ความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัย


บทที่ 1 บทนำ

ความเป็นมา

      การพูดและการสนทนามีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก ทั้งในชีวิตประจำวัน และชีวิตการทำงาน การพูดเป็นเครื่องมือสำคัญของการติดต่อสื่อสาร ที่จะนำไปความสำเร็จในชีวิต ทั้งนี้เพราะมนุษย์ต้องใช้ภาษาอยู่เสมอและใช้คำพูดในการสื่อถึงบุคคล ( Personal media ) หรือเป็นวิธีทางหนึ่งในการถ่ายทอดชักนำเอาความรู้สึกนึกคิดของตนมาตีแผ่ แสดงให้ผู้อื่นได้ทราบละเข้าใจ เมื่อเป็นเช่นนี้การพูดจึงเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่น (วิรัช อภิรัตนกุล .2524:1– 3 ) ดังนั้น การพูดการสนทนาที่ดีถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นการสร้างบุคลิกภาพที่ดีสำหรับบุคคลในอนาคต การส่งเสริมการพูดให้กับเด็กปฐมวัยมีหลายวิธี เช่น การร้องเพลง การเล่นบทบาทสมมติ ฯลฯ แต่ในที่นี้ผู้วิจัยสนใจที่จะใช้หนังสือนิทานในการส่งเสริมทักษะการพูดของเด็กปฐมวัย เพราะธรรมชาติของเด็กปฐมวัยจะชอบฟังนิทานที่มีรูปภาพประกอบจะช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากรู้อยากเห็น โดยใช้ภาษาพูดสนทนาสื่อสารกับครูเป็นการกระตุ้นให้เด็กอยากพูดทุกวันจะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาดีขึ้น

          การพูดเป็นรูปแบบหนึ่งของภาษา ที่มนุษย์ใช้เพื่อสื่อความหมาย แสดงความคิด ความรู้สึก ทัศนคติความสามารถทางสติปัญญา และการปรับตัวเข้ากับสังคม การพูดจึงเป็นวิธีสื่อความหมายที่มนุษย์ใช้มากที่สุดและเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการสื่อความหมายอีกด้วย ภาษาพูดเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ภาษาอ่านและภาษาเขียนและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนในสาขาวิชาต่างๆ (ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์.2543: 35) ดังนั้นการพูดจึงเป็นความสามารถทางภาษาที่สำคัญ ที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย เด็กที่พูดได้เร็วจะได้รับประโยชน์ด้านการสื่อสารมากกว่าเด็กที่พูดได้ช้า การพูดเป็นเครื่องมือช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นๆ ความสามารถด้านการพูดในเด็กก่อนวัยเรียน จึงเป็นเสมือนกุญแจเปิดทางไปสู่ความเจริญงอกงามทางสติปัญญา การพัฒนาชีวิตทางสังคม และการช่วยเหลือตนเอง การที่ครูมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับลำดับขั้นของความสามารถทางภาษา จะช่วยให้ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาให้แก่เด็กประถมวัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต้องเป็นไปในลักษณะของการบูรณาการเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้ได้รับการพัฒนาทุกด้านทั้งด้านการฟังและการพูด การเรียนรู้ที่เหมาะสม คือ ให้ผู้เรียนได้เรียนและปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ครูต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ได้ประพฤติปฏิบัติ ลงมือกระทำจริง การจัดกิจกรรมต่างๆให้นักเรียนมีโอกาสรับรู้ โดยผ่านการรับรู้ได้หลายทาง อาทิ การฟัง การพูด การถาม การสัมผัสและการทดลองการจัดกิจกรรมต้องท้าทาย ชวนคิด มีความยากง่ายพอเหมาะกับวัย และความสามารถของนักเรียน (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. 2545: 196)

การพูดนับเป็นทักษะหนึ่งของภาษา การพูด เป็นทักษะในการสื่อความหมายซึ่งเป็น ทักษะการคิดพื้นฐาน ที่บอกแน่นอนว่าจะพูดเพื่อถ่ายทอดความคิดเกี่ยวกับอะไรและเพื่ออะไร การจัดโครงสร้างของสิ่งที่จะพูดได้ถูกต้อง ครบถ้วน การจัดลําดับความคิดของเรื่องที่จะพูดได้ ต่อเนื่อง และสอดคล้องกัน การเลือกวิธีนําเสนอ และสํานวนภาษาให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ในการพูด การเรียบเรียงความคิดทั้งหมดแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นคําพูด การใช้เทคนิคต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในนําเสนอความคิดด้วยการพูด เช่น น้ำเสียง สีหน้าท่าทาง จังหวะ การพูดตามที่เรียบเรียงไว้ เพื่อนําเสนอความคิดของตนออกมาตามลําดับต่อเนื่อง ครอบคลุม ประเด็นสําคัญและมีรายละเอียดครบถ้วน โดยใช้วิธีที่เหมาะสม ทําให้ผู้ฟังเกิดการตอบสนอง ตามที่ผู้พูดต้องการ (สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสํานักนายกรัฐมนตรี. 2540: 33) ความสามารถ   ทางด้านการพูดของเด็กคือความสามารถทางภาษาที่เด็กแสดงออกด้วยการ ใช้ถ้อยคํา ถ่ายทอดความรู้สึก   ความต้องการ ออกมาเป็นภาษาพูดเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจและสื่อสาร ได้อย่างถูกต้องแบ่งออกเป็นสามส่วนคือความสามารถทางด้านการพูดคําศัพท์ ความสามารถ ทางด้านการพูดเป็นประโยค และความสามารถทางด้านการพูดเป็นเรื่องราว ผู้ใหญ่ควรส่งเสริม ให้เด็กมีความสามารถทางด้านการพูดสูงขึ้นซึ่งนับเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาที่จําเป็น เพราะเมื่อเด็กเติบโตขึ้นภาษาพูดจะแสดงให้เห็นว่าบุคคลที่พูดเป็นอย่างไรดังที่ นนทพันธ์ ภักดีผดุงแดน (2546 :88) กล่าวว่า คนดีนั้นคือดีด้วยการมีวิชาความรู้ศิลปะศาสตร์ต่างๆ และ ประพฤติตัวดีพร้อมทั้งกาย วาจาทั้งอัธยาศัยใจคอสุภาพเรียบร้อยสมกับหน้าที่ของตัว การ ปลูกฝังให้เด็กดีด้วยวาจาหรือมีการพูดดีพูดอย่างมีศิลปะนับเป็นหนึ่งในปัจจัยของการเป็นคนดี ซึ่งจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกฝนตั้งแต่เยาว์วัยเมื่อมีศักยภาพทางด้านสติปัญญาในส่วนของ ภาษาคือการพูดแล้วการปลูกฝังให้พูดดีพูดอย่างมีศิลปะจึงรวมเอาทั้งส่วนของการศึกษาด้าน วิชาการและการอบรมบ่มนิสัยเข้าไว้ด้วยกัน

สถานการณ์ปัจจุบัน/แนวโน้มในอนาคต

          เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มนุษย์จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา ให้สามารถเติบโตและเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต และต้องเริ่มตั้งแต่เกิด โดยปลูกฝังให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการรับรู้ เรียนรู้ และการแสวงหาความรู้นั้นสิ่งสำคัญที่สุดก็คือภาษา เพราะภาษามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่มนุษย์สามารถใช้ติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วเข้าใจง่ายสุด และนอกจากนั้นภาษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการติดต่อกับผู้อื่นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและความรู้สึกที่มีต่อกัน การติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดความรู้สึกนี้ อาจจะสื่อออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น ในการฟัง การพูดการอ่าน การเขียน และแน่นอนที่สุดวิธีพูดย่อมเป็นวิธีติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนั้นการพัฒนาภาษาพูด ยังเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาภาษาอื่นติดตามมาอีกด้วย (กรมวิชาการ, 2546, น. 1)

          นอกจากครูแล้ว ผู้ปกครองยังมีบทบาทสําคัญในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ เรียนการสอนดังพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 มาตรา 29 (2542 : 35) ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน ศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันทางสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้ชุมชนจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ข้อมูลข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยากรต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการรวมทั้งวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างกัน เบญจา แสงมะลิ (2541 : 103-107) ในปัจจุบันผู้ปกครองมีบทบาทสําคัญในการให้การศึกษาของเด็ก ถึงแม้ว่าการมีส่วนร่วมที่ผู้ปกครองมีต่อโรงเรียนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยปกติก็ตาม สิ่งที่ผู้ปกครองแต่ละโรงเรียนควรทําความเข้าใจกันถึงความแตกต่างของการให้การศึกษาแก่ ผู้ปกครองและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่มีต่อโรงเรียน คือ การศึกษาสําหรับผู้ปกครอง หมายถึงการเน้นผู้ปกครองให้เป็นครูของเด็ก และมีบทบาทในการตัดสินว่าสิ่งใดควรสอนและ สอนโดยใคร กิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนจะบริบูรณ์ขึ้นหากผู้ปกครองมีส่วนร่วม พัชรี 4 สวนแก้ว (2536 : 100-101) กล่าวว่าควรเปิดโอกาสให้อาสาสมัครได้เลือกทําสิ่งที่ชอบและทําได้ สะดวกได้แก่งานด้านการสอน เช่น เป็นผู้สอนพิเศษ ดูแลศูนย์การเรียน รับฟังเด็ก เล่านิทาน เล่นเกมเกี่ยวกับการเรียนการสอน สอนหรือดูแลและทํางานร่วมกับเด็กที่เรียนช้า ช่วยเลือก หนังสือในห้องสมุดสําหรับเด็ก ๆ สอนเด็กด้านศิลปะ ช่วยสอน เตรียมและฝึกฝนการใช้คําพูด เป็นผู้ช่วยในศูนยการเรียนรู้ผู้ปกครองมีศักยภาพมากมายที่จะเข้ามาร่วมมือกันพัฒนาเด็ก ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนําผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนในบทบาทของ ผู้ปกครองอาสาโดยเลือกให้ทํางานด้านการสอนด้วยการ เป็นผู้รับฟังเด็กขณะที่เด็กทํากิจกรรม การประดิษฐ์หุ่น สอนเด็กด้านศิลปะโดยเป็นที่ปรึกษาแนะนําและส่งเสริมให้นักเรียนประดิษฐ์หุ่น ตามความคิดของตน เตรียมและฝึกฝนการพูดทั้งด้านการพูดคําศัพท์การพูดเป็นประโยค และ การพูดเป็นเรื่องราว ทั้งในขณะที่ทําการประดิษฐ์หุ่นและเมื่อจะนําหุ่นที่ประดิษฐ์เสร็จแล้วไปใช้ ประกอบการพูดซึ่งทําให้เด็กสามารถซักถามข้อสงสัย หรือขอคําแนะนําขอความช่วยเหลืออย่าง เหมาะสมได้ตลอดเวลาที่ทํากิจกรรม

หมายเลขบันทึก: 658585เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2018 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2018 21:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท