Reflectionวิชาชุมชนของนักศึกษา


Home visit ครั้งที่1 และครั้งที่2

รู้สึกอย่างไรเมื่อได้ลงชุมชน:

จากที่ฉันได้ไปพบผู้รับบริการในชุมชน ทำให้ทำให้ฉันรู้สึกว่าการได้ลงพื้นที่จริงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะได้เห็นบริบทที่บ้าน ชุมชน สังคมของผู้รับบริการ พบว่าปัจจัยเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการโดยตรง ได้เข้าใจในตัวผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น เมื่อฉันได้พบผู้รับบริการฉันรู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้นำความรู้ที่ได้เรียนมานำมาประเมินและออกแบบการรักษาร่วมกับทีมของฉัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงชุมชน:

ผู้รับบริการที่ฉันได้ดูแล อดีตมีบทบาทเป็นผู้นำครอบครัว แต่หลังจากเกิดพยาธิสภาพทำให้ผู้รับบริการไม่สามารถทำตามบทบาทเดิมได้ และบริบทในชุมชน สังคมของผู้รับบริการมองว่า ผู้พิการไม่มีความสามารถ ต้องมีคนคอยช่วยเหลือทุกขั้นตอน ทำให้ผู้รับบริการไม่มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต แต่เมื่อนักศึกษาได้เข้าไปพูดคุยและให้การรักษา หลังจากนั้นผู้รับบริการเริ่มรับรู้และเห็นความสามารถของตนเองว่าสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้มากกว่าที่ตนเองและคนอื่นคิด ทำให้ฉันรู้สึกดีใจที่การรักษาที่ทีมฉันได้ให้สามารถทำให้ผู้รับบริการเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น

สิ่งที่อยากพัฒนาตัวเอง:

  • นำความรู้ที่มีวิเคราะห์หาสาเหตุและนำออกมาใช้ในการออกแบบการรักษาให้ได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสมมากขึ้น
  • การเลือกภาษา วิธีการพูดคุย สื่อสารให้เหมาะสมและเข้าใจง่าย ตรงตามบริบทของผู้รับบริการและผู้ดูแล
  • การสร้างสัมพันธภาพที่เหมาะสมกับผู้รับบริการและผู้ดูแล
  • ทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาให้มากขึ้นและพยายามหาวิธีการรักษาใหม่ๆเพื่อใช้เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้รับบริการ

 

School visit

รู้สึกอย่างไรเมื่อได้ไปโรงเรียน:

ฉันรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้ไปเจอเด็กๆในบริบทโรงเรียน การได้เห็นสังคมของเด็ก การช่วยเหลือระหว่างครูกับเด็ก เด็กกับเด็ก วิธีการเล่น ซึ่งสิ่งเหล่าไม่สามารถหาได้ในห้องเรียนหรือตำราเรียน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการได้ไปโรงเรียน:

จากที่ฉันได้ไปพบผู้รับบริการในโรงเรียน ทำให้ได้เห็นบริบทที่โรงเรียน ชุมชน สังคมของผู้รับบริการ จำนวนครู ผู้ดูแลเด็กที่มีไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็ก การเรียนการเล่นเป็นลักษณะเดิมซ้ำๆ การเลี้ยงดูของผู้ปกครองโดยส่วนใหญ่เป็น ปู่ย่าตายาย เพราะพ่อแม่ออกไปทำงาน ทำให้ขาดการดูแลส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก พฤติกรรมการเลียนแบบของเด็กด้วยกันก็ส่งผลต่อการเล่นและพัฒนาการ ปัจจัยเหล่านี้จะได้เห็นจริงเมื่อได้ไปสัมผัสในบริบทนั้นจริงๆเท่านั้น และทำให้ฉันเข้าใจสาเหตุที่นำไปสู่พัฒนาการ การเล่นคนเดียว เล่นกับเพื่อน พฤติกรรมที่แสดงออกของเด็ก ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และนำไปสู่การสร้างสัมพันธภาพ การเข้าหา การประเมิน และการรักษาอย่างเหมาะสมต่อเด็กคนๆนั้น

สิ่งที่อยากพัฒนาตัวเอง:

  • การประเมินเด็กได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น
  • การเข้าใจปัญหา สาเหตุที่เด็กแสดงพฤติกรรมออกมา นำไปสู่การเลือกวิธีการเข้าหา สร้างสัมพันธภาพ และการออกแบบวิธีการรักษา
  • การจัดการ บริหารเวลาในการประเมินและการให้การรักษาที่เหมาะสม

 

กิจกรรมออกชุมชน คณะกายภาพบำบัด

รู้สึกอย่างไรเมื่อได้ร่วมกิจกรรมออกชุมชน:

ฉันรู้สึกตื่นเต้นมากตั้งแต่กระบวนการวางแผนจนถึงการไปพบผู้รับบริการ เพราะเป็นการทำงานร่วมร่วมกันระหว่างสองวิชาชีพ คือ กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด ซึ่งฉันวางแผนให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมต่างๆในบริบทจริงๆ และฉันรู้สึกดีมากเมื่อกิจกรรมการรักษาสามารถกระตุ้นให้ผู้รับบริการอยากทำกิจกรรมมากขึ้น

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการร่วมกิจกรรมออกชุมชน:

จากที่ฉันได้ไปพบผู้รับบริการ ทำให้ฉันรู้สึกว่าการได้ลงพื้นที่จริงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการใช้ชีวิตภายใต้ บริบทที่บ้าน ชุมชน สังคมของผู้รับบริการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการโดยตรงต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ รวมถึงการทำงานร่วมกันระหว่างสองวิชาชีพ คือ กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด ในการฟื้นฟูส่งเสริม และดึงศักยภาพของผู้รับบริการ จนผู้รับบริการเห็นความสามารถของตนเอง เกิดความภูมิใจ รู้สึกมีคุณค่าและสามารถทำกิจกรรมได้ด้วยตนเองมากขึ้น เมื่อผู้ดูแลเห็นและยอมรับความสามารถของผู้รับบริการ นำไปสู่การเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมด้วยตนเองเพิ่มขึ้น

สิ่งที่อยากพัฒนาตัวเอง:

  • นำความรู้ที่มีวิเคราะห์หาสาเหตุและนำออกมาใช้ในการออกแบบการรักษาให้ได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสมมากขึ้น
  • การเลือกภาษา วิธีการพูดคุย สื่อสารให้เหมาะสมและเข้าใจง่าย ตรงตามบริบทของผู้รับบริการและผู้ดูแล
  • วิธีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพกิจกรรมบำบัดแก่รุ่นน้องที่อยู่ในทีมให้สามารถเข้าใจง่ายขึ้น
หมายเลขบันทึก: 655016เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2018 02:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2018 02:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท