สิบประการที่คนไม่รู้เกี่ยวกับการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย



มีคนเข้าไปถามใน Quora Digest ว่า What do most people not know about working as a as a college professor? () และ James W. Hoover ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ ในสหรัฐอเมริกา  เข้าไปตอบ ๑๐ ข้อ  ดังต่อไปนี้

  1. 1. อาจารย์มหาวิทยาลัย มีภาระงานสอนเพียงสัปดาห์ละ ๙ – ๑๒ ชั่วโมง     แต่ต้องใช้เวลาเตรียมอีกสัปดาห์ละ ๕ - ๑๐ ชั่วโมง หรือมากกว่า ในการเตรียมการสอนและให้คะแนน    และยังมีงานอื่นอีกมาก    เรื่องนี้สมัยผมทำหน้าที่อาจารย์ และรับผิดชอบสอนวิชาพันธุศาสตร์ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ช่วงปี ๒๕๑๘ - ๒๕๓๕)      งานในส่วนนี้ ชั่วโมงสอนเพียงสัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง     แต่ผมใช้เวลานอกเวลาราชการถึงประมาณ ๓ ชั่วโมงในการเตรียมการสอน ๑ ชั่วโมงนั้น    และหลังจากการสอนผมใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง ในการฟังเทปเสียงที่อัดไว้ด้วยเทปคาสเส็ตต์ เพื่อตรวจสอบว่าควรปรับปรังการบรรยายช่วงใดบ้าง    โดยผมยังมีงานอื่นด้านการพัฒนาที่ริเริ่มเอง หรืองานอื่นของภาควิชาและของคณะ หรือในบางช่วงเวลาของมหาวิทยาลัย อีกมาก

                             ผมคิดว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ควรมีภาระงานด้านการผูกพันมหาวิทยาลัยกับสังคม (community engagement) () ประมาณหนึ่งในสามของเวลาทำงาน   

  1. 2. อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องทำทั้งงานสอนและวิจัย    โดยภารกิจทั้งสองต้องเสริมกัน    และต้องตีพิมพ์ผลงานวิจัย เพื่อรักษาการจ้างงานของตนไว้
  2. 3. อาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นทั้งลูกจ้าง และฝ่ายบริหาร    คือต้องทำหน้าที่กรรมการต่างๆ  บางครั้งทำงานบริหาร   และอาจมีส่วนในการจัดการมหาวิทยาลัย
  3. 4. อาจารย์มหาวิทยาลัยมีเสรีภาพทางวิชาการ    สามารถทำงานวิชาการได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้มีอำนาจทางการเมือง    แต่ก็ต้องปฏิบัติตามกติกาทางวิชาการ    รวมทั้งกติกาจริยธรรมทางวิชาการ
  4. 5. อาจารย์มหาวิทยาลัยในต่างสาขาวิชา ได้รับเงินเดือนในอัตราที่แตกต่างกัน    อาจารย์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าอาจารย์สาขา STEM    ผมขอเพิ่มเติมว่า อาจารย์ในสาขาแพทยศาสตร์มักได้รับเงินค่าตอบแทนจากหลายทาง ตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
  5. 6. อาจารย์ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มักต้องใช้เงินส่วนตัวเป็นค่าใช้จ่ายในการทำวิจัย    โดยที่ในบางกรณีเป็นเงินระดับพันดอลล่าร์
  6. 7. อาจารย์มหาวิทยาลัยมักต้องทำงานในช่วงเวลา “พักร้อน”  ซึ่งมักเป็นงานวิจัย    เพราะเป็นช่วงที่มีสมาธิกับงานวิจัยได้ดีที่สุด ไม่มีงานอื่นรบกวน    โดยที่ในหลายกรณีช่วงเวลาดังกล่าวไม่ได้รับเงินเดือน
  7. 8. อาจารย์ทำงานแบบรับผิดชอบตนเอง  น้อยครั้งที่จะมีการดูแลจากหัวหน้า    แต่จะมีการประเมินผลงานตามที่ตกลงกันไว้     ผมขอเพิ่มเติมว่า การบริหารงานมหาวิทยาลัยในสมัยนี้ควรจัดระบบ mentoring ให้แก่อาจารย์ใหม่    โดยมีอาจารย์อาวุโสที่มีผลงานและวัตรปฏิบัติเป็นที่ยกย่อง ทำหน้าที่ mentor ในช่วงสองสามปีแรก    จะช่วยให้อาจารย์ใหม่พัฒนาตนเองได้ดร็วและถูกทาง    นอกจากนั้น ยังควรจัดทรัพยากรส่งเสริมระบบ PLC ให้แก่อาจารย์ทุกคน    คืออาจารย์ต้องเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต    และการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ (PLC) จะช่วยให้อาจารย์ทำงานสร้างสรรค์ผลงานได้ง่ายขึ้น
  8. 9. อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ได้หางานโดยการสมัครงาน แล้วเข้าสอบคัดเลือกหรือแข่งขันเหมือนงานอื่นๆ    แต่ใช้วิธีสร้างผลงานตีพิมพ์ให้เป็นที่รู้จัก หรือมีอาจารย์อาวุโสช่วยแนะนำ    การหางานใหม่อาจใช้เวลาเป็นปี  
  9. 10. อาจารย์มหาวิทยาลัยมักมาจากครอบครัวชั้นกลาง  อาศัยในเขตชานเมือง    มีบ้างที่ไต่เต้าจากครอบครัวยากจน    อาจารย์ไม่ได้เป็น “ชนชั้นสูงทางปัญญา” อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ    คือยังคงติดดิน อยู่กับความเป็นจริงในสังคม    อาจารย์ที่เป็น “ชนชั้นสูงทางปัญญา” นั้น    เป็นอาจารย์ส่วนน้อยในฝั่งตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ม..ค. ๖๒


หมายเลขบันทึก: 659602เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2019 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2019 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท