นิยามของ หนังสือ


ในการเรียบเรียงหนังสือผู้เรียบเรียงย่อมมีอิสระมากกว่าการเรียบเรียงตำรา เพราะไม่จำเป็นต้องพะวงว่าจะต้องอยู่ในกรอบของหลักสูตร ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะนำไปใช้เพื่อสอนตามหลักสูตรใดโดยเฉพาะ

เมื่อวาน เราได้นิยามของตำรา  ซึ่งหมายถึงหนังสือที่....

วันนี้ มีนิยามของหนังสือมาฝากอีก  หนังสือหมายถึงตำราที่.... (ไม่ใช่..ล้อเล่น)

ท่านอาจารย์ประเสริฐ กล่าวว่า คำว่า หนังสือ อาจเป็นหนังสือทางวิชาการหรืออาจเป็นตำราก็ได้  แต่ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นตำราเสมอไป  เนื้อหาในหนังสือที่ไม่ได้นับว่าเป็นตำราเป็นการเรียบเรียงขึ้นเพื่อให้นักวิชาการด้วยกันได้อ่าน  มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอความรู้ที่ตนได้ค้นพบมาใหม่ หรือนำเอาความรู้ที่ผู้อื่นได้ศึกษาเอาไว้ รวบรวมแล้วนำมาเรียบเรียงเสนอในลักษณะที่ทำให้เข้าใจได้ง่าย

ในการเรียบเรียงหนังสือผู้เรียบเรียงย่อมมีอิสระมากกว่าการเรียบเรียงตำรา เพราะไม่จำเป็นต้องพะวงว่าจะต้องอยู่ในกรอบของหลักสูตร  ไม่ได้มุ่งเน้นที่จะนำไปใช้เพื่อสอนตามหลักสูตรใดโดยเฉพาะ  อาจจะใช้คำอธิบายที่ละเอียดมากในบางบทบางตอน  อาจจะเรียบเรียงรวบรัดบ้าง โดยคาดหมายให้นักวิชาการซึ่งมักเป็นผู้มีความรู้เสมอกันหรือใกล้เคียง หรือสูงกว่าได้พิจารณาและทักท้วงได้  ดังนั้นหนังสือจึงจำเป็นจะต้องมีคุณภาพ  มีหลักเกณฑ์กว้างๆในการเรียบเรียงทำนองเดียวกับตำราเช่นกัน

 

คำสำคัญ (Tags): #หนังสือ
หมายเลขบันทึก: 6598เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2005 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอบคุณค่ะอาจารย์  เข้าใจแล้วค่ะ...หนังสือกับตำรา

          ยินดีเสมอค่ะ อาจารย์สิริพร ขยันจังนะคะ......

แล้วส่วนประกอบต่างๆของตำรามีอะไรบ้างคะ รูปภาพประกอบตำราที่แต่งขึ้น เอามาจากหนังสืออื่นได้ไหม

หลัการและขั้นตอนวิธีการเรียบเรียงตำรา

กราบสวัสดีอาจารย์ค่ะ

อาจารย์คะ คือหนูอยากได้ หลักการและขั้นตอนวิธีการเรียบเรียงตำราคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท