การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัยในโรงเรียน


บทที่ 1 บทนำ

ความเป็นมา

     การจะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีให้ทันยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ จำเป็นต้องเน้นทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจสําคัญ ของการพัฒนาประเทศเด็กเป็นทรัพยากรที่สําคัญที่สุดของประเทศ ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 ปีเป็นช่วงระยะที่สําคัญสุดของพัฒนาการทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ สังคมและบุคลิกภาพ (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. 2550 : 1) และในด้านสุขภาพอนามัย การเจริญเติบโตของเด็กถือเป็นตัวชี้วัดสําคัญต่อสุขภาพโดยรวม ซึ่งตัวบ่งชี้ที่บอกถึงการเจริญเติบโตของเด็กได้ ดีคือภาวะโภชนาการของเด็กภาวะโภชนาการที่ดีเป็นรากฐานของการมีสุขภาพที่ดีตลอดชีวิต อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพอาหารที่บริโภคเข้าไปนั้นจะเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายอีกทั้งทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และทำให้การทำงานของร่างกายเป็นไปตามปกติ (ธีรภัทร์ ฉ่ำแสง. 2556 : 1) ถ้าได้รับอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอทำให้มีภาวะโภชนาการที่ดี อาหารมีความสำคัญต่อเด็กมากจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ความสามารถในการต้านทานโรคความเจริญของระบบสมองและเส้นประสาทที่มีผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์และบุคลิกภาพของเด็ก (ศิริศักดิ  สุนทรไชย. 2556 : 34)

     ปัญหาโภชนาการในปัจจุบันนับวันเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป สืบเนื่องมาจากวิถีชีวิตของคนในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นวิถีที่เร่งรีบ อาหารจานด่วน สะดวกรวดเร็วทันใจ ซื้อหาบริโภคได้ง่าย จึงเป็นตัวเลือกหลักสำหรับพ่อแม่ในสังคมยุคนี้ที่จะเลือกและจัดหาให้เด็ก หรือบางครั้งอาจจัดให้ ตามที่เด็กเรียกร้อง ประกอบกับสังคมของเทคโนโลยีดิจิตอล สื่อ โฆษณาอื่นๆ ที่เข้ามามีบทบาทต่อการบริโภคอาหารของเด็กและผู้ใหญ่ จึงทำให้วิถีชีวิตของพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป จากที่เมื่อก่อนพ่อแม่จะเป็นผู้ลงมือจัดเตรียมอาหารให้เด็กได้รับประทานเองก็เปลี่ยนไป เนื่องจากพ่อแม่ต้องเร่งรีบไปทำงานและส่งลูกเข้าโรงเรียนให้ทัน และแข่งกับเวลา จึงมีเวลาในการจัดหาอาหารให้เด็กน้อยอาจจะตัดสินใจเลือกซื้ออาหารที่ร้านสะดวกซื้อหรือ อาหารตามร้านค้า อาหารจานด่วนซึ่งอาหารเหล่านี้บางครั้งก็ทั้งมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์

     ดังนั้นการที่จะให้เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี ต้องได้รับความร่วมมืออย่างดีจากพ่อ แม่ ครู บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดูแลหาจัดเตรียมเลือกซื้อ ประกอบอาหาร เพื่อให้เด็กมีโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพเพราะการจัดอาหารที่ถูกต้องพอเหมาะกับความต้องการของเด็ก จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตมีพัฒนาการดีสมวัยทั้งร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์และจิตใจ เด็กที่ได้อาหารไม่พอเพียง ไม่เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพจะทำให้เกิดการขาดอาหารได้จึงจำเป็นที่บิดามารดาและผู้ที่เกี่ยวข้องในการเลี้ยงดูเด็กจะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องในการให้อาหารทีÉมีคุณค่าและเหมาะสมตามวัยแก่เด็ก เพื่อป้องกันการขาดอาหารในเด็ก และเป็นการส่งเสริมให้ เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างเหมาะสม พ่อ แม่ ครูควรให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารให้เด็กในวัยนี้อย่างถูกต้องและเพียงพอกับความต้องการตาม ที่สําคัญผู้ปกครองต้องมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเด็กด้วย เพราะในบางครั้งเด็กอาจเบื่ออาหาร ห่วงเล่น ปฏิเสธ อาหารแปลกๆใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอด้วย เหตุผลดังกล่าวจึงสนใจศึกษาลักษณะและเปรียบเทียบพฤติกรรม การบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย ในโรงเรียนสังกัด กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีประโยชน์นำไปใช้ในการวางแผน และจัดทำเป็นแผนการจัดอาหารให้กับเด็กปฐมวัยใน โรงเรียน และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีให้กับเด็กปฐมวัยได้

สถานการณ์ปัจจุบัน

      ลักษณะพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ เด็กปฐมวัยพบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหาร 6 กลุ่ม ในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า รับประทานในระดับปานกลาง สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง คือประเภท ข้าวเหนียว ไก่ ย่าง ไก่ทอด หมูปิ้ง (ร้อยละ 53) และ ข้าวต้มหรือโจ๊ก หมู ไก่ ปลา กุ้ง ตับ หมู (ร้อยละ 53) ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า คนไทยส่วนใหญ่จะบริโภคข้าวซึ่งเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลักทุกมื้อ ดังนั้น อาหารเช้าของเด็ก พ่อ แม่ ผู้ปกครอง จึงจัดอาหารประเภทข้าวแป้งให้กับเด็ก รับประทานในตอนเช้า จะให้พลังงานแก่ร่างกายเด็ก สอดคล้องกับ (วลัย อินทร์มพรรย์. 2541 : 548 ) ที่กล่าวว่า เด็กนั้นควรได้รับอาหารประเภทข้าว อย่างน้อยวันละ 3 ครั้งเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆในระหว่างเรียน และเด็กส่วนใหญ่ไม่บริโภคอาหารกลุ่ม ข้าว-แป้ง ประเภท พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟราย (ร้อยละ 54) เนื่องจากว่าอาหารดังกล่าว ไม่ได้เป็นอาหารหลักของคนไทย แม่จึงไม่ได้ จัดเตรียมอาหารให้ เด็กรับประทานอาหารกลุ่มผัก เด็กไม่รับประทานอาหารกลุ่มผัก ประเภทผักซุปแป้งทอด เช่น แครอททอด ฟักทองทอด (ร้อยละ 55 ) เนื่องจากว่าผักเป็นอาหารที่เด็กไม่ชอบรับประทาน แต่ก็จำเป็นจะต้องพยายามฝึกตั้งแต่เล็ก และหาทางสร้างแรงจูงใจให้เด็กกินผักได้ และรวมทั้งควรพยายามหมุนเวียนชนิดของผักให้หลากหลายชนิดในแต่ละสัปดาห์และควรพยายามจัดอาหารผักที่สดและปรุงสุกใหม่ๆ เนื่องจากมีรสชาติดีกว่าอาหารผักที่ปรุงสุกไว้นานแล้ว (ทัศนีย์ ลิ่มสุวรรณ. 2556 : 6-21 )

     อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์โปรตีนเด็กส่วนใหญ่ รับประทานเนื้อสัตว์ทอดผัดด้วยนำมัน เช่น หมูทอด ไก่ทอด ปลาทอด (ร้อยละ 41) เนื้อสัตว์ปิ้งย่าง (ร้อยละ 35) ไข่ต้ม ไข่ตุ๋น ไข่พะโล้ ไข่ลวก (ร้อยละ 33) ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ปิ้ง (ร้อยละ 32) ที่เป็นเช่นนี้เพราะเด็กวัย 1-6 ขวบ ต้องการสารอาหารที่มีโปรตีนมากเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิมิต้านทานต่อโรคต่างโปรตีนจำเป็นมากสำหรับการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ซ่อมแซมและทดแทนเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพ โดยพื้นฐานแล้วโปรตีน จำเป็นต่อระยะหรือช่วงการเจริญเติบโตสูงสุด (optimum growth) ของเด็ก เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับโปรตีนวันละ 18 กรัมต่อวัน อายุ 4-5 ขวบ ควรได้รับโปรตีนวันละ 22 กรัมต่อวัน โปรตีนควรเป็นโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ต่างๆ (พัทธนันท์ ศรีม่วง. 2554 : 328) อาหารกลุ่มนมและผลิตภัณฑ์จากนม พบว่า เด็กนั้นรับประทานอาหารกลุ่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นประจำทุกวันคือ นมรสจืด (ร้อยละ 40) และนมรสหวาน (ร้อยละ 35) แต่ไม่รับประทานนมถั่วเหลือง (ร้อยละ 33) และโยเกิร์ต     (ร้อยละ 33) และรับประทานนมเปรี้ยว (ร้อยละ 33) ในระดับปานกลาง สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ที่เป็นเช่นนี้นมเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์หลายชนิด มีโปรตีน แคลเซียมสูง และประกอบกับเป็นอาหารที่ดื่มง่าย การสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน มักพบว่าเด็กวัยนี้ได้รับอาหารที่มีแคลเซียมต่ำมาก การได้รับนมเพิ่มเติมจะช่วยให้ เด็กได้ รับแคลเซียมเพียงพอ นมที่ให้ควรเลือกเป็นนมรสจืด ไม่ปรุงรสหวาน การให้ นมในช่วงเช้าเหมาะสมมากกว่าในช่วง บ่ายเนื่องจากในช่วงบ่ายเด็กมักวุ่นวายอยู่กับการเล่น การ เตรียมตัวกลับบ้านกรณีที่ไปโรงเรียนทำให้ไม่อยากดื่มนม บางคนนำกลับบ้านไปให้พี่เลี้ยงหรืออาจทิ้งกลางทาง เด็กควรได้รับนมวันละ 2 แก้ว หรืออย่างน้อย 1 แก้วต่อวัน (ทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ. 2556 : 6-21)

     กลุ่มขนมและเครื่องดื่มเด็กส่วนใหญ่รับประทานอาหารกลุ่มขนมและเครื่องดื่มทุกประเภทใน ระดับปานกลาง สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ตามลำดับคือ ขนมเบเกอรี่ เช่น เค้ก พายโดนัท เครปญี่ปุ่น แซนวิส (ร้อยละ 37) ขนมที่มีรสหวาน เช่น ไอติมหวานเย็น ช็อคโกแล็ต ลูกอม เยลลี่ หมากฝรั่ง (ร้อยละ 30) เครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน โก้โก้เย็น น้ำผลไม้ปั่น (ร้อยละ 28) ขนมขบเคี้ยว เช่น ปลาเส้นปรุงรส (ร้อยละ 28) โดยธรรมชาติของเด็กจะชอบการรับประทานพวกขนม เครื่องดื่มของหวานอยู่แล้ว เพราะเด็กจะชอบ ในรสชาติที่หวาน เคี้ยวง่าย  แต่ผู้ปกครองก็ต้องคำนึงถึงเรื่องการรับประทานอาหารชนิดนี้ด้วย เพราะจะทำให้ได้รับน้ำตาลและไขมันมากซึ่งเป็นผลเสียต่อเด็กในระยะยาวทำให้เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวานได้ และโรคฟันผุ

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญของโภชนาการ

      อาหาร ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 คือ ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ทั้งนี้ไม่รวมยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ยาเสพติดให้โทษ เมื่อรับเข้าสู่ร่างกาย (ไม่ว่าจะเป็นการดื่ม การกิน หรือการฉีด (ฯลฯ) แล้วเกิดประโยชน์แก่ร่างกาย โดยให้ สารอาหาร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง

     สารอาหาร คือ สารเคมีที่ประกอบอยู่ในอาหาร ประโยชน์ของอาหารที่เราบริโภคขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนของสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบของอาหารนั้น สารอาหารที่ร่างกายต้องการแบ่งออกเป็น 6 พวกใหญ่ๆ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ สารอาหารแต่ละพวกทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้

  1. ให้พลังงานและความร้อน ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของอวัยวะภายในและ นอกร่างกาย

  2. ช่วยบำรุงเลี้ยงหรือช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต (ในเด็ก) และช่วยซ่อมแซมร่างกาย (ในผู้ใหญ่)

  3. ช่วยควบคุมปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย และการทำงานของอวัยวะทุกส่วน

  4. ช่วยในการป้องกันและต้านทานโรค หรือช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

ความหมายของโภชนาการ

     โภชนาการ เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของอาหารที่เข้าไปในร่างกาย ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอันเกิดจากกระบวนการที่สารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อ และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

     วิชาโภชนาการเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะของการบริโภค (Science and Art of Feeding) มิได้มุ่งเพียงจัดอาหารที่มีรสดี ปรุงแต่งประณีตและราคาย่อมเยามาบริโภคเท่านั้น แต่ยังรู้จักเลือกเฟ้นและปรุงแต่งอาหารให้มีคุณค่าสูง ไม่มีโทษแก่ร่างกาย เพื่อร่างกายจะได้ใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างอนามัยได้มากที่สุด นอกจากวิชาโภชนาการจะอาศัยหลักวิชาการอื่น ๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว วิชาโภชนาการปัจจุบัน (Modern Nutrition) ยังอาศัยหลักพุทธศาสนาอีกด้วย สารอาหารบางอย่างรับประทานน้อยเกินไปทำให้เกิดโรคขาดอาหารบางอย่างรับประทานมากเกินไปทำให้เกิดทุกข์เกิดโทษหรือเกิดโรคอื่นๆแก่ร่างกายเช่นเดียวกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการกับสุขภาพ

     “อาหารคือตัวเรา” You are what you eat คำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอมา เพราะสิ่งต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรานั้น ล้วนมาจากอาหารที่เรากินเข้าไป เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จนกระทั่งคลอดออกเป็นทารก เด็ก เติบโตเป็นผู้ใหญ่ จนถึงวัยผู้สูงอายุ เราต้องกินอาหารทุกวัน เพราะอาหารไม่เพียงแต่จะนำไปประกอบเป็นส่วนต่างๆของร่างกายเท่านั้น แต่ยังทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข หรือมีภาวะโภชนาการที่ดี แต่ถ้าหากกินอาหารไม่ถูกต้อง เพียงพอ ก็จะทำให้เกิดปัญหาโภชนาการได้

     ตามคำจำกัดความขององค์กรอนามัยโลกคำว่า “สุขภาพ” หมายถึง สุขภาวะ (Well being) ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ใจ จิตวิญญาณ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข

     “สุขภาพกาย” หมายถึง ความแข็งเเรงของร่างกาย หรือการปราศจากความเจ็บป่วยของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย บุคคลที่มีสุขภาพกายดีคือบุคคลที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ และไม่เป็น “พาหะ” ของโรค หรือไม่มีเชื้อโรคซ่อนอยู่ซึ่งจะติดต่อเผยแพร่ไปยังผู้อื่นได้

     “สุขภาพใจ สุขภาพจิต” หมายถึง การมีเสถียรภาพหรือความมั่นคงทางอารมณ์ และสามารถในการปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้มีสุขภาพจิตดีจะต้องเป็นผู้ที่ยอมรับความจริง รู้จักแก้ปัญหา และมองเห็นการณ์ไกล

     “สุขภาพสังคม” หมายถึง ความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโดยมีปัญหาน้อยที่สุด

โภชนาการเป็นรากฐานของสุขภาพ

โภชนาการที่ดีมีผลต่อสุขภาพดังนี้

1. ผลทางร่างกาย ได้แก่ขนาดของร่างกาย การมีครรภ์และสุขภาพของทารก ความสามารถในการต้านทานโรค ความมีอายุยืน

สรุปได้ว่า โภชนาการที่ดีมีผลต่อสุขภาพกาย คือ

   • ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่

   • มีกำลังแรงงานมากกว่าผู้ที่กินอยู่ไม่ถูกต้อง

   • ร่างกายแข็งแรง มีความต้านทานโรคสูง

   • ไม่แก่ก่อนวัยและอายุยืน

   • มารดาและทารกในครรภ์แข็งแรง

2. ผลทางอารมณ์และสติปัญญา ผลงานทางวิทยาศาสตร์หลายแห่งเเสดงให้เห็นว่า พัฒนาการทางสมองของมนุษย์นั้นจะเกิดขึ้นเต็มที่ต้องอาศัยภาวะโภชนาการหรืออาหารที่กินด้วย มีผู้รายงานสอดคล้องกันว่าเด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีนนั้น เมื่อรักษาด้วยการให้อาหารโปรตีนคุณภาพดีในปริมาณสูง อาการเจ็บป่วยทางกายจะหายไปและกลับสู่สภาพปกติ แต่พัฒนาการทางสมองของเด็กเหล่านั้นไม่อาจแก้ไขให้กลับสู่สภาพเดิมเหมือนเด็กปกติได้ โดยเฉพาะขณะที่สมองกำลังเติบโตรวดเร็วกว่าวัยอื่น นอกจากนี้ยังมีผู้รายงานว่า การขาดกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายจะทำให้พัฒนาการทางสมองของทารกและเด็กหยุดชะงัก แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงน้อยกว่าการขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกายหรือโปรตีนคุณภาพสมบูรณ์

3. ประสิทธิภาพในการทำงาน โภชนาการที่ดีมีส่วนให้จิตใจแข็งแรง มีความมั่นคงในอารมณ์ ไม่เหนื่อยหรือท้อแท้ง่าย มีความแจ่มใสและกระตือรือร้นในชีวิต ปรับตนเข้ากับสังคมหรือสิ่งแวดล้อมได้ง่ายและมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (Maturity) เจริญเร็วกว่าผู้ที่มีภาวะทางโภชนาการไม่ดี และมีผลต่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บรรณานุกรม

กองโภชนาการกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2542). คู่มือแนวทางการใช้เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนักส่วนสูงเพื่อประเมินภาวะโภชนาการเจริญเติบโตของเด็กไทย.กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจําวันสําหรับคนไทย พ.ศ. 2546 (Dietary Reference Intake for Thais 2003).กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กัลยา ศรีมหันต์. (2541). ศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนในเขตอําเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ พย.ม. (การพยาบาลแม่และเด็ก). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล ถ่ายเอกสาร.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2542). การเลีÊยงดูเด็กก่อนวัยเรียน. กรุงเทพฯ : โชติสุขการพิมพ์25วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: ปีที่17 ฉบับที่2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2559

โครงการสุขภาพคนไทย. 2557. คนไทย “อ้วน” แค่ไหน. สุขภาพคนไทย 2557 (หน้า 10-11). นครปฐม :สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชนกนาถ ชูพยัคฆ์. (2544). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครวิทยานิพนธ์:ศศ.ม.(คหกรรมศาสตร์ศึกษา). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ. (2556 ). อาหารสําหรับเด็กวัย 1-6 ปี. เอกสารการสอนชุดอาหารและโภชนาการสําหรับเด็กปฐมวัยหน่วยที่ 6. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธีรภัทร์ ฉ่ำแสง (2556). การเฝ้าระวังด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำในโรงเรียนในเขตพื้นที่ศูนย์อนามัยที่ 2 สระบุรี.สระบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 2 กรมอนามัย. ถ่ายเอกสาร.

นงนุช ใจชื่น และคณะ. (2556). การซื้อและการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 7(1) : 137-150.

พัทธนันท์ ศรีม่วง. (2554). โภชนาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

พุทธชาด นาคเรือง. (2541). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกินมาตรฐานในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (สุขศึกษา).กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร. (2543). การพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย. สงขลา: สํานักพิมพ์อัลพลายเพรส จํากัด.

รวิวรรณ แก้วใจ. (2550). ปัจจัยทีÉสัมพันธ์กับการจัดอาหารเพื่อโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนเอกชนเขตสายไหม.วิทยานิพนธ์. วท.ม. (คหกรรมศาสตร์) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.ถ่ายเอกสาร.

วลัย อินทรัมพรรย์ (2541). อาหารสําหรับบุคคลในภาวะเปลี่ยนแปลง. เอกสารการสอนชุดวิชาโภชนาการเพื่อชีวิตมนุษย์ หน่วย 678 - 687. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิธี แจ่มกระทึก. (2541). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

วีราภรณ์ พุทธวงศ์. (2547). การรับรู้ทางโภชนาการและการจัดเตรียมอาหารของผู้ปกครองให้กับเด็กอนุบาล.ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาโภชนาศาสตร์ศึกษา. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.ถ่ายเอกสาร.

ศตรัตน์เกิดประเสริฐ. 2540. ความสัมพันธ์ระหว่างการกินอาหารพลังงานและสารอาหารที่ได้รับกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนอําเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ คศ.ม.(คหกรรมศาสตร์).กรุงเทพฯ :บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.

ศิริศักดิ สุนทรไชย (2556).เอกสารการสอนอาหารและโภชนาการของเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 1. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สํานักงานสํารวจสุขภาพประชาชนไทยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2554). รายงานการสํารวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทยการสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552.นนทบุรี:สํานักงาน26วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: ปี ที่ 17 ฉบับที่ 2เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2559

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสํารวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ :สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). การสํารวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยพ.ศ. 2555 .กรุงเทพฯ : สํานักงานสถิติแห่งชาติ

สํานักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556).แนวทางการดําเนินงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด-5 ปี.นนทบุรี: โรงพิมพ์สงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สํานักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557).รายงานประจําปี กรมอนามัย. นนทบุรี : กองแผนงาน

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์ (2550). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: บารากัช

สุธี สฤษฎิ Í ศิริ. 2555. ภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียน เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร.วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 42(1) : 78-89.

Bloom S. Benjamine. (1975). Toxonomy of Education Objective Handbook l, Cognitive Domain. New York :David Mckay

Demas, Antonia. (1995, June). Food Education in Elementary Classroom as a Means of Gaining Acceptance ofDiverse, Low Fat Food in the School Lunch. Dissertation Abtracts International. 55(12) : 3717A.

Cross,A.T. Babiez D. and Cashman L.F. (1994). Snacking Pattern Among 1,800 Adult and Children. J Am DietAssoc. 81(11): 553-556.

Summerbel,C.D. Moody R.I. ShanksJ, Stock M.J. and Geissler C. (1995). Sources of Energy from Meals VersusSnack in 220 People in Four Age Groups. Eur J Clin Rev. (49): 33-41.

Ward,S.E. (1991). “Charecterzing Adolescent Eating Behaviors with Bandura Social Learning Theory.”Dissertation Abstracts International. 51(6): 4043.

หมายเลขบันทึก: 658643เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2018 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2018 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท