ชีวิตที่พอเพียง 3304. พระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ



เพราะการประชุมนี้ ()    จึงมีการนัดหมายไปกราบพระผู้ใหญ่ของ มจร. ในวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑   โดยมีกำหนดการ ()         

 สุขภาวะในที่นี้หมายถึงสุขภาวะองค์รวม บูรณาการทั้งด้านกาย ใจ สังคม และปัญญา    ซึ่งผมมีความเห็นว่าการเรียนรู้ตั้งแต่ออกจากครรภ์มารดาจนไปสู่เชิงตะกอน ต้องเป็นไปเพื่อสุขภาวะองค์รวมนี้    และในสังคมไทย พระสงฆ์ในพุทธศาสนามีส่วนช่วยเหลือสังคมได้มาก

แต่พระสงฆ์ก็คือมนุษย์ที่เป็นปุถุชน    มีความต้องการสุขภาวะของตนเองและกลุ่มตนด้วย

การประชุมมีพลังมาก เพราะผู้ร่วมกันจัดการประชุมคือ นพ. ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ แห่ง สสส. กับพระสุธีรัตนบัณฑิต (สุฑิตย์ อุ่นอบ) รศ. ดร. ผอ. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร. เตรียมการมาอย่างดี    มีทั้งพระผู้ใหญ่ที่มาเป็นผู้รับรู้และสนับสนุน  และพระระดับดำเนินการโครงการที่มีความสามารถมาเล่ากิจกรรมที่ดำเนินการ

  พระราชวรมุนี ปธ. ๙ ดร. รองเจ้าคณะภาค ๖   คณะกรรมการ คปพ. เพื่อการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา  รองอธิการบดี มจร. กล่าวเปิด ว่า มีการดำเนินการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา เพื่อให้ทำงานอย่างเป็นระบบ    โดยที่พระสงฆ์ต้องปฏิบัติตาม

  • พระธรรมวินัย
  • พรบ. คณะสงฆ์ (เน้นการปกครอง)
  • กฎหมายบ้านเมือง
  • จารีตประเพณี

การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนามี ๖ ด้านคือ (, , )

  1. 1. การปกครอง
  2. 2. ศาสนศึกษา
  3. 3. ศึกษาสงเคราะห์
  4. 4. เผยแผ่
  5. 5. สาธารณูปการ
  6. 6. สาธารณสงเคราะห์

กลับมาที่บ้าน ผมค้นพบเอกสาร แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ()

การดำเนินการ ร่วมกันระหว่างมหาเถรสมาคม  กับมหาวิทยาลัยสงฆ์

สรุปผลการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา   ที่นำเสนอโดยพระผู้ใหญ่ ๓ ท่าน    และเสริมโดยพระที่ปฏิบัติการในพื้นที่ ทำให้ผมได้ทราบว่า กิจการของกลุ่มพระคิลานธรรม ()    ได้ขยายผลเป็นพระคิลานุปัฏฐาก หรือพระ อสม. ทำงานร่วมกับ รพสต. ในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์    เกิดวัดสร้างเสริมสุขภาพ    มีธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ ()    งานวิจัยและพัฒนาที่เด่นๆ มี โครงการวัดสร้างสุข ()   โครงการวัดบันดาลใจ ()   โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ()    โครงการเพื่อการตายดี(๑๐)    โครงการนิสิตปฏิบัติศาสนกิจ (๑๑) ที่พระนิสิตที่เรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ๔ ปี สอบผ่านครบถ้วนแล้ว    ต้องออกไปปฏิบัติศาสนกิจ ๑ ปี  จึงจะได้รับปริญญา    นี่เป็นความรู้ใหม่สำหรับผม    โครงการวัดประชารัฐสร้างสุข (๑๒

ศ. นพ. ประเวศ วะสี ผู้ริเริ่มการประชุมนี้ กล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง สุขภาพพิเศษ สุขภาพองค์รวม ชี้ให้เห็นพลังของการบูรณาการพุทธศาสนาเข้ากับระบบสุขภาพ ว่าจะเกิดประโยชน์สุขต่อมหาชนอย่างเหลือคณา    โดยที่ระบบสุขภาพไทยได้ดำเนินมาถูกทาง    หากได้เชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนาก็จะมีพลังยิ่งขึ้น  

ในตอนท้าย ผมได้เสนอข้อคิดเห็น ๓ ข้อ

  1. 1. การโฟกัสเป้า และดำเนินการต่อเนื่อง  ไม่ดำเนินการกว้างเกินไปหรือเปะปะ    เสนอให้เอาใจใส่การปูพื้นฐานความเข้มแข็งด้านศีลธรรมคุณธรรมในคนไทยทั้งมวล ผ่านการดำเนินการในเด็กเล็ก  วัยรุ่น  และในโรงเรียน
  2. 2. เสนอประเด็นวิจัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างพระกับฆราวาส    เช่นปฏิสัมพันธ์ในการที่ฆราวาสไปวัด    จัดกลุ่มปฏิสัมพันธ์ต่างแบบ   ว่ามีฆราวาสมีเป้าหมายอะไรในการไปวัด ทางวัดจัดปฏิสัมพันธ์อย่างไร   เกิดผลอะไร    และนำเสนอ best practice เพื่อการขยายผล

เสนอให้ใช้ ICT เพื่อการทำงานพระพุทธศาสนา    มีการพัฒนาระบบ ICT ช่วยการทำงานพระพุทธศาสนา

ทางฝ่ายสงฆ์ขอให้ดำรงความเป็นเครือข่าย มีความรวมมือกันต่อไป โดยมี ศ. นพ. ประเวศ วะสี เป็นร่มใหญ่   

วิจารณ์ พานิช

๒ ต.ค. ๖๑



Monk health from Pattie KB
หมายเลขบันทึก: 657880เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2018 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2018 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท