การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในระดับประเทศ


ในระดับประเทศหรือระดับโลก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ปศพพ.) คือ หลักคิดและหลักปฏิบัติในการพัฒนาประเทศตามลำดับขั้น ไม่สุดโต่ง ดังมีพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ตอนหนึ่งว่า (ในพิธีพระราชทานปริญญา บัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒๐ ธันวาคม ๒๕๑๖ คลิกที่นี่

“ การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยวิธีการใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป ” 

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ทรงให้สัมภาษณ์กับนิตยสารเนชั่นนัลจีโอกราฟิค (National Geographic) หลังจากที่นักข่าวพยายามจะถามว่า ประเทศไทยจะเลือกอะไรระหว่าง "ทุนนิยม" ของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า ประชาธิปไตย กับ "สังคมนิยม" ของทางจีนและโซเวียดที่เรียกว่า "คอมมิวนิสท์" ... ทรงตอบนักข่าวคนนั้น ความตอนหนึ่งว่า... (ผมตีความว่า วิธีการสร้างความมั่งคั่งตามความหมายนี้ไว้ที่นี่)

"Our country is rich, and strategic. So that if there is any struggle in the world, people want to get this country. And there is always a struggle in the world. We still stand here. We stand here for the good of the whole world. 

" ประเทศของเรามั่งคั่งและเป็นจุดยุทธศาสตร์ หากมีการต่อสู้แย่งชิงเกิดขึ้นในโลก ใคร ๆ ก็อยากได้ประเทศนี้ และโลกก็มักจะมีการต่อสู้แย่งชิงอยู่เสมอ ๆ ประเทศของเรายังคงยืนอยู่ที่นี่ จะยืนหยัดอยู่ที่นี่เพื่อคนทั้งโลก " 

และโดยเฉพาะพระราชดำรัสเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔ (คลิกที่นี่

"...แบบที่เรียกว่า ทำ "แบบคนจน" คือทำวิธีการแบบคนจน ไม่ได้มีการลงทุนมากหลายอย่างของเขา เราก็ทำไป ก็เลยบอกว่าถ้าจะแนะนำ ก็แนะนำได้  "ทำแบบคนจน" เพราะเราไม่ได้เป็นประเทศที่รวยเราก็รวยพอสมควร อยู่ได้ แต่ไม่ใช่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก เราไม่อยากจะเป็นประเทศอย่างก้าวหน้าอย่าง­มาก เพราะว่าถ้าเราเป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่าง­มาก มีแต่.. มีแต่ถอยหลัง ประเทศเหล่านั้นที่เขามีอุตสาหกรรมสูงมีแต­่ถอย หลัง และถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเรามีการปกครองแบบ แบบว่า แบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละ มีเมตตากัน ก็จะอยู่ได้ตลอดไป..."

พระราชดำรัสทั้งสอง ๓ ตอนนี้  แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริ จะต้องไม่ "สุดโต่ง" ไปทาง "ทุนนิยม" หรือ "สังคมนิยม" แต่ตั้งอยู่บนทางสายกลางที่ทรงเรียกว่า "พอเพียง" (เศรษฐกิจพอเพียง)

ผมตกผลึกเป็นความเข้าใจของตนเองว่า 

  • การนำ ปศพพ. ไปใช้ในการพัฒนาประเทศ คือ พัฒนาให้ประเทศมีระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ใช่ทุนนิยมเสรี และไม่ใช่สังคมนิยมปิดประเทศ
    • ไม่เอาเงินเป็นสิ่งสำคัญที่สุด 
    • ไม่ใช้ตลาดนำการค้า 
    • ทำตามลำดับขั้น เริ่มจากความพออยู่ พอกิน 
  • การนำ ปศพพ. ไปใช้ในการพัฒนาการศึกษา คือ การพัฒนาการศึกษาเพื่อความยั่งยืน ไม่ใช่การศึกษาเพื่อความร่ำรวย 
    • สอนให้ใช้ความรู้คู่คุณธรรม
    • สอนให้รู้จักตนเอง ประมาณตนเอง และพึ่งตนเอง 
    • ไม่สอนให้คนอยากรวย แต่สอนให้เอื้อเฟื้อและช่วยเหลือผู้อื่น 
  • การนำ ปศพพ. ไปใช้ในการพัฒนาชุมชนและสังคม คือ การพัฒนาคนให้ รู้ รัก สามัคคีกัน ซื่อสัตย์และเสียสละเพื่อส่วนรวม 
    • รู้ คือ ใช้ความรู้ หลักวิชาการ ทำแบบผู้รู้จริง ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำอย่างเข้าใจ 
    • รัก คือ ทำด้วยใจ ระเบิดจากภายใน ปลูกป่าในใจคน มีฉันทะในสิ่งที่ทำ ทำจริง เข้าถึงจริง
    • สามัคคี คือ ร่วมมือร่วมใจกัน โดยเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ

แต่......

  • ขณะนี้ "ทุนนิยมเสรี" เกือบจะกลืนกินประเทศไทยและแพร่กระจายไปทั่วโลกแล้ว ทุนนิยมเป็นระบบสากล เป็นระบบใหญ่ที่ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการปฏิรูประดับประเทศแล้ว 
  • และขณะนี้ ผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่มีใครเลยที่มีนโยบายนำเอา ปศพพ. มาใช้พัฒนาประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง 
  • การนำ ปศพพ. ไปใช้ในการพัฒนาการศึกษา จึงน่าจะเป็นความหวังสุดท้าย ...
หมายเลขบันทึก: 659980เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2019 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2019 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท