การเมืองเรื่องข้าว (๒)


คนไทยในปัจจุบัน มีโอกาสเลือกบริโภคข้าวเพื่อสุขภาพ และความพอใจของตน

บทความวิจัยเรื่อง The Rice Value Chain : A case Study of Thai Rice (1) โดย ศ. ดร. เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม ลงในวารสาร ASR : CMU Journal of Social Science s and Humanities (2017) Vol 4 No. 1    สะกิดใจผมว่า    ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา     เกษตรกรรม และธุรกิจ ข้าวไทยได้เปลี่ยนโฉมไปโดยสิ้นเชิง    จากการปลูกข้าวพันธุ์เดี่ยวที่รัฐส่งเสริม    มาเป็นปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์     รวมทั้งพันธุ์ท้องถิ่น ที่มีการฟื้นและขยาย รวมทั้งพัฒนาพันธุ์    คนไทยในปัจจุบัน มีโอกาสเลือกบริโภคข้าวเพื่อสุขภาพ และความพอใจของตน

ผมไม่ได้ซื้อข้าวที่ผลิตโดยบริษัทใหญ่มานานกว่าสิบปี   บริโภคข้าวกล้องที่เลือกซื้อในโอกาสต่างๆ หรือมีคนนำมาให้    

ภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเงียบๆ คือ มูลนิธิข้าวขวัญ ()     

ผมเคยเขียนเรื่องการเมืองเรื่องข้าวเมื่อ ๒ ปีที่แล้วที่ ()  แนะนำข้าวลืมผัวที่ ()  แนะนำข้าวกล้องของโรงเรียนชาวนานครสวรรค์ ที่ ()     

ที่เขียนข้างบนนั้น เป็นเรื่อง social value chain    เน้นที่คุณค่าต่อผู้บริโภค และมูลค่าต่อเกษตรกรและผู้ทำธุรกิจรายย่อย   

แต่บทความวิจัยที่อ้างถึง จับประเด็น economic value chain    และบอกว่าในช่วงประมาณ ๓๐ ปีที่ผ่านมา    “ห่วงโซ่มูลค่าทางธุรกิจ”เปลี่ยนแปลงไปทั่วเอเชีย     ห่วงโซ่มูลค่าของข้าวไทย และของประเทศอื่นๆ มีการกระจายหรือแตกตัวออกเป็นหลายห่วงโซ่    เพื่อสนองรสนิยมและความต้องการที่แตกต่างกันของผู้บริโภค

อาจกล่าวได้ว่า ธุรกิจ และการบริโภคข้าว ได้เข้าสู่ยุคใช้คุณค่าหรือพลังของ ความหลากหลายทางชีวภาพ    และพลังธุรกิจ SME  

วิจารณ์ พานิช

๗ ต.ค. ๖๑

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 654862เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2018 08:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2018 08:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท