โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

วิถีโลกวิถีธรรม


โสภณ เปียสนิท

..............................

            วันเวลาเดินทางไปข้างหน้าไม่หยุดยั้งไม่รั้งรอใคร ไม่เร็วขึ้น ไม่ช้าลงเพื่อใคร คงเดินหน้าไปตามทางอย่างปกติสม่ำเสมอ บางคนอยากให้เวลาเดินเร็วก็บอกว่า เวลาช่างเดินช้าจริง พวกต้องการให้ช้า ก็บอกว่าเวลาเดินเร็วจัง แสดวงว่าเวลาเดินช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความต้องการของคน บางคนจึงบอกว่า เวลาแห่งความสุขมักสั้นแสนสั้น เวลาแห่งความทุกข์มักยาวนานเสมอ เรียนรู้หลักการนี้เพื่อความเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วจะได้เกิดปัญญา เข้าใจเรื่องวันเวลาไม่ทุกข์ไม่สุขกับเรื่องเวลามากเกินไป

            ชีวิตเดินดุ่มเดียวดายไปข้างหน้า ทั้งที่รู้ว่าข้างหน้าคือจุดสิ้นสุดของถนนหรือปลายสะพานด้วน เดียวดายแม้ว่ารอบกายจะมีญาติพี่น้อง เพื่อนพ้องมากมาย แต่คนที่รักเหล่านั้น ต่างคนต่างก็เดินไปสู่จุดสุดท้ายด้วยกันทั้งนั้น แม้ว่าจะอยู่ด้วยกันบ้านใกล้เรือนเคียงกัน ชอบพอกันมาก แต่เวลาถึงจุดสุดท้ายของปลายถนนต่างกัน เพราะถนน หรือสะพานของแต่ละคนสั้นยาวไม่เท่ากัน เป็นถนนหรือสะพานส่วนบุคคล ของใครของมัน

            ชีวิตก้าวผ่านประสบการณ์อันหลากหลายทั้งบวกและลบ เรียนรู้วิชาการจากชีวิตนอกและในโรงเรียนแต่พอมองออกว่า เรียนวิชาการต่างๆ จากโรงเรียนและสถานศึกษาทุกระดับ เพื่อเอาไปใช้เป็นอาชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ส่วนวิชาการทางพระศาสนาเอาไปเลี้ยงใจ น่าเสียดายที่ทุกวันนี้การศึกษาไทย แยกการศึกษาไปจากวิชาธรรม มีพื้นที่ให้วิชาธรรมน้อยนิด แถมส่วนน้อยนิดนั้นยังไม่ค่อยตรงทางสักเท่าไร เยาวชนไทยรุ่นหลังมาจึงยึดอาชีพเป็นหลัก แต่ขาดหางเสือขาดการบำรุงจิตใจ ก่อเกิดปัญหาตามมามากมาย

            โลกปัจจุบันเปลี่ยนไปมากในสายตาของผม สมัยก่อนการสู้รบกันด้วยอาวุธแย่งกันครอบครองดินแดน ทรัพย์ศฤงคาร ถึงทุกวันนี้ เปลี่ยนจากการสู้รบด้วยอาวุธเป็นการสู้รบด้วยการค้า บางฝ่ายตั้งหน้ายึดครองด้วยศาสนา โดยการส่งคนที่นับถือลัทธิเดียวกันเข้าสู่ตำแหน่งสำคัญในประเทศ วันก่อนผมพบพระอาจารย์ในวัดห่างไกล พระอาจารย์ยังหนุ่ม แต่การสนทนาทีมีความรู้น่าเลื่อมใสศรัทธา ท่านพูดเรื่องความเปลี่ยนแปลงของประเทศและวงการคณะสงฆ์ให้ฟังอย่างน่าสนใจ

            ผมเข้าไปนั่งในกุฏิหลังเล็กๆ ใต้ต้นไม้ใหญ่ของท่าน กราบพระประธานรูปจำลองพระพุทธชินราชตามธรรมเนียมปฏิบัติของชาวพุทธ กราบครั้งที่หนึ่งรำลึกถึงพระพุทธเจ้าในอดีต กราบครั้งสองรำลึกถึงพระพุทธเจ้าในปัจจุบัน กราบครั้งสามรำลึกถึงพระพุทธเจ้าในอนาคต พร้อมกับรำลึกถึงพระพุทธคุณสามประการ พระปัญญาคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ เสร็จแล้วหันมากราบท่านพระอาจารย์อีกสามครั้ง น้อมรำลึกถึงพระรัตนตรัย พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์

            พระอาจารย์มองมาด้วยรอยยิ้ม “ไปไหนมาละโยม” ท่านทักทายด้วยอารมณ์ดี ผมพนมมือตอบ “ผ่านทางมาครับ เห็นวัดสวยงามดีเลยเข้ามากราบพระครับ” ท่านยิ้ม “เจริญพร ดีแล้วโยม กราบพระได้บุญ ยังมีโยมกราบพระอยู่ก็ถือได้ว่า พระศาสนายังดำรงอยู่ได้ แม้ว่าจะเหลือน้อยลงทุกที” ผมงงว่าท่านอาจารย์พูดเป็นนัยๆ อย่างไรอยู่ “ชาวพุทธยังเหลืออยู่เยอะครับท่าน น่าจะเกิดกว่าร้อยละ 90 ตามข้อมูลของทางราชการ” ท่านหัวเราะเบาๆ “เป็นตามทะเบียนบ้านนะซิโยม จริงๆ แล้วไม่น่าจะร้อยละยี่สิบดอก นี่วัดตามความรู้ความเข้าใจพระศาสนานะ”

            คราวนี้ผมงงหนักขึ้น ไม่เข้าใจว่าพระอาจารย์หมายถึงอย่างไร “วัดความรู้ความเข้าใจพระศาสนาหรือครับ วัดอย่างไร” “วัดจากความรักพระศาสนาของคนพุทธ เช่นเวลาที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นกับพระ เกิดขึ้นกับวัดชาวพุทธมีท่าทีอย่างไร เท่าที่ผ่านมาหลายคนถูกกรอกด้วยสื่อสังคมให้เชื่อว่า การทำลายวัดการทำลายพระวัดนั้นวัดนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการทำลายพระศาสนา เห็นไหมว่า วัดถูกแยกออกเป็นวัดสายนั้นสายนี้ไม่เกี่ยวข้องกัน โดยแท้แล้ววัดในพระศาสนาไม่เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร แต่คนพุทธซึ่งเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน แต่ไม่ตื่นรู้เรื่องนี้”

“อีกอย่าง ที่วัดจากความเข้าใจนั้น ดูว่าญาติโยมชาวพุทธไม่เข้าใจข้อวัตรข้อปฏิบัติของชาวพุทธ กิจวัตรประจำวันของชาวพุทธว่ามีความเกี่ยวข้องกับพระศาสนามากน้อยเพียงใด ถูกต้องเที่ยงตรงตามหลักของชาวพุทธเพียงใด มีการสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็น มีการทำทาน มีการรักษาศีล มากน้อยเพียงใด หากมีน้อยแสดงว่าความเป็นพุทธก็น้อยลงไปด้วย หากวัดแบบนี้ เราจะรู้ทันทีว่า บางวันชาวพุทธแทบไม่ได้เป็นพุทธเลยด้วยซ้ำ”

พระอาจารย์ท่านบอกวิธีการวัดความเป็นชาวพุทธตามแนวของท่าน ซึ่งหากคิดตามที่ท่านว่ามา ชาวพุทธแทบไม่เหลือความเป็นชาวพุทธอยู่เลย ผมนั่งคิดอยู่ในใจ เหมือนเห็นเค้าลางอะไรบางอย่างว่า ประเทศไทยง่ายต่อการทำลาย ด้วยว่า เรามีเสาหลักคือชาติศาสนาพระมหากษัตริย์ หากใครต้องการยึดประเทศไทยต้องยึดเสาหลักของประเทศไทยไว้ ยึดศาสนา ยึดพระมหากษัตริย์ไว้ให้ได้ เท่ากับว่ายึดชาติไทยได้แล้ว

พระอาจารย์ท่านนั่งจิบน้ำชาของท่านนิ่งๆ ผมเห็นว่าท่านพูดถูก “พระอาจารย์พูดจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับพระศาสนาในประเทศไทยในปัจจุบันหรือครับ” “ใช่แล้วโยม ใครๆ ที่เป็นคนไทยต่างก็ผ่านเหตุการณ์เหล่านี้มาด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใครจะคิดอย่างไรนั้น แล้วแต่บุคคล แต่อาตมาอยู่วัด หลังบำเพ็ญเพียรทางจิตแล้วมีเวลา ด้วยความรักห่วงใยในพระศาสนาจึงค่อนข้างจะคิดเรื่องนี้กว้างขวาง ไม่ใช่เพื่อตัวเอง แต่เพื่อลูกหลานของเราในอนาคตจะได้มีพระศาสนาให้ศึกษาแนวทางแห่งบุญและบาปได้อย่างชัดเจน”

“พระอาจารย์ครับ ไม่มีศาสนา ไม่ต้องมีแนวทางที่ชัดเจนก็ได้นี่ครับท่าน ชาวบ้านทั่วไปเขาคิดกันอย่างนี้ ไม่มีพระศาสนาเขาก็ไม่เดือดร้อน ชีวิตก็ก้าวเดินไปได้ตามปกติ” พระอาจารย์มีท่าทีเฉยๆ กล่าวเบาๆ ต่อไปเพื่อให้แง่คิด “ครั้งหนึ่ง อาตมาเดินทางไปแจกข้าวของเครื่องใช้ให้แก่ชาวดอยทางเชียงใหม่ จำไม่ได้ว่าไปที่ไหนนะ จำได้แต่ว่า มีชาวเขาจำนวนหนึ่งจูงลูกจูงหลานออกมารับของเด็กสาวอายุน้อยหลายคนอุ้มลูกคนหนึ่งจูงลูกอีกคนหนึ่งออกมารับของแจก สัตว์เลี้ยงจำนวนมากวิ่งกันเกลื่อนหมู่บ้านชายเขาพื้นที่ค่อนข้างชันแห่งนั้น เห็นแล้วอนาถใจว่า คนเรากับสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นไม่น่าจะต่างกัน เกิดมาเพื่อกินเข้าแล้วถ่ายออกดำรงชีวิตอยู่สืบเผ่าพันธุ์ไม่นานก็ตาย แล้วจะต่างกันตรงไหนเล่าโยม ตอบหน่อย”

ท่านถามเอาซึ่งหน้า ผมงุนงงตอบไม่ถูก ท่านจึงกล่าวต่อ “ต่างกันตรงที่สัตว์อื่นๆ ไม่อาจพัฒนาจิตใจได้ แต่คนพัฒนาจิตใจได้ แต่ต้องได้แนวทางที่ถูกต้อง อาตมามองเห็นว่า แนวทางการพัฒนาแบบพุทธศาสนาล้ำลึกล้ำเลิศที่สุดแล้ว ศาสนาอื่นๆ พัฒนาได้แค่ทานกับศีลเท่านั้นถือว่าสูงสุดแล้ว แต่พุทธศาสนาพัฒนาถึงภาวนาการเอาชนะจิตใจด้วยการทำความดี และมิใช่การบีบบังคับเหมือนบางลัทธิที่ต้องการเพิ่มลัทธิเพื่อผลประโยชน์และการเมือง”

“ท่านอาจารย์หมายถึงในประเทศไทยเราหรือครับ” ผมถามท่านตรงๆ เพราะเหตุการณ์บ้านเมืองเราไม่ค่อยสงบดูเหมือนว่าจะมีบางฝ่ายรุกรานพระศาสนาอยู่บ้างเหมือนกัน สติปัญญาของผมน้อย คิดได้เท่านี้ ด้วยความเป็นห่วงพระศาสนาจึงค่อนข้างจะวิตกกังวลอยู่ แต่ก็ไม่รู้จะคิดอ่านประการใดได้ ทำได้เพียงแค่ปลุกความคิดให้คนเราตื่นรู้เท่าทันแผนร้ายของคนบางกลุ่ม การยึดครองรูปแบบใหม่ การเอาประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว โดยมองว่า คนนับถือลัทธิอื่นไม่ใช่พวกคนเหมือนตน

พระอาจารย์ตอบสีหน้าเรียบเฉย “ใช่ซิโยม ดูจากเหตุการณ์ปัจจุบันแล้ว พระศาสนาอยู่ในอันตราย เพราะประเทศเรามีจุดอ่อนอยู่ ต้องเร่งหาจุดแข็งออกมาเพื่อป้องกันกันไว้บ้างไม่ใช่ปล่อยให้เขาเข้ามาทำลาย” “มีจุดอ่อนอย่างไรครับท่านอาจารย์” ผมถามด้วยความตั้งใจ “จุดอ่อนตรงที่พระเณรคือผู้สงบไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ญาติโยมไม่มีหลักชาวพุทธอยู่กันอย่างไรก็ได้ ถือว่าเป็นชาวพุทธ และชาวพุทธมีจิตใจเอื้ออารีย์ต่อคนทั่วไป อาจทำให้คนอื่นอาศัยช่องทางเหล่านี้เข้ามายึดครองแบบเม่นในคอกม้าอารีย์ตัวนั้น”

“ใครมีแผนปกครองหรือครับ” ผมคิดไม่ออกว่าใครจะปกครองใครตามท่านอาจารย์ว่ามา “คนภายนอกซิโยม นอกศาสนา นอกบ้านเมืองเรา แผนเขาเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ก่อกองไฟไว้ที่ใต้เพื่อข่มขู่ สร้างความสับสนไม่รู้ฝ่ายไหนฝ่ายไหน คนในร่วมมือกับคนนอกประเทศต่างลัทธิ วางแผนยึดครองประเทศด้วยลัทธิ ใช้ไฟใต้ข่มขู่ ขอนั่นนี่ สิทธิพิเศษ เหนือพวกวัฒนธรรมเดิม

เอาประโยชน์ให้มากที่สุด โดยการออกกฏเกณฑ์ที่เป็นของพวกเขาเอง เร่งสร้างแนวร่วม ด้วยอำนาจที่ฝ่ายตนยึดได้เช่น ยึดรัฐบาล โดยส่งคนเข้าการเมือง ตั้งพรรคการเมือง แฝงตัวในพรรคการเมือง ยึดการทหาร ขอสิทธิพิเศษเข้าเรียนนายร้อย ยึดกระทรวงทบวงกรมด้วยผลประโยชน์ ด้วยอำนาจ ด้วยเพศ หญิง ชายแต่งงานแล้วเข้าลัทธเขาหมด สร้างลัทธิสถานด้วยใช้งบรัฐส่วนมากทั้งที่เป็นคนส่วนน้อย ก่อตั้งธนาคารอันเป็นของพวกตนเอง แต่ไม่อนุญาตให้คนลัทธิอื่น ศาสนาอื่นได้มีธนาคารแบบเดียวกันกับตน ลดงบประมาณศาสนาอื่นๆ ลดบทบาทพระจากการเมือง หาทางกีดกันศาสนาอื่นทางอ้อมก่อน แล้วค่อยๆ ตรงมากขึ้นเรื่อยๆ แยกพระและวัดออกจากคนพุทธ(ที่ไม่ค่อยเชื่อถือพุทธ) ศาสนาของเราขาดเอกภาพระหว่างนิกายย่อยของพุทธ โจมตีวัดและพระด้วยสื่อนานา ก่อนโจมตีด้วยกองกำลังพุทธ ที่มีหัวหน้าลัทธิแอบแฝงในตำแหน่งสำคัญๆ ของบ้านเมือง ที่อาตมาพูดมาทั้งหมดนั้น มิใช่เพื่อสร้างความแตกแยกนะโยม แต่เพื่อให้ชาวพุทธตื่นรู้รักษาพระศาสนาของตนไว้ เพื่อลูกหลานเรา ส่วนอาตมานั้นไม่ต้องห่วง เพราะอย่างไรเสีย อีกไม่นานอาตมาก็ตายแล้ว เหลือแต่ลูกหลานของโยมที่ต้องอยู่ในประเทศนี้สืบไป ภายใต้แนวคิดที่ถูกต้องดีงามตามแนวทางของพระศาสนา หรือตามแนวทางของลัทธิอื่น”

            ผมนั่งนิ่งคิดอยู่นานว่าจะเอาอย่างไรกับแนวคิดที่ท่านเสนอมา ใจหนึ่งอยากรักษาพระศาสนาไว้ให้ลูกหลาน และการรักษาพระศาสนาไว้เป็นบุญตามแนวทางของพระโพธิสัตว์ ผมก็อยากทำ แต่ภาพของพระรูปหนึ่งที่ต่อต้านแนวทางของรัฐถูกจับสึกกลางพรรษา พระอีกห้ารูปถูกจับด้วยข้อหาที่ไม่ส่งขึ้นศาล รบกวนจิตใจทำให้ผมหวาดกลัวไม่กล้าที่จะคิดอีกต่อไป  

หมายเลขบันทึก: 659600เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2019 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2019 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท