แผลกดทับหลังฝ่าเท้า


ผู้สูงอายุ ที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง มักมีปัญหาเรื่องผิวหนังบอบบาง เป็นแผลได้ง่ายเวลาไปโรงพยาบาลตามที่หมอนัด เปลี่ยนจากนอนเตียงมานั่งรถเข็นจากรถเข็น ขึ้นไปบนเตียงตรวจ โอกาสที่ผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่งจะไปครูดโดนกับโลหะหรือแม้แต่ผ้าปูที่นอน แล้วทำให้เกิดเป็นแผล มีความเป็นไปได้มากคุณยายแช่ม อายุ 80 กว่าแล้ว หมอนัดไปตรวจร่างกายตามปกติเกิดการพลิกตัวระหว่างนอนพักอยู่ที่โรงพยาบาล ทำให้เกิดบาดแผลขึ้นที่หลังเท้าเซลล์ผิวหนังของผู้สูงอายุ มีความอ่อนแออยู่แล้ว ประสิทธิภาพในการฟื้นฟูของเซลล์ก็ต่ำโอกาสในการติดเชื้อและเป็นหนอง มีมากกว่าคนหนุ่มสาวงานวิจัยครีมเซรั่มสกัดจากขมิ้น-ไพล ได้ถูกนำมาทดสอบผลกับแผลกดทับในครั้งนี้

คุณหมอและพยาบาลไม่เห็นด้วย คำแนะนำคือให้ล้างน้ำเกลือเท่านั้น แต่ญาติผู้ดูแลคนป่วยต้องการใช้ครีมขมิ้นแผลมีขนาดใหญ่กว่าเหรียญสิบบาท แผลไม่ลึก เนื้อขอบแผลเริ่มตายและเริ่มเกิดหนองผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคือ

  1. อาการติดเชื้อ หนอง อักเสบ จะหายไปใน 1-3 วัน

  2. เซลล์ได้รับการฟื้นตัว และเริ่มสร้างเซลล์ใหม่ได้ใน 15 วัน

  3. เมื่อครีมถูกเข้ากับผิวหนังและแผล อุณหภูมิในร่างกายจะเปลี่ยนสภาพครีมให้กลับเป็นเซรั่มและเซรั่มที่มีโมเลกุลขนาดเล็กมาก จะซึมลงแผลได้อย่างรวดเร็ว และจะสร้างฟิล์มบางๆปกคลุมแผลเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิว

  4. เชื้อราและแบคทีเรียจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้นแผลจึงปราศจากการติดเชื้อ

  5. ถ้าไม่มีการปิดแผล จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

  6. หลีกเลี่ยงการถูกน้ำ แผลก็จะหายเร็วขึ้น

  7. การดูแลรักษาความสะอาดเป็นสิ่งจำเป็น ที่ผู้ดูแลต้องใส่ใจ

หลังใช้ 15 วัน แผลดูดีขึ้นมาก และ 30 วันให้หลัง แผลหายสนิทดี มีผิวหนังใหม่สร้างขึ้นมาปิดเรียบร้อยกรณีนี้เนื่องจากแผลมีขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่ลึก จึงไม่เกิดเลือดซึมออกมาหลังใช้ครีมขมิ้นช่วง 5-7 วันแผลกดทับลักษณะนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก เพราะผิวหนังผู้สูงอายุบอบบาง การครูดกับ เตียง หรือผ้าคลุมเตียง หรือวัสดุอื่นๆทำให้เกิดแผลขึ้นได้ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผล ผู้ดูแลผู้สูงอายุจึงต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ

หมายเลขบันทึก: 660033เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2019 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2019 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นเพียงการบันทึกงานวิจัยส่วนตัว ที่ยังไม่ได้รับการยอมรับใดๆ เนื่องจากไม่ใช่งานวิจัยจากสถาบันอันมีชื่อเสียงจากต่างประเทศ และสมุนไพรบางอย่างที่ถูกสงวนเอาไว้สำหรับหน่วยงานบางหน่วยงานเท่านั้น จึงเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากมีการจำหน่ายจ่ายแจก ยกเว้นว่าเป็นการผลิตและใช้กับคนป่วยเฉพาะคลินิคแพทย์แผนไทยเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันได้ใช้คลินิคแพทย์แผนไทยแห่งหนึ่งเป็นที่เก็บบันทึกข้อมูล ร่วมกับ2โรงพยาบาลและมีแพทย์พยาบาล เภสัชกร ร่วมกันในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้จึง ไม่สามารถผลิตเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกได้ และหวังว่าสักวันหนึ่ง จะได้นำงานวิจัยนี้ ออกไปพัฒนาต่อในต่างประเทศ เพื่อให้คนป่วยทั่วโลก ได้รับประโยชน์จากงานวิจัยชิ้นนี้

It is disappointing that we see this article (after a previous similar one which I have asked Gotoknow to look into for possible bleaches of computer information acts).

It seems that you are ‘not a real researcher’ and ‘not following an acceptable “medical research guideline” . Please look into for example:

==https://www.thaimedresnet.org/wp-content/uploads/2016/07/Human-Subject-Protection_2560.pdf [pp73-87]…ผลประโยชนทับซ้อน
ชีวิตนักวิจัยบ่อยครั้งที่พบสถานการณ์ขัดแย้งที่เรียกว่า conflicts of commitment และ conflicts of interest“Conflict of commitment” (หน้าที่ทับซ้อน) หมายถึงสถานการณ์ที่ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบขัดแย้งจนทําาให้ประโยชน์หลักเสียไป“Conflict of Interest (COI)” แปลความว่า “ผลประโยชน์ทับซ้อน” “ผลประโยชน์ขัดกัน” “ผลประโยชน์ขัดแย้ง” หรือ “การขัดกันแห่งผลประโยชน์” หมายถึง สถานการณ์ หรือการกระทําาที่บุคคลมีประโยชน์ส่วนตัวมากจนมีผลต่อการตัดสินใจ หรือการปฏิบัติหน้าที่ในตําาแหน�งหน้าที่ที่บุคคลนั้นรับผิดชอบอยู่ และส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของส่วนรวม ในระบบราชการแล้ว COI ถือว่าเปนถือว่าเปนความผิดระดับต้น แต่เปนต้นเหตุพื้นฐานของการคอร์รัปชันซึ่งเปนความผิดที่ร้ายแรง …หรับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แล้ว ประโยชน์ของส่วนรวมคือองค์ความรู้ และสิทธิ ความเปนอยู่ที่ดี ของอาสาสมัคร ดังนั้นประโยชน์ส่วนตัวของนักวิจัยใดๆ ที่ส่งผลเสียถึงองค์ความรู้และสิทธิ ความเปนอยู่ที่ดีของอาสาสมัคร ถือว่าเปน COI

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท