่า คนที่เป็นนายกฯ สามารถปรับทัศนคติในการอยู่ร่วมกันได้ระหว่างเผ่า ทั้ง ๆ ที่มีกองกำลังติดอาวุธของตนเอง

          1. การเป็นคนดอยต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับชนเผ่าในพื้นที่

          2. การเรียนรู้ที่จะอยู่กับป่า อยู่กับธรรมชาติ เยาวชนรุ่นต่อไปต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ

          3. ต้องเรียนรู้ที่จะแข่งกับคนกรุงเทพฯ เพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง คนดอยรุ่นหลังพุดได้ 3-4 ภาษาเป็นปกติ มีแนวคิดว่าอยู่ใกล้กับใครให้พูดภาษานั้น สิ่งที่ปรับคือการเรียนรู้อยู่ร่วมกับสังคม และวัฒนธรรมต่าง ๆ

          - ในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ของแต่ละเผ่า ปฏิทินไม่เท่ากัน มีการจัดกิจกรรมให้เยาวขนมาร่วมกิจกรรมกัน

          - สิ่งสำคัญคือ การห้ามทิ้งให้พ่อแม่อยู่คนเดียว เช่นมีลูก 5 คน จะต้องมีอย่างน้อย 1 คนอยู่กับพ่อแม่ ในสังคมอาข่าต้องไม่มีการปล่อยให้พ่อแม่อยู่คนเดียว และมองเป็นเรื่องน่าอายที่จะทิ้งให้พ่อแม่อยู่คนเดียว

          คนเป็นพี่ของอาข่าต้องรับผิดชอบทุกอย่าง คนที่เป็นพี่คนโตต้องดูแลทั้งหมด

          การเป็นผู้นำต่อให้เป็นผุ้นำระดับครอบครัวก็ถือว่าเป็นผู้นำ สิ่งที่ อบต.ทุกท่านต้องทำคือถ้ามีงานศพ งานแต่งงานที่ไหน ต้องไปช่วยทุกวัน การเป็นผู้นำเกิดจากการทำดี สิ่งที่จะเป็นผู้นำได้คือ ก้มหน้า ก้มตาทำงาน แล้วคนจะเห็นคุณค่าของเรา ทุกคนเป็นผู้นำแต่ละระดับ และเชื่อเสมอว่าการเป็นผู้นำต้องคิดดีทำดี และการแข่งขันไม่ค่อยเยอะ เพราะไม่มองเรื่องความแตกแยก แต่มองเรื่องการทำงานร่วมกัน

คำถามจาก กฟผ.

1. ตอนแรกที่มีโครงการพัฒนาดอยตุงและท่านนายกฯ ตัดสินใจที่ร่วมเป็นทีมอาสา อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ไว้ใจเป็นตัวกลางในการสื่อสาร

          ตอบ เริ่มต้นไม่ได้ไว้ใจ แต่รู้ว่าปัญหาชองชุมชนคืออะไร  มองเห็นถึงคนไม่มีสัญชาติไม่มีโอกาส ไปไหนก็ได้ ทำสิ่งไหนก็ไม่ได้ ตอนแรกดอยตุงเกิด ข้าราชการมาทุกครั้ง ชาวบ้านต้องเลี้ยงเขา และสงสัยว่าจะช่วยอะไรได้ ในตอนหลังพอเริ่มพูดไทยได้ เริ่มสื่อสาร พูดคุย มีการขอความช่วยเหลือ และราชการให้ ราชการให้โอกาสมากขึ้น จึงเริ่มต้นในการเข้ามาร่วม เริ่มต้นจากการวิ่งเรื่องสัญชาติ ทั้ง ตำบล อำเภอ จังหวัด และเมื่อทำเสร็จ ก็สานต่อให้คนรุ่นหลัง ทำไปทำมาก็ไปไหนต่อไม่ได้ ก็ผลักดันให้คนรุ่นหลังมีความจงรักภักดีในสถาบันกษัตริย์ และจงรักภักดีในพื้นที่ เมื่อมีโอกาสต้องดึงชาวบ้านและคนรุ่นหลังขึ้นมาให้ได้

          ตัวแทนจาก อสม. ตอนแรกถามว่าเต็มใจหรือไม่ที่ทำ ตอนนั้นอายุ 20 ปีกว่า ยังไม่รู้ว่าเต็มใจหรือไม่ แต่เป็นไปโดยอัตโนมัติ เป็นสิ่งที่ทำเป็นประจำอยู่แล้ว พอดอยตุงมาก็ไม่รู้ว่าจะเอาใคร ต้องเอาคนที่มีประสบการณ์มาทำ ก็จำใจรับทำจิตอาสาในเบื้องต้น พอมีปัญหาจิตอาสาต้องรับผิดชอบ คือทั้งดอยตุง และชาวบ้าน  ทุกวันนี้มีจิตสำนึกการเป็นจิตอาสาตรงนี้

2. การรับเป็นอาสาของท่านนายกฯ ในช่วง 20 ปีกว่าจะทำให้ชุมชนเชื่อได้อย่างไร

          ตอบ เริ่มต้นไม่เชื่อ เพราะยังไม่มีอาชีพ บางครั้งสบายใจ บางครั้งไม่สบายใจ มีมุมมองว่าสิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น แต่เป็นเรื่องอนาคตชุมชน ต้องดึงกลุ่มที่เชื่อเรามาทำงานกับเรา เพื่อให้คนกลุ่มนี้เห็นภาพคือทำงานได้เงิน มีผู้ใหญ่ดูแล ได้สัญชาติ คนที่เชื่อมีโอกาสได้สัญชาติเร็วขึ้น ทำมาหากินได้ดีขึ้น คนก็เข้ามาเรื่อย ๆ   สังคมเมื่อเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว เขาจะเปลี่ยนเอง

          สิ่งสำคัญของการเป็นผู้นำ มีการแข่งขันกีฬาฟุตบอลทุกปี มีกฎกติกาในการลงโทษเมื่อตีกัน

          ผู้นำต้องนำทำทุกอย่าง ไม่ใช่นำชี้ แต่นำทำ เป็นการเสียสละของผู้นำ

          ทุกวันนี้ ถ้าผู้นำซ่าเมื่อไหร่ ผู้นำจะโดนปรับมากกว่าชาวบ้าน โดนลงโทษหนักกว่า เราต้องสร้างผู้นำให้เป็นต้นแบบให้ได้ กฎหมายและกติกาไม่ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากผู้นำได้รับโทษนิดเดียว

อย่างเรื่องไฟป่า ไฟไหม้ การให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากป่า เมื่อเกิดไฟป่าที่ไหนชาวบ้านต้องดับไฟ การเป็นผู้นำต้องนำจริง ๆ และต้องว่าคนที่เป็นผู้นำมากกว่า สรุปคือสร้างผู้นำให้นำให้ถุกต้อง อย่าง ระเบียบไฟป่า ระเบียบยาเสพติด พบว่ามีคนติดยาไม่ถึง 50 คน แต่ละชุมชนมีกฎ กติกา ชุมชน แค่ชุมชนช่วยปกป้อง สอนก็จบ ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชน

3. เนื่องจากปัจจุบันมีสิ่งแวดล้อมทางสังคมเมืองมากกว่าเดิม ทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่รักถิ่นที่อยู่ ไม่ทิ้งถิ่นที่อยู่ และดำเนินรอยตาม        

          ตอบ ให้โรงเรียนมีส่วนร่วมด้วย เช่นทุกวันศุกร์ พูดภาษาชนเผ่า และแต่งชุดชนเผ่า

2. เมื่อมีเทศกาลให้ลูกหลานเข้ามาเพื่ออนุรักษ์ประเพณี มีระเบียบ กฎเกณฑ์

3. ไม่เปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามา ถ้าเข้ามาต้องแต่งเข้ามา

          สรุป คือสร้างคนให้รักรากเหง้าตนเอง ไม่ลืมรากเหง้าตนเอง คนที่อยู่ที่ดอยตุงจะมีความสุข มีคดี ขโมย ลักทรัพย์น้อยมาก  แค่พันกว่าคนอยู่ด้วยกันต้องสื่อสารกันตลอด

4. ภาษา เรื่องการถ่ายทอดและสอนมีการกำหนดบทเรียนอะไรหรือไม่

          ตอบ ถ้าเป็นภาษาจีน มีโรงเรียนจีนสอนปกติ นายกฯ เปิดไว้เพื่อรับนักเรียน 500 คน ส่วนภาษาอื่น เช่น ลาหู่ อาข่า ก็มีภาษา มีการสอนภาษาอังกฤษ มีมิชชันนารี อ่านหนังสือเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาอาข่า

          ช่วงปิดเทอมเป็นการเข้าค่ายเยาวชนของแต่ละหมู่บ้าน มีการจัดกิจกรรมทางศาสนา ภาษาพูดมีการอาศัยการฟังและจำเอา

          การเรียนจากพระคัมภีร์แต่ละชนเผ่า คนที่จะพูดภาษาอาข่าได้เต็ม ๆ คือคนรุ่นแม่ คนที่เก่งคือ คนที่ทำและพูดแบบที่เขาพูดได้ ต้องพุดได้ชัดเจน ทุกอย่าง

          ภาษาจีน ตอนเช้าเรียนภาษาจีน ตอนบ่ายเรียนภาษาไทย มีคนข้างล่าง คนไทย คนเหนือก็ทำเรื่องเข้ามาเรียนด้วย

          จัดกิจกรรมให้เยาวชนเรียนรู้เป็นกลุ่ม

          - มีหลายหมู่บ้านมา มีการรับเด็กนักเรียนที่จบมาเป็นระบบราชการ มีการสร้างให้คนกลับมาทำงานที่ดอยตุงที่นี่  ประเด็นคือทำให้ดีที่สุดแต่ก็เกิดสมองไหล แต่ไหลแบบไม่ไป เมื่อถึงจุดหนึ่งจะกลับมาในพื้นที่  การกระตุ้นให้เด็กมารับราชการที่นี่ เน้นให้เกิดความชอบ แล้วเขาจะกลับมาทำที่เรา แต่ก็ยังเจอประเด็นเรื่องราชการ

5. อะไรเป็นจุดเปลี่ยนตอนช่วงขนฝิ่นได้เที่ยวละ 300 บาท เมื่อ 45 ปีที่แล้ว เฉลี่ยถ้าปัจจุบันเปรียบได้คือเที่ยวละ 30,000 บาท

          ตอน เรามีความจำเป็นต้องทำ เดินด้วยเท้าเปล่า สภาพเหมือนผีตองเหลือง แต่เป็นคนไม่ติดฝิ่น ทหาร ตำรวจมาที่หมู่บ้าน ตอนหลังบอกไม่สบาย ปวดท้องก็ไม่ไป

          พม่าจะผลิตเฮโรอีน ก็ผลิตที่ไทย และส่งให้เขา เราควบคุมได้หรือไม่ เราไม่สามารถควบคุมได้ เพราะส่งน้ำยา

          ที่เลิกหรือไม่ คือ การช่วยเหลือประเทศไทย เลิกโดยปริยาย เพราะความเจริญเข้ามา การได้เงินแม้ได้มาก แต่เป็นความเสี่ยง แต่ที่จริงก็ไม่อยากทำ ทำเพราะไม่มีโอกาส และเมื่อมีดอยตุงเข้ามา ชาวบ้านเริ่มมีโอกาสในการประกอบอาชีพมากขึ้น  ก็ยินดีที่จะเลิก ปัจจุบันมีการผลักดันให้เรียนภาษามากข้น เช่นภาษาจีน คนต้องเอาตัวให้รอด วิธีการคือ ทุกตารางนิ้วมีการกำหนดการใช้ประโยชน์ทั้งหมด หรือแม้แต่ไปอยุ่ที่อื่นก็ส่งเงินมาเลี้ยงพ่อแม่ หรือกลับมาช่วงเทศกาลทุกปี เขาอยู่แล้วมีความสุข

6. คนที่สูบฝิ่น สูบมา 21 ปี มีเหตุอะไรถึงเลิกสูบฝิ่นได้

          ตอบ สมัยก่อนไม่มีอนามัย ไม่มีสัญชาติไทย ไปที่ไหนก็ไม่ได้ มีการสูบฝิ่นด้วย ส่งฝิ่นด้วย รักษาโรคด้วย สูบไปมามีเพื่อนมาก แต่ปัญหาคือไม่พอกิน ไม่พอใช้  มีการไปที่สูญบำบัดให้เลิก

          3 ปีแรกไม่พูดเรื่องยาเสพติด เลย 3 ปีจะพูดเรื่องยาเสพติด เอาคนในชุมชนส่วนหนึ่งที่สมัครใจไปบำบัด ไปอยู่เดือนกว่า และตั้งกฎ กติกาในชุมชน ตั้งระเบียบในชุมชน  มีการทำงานแบบจิตอาสา ใช้ชื่ออีกแบบหนึ่ง 7 วันเข้าไปตรวจชุมชนและประกาศเป็นระเบียบ ถ้าตรวจเจอ จะดูว่าจัดอย่างไรให้เลิก ต้องมีการวางกฎระเบียบ การอยู่สูญบำบัดต้องเรียนรู้การปลุกกาแฟ การอยู่บ้านเฉย ๆ จะทำให้เขาคิดมาก ทำให้เขาออกกำลังกาย และให้จิตมีงานรองรับ ทำจิตให้เข้มแข็ง สรุปคือทำอย่างไรให้ผู้นำมีจิตสำนึก และจะช่วยเหลือเขาอย่างไร สรุปคือสร้างผู้นำจะช่วยเหลือดูแลชุมชนอย่างไร ถ้าองค์กรใดก็ตามเข้าใจตรงกันแล้วทุกส่วนจะสบาย มีการประชุมทุกวัน

          สร้างให้เขารับรู้ ผู้บริหารอย่ามีอคติ อย่ามีน้ำเต็มแก้ว สร้างให้ชุมชนมีความสุขอย่างไร ต้องรู้จักวิธีการบริหารจัดการ อะไรคือถูก อะไรคือผิด  ต้องสามารถนำปัญหาให้ชุมชนเข้าใจ และรับรู้ การบริหารหมู่บ้านได้เพราะมีจิตวิญญาณในการเป็นผู้นำ ในการก่อสร้าง ถ้าสมาชิกไม่มาประชุมปรับ 300 บาท ถ้าโทรศัพท์ดังปรับ 250 บาท ถ้ามาช้าไม่ชี้แจงได้ก็ปรับ สรุปคือทุกที่มีกฎ กติกาที่ต้องทำ ต้องรู้จักเสียสละในการทำงาน

          สรุปที่ไหนคือสิ่งสำคัญและจำเป็น ภาษีชาวบ้านต้องใช้ให้คุ้มที่สุด การทำงานต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

          เข้าใจบริบทการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน เช่น บางบ้านมีความสะอาด บางบ้านไม่มีความสะอาด ทำอย่างไรให้ชาวบ้านเกิดความมั่นใจในการเล่าให้ฟัง และต้องแสดงพิสูจน์ให้เห็นว่าเราไม่ทำร้ายเขา

7. ทุกท่านผ่านมาในยุคที่สมเด็จย่าฯ ยังอยู่ ถ้าดอยตุงแห่งที่สองเกิดขึ้น คิดว่าจะมีการประยุกต์ใช้ดอยตุงโมเดลในยุคปัจจุบันอย่างไร

          ตอบ ทุกวันนี้ ได้มีการปรับใช้ทั้งหมด การทำอะไรต้องศึกษาถูกผิด เจ้าหน้าที่ต้องเข้าถึงพื้นที่เหมือนกันเพื่อสำรวจรายบุคคลและแต่ละหมู่บ้าน การเริ่มต้นทำอย่างไร พอเขารู้ไปประยุกต์เขาจะทำได้

8. เรื่อง 6 ภาษาเรื่อง 6 ชนเผ่ามีมากกว่าเรื่องภาษา เรื่องจิตใจ เรื่องความกระจ่าง

          ตอบ ทำอะไรต้องตอบได้ว่ามีอะไรให้เขา เขาทำประเพณีอะไร เราต้องไปร่วมกับเขาด้วย และชักชวนคนรู้จักร่วมด้วย เพราะทุกวันนี้ต่างคนต่างสอน เราจะเป็นตัวเชื่อมระหว่าง 2 ด้านได้อย่างไร มาแล้วเขาช่วยเหลือเราได้ มาแล้วไม่ได้ยึดติด มีความเชื่อมระหว่างชนเผ่า และภาษา ไม่นำศาสนา และวัฒนธรรมมาทำงาน มีการเชื่อมโยง ทุกคนต้องดูว่า สมเด็จย่าฯ มาที่นี่ยังมาช่วยเหลือเพื่อให้มีชีวิตดีขึ้น แล้วถ้าชุมชนมาแตกแยกก็ไม่ควร มีการสอนให้ลูกหลานทุกคนรู้ถึงด้านนี้

คุณนัน สรุป

          คือ การเกิดดอยตุงใหม่คือเรียนรู้รูปแบบจากดอยตุงโมเดลแล้วนำไปทำ

ตัวแทนจากคนรุ่นใหม่

          ดอยตุงยุคปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างไร

ทำไมต้องมีการพัฒนาการศึกษา

          1. การศึกษาในระบบโรงเรียนและระบบนอกห้องเรียน พยายามทำให้น้องในโครงการเป็นพลเมืองดีของสังคม ยกระดับคือพัฒนาระบบในโรงเรียนและนอกห้องเรียน

          สมเด็จย่า ยกให้เขาช่วยเขา แล้วเขาจะช่วยตัวเอง ในระบบโรงเรียนมีอายุ 2 – 18 ปี มีกระบวนการจัดการเรียนรู้หลายแบบ เพื่อให้เด็กในพื้นที่มีพัฒนาการที่ดีมากขึ้น มีพัฒนาดอยตุงใน 8 พื้นที่ สภาพพื้นที่แต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกัน  จำนวนนักเรียนในพื้นที่ตั้งแต่ 2 – 18 ปี มี 1,643 คน

          พื้นที่มีพื้นที่ให้เรียนรู้ด้วยตนเอง และให้จัดกิจกรรมในการเรียน ปัจจุบันเปลี่ยนระบบการศึกษาให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทั้งหมด คือคุณครูจะเป็น Facilitator ให้เด็ก ๆ เด็กเรียนรู้ตามสภาพที่เด็กเป็น มีการจัดกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น มีการจัดทัศนคติ กิจกรรมเกมส์ ภาษาที่ใช้การเรียนการสอน มีการเสริมศักยภาพ

          1. ครูมีการอบรมการสอนแบบมอนเดสเซอรี่ คือ มีการเปิดใจเพื่อมาอบรมในพื้นที่

          2. การพัฒนาการสอนภาษาไทย

          3. การจัดการเรียนรู้ใช้โครงงานเป็นฐาน เป็นชั้น ป.4-6

          4. การอบรมและฝึกอาชีพ  น้อง ๆ สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่สายปวช. ปวส. หรือมหาวิทยาลัย

          5. เรื่องอาชีพที่อยู่ในระบบการศึกษาทั้งหมด มีครูที่ดูแลเป็นหลัก มีการทำในส่วนที่เป็นนอกห้องเรียน คือหลังจากน้อง ๆ ออกห้องเรียนแล้วมีอะไรให้บ้าง

          6. การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  มีครูที่สอน และมีครูที่คอยสะท้อนการพัฒนาการในห้องเรียน และหลังจากเรียนเรียบร้อยแล้วครูทั้ง 2 ท่านจะมาคุยกันเพื่อพัฒนาและคุยกันทั้งโรงเรียน เพื่อปรับตามรูปแบบที่เหมาะสม และทำให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ มีให้เด็ก ๆ  Comment ครูด้วย

ทำไมพัฒนาเด็กและเยาวชน

          เกิดขึ้นเพราะอะไร

1. การทำงานของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ต้องเริ่มจาก การเข้าใจ เข้าถึง เยาวชน ครู ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน มีการสัมภาษณ์เพื่อพัฒนาความเข้าใจ

          ตัวอย่างผลการสัมภาษณ์คือ เด็กยังขาดต้นแบบการพัฒนาที่ดี ไม่มีพื้นที่ที่มาเจอกัน ไม่มีพื้นที่ทำกิจกรรมท้าทายมากขึ้น เพราะยุคนี้เป็นยุคที่สื่อต่าง ๆ เข้ามา ยังไม่มีสิ่งที่ให้เขาทำ ไม่มีที่ปรึกษา ยังมีระยะห่างตามช่วงวัย และเด็กที่นี่ทุกคนอยากทำงานช่วยเหลือครอบครัวเพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ไม่รู้ว่าทำอย่างไรบ้างถึงช่วยครอบครัวได้

          เพราะทุกคนเกิดมาพร้อมเมล็ดพันธุ์ความดีและศักยภาพในตัว แต่ยังไม่มีใครไปบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ เลยเริ่มจากให้เด็กรู้จักตัวเอง มีการบ่มเพาะเรียนรู้จากการลงมือทำ  มีการตรียมพื้นที่การเรียนรู้ ที่ปรึกษาที่ดี และกิจกรรมเรียนรู้ มีทุนการศึกษา สร้างตัวอย่างที่ดีเพื่อเป็นต้นแบบให้คนมาเก็บเมล็ดพันธุ์ต่อไป

          สร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่สานต่อความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

          1. มีพื้นที่ที่เหมาะสมให้แสดงออก

          2. ให้โอกาส

          3. สร้างเกราะภูมิคุ้มกันภัยต่าง ๆ

          พื้นที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

          มีเรื่อง เล่น รู้ ลอง

          - เล่น มีพื้นที่ให้เล่นต่าง ๆ

          - รู้ มีพื้นที่ส่งเสริมให้รู้เส้นทางอนาคต มีที่ให้คำปรึกษา

          - ลอง มีพื้นที่ทดลองจริงในอาชีพนั้น ๆ เช่น ที่ทดลองการเป็นมัคคุเทศก์น้อยนำเที่ยวดอยตุง

          เพื่อสร้างความยั่งยืน และสานต่อให้เกิดการพัฒนา

1. พื้นที่การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ - เริ่มจากความต้องการของเยาวชน เน้นแนวคิด เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

2. ทุนการศึกษา มีการสนับสนุนตั้งแต่ 2543  มีผู้ได้รับทุน 203 คน ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ 65 คน ปัจจัยคือการพัฒนาดอยตุงอยากให้เกิดสาขาใดบ้าง ทั้งชุมชน มูลนิธิฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ จะมีการสำรวจว่าอยากได้คนแบบไหนมาทำงาน และมีกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเช่น การทำค่าย สำรวจข้อมูลมูลนิธิ หรือเป็น Staff มูลนิธิฯ ให้โอกาสพัฒนาในสาขาที่เรียนอยู่

3. กิจกรรมค่ายเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

          เพื่อเรียนรู้ผลกระทบการทำยาเสพติดเป็นอย่างไรบ้าง เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงเป็นอย่างไรบ้าง ไม่ใข่แค่พูดว่ามีโทษแต่เด็กได้สัมผัสจริง ลองจริง นอกจากนั้นมีการจำลองอวัยวะในร่างกายดูปฏิกริยาในการรับสารเสพติดว่าส่งผลกระทบอย่างไร มีการจำลองโรงพยาบาลและสิ่งต่าง ๆ ให้กับเขา มีพิพิธภัณฑ์ท้องเรียนหอฝิ่น ถึงปัญหา มีการฝึกให้เป็นนักข่าวรายงานสถานการณ์ยาเสพติด คุณครูต้องเรียนรู้อะไรบ้าง และจะพัฒนาต่ออย่างไรบ้าง มีการพัฒนาในพื้นที่

          สร้างภูมิคุ้มกันในการอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน เพราะเรื่องศาสตร์และศิลป์มีความสำคัญมาก อยากพัฒนาให้เด็กรักป่าได้ ต้องให้เรียนรู้ถึงความสำคัญ ค่ายที่ให้น้อง ๆ เรียนรู้ว่าป่ามีความสำคัญอย่างไร เด็กที่ไม่เคยเหยียบดินต้องลงน้ำห้วยว่าสัตว์ในน้ำมีอะไรบ้าง น้อง ๆ ต้องดูว่าชนเผ่ามีความสำคัญอย่างไร ก่อนค่ายมีการพูดคุยกับผู้ปกครองว่าค่ายนี้เป็นอย่างไรบ้าง มีการทำกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้ของจริงในพื้นที่ดูว่าป่ามีควาสำคัญอย่างไรบ้าง

คำถาม

1. พื้นที่การเรียนรู้เป็นที่โรงเรียนจังหวัดเชียงราย       และรับที่อื่นด้วยหรือไม่ อย่างไร

          มีการประชาสัมพันธ์ผ่านเขตการศึกษา ศึกษาธิการจังหวัด ประชาสัมพันธ์ผ่านโรงเรียน ค่าใช้จ่ายฟรีหมด มีโปรแกรมให้เลือก ขั้นอยู่กับความสะดวกของโรงเรียน มีค่ายเป็นทางเลือกให้ตลอดทั้งปี ที่ผ่านมาเบื่องต้นจะยึดพื้นที่ที่มีความเสี่ยงยาเสพติดเป็นอันดับแรก ที่ไม่ใข่พื้นที่ความเสี่ยงค่อยทยอยลงมาเรื่อง ๆ

          มีการเปิดโอกาสให้สมัครจากทุกพื้นที่ ค่าเข้าค่ายประมาณ 28,000 บาทในการเข้าค่าย  อายุส่วนใหญ่ของเด็กที่มาจะประมาร 9-12 ปี ห้ามผู้ปกครองมาร่วม แต่ผู้ปกครองร่วมได้ก่อนและหลังค่ายเท่านั้น เพื่อทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น มีการเก็บมือถือไม่ให้ใช้ และถ้าอยากคุยกับพ่อแม่ ก็คุยกับเจ้าหน้าที่ แต่ส่วนใหญ่พื้นที่ไม่ค่อยมีสัญญาณ แต่เด็กส่วนใหญ่ไม่ค่อยโทรหาพ่อแม่ แต่พ่อแม่จะโทรหามากกว่า

2. การสำรวจความคิดเห็นเยาวชนในการเติมความต่อยอด มีกิจกรรมต่าง ๆ How to ค่อนข้างมาก คำถามคือมีการติดตามผลหรือไม่ที่สะท้อนปัญหากับโจทย์ที่ได้รับ

          ตอบ เด็กในพื้นที่อายุ 9-12 ปี  60% ไม่ได้เรียนในพื้นที่พัฒนาดอยตุง มี 40 % ที่อยู่ในพื้นที่ มีการสำรวจช่วงปิดเทอม เนื่องจากน้อง ๆ กลับบ้าน การติดตาม มีการพูดคุยกับครูในโรงเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงหลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ให้น้อง ๆ ประเมินตัวเองว่าตัวเองคิดอย่างไรกับการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้ง และส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้อาสาเป็นพี่แกนนำ สามารถนำให้กับน้อง ๆ ของเขา มีการพูดคุยกันทาง Facebook มีการแยกเป็นรายโครงการ มีการติดตามประเมินผล เด็กเรียนต่อและไม่เรียนต่อทำอะไรบ้าง มีการติดตามรายเรื่อง ไม่ได้ติดตามทั้งหมด มีการดูเรื่องยาเสพติด มีการคุยกับผู้นำชุมชน สรุปคือแยกเป็นรายโครงการ แต่มีการติดตามร่วมกับผู้อื่น

คุณนันสรุป

          การลงโครงการเกิดจากครั้งแรกเกิดจากลงไปชุมชน ด้วยการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา พบว่ามีสิ่งกังวลถึงลูกหลานในอนาคต ถึงความห่วงลูกหลานชุดนี้ ทั้งหมดเป็นกระบวนการที่ไม่ได้คิดเองทั้งหมด เก็บขึ้อมูลทุกอย่าง และสร้างการมีส่วนร่วมจากเยาวชนทั้งหมด

ถอดบทเรียนครั้งที่ 2

คุณนัน : คำถามคิดว่าอะไรคือปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาดอยตุง  และจะกลับไปทำโครงการตามโจทย์ที่ได้มอบหมายอย่างไร

1. คน และการพัฒนาคน การให้โอกาส และเมื่อฟังจากผู้นำชุมชน พบว่าภาวะผู้นำสำคัญเช่นกัน ผู้นำชุมชนเรียนรู้จากประสบการณ์ เป็นผู้นำที่ดี นำในการทำ เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ในครอบครัว และพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนเป็นผู้นำของหมู่บ้าน ของชุมชน

          สรุปปัจจัยความสำเร็จคือคนต้องให้โอกาสพัฒนาคนให้มีจิตใจพร้อมเรียนรู้และอยู่กับสังคมได้

2. ภูมิสังคมของทางดอยตุง อย่างที่ทอผ้ามีความเชื่อใจกับภาครัฐในการสัญญาให้ดำเนินการ และการกลับมาทอผ้าหลังจากที่ครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ มีสมาชิกออกไป ก็กลับมาและมีความพยายามทำให้สำเร็จ

          สรุปคือ ภูมิสังคม ความเชื่อใจ และความพยายาม

          ภูมิสังคมเอื้อต่อการพัฒนาต่อ คือสังคมรอบดอยตุงเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกัน

คุณนัน เสริมว่า ที่กล่าวมาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น  และขอเน้นย้ำว่าปัจจัยที่ประสบความสำเร็จคืออะไร ทำไมถึงสำเร็จ

3. การเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คือ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อน มีจิตอาสาที่ช่วยในการเป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน สื่อสารให้ยอมรับ พอเข้าถึงก็สื่อสารออกไป

          สรุปคือการเข้าถึงให้ชาวบ้านยอมรับ

4. ทุกคนมองเห็นปัญหาในทิศทางเดียวกัน เริ่มต้นจากการวางเป้าหมายร่วมกันที่ทำให้สำเร็จ และเมื่อเป้าหมายร่วมกันจะแตกหน่อว่าอะไรสำเร็จ  มีความท้าทายร่วมกัน วางเป้าให้เกิดความสำเร็จ

5. การวางแผนไว้อย่างเดียว และมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ในหลวง ร.9 มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการทำความเข้าใจ และตีโจทย์แตก

          สรุปคือ ตีโจทย์อย่างลึกซึ้ง และวางแผน

          สมเด็จย่าเรียนจากในหลวง คือดูแบบอย่างว่าในหลวงทำอย่างไร แล้วนำมาปรับใช้ที่ดอยตุง

6. เป็นความตั้งใจ ความทุ่มเทของคน ๆ หนึ่งที่อยากช่วยเหลือคนด้อยโอกาส  เห็นสภาพปัญหาทั้งหมด ดูทั้งระบบว่าทำอย่างไรให้อยู่ได้  คิดอย่างเป็นระบบ เป็นกรอบแนวคิด เป็นกระบวนการ ส่วนความยั่งยืนขึ้นกับคนที่จะทำให้ยั่งยืนต่อไป

          สรุปคือ ศึกษารากเหง้าของปัญหา และวางแผนจากข้างใน

คุณนัน สรุปคือ ผู้นำต้องลงพื้นที่ นำทำ และพาทำ ไม่ได้สั่งให้ลูกน้องทำ ก่อนไปทำโครงการหลวงต้องมาดอยตุงก่อนหรือไม่

7. ทีมสำคัญมาก ยกตัวอย่างกลัวที่นำ หมู ไก่ ให้โดยให้แล้วไปโดยไม่รู้ แต่ทีมของสมเด็จย่าทำให้เกิดความเชื่อใจในการลงมือทำ

          สรุปคือ เริ่มจากความเชื่อใจ ในทีมที่ลงมือทำให้เห็นว่าทำจริง ๆกับพื้นที่ว่ามีปัญหาอะไร

8. ดับทุกข์ รู้ทุกข์จริง ๆ ว่ามีปัญหาเรื่องอะไร แล้วเข้าไปหา เป็นเสมือน Facility ที่สนับสนุนก่อน ขั้นแรกคือต้องรู้ให้ได้ก่อนว่าเขาต้องการอะไร

          สรุปคือ การรู้ปัญหาลำดับแรกก่อนแล้วต้องแก้ให้ได้

9. การใช้ความชัดเจนกับชุมชนว่าต้องทำอะไร ให้โอกาสกับคนในชุมชน ไม่แตะจุดที่อ่อนไหว คุยที่หลัง คุยภาษาเดียวกับชุมชน เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ หาผู้ประสานงานหรือ Change Agent ใช้การสัมภาษณ์ คอยคุยปัญหา สถานการณ์เปลี่ยนตลอด พอความอยู่ดีกินดีเปลี่ยน ต้องทำอะไรให้รู้ สอบถามความต้องการ และปรับตามการพัฒนาของเขา

10. ผู้นำชุมชนที่แข็งแกร่ง  ที่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน และมีวิสัยทัศน์ เช่นใครมาสายมีปรับเงิน และมีวิสัยทัศน์ให้ชุมชนเรียนรู้ภาษา ฟังแล้วอยากให้อบต.แม่ฟ้าหลวงให้อบต.อื่นมาเรียนรู้

          สรุปคือ ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่ดี

          คุณนันเสริมว่า มีมาเรียนอยู่เยอะมาก

10. พันธมิตร คือ ทำด้วยตัวเองไม่ได้ต้องมีผู้เชี่ยวชาญช่วยดำเนินการให้สำเร็จ

11. เริ่มจากปัญหาเล็ก ๆ ที่ชาวบ้านต้องการเช่น สัญชาติไทย เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในเบื้องต้นก่อน

          คุณนัน เสริมว่า ไม่ได้ทำสัญชาติเป็นเพียงสร้างความเชื่อมั่นให้เขามีตัวตน

12. ตัวของชุมชนในพื้นที่มีปัญหาคล้ายกัน เช่นพื้นที่ยาเสพติด การเข้ามาแก้ไขปัญหา ถ้ามีผู้นำที่จุดประกาย

          สรุปคือ ตัวของชุมชนเองต้องการแก้ไขเองด้วย มีการสร้างโอกาสให้เขา

13. ตั้งบริษัท นวุติ ในการตั้งองค์กรภายนอกมาช่วยต่อยอดเพื่อสร้างให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต เพราะคิดว่าตัวเองทำคนเดียวไม่สามารถสำเร็จ ได้ คนต้องแสวงหาโอกาสให้สำเร็จมากขึ้น หรือการดูเครื่องปั้นดินเผา มีการแสวงหาองค์ความรู้ แสวงหาผู้รู้ มาช่วยต่อยอดในการพัฒนา

          สรุปคือ หาโอกาสโดยดูปัจจัยพื้นฐานชุมชนว่าชุมชนต้องต่อยอดอะไรไปได้อีก

14. ภูมิประเทศ บริเวณดอยตุง เสื่อมโทรม ชุมชนหรือชนเผ่าในพื้นที่ทำแบบเดิม สมเด็จย่า ริเริ่มโครงการฯ จากการลงมือทำ ลงไปส่วนราชการ มีการสร้างอาชีพ เห็นได้ว่าแต่ละการสร้างงานมีช่วงอายุคนเหล่านั้น ใช้ผู้มีประสบการณ์สูง อายุมาก มีความนิ่ง และงานระดับรองลงมามีการสร้างงานตามลำดับลดตามอายุ

          สรุปคือ สร้างให้ชุมชนมีอาชีพสามารถพึ่งตัวเองได้ และมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเหลือ สร้างรายได้จากภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิม ให้ประยุกต์พัฒนาจากที่เดิมมีอยู่

15. มีการพัฒนาเป็นลำดับขั้น เริ่มต้นจากสมเด็จย่า นำทำเป็นตัวอย่าง แล้วคนอื่นจะเกิดความรู้สึกว่า ท่านเป็นสมเด็จย่า ยังลงมือทำ แล้วทำไมคนอื่นไม่ทำ

          การขาดเงินทุนจ้างชุมชนปลุกป่า ถ้าเป็นคนอื่นคงไม่สามารถระดมทุนได้

          สรุปคือ 1.ผู้นำคือสมเด็จย่า 2. การวางแผนมีความครอบคลุม วิเคราะห์ปัจจัยปัญหา เกิดจากทีมงานที่อยู่รอบกายสมเด็จย่าของในหลวงที่มีความคิดที่ดีในการช่วยทำ 3. นำสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นเป้าในการสร้างแนวร่วม ทำให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์ในการเข้ามาร่วมและขยายเครือข่ายจนได้ชุมชนส่วนใหญ่ เพื่อเดินหน้าตามแผนที่คิดได้ 4. สร้างคน ให้มีรุ่นใหม่ในการับไม้ต่อเป็นช่วง ๆ

16. คืนศักดิ์ศรีให้กับประชาชนของท่าน และให้เป้าหมายว่าศักดิ์ศรีอยู่ที่ไหน และประชาชนเป็นอย่างไร

17. ความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา เน้นการแก้ปัญหาด้วยความรัก ความจริงใจ ความทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ ทำให้เห็นก่อนว่าทำได้ แล้วคนอื่นจะดำเนินการเอง และสุดท้ายคือความเสียสละทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การทำตัวกลมกลืน ความเป็นกันเอง ถอดความมียศถาบรรดาศักดิ์

18. สอดแทรกปรัชญาในทุกกระบวนการ เช่น การทำกลุ่มกาแฟ ต้องให้ทีมมีความรับผิดชอบ ต้องมีความซื่อสัตย์ เพราะถ้ามีการตรวจสอบคุณภาพจะย้อนกลับไป  ต้องมีการแก้ไข สอนให้เขาจับปลาและแก้ไขเองผ่านการเรียนรู้ มีการแบ่งปันผลประโยชน์ในทีม อะไรที่สามารถกระจายให้ชุมชนรับผิดชอบได้ ชุมชนก็สามารถเข้าไปเอง และเมื่อชุมชนเห็นว่าเข้มแข็งแล้วก็สามารถพัฒนาเองได้ ทางมูลนิธิฯ จะช่วยส่งเสริม มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง  กรรมวิธีใหม่ ๆ ที่นำมาต้องดูตามความเหมาะสมว่าเหมาะกับภูมิปัญญาของเขาหรือไม่ เช่นป้าดำมีฐานเรื่องการทอผ้า ก็ต้องพัฒนาจากฐานความรู้เดิมของป้าคำคือการทอผ้า จากนั้นจึงมีการต่อยอด โดยต้องเชื่อมโยงว่ารายได้ที่เกิดขึ้นต้องประคับประคองให้เขาอยู่ได้ แม้ว่ารายได้ต่ำกว่าที่เขาได้รับ แต่ถ้ามองเห็นโอกาสในอนาคต และเทียบกับค่าใช้จ่าย แล้วมีความสุขมากกว่าก็อาจเลือกทำที่ถิ่นบ้านเกิด เช่นมีเวลาพักผ่อน และให้ครอบครัว

          สรุปคือ สิ่งที่เห็นจากการเข้าร่วมโครงการเกิดจากการทำ ทำ ทำ และเห็นความก้าวหน้าจากการปฏิบัติจริง แล้วศรัทธาจะเกิด เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ผ่านการตรึกตรองของเขาเองจะทำให้การเรียนรู้ยั่งยืน

คุณนันสรุปคือ

          การลงไปกับชุมชนและชาวบ้านเป็นเรื่องยาก ก่อนที่จะลงไปต้องหาบัวที่โผล่พ้นน้ำ ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก การที่จะเจอเขาได้คือ ต้องดูบัวเหล่าที่พูดแล้วเขาเข้าใจเลยและสร้างให้เกิด

เหล่าที่อยู่โคลนตม 10 % ระหว่างโคลนตมกับน้ำ 80% (แบ่งเป็นโคลนตมถึงกลางน้ำ 40% และกลางน้ำถึงเกือบพ้นน้ำ 40%) และโผล่พ้นน้ำ 10% เราต้องเริ่มจากคนที่เห็นด้วยก่อน สร้างให้เป็นโมเดลที่ทำให้เห็นได้ชัดว่าสำเร็จ

          แต่การเข้าไปหาบัวโผล่พ้นน้ำมีอาวุธครบหรือยัง การพัฒนาหรือลงชุมชนเปรียบเสมือนการไปจีบสาว ทำอย่างไรให้ถือไม้เท้าไปจนแก่เฒ่า

          1. ก่อนอื่นต้องรู้จักเขาก่อน – หาข้อมูล ถามจากเพื่อน

          2. ต้องมีลีลาถึงจะจีบได้

          3. ต้องสม่ำเสมอ อะไรที่อยากได้ต้องทำสม่ำเสมอ

          4. แต่งงานมีต้องดูแลครอบครัว มีน้ำใจ ทำหน้าที่ ถ้อยทีถ้อยอาศัย บางอย่างเขาเก่งให้เขาทำ อะไรเราเก่งเราทำ

          สรุปคือ วันพรุ่งนี้จะสรุปส่วนที่เหลือของดอยตุงอีกนิดนึง และส่วนที่ลงพื้นที่ใหม่ ผู้จัดการส่วนพัฒนาสังคม และผู้จัดการส่วนปฏิบัติการภาคสนาม

สรุปบทเรียนดอยตุ

โดย   คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร ผู้จัดการส่วนเผยแพร่องค์ความรูู้

วันที่ 15 มีนาคม 2562

ผู้นำ นำทำ ต้องลงพื้นที่จริง พาคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดลงไปพร้อมกัน แก้ไขปัญหา

การทำงานสร้างอาสาพัฒนาชุมชน (อสพ.) และจะกลายเป็นผู้นำเอง

สำรวจข้อมูลพื้นที่ภูมิสังคม – ต้องเป็นข้อมูลถูกต้อง และเป็นตามภูมิสังคม

หัวใจสำคัญคือ

1.สื่อสาร สื่อสาร และสื่อสาร

2. สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน - ร่วมคิด ร่วม และทำร่วม

3, สร้างความเข้าใจ

– เป้าหมายเดียวกันหรือไม่ เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่

- เข้าใจชาวบ้าน รู้จักภูมิสังคม รู้จักภูมิประเทศหรือไม่

- ทำอย่างไรให้เขาเข้าใจเราด้วย เข้าใจโครงการ และเมื่อชาวบ้านเข้าใจ ชาวบ้านจะร่วม

4.มีความต่อเนื่อง – ให้คนที่นี่เป็นเจ้าของ

5. ปรับตามภูมิสังคม

6. การบูรณาการ – นำคนเก่ง ๆ มารวมกัน

7. เห็นประโยชน์ร่วมกัน

8. KPI คือทำแล้วชาวบ้านได้อะไร

สิ่งที่ทำ

ปลูกป่าเพื่อปลูกคน

เปลี่ยนผิดกฎหมายเป็นถูกกฎหมาย

ดึงภาคเอกชนมาร่วมด้วย

เป็นคนจัดสวน

สวนแม่ฟ้าหลวงได้รับรางวับระดับเอเชียแปซิฟิค สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนหลายร้อยล้านบาท ใช้เทคนิคการปลูกพืชด้วยทักษะที่สูง

- Learning by Doing

- ออกแบบดีไซน์

เป็นคนขายกาแฟ

เป็นพนักงานในโรงคั่วกาแฟ

ดูศักยภาพเดิม ทำให้เป็นมาตรฐานสากล

- ภูมิปัญญาเดิมมีดีอะไรเพิ่มเป็นมืออาชีพมากขึ้น

- อย่าให้คนซื้อเราเพราะสงสาร ต้องทำให้ได้มาตรฐาน ไม่ให้ขาดทุน (ทุกคนรู้ว่าต้องทำอะไร ได้กำไรมีโบนัส)

- ใช้ตลาดนำ Market Driven

ดอยตุงทำ

- สร้างสรรค์

- พอเพียง

- มีศักดิ์ศรี

- ยั่งยืน

- เป็นต้นแบบ

พัฒนาต่อเนื่อง : พันธมิตรต่างชาติ

ตัวอย่างเครือข่ายต่างประเทศ

1. บ้านหย่องข่า รัฐฉาน สาธารณรัฐสหภาพม่า

อำเพอเยนันซอง  (2554-2560)

- พืนที่เป็นน้ำมัน  และมีความลำบาก หาน้ำยากมาก ไม่สามารถปลูกพืชได้

- เข้าไปปี 2554 -2560 เพื่อพัฒนาแล้วเมื่อพัฒนาเสร็จแล้วจะออกไป

ความเชี่ยวชาญด้านเก็บข้อมูล

UNHCR ให้ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงไปเก็บข้อมูลที่ชายแดนไทยพม่า

- โครงการจัดเก็บข้อมูล

- มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงกลายเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชีวิต และที่ดูงานที่ดีทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          ได้ฟังแล้วมีความหวังว่าศักยภาพของกฟผ.และกสทช.ที่มา อยู่กับเขามานานและเข้าใจเขาดี แต่พอมาเรื่องอื่นเช่น ชุมชน ฯลฯ เหมือนมีอุปสรรคที่ไม่สามารถเอาชนะได้ หน้าที่คือ เราต้องกระโดดข้ามจุดเหล่านั้นไปได้

          เชื่อว่าคนในห้องนี้สามารถเขียนแผนได้สวยหรู แต่เมื่อเจอสถานการณ์ที่ Disruptive เหมือนมีเมฆบังอยู่

          การมาวันนี้รู้สึกมีความหวังว่า ดอยตุง กฟผ. และรุ่นนี้ ถ้าทำอะไรที่เป็นดอยตุงโมเดล แม้รุ่นนี้ไม่อยู่แล้ว แต่สามารถส่งต่อรุ่นหลังได้จะดีมาก

          ถ้ามีโอกาสอยากให้คนไทยจำนวนมากที่ไม่เคยได้มาที่นี่ อยากตั้งวัตถุประสงค์อันหนึ่งคือ Purpose ของกฟผ.คือทำให้สังคมยั่งยืน กฟผ.เป็นส่วนหนึ่งของ Sustainability และมีความมั่นคง เชื่อในความตั้งใจและ Brain แต่พอเจอวัฒนธรรมอีกอันหนึ่งคือ เกิดจากองค์กรแบบนี้ เราอาจดูเหมือนเป็น Victim of Success

          มีการพูดกันมากเรื่องทลาย Silo แต่พอพูดเรื่องชุมชน จุดอ่อนคือ ความไม่ต่อเนื่อง และคนยังมองไม่ออก อยากให้รุ่นนี้สร้างอะไรไว้  กฟผ.ต้องเป็นคนริเริ่ม ถ้าเรา Overcome Difficulty และสร้างเป็นแบรนด์ ในรุ่นนี้มีความเข้าใจแล้วว่าเป็นเรื่องวิชาการไม่ได้ ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความจริง

          ต้องเป็น Value Diversity แต่ประเด็นเมื่อคนรุ่นเก่าเกษียณไป คนที่เข้ามาใหม่อาจยังไม่เข้าใจ การมาไนวันนี้ มีความหวังคือ

          1. เข้าใจมากขึ้น

          2. มาดูงานใน 2 ชั่วโมงที่อยู่อยากให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และเมื่อมีอุปสรรคแล้วจะเอาชนะอย่างไร

          การมีความละเอียดอ่อน  และฝากให้คิดเป็นเรื่องที่สำคัญ อยากให้คนมองเรา และเราสามารถมี Contribution ให้สังคม

การร่วมแสดงความคิดเห็น

          1. เวลาทำงานร่วมกับชุมชน บางครั้ง กฟผ.ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านนี้ แต่ขออาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ซึ่งมีรูปแบบการทำงานของเขาโดยเฉพาะ เหมือนการทำกับข้าว มีเครื่องปรุงครบ แต่ปรุงแล้วไม่อร่อย เราไม่ได้เริ่มจากศูนย์ การที่จะไปต่อยอดนำเชฟใหม่มา การปรุงใหม่โดยใช้ฐานเดิมที่มีอยู่จะทำอย่างไรให้มีความกลมกล่อมขึ้น มีเทคนิคอย่างไรในการเข้าถึง

          ตอบ โดรงการทุกโครงการที่มูลนิธิฯ เข้าไปต้องไปศึกษาในแต่ละพื้นที่ก่อน ต้องเข้าใจปัญหาของศักยภาพในพื้นที่ ปัญหาของคนต้องไปแก้เรื่องทุนคือ ดิน น้ำ อาชีพ ต้องเข้าใจก่อนออกแบบพัฒนา และข้อมูลใช้ต้องเป็นข้อมูลจริง ดูว่าเขามีปัญหาอะไร ต้องการอะไร และพอเข้าไปในพื้นที่และเดินพร้อมกับชาวบ้าน  เราค่อยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกันถึงออกแบบ และออกหลักสูตรได้ตรงตามความต้องการ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือไม่ค่อยรู้ข้อมูลจากชาวบ้าน

          สรุปคือเราต้องดูปัญหาของพื้นที่ และดูว่าเป็นปัญหาจริงหรือไม่ หรือเป็นความอยาก หรือต้องการ แล้วค่อยวิเคราะหืร่วมกัน

2. ปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดในการลงพื้นที่คืออะไร

          ตอบ ข้อมูลไม่ครบทุกมิติ แล้วเรามีการประเมินทำให้โอกาสผิดพลาดมี และการวางแผนแก้ไขปัญหาไม่ตอบโจทย์ตามที่วางไว้ เช่นแก้ปัญหาให้คนรอด พอเพียง และยั่งยืนจะไม่ต่อเนื่อง ถ้าได้ข้อมูลครบ วางแผน และวิเคราะห์ดี ๆ ต้องวางข้อมูลร่วมกันกับชาวบ้านเพื่อหาข้อตกลงในนการทำ ว่าจะทำหรือไม่ ทำเมื่อไหร่ โอกาสและข้อเสียในการทำและไม่ทำคืออะไร

3. โครงการดีหมดแต่การใช้พื้นที่คือรัฐต้องเอาด้วย หมายถึงในกรณีที่เป็นป่าไม้ จังหวัดดูแลอยู่ อย่างโครงการหลวงฯ ทำได้ แต่ถ้าขยายออกไปนอกโครงการหลวงแล้วจะเป็นอย่างไร เช่น บ้านสร้างนอกเขตหรือในเขต รัฐรับทราบด้วยหรือไม่  กฟผ.ไม่มีโครงการหลวงเป็นเกราะป้องกัน ไม่ได้สิทธิพิเศษ เพราะหน่วยงานรัฐไม่เอาด้วย จนกว่าเอาทุกอย่างมาตามที่ต้องการ

          ตอบ ช่วงที่มาดูงานมีไฟป่าทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่ถามเป็นเรื่องดี เพราะเป็นที่ที่กองทัพบกใช้เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยแม่ฟ้าหลวงดูแล และจะขอต่อ

          ตอนเริ่มโครงการจริง ๆ ได้ทำเชื่อมกันระดับส่วนกลาง ภูมิภาค และพื้นที่ และคนที่อยู่มีสมาชิกโครงการคุมไว้ให้ทำไม่กระทบสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีอยู่เป็นการคุมตั้งแต่เริ่มต้น  ของดอยตุงมีการแปะโป้งและเบอร์ติด โอกาสที่จะโกงจึงน้อยมาก ดังนั้นพื้นที่ถ้าขอบเขตไม่ชัด ประชากรไม่ชัด สุดท้ายการขับเคลื่อนจะมีปัญหา

          สรุปคือ Database เป็นส่วนสำคัญในการทำ มีการปรับใช้ตามแบบฟอร์มของพื้นที่ หน่วยงานราชการมี 18 หมู่บ้านจากหน่วยงานจริง 26 หมู่บ้าน ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด

          ทุกคนรับรู้ปัญหาร่วมกัน มีรางวัด มีกติกาควบคุมดูแลไม่ให้กระทบกับสิ่งแวดล้อมทำมาตั้งแต่ เริ่มตั้งแต่ปี 2536  คือดูทั้งบริบทพื้นที่ และบริบทคน

          การใช้พื้นที่เดิมไม่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันมีข้อกำหนด ต้องปรับตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้พื้นที่มีความละเอียดอ่อน ต้องมีความกลมกลืนกับธรรมชาติ จากเดิมงบน้อย

          การใช้พื้นที่ดอยตุงยังไม่ได้รับอนุญาต อย่างล่าสุดที่จะขอไปอีก 30 ปี

          - ต้องดูพื้นที่ประกอบ ดูความมั่นคง ฐานราก

          - เรียนรู้จากเจ้านาย 

          - ดูข้อมูลจริงในการทำงาน

          - หลักคิดเพื่อประชาชนมาก่อน เสียสละและทำจริง

          - มองประโยชน์ส่วนรวม และทำจริง นึกถึงประชาชน

          - มีอะไรพูดได้ตลอด

          - มีการปรับตัวในการทำงาน

การทำงานในเขตพื้นที่ป่า มีกฟผ.มาร่วมที่จังหวัดน่าน มีปัญหาเรื่องของมาตรา 19  กรมป่าไม้อนุญาตให้ใช้ทำงานได้ มีการขอเจ้าหน้าที่ป่าไม้มาวางแผน ทำฝาย ท่อน้ำ หรือพื้นที่ป่า ต้องให้เขาวางแผนร่วมถึงทำได้

เขตดอยตุง มีโครงการปิดทองหลังพระมาทำพื้นที่หลังนาปลูกป่าให้กับชาวบ้าน มีการเรียกหัวหน้าหน่วยและกรมป่าไม้มาคุยกัน จะทำให้ปัญหาเบาลงมาก

ตัวอย่างเขตพื้นที่สงวนจะมีการนั่งโต๊ะล้อมวงคุยกัน ว่าใครจะอนุมัติ หัวหน้าหน่วยในพื้นที่ต้องมาคุยกัน และมีเงื่อนไข เพราะการคุยในห้องมีทั้งข้อมูลเท็จ และจริงด้วยจะไม่จบ

4. ปัญหาที่หนักใจสุดในการลงพื้นที่คืออะไร

          ตอบ ผู้นำชุมชน เพราะก่อนเลือกเข้ามาเป็นสไตล์หนึ่ง แต่พอได้รับเลือกมาแล้วเป็นอีกสไตล์หนึ่ง ต้องมีลูกล่อลูกชน ต้องดูว่ารองแต่ละคน กรรมการหมู่บ้านเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งถ้าข้างล่างไม่เอาผู้นำก็โดนให้ออกเหมือนกัน  ต้องตรวจสอบได้และรู้ว่าจะปรับตัวอย่างไร  ถ้าไปแล้วไม่มีผลประโยชน์เราจะอยู่รอด และสุดท้ายเราจะได้อะไร  เราต้องเน้นเรื่องต่อยอดได้แม้เราไม่อยู่แล้วความภูมิใจจะเกิด

          ความทุ่มเท มุ่งมั่น ที่จะตอบโจทย์ คนในพื้นที่ต้องมีเป้าหมายด้านนี้

          เราต้องใช้ตา ใช้หู ใช้ปากให้ดี

          ศึกดอยตุงมีทั้งศึกภายในและภายนอก ถ้าทีมงานไม่อดทนไม่มี DNA ขององค์กรจะมีปัญหา

          สรุปคือ กฟผ.จะปรับอะไร ทีมงานมีส่วนสำคัญ เพราะต้องดูไปถึงเป้าหมาย ศักยภาพของคนต้องดู ต้องปรับ ต้องแก้ ต้องมีเทคนิคที่พาน้อง ๆ ไปสุ่เป้าหมาย องค์กรและชุมชนจะได้อะไร

          กติกา หรืออะไรหลายอย่าง กฟผ.ควรเรียนรู้เรื่องภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่  

          เราต้องให้ชัดเจนว่าชาวบ้านจะได้รับอะไร ประชาชนจะได้รับอะไร และประเทศชาติจะได้รับอะไร แล้วจะนำไปสู่ความยั่งยืน

          ต้องดูทิศทางลมของประเทศไทยเป็นอย่างไร เราต้องไปพร้อมกับความเข้าใจและจะถึงเป้าหมายพอสมควร

          ประเด็นที่หนักในการทำงาน ไม่ถือว่าการทำงานในพื้นที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วจะดูแลทั้งหมด แต่ต้องขยับแต่ละเรื่อง ในการลงพื้นที่ต้องหาประเด็นร่วมที่เห็นผลโดยตรงต่อคนในพื้นที่ว่าอะไรเดือดร้อนที่สุด อย่างเช่นน้ำต้องไหลเข้าคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่ไหลเข้าพ่อหลวงบ้าน หรือ อบจ.

          สรุปคื่อมองปัญหาร่วมหรือประเด็นร่วม ทำพร้อม ๆ กัน ไป แล้วสร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นให้เกิด ไม่มีอันไหนหนักหรือเบา เมื่อชาวบ้านศรัทธาในวิธีการทำแล้ว จะเกิดกำลังใจในการทำ ต้องสร้างให้เกิดในตัวทีมงาน เมื่อเกิดแล้วอย่ามองข้าม ให้เกียรติ ไม่ดูถูก เหยียดหยาม แล้วสิ่งต่าง ๆ จะตามมา

5. วิธีการประเมินความสำเร็จของโครงการจะทำอย่างไร

          ใน 30 ปี มีตัวชี้วัดอยู่ มีเรื่องกรอบชีวัด อย่างพม่ามีตัวชี้วัดคือลงไปเท่าไหร่ เราได้อะไร และประโยชน์คืออะไร อย่างพม่าให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงทำ 20 ล้านบาท มีการสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน ระบบน้ำ อุปโภค บริโภค ลงไปเท่านี้ และมีตัวชี้มาว่าได้เท่าไหร่ ตอบกลับมา มีตัววัดลงทุนเท่าไหร่ และได้อะไรบ้าง มีตัววัดชัดเจน

          กรณีของดอยตุง เนื่องจากอยู่ฝ่ายพื้นที่ที่พัฒนา มีดอยตุงเป็นฐาน จะมีตัวเลขว่ามาจากไหน รับจ้าง ผลผลิตเป็นอย่างไร ที่ดีใจมากคือชาวบ้านมีเงินออมในธนาคาร และการกู้จากภาครัฐน้อยมาก มีภูมิคุ้มกัน คือ เช่นที่บนเหมาะกับการทำกาแฟ และสามารถลงมาทำนาที่ข้างล่าง มีคนทำกาแฟอยู่ข้างบน พื้นที่ไหนเหมาะเพาะปลุกอะไรได้ มีการเตรียมการแต่เบื้องต้น เพราะกินข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าววันละสามมื้อ จึงนำโจทย์นี้เป็นตัวสำรอง

          เรื่องความยั่งยืนของโครงการ  เมื่อมีการเข้าใจแล้วจะมีการต่อยอด มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีเด็กรุ่นใหม่มาพัฒนาต่อ ดังนั้นคือดอยตุงไม่ได้ยึดตัวบุคคล เพราะถอดบทเรียนไปหมดแล้ว เก็บเป็นคลังความรู้ของมูลนิธิคลังแม่ฟ้าหลวง

6. ด้าน Infrastructure มีหลายส่วนได้ถ่ายทอดให้ชุมชนดูและพื้นที่อย่างไร

          ในการลงพื้นที่จะสร้าง อสพ.หรือคนในพื้นที่เป็นตัวต่อ นำเขามาเรียนรู้ให้เขากลับไปและเราตามเขาไป การทำงานพื้นที่จะมีเทคนิคเฉพาะ มีกระบวนการ วิธีการสังเกต เข้าถึง เราไม่ได้อยู่กับเขาตลอดชีวิต แต่คนที่อยู่กับเขาตลอดชีวิตคือในพื้นที่

          พอเขาเริ่มเดิน เราจะเริ่มปล่อย ถอย และดูการติดตามข่าว

          มีการติดตามผล และสุดท้ายเขาจะเป็นเจ้าของ ท้องถิ่นจะร่วมสร้างด้วยจะได้รู้ว่าใช้งบประมาณเท่าไหร่ จาก 4,000 ไร่ มีกรรมการชุดดูแลน้ำคุมน้ำแต่ละโซน เก็บค่าธรรมเนียมการใช้น้ำ ถ้าเป็นทรัพย์สินของชลประทานคือแจ้งไปที่ชลประทานและช่วยกันทำ

          การสร้างจะสร้างสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง ถ้าสร้างไม่ดีจะฟ้องตัวเอง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ที่น่าน มีทางดอยตุงเข้าไปสนับสนุนทางวิชาการด้วยหรือไม่ เป็นไปได้หรือไม่ที่ กฟผ.ทำร่วมกันดอยตุง จะได้รู้สึกว่าทำงานต่อเนื่อง ในที่สุด กฟผ.ต้องมี Flagship หนึ่งที่ กฟผ.ดูแลชุมชนเรา เพื่อไม่ให้กระจัดกระจาย เป็น Pilot Project ที่ร่วมกันพอเป็นไปได้หรือไม่

          การที่เป็นที่ยอมรับของชุมชนจะช่วยในภาพลักษณ์ของกฟผ.

          ตอบ ท่านกรสิทธิ์ ได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ศาสตร์พระราชาที่มูลนิธิแม้ฟ้าหลวงทำ ส่วนเรื่องการทำความร่วมมืออาจยังไม่สามารถตอบตรงนี้ได้ต้องขอถามท่านชาย

อาจารย์พิชญ์ภูรี

          ภารกิจที่มาครั้งนี้คือมาศึกษาดูงานเรื่องศาสตร์พระราชาโดยใช้ดอยตุงโมเดล แต่ยังมีอีกภารกิจหนึ่งคือถอดบทเรียน เพราะผู้บริหารจะวัดจากตัวโครงการที่ออกแบบ การมาในคร้งนี้ต้องมาแล้วเอาการบ้านกลับไป

          มีเรื่อง Learn-Share-Care และมีการเข้าถึงจริงหรือไม่

          การมาในครั้งนี้ต้องเสนอได้ดีกว่าท่านผู้ว่าฯ เราไม่ได้แค่วิชาการ แต่ต้องได้เรื่องระบบนิเวศวิทยา

          ที่มาของโครงการ ความหมายที่ทำโครงการคือทำไปเพื่ออะไร ต้องไปปรับใหม่ วัตถุประสงค์ของโครงการทำอะไร ทำเพื่อใคร

          1. ทำเพื่อพัฒนา คือปลูก

          2. ฝึกบริหารจัดการให้สำเร็จ ตัวที่ 1 คือทรัพยากรคน ตัวที่ 2 คือพื้นที่รอบเขื่อน

ดอยตุงมีการใช้เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลแล้ว ถ้าเราจะทำโครงการเราจะมี Software ดี ๆ อะไรบ้าง

          คนคือต้นน้ำ กฟผ.ต้องเข้าใจร่วมทั้งองค์กรก่อน ทั้งในโครงการและนอกโครงการ ไม่ใช่แค่ดอยตุง คนรอบข้างและสังคมต้องเข้าใจด้วย และอะไรที่ Disruptive กฟผ.

          เราต้องเข้าใจเรื่อง Respect & Dignity

          ต้องเข้าใจเรื่องต้นน้ำในทีม เพราะมีคนเก่งที่เป็นหัวโจก ไม่ค่อยฟัง ต้องมีทีม มีพันธมิตรจะร่วมมือจัดการอย่างไร

          คนกลางน้ำ คนที่ให้บริการในโครงการเรา อาจไม่ใช่คนของกฟผ. ใครเป็นคนให้บริการ ต้องพัฒนาด้วย

          คนปลายน้ำ คือผู้รับบริการ ลูกค้าก็ต้องได้รับความรู้เช่นกัน คือ กาแฟ เสื้อดอยตุง คนซื้อชีววิถีได้อะไร ต้องดูเรื่องการตลาดด้วย

          นอกจากนี้มีเรื่องสิ่งแวดล้อม อยากให้ไปศึกษาที่เขื่อนสิรินธร เพราะมีปัญหาเรื่องคนเหนือเขื่อนกับใต้เขื่อน มีเครือข่ายสาธารณสุข อสม. และการทำให้สำเร็จ

          มีการเก็บเกี่ยวเพื่อให้สังคม วัฒนธรรมดี แต่ถ้าอยู่ดีกินดี จะรับฟัง เศรษฐกิจดี สังคมดี ความมั่นคงดี

          ความมั่นคงของคน เพื่อความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงของกฟผ.คือความมั่นคงทางพลังงาน ต้องนำเรื่องคน ความรู้ การพัฒนาพื้นที่ไปใส่

          สังคม เศรษฐกิจ ความมั่นคง

          การทำสำเร็จได้อย่างไร ต้องใช้ ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

          R ตัวที่ 1 คือ Disruptive R ตัวที่ 2 คือกระบวนการ  ความสำคัญคือเราจะส่งไม้ต่ออย่างไร

          ท้ายสุด อย่าลืมเรื่องการบริหารเครือข่าย การไปทัศนศึกษาต้องดูให้เห็นและทะลุ

เสริมจากมูลนิธิฯ

          แพทย์ อสม. เกิดจากประโยชน์ร่วม

          ทฤษฎีน้ำเต้า ปกติราคาไม่แพง แต่มีกรณีคือถ้าเอาน้ำใส่น้ำเต้าจะราคาปกติ แต่ถ้ากินน้ำมะขามป้อมก่อนมาดื่มน้ำเต้า รสชาติน้ำจะหวานขึ้น

          สุดท้าย ป่าดี ป่าสมบูรณ์ แต่ถ้าคนไม่ดี ป่าจะเหลือหรือไม่ ป่าไม่มี แต่ถ้าคนดี ป่าสร้างได้หรือไม่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ทรัพยากรมนุษย์ที่โตมากับการไฟฟ้าทุกรุ่นทำประโยชน์ให้ประเทศอย่างมหาศาล แต่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปอาจกลายเป็นผู้ร้าย

          คนกลุ่มนี้ มีความมั่นคง และรายได้พอควร แต่บางครั้งเรื่องชุมชน ทำให้เขาเป็นผู้ร้าย  ถ้าเราไม่ระมัดระวัง องค์กรกฟผ.จะเล็กไปเรื่อย ๆ เพราะเรื่องพลังงานในโลกมีตัวแปรเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน นโยบายรัฐบาล ภาระหนี้ แต่มาตอนนี้เขาไม่ได้นึกถึงเรา ถ้าไม่มีไฟฟ้าแบบฟิลิปปินส์ เขาจะมาลงทุนหรือไม่

          ปัญหาเรื่องชุมชนเป็น Disruption ทางด้าน Green Technology แต่การเปลี่ยนแปลงในองค์กรเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต้องจัดการได้

          ความมุ่งมั่นคือเป็นองค์กรเล็ก ๆ ในการสนับสนุนประเทศ

          ถ้ามีเวลาอยาก Overcome Difficulty และ Execution ในการยอมรับศรัทธาในสังคมเป็นสิ่งที่ควรกระจายเป็นอย่างมาก  แต่วันนี้ Mission เปลี่ยนไปแล้ว เราต้องมีความเข้าใจในการจัดการกับ Regulator

          กฟผ.ต้องมี Flagship ในการทำเรื่องชุมชนให้คนเห็นด้วย

          เราต้องมีการปะทะกันทางปัญญา เมื่อพุด 1,2,3 ต้องพูด 4,5,6


สรุปการบรรยาย

ลงพื้นที่ศึกษา “ดอยตุงโมเดล”
จากศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนางาน ชุมชน และสังคม ณ จังหวัดเชียงราย

ชมศูนย์ข้อมูลโครงการพัฒนาดอยตุง

บรรยายโดย   คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร ผู้จัดการส่วนเผยแพร่องค์ความรู้

                   คุณสุภาพ

                   คุณนันทิดา นันทบวรกิจ ศูนย์ข้อมูลการพัฒนาดอยตุง

วันที่  20 มีนาคม 2562

(บันทึกสรุปการเรียนรู้โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

วิถีชีวิตผู้คนบนดอยตุงในอดีต ก่อนปี 2530

          พื้นที่บริเวณดอยตุงสมัยนั้นยังคงเป็นภูเขาหัวโล้น เนื่องจากคนบนพื้นที่สูงยังคงดำรงชีวิตด้วยการเผาพื้นที่ทำกิน ไม่ให้มีวัชพืช เพื่อทำการปลูกข้าว รอฝน แต่ปัญหาคือการทำไร่และทำนายังไม่พอกิน เนื่องจากไม่มีระบบชลประทาน ข้าวแทบไม่มีกินทั้งปี แต่อย่างไรก็ตามชาวบ้านต้องอยู่รอดให้ได้ ต้องรักษาตัวเองได้เวลาเจ็บไข้ ชาวบ้านบริเวณนั้นจึงอยู่ได้ด้วยยาฝิ่นที่ใช้ในการรักษาตัวเอง เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีหมอ จึงจำเป็นต้องใช้ฝิ่นในการรักษา และเมื่อใช้มากก็กลายเป็นการติดฝิ่น

          ฝิ่นเป็นพื้นที่สามารถปลูกได้ในฤดูตอนปลายฝนต้นหนาว และสามารถขายได้กำไรดี มีตลาดมารอรับ มีกองกำลังน้อยใหญ่อยู่ในพื้นที่ และดอยตุงอยู่ในจุดที่รองรับการซื้อขาย มีกาดขายฝิ่น ขายอาวุธสงคราม กองกำลังต่าง ๆ จะนัดพบที่จุดขายตรงต้นไม้ใหญ่

          ดอยตุงลอร์ดเป็นที่ตั้งของหน่วง 31 กรมป่าไม้

“ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง”

          สมเด็จย่าซึ่งในขณะนั้นดำรงพระชนม์มายุ 87 พรรษา ทรงรับสั่งที่ดอยตุงลอร์ด ท่านมีดำรัสจะปลูกป่า บนพื้นที่ดอยตุง จึงเริ่มเรียนรู้วิธีการปลูกป่าว่ามีใครที่ทำเรื่องปลูกป่าบ้าง  ท่านทรงเห็นในหลวง ร.9 ปลูกป่าทั่วประเทศไทย ท่านจึงศึกษาจากในหลวง ร.9 เป็นที่มาของแนวคิด

“ลูกเรียนจากแม่ แม่เรียนจากลูก”

1. เรียนรู้จากโครงการพระราชดำริ

          เรียนเรื่องการปลูกพืชบนพื้นที่สูงที่ดอยอ่างขางจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางมาพร้อมกรมหลวง โครงการพัฒนาดอยตุงเริ่มดำเนินกการโดยความร่วมมือจากหน่วยงานราชการทุกส่วน เช่น กรมป่าไม้ กรมชลประทาน หน่วยงานด้านปกครอง มีการฝึกอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตบนดอยตุง 

2. ปลูกพืชแล้วขายที่ไหน

          นอกจากการปลูกพืชและฝึกอาชีพแล้ว ยังให้คำนึงถึงการขายด้วย ได้ให้ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิสกุล ศึกษานำเอาองค์ความรู้ที่สวนจิตรลดาทั้งหมดมาทำที่ดอยตุง

รากเหง้าของปัญหา

วัฎจักร เจ็บ จน ไม่รู้  

ความยากจนเกิดจากการขาดโอกาส 

ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดีแต่เขาไม่มีโอกาสและทางเลือกที่ดี

          เกิดจากมนุษย์ที่เจ็บ ใช้ฝิ่นรักษา ทำไร่เลื่อนลอย ไม่พอกิจทำให้จน  ไม่รู้ว่าฝิ่นไม่ดี จึงอยู่ในวังวนแห่งความเจ็บ

          สิ่งที่สมเด็จย่าทำ คือการมาให้ทางเลือกกับพวกเขา

พระราโชบายสมเด็จย่า

“คนกับป่าต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างดีอย่างพึ่งพาอาศัย”

“ต้องช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเขาเอง”

“ต้องคิดว่าถ้าไม่มีเราอยู่ เขาจะอยู่ต่ออย่างไร”

“ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเขาเอง”

          การพัฒนาต้องยึดคนเป็นศูนย์กลาง เมื่อสังคมดี เศรษฐกิจดี เขาจะดูแลสิ่งแวดล้อมได้ดี ต้องเริ่มจากการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด การแก้ให้ตรงจุดต้องแก้ให้มีกินมีอยู่

3 ขั้นตอนสู่ชีวิตที่ดี

1. ขั้นต้นน้ำ คือ ทำอย่างไรให้เขาอยู่รอด

          - ทำให้พ้นจากความอดอยาก

          - ไม่ต้องกู้กิน กู้ใช้

          - มีอาหารกินตลอดปี

          - ทำให้พ้นความเจ็บไข้

          - แต่ยังมีหนี้สินเดิมอยู่

2. ขั้นกลางน้ำ คือ อยู่อย่างพอเพียง ทำอย่างไรให้เขามีกินมีใช้ตลอดปี

          - ใช้หนี้หมด

          - มีรายได้สม่ำเสมอ

          - มีสาธารณูปโภค      

          - มีการศึกษา

          - ชีวิตพอสบายขึ้น

ดูและพัฒนาทรัพยากรในท้องถิ่นให้มั่นคง  สามารถดูแลตัวเอง ช่วยเหลือครอบครัว ใช้หนี้ได้

3. ขั้นปลายน้ำ คือ ทำอย่างไรให้อยู่อย่างยั่งยืน ขั้นสูงสุดคือ

- มีเงินออม

- พัฒนาตนเองได้

- ยืนบนลำแข้ง มีศักยภาพที่ต่อยอดสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ ช่วยเหลือตัวเองได้

- มีภูมิคุ้มกัน

- เป็นเจ้าของกิจการ

ดอยตุงทำอย่างไร ?

          การพัฒนาหรือกิจกรรมในพื้นที่ต้องเริ่มจาก

1. การมีข้อมูลพื้นฐาน ที่ต้องมีให้ครบ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกให้มากที่สุด เพื่อดำเนินการวางแผนให้ชาวบ้านได้มากที่สุด

2. การสำรวจข้อมูลจริงในพื้นที่

          - สำรวจเพื่อ – มีใครบ้าง จำนวนเท่าไหร่ อยู่ที่ไหน ทำอะไร มีอะไร ขาดอะไร

          - ทำความเข้าใจผ่านผู้นำชุมชน – มาทำอะไร และชาวบ้านอยากให้ช่วยอะไร

          - ชุมชนคัดเลือกโครงการฯ อบรมอาสา คพต.พ.

วิธีการ 1. สร้างความเข้าใจ สร้างทีม ทำความเข้าใจให้เป็นตัวกลางของดอยตุงได้

โครงการที่ทางดอยตุงทำได้แก่

1. แบบสำรวจสภาพเศรษฐกิจและสังคม เลียนแบบประชาสงเคราะห์ ระบุสภาพเศรษฐกิจสังคม รายจ่าย รายได้ หนี้สิ้น สุขภาพ

          2. บัตรสมาชิกโครงการพัฒนาดอยตุง (บัตร คพต.) ทำตั้งแต่คนมีอายุ 10 ปึขึ้นไป ต่ออายุทุก 5 ปี  สามารถจำหน่ายสินค้าในดอยตุงได้

          3. ผู้มิสิทธิเป็นสมาชิกโครงการพัฒนาดอยตุง ได้จากบุคคลที่เป็นหนึ่งในสมาชิก  มีหลักฐานการสมรสกับคนดอยตุง และผู้นำศาสนา

          4. ทำทะเบียนโครงการพัฒนาดอยตุง

          5. หนังสือการรับรองเข้าอยู่อาศัย และทำกินในที่ดิน (น.ส.ร.) เหมือนโฉนดที่ดิน

ขอบเขตโครงการพัฒนาดอยตุง (ทำการสำรวจทุกปี)

          พื้นที่ 93,515 ไร่  ประมาณ 150 ตร.กม. มีเขตแดนติดต่อประเทศพม่า 24 กม.

หมู่บ้าน 29 หมู่บ้าน เขตการปกครอง 2 อำเภอ 4 ตำบล คืออำเภอแม่ฟ้าหลวง 1 ตำบล คือ ต.แม่ฟ้าหลวง และอ.แม่สาย 4 ตำบล คือ ต.โป่งผา ต.โป่งงาม และต.เวีจยงพางคำ

ประชากร 10,399 คน

ชาติพันธุ์ อาข่า ไทยใหญ่ ลาหู่ ลั๊ว จีน ไทยลื้อ

          6. การสำรวจข้อมูลเข้าทุกครัวเรือน

– ในช่วงเดือนเมษายน เนื่องจากเป็นช่วงปิดเทอมของนักเรียนและมีวันหยุดยาวสมาชิกส่วนใหญ่กลับบ้าน

          - ทำโดยอาสาสำรวจข้อมูล

          - เตรียมบันทึกลงคอมพิวเตอร์

ค่าเฉลี่ยรายได้

          สิ่งที่พบคือรายได้ของคนดอยตุงสูงกว่าระดับมาตรฐาน สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของจังหวัดเชียงราย แต่อย่างไรก็ตามยังมีบางหมู่บ้านมีมาตรฐานรายได้ที่ต่ำอยู่  มีการสำรวจแรงงานว่าจะส่งเสริมด้านใดบ้าง มีการจัดสรรพื้นที่เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย มีการประเมินทุกปี

การสำรวจ

          ใช้เทคโนโลยี GPS เพื่อดูที่ทำกินและที่อยู่อาศัย

“ปลูกป่า เพื่อ ปลูกคน”

          การสำรวจข้อมูล ถ้าทำผิดจะผิดยาว วิธีการที่ถูกคือการหาข้อมูลที่ถูกต้อง ต้องมีกระบวนการที่ได้ความจริง แล้วนำมาวิเคราะห์และทำ มาสู่หลักการของสมเด็จย่า คือ “ปลูกป่า เพื่อ ปลูกคน”

          ปลูกป่าถูกกฎหมายชาวบ้านได้อะไร เงินที่จ้างให้ปลูกป่าต้องเทียบเคียงกับสิ่งที่ได้อยู่ ต้องได้อะไรที่มากกว่าเก่าและจับต้องได้ชาวบ้านถึงยอมมาในช่วงแรก

          สมเด็จย่า ทำโครงการปลูกป่าในช่วงแรก ไม่มีงบประมาณ ท่านคิดที่จะปลูกป่า และปลูกคน จึงปรึกษานักวิชาการป่าไม้ ถ้าปลูกแล้วได้ผล 3-4 ผล คือ 3-4 ปีแล้วป่าจะขึ้นได้เอง

          วิธีการปลูกป่าและดูแลรักษาต้องใช้ระยะเวลา 3 ปี พื้นที่ 9,900 ไร่ในเวลานั้น กรมป่าไม้บอกว่า ไร่หนึ่งใช้เงิน 3,000 บาท สิ่งที่สมเด็จย่าพูดคือ ปลูกป่าแล้วชาวบ้านได้อะไร ชาวบ้านได้รายได้ 3 ปีเป็นอย่างต่ำ และได้ป่าคืนกลับประเทศชาติเกือบ 10,000 ไร่

          แม่ฟ้าหลวงไม่ใช่เพราะดอยตุง แต่ทำหลายพื้นที่ สมเด็จย่า มองความเป็นจริงว่าการปลูกป่าชาวบ้านจะได้

          ค่าเฉลี่ยของประเทศไทย มี 5 คน ได้คนละ 40 บาท * 5 คน * 30  วัน * 1 ปี ต้องถามกลับว่าชาวบ้านได้รายได้หลักจากอะไร เช่น การปลูกฝิ่น และการขนฝิ่น โครงการฯ จึงไปสำรวจคนปลูกฝิ่นบนดอยตุงที่มีรายได้มากสุดคือ 15 ไร่ รายได้มากสุด ปีหนึ่งจะได้ 10 จอยส์  (จอยส์ละ 1,200 บาท) ชาวบ้านจึงหยุดปลูกฝิ่นแล้วมาปลูกป่า มีรายได้ลั้ยงตนเองได้ตลอดทั้งปี

          สิ่งที่สมเด็จย่าทำคือ ท่านมาดอยตุงอีกไม่นานจะครบ 88 ปี อีก 2 ปีจะครบ 90 ปี ให้นำเงินที่เทิดพระเกียรติมาปลูกป่าแทน สิ่งที่ชาวบ้านได้คือ ได้เงินมาซื้อข้าวกินตลอด 3 ปี

ต้องมีวิธีการทำอย่างไรให้คนที่ปลูกป่าเป็นสิ่งถูกกฎหมาย การลงในพื้นที่เพื่อจ่ายเงินกับชาวบ้านปลุกป่า (จ่ายเงินในช่วงนั้นต้องมีทหารคุ้มกัน)

          วิธีการปลูกป่า ทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้เกษตรพื้นฐานคือใส่ปุ๋ย คลุมดิน  เปลี่ยนวิธีคิดจากการเผาป่า เป็นลงมือทำในสิ่งที่ถูกต้อง การปลูกป่าจึงเป็นเสมือนเครื่องมือในการสร้างคน

การพัฒนาอย่างมีบูรณาการ

          มีมูลนิธิแพทย์อาสา มูลนิธิขาเทียม  มีสร้างอาชีพ แก้ปัญหา เจ็บ จน และไม่รู้

1. โครงการบำบัดและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด 1,000 วัน

- มีศูนย์บำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดที่บ้านผาหมี

- บำบัด 60 วัน ฟื้นฟู (ฝึกอาชีพ ทำความเข้าใจชุมชน) และติดตามผล  340 วัน

- การปลูกป่าไม่ยาก แต่ส่วนที่ยากคือการพัฒนาคน เรื่องยาเสพติดที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา ปลายปี 2534 มีพระราชดำริจะรักษาผู้ติดยาเสพติดใน 21 บ้านที่อยู่บนดอยตุง ผู้ใหญ่สมัยก่อนจะติดยาเสพติดกันหมด ได้ยอดผู้ติดยาเสพติดและอยากบำบัดประมาณ 500 คนจาก 10,000 คน

วันแรกที่เข้าไปในหมู่บ้านจะถูกการต่อต้านจากชาวบ้านเยอะมาก ท้ายสุดคือเชิญผู้นำ และอาสาพัฒนาดอยตุงมาคุย ว่าสิ่งที่สมเด็จย่ามาปลูกป่า เพื่อพัฒนาพื้นที่นี้ให้มีศักยภาพในอนาคต  ทำการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่ 469 คน มีคณะแพทย์ พยาบาล ตำรวจ ทหาร ตชด.ร่วมกันช่วยดูแล มีการตั้งศูนย์บำบัดเองที่บ้านผาหมี เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่ติดการค้าขายยาเสพติดติดอันดับโลก

การพูดคุยกับผู้นำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน การปลูกฝังอาสาสมัคร ตชด. ผู้ที่รักษาบำบัดยาเสพติด เมื่อบำบัดเสร็จแล้วจะเรียกว่า อาสายาเสพติด แต่ละหมู่บ้านจะสร้างกฎระเบียบหมู่บ้านขึ้นมา หลังจากนั้นแต่ละหมู่บ้านมีการประชุมหมู่บ้าน และเขียนกฎระเบียบ มีเจ้าหน้าที่แนะนำต่าง ๆ มีการนำกลุ่มคนเหล่านี้ออกจากศูนย์บำบัด และมีการฝึกอาชีพให้ทำ มีการฝึกงานที่ศูนย์บำบัด ผู้รับเข้าการบำบัดจะได้รับการฝึกอาชีพทุกคน

การรักษา ถ้ามีการดูแลรักษาทัน จะไม่มีใครตาย มีการให้ยาลดระดับลงเรื่อย ๆ

หมู่บ้านที่มีกฎระเบียบรองรับจะมีการว่ากล่าวตักเตือน มีการปรับไหมเงินในหมู่บ้าน แต่ถ้าในครอบครัวมีคนไปเสพ หมู่บ้านจะอภัยให้ครอบครัว เป็นมาตรการของหมู่บ้าน ถ้าหมู่บ้านไหนมีความพร้อม เราจะมีโครงการมอบป้ายปลอดยาเสพติดให้หมู่บ้าน โดยหมู่บ้านต้องมาขอที่สำนักงาน ซึ่งมีหลายขั้นตอนในการดำเนินการ

“ปลูกคน”

          ทีมทั้งหมดจะสำรวจศักยภาพที่ดีของชาวบ้านคืออะไร สร้างความมั่นใจ และกระตุ้นเขาให้ระเบิดจากข้างใน

          เปลี่ยนจากทำไร่เลื่อนลอย มาปลูกป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ 

          ในปี 2532 จะเริ่มปลูกป่าเศรษฐกิจจากกาแฟ และแมคคาเดเมีย เป็นการร่วมมือทำกับภาคเอกชน ตั้งบริษัท นวุติ จำกัด หมายถึง 90 ปี เป็นเหมือนบริษัทที่ทำ CSR จากจิตวิญญาณ ที่ต้องช่วยคน คืนกำไรให้ชาวบ้านหรือชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถช่วยคนเกือบ 10,000 คนในดอยตุง

          บริษัท นวุติ จำกัด  ประกอบด้วย

          - สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

          - บริษัทเอื้อชูเกียรติ จำกัด

          - ธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน)

          - ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

          - บริษัทมิตซึยแอนด์คัมปานีไทยแลนด์ จำกัด

          ก่อตั้งขึ้นเพื่อสอนงพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครนิทราบรมราชชนนีในการปลุกป่าเศรษฐกิจกาแฟและแมคคาเดเมียที่โครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงรายโดยมิได้มุ่งหวังผลกำไร  มีข้อตกลงว่า “กำไรทั้งหมดจะบริจาคให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง สำหรับกิจกรรมาพัฒนาสังคม”

          เหตุผลที่ต้องมีญี่ปุ่นมาช่วยเนื่องจากการปลูกกาแฟต้องใช้เวลา 3- 4 ปีกว่าจะได้ผล ต้องมีเงินทุน ซึ่งในช่วงนั้น ญี่ปุ่น ไจก้าเป็นประเทศเดียวที่ให้กู้ยืมเงิน  โดยทางบริษัทได้ใช้เงินคืนทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อ 2 ปีที่แล้ว

ทำไมต้องกาแฟพันธุ์อาราบิก้า

          1. ปลูกใต้ป่า เป็นมิตรกับป่า  ปลูกได้ดีในแถบบราซิล อเมริกาใต้

          2. ที่ไหนปลูกฝิ่นได้ดี ที่นั่นปลูกอาราบิก้าได้ดี

          3. ศักยภาพต่อยอด เพิ่มมูลค่า สู่การสร้างงาน สร้างรายได้

4. ไม่ควรปลูกชา

ทำไมต้องแมคคาเดเมีย

1. เป็นพืชลักษณะเดียวกันในพื้นที่

2. เป็นถั่วที่แพงที่สุดในโลก

3. ไม้ยืนต้นอายุ 100 ปี

4. มีแหล่งผลิตใหญ่อยู่เพียง 2 แห่งทั่วโลก ตลาดต้องการสูง

5. ศักยภาพต่อยอด เพิ่มมูลค่า สร้างงาน สร้างรายได้

ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ : ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

- วัตถุดิบคุณภาพดี

- อุปกรณ์ได้มาตรฐาน

- ออกแบบตามความต้องการของตลาด

- ควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน

สร้างรายได้ต่าง ๆ อาทิ โรงพรมยัง กระดาษสา เซารามิก ที่ทำหลายอย่างเพื่อกระจายความเสี่ยง

          สรุปคือ สร้างวัฎจักร การสร้างงาน สู่การสร้างคน สู่การสร้างงาน

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. การจ้างคนมาเป็นวิทยากรได้อย่างไร

          ปัญหาเบื้องต้นคือภาษา แนวการจัดการคือต้องมีคนที่ได้รับการชี้แจง ชี้แนะ เพื่อนำเรื่องไปสื่อต่อหมู่บ้าน จึงทำการคัดเลือกอาสาสมัครในชุมชนโดยให้ชาวบ้านคัดมา มีอะไรก็สื่อต่ออาสาสมัคร เพื่อไปสื่อสารต่อ

2. การรักษาอาสาสมัครเหล่านี้ได้อย่างไร

          สมัยก่อนมี 70 คน เมื่อแต่ละคนเติบโตขึ้นมา วิถีแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนศึกษาต่อ บางคนไปไต้หวัน ส่วนใหญ่ที่เหลือจะเป็นผู้นำของชุมชน เป็นผู้นำ และอบต.

          การทำงานที่ดอยตุง เขาจะได้เรียนรู้ และให้ความร่วมมือในชุมชนอยู่แล้ว

3. เจ้าหน้าที่ที่เริ่มเข้ามาในโครงการ วันแรกมีความเชื่อหรือไม่ว่าจะมาเป็นแบบนี้

          ตอบ ตอนเข้ามาใหม่ ๆ ที่อยู่บ้านอาช่า ป่ากล้วย เห็นความชัดเจนของแผนแม่บท มีคุณชาย คุณมาโนทย์ และน้องอาสา เข้าไปในหมู่บ้าน พูดคุยเรื่องโครงการปลูกป่า พัฒนาคนที่นี่ ชาวบ้านเห็นอย่างไร วิธีการที่ทำ คือ มีการคุยกันตั้งแต่ส่วนบน ส่วนกลาง และจังหวัดจะมีการประชุม ชี้แจง และสัมมนา โครงการนี้เกิดแล้ว ชาวบ้านได้อะไร เมื่อสัมมนาผู้บริหารระดับจังหวัดเสร็จ จะมีการประชุมตั้งแต่ระดับรองลงมา 36 กรม กระทรวง เพื่อชี้แจงความเข้าใจ และนำประชาชน 27 หมู่บ้านมาร่วมประชุม ให้หมู่บ้านคัดมา  มีการเข้าค่ายที่ค่ายเม็งราย ชี้แจงเหมือนให้จังหวัดทราบ ตอนเข้ามาเห็นภาพอย่างนี้ รู้สึกว่าเป็นโครงการที่ทำจริง แล้วอยากทำตรงนี้อยู่ คุณชายสอนว่า การทำโครงการใด ๆ ก็ตามให้เถียงบนกระดาษให้จบก่อนที่จะเข้าไปบอกต่อชาวบ้าน

4. สิ่งที่สมเด็จย่าปณิธานไว้เรื่องความยั่งยืน ตอนนี้ถึงจุดไหนแล้ว และทีมอาสาสมัครจะมาช่วยเติมอย่างไร

          จะขอให้ผู้เข้าอบรมเป็นคนตอบว่าขณะนี้อยู่ในระดับไหน

รับฟังการบรรยาย ณ หอแห่งแรงบันดาลใจ

คำถาม : ท่านได้เรียนรู้อะไรจากการศึกษาดูงานดอยตุงในวันที่ 20 มีนาคม 2562 (ข้อมูลโครงการพัฒนาดอยตุง บริษัทนวุติ หอแห่งแรงบันดาลใจ)

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

1. เริ่มที่ตัวเรา ถ้าเราไม่เริ่มทำเริ่มคิด ก็ไม่เกิดขึ้น

2. ประทับใจที่สมเด็จย่าเห็นคุณค่าของคน มองผลสุดท้าย และประทับใจแรงบันดาลใจ 3 ขั้น ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

3. การเริ่มต้นอะไรต้องเข้าใจจริง และเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง

4. สะดุดตาตรงสิ่งที่มีทั้งหมดคือรากเหง้าของปัญหา คือเจ็บ จน ไม่รู้

5. การแก้ปัญหาต้องแก้จากต้นตอที่จุดเริ่มต้นจริง ๆ คือความยากจนเป็นพื้นฐานที่ถูกแก้ไข เพื่อให้คนกินอิ่มก่อน ปัญหาจึงสามารถแก้ไขได้

6. ประทับใจในเรื่องความเข้าใจในปัญหา สิ่งที่เห็นในภาพหลังคือสมเด็จย่า พยายามนำภาพของตัวเองที่ผ่านมาในอดีตทั้งมวล ท่านเคยประสบปัญหาความยากลำบาก ถ้าประชาชนดีขึ้นเขาจะเป็นอย่างไร สิ่งที่ต้องการคือให้ประชาชนดีขึ้น

7. เข้าใจและต้องปรับปรุงพัฒนาไปเรื่อย ๆ

8. เห็นบทเรียนที่ใช้เวลาหลายปีในการถอดมาทีละคำ ถ้าขาดความมุ่งมั่นหรือความตั้งใจ ไม่ง่ายที่จะทำสำเร็จได้

9. ความมุ่งมั่นตั้งใจที่ให้ผสกนิกรมีความสุข พ้นทุกข์ มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

10. การเริ่มต้นของโครงการดอยตุง ยากที่ต้องให้ประชาชนเชื่อในสิ่งที่ทำ การทำงานต้องผ่านหัวหน้าชุมชน ต้องอดทนและใช้เวลา

11. ปัญหาทุกอย่างไม่เสร็จในเวลาสั้น ถ้าดูจากบทเรียนเรียนรู้ มีระยะเวลานาน มีการวางแผน และเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ในการบูรณาการแก้ปัญหาและต่อยอด

12. อย่าเอาสิ่งในสิ่งที่อยากเป็นให้เขาเป็น แต่เอาสิ่งที่เขาอยากได้และสิ่งที่มีอยู่และนำสิ่งที่ดีที่เรามีอยู่เสริมเข้าไป

13. การเริ่มต้นทำอะไรทุกคนต้องมีแรงบันดาลใจก่อน เช่นปัญหาที่จะเกิดขึ้น ต้องมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา ภาพสุดท้ายคืออะไร และกระบวนการในการวางแผน วางขั้นตอนในการปฎิบัติ ความนานอาจท้อแท้ได้ แต่ทุกสิ่งเกิดจากการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาที่แท้จริง

14. ประทับใจเรื่อง 3 อยู่คือ อยู่รอด อยู่อย่างพอเพียง และอยู่อย่างยั่งยืน เราจะทำอย่างไรให้อยู่อย่างยั่งยืน

15. สมเด็จย่ารักและศรัทธาในการทำให้ประชาชน มีวิธีการในการหาเครือข่าย พันธมิตรในการทำให้สำเร็จ ปัญหาท้อได้แต่ไม่เคยถอย ท่านไม่ยอมแพ้ แต่เราไม่ยอมแพ้เช่นกัน

16. วิธีการได้มาซึ่งสิ่งต่าง ๆ ต้องมีการทดลองผิด ทดลองถุก ทำให้รู้ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ต้องมีการอดทนและรอคอยจะทำให้ผ่านได้

17. ประทับใจการบริหารอย่างเป็นระบบ สามารถทำให้ดอยตุงพัฒนาถึงปัจจุบัน และประทับใจสมเด็จย่า ที่พูดว่าสิ่งที่ทำก้าวแรกสำคัญที่สุด เช่นการขึ้นเขา ถ้าเดินก้าวแรกจะทำได้ เช่นเดียวกับปลูกต้นไม้ต้นแรก

18. มาดอยตุงตั้งแต่ปี 2530 ที่เริ่มก่อสร้าง สังเกตว่าทำสิ่งใดก็ตามต้องเริ่มสืบค้นก่อน และพัฒนาอย่างเป็นระบบ

19. วิธีการมองปัญหาเราจะแก้ไขปัญหาอย่างไร และอะไรเป็นรากเหง้าของความยากจน มองปัญหาคือการแก้ไขปัญหาความยากจนให้ยั่งยืนจะทำอย่างไร การมองปัญหาเป็นเรื่องสำคัญ ปัญหาอยู่ลึกบางครั้งอาจมองไม่เห็น ให้เปิดใจ อย่าด่วนสรุป การตั้งโจทย์ดี คำตอบจะออกมา

20. แนวคิดของสมเด็จย่า คำถามคือทำอย่างไร EGAT ถึงจะนำแนวคิดแบบนี้ไปสู่การบูรณาการที่ยั่งยืน อย่าง ยากจน เพียงพอ และต่อยอด ตอนนี้ EGAT อยู่ที่ขั้นไหน การระเบิดภายในจะเกิดได้อย่างไร ต้องสร้างการยอมรับ เพราะส่วนใหญ่นโยบายมาจากข้างบนสั่ง ถ้าอยากจะเดินหน้า เราต้องคิดทั้งระบบ และสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน เดินไปร่วมกัน

21. สมเด็จย่ามีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ต้องอาศัยความร่วมมือ คิดแบบครบวงจร มีการวางแผนระยะสั้น และระยะยาว

22. เราคิดที่จะปลูกป่า แต่ถ้าเราไม่ปลูกก็ไม่ได้ป่า สรุปคือลงมือทำ

23. สมเด็จย่าเริ่มจากการเรียนรู้ เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่ไม่มีใครทำและทำให้ยิ่งใหญ่จนปัจจุบัน และร่วมกันทำงานต่อไป

24. โครงการดอยตุงเป็นแบบอย่างของพระมหาชนก คือมีความรักตั้งใจในการทำ มีฉันทะ มีความเพียร มีความมุ่งมุ่นในงานคือจิตตะ และมีความทบทวนในงาน คำพูดทุกคำแฝงด้วยความภูมิใจ ความเพียรที่ควรน้อมรับไปปฏิบัติ

25. สิ่งที่น่าจะนำไปใช้ได้คือเวลาทำอะไรควรมีการวางแผนชัดเจน แบ่งระยะเวลาชัดเจน สร้างงานแล้วควรนำกลับมาสร้างคนด้วย เพื่อสร้างความยั่งยืนให้คนอยากทำและระเบิดจากข้างใน

26. มาถึงดอยตุง เหมือนโดนป้ายยา โครงการนี้สำเร็จได้เกิดจากความอดทนอย่างมาก คือเกิดจากความเสียสละและทุ่มเทของพระองค์ท่าน

27. ได้มาดอยตุงหลายครั้งในฐานะคนท้องถิ่น วันนี้ได้มีโอกาสเข้ามาดูเสมือนเป็นการเจาะลึก เห็นสิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างตรงใจคือ ทำโดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ทั้งสิ้น ทำแล้วเจออุปสรรคก็ไปคิดแก้ปัญหา และอีกเรื่องหนึ่งคือ น้ำหนึ่งหยดลงมา เมื่อเราได้ทำจะเป็นการจุดประกายให้คนทำต่อเนื่องและเป็นแรงบันดาลใจถึงพวกเราตรงนี้

28. ในกระบวนการพัฒนาดอยตุงที่ผ่านมามีการกระจายความเสี่ยง ไม่มีอะไร The Best ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลได้ เทคนิคต่าง ๆ เราสามารถนำไปปรับใช้

คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร       

สิ่งที่อยากบอกทุกท่านว่าเพราะเหตุใดดอยตุงถึงเป็นแบบนี้

1. เรียนรู้ – สมเด็จย่าบอกว่าไม่มีวันจบจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ ท่านเริ่มโครงการดอยตุงเมื่อ 87 ปี เป็นตัวอย่างของการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือเมื่อมีลมหายใจก็เรียนรู้ตลอด

2. การช่วยคนอื่น – ต้องเข้าใจถึงปัญหา ธรรมชาติของมนุษย์คือคำถามว่าทำไม สมเด็จย่าสงสัยว่าทำไมคนบนดอยไม่มีใครมาหาเขาเลย คำถามว่าทำไมไม่ใช่เราเป็นคนตอบ แต่เราต้องกระตุกให้คนในพื้นที่คิด ถ้าเราคิดจะกลายเป็นโครงการเราไม่ใช่โครงการเขา ก่อนกระตุกความคิดต้องเข้าใจก่อนว่าทำไม

3. ฟัง – เมื่อไปอยู่กับชาวบ้าน สิ่งสำคัญที่สุดคือ เรียนรู้  เราต้องฟัง เพราะฟังมากขึ้นจะทำให้คนอยากพูดมากขึ้น แล้วจะรับรู้ปัญหาของเขา และสุดท้ายค่อยว่ากัน เพราะเหตุใดสมเด็จย่าทรงนั่งอย่างนั้น เพราะท่านไปฟังปัญหาจากชาวบ้าน

ดอยตุงจะเน้น Generation ต่อ Generation อย่างไร

แลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้นำชุมชน และเยาวชนที่สืบสานงานของดอยตุง

บรรยายโดย  

นายวีระชิต วรัญชิตกุล นายก อบต.

นายอาผา  อาจอ สมาชิก อบต. / ผู้นำทางศาสนาคริสต์

นางมยุรา สิลาวงศกรกุล ประธานกลุ่มสตรี หมู่บ้านขาแหย่ง

นายชำนาญ  อดิสุนทรกุล  ผู้อาวุโสในชุมชนอาข่าป่ากล้วย

นายวันชัย ปรีชาสถานพรกุล สมาชิก อบต.

นายสาม นามปัด เจ้าหน้าที่ต้อนรับส่วนท่องเที่ยว

วันที่  21 มีนาคม 2562

(บันทึกสรุปการเรียนรู้โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)


นายวีระชิต วรัญชิตกุล นายก อบต.

          กล่าวถึงพื้นที่ทั้งหมด 90% ของดอยตุงเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่น ส่วนแม่สายเป็นส่วนที่เดินข้ามไปมา การเดินทางระหว่างฝั่งไทยกับพม่า มีคนยังเป็นพี่น้องกันอยู่เพียงแค่แบ่งเขตแดน

          ถามว่ายังมียาเสพติดอยู่หรือไม่ คำตอบคือมียาเสพติดอยู่ มีกฎกติกาคือถ้าครอบครัวไหนค้ายาต้องย้ายออกทั้งครัวเรือน

          หลักเกณฑ์และกฎหมายอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหายาเสพติดได้ ต้องใช้กฎ กติกาชุมชน เพื่อที่จะดูแลรุ่นต่อไป หรือถ้าบ้านไหนติดยาดูแลไม่ไหวจะโอนให้คณะกรรมการหมู่บ้านดูแล ใช้ชุมชนบำบัดชุมชนเอง เป็นลักษณะปลูกป่าสร้างคน สร้างจิตสำนึกของคนในพื้นที่ ถ้าไม่มีสมเด็จย่า ความเจริญอาจไม่ได้เป็นถึงขนาดนี้ พระองค์ท่านไม่ใช่พี่น้องแต่ลงมาช่วยเหลือดูแลเราทั้งหมด

          น้ำยาที่ทำยาเสพติดต้องเอาจากไทยไป ถ้าไม่มีน้ำยาก็ส่งต่อไม่ได้ แล้วพม่าก็ส่งยาเสพติดมาที่ไทย มีการส่งไปมา เป็นวิถีชีวิตที่ไม่มีโอกาส ทำให้ต้องส่งยา ค้ายา แต่เมื่อสมเด็จย่ามาไม่ได้พูดเรื่องยาเสพติด แต่เน้นเรื่องการให้คนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น สร้างโอกาสมากขึ้น ให้การศึกษามากขึ้น ทำให้ชาวบ้านมองเห็นปัญหาด้วยตัวเอง แล้วจะเลิกได้ มีกติกา และกฎเกณฑ์ในการทำงาน ใครติดยาเสพติดจะมีกรอบ กติกาอย่างไร เมื่อปฏิบัติจะเข้ามาสู่กฎชุมชนทำให้การควบคุมง่ายขึ้น ปัญหาต่าง ๆ จึงอยู่ที่ผู้นำ

          ชุมชนต้องมีกฎกติกา ผู้นำต้องนำทำ นำปฏิบัติ ไม่ใช่นั่งชี้ ไม่เช่นนั้นชุมชนจะไม่ศรัทธา ไม่เชื่อมั่น กฎ กติกา จะสำเร็จ ผู้นำต้องเข้มแข็ง เป็นแบบอย่าง และต้นแบบ เราอย่าเป็นน้ำเต็มแก้ว เพราะการมองแบบผู้ใหญ่จะมองแบบหนึ่ง เด็กจะมองอีกแบบหนึ่ง มุมมองไม่เหมือนกัน

          สรุปคือ วิธีการต้องมีระบบ มีกติกา เป็นตามกฎ ก่อนสมเด็จย่าจะมาแต่ก่อนเป็นเขาหัวโล้น หลังจากท่านมา ชุมชนมีวิธีการ

วิธีการ

1. การทำอะไรต้องเก็บข้อมูลทุกอย่างก่อน เช่น ชุมชน ต้องเข้าใจ เข้าถึง ต้องศึกษาข้อมูลอย่างชัดเจน ต้องทำซ้ำ ๆ แล้วจะรู้ว่าผิดตรงไหน วิธีไหน และหาวิธีการ แล้วปรับกลยุทธ์

          แต่ก่อนชุมชนไม่มีความรู้ การศึกษา ผู้ที่เข้ามาเป็นระดับ ดร. ทั้งหมด  แต่ถ้าพูดไม่รู้เรื่องจะเชื่อหรือไม่

เริ่มต้นเคยคลุกคลีกับข้าราชการ  เคยเจอปัญหา ฟังตอนแรกไม่เชื่อ แต่ต่อมาได้นำเอาแนวคิดมาวางกรอบ มีการพูดต่อกับชาวบ้านและชาวบ้านเชื่อ เชื่อว่าสมเด็จย่าช่วยเหลือเรา เราต้องเลือกคนที่เชื่อเรามาทำงานเป็นชุด และสุดท้ายจะเข้าระบบ  พอทำไปเรื่อย ๆ  2 ปีเริ่มเห็นผล  ใช้วีการสอนปฏิบัติ ทำแล้วเห็นผลชัดเจน สิ่งที่ให้ชาวบ้านทำต้องให้ค่าจ้างมากกว่าที่เขาได้ปกติ ทำทุกอย่างจนครบ 2 ปี ได้เก็บผลผลิต  และดอยตุงรับซื้อ

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ช่วงแรกมีการโดนข่มขู่กับขบวนการค้ายาหรือไม่

          ตอบ ไม่ขู่ แต่เก็บเท่านั้น มีการสื่อสารกับเขาว่าจะมาทำอาชีพ ส่งเสริมอาชีพ และเมื่อครึ่งหนึ่งเห็นกับเราก็ต้องปล่อย ทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น

2. ตอนท้อสุดมีอะไรผลักดันให้ไม่ท้อ

          ตอบ เรียนภาษาไทย โดนครูบอกว่าถ้าเรียนไม่ได้ก็ไม่ต้อง มีการปักกลยุทธ์ ทางการศึกษา อสม.  และต้องการช่วยชาวบ้านให้ได้สัญชาติให้หมด แต่ชุมชนพูดไม่ได้ ไม่มีโอกาส คิดว่าถ้าตัวเองมีโอกาสจะช่วยเขา และจะทำปณิธานของสมเด็จย่าจนตลอดไป

          การเป็นนายกฯ ไม่ใช่สิ่งสำคัญ สำคัญอยู่จุดไหน ที่สามารถแสดงบัตรประชาชนได้ การมาชองเรา อะไรคือปัญหาของชุมชน ปัญหาของชาวบ้าน

3. ถ้าสมเด็จย่าไม่เข้ามา ชุมชนะเคยคิดที่จะเลือกค้ายาเสพติดหรือไม่

          ตอบ ปกติเป็นผู้นำโดยธรรมชาติ พูดภาษาไม่ได้ ก่อนสมเด็จย่ามา ดอยตุงเป็นภูเขาหัวโล้น ปลูกฝิ่น ปลูกไร่ข้าวโพด ไม่มีถนนหนทาง  หนีคนไทยไม่ยอมพูดกับคนไทย แต่พอสมเด็จย่าเข้ามา เด็กพยายามให้ศึกษา กศน. มีการส่งเด็กไปศึกษาและเรียนที่กรุงเทพฯ  เด็กที่เกิดที่ดอยตุงได้บัตรประจำตัว ได้บัตรเกิดด้วย

          มีการปลูกฝิ่นเพื่อการรักษาได้ด้วย ที่ศูนย์ผาหมี มีการบำบัดคนเถ้าคนแก่ที่ติดยาเสพติด และเลิกได้ สมเด็จย่าเข้ามาเปิดศูนย์บำบัดยาเสพติดได้ด้วย

          มีการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านด้วยการให้ปลูกกาแฟและแมคคาเดเมียแทน ปัจจุบันมีรายได้มากกว่าคนเชียงราย

          ถ้าสมเด็จย่าไม่มา อาจไปเป็นลูกน้องขุนสา หรือ ผู้หญิงอาจไปขายตัว

          ถ้าสมเด็จย่าไม่มา พวกเขาคงไม่ได้คิดอะไร เนื่องจากต้องอาศัยกองกำลังเพื่อให้อยู่รอด เขาไม่มีโอกาส ไม่มีบัตรประชาชนประกอบอาชีพไม่ได้ แต่ทุกวันนี้หลังจากสมเด็จย่าเข้ามา ช่วยให้คนมีโอกาสมากขึ้น รายได้มากขึ้น ในอนาคตนายกอบจ. จะพัฒนาการศึกษาให้ทัดเทียมกับคนในกรุงเทพฯ มีการส่งเสริมภาษาจีน ภาษาอังกฤษ  คนเก่งส่วนใหญ่จะไปทำงานกรุงเทพฯ  คนที่ปานกลาง และไม่เก่งจะอยู่ในชุมชน ซึ่งทางชุมชนก็ช่วยกันพัฒนา  สร้างสังคมที่น่าอยู่มีการเกื้อกูลและดูแลซึ่งกันและกัน

          อย่างไรก็ตาม กฎหมายต้องมี ต้องมีทางออก และบังคับใช้อย่างรุนแรง

4. มีการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับญาติที่อยู่พม่าหรือไม่อย่างไร

          ตอบ มีการสื่อสารใช้โทรศัพท์ เดินข้ามชายแดนไปมา

          การทำงานเวลาเจอปัญหาต้องแก้ อย่าชี้นำ ทำปัญหาให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้คนหวงแหนพื้นที่

5. นายกอบจ.ได้ทำมาระดับหนึ่งแล้ว มีวิธีการต่าง ๆ มีการถ่ายทอดให้คนรุ่นต่อไปทำต่ออย่างไร

          ตอบ ให้ทุกโรงเรียน ทุกวันศุกร์แต่งชุดที่เป็นประเพณีตัวเอง เพราะการแต่งตัวเป็นการสื่อถึงบุคลิก มีทีมงานในการอยากมาร่วมงานกับเรา         

          ธรรมชาติทุกเผ่าบนดอย คนดอยจะสอนวิธีการมากกว่าหลักการ เน้นการปฏิบัติให้เห็นผล เอารูปธรรมว่า ผู้นำบนดอยส่วนใหญ่จะทอดยาว หมู่บ้านไหนมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ หมู่บ้านนั้นจะมีปัญหา  ผู้นำมีเสถียรภาพสูง ส่วนใหญ่จะฟังจากผู้นำธรรมชาติมากกว่า และส่วนใหญ่จะได้รับจากการคัดเลือกจากความเป็นผู้นำธรรมชาติ

          ธรรมชาติความเป็นผู้นำถูกถ่ายทอดตั้งแต่อายุ 15 ปี ทุกครั้งที่มีการประชุมจะประกอบด้วย ผู้อาวุโส ผู้นำตามธรรมชาติ เยาวชน สตรี จะเสนออะไรก็ได้ ได้สิทธิในการตัดสินใจแม้วาเชาอายุ 15 ปี ได้เรียนรู้การทำงานแบบนี้เรื่อย ๆ

          การสื่อสารแบบผู้ใหญ่ มีจารีตประเพณี ได้รับการยอมรับ

          ในช่วง 25 ปีที่เป็นป่าหัวโล้น มีการปลูกป่าน้อยลง ๆ แต่ด้วยความร่วมมือของชนเผ่า เราเป็นนักทำลายป่าที่ดีที่สุด แต่สร้างป่าได้เร็วที่สุดอย่างเป็นรูปธรรม

          หลายสิ่งที่ทำในพื้นที่ถ้าไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่จะมีปัญหา ยกตัวอย่างกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่ไม่ต้องใช้ป่า

          ช่วงนี้จนถึงสิ้นเมษายน ต้องมีการผนวกการจัดกิจกรรม มีการทำค่ายเยาวชน 5 ประเทศ ทุกกิจกรรมจะมีการสร้างความมีส่วนร่วมเยาวชน เด็กมัธยมในพื้นที่จะมีการรวมตัวกันในนามของ อปท.  แต่ละพื้นที่ต้องเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณี มีปราชญ์ชาวบ้าน สอนการเรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ และเรียนรู้วัฒนธรรมของตัวเอง  การปกป้องป่า การอยู่ร่วมกับสังคมอื่น

          การได้โล่ ได้รางวัลต่าง ๆ ฮั้วได้ แต่ ปลูกป่าฮั้วไม่ได้ สรุปคือผู้นำต้องนำคนปฎิบัติได้ ในพื้นที่นี้คนในพื้นที่ต้องมีส่วนร่วมด้วยกัน

          สรุปคือ ดูตามบริบทพื้นฐาน สิ่งที่เป็นอยู่ และเลือกผู้นำที่สามารถนำอนาคตได้

          พื้นที่ดอยตุงเป็นพื้นที่ที่สมควรให้เยาวชนในพื้นที่อื่นดูงานเนื่องจาก 1. ความแตกต่างทางวัฒนธรรม 2. การปกป้องรักษาธรรมชาติ  3.การดูแลต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ 4. ใครเป็นผู้นำที่ดีจะส่งเสริมสู่อนาคตที่ดี

          ทุกอย่างต้องดูตามสถานการณ์และบริบทพื้นที่

          เรื่องป่าไม้ ใน 1 ปีต้องมีการกำจัดขยะให้ได้ เราต้องมีการดูแลป่าไม้ที่ดี  ทุกรัฐบาลควรดูว่าอะไรคือสิ่งที่ดี ควรให้กำลังใจต่อ

6. ต้องรู้สึกขอบคุณเพราะปลูกป่าคือการสร้างต้นน้ำ เพราะระบบนิเวศทั้งหมดขาดน้ำไม่ได้ การคืนสิ่งที่ลงแรงเป็นสิ่งที่ควรทำ สามารถคืนได้หลายวิธี เราต้องนึกถึงสิ่งที่เห็นว่าที่ผ่านมาทำด้วยความยากลำบาก อีกเรื่องคือการกำจัดขยะ  การดูแลคน 10,000 คน จะควบคุมประชากรในระดับนี้ หรือเพิ่มขึ้น ในด้านวัฒนธรรมที่เข้ามา มีวิธีการอย่างไร ที่จะดำรงอยู่

          ตอบ ประชากร 10,000 คน แต่อยู่จริงไม่ถึง 5,000 คนเนื่องจากมีการส่งเสริมการศึกษาที่ดี คนสามารถประกอบอาชีพที่อื่นอีกหลายที่ สิ่งที่อยากขอไว้คือมีอาชีพแล้วต้องเป็นคนดี และเมื่อมีเทศกาลอยากให้กลับมาและมองภาพเดิม  สร้างรุ่นเยาวชนให้โตไปแล้วฝังในสมองถึงวัฒนธรรม ดั้งเดิม

          คนรุ่นใหม่ ค่อนข้างสบายมากขึ้น เนื่องจากพ่อแม่พยายามผลักดันให้ลูกเรียนสูงไม่ต้องลำบากเหมือนพ่อแม่  สมเด็จย่าเข้ามาทำให้ได้รับโอกาสมากขึ้น  ส่วนตัวเป็นคนไทยลั๊ว ได้รับการศึกษาต่อปริญญาตรีที่ราชภัฏเชียงราย การรักษาวัฒนธรรม เยาวชนยังมีการรวมกลุ่มกันอยู๋ มีการแสดงร่วมกับผู้ใหญ่เช่น ปีตาโขน ตำข้าวลั๊วเป็นต้น

          สื่อสังคมออนไลน์ เข้ามามีอิทธิพลเหมือนกัน คนในพื้นที่ไม่กล้าใส่เสื้อประจำเผ่า แต่พอ Social Media เข้ามา มีการใส่ชุดประจำเผ่า ทุกที่มีงานที่ไหนใส่ชุดประจำเผ่า สิ่งที่เห็นเป็นภัยคือเรื่องการปฏิสังคมมีน้อย ทำให้เกิดการเรียนรู้ไม่ชัดเจน  แต่ Social ทำให้เรามีความภูมิใจในความเป็นอาข่า เป็นไทยลั๊ว  การใส่ชุดอาข่าถือเป็นการให้เกียรติกับคนนั้น ทำให้เยาวชนสามารถสัมผัสได้  แต่ถ้าไม่มีการจัดกิจกรรมที่มีส่วนร่วมจะทำให้ปฏิสัมพันธ์น้อยลง

          ถ้าทุกอย่างนำวิธีการมากกว่าหลักการจะทำให้เห็นผลมากกว่า

7. มี 2 คำที่ขัดแย้งคืออนุรักษ์กับพัฒนา คืออะไร ในฐานะคนรุ่นใหม่และรุ่นเก่า

          ตอบ ในมุมมองอบจ. เป็นการมองแบบเห็นภาพเดียวกันทั้งหมด เช่น สิ่งแวดล้อมถ้าทำเรื่องนี้จะมาดูว่าอะไรคือประโยชน์อะไรคือโทษ ทำแล้วมีผลกระทบต่อใครบ้าง ทุกส่วนต้องมาร่วม ไม่ทิ้งคนใดคนหนึ่งทำ เอาชุมชนมีส่วนร่วม ต้องเอาเขามาอธิบาย ทุกอย่างทำเป็นระบบ เป็นประชาคม ไม่คนใดคนหนึ่งทำ

          เยาวชนมองว่าทุกอย่างต้องไปควบคู่กัน ถ้าพัฒนาอย่างเดียวโดยหลงลืมการอนุรักษ์ก็มีปัญหา เช่นถ้าพัฒนาโดยตอบไม่ได้ว่าเป็นใคร และมาจากอะไร ทุกอย่างต้องทำควบคู่กันไปในอนาคต ต้องทำควบคู่กันไป

          ประเพณี คนในชุมชนต้องอนุรักษ์เอง คือพัฒนาให้ดีขึ้น แต่ต้องมีส่วนร่วมในการักษา  แม้แต่การทำถนน ทุกคนต้องทำเหมือนกันหมด ต้องช่วยกันรักษา ช่วยกันปกป้อง แล้วถนนจะใช้ได้นาน ทำอะไรให้เกิดความคุ้มค่า สมเหตุ สมผล ทำให้เกิดความคุ้มค่า ทำสิ่งใดแล้วพี่น้องประชาชนมีประโยชน์ให้ทำและลุย

ตัวแทนจากกลุ่มสตรี  คุณมยุรา

          ผู้หญิงที่นี่น้อยมากที่จะมาเป็นผุ้นำชุมชน  โดยเฉพาะความเชื่อของคนสมัยก่อนที่ไม่ให้คุณค่ากับผู้หญิง สมัยก่อนผู้ชายนอนสูบฝิ่นอยู่บ้าน ผู้หญิงต้องทำไร่ ทำสวน และไม่ถูกให้ความสำคัญเท่ากับผู้ชาย ผู้ชายมีโอกาสเรียนหนังสือมากกว่าผู้หญิง การทานข้าวต้องให้ผู้ชายกินก่อน ผู้หญิงกินทีหลัง

          ภายหลังจากดอยตุงเข้ามา ผู้หญิงเริ่มมีการศึกษา ได้โอกาสทางการศึกษา ได้อาชีพมั่นคง เป็นข้าราชการ ทางอบต.มีงานให้คนสนใจ คือผู้ดูแลเด็กเล็ก มีความสามารถในการแลงานเย็บปักถักร้อย ขายของที่ระลึก พูดภาษาอังกฤษได้

          หลังจากดอยตุงเข้ามามีการพัฒนาสตรี ให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย มีการอบรมให้ผู้หญิงเป็นช่วง ๆ อบจ. ให้ความรู้โดยการนำผู้นำที่สำเร็จด้วยกันมาให้ความรู้

          การเข้ามาเป็น อสพ. อดีตมีน้อยมากที่รู้ภาษาไทย และรู้หนังสือ คนที่รู้หนังสือคือการเป็นแกนนำ จะขอความร่วมมือให้ไปช่วยในส่วนที่มีล่ามให้ในการติดต่อราชการ

          การเข้ามาเป้นอาสาสมัครช่วงแรกไม่ได้คิดอะไร ถ้าย้อนกลับไปคิดว่ามาถูกทางแล้ว

คำถามต่อ

8. วิธีการอนุรักษ์ภาษาถิ่นทำอย่างไร

          ทุกวันอาทิตย์ที่เข้าโบสถ์จะมีการเข้ากลุ่มเล่นกิจกรรม อีกส่วนหนึ่งคือทุกวันเวลา 6 โมง –ทุ่มครึ่งจะเรียนภาษาจีน

9. ผู้นำโดยธรรมชาติ มีหมอผี และที่สืบสายมา กับผู้นำโดยกฎหมาย ชุมชนจะเชื่อใคร

          ตอบ ส่วนใหญ่ผู้นำโดยธรรมชาติจะเป็นกลุ่มอาวุโส  เริ่มต้นจะยอมนิดนึง เพื่อให้ความเคารพเขา แล้วมาแก้ทีหลังว่าเห็นด้วยหรือไม่ ปรับอย่างไร สรุปคือการทำทุกอย่างต้องให้เกียรติ คือต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา อย่างแท้จริงเป็นอย่างไร เขาอยู่อย่างไร เราต้องอยู่อย่างนั้น เพื่อการให้เกียรติกัน เป็นเสมือนการเข้าถึงใจเขา เราจะทำอย่างไรให้เข้าถึงในใจเขา แล้วจะเรียนรู้ปัญหาต่าง ๆ ในการพัฒนา ถ้าเราไม่สามารถนั่งในใจเขา การพัฒนาก็ไม่ถึง

          สรุปคือ การทำงานทุกอย่างต้องผิดบ้าง แล้วเราจะเรียนรู้ว่าเราผิดขั้นตอนไหน  วัตถุประสงค์การเดินทาง เหตุผลของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทุกคนมีความเก่งไม่เท่ากัน ถ้าในฐานะที่เรารู้ เราต้องไปอธิบายและพยายามเข้าใจเขาจะเห็นผลสัมฤทธิ์มากกว่า

          ผู้นำธรรมชาติเน้นวิธีการมากคือทำเลย ส่วนผู้นำปกครองจะไม่ยุ่ง  วิธีการตัดสินปัญหาต้องเชิญผู้นำอาวุโสมาคุยว่าจะปรับแก้ไขปัญหาอย่างไร ผู้นำธรรมชาติจะชี้ปัญหา เราอาจเป็นคนปรับไปหาเขาเพื่อทำความเข้าใจเขา เพราะเขาไม่รู้ แล้วภายหลังเขาจะปรับมาที่เรา

10. ตอนสูบฝิ่นเป็นอย่างไร และเมื่อสูบแล้วมีปัญหาสุขภาพตามมาอย่างไร    

          ตอบ แต่ก่อนมีแต่ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา ไม่มี่ยาม้า ยาอี แต่ก่อนสูบฝิ่นรักษาโรค สูบไปสูบมาติดฝิ่น สูบฝิ่นแล้วอารมณ์ดี แต่ไม่อยากทำงาน

          การบำบัดฝิ่นยากมาก เวลาพาไปบำบัดกลับมาแล้วอย่าบอกว่าเขาเคยติดยา ให้ทุกคนมองในด้านดี ต้องให้สังคมตั้งระเบียบและทุกคนทำ

คำถาม : การดูงานดอยตุง 2 วันแล้วคิดว่าปัจจัยความสำเร็จคืออะไร

1. การตลาด คือ ทำของมาแล้วผลิตมาแล้วขายได้

2. ฐานข้อมูลที่จริง ที่ลึก ที่กว้าง

3. คนในพื้นที่เกิดความตระหนักรู้ นำไปคิด ชาวบ้านบอกความต้องการชาวบ้าน

4. โอกาสที่ได้รับตั้งแต่เริ่มต้น โอกาสที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

5. โอกาสที่คนพื้นที่จะแสดงความคิดเห็นในส่วนที่ต้องการ และมีการพัฒนานำแนวความคิดไปปรับปรุง

6. ผู้นำต้องมีแผนชัดเจน ทำให้คนที่ตามมองเห็นเป้าหมายทางเดียวกัน

7. วัฒนธรรมที่สร้างให้คนเรียนรู้ และปรับปรุง

8. สินค้าเป็นอัตลักษณ์ของตัวเอง

9. ต้องพัฒนาคน ยึดคนเป็นศูนย์กลาง

10. ความเชื่อมั่น และศรัทธาของผู้นำ ทำให้เป็นแบบอย่าง

11. ตั้งเป้าหมายร่วมกัน

12. ทุกคนทำเป็นหนึ่งหยดน้ำที่สร้างคลื่นตัวเอง ให้เกิดผลกระทบ ทุกคนลงมือทำ

13. บารมีและวิสัยทัศน์ของสมเด็จย่า  “เมื่อเราไม่อยู่แล้วเขาจะอยู่ได้อย่างไร” ต่อเนื่อง ยั่งยืน

14. ต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น

15. คนที่มาพัฒนาเข้าไปในใจของชาวบ้านได้

16. ชาวบ้านชุมชนดูแลกันเอง คือ Empower ให้ชาวบ้านดูแลกันเอง

17. ISO เป็น  Continuous Improvement

18. การจัดสรร Generation ให้เหมาะสม  แต่ละรุ่นมีการปรับบริบทให้เข้ากับเขา

19. การมีทีมเวอร์กที่ดี

20. นำจุดเด่นของพื้นที่ที่มีศักยภาพมาต่อยอด

21. ความอดทน มองระยะยาว เพราะต้องค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลา

22. การเรียนรู้ต่อยอด นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้

23. สูงสุดฟ้ายังน้อมลงดิน การเคารพและให้เกียรติผู้อื่น

24. สร้างความเป็นเจ้าของ Ownership ทำให้เกิดความหวงแหน

25. ธรรมนูญของชุมชนที่สร้างเอง

26. การเอาชนะความท้าทาย ที่สร้างแรงบันดาลใจ ความท้าทายของคนในพื้นที่ที่ช่วยให้พ้นต่าง ๆ

27. สร้างคนให้มี่คุณธรรม มีธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส ทัดเทียมกัน

28. สังคมเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          บทเรียนดอยตุงมีการถอดได้เต็มที่ การทำงานไม่ได้ทำคนเดียว มีตัวอย่าง ให้ศึกษา การดูงานทัศนศึกษา อย่าลืมเก็บเกี่ยวระบบนิเวศรอบ ๆ สถานที่ดูงานด้วย ยกตัวอย่างโครงการผู้สูงอายุ ใช้บ้านพักเขื่อนที่ดีมากในการจัดสรรทรัพยากร

          สิ่งที่อยากให้ดูงานศาสตร์พระราชา เพราะอยากให้ กฟผ.คิดถึงประชาชน  เวลาถอดบทเรียนเพื่อพัฒนางานมี 2 ระดับ

          ระดับที่ 1 คือ เริ่มเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจ อย่างเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เมื่อเข้าใจแล้วจะเกิด Inspiration

          ทฤษฎีวันแรกเป็น Intangible ต้องบ่มมัน และทำให้เป็นธรรมชาติ  วันที่ 25 มีนาคม  ต้องนำเสนอโครงการ

          เข้าถึง คือการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน เป็นส่วนกลางน้ำ เสมือนกับกฟผ. การทำงานไม่ได้นับหนึ่งเหมือนดอยตุงตั้งแต่วันแรก แต่กฟผ.มากลางน้ำ

          เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาคือ การเข้าไปคุยกับเขา ลงไปพื้นที่หรือยัง ยกตัวอย่างเขื่อนสิรินธรโมเดล ลงไปหาชุมชน แก้ชุมชนเหนือเขื่อนอย่างไร กรณีกฟผ.ติดถ้ำ ส่งคนมาช่วยเยอะ เนื่องจากมีวิศวกรรมใต้น้ำ

          ระดับที่ 2 คือ ถอดบทเรียนของ กฟผ.เพื่อใช้การพัฒนา

          ดอยตุงโมเดลเด่นที่ไหน คำตอบคือตอบโจทย์เศรษฐกิจเด่นมาก ถ้าทุกโครงการตอบโจทย์ 3 เสา คือ สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และความมั่นคงได้จะไปรอดอย่างยั่งยืน สังเกตว่าคนในพื้นที่รักโครงการเพราะอะไร

          ยกตัวอย่าง กฟผ.มีชีววิถี 200 โครงการ ก็ขอให้ดึงกลับมาใช้  ทำไมดอยตุงเลือกกาแฟ เลือกแมคคาเดเมีย เพราะความคม

ทุกโครงการในโลกเกิดจาก 2 อย่าง

1. แก้ปัญหา

2. สร้างโอกาส

          ถ้าดอยตุงเริ่มจากปัญหาคนบนดอย คือ เจ็บ จน ไม่รู้ และค้นพบทฤษฎีแก้คือ แก้เจ็บ แก้จน แก้ไม่รู้

          การเขียนโครงการต้องเล่าถึงที่มาของโครงการว่า 1. แก้อะไร 2. ทำไมดอยตุงต้องลงพื้นที่ตลอดเวลา เพราะโลกเปลี่ยนตลอดเวลา เช่นเดียวกับเขื่อนทำไมต้องปรับตัวตลอดเวลา

          ภารกิจของดอยตุงคือการจัดการพื้นที่ให้คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน ดอยตุงแบ่งป่าเป็นป่าเศรษฐกิจ ป่าชุมชน ป่าใช่สอย ให้กลับไปดูโครงการ กฟผ.ตอบโจทย์ความมั่นคงทางพลังไฟฟ้า และเพื่อขีดความสามารถการพัฒนาพลังงานของประเทศเพื่อสร้างความมั่นคงให้คนไทย

          นอกจากทีมแล้ว เราต้องมีพันธมิตรที่ไปร่วม ว่าจะทำธุรกิจให้สำเร็จอย่างไร และที่ยากที่สุดคือ Network เครือข่าย การบริหารเครือข่ายเป็นอิสระ ไม่สามารถชี้นำได้ ซึ่งแม้ว่าเก่งเรื่องทีมเรื่องพันธมิตรแล้วเครือข่ายอาจยังไม่เก่ง

          กลยุทธ์ ต้องปรับเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับเราต้องปรับกลยุทธ์ตลอดเวลา กักเก็บพลังงานและทำให้พี่น้องประชาชนมีความสุข ทำแล้วฝึกคนให้อยู่ร่วมกับชุมชน ตอบโจทย์นวัตกรรม ฝากไว้ใส่ในโครงการ

คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร ผู้จัดการส่วนเผยแพร่องค์ความรู้

          เสริมเรื่องการทำโครงการ ต้องนึกถึงว่า

1. ทำโครงการทำไม

2. ทำอย่างไร มีวิธีการ 1,2,3,…

3. ทำแล้วชุมชน สังคม ได้อะไร

แลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้นำชุมชน และเยาวชนที่สืบสานงานของดอยตุง

บรรยายโดย   คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร ผู้จัดการส่วนเผยแพร่องค์ความรู้


ตอยตุงเมื่อ 30 ปีที่แล้ว

          ภาคพื้นดินคือดอยตุง ภาคน้ำคือใช้ลำเลียง เป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมทองคำ  ใช้ทองคำเป็นตัวซื้อ

          รากเหง้าของปัญหาคือ คน เจ็บ จน ไม่รู้ และคนขาดโอกาส ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี แต่ไม่ดีเพราะไม่มีโอกาสและทางเลือก

พระราโชบายสมเด็จย่า

“คนกับป่าต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างดีอย่างพึ่งพาอาศัย”

“ต้องช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเขาเอง”

“ต้องคิดว่าถ้าไม่มีเราอยู่ เขาจะอยู่ต่ออย่างไร”

“ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเขาเอง”

          การพัฒนาต้องยึดคนเป็นศูนย์กลาง เมื่อสังคมดี เศรษฐกิจดี เขาจะดูแลสิ่งแวดล้อมได้ดี ต้องเริ่มจากการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด การแก้ให้ตรงจุดต้องแก้ให้มีกินมีอยู่

มองคนเป็นตัวตั้ง ถ้าคนดี เศรษฐกิจดี สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี จะนำสู่ความสุขโดยรวม

3 ขั้นตอนสู่ชีวิตที่ดี

1. ขั้นต้นน้ำ คือ ทำอย่างไรให้เขาอยู่รอด

          - ทำให้พ้นจากความอดอยาก

          - ไม่ต้องกู้กิน กู้ใช้

          - มีอาหารกินตลอดปี

          - ทำให้พ้นความเจ็บไข้

          - แต่ยังมีหนี้สินเดิมอยู่

2. ขั้นกลางน้ำ คือ อยู่อย่างพอเพียง ทำอย่างไรให้เขามีกินมีใช้ตลอดปี

          - ใช้หนี้หมด

          - มีรายได้สม่ำเสมอ

          - มีสาธารณูปโภค      

          - มีการศึกษา

          - ชีวิตพอสบายขึ้น

ดูและพัฒนาทรัพยากรในท้องถิ่นให้มั่นคง  สามารถดูแลตัวเอง ช่วยเหลือครอบครัว ใช้หนี้ได้

3. ขั้นปลายน้ำ คือ ทำอย่างไรให้อยู่อย่างยั่งยืน ขั้นสูงสุดคือ

- มีเงินออม

- พัฒนาตนเองได้

- ยืนบนลำแข้ง มีศักยภาพที่ต่อยอดสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ ช่วยเหลือตัวเองได้

- มีภูมิคุ้มกัน

- เป็นเจ้าของกิจการ

สรุปวิธีการทำงานดอยตุง

1. ดอยตุงใช้วิธีการสร้างคนในพื้นที่

          - สร้างความเข้าใจ สร้างทีม

          - ถ้าชาวบ้านไม่ชอบจะเลือกเด็กเกเรมาให้ดอยตุง แต่เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส เพราะเด็กเกเรจะมีความเป็นผู้นำ แค่เปลี่ยนให้นำในทางดี

          - อาสาพัฒนาชุมชน อสพ. คนของเขาจะลึกขึ้นมาทำเอง

2. สำรวจข้อมูลพื้นฐานภูมิสังคม

          - เจ็บปวดตรงไหน ปัญหาตรงไหนต้องแก้ไขให้ตรงจุด

3. Communication Communication and More Communication , Participation Participation and Participation

          - ทุกคนพูดเรื่องเดียวกันหรือยัง

          - ทุกคนต้องรู้ข้อมูลเท่ากันหมด เพื่อให้เห็นภาพเดียวกัน

          - ต้องให้เขามีส่วนร่วม ชวนเขาคิดว่าสิ่งที่ต้องการสิ่งที่เป็นปัญหาคืออะไร ให้ถามกลับว่า ทำไมคิดว่าตรงนั้นเป็นปัญหา ถ้าปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น มีทางออกคืออะไร แล้วเขาจะร่วมคิด และจะร่วมทำ เมื่อทำแล้วเขาจะรู้สึกเป็นเจ้าของ (ต้องดูท่าที อย่าปล่อย สร้างเขาให้เป็นพระเอก)

4. สร้างความเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

          - การเข้าใจมี 3  ส่วน 1. ทีมมองภาพเดียวกันหรือยัง 2. นโยบายองค์กรเข้าใจถ่องแท้ ลึกซึ้งหรือยัง 3. รู้จักเขาดีหรือยัง จะเก็บข้อมูลอย่างไร ถึงรู้ว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง (การทำความรู้จักชาวบ้านเช่นเดียวกับการจีบสาว คือหาข้อมูล ลงพื้นที่ สอบถามอ้อม ๆ แล้วจะได้ข้อมูลบางส่วน และจะรู้ได้ว่าข้อมูลจริง ต้องตรวจสอบ สรุปคือ ต้องมั่นคง ต่อเนื่อง จริงใจ และพิสูจน์ตัวเอง จนเชื่อใจ จนยอมให้คบกัน 4.ทำอย่างไรให้เขายอมรับเรา (ต้องแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของตัวเองด้วย แล้วจะได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ)

          - สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

          - ชาวบ้านเป็นเจ้าของ

- ความต่อเนื่อง

- ปรับตามภูมิสังคม

- บูรณาการทุกภาคส่วน

- ประเด็นร่วม ประโยชน์ร่วม

          - สิ่งสำคัญคือทำแล้วชาวบ้านได้อะไร

4. ใช้วิธีการปลูกป่า จากผิดกฎหมาย เป็นถูกกฎหมาย ได้เรียนรู้เกสรพื้นฐาน และมีเทคนิคในการทำป่าเศรษฐกิจ

5. ดึงความร่วมมือจากหลายภาคส่วนมาช่วย อย่างการตั้งบริษัทนวุติ จำกัด บริษัทที่ทำการบริหารแบบ Social Enterprise กำไรคืนมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเพื่อช่วยชุมชนต่อไป

6. เป็นคนจัดสวน – มีความต่อเนื่อง คือนักท่องเที่ยวมาเมื่อไหร่ต้องเห็นความสวนงาม  Sub contract คือชาวบ้าน ให้ชาวบ้านมารับต้นกล้าจากแม่ฟ้าหลวง แล้วขายให้นักท่องเที่ยวได้ด้วย

7. ยกให้ชาวบ้านเป็นเจ้าของกาแฟ

8. ให้ชาวบ้านมีโอกาสเรียนรู้ เช่น คั่วกาแฟ แมคคาเดเมีย ทอผ้า

9. ต่อยอดสิ่งที่เขาไม่มี สิ่งที่มีทำให้ดีขึ้น สิ่งที่ไม่มีดูให้เต็ม

10. ทำการตลาด 

          พระราโชบายในการพัฒนา “อย่าให้คนซื้อของเราเพราะสงสาร” “ต้องทำให้ได้มาตรฐาน ไม่ให้ขาดทุน”

          คิดให้แตกต่างจากคนอื่น มี่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีให้มากที่สุด ใช้จากสิ่งที่เป็นธรรมชาติ

          ทรัพยากรแต่ละอย่างเกิดขึ้นมาได้ต้องใช้ดินเท่าไหร่ น้ำเท่าไหร่ ทุกอย่างเกิดคุณค่าหรือยัง เพราะเราคิดถึงความคุ้มค่าของเรา

11. สร้างแบรนด์ดอยตุง คือ

          สร้างสรรค์ พอเพียง ยั่งยืน มีศักดิ์ศรี และเป็นต้นแบบ

          ดร.จีระ เสริมเรื่องว่าสไลด์แผ่นนี้เข้ากับ ทฤษฎี HRDS ของ ดร.จีระ คือ Happiness Respect Dignity Sustainability  คือต้องสร้างให้คนมีความสุข มีความเคารพ ให้เกียรติและศักดิ์ศรี และท้ายสุดคือความยั่งยืน เราต้องมีการทำร่วมกันและทำอย่างต่อเนื่อง อยากให้กลุ่มดอยตุงทำอะไรที่ต่อเนื่อง ความรู้สึกที่มีด้วยกัน  ถ้าเราให้เกียรติชุมชนเมื่อไหร่ เขามีศักดิ์ศรีก็จะสำเร็จ

12. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI)

13. พัฒนาต่อเนื่อง : พันธมิตรต่างชาติ

          เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สู่ต่างชาติ ของที่มีคุณภาพ มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรียนรู้จากเขา แล้วเขาก็เรียนรู้จากเรา

          เชิญคนออกแบบจากต่างประเทศมาร่วมกับเรา ให้เขาช่วยออกแบบเป็นเพื่อนกัน

14. ที่สำคัญคือชาวบ้านได้อะไร ต้องตอบได้

          - ความเจ็บของชาวบ้านดีขึ้น คนแก่อายุยืนขึ้น เด็กน้อยลง

          - ความจน รายได้เพิ่มสูงขึ้น คำถามคือทำไมคนต้องเข้ากรุงเทพฯ เพราะไปทำงาน แต่จริง ๆ แล้วคนไม่อยากไป เราผลิตบัณฑิตเพื่ออะไร คำตอบก็คือเพื่อทำงาน ทำอย่างไรให้คนมีพื้นที่ภาคการเกษตร มีความรู้เป็นคนรวยของประเทศ เรียนจบมาแล้วกลับบ้านต้องมีอะไรทำ

15.องค์กรทำธุรกิจเพื่อสังคม

          - เราช่วยเขา ให้เขาช่วยตัวเอง สร้างต้นแบบให้คนอื่น

16. โอกาสทางการศึกษา

          - เด็กเรียนหนังสือดีขึ้น

17. คนกับป่าต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างดี

          - ได้พื้นที่ป่ากลับมา

18. การพัฒนาไม่หยุดยั้ง การพัฒนาไม่ได้หยุดที่เกษียณอายุ

19. เสริมสร้างศักยภาพของคนบนดอยตุง

          - จัดเวทีให้เขาแสดงออกถึงศักยภาพ

          - สีสันแห่งดอยตุง

          - การแสดงของชุมชน อะไรที่มี ทำเอง เอามาขาย

          - การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม

20. สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน

          - มีกฎการใช้ทรัพยากร

          - สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่

21. เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง นักเรียนเป็นศูนย์กลาง

สร้าง “คนดี” - สร้างสรรค์ มั่นใจ คิดเป็น ทำเป็น รับผิดชอบ มีคุณธรรม

          เชื่อมั่นว่าคนเก่งสร้างได้ เชื่อว่าการเป็นคนดีสำคัญกว่า เพราะคนดีจะไปทำอะไรก็ได้

22. การพัฒนาผู้นำดอยตุงรุ่นใหม่

23. ขยายปลูกป่าจากดอยตุงมุ่งสู่ปางมะหัน และปูนะ

          ต่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระองค์ภามาทำต่อ เกิดโครงการร้อยใจรักที่แม่อาย  ท่านประเด็นคือไม่ต้องทำได้หรือไม่ ต้องทำเพราะอะไร และเพื่ออะไร

1)  โครงการปลูกป่าแบบปลูกเสริมที่บ้านปางมะหัส ต.เทอดไทย  อ.แม่ฟ้าหลวง

- ปลูกป่า ปลูกเสริม ให้ป่ามีความหลากหลาย

2) โครงการปลูกป่าแบบไม่ปลูก

- ให้ธรรมชาติเสร้างป่าเอง แต่ไปส่งเสริมอาชีพ ซาน้ำมันและส่งเสริมปศุสัตว์

24. มีดอยตุงโมเดล

25. ขยายไปที่ต่างประเทศ ได้แก่ สหภาพพม่า อัฟกานิสถาน อินโดนีเซีย

          - ทุกคนมีส่วนร่วม คือทั้งรัฐบาลกลาง ผู้นำท้องถิ่น ชาวบ้าน

ยกตัวอย่าง

1. โครงการที่บ้านหย่องข่า รัฐฉาน สาธารณรั่ฐสหภาพพม่า (2545-2548)  

2. โครงการที่อำเภอเยนันซอง สาธารณรั่ฐสหภาพพม่า (2554-2560)  มีปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่หาย ไม่สามารถกักเก็บได้ น้ำเป็นสิ่งมีค่ามากทำเรื่องปศุสัตว์ให้

3. โครงการที่จังหวัดอาเจ๊ะ อินโดนีเซีย

4. ท่าขี้เหล็กที่พม่า

5. โครงการจัดเก็บข้อมูลค่ายพักพิงชั่วคราวตามชายแดนไทย-พม่า (2556-2557) – UNHCR ให้แม่ฟ้าหลวงทำ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ทำโดยใช้วิธีจิตอาสาเหมือนกัน ใช้แท็ปเล็ตในการเก็บข้อมูล

          ดร.จีระ เสริมว่า ควรมีการร่วมมือกันทำ Flagship ระหว่างดอยตุง มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และ กฟผ. คิดว่าควรจะมีการหารือกับทาง ม.ร.ว.ดิศนัดนา ดิศกุล

          กฟผ.ต้องปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง เห็นศักยภาพในการทำงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

          การเรียนรู้ควรเน้นการเรียนรู้แบบ 4L’s คือ มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี การปะทะกันทางปัญญา ถ้าเขาคิด 1,2,3 เราต้องคิด 4,5,6  สร้างชุมชนการเรียนรู้ที่ดี  

          ในอนาคตข้างหน้า ถ้า กฟผ.ร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงช่วยที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ด้วย

คุณนันเสริมว่า ม.ร.ว.ดิศนัดดา  ดิศกุล ทำอยู่โดยใช้สถาบันปิดทองหลังพระในการขับเคลื่อน

26. การเรียนรู้ร่วมกัน

          - การประชุมระหว่างประเทศด้วยการพัฒนาทางเลือก  ตัวอย่างจัดประชุม ICAD 2 มีการจัดดูงานพัฒนาของแม่ฟ้าหลวง หย่องข่า ประเทศพม่า

27. UN Sustainable Development Goals 2016  

          ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีครบทั้งหมด 17 ข้อ เนื่องจากทำทั้งหมดทั่วประเทศ ดอยตุงมีทั้งหมด 16 ข้อ เนื่องจากไม่ได้มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล

28. เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

การร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นดอยตุงโมเดลเพื่อนำมาใข้กับการประยุกต์โครงการนวัตกรรม

โดย คุณถนอม ใจกลาง

    คุณพงศ์ศักดิ์ อบจ.แม่ฟ้าหลวง

การ่วมแสดงความคิดเห็นจาก กฟผ.

คำถาม 1. กฟผ.อยู่ในหน่วยงานที่ต้องเปลี่ยนไป การมาดอยตุงสิ่งที่ได้เห็นคือ 100 รู้สึกตัวเองแค่ 0.1 ชาวบ้านมีภูมิปัญญา มีความตั้งใจ เกิดจากสิ่งที่เขาให้เราให้ การให้เกียรติคนจะทำให้เราได้สิ่งนี้กลับมา

2. จากที่ซึมซับวันที่ 3 ได้รับประสบการณ์ที่ดอยตุงทำร่วม 30 ปี  การสานต่อเพื่อให้ชุมชนยั่งยืนต่อไปต้องมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

คุณพงศ์ศักดิ์ตอบ   

1. การศึกษาพระราชปณิธานต่อไป รุ่นแรกเป็นอาสาสมัครดอยตุง

2.ส่วนที่ทำงานอยู่ ทำงานเป็นอาสาสมัครและจิตวิทยา ในรุ่นอาสาสมัครคนที่ถูกฝึกมา หลักคิดคล้ายกันคือเอาส่วนรวมมาก่อนส่วนตัว อบต.ยกฐานะเมือปี2542 เลือกตั้งปี 2543

          - ศูนย์เด็กเล็ก อสพ. มีทั้งคนในพื้นที่และนอกพื้นที่

          - ผู้ได้รับทุนการศึกษา ปิดเทอมต้องกลับมาช่วยงาน ต้องมีส่วนร่วมรับรู้เหมือนกันหมดยกเว้นมีกิจกรรมมหาวิทยาลัยไม่ต้องกลับมา

          - มีการฝึกอบรมก่อนทำงาน

          - งานสีสันที่จัดตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง มกราคม ให้คนรุ่นหลังมาเรียนรู้ เพื่อให้ขยายต่อได้ มีต้นแบบให้สัมผัสและเรียนรู้จากพื้นที่จริง

          - ข้อมูลเชิงลึกมีมากอยู่ที่แผนกคุณพงษ์ศักดิ์  อย่างปัจจุบันมีปัญหาเรื่องหมอกควัน ที่นี่เห็นไฟป่าเป็นปกติเนื่องจากเป็นวิถีชีวิตก่อน แต่เมื่อมีการปลูกป่ามากขึ้น จะเริ่มมีส่วนร่วมดูแลป่ามากขึ้น

          - คนดอนตุงต้องอยู่ได้และอยู่เป็น เนื่องจากสมัยก่อนดอยตุงมาพื้นที่เป็นเขตอิทธิพลของขุนสา มีกองกำลังภายใน ทหารพม่าขึ้นมาไม่ได้ สามารถมีการฝึกถึงขั้นการวางระเบิดได้  การเข้ามาต้องมีการบอกล่วงหน้าก่อน

3. คำถาม  : สิ่งที่ดูงานในวันนี้ ปลายทางคือความยั่งยืน ทางดอยตุงมีการเรียนรู้ แง่บวก แง่ลบ สู่การปรับแก้ไข อะไรก็ตามเป็นข้อมูลที่เป็นเชิงประจักษ์และส่วนล่างไปใช้ได้ กฟผ.พยายามทำให้ชุมชนเข้าใจ และต้องการยั่งยืน แต่สิ่งที่ลงแรงไป เป็นสิ่งที่เขาไม่อยากได้ ปัญหาคือการไม่สามารถค้นพบสิ่งที่เขาอยากได้จริง ๆ   เรามีนโยบายหรือแนวความคิดเรื่องการปลูกป่าเป็นหลักอย่างไร คิดว่าสามารถไปขยายผลต่อได้ การสร้างคนแบบดอยตุงทำเริ่มจากสิ่งใด คือ เริ่มจากเรา ปลูกจากสิ่งที่เราเข้าใจแล้ว ค่อยไปปลูกเขา  สิ่งที่อยากทำคือท่านผู้นำเปลี่ยนความคิดคนด้วยวิธีใด

คุณถนอมตอบ :  ที่ถามเป็นปัญหาของนักพัฒนาทุกคนคือก่อนลงช่วยชาวบ้าน การทำงานต้องใช้ข้อมูลจริงคือตาดู หูฟัง เท้าเดิน การได้ข้อมูลต้องลงไปในพื้นที่ และลงพูดคุยกับราษฎรว่าราษฎรมีปัญหาอะไร มีแผนที่แล้วจะรับฟังปัญหา

          การพัฒนาดอยตุงไม่ได้พัฒนาอันเดียวระหว่างผลเพื่อความยั่งยืน ไม่ได้ทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

การพัฒนาต้องพัฒนาดิน น้ำ ป่า ต้องทำไปพร้อม ๆ กัน ปัญหาที่จะลงไปคืออะไร เช่นการคุยกับชาวบ้านเรื่องพื้นที่มีปัญหาอะไร เช่น ฝายชำรุด คลองขาด ผู้รับประโยชน์มีกี่คน คือ 6 คน ประเด็นคือทำนิดเดียวแต่จะให้เกิดผลตอบรับกับทั้งหมู่บ้านเป็นไปไม่ได้ เหมือนการเคลื่อนภูเขาน้ำแข็ง

          การทำอาชีพ ต้องมีการศึกษาในพื้นที่ เช่นปศุสัตว์ พืชเกษตร งานฝีมือ เมื่อลงพื้นที่รับฟัง เข้าใจ ตัวนักพัฒนาต้องมองจุดเหมือนให้ต่าง มองจุดต่างให้เหมือน  อย่างเช่น เรื่องน้ำดื่มจะแก้ไขอย่างไร  ประเด็นร่วมต้องใหญ่พอ ถ้าร่วมจะได้กี่คน ผลประโยชน์เอาชาวบ้านเป็นที่ตั้ง มีการดูเรื่องอาชีพ เปลี่ยนทัศนคติ  ทำการเกษตร ปศุสัตว์ ลดค่าใช้จ่าย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          สิ่งที่เห็นคือ Nominee ในเชิงพื้นที่ เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ดอยตุงทำมาก่อนคือ สิ่งที่จะสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้น

          Nominee ของกฟผ.จะเลือกใคร ต้องเลือกบารมีที่สะสมให้เจอ

4. คำถาม : เรื่องเก็บข้อมูลครั้งแรกเรื่องส่งน้ำจนถึงสรุปใช้เวลาเท่าไหร่

          คุณถนอมตอบ เริ่มตั้งแต่การสร้างความเข้าใจ และการอบรมคณะทำงานในพื้นที่ การทำงานถ้าทำคนเดียวทำไม่ได้ ข้าราชการต้องเอาด้วย เจ้าของพื้นถิ่น พื้นที่ต้องเอาด้วย ต้องดูความพร้อม เวลาชาวบ้านกำหนดได้ แต่อย่ายุ่งกับปฏิทินชาวบ้าน แต่เวลาของการปกครองส่วนท้องถิ่น คณะทำงานต้องกำหนดกันเอง ใครที่จะมาร่วมกับเรา และครั้งที่ 3 คือประชุมตั้งแต่อบต.ถึงชาวบ้านเราต้องกำหนดเอง การเก็บข้อมูลอยู่ที่เรา

          คุณนันเสริมว่า การทำงานกว่าจะลงมือทำในพื้นที่ต้องใช้เวลาถึง 2 ปี เริ่มตั้งแต่รัฐบาลกลาง ใช้สถาบันปิดทองหลังพระให้เป็นประโยชน์

          ดร.จีระเสริมว่า ถ้าเรามีพันธมิตรที่เข้าใจเรา และยกย่องให้เกียรติเขา อาจไม่ต้องใช้เงินก็ได้ ในรุ่นนี้ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง  ประเด็นคือขึ้นอยู่กับพลังของเราที่มีอยู่ข้างใน คนในห้องนี้เริ่มเห็นว่าเราเดินคนเดียวไม่ได้ต้องมีพันธมิตรที่ต้องใช้ทฤษฎี HRDS ที่ต้องให้เกียรติยกย่องเขา ทำไม กฟผ.ไม่ทิ้ง Flagship ต่อไว้ การประเมินควรมีการประเมินเรื่องความสำเร็จนอกจากประเมินทางวิชาการด้วย แต่ความสำเร็จเป็นสิ่งที่อยู่ในตัวบุคคล และเป็น Intangible

          ในรุ่นนี้ต้องสร้าง Impact ที่เป็น Flagship ขึ้นมาเรื่องหนึ่ง ถ้ามี Case Study ขึ้นมาและมีสื่อช่วยจะเป็นประโยชน์มาก

          บรรยากาศคือการเรียนในวันนี้มี 2R’s คือมีความจริง และตรงประเด็น แต่สิ่งที่ทำอยู่นั้นมี Impact หรือไม่ที่ชาวบ้านต้องเห็น

5. คำถาม : สิ่งที่อาจารย์จีระพูดตรงกับภารกิจของกฟผ. กรณีที่จะสร้างโรงไฟฟ้าที่กระบี่แต่ทำไม่ได้ มีวิศวกร มีองค์ความรู้ค่อนข้างมาก แต่ไม่สามารถเกิดการสร้างโรงไฟฟ้าได้ ปัญหาใหญ่ที่สุดคือต้องสร้างไฟฟ้าให้ได้ แต่ในเชิงภูมิศาสตร์ ไม่ได้เกิดจากการไม่สร้าง กฟผ.ควรมีความสุขจากเหตุของชาวบ้านด้วยว่าเขามีความสุขแบบนั้น ดังนั้นการตรงประเด็นคือตั้งเป้าว่าจะประสบความสำเร็จ แต่ถ้าไม่สำเร็จจะได้ผลบวกที่เกิดกับชาวบ้านอย่างไร ชาวบ้านมีความสุขอย่างไร และท้ายที่สุดคือ เราจะสร้างอะไรขึ้นมา เช่นการไฟฟ้ารูปแบบอื่นที่เกิดขึ้นที่เขาต้องจัดการด้วยตัวชาวบ้านได้เอง

          คุณถนอม เห็นด้วยกับอาจารย์คือ การที่สมเด็จย่าสอนเรื่อง การทำอะไรต้องแก้ไขความยากจน ถ้าเกิดความต่างระหว่างคนรวยกับคนจนมากจะเกิดปัญหาพูดไม่รู้เรื่อง และเกิดปัญหาอาชญากรรม ดังนั้นต้องแก้ไขที่ความยากจน แล้วจะเกิดความผาสุก  

          อีกเรื่องคือเราไม่ต้องผะวงว่าใช้เวลาเท่าไหร่ เพียงแค่มีหลักการคือ หลักการเข้าใจตัวเราเองว่าทำอะไร และก่อนพัฒนาต้องเข้าใจชาวบ้านว่าเขาต้องการอยู่กินอย่างไร ต้องสร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นให้เขา การลงพื้นที่ คุย คิดร่วม ทำร่วมและเข้าถึงปัญหา ค่อยวางแผนการพัฒนาว่าจะใส่อะไรจำนวนเท่าไหร่

          คุณพงศ์ศักดิ์ เสริมเรื่องกรณีตัวอย่างคือการปลูกป่าที่ดอยตุงมีเงื่อนไขหลายตัวคือ เป็นป่าสนเนื่องจากให้ท่านทรงเห็นด้วย มีการปลูกป่าแบบปลูกเสริม ได้ถามชาวบ้านว่าปลูกป่าอะไรที่กินได้บ้าง มีการกำหนดสี และสุดท้ายคือปลูกป่าแบบไม่ปลูก เรียนรู้จากในหลวง ร.9

          การไปทำโครงการพม่า ใช้เจ้าหน้าที่ดอยตุงเป็นหลักตอนหลังนำปริญญาตรีจากพม่ามาทำแล้วมีการฝึกคนในพื้นที่ ทำให้ดอยตุงเหนื่อยน้อยลง แต่ได้งานเท่าเดิม หรืออาจดีกว่าเนื่องจากเป็นคนในพื้นที่ ปัจจุบันต้องทำงานเป็นทีม

          เรื่อง Database ที่ได้จากพื้นที่จริง ของท้องถิ่นต่าง ๆ ที่มีต้องมีการ Screen ให้ดี ผู้บริหารต้องลงพื้นที่ ลูกน้องที่เข้าออกจะไม่สามารถหลอกเจ้านายได้ เงื่อนไขของพื้นที่ถ้าไม่มี Survey Database จะทำให้โอกาสเกิดล้ม และความสำเร็จมีน้อยมาก เราเป็นผู้ให้ข้อมูลและภาพรวมกลับไปที่ชุมชนว่าภาพรวมเป็นแบบนี้  เรื่องคนมีความเป็นทีมอยู่ และสุดท้ายคือดูภูมิสังคม เพราะถ้ามีคนใดคนหนึ่งไม่เข้าใจ งานจะล้ม ปฏิทินชุมชนมีความจำเป็นมาก และต้องฝึกภาษาง่าย ๆ ต้องให้ชัด อย่าพูดมากอาจเข้าใจผิดได้  เรื่องการแต่งกายสังเกตได้ว่าผู้บริหารทั้งหลายแต่งตัวลูกทุ่ง การลงพื้นที่มีช่องว่างระหว่างชุมชน ต้องดูว่าไปด้วยกันได้หรือไม่ และเวลากฟผ.กับชาวบ้านอาจไม่เหมือนกันก็ได้  เรื่องเวลา กฟผ.กับชาวบ้านอาจไม่ตรงกัน ต้องดูเวลาของเขากับเราให้ดี ต้องปรับฐานให้ตรงกัน

          ระบบร้านทั้งหลายที่จะลงทุนใช้ต้นทุนเท่าไหร่ ทำแล้วได้เท่าไหร่ และชาวบ้านได้อะไรเป็นการตอบโจทย์ชาวบ้าน โอกาสผิดพลาดจะเกิดขึ้นน้อย  รู้เขารู้เรา เข้าใจเขา เข้าใจเรา  หลักคิดจะมีของใครของมัน เราต้องเข้าถึงให้ได้ เจ้านายต้องนั่งพื้น นอนเต้นท์ เข้าห้องน้ำขุดหลุมได้ เราต้องกลมกลืนกับชาวบ้าน และรู้ทันกัน ไม่ได้เรียกคนมาอบรม แต่ไปดูพื้นที่แล้วให้คำแนะนำ  ดอยตุงมีการปรับตัวค่อนข้างสูง

          เรื่องทุนมนุษย์กับการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่พัฒนาไปพร้อมกัน มีการยกระดับเป็นกลุ่มมาสู่การพัฒนาชาวบ้านเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และไปต่อได้อย่างไร

          ภาพรวมของท้องถิ่นจะไม่ดีถ้าความคิดไม่เปลี่ยน  ที่ดอยตุง อบต.มีหลักคิดเรื่องเอาส่วนรวมมาก่อนส่วนตัว ไม่มีข้อร้องเรียน มีการเปิดเผยเรื่องงบประมาณทั้งหมด คุณภาพต้องมาก่อน

          รู้จุดเดียวไม่พอ ต้องมีพันธมิตรและต้องแลกเปลี่ยนกัน ต้องมีตัวควบคุมในการทำงาน สังคมจะเป็นตัววัดทั้งหมด

          ดอยตุงที่ผ่านมาไม่ใช่สำเร็จทั้งหมดเช่น ตัดถนนใหญ่เกินไปก็ทำให้ดินสไลซ์ ป่าไม้สนจะทำให้ไม่มีเพื่อนเนื่องจากสัตว์จะไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้านหมด  เงินออมเพิ่มขึ้นจะเป็นตัวรับประกันว่าความเสี่ยงน้อยลง

          การปลูกป่าเศรษฐกิจช่วงแรกก็มีการปรับแก้ไขตลอด อบต.ก็เช่นเดียวกัน ถ้าใครไม่อยู่ในกติกา จ่ายค่าปรับตามนั้น เพราะทำหน้าที่ไม่ทำตามหน้าที่ ต้องฝึก อะไรที่มีความภูมิใจใช้ อบต. สุดท้ายดำรงตำแหน่งต้องมีจิตสาธารณะในการทำงานควบคู่ไปด้วย ถ้านายกอบต.กับกำนันไม่ถูกกันจะมีปัญหาในการทำงานกับหมู่บ้าน

          การทำงานที่พม่าไม่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ การทำงานต้องมีการสำรวจ  และเงื่อนไขการทำงานต้องไม่เบียดเบียนใคร และงานต่อเนื่องต้องเสียสละ ไม่ใช่เอาวันหยุดเป็นปัญหาในการทำงาน ไม่เช่นนั้นงานจะขาดตอนและเดินหน้าต่อไม่ได้ ต้องมีการบริหารจัดการภายในและเอาข้อมูลมาให้ใช้

          เชิญผู้นำชุมชนมาให้ข้อมูล  Database จะมีส่วนช่วยให้การตัดสินใจมากขึ้น แต่จะมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ 

สรุปรายงานสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน “ดอยตุงโมเดล” สู่การปรับใช้เพื่อการพัฒนา

วันที่ 25 เมษายน 2562

คุณนำพล โพธิวงศ์

ศาสตร์พระราชาเป็นการเชื่อมโยงระหว่างพระราชากับประชาชน

มีการแปรมาเป็นแนวปฏิบัติด้วยการเข้าใจประชาชน มีการทำให้ประชาชนเข้าใจง่าย เข้าใจสภาพความเป็นมนุษย์ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เข้าใจภูมิสังคม แล้วจึงเข้าถึงปัญหา จากนั้นปฏิบัติและพัฒนา

ต้องชนะเล็กๆก่อน

ที่ดอยตุง การนำศาสตร์พระราชามาใช้ เรารู้จักงานดอยตุงเมื่อเป็นรูปร่างแล้ว

หลังจากดูงาน ดอยตุงเคยเป็นเขาหัวโล้น ต้องมียุทธศาสตร์ ก่อนจะมีต้องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

สิ่งสำคัญคือ ผู้ปฏิบัติ เข้าใจยุทธศาสตร์ เวลาเข้าไปในแต่ละพื้นที่ ก็ไม่ทำแบบเดียวกัน ต้องลงพื้นที่ ให้คนพื้นที่ระบุปัญหา

ความสำเร็จของดอยตุงคือ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ การปฏิบัติที่เกิดผล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้สิ่งที่เราคาดไม่ถึง เป็น Emerging New Knowledge เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ยังมองไม่เห็น ต้องรวมพลังแล้วนำไปใช้กับองค์กร ปัญหาคือ เรียนแล้วกลับไปอยู่สภาพเดิม

ควร focus สิ่งสำคัญแล้วเอาชนะอุปสรรค

ปัญหาคือ ชุมชนไม่ได้มองกฟผ.เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

ไม่ใช่ความผิดของกฟผ. แค่เป็น victim of success

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ปีนี้ ท่านเรียนรู้เข้าไปหาชุมชน เก็บเกี่ยวทุกรายละเอียด

คุณสมปอง บุณยโยธิน

จุดของดอยตุงคือ ยึดคนเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่แค่คนในชุมชนรอบดอยตุง หมายถึง คนที่เข้าไปขับเคลื่อนโครงการด้วย ถ้าไม่ลงมือทำจริงอย่างต่อเนื่อง จะไม่สำเร็จ

คนในชุมชน สมเด็จย่ามองว่าจะอยู่รอดอย่างไร ต้องทำให้เขามีกิน มีสัญชาติ เดินทางได้ถูกต้องตามกฎหมาย สร้างความไว้ใจ

การปรับใช้ ต้องปรับตัวให้เข้ากับชุมชน

คนกฟผ.ต้องเปลี่ยนแปลงเร็วให้เข้ากับเหตุการณ์

คนในชุมชนรวมกลุ่มเหนียวแน่นรักษาวัฒนธรรม พัฒนาถ่ายทอดสู่รุ่นหลัง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดอยตุงเน้นคนเป็นศูนย์กลาง แต่ต้องมียุทธศาสตร์ด้วย

คุณวิภาพรรณ หลงอารีย์

ทำไมดอยตุงคิดอะไรแบบไม่มีการสูญเสีย ใช้ประโยชน์จากกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ใส่ใจทุกขั้นตอน งานมีคุณภาพมาก เป็นที่ยอมรับของโลก ทุกขั้นต้องผ่าน QC อยากให้ใช้กับองค์กรเรา

ควรมองสิ่งต่างๆอย่างละเอียด มีการพิจารณาตรวจสอบการทำงานเข้มข้น

ต้องเข้าสู่ Lean Process

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ต้องทำงานแบบเมล็ดกาแฟที่เพิ่มคุณภาพด้วย

คุณบุญมา พูชิน

ขอบคุณที่ได้จัดหลักสูตรพาไปดูงานดอยตุง เป็นการเปิดโลกทัศน์

ความประทับใจ จากที่ประธานเน้นเรื่องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

ความสำเร็จต้องระเบิดจากข้างใน ต้องทำให้ทุกคนเข้าใจ

วิทยากรดอยตุงบอกว่า ความสำเร็จต้องเริ่มจากวิสัยทัศน์สมเด็จย่า ปลูกป่าที่ดอยตุง ช่วยให้เขาช่วยเหลือตนเองได้ ทำให้เขาอยู่รอด พอเพียงและยั่งยืน มีการต่อยอดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทุกส่วนต้องสร้างมูลค่าเพิ่มทำให้อยู่รอดได้ มีการลดขยะแล้วนำไป Recycle จนทำให้สิ่งแวดล้อมในดอยตุงไม่สูญเสีย

รากเหง้าปัญหามาจาก เจ็บ จน ไม่รู้

เริ่มจากการปลูกป่า มีการปลูกคน หล่อเลี้ยงผู้นำ มีผู้นำธรรมชาติไม่ใช่ทางกฎหมาย

ในเรื่องความยั่งยืน มีการนำเด็กอายุ 15 ปีไปเป็นผู้แทนประชุม ทำให้ได้เรียนรู้มากขึ้น

ต้องทำให้คนเห็นไปในทางเดียวกันและเป้าหมายจะประสบความสำเร็จ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

มีหลายท่านบอกว่า อยากให้คนรุ่นใหม่ได้มาดูงานโครงการดอยตุง

ถ้าได้ไปดูงาน คนรุ่นใหม่ก็จะเป็นกำลังสำคัญให้กฟผ.

ทุกเรื่องในโลกมาจากการแก้ปัญหาและแสวงหาโอกาส

ทุกคนเข้าใจและเข้าถึงแล้ว เหลือแต่การพัฒนา

คุณนำพล โพธิวงศ์

อาจารย์ได้ถ่ายทอดความตั้งใจและมุ่งมั่น มีเทคนิคเสริม เน้นความจริง ตรงประเด็น

อาจารย์ย้ำว่า Why สำคัญกว่า What and How และการเรียนรู้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดเวลา

ผลงานการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานขับเคลื่อนองค์การยุค 4.0

คุณนำพล โพธิวงศ์

หลังจากได้เรียนรู้กระบวนการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงมีการทำโครงการ มีฐานการคิดพิจารณาจากทรัพยากรกฟผ.ที่มี มีความหลากหลาย มีการบูรณาการร่วมกันในภายหลัง เชื่อมโยงโดยไอทีเปิดให้ประชาชนได้เข้าถึง

กลุ่ม 1 เสนอโครงการ EGAT e-COMMART

เดิมดูโครงการโรงก๊าซชีวมวลแต่ใช้เงินมาก ต้องใช้พลังผลักดันสูง จึงคิดทบทวนโครงการแล้วเสนอ EGAT e-COMMART

กรอบแนวคิด

กฟผ.มีพื้นที่ปฏิบัติการทั่วประเทศ

เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน

ใช้หลักภูมิสังคม เพิ่มโอกาสให้ชุมชนมีรายได้ พึ่งพาตนเองได้ เริ่มจากจุดเล็กๆก่อน

หลักความจริง ตรงประเด็นและเคารพชุมชน

ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี

วัตถุประสงค์

ธุรกิจ Online

• ขยายฐานการตลาด

ผลิตภัณฑ์/บริการ จากชุมชน

วิธีดำเนินงาน

1.สร้างทีม สำรวจการทำความเข้าใจ

2.สร้างความเข้าใจกับประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เพื่อทำธุรกิจออนไลน์

3.ทดลองใช้ระบบ เพื่อพัฒนาระบบ

4.ประชาสัมพันธ์โครงการ

5.ติดตามประเมินผลโครงการ

แหล่งงบประมาณ

งบ CSR 900,000 บาท

ผู้รับผิดชอบ

ฝ่าย CSR กฟผ.แต่ละภูมิภาค

ฝ่ายจัดการความยั่งยืนสำนักงานใหญ่

ผู้สนับสนุน

CAT สนับสนุน Application

กฟผ.เป็นเจ้าของโครงการ

กสทช.ให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานและบริการสังคม ทำโครงการอินเตอร์เน็ตชายขอบ

วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ชุมชน

กระทรวงดิจิทัล

ไปรษณีย์ไทย

การประเมิน

ความสะดวกใช้บริการ พฤติกรรมผู้บริโภค รายได้ชุมชนที่เพิ่มขึ้น

ประโยชน์

ส่งเสริมนโยบายรัฐ

สร้างเครือข่ายภาครัฐ

สร้างการยอมรับจากชุมชน

สร้างงานและรายได้ให้ชุมชน

อนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชน ส่งเสริมความยั่งยืน

กลุ่ม 2 เสนอโครงการ EGAT Golf All Tournament

หลักการ

Less is More. มาจากการออกแบบ ทำสิ่งเรียบง่ายให้มีประโยชน์สูงสุด ขอบคุณดร.เกริกเกียรติที่ให้แนวคิดนี้

เป็นที่มาของโครงการนี้

กฟผ.มีสินทรัพย์มาก แต่ยังไม่มี Value

เริ่มจากการสำรวจสนามกอล์ฟที่กฟผ.มี พบว่า มีทั่วประเทศ จัดแข่งทั่วประเทศได้

ผลประกอบการปัจจุบันของสนามกอล์ฟขาดทุน เน้นการกุศล มีต้นทุนคนในพื้นที่ ค่าจ้างเหมาใช้คนในพื้นที่แต่อุปกรณ์เป็นของกฟผ.ทั้งหมด ทำให้คนพื้นที่มีรายได้ กฟผ.ขาดทุนแต่คือกำไรของชุมชน

กฟผ.กำลังจะปรับเป็นโรงไฟฟ้าเพื่อการท่องเที่ยว และมีการจัดแข่งกอล์ฟ ต้นทุนจะไม่เพิ่ม แต่ 3 ปีหลังจากนั้น กฟผ.จะมีรายได้จากสนามกอล์ฟแบบได้กำไรและอยู่ได้ จะมีการให้บริษัทอื่นมาจัดแข่งกอล์ฟในสนามของกฟผ.

ในอนาคต กฟผ.จะจัดแข่งกอล์ฟระดับภูมิภาคและประเทศ จะมีการรับสอนเยาวชนเล่นกอล์ฟ

จะมีการจัด tournament ทุกสนามทั่วประเทศ และจะมีกำไรมาปรับปรุงสนามเป็นมาตรฐานระดับโลก และจัด tournament ใหม่ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ หลังจากการแข่งขันจะมีกาล่าดินเนอร์ มีชาวต่างชาติมาดูวัฒนธรรมท้องถิ่น ทำให้ชุมชนมีรายได้ด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ น่าสนใจ

ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทั้งสองโครงการนี้ค่อนข้างจะแปลก

โครงการแรกเป็นการขายสินค้าออนไลน์ อีกโครงการเป็นเรื่องกอล์ฟ

เรื่องนี้บางคนคิดว่าเป็นไปไม่ได้เพราะโครงสร้างไซโล แต่เริ่มโครงการแบบนี้ดี มาจากตัวท่าน

ชอบที่ทั้งสองโครงการได้ไปเป็นพันธมิตรกับคนนอก ถือเป็นแนวโน้มในอนาคต

โครงการแบบนี้สอดคล้องวัฒนธรรมกฟผ.หรือไม่ เรื่องดิจิตอลและกอล์ฟมีมืออาชีพทำอยู่มาก

สนามกฟผ.ก็ทำให้ดีได้ การพัฒนามาตรฐานสนามที่จะไปสู่ระดับโลกจะมีอุปสรรคบ้าง เห็นด้วยที่เริ่มจากสิ่งที่มีไปสู่ระดับโลก

อาจไปดูตัวอย่างธงชัย ใจดีไปนำสนามของทหารมา และเขามีมูลนิธินำสนามมาเล่น

ต้องเข้าไปรู้จักสมาคมที่ทำเรื่องกอล์ฟ

กอล์ฟเป็นกีฬาคนรวย อยากให้คนยากจนได้เล่นกอล์ฟด้วย ถือเป็น CSR ได้

ขอชมเชย โครงการนี้เป็นไปได้ แต่มีคู่แข่งเป็นทหาร ควรจับมือกับทหาร

อาจจะร่วมมือกับสิงห์และช้างด้วย

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ส่วนที่ชอบ

1.ทั้งสองกลุ่มมี passion ฉันทะ อยากทำ ทำให้สำเร็จไปครึ่งหนึ่ง เป็นข้อดี

2.การไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม มีวัตถุดิบ

3.มีความแปลก น่าสนใจติดตามดูต่อ ต้องทำตัวเชื่อมกับพันธกิจหลักให้ได้

ข้อเสนอแนะ

ทั้งสองกลุ่มควรทำเป็นโครงการนำร่องก่อน ต้องถอดบทเรียนมาก ต้องมีคณะกรรมการ Steering Committee

ตั้งเป็น Prototype ทำไปแก้ไปเหมือนโครงการพระราชดำริ  แล้วทำเป็น business canvas model

Experience Knowledge Management ทำไปถอดบทเรียนไป

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

โครงการดีทุกเรื่อง แต่ยังไม่ได้ลงลึก

ตอนแรกศูนย์ราชการขาดทุน เพราะยังไม่สามารถหารายได้ได้

ผู้จัดการโครงการต้องคิดการใช้ประโยชน์พื้นที่ จะเพิ่มมูลค่าอย่างไร และเพิ่มรายได้ให้ชุมชนอย่างไร

คุณสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน

ภูมิใจกับกฟผ.มาก

จะสร้าง 3V’s อย่างไร

สนามกอล์ฟมักถูกหน่วยงานอื่นใช้ฟรี

เรื่องการแข่งขันระดับโลกเป็นความท้าทาย

แผน 10 ปียาวเกินไป เพราะมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำและผู้ปฏิบัติงานหลายรุ่นแล้ว

ในอนาคตสนามอาจเปลี่ยนเป็น VR และ AR

ควรมีการประชาสัมพันธ์ทำเรื่องกอล์ฟกับใคร

ส่วน EGAT e-COMMART เป็นเรื่องที่ดี ต้องมีสินค้าที่จะขายอย่างชัดเจน

ต้องดูเรื่องกฎหมายด้วย

สิ่งสำคัญคือการบูรณาการทุกโครงการ

ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ที่พบกันในวันนี้ สิ่งที่พูดเป็น 2R’s: Reality ความจริงที่ต้องจัดการการเปลี่ยนแปลง และทำอย่างไรให้สำเร็จ

จากการที่ได้อยู่ในโครงการนี้และมีพันธมิตรมากขึ้น

วันนี้มีความสุขมาก มีโครงการที่มีโอกาสเป็นไปได้

รุ่นนี้เสนอโครงการแล้วควรทำต่อ อาจจะมีการนำคนรุ่นใหม่ของกฟผ.มาดูงานและมาพบปะกันแบบ reunion ปลายปี

ความสำเร็จของคนไม่ได้อยู่ที่ How to แล้ว สำคัญที่ Implement

วันนี้ความไม่แน่นอนทางการเมืองกำลังจะมา

คุณศุภนาฏ ล้ำเลิศ

EGAT e-COMMART ถ้านำสิ่งที่อยู่ในตลาดกฟผ.ไปอยู่ใน e-COMMART ก็จะขายได้ทุกวัน

สิ่งสำคัญต้องทำให้ชุมชนอยู่ได้

เรื่องสนามกอล์ฟ ยังเป็นฝันไกล แต่ที่พักยังไม่ได้คุณภาพ

สิ่งที่กฟผ.ทำสำเร็จ คือ จัดแข่งจักรยานที่เขื่อนภูมิพล

SCG สร้างโรงเรียนสอนแบดมินตัน แต่เป็นแบบปิดทองหลังพระ

ถ้าจะสร้างนักกอล์ฟเยาวชนให้เป็นระดับ ต้องมีการลงใจมากกว่าลงเงิน

ตอนที่กฟผ.ทำเรื่องกีฬายกน้ำหนัก ต้องร่วมมือสมาคม

อาจจะเสนอโครงการผ่านสายรอง แล้วจะมีการคัดเลือกโครงการ แล้วรับสมัครเด็กมาช่วยทำโครงการให้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ท่านให้ความคิดเฉียบคม เน้น 2R’s แนะแนวทางให้ด้วย

ต้องนำแนวคิดดร.เกริกเกียรติมาคือ คิดแบบเด็ก ทำแบบวัยรุ่น มีเหตุมีผลแบบผู้ใหญ่

กลุ่ม 3 นำเสนอโครงการ EGAT Eco Tourism & Forestation (การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูป่าผสมผสานตามแนวทางวนเกษตร)

1.กรอบแนวคิด หรือ ที่มาของโครงการ :

-เนื่องจากปีนี้เป็นปีมหามงคล พิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 จึงต้องการทำโครงการเฉลิมพระเกียรติในพื้นที่ "เขื่อนวชิราลงกรณ์" ซึ่งเป็นพระนามาภิไธย

-การจัดโครงการ EGAT Eco-tourism & forestoration เพื่อสร้างจิตอาสา รวมฟื้นฟูป่าเฉลิมพระเกียรติตามแนวทางจิตอาสาพระราชทานของ ร. 10 เป็นแผนหลัก

-การเพิ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Egat- Eco tourism) ชมเส้นทางธรรมชาติ เป็นกลยุทธ์ (strategy) ในการสร้างความสนใจ การสร้างจิตอาสา การหารายได้อย่างยั่งยืน และเป็น impact ให้โครงการนี้ยังดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ระหว่างที่รอให้ป่าฟื้นฟูได้สำเร็จตามเป้าหมาย เพราะเป็นโครงการที่ต้องใช้เวลา และความอดทน

2.หลักการและเหตุผล

-เป็นการพัฒนางานที่ กฟผ.ได้ริเริ่มไว้ดีแล้ว คือ โครงการชีววิถี เพราะ Forestoration หรือ Forest Biology เป็นแนวทางการฟื้นฟูป่าแบบ "วนเกษตร" ที่ผสมผสานป่าไม้ดั้งเดิมกับพืชเศรษฐกิจ เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแบบธรรมชาติฟื้นฟูธรรมชาติ เป็นแนวทางเดียวกับโครงการชีววิถี

-เป็นโครงการซึ่งต้องการแก้ปัญหาความล้มเหลวของการปลูกป่าในพื้นที่ ซึ่งเคยดำเนินการมาแล้ว โดยจะใช้แนวทางป่าผสมผสานของดอยตุงโมเดล หรือประยุกต์จากการปลูกป่าห้วยเขย่งของ ปตท. ฯลฯ

-เพื่อพัฒนางานด้านสังคมและวัฒนธรรมของ Egat เพื่อให้ชุมชนในละแวกเขื่อนวชิราลงกรณ์ ได้ร่วมทำโครงการนี้ สร้างและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีความรักบ้านเกิด อยู่ในพื้นที่ได้ ไม่ย้ายถิ่น

3. กิจกรรมและขั้นตอนการดำเนินงาน

กิจกรรมหรือขั้นตอนการดำเนินงาน คือการบรรยายลักษณะงาน กิจกรรม หรือภารกิจซึ่งจะต้องปฏิบัติในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

ในเบื้องต้นหน่วยงานที่รับผิดชอบ หรือหน่วยงานที่ได้รับดำเนินการต้องตั้งคณะทำงาน เพื่อให้มีอำนาจในการดำเนินการ มีความรับผิดชอบโครงการ

และเพื่อให้ได้ข้อมูลจริง ครบถ้วน ตามแนวทางดอยตุงโมเดล กิจกรรมที่ต้องดำเนินการมีดังนี้

1. ลงพื้นที่สำรวจชุมชน

2. ให้มีเสนอทำงานวิจัยด้านเชิงอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า โดยพิจารณาจัดประกวดหัวข้อวิจัย ที่มีข้อมูลและแนวทางปฏิบัติที่เป็นไปได้ เพื่อรับทุนวิจัยของ กฟผ. (เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าทางการสร้างสรรค์ และความร่วมมือทางวิชาการ ในโครงการนี้)

3. คือการวางแผนร่วมกับชุมชน เพื่อให้ร่วมปลูก ร่วมรักษา โดยตอบแทนด้วยค่าจ้างปลูกป่า และรับประโยชน์จากการเก็บพืชผลทางการเกษตร การ

แบ่งปันพื้นที่เลี้ยงปศุสัตว์ โดยเน้นโครงการชีววิถีของ กฟผ.หรือโครงการนวัตกรรมพลังงาน ตามแนวทางดอยตุงโมเดล

4. โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน.รอบเขื่อนวชิราลงกรณ์ ตามเส้นทางชมธรรมชาติ (Egat- Eco tourism) และ/หรือ

- จัดการศึกษาดูงานในศูนย์เรียนรู้ชีววิถี ในชุมชนแต่ละพื้นที่รอบเขื่อนและรอบโรงไฟฟ้าเป็นหลัก

- ศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ในโครงการชีววิถี เช่น ผักอินทรีย์ ปลอดสารพิษ การประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอนุรักษ์ในพื้นที่ เช่น ปูราชินี โครงการปศุสัตว์หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโครงการที่โดดเด่น

4 ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

- เพื่อเอื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้ชุมชน ให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้ และมีชุมชนช่วยดูแลป่า

- เพื่อให้เขื่อนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การจัดการศึกษานิเวศน์วิทยาในพื้นที่ การอนุรักษ์พันธุ์พืช/ปูราชินี

การศึกษาวิจัยการปลูกป่าแบบ"วนเกษตร" ขยายการเรียนรู้ ชุมชนชีววิถี ฯลฯ

- เป็นแหล่ง “ช็อป ชิล พักผ่อน”ตามโครงการชีววิถี ชีวิตชุมชน ที่พักของชุมชน อาหารพื้นบ้าน Homemade ที่มีเอกลักษณ์ ช็อปสินค้าชุมชน

กลุ่ม 4 นำเสนอโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากชุมชนสู่อุตสาหกรรมผู้ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน

กรอบแนวคิด

โครงการนี้ทำให้ชุมชนมีรายได้จากสายส่ง ชุมชนผลิตพลังงานได้ โดยกฟผ.เป็นผู้ส่งพลังงานให้อุตสาหกรรม

การดำเนินการ

กฟผ.จะตั้งบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมรับซื้อพลังงานจากชุมชนแล้วขายไปให้อุตสาหกรรม

ได้แนวคิดจากดอยตุงที่นำเปลือกแมคคาเดเมียมาผลิตไฟฟ้า

บริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมนี้จะมีกลุ่มสหกรณ์ชุมชนมาร่วมเป็นเจ้าของ

ใช้นวัตกรรม Block Chain ซื้อขาย

กฟผ.ศึกษาความเหมาะสมของทรัพยากรในแต่ละพื้นที่สำหรับผลิตพลังงานโดยสร้างโรงครูเป็นโรงต้นแบบ

ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้ากฟผ.ไปร่วมมือกับชุมชน ใช้สายส่งไปทำประโยชน์ได้เป็นเรื่องดี แต่เรื่องนี้เป็นรายย่อย ต้องเข้า Grid ใหญ่ด้วย เรื่องนี้ถือเป็นความหวังของประเทศ

ชุมชนเป็นเจ้าของไฟฟ้า กฟผ.เป็นเจ้าของเทคโนโลยี ทั้งสองฝ่ายไปด้วยกันด้วยดี

สิ่งสำคัญที่น่ากลัวคือ Politics Disruption เป็นอุปสรรคไม่ให้ทำ ต้องระวังผลประโยชน์ทับซ้อนของนักการเมือง

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

จากมุมมองวิทยาศาสตร์ มักคิดเชิงปริมาณ ตอนหลังเน้นด้านชีววิทยา

กลุ่ม 3 ต้องทบทวนบทบาทกฟผ.ในด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ เรื่อง ecotourism อาจจะเชื่อมกับโรงเรียนกอล์ฟได้

ในอีก 3-5 ปี นโยบายกฟผ.อาจจะเปลี่ยนไป ในอนาคต regulator อาจจะเป็น Facilitators

กฟผ.อาจจะคิดว่า จะทำอะไรเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ต้องมองจากมุมชาวบ้านให้มากขึ้น

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

ต้องระวังเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนที่ NGOs มีร่วมกับธุรกิจต่างชาติ

ต้องพิจารณาความยั่งยืนของพลังงานชีวมวล

การบริหารจัดการทำได้หลายแบบคือ ทำเอง จ้าง หรือกินหัวคิว

อย่าทำในสิ่งที่ทำไม่ได้ ต้องศึกษาและเลือกทำในสิ่งที่เหมาะสม

คุณสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน

กลุ่ม 3 และ 4 ทำโครงการได้อยู่แล้ว

อาจจะขยายจากธุรกิจหลักไปสู่คุณภาพชีวิต

อยากให้ใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติม เป็นชีวเทควิถี

เรื่องฟื้นฟูป่า ต้องมีไฮไลต์ ใช้เทคโนโลยีสื่อสาร

กรณีนอร์เวย์ ทำกระชังแซลมอน เป็นโมเดลที่น่าสนใจ นอกจากนี้มีโครงการโรงแรมใต้เขื่อน

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

จากการไปเมียนมา ที่ขาดไฟฟ้า กฟผ.เอาโรงไฟฟ้าให้เขาจึงจัดซีเกมส์และ World Executive Forum ไปให้ ทำให้ได้ความคิดอยากเสนอให้กฟผ.ทำ Mobile Power Plant

ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้อง empower ให้เด็กกล้าพูด ต้องมีความเข้าใจเด็ก

ต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดประโยชน์ แต่ต้องมีความอดทนในการเปลี่ยนแปลง

กลุ่ม 5 นำเสนอโครงการบ้านสุขภาพปูราชินีเขื่อนวชิราลงกรณ

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 จึงต้องเตรียมความพร้อมในการสร้าง “สังคมผู้สูงอายุที่มีพลัง”ใน 7 มิติ ประกอบด้วย ความสุข สุขภาพ ที่อยู่อาศัย การออม นวัตกรรม สภาพแวดล้อม และความมั่นคง เพื่อยกระดับคุณภาพของผู้สูงอายุให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

กรอบแนวคิด

• AGING SOCIETY ก้าวสู่สังคมสูงวัย ไอเดียดี โอกาสมา (Value Creation)

• เริ่มจากแก้ปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสทางธุรกิจ (Value Creation)

• อยู่รอด อยู่อย่างพอเพียง อยู่อย่างยั่งยืน ดูแลสังคมและชุมชนรอบข้าง (Value Diversity)

• สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรที่มีอยู่ (Value Added)

วัตถุประสงค์

กฟผ. ขอมีส่วนร่วมในการนำพาประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งสร้างโอกาสและความมั่นคงให้กับชุมชนโดยรอบ โดยการให้บริการบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติและกิจกรรมต่างๆ ที่เสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ โดยนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาไปด้วยกัน

เป้าหมาย

ระยะสั้น

1.พัฒนาบริการบ้านพักสำหรับผู้สูงอายุโดยใช้เขื่อนวชิราลงกรณเป็นต้นแบบและขยายผลไปยังเขื่อนต่างๆ

2. สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรที่มีอยู่

3. สร้างความมีส่วนร่วมระหว่าง เครือข่ายชุมชน และ กฟผ. เพื่อพัฒนาชุมชมให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน

ระยะยาว

1. สร้างธุรกิจ/บริการใหม่ในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น นวัตกรรมผู้สูงอายุ ที่ปรึกษาด้านการเงิน

2. สร้างธุรกิจ/บริการใหม่ สำหรับทุกวัย เช่น ที่ปรึกษาด้านการเงิน การท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

3. มีเครือข่ายและชุมชนเป็นพันธมิตรที่สนับสนุน กฟผ.

แนวทางการดำเนินงาน

1.จัดทำแผนงาน

2.สำรวจความต้องการผู้สูงวัย

3.สำรวจทรัพยากรที่มีอยู่

4.กำหนดผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ

5.สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน และผู้มีส่วนร่วม

6.ปรับปรุงบ้านพัก สภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก

7.จัดเตรียมความพร้อมของบุคลากร สถานที่ อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์สำหรับให้บริการ

8.สื่อสาร ประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

9.ให้บริการ ประเมินผลปรับปรุงบริการและขยายผล

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ส่งเสริมภาพลักษณ์กฟผ.

2.สร้างรายได้เพิ่ม

3.สืบทอดศิลปวัฒนธรรม

4.ต่อยอดการให้บริการอย่างครบวงจร

5.สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

6.ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

กลุ่ม 7 นำเสนอโครงการบ้านกฟผ.สุขใจ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้บริการดูแลผู้สูงอายุ

2. เพื่อเป็นสถานที่เชื่อมโยงความอบอุ่น-สุขใจ

3. เพื่อพัฒนาระบบบริการ ที่ดีตามบริบทของพื้นที่

4. เพื่อขยายผลสู่พื้นที่ข้างเคียงในการรองรับสังคมสูงวัยที่มีคุณภาพ

5. ตอบสนองยุทธศาสตร์ กฟผ. มิติ G : Growth for Sustainability

มิติ T : Trust and Pride of the Nation

พันธกิจ

เป็นโครงการเชิงนวัตกรรมสร้างบริการใหม่ๆ ให้สามารถดำเนินวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติดั้งเดิม ประยุกต์การท่องเที่ยว และการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ

แผนธุรกิจ โครงการ บ้าน กฟผ. สุขใจ

Key Partners

• รัฐบาล

• โรงพยาบาลชั้นนำ

• ชุมชนรอบเขื่อน

• ททท.

• องค์กรส่วนท้องถิ่น

Key Activities

• ดูแลผู้สูงอายุ ด้านสุขภาพกาย ใจ

รวมถึงการดูแลด้านโภชนาการ โดยผู้

เชียวชาญ

• จัดกิจกรรมสันทนาการ

• การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงโดย

หุ่นยนต์ดินสอ ที่มีระบบแจ้งเตือน

• ระบบจัดเก็บข้อมูลผู้รับบริการ และ

Application ที่ช่วยให้มีการปรับ

บริการให้ตรงความต้องการของลูกค้า

Key Resources

• Platform services

• Resort ที่ประกอบไปด้วยบ้านพักศูนย์

สุขภาพ fitness canteen

meditation center

• เจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุด้านต่างๆ

และชุมชนรอบพืน้ ที่

Value Propositions

• ผู้สูงอายุได้รับการดูแลด้านสุขภาพ

จิตใจ และ ความเป็นอยู่ที่ดี มี

ความสุข ความปลอดภัย มี

มาตรฐานที่เชื่อถือได้

• มีสิ่งแวดล้อม (ระบบนิเวศน์) ที่ดี

• สร้างคุณค่าทางสังคม ชุมชนรอบ

เขื่อน

• ให้ความไว้วางใจต่อญาติและ

ครอบครัว

• ได้รับนวัตกรรมบริการที่ทันสมัย

Channels

• Direct to home

• Social media

• Partners

• Tourist channel

Customer Segments

• ผู้สูงอายุที่มีฐานะดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

Cost Structure

• ค่าปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง ค่าบริหารจัดการ ค่าแรง พยายามใช้คนในพื้นที่

• เครื่องมือเครื่องใช้

Revenue Streams

• ค่าเช่าที่พัก ค่าดูแลผู้สูงอายุ ค่าบริการสันทนาการ

Social & Environmental Cost

ต้นทุนการกำจัดของเสีย

Social & Environmental Benefit

ชุมชนมีรายได้จากการร่วมผลิตสินค้าส่ง Resort รายได้จากค่าแรง ชุมชนท้องถิ่นมีรายได้จากภาษี

สรุปความคาดหมาย ความสำเร็จของโครงการ

• การทำให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดี มีคุณภาพจนสามารถ ดูแลตนเองและผู้อื่นได้

• การผสมผสาน ให้ชุมชน สังคมรอบเขื่อน ใช้คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ธรรมชาติอย่าง

เหมาะสม ให้มีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและความคงอยู่ของวัฒนธรรม

• ทำให้ชุมชนใกล้เคียง มีศักยภาพในการบริการด้านสุขภาพ เชิงวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้น

• กฟผ. ใช้ศักยภาพที่มีอยู่สร้างธุรกิจใหม่ เพื่อความยั่งยืนของชุมชน ดังคำกล่าว

“ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย”

ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ดีใจที่โครงการสองกลุ่มนี้ฉีกแนวออกจากงานหลักของกฟผ. มีทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและทักษะทางเทคนิค เช่น การออกแบบความสะดวกต่างๆให้เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่ตรงประเด็นและตรงตามความต้องการ

ความต้องการแบ่งเป็น 3 ระดับ

1.ควรดูแลผู้สูงอายุของตนเองก่อน กฟผ.จะมีคนเกษียณจำนวนมาก

2.ควรพิจารณาไประดับประเทศ

3.ควรพิจารณาระดับนานาชาติ เริ่มที่อาเซียน ไปญี่ปุ่น

          ได้เคยไปประชุมตั้งแต่ทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ญี่ปุ่นให้ความสำคัญเรื่องผู้สูงอายุด้วย เขามองด้านบวก แบ่งผู้สูงอายุเป็น 3 ช่วง

65-75 ปี เป็น healthy but still young ยังทำประโยชน์ให้สังคมไทย

75-85 ปี เริ่มมีปัญหาสุขภาพ

85 ปีขึ้นไป น่าเป็นห่วง

          ความคิดของกฟผ.และโครงสร้างประเทศต้องเติมเต็มกัน ผู้สูงอายุสามารถทำงานที่ใช้สมองได้แม้จะมีสุขภาพไม่ค่อยดีก็ตาม

          โครงการนี้มีความสมบูรณ์ มีสถิติประกอบ

          บทบาทของกฟผ.จะเป็นอย่างไรในเรื่องนี้ มีเป้าหมายคือหารายได้หรือดูแลคนเกษียณของกฟผ.ให้ดีก่อน ในอนาคต อาจไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ที่เขื่อน อาจทำที่อื่นด้วยก็ได้ เพราะกฟผ.มีทรัพยากรบุคคลเป็นวิศวกร การเงิน ฯลฯ ก็ทำเรื่องนี้ได้

          Victim of Success ของไทยคือ ผู้หญิงไทยมีความสามารถสูงในการเรียนหนังสือ ครึ่งหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นผู้หญิง ผู้หญิงจึงพึ่งพาตัวเองได้ และไม่มีลูก จากสถิติ คนอายุ 28-32 ปีแต่งงานแล้วมีลูกคนเดียว หรือแต่งงานช้า

          ขอชื่นชมที่เลือกหัวข้อที่มีความสำคัญมาทำ แต่ reality เปลี่ยนแปลงเร็วมาก

          ขณะนี้ประเทศไทยมีคนตายมากกว่าคนเกิด ในรุ่นลูก ประชากรไทยจะเหลือ 35-40 ล้านคน ภายใน 20 ปีชาวพม่า ลาว เวียดนามจะมีรายได้เฉลี่ยมากกว่าคนไทย

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

          ดีใจมากและขอชื่นชม กฟผ.สนใจ Go green และ go natural

          การทำเรื่องดูแลผู้สูงอายุ สามารถนำไปใช้ในงานเทคนิคของกฟผ.ได้

          ปัญหาคือ วัฒนธรรมองค์กรยังไม่ได้เตรียมพร้อมเชิงคุณภาพ แต่สังคมที่พัฒนามากก็เน้นเชิงคุณภาพมาก ต้องเปลี่ยนเป็นไม่ใช่วัฒนธรรมองค์กรเชิงกลยุทธ์ ต้องทำไป เรียนรู้ไป ในอนาคต กฟผ. จะไปทำพลังงานชนิดอื่น

          โครงการแบบนี้ต้องทำทันที ถอดบทเรียน เรียนรู้ไป ลอกคราบตัวเองไปเรื่อยๆ แปลงร่างบ่อยๆ

          โครงการนี้มีการใช้ข้อมูล Big Data ที่ดีมาก ตอนนี้ข้อมูลมีความทันสมัยมากขึ้น เวลาทำอะไร ถ้ามีการหาข้อมูลก่อนจะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายลงมาก

กลุ่ม 6  นำเสนอโครงการ EGAT KNOWLEDGE CENTER

ปัญหาคือ การเข้าถึงความรู้ได้ยากเพราะอยู่ในตัวบุคคลและอยู่เป็นแบบไซโล

กฟผ.ทำโครงการมากแต่สังคมไม่ค่อยรับรู้ เวลามีปัญหา ก็ไม่มีพันธมิตรมาช่วย

การใช้ศาสตร์พระราชากับโครงการนี้คือ ถามว่า ทำไม คำนึงถึงทุกมิติ ทำงานให้เกิดความยั่งยืน

เริ่มจากจุดเล็กๆ นำจุดเด่นมาทำให้เป็นระบบแล้วขยายไปสู่สังคม

คนกฟผ.มีความเก่งและประสบการณ์มาก นอกจากมีความรู้รุ่นสู่รุ่น อาจถ่ายทอดไปยังชุมชนภายนอก ระบบใหม่ของโครงการนี้จะทำให้ทุกคนหาความรู้ของกฟผ.ได้แม้ไม่ได้มาที่กฟผ.

ประโยชน์ของโครงการนี้ ทำให้เป็นองค์กรการเรียนรู้ ชุมชนก็รักกฟผ.เพราะนำความรู้ไปถ่ายทอดให้

โครงการนำร่อง

SMART UNERWATER WELDER

• ทักษะการดำน้ำขั้นตอนจนถึงและขั้นสูง

• ทักษะการดำน้ำสำหรับการทำงานเฉพาะอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งงาน

เชื่อม และงานกู้ภัย

กลุ่ม 8 นำเสนอโครงการ Smart EV Powering Battery Services

เป็นโครงการทำแบตเตอรี่เพื่อรถ EV คือ รถเข้ามาที่กฟผ.มีเติมพลังงานไฟฟ้า เข้ามาเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เลย

Key Partners

-บริษัทผู้ผลิตรถยนต์

-บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่

-ชุมชนในพื้นที่ที่ตั้งสถานีบริการ

-หน่วยงานต่างๆของ กฟผ.

Key Activities

-คัดเลือกสถานที่ตั้งหน่วยงานของ กฟผ. ที่จะดาเนินการ

-ติดต่อบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่

ตัวแทนร้านค้าในชุมชนเป้าหมาย

-ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ (Feasibility)

Key Resources

-หน่วยงาน กฟผ. ที่คัดเลือกเป็นสถานีให้บริการ

-ใช้ไฟฟ้าที่ กฟผ. ผลิต มาจาหน่ายโดยตรง

-จัดหา EGAT Battery

-เงินลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท

Channels

-สถานีไฟฟ้าแรงสูง กฟผ.

-ร้านบริการซ่อม เปลี่ยนยาง เติมน้ามันเครื่องในปั้มน้ามันทั่วไป

-ร้านค้าในชุมชนต่างๆ

Value Propositions

ลดเวลาการรอคอยของลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาcharge ณ สถานี Charging & Changing Battery

Cost Structure

-ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานที่

-ค่าติดตั้งอุปกรณ์ในการ Charge Battery

-ค่า Battery

-ค่าจ้างพนักงาน

-ค่าไฟฟ้า

-ค่าภาษี

–ต้นทุนบริการเสริม

Revenue Streams

-รายได้จากสัญญาบริการเปลี่ยนแบตเตอรี่รายปี

-รายได้จากค่า Charge Battery

-รายได้จากบริการเสริม เช่น ร้านจาหน่าย

ของฝาก/ของที่ระลึก, ร้านกาแฟ ข้อมูลแหล่งที่พักของ กฟผ.แก่นักเดินทาง

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

กลุ่ม Knowledge Center มีโครงการน่าสนใจ ถ้าทำให้ความรู้กฟผ.เป็นความรู้กว้างๆ แล้วให้คนนอกสมัครสมาชิกใช้บริการได้

เรื่อง EV น่าสนใจ อาจจะเติบโตในอนาคต

กฟผ.อาจจะไม่ต้องลงทุนมากๆ แต่อาจทำเรื่องการบริหารจัดการ EV ทำให้คนสมัครสมาชิกแบตเตอรี่ มีแอพติดตามบอกว่า แบตเตอรี่เหลือเท่าไร

รายได้ต้องมาทุกนาที อาจจะไปมีรายได้จากสถานีปรับคุณภาพไฟฟ้า ช่วย Supplier recharge

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณจะปรับตัวเข้าหากันทุกที

หัวใจคือ ทำไปถอดบทเรียนไป เป็น learning organization มี after action review หารือหลังจากทำแล้ว

สิ่งที่กฟผ.ทำจะกลายเป็น Adjust system ในอนาคต

ควรศึกษาศาสตร์พระราชาให้ดี ทุกโครงการมีเหตุผล

ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้ เป็นวันที่เราเข้าไปใกล้ความจริงปรับองค์กรกฟผ.ให้อยู่รอด

วันนี้ยังกล่าวถึงการที่กฟผ.พบวิกฤติและจัดการให้ดี ถ้ารวมกำกลังกัน ก็แก้ปัญหาได้

สิ่งสำคัญคือ ทำอย่างต่อเนื่อง เชื่อในสิ่งที่ทำ

วันนี้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้สนุกมาก ทุกประเด็นเข้าเรื่อง ต้องเน้น Why เมื่อเจออุปสรรคแล้ว ต้องสู้

ขอขอบคุณทุกท่าน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

จากการไปดูงานและโครงการ ป่าไม้จะยั่งยืนต้องเป็นป่าผสมผสานเหมือนวนเกษตรที่ชาวบ้านมาใช้สอยได้

การหยุดคิดเป็นระบบ ก็เหมือนการทำโครงสร้างใหม่

ควรฝึกการนำเสนอให้ดี ผู้บริหารต้องนำเสนอวิสัยทัศน์

วันนี้ได้ความรู้มาก ขอบคุณทุกท่าน

กล่าวถึง ความประทับใจ ในนามรุ่น

คุณสมปอง บุณยโยธิน    

ขอขอบคุณที่ทำให้เราได้มาอบรมครั้งนี้ ช่วยจุดประกายความคิด ตอนนี้มีแนวคิดเชิงธุรกิจเข้ามา ได้ทีมอาจารย์มาช่วยให้เราคิดเป็นระบบ แล้วจะนำแนวทางไปใช้ทำงาน ผลักดันองค์กรให้มีอนาคตที่เสถียรภาพ
------------

ลิ้งค์ข่าวประชาสัมพันธ์หลักสูตรศาสตร์พระราชา กับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 รุ่นที่ 3

รายการโทรทัศน์


https://youtu.be/31abj77VYSE?list=PLeFVsQ7Y_Ts4q90JXVBN5QQdxp-nfc4Mm

ที่มา: รายการ สู่..ประเทศไทย 4.0. ตอน ศาสตร์พระราชา กับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 ปี 2

ออกอากาศทางช่อง NBT วันจันทร์ที่ 7 มกราคม 2562 (เวลา 14.05-14.30น.)

https://youtu.be/JBqPtkRFc6I?list=PLeFVsQ7Y_Ts4F6vXqA3Z0Apz5IIxwZR1O

ที่มา:รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 รุ่นที่ 2 

ออกอากาศ : เสาร์ที่ 26 มกราคม 2562 สถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks เวลา 21.00 – 21.30 น.

รายการวิทยุ


https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/3028705137154922/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2562 ทาง FM 96.5 MHz.

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/3049695665055869/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2562 ทาง FM 96.5 MHz.

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/3078382338853868/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2562 ทาง FM 96.5 MHz.

https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/3102045339820901/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 ทาง FM 96.5 MHz.


https://www.facebook.com/dr.chirahongladarom/videos/2311106645799451/

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/348/013/original_20190410173546.wmv?1554892546

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม 2562 ทาง FM 96.5 MHz.


https://www.facebook.com/ChiraHongladarom/videos/3187125944646173/

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2562 ทาง FM 96.5 MHz.


บทความ

https://www.naewna.com/politic/columnist/38851

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริง. แนวหน้า.วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562. หน้า 5

https://www.naewna.com/politic/columnist/38938

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริง. แนวหน้า.วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562. หน้า 5


https://www.naewna.com/politic/columnist/39452

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริง. แนวหน้า.วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562. หน้า 5

หมายเลขบันทึก: 660096เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2019 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2019 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท