กลยุทธ์ – ยุทธศาสตร์ – กลวิธี – ยุทธวิธี


กลยุทธ์คือการทำงานให้สำเร็จภายใต้ข้อจำกัดขององค์กร

ในการวางแผนกลยุทธ์เรามักจะได้ยินกับคำ 4 คำนี้เสมอ หลายท่านอาจจะสงสัยว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร ผมจะลองอธิบายตามความเข้าใจที่ได้ศึกษา ได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน มา ดังนี้ครับ
           กลยุทธ์ – ยุทธศาสตร์ สองคำนี้มีความหมายในภาษาอังกฤษตัวเดียวกันคือ Strategy ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย กลยุทธ์

          ในความหมายของHenry Mintzberg ใช้หลัก 5Ps  ดังนี้
1.        กลยุทธ์คือแผน(plan) หรือแนวทางในการดำเนินงานในอนาคต
2.        กลยุทธ์คือแบบแผนหรือรูปแบบ(pattern)หรือแบบแผนของพฤติกรรมในการปฏิบัติงานที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงเวลา
3.        กลยุทธ์คือการกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง(position)หรือเน้นที่ความสำคัญของฐานะหรือตำแหน่งของกิจการในสนามแข่งขัน
4.        กลยุทธ์คือทัศนภาพ(perspective)เน้นความสำคัญของการพิจารณาสภาพที่แท้จริงภายในองค์การหรือคุณลักษณะที่น่าจะเป็นขององค์การ
5.        กลยุทธ์คือกลวิธีในการเดินหมาก(ploy)หรือการใช้อุบายในการดำเนินงานเพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้ามให้ได้
           ยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ (Strategy) คือศิลปะของการนำกำลังทหารเข้าสู่สนามรบอย่างได้เปรียบต่อกองทัพของศัตรู(จอมพลเอิร์ล เวเฟลส์)
หรือศิลปะของการต่อสู้ในสนามรบเพื่อนำไปสู่การชนะสงคราม(นายพลคาร์ล ฟอน คลอเซวิทซ์)
           ในทางบริหารอธิบายง่ายๆว่ากลยุทธ์คือการทำงานให้สำเร็จภายใต้ข้อจำกัดขององค์กร

           ยุทธวิธีหรือกลวิธี(Tactics) คือศิลปะของการใช้กำลังทหารในสนามรบ หรือวิธีการปฏิบัติให้ได้ผลสำเร็จ
 
           ยุทธศาสตร์ใช้กับเรื่องใหญ่ๆเป็นระดับชาติหรือกองทัพใหญ่ๆ  ส่วนกลยุทธ์นั้นใช้กับเรื่องหรือองค์กรย่อยๆเช่นบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆของรัฐ

           ที่สำคัญ กลยุทธ์ต้องได้รับการถ่ายทอดให้พนักงานทุกระดับของบริษัทได้รับทราบอย่างละเอียดชัดเจน    กลยุทธ์ที่ดีจะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของการเข้าใจลูกค้าอย่างถ่องแท้และอยู่ในขีดศักยภาพของบริษัท   กลยุทธ์นั้นไม่ควรเปลี่ยนบ่อยแต่ต้องเปลี่ยนเมื่อเงื่อนไขภายนอก(กฎข้อบังคับของรัฐ, พฤติกรรมของตลาด, เทคโนโลยี) เปลี่ยน
            จะเห็นว่า กลยุทธ์ก็คือการทำงานให้สำเร็จภายใต้ความจำกัดขององค์การ หากใครมัวบ่นว่า คนไม่พอ ของไม่มี งบไม่พอ ฯลฯ ก็แสดงว่าไม่ได้ใช้กลยุทธ์จริง หรือกลยุทธ์ที่สร้างขึ้นไม่ได้นำเอาจุดแข้งและโอกาสที่มีอยู่มาใช้ทำงานเพื่อลดข้อจำกัดหรือปิดจุดอ่อนที่มีอยู่

คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 6593เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2005 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท