Reflection วิชาชุมชนนศ.กิจกรรมบำบัด


Reflection ครั้งที่ 1 Home visit ครั้งที่ 1 (5/09/2561)

ความรู้สึกหลังไปลงชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ครั้งที่ 1

  • ตื่นเต้นและกังวลว่าจะประเมินผู้รับบริการได้ไม่ครอบคลุม ทำให้ไม่เห็นปัญหาของผู้รับบริการ หรือไม่ได้เห็นความสามารถที่แท้จริงของผู้รับบริการ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ทำการประเมินโดยไม่มีอาจารย์หรือพี่ CI คอยสังเกตและแนะนำ ซี่งเป็นประสบการณ์ที่หาได้ยาก และท้าทายมาก

ได้เรียนรู้อะไรจากการลงชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ครั้งที่ 1

  • ได้เรียนรู้การปรับตัว การเกิด adaptive response ของผู้รับบริการที่มีต่อพยาธิสภาพของตนเอง
  • ได้เรียนรู้การพูดคุยติดต่อ สอบถามกับคนในชุมชน ดูสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
  • เรียนรู้การแบ่งหน้าที่การทำงาน สามารถประเมินผู้รับบริการ และประเมินสภาพแวดล้อมบ้านได้ในเวลาเดียวกัน

สิ่งที่ควรพัฒนาหลังไปลงชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ครั้งที่ 1

  • ควรแบ่งคนไป approach สัมภาษณ์เพื่อนบ้านของผู้รับบริการ
  • เมื่อเจอปัญหาควรประเมินให้ครบว่า สาเหตุที่ทำให้ผู้รับบริการไม่สามารถทำกิจกรรมนั้นๆ ได้มาจากอะไร

Reflection ครั้งที่ 2 Home visit ครั้งที่ 2 (12/09/2561)

ความรู้สึกหลังไปลงชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ครั้งที่ 2

  • รู้สึกพูดคุยกับผู้รับบริการได้ง่ายมากขึ้น มีความกังวลลดลงจากครั้งแรก เนื่องจากผู้รับบริการจดจำและกล่าวทักทาย ทำให้รู้สึก approach ประเมินเพิ่มเติมและให้ intervention ได้ง่ายมากกว่าครั้งแรก เพราะว่าครั้งแรกที่มาผู้รับบริการไม่เห็นว่า ตนเองจำเป็นจะต้องได้รับการดูแล ทำให้ไม่ค่อยเล่าถึงปัญหาของตนเองที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ได้เรียนรู้อะไรจากการลงชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ครั้งที่ 2

  • การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ ทำให้ผู้รับบริการเปิดใจพูดคุยมากขึ้นอย่างแท้จริง
  • รู้สึกว่าหากเราแนะนำอุปกรณ์ช่วยที่ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ จะทำให้ผู้รับบริการสนใจมากกว่าการเลือกอุปกรณ์ช่วยที่เหมาะสมเพียงอย่างเดียว ควรจะต้องมองจากมุม Client center และวิเคราะห์ตามตัวของผู้รับบริการ

สิ่งที่ควรพัฒนาหลังไปลงชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ครั้งที่ 2

  • การเตรียมตัวเพื่อแนะนำปัญหาเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ควรถามให้พบสาเหตุที่แท้จริง ไม่คิดไปก่อนว่ามันเป็นอย่างนี้เพราะอะไร
  • ฝึกวิธีพูดโน้มน้าวให้ผู้รับบริการตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการใช้อุปกรณ์ช่วย
  • ฝึกการอธิบายให้ผู้รับบริการเข้าใจได้ง่ายขึ้น เนื่องจากผู้รับบริการยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ต้องการให้ทำ
  • ควรอธิบายให้เห็นถึงประโยชน์ ข้อดี และข้อเสียของแต่ละ home program ที่ให้ไป เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกตระหนักว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ

Reflection ครั้งที่ 3 School visit (19/09/2561)

ความรู้สึกหลังไปจัดกิจกรรมประเมินให้เด็กอนุบาลโรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์

  • รู้สึกตื่นเต้นและกังวล เพราะว่างานที่ออกมาไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้เท่าไร จะต้องมีการปรับเปลี่ยนหน้างาน รวมถึงต้องเป็นผู้นำกลุ่มหลัก เป็นความท้าทายที่จะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ต้องสามารถคุมกลุ่มให้อยู่ dynamic ของกลุ่มควรไปในทิศทางเดียวกัน

ได้เรียนรู้อะไรหลังไปจัดกิจกรรมประเมินให้เด็กอนุบาลโรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์

  • ได้ฝีกการประเมินเด็กโดยการสังเกตผ่านกิจกรรม
  • ได้เรียนรู้การลงชุมชนในโรงเรียนว่า ไม่ควรไป focus แต่ที่เด็กเพียงอย่างเดียว ควรจะต้องสอบถามคุณครู ผู้ดูแล คนที่ใกล้ชิดกับเด็ก เพื่อดูบริบทของเด็ก และพฤติกรรมปกติของเด็ก หรือปัญหาอะไรที่คุณครูกำลังต้องพบ เพื่อหาวิธีประเมินและแก้ไขได้ตรงจุด
  • การสร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็กก่อนเริ่มทำการประเมิน ทำให้น้องกล้าพูด กล้าคุย และกล้าแสดงความสามารถมากกว่าการที่มุ่งแต่ประเมินเพียงอย่างเดียว
  • เด็กบางคนระหว่างประเมินเดี่ยวกับการทำกิจกรรมกลุ่มไม่เหมือนกัน ทำให้รู้ว่าเวลามองตัวเด็ก ควรมองหลายๆ บริบท ว่าเด็กมีการแสดงออกอย่างไร เด็กอาจมีความสามารถ แต่ไม่สามารถทำงานกลุ่มภายในห้องได้ เนื่องจากมีปัญหาในการ Social participation

สิ่งที่ควรพัฒนาหลังจากการไปจัดกิจกรรมการประเมินให้เด็กอนุบาลโรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์

  • ฝึกสังเกตและประเมินความสามารถและพฤติกรรมของเด็กผ่านการทำกิจกรรม
  • รู้สึกว่าตัวเองยังประเมิน Denver II ได้ช้า ทำให้ต้องใช้เวลานานในการประเมินเด็กแต่ละคน
  • ฝึกควบคุมจัดการกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น เด็กล้อเด็กเพื่อนภายในกลุ่ม ควรมีการจัดการพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเร็วกว่านี้
  • ควบคุมกลุ่มให้ได้มากกว่านี้ มีการจัดที่ยืนของเด็กให้ เด็กที่มีพลังเยอะให้อยู่ใกล้เด็กที่นิ่ง เพื่อกระตุ้นให้ energy ของกลุ่มเป็นไปทางเดียวกันทั้งกลุ่ม
  • มีการสร้างสัมพันธภาพกับเด็กก่อนเริ่มทำการประเมิน เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกเกร็ง และแสดงความสามารถได้เต็มที่
  • ทบทวน Process การทำกลุ่ม

Reflection ครั้งที่ 4 มหกรรมสุขภาพชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ (23/09/2561)

ความรู้สึกหลังไปจัดกิจกรรมประเมินความเสี่ยงด้านการล้มให้ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์

  • รู้สึกว่ากังวลมากเพราะตัวเองยังไม่เคยใช้เครื่องประเมิน
  • รู้สึกว่ามีค่า error จากผลที่ประเมินได้ เนื่องจากผู้เข้าร่วมมีจำนวนเยอะ ทำให้ต้องรีบทำการประเมิน
  • รู้สึกว่าควรสังเกตท่าทางของผู้รับบริการขณะทำกิจกรรมการประเมินร่วมด้วย ไม่เพียงแต่ดูค่าที่ได้ออกมาเท่านั้น

ได้เรียนรู้อะไรหลังจากการไปจัดกิจกรรมประเมินความเสี่ยงด้านการล้มให้ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์

  • ได้เรียนรู้การประเมิน Reaction time test ซึ่งไม่เคยเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมาก่อน
  • ได้เรียนรู้การฝึกเขียนโครงการก่อนไปจัดทำกิจกรรมจริง วิเคราะห์ปัญหาที่ชุมชนมี ความชุกของปัญหา เป็นต้น
  • เรียนรู้การแก้ไขเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น

สิ่งที่ควรพัฒนาหลังจากการไปจัดกิจกรรมประเมินความเสี่ยงด้านการล้มให้ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์

  • มีการวางแผนตำแหน่งงานให้ชัดเจน การบริหารจัดการคน ว่าใครดูแลส่วนไหน แล้วหากคนส่วนนี้เยอะ ส่วนไหนจะต้องแบ่งคนมาช่วยอย่างไร
  • มีการจัดลำดับคิว เพื่อไม่ให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกว่าโดนแซงคิว ทำให้เดินออกจากบูธไป

บุณฑริก เอกคุณธรรม 5823008 นศ.กิจกรรมบำบัด

หมายเลขบันทึก: 655020เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2018 02:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2018 03:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท