วิเคราะห์เรื่องสั้นไทยสมัยรัชกาลที่ 7


ชื่อบทความ : วิเคราะห์เรื่องสั้นไทยสมัยรัชกาลที่ 7

ชื่อผู้แต่ง : สุทัศน์ วงศ์กระบากถาวร1 , ธนสาร บัลลังก์ปัทมา1

ที่อยู่
1. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

บทความคลิ๊กที่ชื่อไฟล์ pdf แถบสีเหลือง>>> 20190213092055.pdf <<<
ลิงค์ไปยังตัวบทความ (Fulltext) : http://journal.rmu.ac.th/journal/view_article/e40274f2f6a9662f995813c3da9c00a72017083109393615041903761299893864

ชื่อวารสาร : วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  ปีที่ : 11  ฉบับที่ : 2  เลขหน้า : 33-41  ปีพ.ศ. : 2560

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะเรื่องสั้นสมัยรัชกาลที่ 7
ในด้านเนื้อหา 2) เพื่อศึกษาลักษณะเรื่องสั้นสมัยรัชกาลที่ 7 ในด้านรูปแบบ และ 3) เพื่อศึกษาลักษณะเรื่องสั้นสมัยรัชกาลที่ 7 ในด้าน
กลวิธีในการแต่งขอบเขตของการวิจัยผู้วิจัยได้ศึกษาเรื่องสั้นไทยในนิตยสารที่พิมพ์ในสมัยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2469-2475)
จากนิตยสารที่มีการตีพิมพ์เรื่องสั้นไทยจำนวน 4 ฉบับ คือ เสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์รายเดือน จำนวนเรื่องสั้นที่ศึกษา 21 เรื่อง
ไทยเขษม รายเดือน จำนวนเรื่องสั้นที่ศึกษา 18 เรื่อง เริงรมย์รายปักษ์ จำนวนเรื่องสั้นที่ศึกษา 41 เรื่อง และสุภาพบุรุษรายปักษ์ จำนวน
เรื่องสั้นที่ศึกษา 7 เรื่อง รวมเรื่องสั้นทั้งหมด 87 เรื่อง จากผลงานของนักเขียน 55 คนโดยการนำเสนอผลการวิจัยใช้วิธีการใช้การนำ
เสนอผลการศึกษาค้นคว้าแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์เรื่องสั้นของไทยสมัยรัชกาลที่ 7 ด้านเนื้อหา
พบว่าเรื่องสั้นสมัยรัชกาลที่ 7 มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักและครอบครัวมากที่สุด รองลงมาเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคมและปัญหา
สังคมและเนื้อหาด้านอื่นๆ คือเนื้อหาตลก ขบขัน ส่วนเนื้อหาเกี่ยวกับการต้มตุ๋น พบน้อยที่สุด 2) ผลการวิเคราะห์เรื่องสั้นไทยสมัย
รัชกาลที่ 7 ด้านรูปแบบพบว่าเรื่องสั้นสมัยรัชกาลที่ 7 มีรูปแบบเรื่องสั้นสมัยใหม่มากที่สุด รองลงมาเป็นรูปแบบเรื่องสั้นผสมผสาน ส่วน
รูปแบบเรื่องสั้นแนวนิทานพบน้อยที่สุด 3) ผลการวิเคราะห์เรื่องสั้นไทยสมัยรัชกาลที่ 7 ด้านกลวิธีในการแต่ง 3.1) กลวิธีการสร้างโครง
เรื่อง พบว่า การเปิดเรื่องได้พัฒนาขึ้นจากยุคก่อน โดยนักเขียนเลือกใช้ลักษณะการเปิดเรื่องที่หลากหลายขึ้น ทั้งรูปแบบของการสนทนา
และพรรณนา รวมทั้งการเปิดเรื่องแบบนิทาน อันแสดงให้เห็นถึงแนวคิดผสมผสานระหว่างขนบการเล่าเรื่องแบบเดิมและแบบใหม่ 3.2)
กลวิธีในการนำเสนอแนวคิด พบว่า การนำเสนอแนวคิดของนักเขียนในยุคนี้ ส่วนใหญ่ยังคงนำเสนอเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัว เช่น เรื่อง
ครอบครัว ความรัก แต่ก็เริ่มมีเรื่องสั้นจำนวนหนึ่งที่นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาสังคม อันเป็นพื้นฐานของการสร้างเรื่องสั้นในยุคต่อ
มา 3.3) กลวิธีการสร้างตัวละคร พบว่าปรากฏทั้งตัวละครประเภทบุคลิกภาพเดียว (แบบแบน) และตัวละครประเภทหลายบุคลิกภาพ
(แบบกลม) ซึ่งตัวละครประเภทหลัง เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น 3.4) กลวิธีในการสร้างฉากและบรรยากาศ พบว่า เรื่องสั้นในยุคนี้ไม่
ค่อยให้ความสำคัญกับการสร้างฉากและบรรยากาศมากนัก เนื่องจากผู้เขียนไม่ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินเรื่อง เพราะ
มักยึดโยงกับตัวละครมากกว่า 3.5) กลวิธีในการเล่าเรื่อง พบว่า เรื่องสั้นในยุคนี้ มีการใช้มุมมองหรือกลวิธีในการเล่าเรื่อง 2 ลักษณะ
คือ มุมมองของผู้เล่าเรื่องที่ปรากฏในฐานะตัวละครในเรื่อง โดยผู้เล่าอาจเป็นผู้รู้แจ้งทุกประการ หรืออาจรู้รายละเอียดเฉพาะเรื่องราว
ของตัวละครเท่านั้น

คำสำคัญ
วิเคราะห์ ; เรื่องสั้น ; รัชกาลที่ 7

การประกวดเรื่องสั้นครั้งแรกในไทย สมัยรัชกาลที่ 7
https://www.gotoknow.org/posts...

Abstract

The purposes of thisqualitative research were to study the contents of short stories, to find out their types,
and to investigate the techniques of writing short stories in the reign of King Phrapokklaochaoyuhua
(B.E. 2469-2475). There were total 87 stories printed in four magazines i.e., twenty-one stories in monthly
Senasueksa and Phaewittayasart, eighteen stories in monthly Thaikamer, fourty-one stories in semimonthly
Roengrom, and seven stories in semimonthly Suphapburut. All these stories were written by fifty-five writers.
Descriptive analysis was used to reveal the research results.
The research results were as follows: 1) For the short stories in the aspect of their contents, it was found
that the stories involved with love and family were most found. The stories involved with economy, society,
social problems, and humor were somewhat found, while the stories about fraud were least found. 2) For the
short stories in the aspect of their types, it was found that there were seven types of stories in this reign.
Modern short stories were most found. Mixed short stories were somewhat found, while fable short stories
were least found. 3) The results of analyzing the stories in the aspect of writing techniques revealed that:
3.1) For techniques of creating the stories’ structure, it was found that opening science of the stories were
different from the previous era, that is, the writers uses different ways of opening the stories i.e., conversation, description, and fable. This reflected mixed concept between old and new customs of telling the stories.
3.2) For techniques of presenting their concept,it was found that most of them presented the stories about
their personal problems such as family, and love. However some of the stories were about social problems
that were the basic data for creating the present stoies. 3.3) For techniques of creating story characters, it
showed that the characters with both one characteristic and more characteristics were found by which the
latter was favorably received. 3.4) For creating of setting scenes and atmospheres, it was found that the writersslightly put importance on scene and atmosphere. This was because they did not affect the stories presentation, but the stories always stick relied on the characters. 3.5) For techniques of telling the stories, it was found that there were two features of the writers’ points of views or techniques of telling the stories at present i.e., the tellers knowing everything in the story, and the tellers acting as the characters of the stories.

Keywords
Analysis ; short Stories ; King Rama 7

ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย TCI

https://www.kmutt.ac.th/jif/pu...

หมายเลขบันทึก: 659850เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท