คมช. ผวาสภาหั่นงบทหารส่งเอกสารแจงถูกดองยาว


คมช. ถูกดองยาว
คมช. ผวาสภาหั่นงบทหารส่งเอกสารแจงถูกดองยาว

คลังคาดใช้เวลา 2 วัน สนช. ผ่านร่างกฎหมายงบปี 50 ยันปลอดผลประโยชน์ทางการเมือง ศธ.         ฟาดเยอะสุดกว่า 2 แสนล้าน อ้างวางรากฐานการศึกษา กองทุนพัฒนาพรรคการเมืองกระเป๋าแห้ง รัฐบาลปฏิวัติไม่ให้งบแม้แต่บาทเดียว  คมช. ร่อนเอกสารแจง  สนช. งบพุ่งเพราะ 9 ปีที่ผ่านมาถูกหั่นเหี้ยน 

วันที่  6  ธันวาคมนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2550 ซึ่งกระทรวงการคลังคาดว่าการพิจารณาอาจจะต้องใช้เวลา 2 วัน  เนื่องจากเรื่องงบประมาณเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ  อย่างไรก็ดี เชื่อว่า สนช. ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งคงจะไม่มี     การปรับแก้งบประมาณรายจ่ายมากนัก เพราะไม่ได้มีผลประโยชน์เหมือนกับสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นนักการเมือง  ที่มักต้องการให้มีการปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายจัดสรรให้พื้นที่ของตน   ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ ปี 2550 ที่รัฐบาลเสนอ เป็นการจัดทำงบประมาณโดยประมาณการรายได้รัฐบาลอยู่ที่ 1,420,000 ล้านบาท   จึงจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล 146,200 ล้านบาท คือตั้งงบประมาณรายจ่ายอยู่ที่ 1,566,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2549 จำนวน 206,200 ล้านบาท

สำหรับกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายมากที่สุด ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ คิดเป็นวงเงิน 282,666.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 25.3% หรือ 57,056 ล้านบาท จากวงเงินที่ได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ 2549 รองลงมาคือ กระทรวงมหาดไทย 179,373.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.7% หรือ 18,730 ล้านบาท   กระทรวงการคลัง 175,077.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 21.3% หรือ 30,706.1 ล้านบาท   ส่วนกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายน้อยที่สุด ได้แก่ กระทรวงพลังงาน ได้รับเพียง 2,232.3 ล้านบาท แต่ก็เพิ่มขึ้นถึง 30.9% หรือ           526.5 ล้านบาท จาก 1,705.8 ล้านบาท   ในปีงบประมาณ 49 รองลงมาคือ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 3,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.1% หรือ 421.4 ล้านบาท จาก 2,978.6 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2549   ขณะที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงวัฒนธรรมได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2549 คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับจัดสรรเพิ่มถึง 44% และกระทรวงวัฒนธรรม ได้รับจัดสรรเพิ่ม 42.3%

ในส่วนของงบกลางได้รับจัดสรร 193,180.5 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่ได้รับจัดสรร 243,185 ล้านบาท หรือลดลงไป 20.3% คิดเป็นวงเงิน 49,249.5 ล้านบาท โดยส่วนที่ถูกตัดไปได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดหรือจังหวัด ค่าใช้จ่ายเพื่อปรับกลยุทธ์และรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น   ขณะที่หน่วยงานระดับกรมหรือสำนักงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  180,476.4  ล้านบาท รองลงมาได้แก่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 124,826.6 ล้านบาท

ด้านหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 24,606.4 ล้านบาท จากที่ได้รับจัดสรร 2,814.1 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2549 ส่วนรัฐวิสาหกิจที่ได้รับจัดสรรงบประมาณน้อยที่สุด ได้แก่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) 8.8 ล้านบาท จาก 36.8 ล้านบาทในปีก่อน   การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 15 ล้านบาท จาก 27 ล้านบาท และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) 18.8 ล้านบาท จาก 23.9 ล้านบาทในปีก่อน  นอกจากนี้ ในส่วนกองทุนหมุนเวียนได้รับจัดสรร 132,773.6  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47.4% หรือ 42,678.6 ล้านบาท จาก 90,095 ล้านบาทในปีก่อน  ในปี 2550 มีกองทุนที่ไม่ได้รับการจัดสรรวงเงินงบประมาณ  ได้แก่ กองทุน เงินให้เปล่า กองทุนกีฬามวย  กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน  กองทุนยุติธรรม  และกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมือง  ขณะที่กองทุนที่รับจัดสรรมากที่สุด คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 75,125.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 39,666.8 ล้านบาทในปีก่อนส่วนประมาณการรายได้สุทธิ  1,420,000  ล้านบาทนั้น แบ่งตามเป้าหมายการจัดเก็บของแต่ละหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้ ประกอบด้วย กรมสรรพากร 1,141,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.1% หรือ 132,000 ล้านบาท   จาก 1,009,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2549   กรมสรรพสามิต 289,000 ล้านบาท ลดลง 7.5% หรือ  23,500 ล้านบาท จาก 312,500 ล้านบาทในปีก่อน  กรมศุลกากร 88,000 ล้านบาท ลดลง 26.9% หรือ  32,400 ล้านบาท จาก 120,400 ล้านบาทในปีก่อน    ส่วนราชการอื่น ๆ 82,550 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.3% หรือ 5,650 ล้านบาท จาก 76,900 ล้านบาทในปีก่อน และรัฐพาณิชย์  72,650  ล้านบาท  เพิ่มขึ้น  19.9% หรือ 12,050 ล้านบาท จาก 60,600 ล้านบาทในปีก่อน

ประมาณการรายได้ดังกล่าว สามารถจำแนกรายได้ตามประเภทของการจัดเก็บดังนี้ (1.) ภาษีอากร (สุทธิ) 1,298,980.2 ล้านบาท  แบ่งเป็น (1.1) ภาษีทางตรง 638,900 ล้านบาท ประกอบด้วย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 185,900 ล้านบาท  ภาษีเงินได้นิติบุคคล 393,000 ล้านบาท และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 60,000 ล้านบาท  (1.2) ภาษีทางอ้อม ประกอบด้วย 1.ภาษีการขายทั่วไปรวม 501,900  ล้านบาท  ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม  460,000 ล้านบาท  ภาษีธุรกิจเฉพาะ 34,000 ล้านบาท และอากรแสตมป์ 7,900 ล้านบาท   2.ภาษีการขายเฉพาะรวม 323,279.4 ล้านบาท ได้แก่ ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน  73,520 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิตจากการนำเข้า 29,350 ล้านบาท ภาษีโภคภัณฑ์อื่น  185,850  ล้านบาท  ค่าภาคหลวงแร่ 552 ล้านบาท ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม 34,000 ล้านบาท และภาษีทรัพยากรธรรมชาติอื่น  7.4 ล้านบาท 3.ภาษีสินค้าเข้า-ออก 86,450 ล้านบาท และ      4.ภาษีลักษณะอนุญาต 1,650.8 ล้านบาท    (2.) การขายสิ่งของและบริการ 14,891.8 ล้านบาท แบ่งเป็น  (2.1) การขายหลักทรัพย์และทรัพย์สิน 1,671.4 ล้านบาท   (2.2) การขายบริการ 13,220.4 ล้านบาท      (3.) รายได้จากรัฐพาณิชย์  72,650  ล้านบาท  ประกอบด้วย ผลกำไรขององค์การรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน  62,482.7  ล้านบาท  และรายได้จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 10,167.3 ล้านบาท และ (4.) รายได้อื่นอีก 33,478 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) มีความเป็นห่วงกรณีที่ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 มีการจัดสรรงบประมาณให้กระทรวงกลาโหมมากคิดเป็น 115,000 ล้านบาท   ในขณะที่       ปี พ.ศ. 2549 ได้รับการจัดสรรเพียง 85,936.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 33% จนตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในกระทู้ต่าง ๆ ตามเว็บไซต์ว่า ทหารได้อาศัยช่วงจังหวะในการเข้ายึดอำนาจการปกครองดำเนินการผลักดันเรื่องดังกล่าว  ทั้งนี้  คมช. มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมจัดทำเอกสารชี้แจงเรื่อง "ข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขาดแคลนงบประมาณของกระทรวงกลาโหม ประกอบการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550"  ส่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยเฉพาะสมาชิกที่เป็นพลเรือน เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องขอการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มขึ้น อีกทั้งจะนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบต่อไปด้วยเอกสารระบุว่า จากสถิติงบประมาณกระทรวงกลาโหมในห้วงปี พ.ศ. 2532 ถึง พ.ศ. 2540 กระทรวงกลาโหมได้รับจัดสรรงบประมาณร้อยละ 2.2.-2.4 เมื่อเปรียบเทียบกับจีดีพี โดยในปี พ.ศ. 2540 กระทรวงกลาโหมได้รับงบประมาณ 104,100 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.2 ของจีดีพี และนับแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และการคลังในปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ทำให้ปี  พ.ศ. 2541-2549  กระทรวงกลาโหมได้รับการจัดสรรงบประมาณในลักษณะถดถอยลงและต่ำกว่าเกณฑ์ที่ควรจะเป็น  แม้กระทั่งในปี พ.ศ. 2549 ที่จีดีพีของประเทศเพิ่มขึ้น แต่งบประมาณในด้านนี้ก็ยังลดน้อยลง  ประกอบกับกระทรวงกลาโหมต้องเผชิญต่อภาวะภายนอก ที่ค่าเงินอ่อนตัว ราคาน้ำมันสูงขึ้น 3 เท่าตัว  ภาวะเงินเฟ้อ  การปรับอัตราเงินเดือนของบุคลากรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6  ทำให้ปัจจุบัน        มีสัดส่วนงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายประจำร้อยละ 90 และเป็นงบพัฒนากองทัพแค่ร้อยละ 10  หากยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่ม ผลกระทบที่ตามมาจะส่งผลต่อการพัฒนากำลังพล การฝึกศึกษา การส่งกำลังบำรุง การดำรงสภาพยุทโธปกรณ์ การป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน

เอกสารยังระบุว่า หากกระทรวงกลาโหมไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง       จะส่งผลกระทบในภาพรวมหลายด้าน ซึ่งจะเป็นปัญหาสะสมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อำนาจกำลังรบของทุกเหล่าทัพลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน  หากมีเหตุการณ์กระทบกระทั่งบริเวณชายแดนและมีการปฏิบัติการทางทหาร จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง  ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมเคยเสนอรัฐบาลชุดที่แล้วให้ทราบถึงสถานภาพและผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยในรัฐบาลชุดที่แล้วได้กำหนดกรอบงบประมาณปี พ.ศ. 2550  วงเงิน 105,000 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับการถูกลดงบประมาณสะสม 9 ปีที่มากถึง 350,000 ล้านบาท ก็ถือว่ายังอยู่        ในสัดส่วนที่น้อย  สำหรับคณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้อนุมัติกรอบวงเงินกระทรวงกลาโหม 115,000 ล้านบาท  จากที่กระทรวงกลาโหมเสนอไป  160,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2549 จำนวนร้อยละ 33   "ไทยได้รับงบประมาณเพื่อการป้องกันประเทศน้อยกว่าประเทศพม่า เวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย อีกทั้งเป็นกองทัพที่มีปืนใหญ่     ที่เข้าประจำการนานถึง 66 ปี   ในขณะที่ ฮ.ทั่วไป รถถัง เครื่องบินลำเลียงประมาณ 1 ใน 4 ที่ประจำการมีอายุการใช้งานแล้ว 41-50 ปี" เอกสารระบุ

พล.อ.สมเจตน์  บุญถนอม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กระทรวงกลาโหม เชื่อมั่นว่าเอกสารที่ได้ทำการชี้แจงไปจะทำให้สมาชิก สนช. เข้าใจในปัญหาของกองทัพที่เรากำลังประสบอยู่ หากเราปล่อยไปเช่นนี้ไม่ได้แก้ไข เชื่อว่ากองทัพจะล้าหลังและไม่มีความพร้อมรบ แต่กองทัพก็ทราบดีว่าการได้รับงบประมาณเพิ่มเติมเช่นนี้       อาจถูกโจมตี และมองว่าเรายึดแต่ประโยชน์ของทหารอย่างเดียว แต่จะเห็นได้ว่าที่ได้มีการขอไป 1.6 แสนล้านบาท แต่รัฐบาลก็ได้จัดสรรให้ 1.15 แสนล้านบาทนั้น ก็ถือว่าเราได้พิจารณาดูความจำเป็นในภาพรวมของประเทศด้วย"ถ้าทหารหน้าด้านในสถานการณ์ขณะนี้ ถามว่าขอไปเท่านี้จะเอาทั้งหมดจะได้หรือเปล่า แต่เราไม่ทำ และก็ดูประโยชน์ในภาพรวมทุกส่วนของประเทศ แต่เมื่อยามนี้กองทัพย่ำแย่ ไม่ต้องไปพูดถึงว่าปีนี้จะซื้อเครื่องบิน รถถัง หรือ ฮ.ใหม่เลย แค่ซ่อมไอ้ที่มีอยู่ให้ใช้ได้ก็หืดขึ้นคอแล้ว อย่าง ฮ.ตอนนี้ใช้ได้แค่ร้อยละ 40 เอง" พล.อ.สมเจตน์กล่าว

ไทยโพสต์   6  ธ.ค.  2549

คำสำคัญ (Tags): #คมช.#งบประมาณ
หมายเลขบันทึก: 65490เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท