การสร้างวิสัยทัศน์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและแรงบันดาลใจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รุ่นที่ 2


สวัสดีผู้เข้ารับการอบรม และชาว ฺBlog ทุกท่าน ,

วันนี้ผมได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักงานบริการวิชาการ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เชิญผมมาเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ "การสร้างวิสัยทัศน์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและแรงบันดาลใจ" ในหลักสูตร นักบริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รุ่นที่ 2 ให้กับข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน  68 คน

ผมจึงขอเปิด Blog นี้เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันครับ


จีระ หงส์ลดารมภ์


สรุปการบรรยาย

เรื่องการสร้างวิสัยทัศน์ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและแรงบันดาลใจ

โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

วันที่ 3 ธันวาคม 2561

(บันทึกสรุปการบรรยายโดย ทีมงานวิชาการ Chira Academy เขมิกา ถึงแก้วธนกุล)

ดร.จีระ หงส์ดลารมภ์

หัวข้อนี้มีเรื่องวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนแปลงและแรงบันดาลใจ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแบบ Learning how to learn                   

หัวข้อนี้ที่ดีคือ

1. แรงบันดาลใจ

2. Learn-Share-Care เป็นการเรียนรู้และแบ่งปันความคิดเห็นระหว่างกัน

ครั้งที่แล้วมีการกล่าวว่าเรียนวันนี้แล้วคาดหวังอะไร

อย่างบางคนในรุ่นที่แล้วบอกว่าทำงานหนัก อาจไม่จำเป็นต้องเรียน ซึ่ง ดร.จีระ ตอบว่าอันนี้คือปัญหาในเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจ ดังนั้นในวันนี้จึงเลือกหัวข้อที่ปีที่แล้วไม่ได้ทำคือการยกตัวอย่างภาคอุตสาหกรรม ถ้าเปลี่ยนแนวคิดของ Sector อื่นมาปรับใช้กับกระทรวงเกษตรฯ จะทำให้แก้ปัญหาให้มากขึ้น

ปัญหาอย่างหนึ่งเป็นเรื่องของระบบการทำงานที่ช้า  Contribution เกษตรเป็น Input ของภาคอุตสาหกรรมด้วย

Agro Industry มีบทบาทอย่างสูง Agricultural Sector ให้เกษตรไปภาคอุตสาหกรรม และการผลิตมาที่เกษตร ต้องพยายามเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเหล่านั้นมาด้วย

ประเด็นแรกคือ การดึงเอาตัวอย่างของ Industrial Sector เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำภาคการเกษตร แรงบันดาลใจคืออยากเห็นตัวอย่างอันดีในการปฏิวัติอุตสาหกรรมขั้นที่ 4 โดยเฉพาะภาคการเกษตร

ประเด็นที่สองคือ Learn-Share-Care ทุกคนได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน มีความเสรี มีความอิสระ เป็นความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่ตกลงกันได้

วัตถุประสงค์

1. สร้างวิสัยทัศน์ สร้างความเข้าใจมุมมองในการทางานของกระทรวงเกษตรฯ ในยุคที่โลกเปลี่ยน

2.ปลุกพลัง สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้และการพัฒนาของผู้ที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนากระทรวงเกษตรฯ และสังคม

3.ถ่ายทอดเครื่องมือของ ChiraWay ซึ่งสามารถที่จะช่วยสำคัญต่อการเรียนรู้และการพัฒนาในอนาคต

4.สร้างโอกาสและคุณค่าใหม่ ๆ จากการเรียนรู้ร่วมกันในวันนี้

Learning how to learn : Chira’s Way

4L’s

1. Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

2. Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

4. Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

ที่สำคัญคือ อย่าหยุดการเรียนรู้

2R’s

1. Reality – การรู้ความจริง อย่างเรื่องเกษตรไม่มีใครรู้ดีเท่ากระทรวงเกษตร ฯ และความจริงก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ และเราทำอย่างไรถึงจะยกระดับฐานะกระทรวงเกษตรฯให้สูงขึ้นโดยไม่ได้ Subsidy เขา

2. Relevance – ตรงประเด็น ก็คือนโยบาย

          เราต้องมีการนำความรู้ไปปะทะกับความจริง แล้วการเรียนหนังสือจะเป็นการเรียนที่สนุก

2i’s

1. Inspiration – จุดประกาย

2. Imagination – สร้างจินตนาการ

การทำอะไรต้องสร้างพลังให้เพื่อนร่วมงานและเกษตรกร ทำให้เขามีความหวัง  โลกในกระทรวงเกษตรฯ ต้องไม่ใช่ 1+1=2 แต่ต้องเป็นการสร้างบรรยากาศในการจุดประกายให้ประสบความสำเร็จ เราต้องปฏิรูปการเกษตรอย่างแท้จริง อีกเรื่องคือเราต้องจินตนาการถึงเกษตรกรในอนาคต จะต้องดูแลเขาอย่างไร ให้มี Imagination มากขึ้น ซึ่งถ้าเราทำทั้ง 2 อย่างจะเกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นมา เรียกว่า 3 V’s

ทฤษฎี 3 V

1. Value Added คือการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่

2. Value Creation คือการสร้างคุณค่าใหม่ อาจเพิ่มจากศูนย์หรือติดลบ และต้องเพิ่มจาก Inspiration เป็นหลัก อย่างการคิดนอกกรอบทั้งหลายสร้างได้จากการสร้างแรงบันดาลใจ

ยกตัวอย่างแรงบันดาลใจของบิล คลินตัน ได้ไปจับมือกับ….เป็นแรงบันดาลใจให้เขาต้องการเป็นนักการเมืองในอนาคต

          อย่างไรก็ตามแรงบันดาลใจต้องมีพลังร่วม และอารมณ์ร่วม จึงทำให้การสร้างคุณค่าใหม่เกิดขึ้น

3. Value Diversity คือคุณค่าจากความหลากหลาย ในยุคต่อไปเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความหลากหลายทางความคิด กระทรวงเกษตรฯ ต้องทำให้เกิดแรงบันดาลใจจากความหลากหลายให้มาก

          หลักสูตรของกระทรวงเกษตรฯ ดีมากในด้านสาระ แต่อาจยังสัมผัสคนอื่นไม่พอ  และอาจเป็นปัญหาจากความคิดที่คล้ายกัน เราต้องสร้างแรงบันดาลใจที่ให้คุณค่าจากความหลากหลาย

          อย่างถ้าเราใส่ Input 20% แต่ได้ Output 80% จะประสบความสำเร็จมาก

3L’s

1. Learning from pain

2. Learning from experiences

3. Learning from Listening

          แรงบันดาลใจอีกเรื่องหนึ่งคือจากการเรียนรู้ เราต้องนำสิ่งนี้มาเป็นประโยชน์และสร้างแรงบันดาลใจให้มากขึ้น

C&E Theory

1. Connection – การสร้างเครือข่ายต้องสร้างจากความผูกพัน

2. Engaging

          เราต้องไป Focus ที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ ผลักให้เกิดความเป็นเลิศ

C-U-V

1. Copy

2. Understanding

3. Value Creation/Value added

การสร้างแรงบันดาลใจต้องเกิดจากความเข้าใจด้วย

ทฤษฎี 3 ต.

          การประสบความสำเร็จต้องมาจากความต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทุกท่านมีกล่องประจำตัวที่ฝังอยู่ในตัว เป็น Tacit Knowledge งานของทุกท่านอยู่ในตัวตนจำนวนมาก  ถ้าใส่ในกระทรวงเกษตรฯ ด้วยจะดี

การอบรมจะเสมือนการเพิ่มชั้นไปในกล่องอบรมอึกชั้นหนึ่ง ต้องมีกระบวนการในการจับไปให้ความรู้ใหม่ ๆ ต้องมีกระบวนการในการกระตุ้นความคิดขึ้นมา อย่างหนึ่งสิงที่ผู้จัดคือต้องการให้ทุกท่านคิดเป็นกลุ่มขึ้นมา เป็นตัวที่จะจับความรู้ใหม่ จับเข้ามาให้ตัวเป็นกรอบ

อย่างเรื่องวิสัยทัศน์และแรงบันดาลใจ

กล่องที่มีอยู่แล้ว + ความรู้ใหม่+ ทฤษฎีที่สิ่งให้ เป็นกระบวนการที่ดร.จีระให้การเรียนรู้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          Chira Way คือการสอนให้เราตกปลา ไม่ใช่กินปลา แม้ว่าดร.จีระเป็นนักเรียนนอก เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกฝรั่ง แต่ในมุมคนไทยเราต้อง Back to basic ถ้าเข้าใจจะตรงประเด็นและเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย

HR Architecture

          คนเราเกิดมาต้องมีการปลูกฝังในเรื่องใดบ้าง อย่างเรื่องเกษตรกร เสมือนเป็นคนฐานล่างของประเทศ  โอกาสในการพัฒนาจึงไม่เท่ากับคนกลุ่มอื่น ดังนั้นจะทำอย่างไรถึงเสริมงานของ กระทรวงเกษตรฯ  ซึ่งมีงานที่ต้องเข้าไปช่วยเกษตรกร ซึ่งขณะนี้กำลัง Deal กับ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่า Demand Side

          ก.เกษตรฯ ต้องช่วยทั้งด้าน Supply Side และ Demand Side คำถามคือทำแล้วประสบความสำเร็จหรือไม่ ถ้าเราทำสำเร็จคือ Life Cycle ตั้งแต่เกิดถึงตาย เรียกสิ่งเหล่านี้คือสถาปัตยกรรมทางด้านคน ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของตัวคนในก.เกษตรฯ เอง อีกเรื่องเป็นการเข้าไปช่วยเกษตรกร

วิสัยทัศน์-พันธกิจ-ค่านิยมองค์กร และยุทธวิธี

          กระทรวงเกษตรฯ ต้องอยู่รอดในระยะยาว จึงจำต้องมีวิสัยทัศน์ปรับไปเรื่อย ๆ

วิสัยทัศน์ คืออะไร?

1. ทิศทางที่จะไป ไปแล้วจะทาให้เราอยู่รอด ทาให้เก่งกว่าคนอื่น และทาให้เราดูแลลูกค้า/สังคม ของเราได้

2.กระทรวงเกษตรอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร? อยากให้เป็นอย่างไร?

VISION ที่ดีต้องให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นด้วย และมีส่วนร่วมกำหนดด้วย (SHARED VISION) เพราะ VISION ไม่ใช่ของคนๆหนึ่ง

Vision without Action คงไม่ได้ประโยชน์นัก และอาจถูกมองว่าเป็นความฝัน

Mission คือ พันธกิจหรือภารกิจที่เราจะทำเพื่อตอบสนองเป้าหมายของ Vision เหล่านั้น

การกำหนด Vision Mision ไม่พอ ต้องสร้าง Core Value ขององค์กรหรือแก่นนิยม เป็นคุณค่าขับเคลื่อนองค์กรของเราสู่ความเป็นเลิศ อย่าง องค์กรดร.จีระ เน้นสร้างสรรค์ มูลค่าเพิ่ม ความสุขในการทำงาน เป็นต้น

Inspiration

          1. ดึงศักยภาพที่ซ่อนเร้นข้างในออกมา

          2. เปิดโอกาสให้ทุนมนุษย์ทำงานที่เรียกว่า Passion (ความหลงใหลในสิ่งที่อยากทำ)

          3. สร้างบรรยากาศทำงานเป็นทีม

          4. มีอิสระในการทำงานที่มีคุณภาพ

          5. ตั้งเป้าหมายหรือ Top goal

          6. มอบอำนาจ ให้ผู้เกี่ยวข้อง กัดไม่ปล่อย Overcome Difficulties

          7. เรียนรู้ใหม่ตลอดเวลา

          สรุป Inspiration ต้องไปเสริม Vision ของกระทรวงเกษตรฯ ถ้าทำให้งานดีขึ้น สิ่งนี้จะประสบความสำเร็จ

          Inspiration เป็นคุณสมบัติผู้นำที่กระตุ้นให้ทุกคนเป็นเลิศ จุดประกายให้มีอารมณ์ร่วม (Emotional Intelligence) ให้หลุดพ้นจาก Comfort Zone

ข้อแนะนำ

1.การทำงานข้ามกรมฯ

2.การทำงานข้ามกระทรวงฯ

3.การมีแรงผลักเรื่อง 4.0

4.การทำงานอย่างมีความต่อเนื่อง 3ต. และยั่งยืน (Sustainability)

5.การ Overcome วัฒนธรรมของกระทรวงฯ ที่มีแต่คนจบทางเกษตร ขาด 3V และเน้น Knowledge Sharing มากขึ้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 กับประเทศไทย 4.0

การจำยุคอุตสาหกรรมเริ่มจากจำเรื่องพลังงาน

ยุค1.0 พลังงานจากไอน้ำ 

เปรียบเทียบการเกษตรไทย ใครใคร่ปลูกก็ปลูก

ยุค2.0 พลังงานจากน้ำมันดีเซล – อเมริกาค้นพบ อเมริกาเลยรวย

          เปรียบเทียบเกษตรของไทยเริ่มส่งออกข้าว ชาวบ้านซึ่งเป็นลูกค้าในปัจจุบันก็ยังทำเหมือนเดิม

ยุค 3.0 Search Engine เป็นเรื่องข่าวสารไร้พรมแดน เว็บไซด์

ยุค 4.0 อุตสาหกรรม 4.0 ทับซ้อนกับ ไทยจะตามเขาไม่ทันแล้ว

          ยกด้วยอุตสาหกรรม เทคโนโลยีและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

และกำลังข้ามต่อไปใน ยุค 5.0 มีการพูดถึงเทคโนโลยีการสันดาประหว่างพลังงานหนึ่ง กับอีกพลังงานหนึ่ง การพัฒนานวัตกรรมใหม่  

          ดร.จีระ เสริมว่า ยุค 4.0 เป็นเรื่อง IOT และดิจิทัล

คำถามคือ แรงบันดาลใจที่นำเทคโนโลยีมาผลักการเกษตรให้ขับเคลื่อนอย่างไร แรงบันดาลใจอย่างหนึ่งคือ การมองกระทรวงอื่นนอกจากกระทรวงเกษตรฯ อย่างเดียว เพราะมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นเกิดจากดิจิทัล ดังนั้นการนำแรงบันดาลใจจากกรณีตัวอย่าง เห็นการเปลี่ยนแปลงจาก Sector อื่น แล้วมาถึง ก.เกษตรฯ จะสามารถเป็นแรงผลักดันได้

          อาจารย์พิชญ์ภูรี เสริมเรื่องการทำข้าวที่มีมูลค่า เพราะความหอมของข้าว มีการนำข้าวไปผลิตเครื่องสำอางค์  

          อย่างกระทรวงเกษตรฯ เวลาดูสินค้าให้ดูตั้งแต่ต้นน้ำ – กลางน้ำ- ปลายน้ำ เราจะสนับสนุนอะไร ต้องเข้าไปดู

          แรงบันดาลใจไม่ง่าย แต่เกิดจากแรงความคิดที่จะสร้างอะไรใหม่ ๆ หรือเกิดจากของเก่าที่มีอยู่แล้ว

          แรงบันดาลใจอยู่ในกล่องที่ท่านมีอยู่ในตัวอยู่แล้ว แล้วจับงานขึ้นมา ถ้าเรามีอะไรใหม่ ๆ สร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ไปเชื่อมโยงกับลูกน้อง กับหน่วยงานอื่น ๆ ต้องเริ่มจากคนเป็นองค์ประกอบด้วย อย่างเช่น คนในอุตสาหกรรม 4.0 ต้องสามารถแก้ปัญหาซ้ำซ้อนได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          แรงบันดาลใจเกิดจากอารมณ์ที่เกิดขึ้น แล้วสามารถเอาชนะอุปสรรคได้

          ทรัพยากรมนุษย์ คือการลงทุนในตัวท่าน ถ้าเราลงทุนไป1 แล้วคือมามากกว่า 1 ก็จะจบ อย่างทฤษฎีทุน 8K’s  (ทุนที่ 1 เป็นตัวแม่ ทุนที่ 2-8 เป็นคุณสมบัติ)

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital                  ทุนมนุษย์

Intellectual Capital           ทุนทางปัญญา

Ethical Capital                  ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital             ทุนแห่งความสุข

Social Capital                   ทุนทางสังคม

Sustainability Capital         ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital                   ทุนทาง IT

Talented Capital              ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) :ทฤษฎีทุนใหม่ 5ประการ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวันน์

Creativity Capital              ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital           ทุนทางความรู้

Innovation Capital             ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital             ทุนทางอารมณ์

Cultural  Capital               ทุนทางวัฒนธรรม

อย่างวันนี้เราใช้ 2R’s 2i’s และ8K’s 5K’s โดยใช้กระบวนการ 4L’s ปะทะกันทางปัญญา การทำ Workshop จะมีตัวอย่างในการทำให้เกิดขึ้นได้

          การบรรยายตอนเช้าจะงง และเมื่อทำ Workshop จะลดความงงลง เชื่อว่าเมื่อท่านเข้ากลุ่มแล้วจะทำให้ทุกท่านเกิดปัญญามากมาย

          อาจารย์พิชญ์ภูรี เสริมว่าทุนทางนวัตกรรมต้องหมายถึงทำให้เกิดความสำเร็จได้


Workshop :

1.ได้อะไรจากclass วันนี้ แรงบันดาลใจทำให้ประสบความสำเร็จอย่างไร (ทำทุกกลุ่ม)

2.วิเคราะห์ H.R. Architecture (สถาปัตยกรรมด้านทุนมนุษย์) เพื่อวางแผนงานตามพันธกิจ (2.1) "การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีความมั่นคง" (2.2) "ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน"

3.การวิเคราะห์เพื่อหาแนวทาง "พัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ" โดยใช้เครื่องมือตามทฤษฎีต่าง ๆของ ChiraWay (อาทิ 2 R /4 L /8 K, 5K )

4.เลือกตัวอย่าง "สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ" 1 ตัวอย่าง เพื่อนำเสนอแนวทาง "ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพตลอดห่วงโซ่อุปทานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และส่งเสริมงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อนามาใช้ประโยชน์"

5.วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งในภาพรวมขององค์กร เพื่อหาแนวทางความสำเร็จตามยุทธศาสตร์เกษตร 4.0ด้วยทฤษฎี 3วงกลม

6. วิเคราะห์ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจน้องมีคุณลักษณะอย่างไร?และจะพัฒนาผู้นาเหล่านั้นอย่างไร

การนำเสนอ Workshop

กลุ่มที่ 4

1.ได้อะไรจากclass วันนี้ แรงบันดาลใจทำให้ประสบความสำเร็จอย่างไร

          แรงบันดาลใจทำให้เราคิดนอกกรอบ ให้เดินตามกรอบต่าง ๆ ได้เปิดแนวคิดว่า คิดนอกกรอบ คิดอย่างอื่นเกิดแนวทางการพัฒนา ได้สร้างเครือข่ายใหม่ ๆ ชนะอุปสรรค

4.เลือกตัวอย่าง "สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ" 1 ตัวอย่าง เพื่อนำเสนอแนวทาง "ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพตลอดห่วงโซ่อุปทานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และส่งเสริมงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อนามาใช้ประโยชน์"

          น้ำผึ้ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพด้านสุขภาพมีประโยชน์ทุกส่วน ทั้งแต่ตัวผึ้ง น้ำผึ้ง พิษผึ้ง ถ้ามีการวิจัยจะเป็นประโยชน์เกษตรกร

          ห่วงโซ่อาหาร

          ต้นน้ำ ประกอบด้วย บุคคล วิธีการเลี้ยงเพื่อเพิ่มคุณค่า คุณค่าจากความหลากหลาย สร้าง Story ความเป็นมา จากท้องถิ่น จากลำไย เราต้องพัฒนาวิธีการผลิต พื้นที่ที่เลี้ยง สร้างคุณค่าในความหลากหลาย

          กลางน้ำ คือการสร้างแบรนด์ การสร้างการวิจัยและพัฒนา อย่างพิษผึ้งทำเป็นครีม น้ำผึ้งก็สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สร้างมูลค่าขึ้นมา

          ปลายน้ำ คือการสร้างเครือข่ายชุมชนต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ออนไลน์ การเชื่อมโยงคุณค่าผลิตภัณฑ์ การพัฒนาต้องอาศัยความรู้ ความคิดใหม่ ๆ ในการกำหนดคุณค่า

ดร.จีระ เสริมว่า กลุ่มนี้ต้องประเด็น มีการนำ 3 V มาใช้อย่าง Diversity  แต่ละกลุ่มมีความคิดไม่เหมือนกัน ปะทะกันทางปัญญาไม่ได้ขัดแย้งกัน เป็นการปะทะแล้วมีประโยชน์ ฟังแล้วทำให้มีความหวังว่าถ้าคนในห้องนี้คิดแล้วมีทางออกอื่นคือการเรียนรู้แบบ Inspiration

          ฝากกลุ่ม 1 ให้อ่านหนังสือมากขึ้น

กลุ่มที่ 5

1.ได้อะไรจากclass วันนี้ แรงบันดาลใจทำให้ประสบความสำเร็จอย่างไร

          แรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนองค์กร ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์หลากหลาย มีการวิเคราะห์ร่วมกัน ได้หลักคิดตามแนว Chira Academy

5.วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งในภาพรวมขององค์กร เพื่อหาแนวทางความสำเร็จตามยุทธศาสตร์เกษตร 4.0ด้วยทฤษฎี 3วงกลม

จุดแข็ง
1. มีนโยบายชัดเจนมาก ทางกระทรวงเกษตรฯ ให้การสนับสนุนนโยบาย มีหน่วยเหนือและงบประมาณสนับสนุน มีความพร้อมองค์กรเต็มที่

          2. ด้านประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่มีการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจตรงกัน อย่างเกษตรแปลงใหญ่ มีระบบสารสนเทศพัฒนาเรื่อย ๆ

          3. แรงจูงใจขับเคลื่อน เกษตรกรมีความพร้อม มีนโยบายชัดเจน เงินทุนสนับสนุน เกษตรกรมีความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ มีมาตรฐานรองรับระดับฟาร์มและการแปรรูป การทำฟาร์ม ประมง ไร่นา มีการยกระดับแปรรูป

          4. มีการตลาดที่ดีขึ้น เริ่มมีการรวมกลุ่ม ช่วงว่างงานมีการหมุนเวียนเป็นลูกค้า เป็นจุดเด่นในการขับเคลื่อนเกษตรแปลงใหญ่ ขับเคลื่อนในพื้นที่ตามมุมมองที่มีศักยภาพ

          จุดอ่อน

          1. องค์กรเจ้าหน้าที่ขาดการบูรณาการในสายงาน ต้องมีความพร้อมในหน่วยงาน พบว่าบางที่ไม่พอ

          2. ข้อจำกัดด้านพื้นที่

          3. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่เพียงพอ

          4. ฐานข้อมูลเกษตรกรไม่นิ่ง ต้องมีการทบทวนแผนให้เป็นปัจจุบัน

          5. เกษตรกรมีอายุมาก เกษตรกรเริ่มไม่แน่ใจในการสนับสนุนของรัฐบาล เนื่องจากรัฐมีการถอยออกมา มีการแปรรูป Packaging

การแก้ไขปัญหา

          1. เพิ่มประสิทธิภาพการบูรณาการ ใช้ Big Data ในการปรับปรุงพื้นที่ และปรับให้เป็นปัจจุบัน

          2. มีคู่มือในการสื่อสาร และมีการ Conference

          3. ส่งเสริมเกษตรกรสร้างเครือข่าย สนับสนุนเป็นวิสาหกิจสหกรณ์ สนับสนุนด้านการตรวจประเมิน ค่าใช้จ่าย และการค้าขาย รายได้ผันสู่สมาชิก

          ดร.จีระ เสริมว่า ชมเชยที่นำทฤษฎี 3 วงกลมมาใช้ ถ้าซ้อนกันเมื่อไหร่ ก็จะทำให้การบริหารคนในองค์กรมีประสิทธิภาพ เพราะมนุษย์ต้องทำงานในองค์กร ต้องทำให้องค์กร LEAN และ Line of command เร็วขึ้น

          เรา Commend ได้ต้องมีประสบการณ์ร่วมกัน เราไม่ต้อง Lecture ยาว เพราะสมองใส่ได้ ข้อดีคนในห้องนี้คือเป็นสายวิทยาศาสตร์  เราต้องต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง  Inspiration ที่สำคัญที่สุดคือขอให้ต่อเนื่อง

กลุ่มที่ 6

1.ได้อะไรจากclass วันนี้ แรงบันดาลใจทำให้ประสบความสำเร็จอย่างไร

          1.ได้อาจารย์ดร.จีระเป็นผู้นำในการสร้างแรงบันดาลใจในคลาสวันนี้ 2. เวลาเราทำอะไรสักอย่างให้เกิดความสำเร็จ ถ้าไม่มีแรงบันดาลใจจะปลุกเร้าไม่ได้ เราเห็นตัวอย่างจากในหลวง ร.9 ถ้าอยากเป็นผู้นำต้องเรียนแบบท่าน

6. วิเคราะห์ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจน้องมีคุณลักษณะอย่างไร?และจะพัฒนาผู้นาเหล่านั้นอย่างไร

          กระทรวงเกษตรฯ น่าจะยึดในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นแรงบันดาลใจ ดึงนำศาสตร์พระราชา 23 ข้อมาใช้ ตอบโจทย์ว่าผู้นำของกระทรวงเกษตรฯ และของประเทศไทยมีลักษณะอย่างไร

          การพัฒนาผู้นำเหล่านั้นอย่างไร ผู้นำต้องใช้แรงบันดาลใจจากที่ในหลวงฯทำให้เห็น โดยการปฏิบัติได้จริงนำศาสตร์พระราชามาใช้ สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นจริง และจะทำให้เกิดความยั่งยืน

          ดร.จีระ เสริมว่า ถ้าจะใช้ศาสตร์พระราชามาเป็นแรงบันดาลใจผู้นำ ผู้นำที่ดีในอนาคตต้องเป็นผู้นำที่รับใช้คนอื่น (Servant Leadership)

          ชื่นชมการเข้ากลุ่ม Workshop ทั้ง 6 กลุ่ม จะอยู่ในความทรงจำของ ดร.จีระ บรรยากาศดีมาก นำศาสตร์พระราชาเข้ามา ต่อไปต้องสร้างผู้นำที่เป็นเกษตรกร เปิดโอกาสให้เขามีเกียรติและศักดิ์ศรี จะช่วยสร้างให้เขามีคุณภาพ

กลุ่มที่ 3

1.ได้อะไรจากclass วันนี้ แรงบันดาลใจทำให้ประสบความสำเร็จอย่างไร

3.การวิเคราะห์เพื่อหาแนวทาง "พัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ" โดยใช้เครื่องมือตามทฤษฎีต่าง ๆของ ChiraWay (อาทิ 2 R /4 L /8 K, 5K )

          ยกเรื่องผักปลอดสารพิษขึ้นมาเป็นตัวหนึ่ง อย่างการวิเคราะห์ด้วยหลัก 2 R’s เกษตรกรปลูกอยู่แล้ว มีความรู้ทุกอย่าง เกี่ยวกับทรัพยกรในพื้นที่เช่น ทรัพยากรน้ำก็มีความพร้อม เรื่องตรงประเด็นมีความเป็นไปไดในการพัฒนาต่อยอดต่อ และจะทำให้เศรษฐกิจตรงนี้พัฒนาอย่างไร ด้านความรู้มีมากทั้งเจ้าหน้าที่และเกษตรกรที่ปลูกผัก

          การนำคนมาเรียนรู้ และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้มีโอกาสที่จะพัฒนาไปได้ มีโอกาสในการเข้าตลาดระดับสูงและต่อยอดมูลค่าเพิ่ม  มีโอกาสสร้างชุมชนกลุ่มผู้ปลูกผักนี้เกิดขึ้น

          การจุดประกาย ถ้ามองถึงผลตอบแทนที่ได้รับกับโอกาสการสร้างมูลค่ามากขึ้นจากตลาดในเมืองส่งออกต่างประเทศจะช่วยให้พัฒนาต่อได้

          จินตนาการเป็นการสร้างการกระตือรือร้น จะทำให้เขาคิดได้มากขึ้น

          8K’s การมองในเรื่องคน คนมีความรู้ความสามารถ มีองค์ความรู้ทางเกษตร ทั้งเจ้าหน้าที่และเกษตรกร สามารถต่อยอดได้

          การพัฒนาเรื่องการสร้างสรรค์ มีองค์ความรู้เดิมที่มีสู่การพัฒนาขึ้นมาจะสามารถใช้ได้ เมื่อนำไประยะหนึ่งการพัฒนาทุนมนุษย์มากขึ้น เกิดความสุขในชุมชน ชุมชนมีสิ่งที่ดี มีนวัตกรรมในการต่อยอด ซื้อขายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่าง ๆ

          5K’s การสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมา มีการเข้าสู่สังคมในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้ผู้บริโภคมีสุขภาพอนามัยที่ดี และต่อยอดชุมชน

          ดร.จีระ เสริมว่า กลุ่มนี้ถูกใจ 2 เรื่องเพราะเกี่ยวกับแรงบันดาลใจ ประชาชนจะได้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ดังนั้นการ Shift ไปสุ่ผักปลอดสารพิษคือแรงบันดาลใจอย่างหนึ่ง อีกเรื่องคือเรื่องรายได้ที่ทำให้เกษตรกรมีรายได้ส่งออกมากขึ้น  เป็นการทำสิ่งที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ทำอย่างไรให้เกษตรกรเข้าใจสิ่งเหล่านี้และทำอย่างต่อเนื่องจะเป็นประโยชน์มากขึ้น

กลุ่มที่ 2

1.ได้อะไรจากclass วันนี้ แรงบันดาลใจทำให้ประสบความสำเร็จอย่างไร

2.วิเคราะห์ H.R. Architecture (สถาปัตยกรรมด้านทุนมนุษย์) เพื่อวางแผนงานตามพันธกิจ (2.2) "ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน"

          ประชากรรักษาสุขภาพเป็นหลัก มองเรื่องความปลอดภัย ทำอย่างไรให้คนในประเทศเห็นความสำคัญต่ออาชีพเกษตรกร สร้างให้ภาคเกษตรมีความมั่นคง ยั่งยืน ส่งเสริมให้เกษตรกรรุ่นใหม่ตั้งแต่เด็ก มียุวเกษตร ทำอย่างไรให้ผลิตเกษตรมีคุณภาพและปลอดภัย ในวัยทำงานสร้าง Smart Farmer เน้นการผลิตที่ปลอดภัย มีคุณภาพสามารถขายได้ มีการรวมกลุ่มวิสาหกิจสหกรณ์ เน้นการสร้างแบรนด์การจัดจำหน่าย ถ้าผลิตขายเอง ผลิตเท่าไหร่ขายได้เท่านั้น ผลิตเพื่อผู้สูงอายุ ส่งเสริมการบริโภคให้เป็นตัวอย่าง มีแบรนด์และทุกคนอยากทำ และมีรายได้ที่สูงด้วย

          ดร.จีระ เสริมว่า ขอฝากสถาปัตยกรรม HR ให้ดู อย่างในรูปเป็นทุกอายุ ไม่ได้แบ่ง ในอนาคตข้างหน้าอยากให้นำ 2 รูปไปดูว่ากลุ่มไหนที่จะส่งเสริม เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของดร.จีระ และเป็นที่ยอมรับของสังคมมากขึ้น และถ้านำมา Apply กับทุก Sector ได้จะเป็น Wisdom ของคนไทย เราจำเป็นต้องพัฒนาคนในทุกโครงสร้างอายุ จะเป็นประโยชน์ และต่อไปนี้ถ้าทำวิจัยว่ากลุ่มไหนที่จะสนใจ อย่างผู้สูงอายุ เราจะดูแลให้เป็นผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพอย่างไร และทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่สนใจภาคเกษตร และการสร้างชุมชนการเรียนรู้ในภาคเกษตรกรให้เขาออกความเห็น นำความหลากหลายเป็นมูลค่าเพิ่ม อย่าให้เกิดความขัดแย้ง แล้วมีทีมข้าราชการไปสังเกตการณ์ดู ทุกอย่างต้องพัฒนาตลอดเวลา ปรับปรุงไปเรื่อย ๆ แล้วดีเอง

กลุ่มที่ 1

1.ได้อะไรจากclass วันนี้ แรงบันดาลใจทำให้ประสบความสำเร็จอย่างไร

          มนุษย์มีความรู้อยู่ข้างในมาก พอถูกกระตุ้นจะปลดปล่อยมา

2.วิเคราะห์ H.R. Architecture (สถาปัตยกรรมด้านทุนมนุษย์) เพื่อวางแผนงานตามพันธกิจ (2.1) "การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีความมั่นคง"

          ทุกคนจะทำอะไรก็ตาม ถ้าไม่พัฒนาคนไม่ได้ คนเรามี 3 ช่วงอายุ ช่วงแรก 1-25 ปี มา 25-60 ปี และช่วง 60-ตาย

          ช่วงแรกทำอะไรบ้าง มีเรื่องการเรียนหนังสือ ซึมซับความรู้ ดูแลอาหาร สร้างคุณธรรมจริยธรรม ปลูกฝังประชาธิปไตย อยากปลูกฝังเรื่อง Socialization คือการหล่อหลอมทางสังคม  ยกตัวอย่าง หนูดีทำนา เป็นเด็กจบ มธ. ไม่ได้จบเกษตร แต่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มหาศาล

          ช่วงที่สอง มีการเรียนรู้มากขึ้น เทคโนโลยี  Innovation มีการบูรณาการ จิตอาสา มีเกษตรกรดีเด่นต่าง ๆ

          ช่วงที่สาม มีองค์ความรู้แล้วต้องถ่ายทอด  ดึงความรู้มาใช้ มีจิตอาสา บุคคลที่อยากให้เลียนแบบคือ อาจารย์ยักษ์

          ในเรื่องทุน 8K’s ช่วงแรก และช่วงที่ 2 ต้องมี 8K’s ,

          ช่วง 60 ปีถึงตาย ต้องมีความสุข มี Talented และสร้างความยั่งยืนให้ตนเอง

          ดร.จีระ เสริมว่า เปลี่ยนวิธีการ Approach เป็น Chira Way ทุกคนมาวิเคราะห์ได้ รางวัลอันหนึ่งคือ Senior Farmer เป็นปราชญ์ชาวบ้านเป็นหลักประเทศ ถ้าเรามีความสุขในการแบ่งปันชีวิตจะขึ้นอยู่ว่ามันส์หรือไม่  ความสำเร็จเกิดจากการปะทะกันทางปัญญา เราต้องต่อยอดความรู้จาก 1,2,3 เป็น 4,5,6

          ในช่วงที่สองขอเสริมแบ่งเป็นช่วง 25-40 ปี และ 40 – 60 ปี เพราะช่วง 40 – 60 ปีเป็นช่วงที่มี Wisdom และความรู้ อาจเป็นโค้ช ในช่วง25-40 ปีอาจรู้ไม่มาก เป็นช่วงต้องเรียนรู้  ประสบการณ์ยังไม่มากพอ

          การพูด 2 R’s ต้องนำความจริงมาตั้ง อยากให้ทุกท่านกลับไปสังเคราะห์ว่าที่นำไปใช้และติดตัวคืออะไร

ดร.ธันวา จิตต์สงวน

          ความรู้ในวันนี้ทุกคนต้องไปเคี้ยวใหม่ และจะได้อะไรขึ้นอยู่กับวาสนา บารมี ว่าใครได้มากน้อยแค่ไหน อาชีพของเราใช้คำว่า Key Word พูดแค่คำเดียวถ้าถูกที่ ถูกเวลา ถูกคน ก็จะเกิดให้เก็บ Sheet ไว้ก่อน แล้วเอาของมาปล่อยทีเดียวในรายงาน และอธิบายด้วยว่าความรู้ที่เรียนนั้นเป็นประโยชน์จริง

          So far, So good

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          สิ่งที่พูดคือ Key Word สำคัญที่สุดคือวิธีการเรียนคือ Learn-Share-Care แล้วใส่พันธกิจของกระทรวงเกษตรฯ เข้าไป แต่ถ้าพันธกิจอย่างเดียวก็ไม่รู้ว่าเคี้ยวแบบไหน  ทฤษฎีของอาจารย์จีระเป็นเครื่องมือ เริ่มจาก 2R’s คือตีโจทย์ให้แตก ทำให้เกิด 3V คือ Value Added ,Value Creation, Value Diversity (คุณค่าและมูลค่าจะความหลากหลาย

          อีกกลุ่มหนึ่งมีพูดเรื่องพิษผึ้ง ทำให้หน้าตึง

          สิ่งที่พบคือเห็น Creativity ทุกกลุ่ม เช่นเกษตรกรแม้แต่ตอนเกษียณก็ยังเปลี่ยน เราต้องปรับตัวทุกวัน ได้เห็นแรงบันดาลใจว่าทุกกลุ่ม Survive มีการนำกล่องของตัวท่านเอง + กับทฤษฎีได้ นำ Keyword ดึงแล้วไปตามนั้น วันต่อไปการสร้างแรงบันดาลใจต้องมีช่องให้เดินก่อน


หมายเลขบันทึก: 658457เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2018 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2018 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท