คิดให้เร็ว


คิดให้เร็ว

How to Think Fast

พลตรี มารวย  ส่งทานินทร์

[email protected]

10 ธันวาคม 2561

บทความเรื่อง คิดให้เร็ว นำมาจาก https://www.wikihow.com/Think-Fast  ผู้ที่สนใจเอกสารนี้แบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ https://www.slideshare.net/maruay/how-to-think-fast

เกริ่นนำ

  • คุณเคยอยู่ในสถานการณ์ที่คุณจำเป็นต้องคิดอย่างรวดเร็ว แต่คิดไม่ออกหรือไม่?
  • บางครั้ง คุณอาจต้องการคิดได้เร็ว เพื่อการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน
  • การเรียนรู้วิธีการคิดอย่างรวดเร็ว สามารถสร้างผลบวกสำหรับอาชีพ การศึกษา หรือชีวิตส่วนตัวของคุณ

วิธีที่ 1: คิดได้อย่างรวดเร็วในทันที (Method 1: Thinking Fast on the Spot)

ข้อที่ 1. ทำจิตใจของคุณให้ปล่อยวาง

  • เป็นการง่ายที่จะพูดมากกว่าทำ เมื่อคุณต้องการให้คำตอบอย่างรวดเร็วในทันที ให้สงบจิตใจตัวเองโดยใช้เทคนิคการผ่อนคลายเช่น:
    • หายใจเข้าลึก ๆ คุณจะชะลออัตราการเต้นของหัวใจ และส่งออกซิเจนไปยังสมองมากขึ้น
    • มองบวกกับตัวคุณเองซ้ำ ๆ เช่น "ฉันตอบได้" และหากคุณต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องใช้การคิดอย่างรวดเร็วบ่อย ๆ คุณอาจมีวลีส่วนตัวที่เฉพาะเจาะจงที่คิดไว้ล่วงหน้า
    • เกร็งกล้ามเนื้อของคุณสักครู่แล้วปล่อย จะช่วยคุณมีสมาธิ ให้เลือกกล้ามเนื้อที่ผู้คนไม่สามารถมองเห็นได้ เช่นกล้ามต้นแขนหรือกล้ามเนื้อต้นขา (คุณไม่ต้องการแสดงความเครียดให้คนเห็น)

    ข้อที่ 2. ฟังคำถามอย่างรอบคอบ

    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณตีความคำถามได้ถูกต้อง โดยมองตรงไปที่เขาหรือเธอและใส่ใจกับคำถาม ลดการรบกวนทั้งหมดเช่น วางโทรศัพท์มือถือ ปิดทีวี และปิดแล็ปท็อป
    • นอกจากนี้ คุณยังสามารถศึกษาภาษากายของผู้ถาม ให้เน้นไปที่ดวงตา การแสดงออกทางสีหน้า และตำแหน่งของร่างกาย
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าบุคคลนั้นตามองตรงที่คุณ มีรอยยิ้ม และหันหน้าเข้าหาคุณ นี่เป็นข้อบ่งชี้ที่ดี ที่เขาหรือเธอสนใจในสิ่งที่คุณต้องการพูด
    • อย่างไรก็ตาม โปรดจำไว้ว่า การแสดงออกทางสีหน้า อาจทำให้เข้าใจผิดได้ เพราะบางคนสามารถปกปิดความรู้สึกได้ ด้วยการแสดงออกทางสีหน้าของพวกเขา

    ข้อที่ 3. ถามคำถามซ้ำ

    • ถ้าคุณไม่เข้าใจคำถาม ให้ถามคำถามซ้ำอีก เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจสิ่งที่ถาม และจะทำให้คุณมีเวลามากขึ้นในการคิดด้วยเช่นกัน
    • ตัวอย่างเช่น "คุณช่วยทวนคำถามซ้ำอีกครั้งได้หรือไม่?"

    ข้อที่ 4. ทวนซ้ำคำถามด้วยตัวเอง

    • นอกจากนี้ คุณสามารถถามคำถามซ้ำกับตัวเอง เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ การพูดออกมาดัง ๆ กับตัวเอง อาจช่วยให้คุณเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยให้คุณมีเวลามากขึ้นในการหาคำตอบ
      • อย่ากลัวที่จะถามให้ชี้แจงเพิ่มเติม หากคำถามไม่ชัดเจนหรือใช้ศัพท์แสงที่ไม่คุ้นเคย คำชี้แจงที่เรียบง่าย อาจช่วยให้คุณตอบคำถามได้อย่างรวดเร็วและมีเหตุผล ให้พูดว่า "คุณช่วยอธิบายเพิ่มว่าหมายถึงอะไร? " หรือ "ฉันไม่ค่อยเข้าใจคำถาม คุณช่วยถามใหม่ได้หรือไม่?"

      ข้อที่ 5. ตอบตรงจุด

      • มุ่งเน้นไปที่จุดเดียวและมีข้อมูลที่สนับสนุน จะช่วยกำหนดเป้าหมายการเริ่มต้นตอบกลับของคุณ  หลีกเลี่ยงการให้รายละเอียดนอกเรื่อง หากผู้ถามต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม เขาหรือเธอจะถามต่อ ในขณะเดียวกัน คุณได้แสดงให้เห็นว่า คุณสามารถคิดอย่างรวดเร็ว และให้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
        • ตัวอย่างเช่น ถ้าถามคุณว่า "คุณเคยขายสินค้ามานานแค่ไหน?" คำตอบของคุณควรสั้น คุณอาจตอบว่า "ประมาณแปดปี" อย่าไปลงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ทั้งหมด ที่คุณเคยทำงานในช่วงแปดปีที่ผ่านมา เว้นแต่ผู้ถามจะขอให้คุณทำเช่นนั้น

        วิธีที่ 2: การเตรียมพร้อมสำหรับการคิดอย่างรวดเร็ว (Method 2: Preparing in Advance for Fast Thinking)

        ข้อที่ 1. ให้เตรียมคิดสถานการณ์เผื่อไว้ล่วงหน้า

        • ให้ใช้เวลาเมื่อไม่ได้อยู่ภายใต้ความกดดัน โดยพิจารณาสถานการณ์ที่เรียกร้องให้มีการคิดอย่างรวดเร็ว และวางแผนล่วงหน้าว่า คุณจะตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างไร
          • ตัวอย่างเช่น คุณครูอาจถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่คุณอ่านในชั้นเรียน เช่น "ชื่อตัวละครหลักคืออะไร" หรือ "คุณคิดอะไรเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้?" พิจารณาคำถามที่ครูอาจถาม และพยายามเตรียมคำตอบของคุณล่วงหน้า เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องหยุดคิดเป็นเวลานาน

          ข้อที่ 2. ฝึกพูดและเขียนอย่างชัดเจน

          • การสื่อสารที่ชัดเจน จะช่วยให้คุณให้ข้อมูลกับคนอื่นได้อย่างรวดเร็ว และหลีกเลี่ยงการตีความผิด
            • ฝึกขจัดเสียงที่ไม่ต้องการเช่น "เอ้อ" และ "อ้า" มากเกินไป
            • ใช้สิ่งที่ไม่ใช่คำพูดเช่น การมองตา และการหยุดนิ่งชั่วคราว
            • ใช้ไวยากรณ์ที่เหมาะสม
            • ประมาณการสถานการณ์ และกำหนดวิธีการตอบสนองอย่างเหมาะสม

            ข้อที่ 3. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณรู้เรื่องเป็นอย่างดี

            • ตระหนักถึงรายละเอียดของโครงการและข้อมูลเบื้องลึก เพื่อที่คุณจะได้รับความสนใจ ให้หาประสบการณ์ในสาขาเฉพาะของคุณ แล้วคุณจะมีรากฐานในการหาข้อสรุปได้อย่างรวดเร็ว
              • ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นพยาบาลที่ต้องทำงานร่วมกับผู้ป่วยโรคจิต การเรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เกี่ยวกับการแทรกแซงการพยาบาลทางจิตเวช อาจช่วยให้คุณสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

              ข้อที่ 4. ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสิ่งรบกวนอื่น ๆ

              • หากคุณรู้ว่าสถานการณ์เรียกร้องให้มีการคิดอย่างรวดเร็ว ให้ลดการรบกวนที่อาจดึงดูดความสนใจจากงานที่ทำอยู่
                • ขจัดเสียงรบกวนภายนอกเช่น วิทยุ โทรทัศน์ หรือเพลงที่เล่นผ่านหูฟัง
                • ปิดโซเชียลมีเดีย และแท็บพิเศษในเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ตขณะทำงาน

                ข้อที่ 5. ลดการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน

                • มุ่งเน้นไปที่งานอย่างเดียวในแต่ละครั้ง จะช่วยให้คุณมุ่งเน้นและช่วยให้คุณสามารถตอบสนองได้เร็วขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับคำถามหรือปัญหา พยายามจดจ่ออยู่กับงานเพียงครั้งละหนึ่งเดียว แม้ว่าคุณจะไม่ว่างก็ตาม
                  • ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีคิวลูกค้ายืนคอยรับบริการและโทรศัพท์ดังขึ้น ให้เลือกสิ่งหนึ่ง เช่นคุณอาจต้องมุ่งเน้นลูกค้าที่อยู่ข้างหน้าของคุณก่อน และให้คนอื่นรับโทรศัพท์แทน หรือปล่อยให้เป็นการตอบรับข้อความเสียงอัตโนมัติ หรือถ้าคุณมีงานให้ทำหลายอย่าง ให้เลือกงานหนึ่งเดียวที่จะทำให้เสร็จสมบูรณ์ แล้วจึงทำงานถัดไป

                  วิธีที่ 3: การบ่มเพาะการคิดอย่างรวดเร็ว (Method 3: Cultivating Quick Thinking)

                  ข้อที่ 1. ปลูกฝังความคิดในการเติบโต

                  • การศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้จากความผิดพลาด ช่วยปรับปรุงกระบวนการทางจิตใจของคุณ ทำให้คุณคิดได้อย่างรวดเร็วและดีกว่าเดิม
                  • ใช้เวลาในการตรวจสอบความสำเร็จของคุณ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือตรวจสอบความล้มเหลวของคุณ การเรียนรู้ข้อผิดพลาด เป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการเพิ่มพูนความรู้

                  ข้อที่ 2. ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดอย่างรวดเร็ว

                  • สมองของคุณเป็นกล้ามเนื้อที่ตอบสนองต่อการฝึก การเข้าร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดอย่างรวดเร็ว สามารถปรับปรุงอารมณ์ของคุณ คุณจะรู้สึกมีความสุขและสร้างสรรค์มากขึ้น ในเวลาเดียวกันคุณจะได้ฝึกฝนทักษะการคิดที่รวดเร็ว
                    • อ่านบทความหรือบทหนังสือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จากนั้นให้เวลาตัวเอง 20 วินาที สรุปอย่างรวดเร็ว
                    • อ่านตัวอักษรและท่องคำ ให้ทำสิ่งนี้ให้เร็วที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้
                    • เล่นเกมที่ต้องจับเวลา
                    • ลองแบบทดสอบออนไลน์ หรือแอปที่มีกิจกรรมฝึกสมอง
                    • นึกถึงรายการสิ่งที่คุณได้ทำหรือเห็นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เช่นรถยนต์ หนังสือ ภาพยนตร์ ฯลฯ
                    • เล่นเกมปฏิภาณโวหารกับเพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน

                    ข้อที่ 3. ใช้ประสาทสัมผัสของคุณทั้งหมด

                    • ประสาทสัมผัส ทำให้สมองของคุณเรียกคืนข้อมูลที่คุณต้องการกู้คืนได้เร็วขึ้น ให้เชื่อมโยงสี กลิ่น หรือความรู้สึกทางกายภาพ กับคำหรือความคิด
                      • ตัวอย่างเช่น ในขณะที่อ่านบทความในหนังสือพิมพ์ คุณอาจจำข้อมูลได้ดีขึ้น ถ้าคุณใส่ใจกับรายละเอียดทางประสาทสัมผัสเช่น วิธีที่ผู้เขียนอธิบายลักษณะ หรือการกระทำของใครบางคน

                      ข้อที่ 4. จัดลำดับความสำคัญงานให้สมองของคุณ

                      • ใช้ปฏิทินเพื่อติดตามเหตุการณ์ ที่ต้องการใช้อ้างอิงในภายหน้า เพื่อไม่ต้องใช้พื้นที่สมองที่มีค่า สำหรับการบันทึกข้อมูลไว้
                        • ตัวอย่างเช่น คุณสามารถจดบันทึกนัดหมายที่คุณมี วันที่ครบกำหนดของบิล หรือรายการสิ่งที่ต้องทำ

                        ข้อทื่ 5. ทำซ้ำ ๆ กับข้อมูลที่คุณต้องการทราบ

                        • การท่องข้อมูลออกมาดัง ๆ หรือการเขียนลงไป จะเป็นการเสริมสร้างเส้นทางประสาทที่ก่อให้เกิดความทรงจำ พยายามอ่านข้อมูลที่สำคัญซ้ำ ๆ เพื่อให้สามารถเรียกคืนข้อมูลได้ง่ายขึ้น
                          • ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องการจำวันที่ของการนำเสนองานที่สำคัญ หรือท่องชื่อเพื่อนร่วมชั้นคนใหม่ของคุณ

                          วิธีที่ 4: รักษาสุขภาพสมองให้แข็งแรง (Method 4: Keeping Your Brain Healthy)

                          ข้อที่ 1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

                          • การวิจัยแสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มจำนวนหลอดเลือดเล็ก ๆ ที่นำออกซิเจนไปยังสมองของคุณ การออกกำลังกายยังช่วยลดความดันโลหิต และช่วยในการจัดการกับความเครียด
                            • เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เครียด ให้เดินเล่น หรือออกกำลังกาย การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพของคุณ จะช่วยให้สมองของคุณสดชื่น และกระตุ้นให้เกิดการคิดที่เร็วขึ้น

                            ข้อที่ 2. กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

                            • สมองของคุณต้องการพลังงานจำนวนมากในการทำงานอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องกินอาหารที่จะกระตุ้นให้เกิดความคิด อาหารบางชนิดดีสำหรับสมองของคุณ ในขณะที่อาหารอื่น ๆ อาจนำไปสู่การคิดไม่ออก
                              • บริโภคอาหารเช่นธัญพืช ปลาแซลมอน เมล็ดแฟลกซ์ บลูเบอร์รี่ ขมิ้น และผักใบเขียว เพื่อช่วยให้สมองแข็งแรง
                              • ลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีจากสัตว์ หรือน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธี

                              ข้อที่ 3. รักษาสุขภาพทางอารมณ์ให้ดี

                              • คนที่มีความกระวนกระวายหรือหดหู่ มีแนวโน้มที่จะได้คะแนนต่ำกว่า ในการทดสอบความรู้ความเข้าใจ
                              • ให้พูดคุยกับเพื่อนเพื่อหาคำปรึกษา หรือปรึกษาแพทย์ หากคุณเชื่อว่า คุณกำลังทุกข์ทรมานจากความวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้ามากเกินไป

                              ข้อที่ 4. นอนหลับให้เพียงพอ

                              • การอดนอนและอ่อนเพลีย มีแนวโน้มที่จะทำให้ผลลัพธ์ในการทดสอบความรู้ความเข้าใจต่ำลง
                              • ผู้ใหญ่ต้องการเวลานอนหลับ 7 ถึง 9 ชั่วโมง เพื่อรักษาสุขภาพ
                              • สมองของคุณจะไม่กระฉับกระเฉง ถ้ารู้สึกเหนื่อย

                              เคล็ดลับ

                              • การอ่านหนังสือ ช่วยให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
                              • หากคุณมีสมาร์ทโฟน มีแอปพลิเคชันที่ออกแบบมาเพื่อฝึกการทำงานสมองของคุณโดยเฉพาะ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้แก่ Lumosity, Brain Age Game, Clockwork Brain, Memory Trainer ฯลฯ
                              • ดื่มด่ำกับสิ่งที่คุณสนใจหรือมีความหมายกับคุณ จะช่วยให้คุณจำได้ดียิ่งขึ้น การเข้าชั้นเรียนใหม่ เป็นการเริ่มต้นที่ดี
                              • หลีกเลี่ยงการทำงานหนักเกินไป หรือทำให้สมองเครียด คุณควรหยุดพักบ้าง
                              • คุณอาจหรือไม่อาจรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงในทันที เพราะการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา

                              ************************************

                              คำถามที่ 1. ความเข้าใจ (comprehension) หมายถึงอะไร?

                              • ตามพจนานุกรม Merriam-Webster ความเข้าใจ หมายถึงความสามารถในการรับข้อมูล จากนั้นนำความรู้นั้นไปใช้ในการทำงาน ความเข้าใจจะช่วยให้คุณคิดได้อย่างรวดเร็ว
                              • ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเรียนรู้แนวความคิดเมื่ออ่านหนังสือหรือขณะที่กำลังเรียนอยู่ ความเข้าใจของคุณจะสูงกว่าการจดจำ
                              • ความเข้าใจของคุณยิ่งสูงเท่าไหร่ คุณก็สามารถคิดได้เร็ว และตอบสนองต่อสถานการณ์ ด้วยความฉับไวมากขึ้น

                              คำถามที่ 2. จะทำอย่างไรถ้าฉันได้พยายามแล้ว แต่ฉันมักจะเครียดเกินไปที่จะทำให้มันได้ผล?

                              • คุณอาจต้องการลองทำกิจกรรมลดความเครียด เช่นการทำสมาธิ โยคะ การเขียนเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณ หรือการทำบางสิ่งที่คุณชอบ เช่นงานอดิเรก

                              คำถามที่ 3. ออกซิเจนจะช่วยให้สมองผ่อนคลายได้อย่างไร?

                              • สมองของคุณต้องการออกซิเจนเพื่อการทำงานได้ ซึ่งเป็นเหตุผลแรกที่เราต้องหายใจ
                              • ในโลกปัจจุบันอากาศไม่บริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมหนัก ดังนั้น การเพิ่มออกซิเจนจึงเป็นสิ่งที่ดีต่อสมอง

                              คำถามที่ 4. จะมีวิธีตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นอย่างชาญฉลาดได้อย่างไร?

                              • คิดก่อนตอบ
                              • พูดอะไรง่ายๆ เป็นคำนำเช่น "ฉันเข้าใจว่าสิ่งที่คุณกำลังพูด ... " เพื่อให้ตัวคุณเองมีเวลาสักสองสามวินาทีที่จะคิด เพื่อให้แน่ใจว่า การตอบสนองของคุณมีโครงสร้างที่ดี มีเหตุผล และเป็นไปอย่างราบรื่น
                              หมายเลขบันทึก: 658650เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2018 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2018 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


                              ความเห็น (0)

                              ไม่มีความเห็น

                              พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
                              ClassStart
                              ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
                              ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
                              ClassStart Books
                              โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท