บทความวิจัย


การศึกษาศักยภาพชุมชนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีThe Study of Potential for Community Wisdom Product Development of U-thong District in Suphanburi Province นักวิจัย สุดถนอม ตันเจริญ Asst. Prof. Dr.Sudthanom Tancharoen ที่ปรึกษาโครงการวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ทีฆทรัพย์ Assoc. Prof. Dr. Sombat Teekasapสาขาวิชา การเป็นผู้ประกอบการคณะ วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาปีการศึกษา 2560E-mail Address [email protected]ระยะเวลาโครงการ 12 เดือนบทคัดย่อการศึกษาศักยภาพชุมชนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นของทุกตำบลในอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของชุมชนหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของวิสาหกิจชุมชนต้นแบบ จากการศึกษาวิสาหกิจชุมชนครอบคลุม 13 ตำบลของ อ.อู่ทอง จำนวน 105 แห่ง คัดเลือกเหลือ 20 แห่ง และคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนต้นแบบได้ 2 แห่ง ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของชุมชนและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความโดดเด่นด้านวัฒนธรรมของชาติพันธุ์และเกษตรอินทรีย์ ซึ่งวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ถูกคัดเลือกมามีองค์ประกอบด้านศักยภาพขององค์กรครบถ้วนทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านผู้นำ องค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ องค์กรชุมชนและเครือข่าย การสนับสนุนจากองค์กรภายนอก และมีผลการดำเนินงาน หมายถึง รายได้/กำไรเพิ่มขึ้น ลดต้นทุน และ/หรือลดปัญหา ทั้งสองกลุ่มมีจุดแข็งเหมือนกันคือผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนศักยภาพด้านองค์ความรู้เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญา จัดการกระบวนการเรียนรู้และเครือข่ายได้เป็นอย่างดี ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการมีผลการดำเนินงานที่สมาชิกพึงพอใจและสามารถพัฒนาต่อไปได้มากยิ่งขึ้นAbstract The Study of Potential for Community Wisdom Product Development of U-thong District in Suphanburi Province. The purpose of this study is to identify community product groups linked to community identities and local wisdom of every sub-district in U-thong District, Suphanburi Province, and select potential prototype community enterprises for product development. The purpose includes studying the feasibility of developing community products, which are linked to community identities or local wisdom of the prototype enterprise. From the study of community enterprises covering 13 sub-districts, total 105 villages, we select 20 villages and 2 community prototype enterprises. The results show that the community product group is linked to the identity of the community and the local wisdom, and is unique in ethnic culture and organic agriculture. The selected enterprises have the full potential of the organization in all six aspects, namely, the leadership, knowledge, the learning process, community organizations and networks, support from external organizations, and performance (increase in revenue/profit, cost reduction and/or reduce the problem). Both groups have the same strengths as the leaders of change and the support of cultural and intellectual knowledge. They can effectively manage the learning process and network as well, which links to the performance and increase the members’ satisfaction, and can be further developed.

หมายเลขบันทึก: 659986เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2019 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2019 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท