ชุมชนที่รัก


Home visit ครั้งที่ 1

คุณลงสุ(นามสมมุติ) อายุ 61 ปี เพศชาย Dx. stroke

  • รู้สึกอย่างไร

ความรู้สึกแรกที่เห็นบ้านคุณลุงที่มีสภาพทรุดโทรม และมีข้าวของกระจัดกระจาย รู้สึกอึ้งและมีคำถามว่าจะต้องเริ่มตรงไหน ทำอะไรบ้าง ยิ่งเมื่อเดินไปเจอคุณลุงที่นอนอยู่บนพื้นที่เป็นเสื่อน้ำมัน โดยไม่ใส่เสื้อผ้าใส่แค่ผ้าอ้อมมีแค่ผ้าห่มคลุมลำตัวส่วนล่าง เมื่อทราบข้อมูลจากการสัมภาษณ์น้าสาว และการสัมภาษณ์ผู้รับบริการทำให้เห็นความสัมพันธ์ของผู้รับบริการกับลูกสาว และทราบข้อมูลในบางด้านที่ตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง จึงรู้สึกว่าจะต้องค่อยๆหาข้อมูลเพิ่มเติมจากทั้งสองฝ่ายเพื่อให้เจอปัญหาที่แท้จริง แต่ด้วยปัญหาที่เจอมีรอบด้านจึงรู้สึกสับสนว่าควรจะปรับเปลี่ยนหรือให้การรักษาส่วนใดก่อน ประกอบกับไม่มีโอกาสได้เจอผู้ดูแลจึงไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนหรือให้คำแนะนำในการดูแลผู้รับบริการมากนักรู้สึกเป็นกังวลับการลงเยี่ยมบ้านในครั้งนี้

  •  ได้เรียนรู้อะไร

ได้เรียนรู้การ approach ผู้รับบริการที่ไม่มีข้อมูลการรักษาและการวินิจฉัยที่ชัดเจน และการเรียนรู้จากการสังเกตการทำกิจกรรมในบริบทจริง, รู้ลักษณะนิสัยของครอบครัวจากสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมที่ปฏิบัติต่อกันขณะอยู่ที่บ้าน, เรียนรู้การวิเคระห์ข้อมูลจากคำบอกเล่าของผู้ดูแลและผู้รับบริการ,

  • จะพัฒนาตนเองอย่างไร

สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ และผู้ดูแลให้มากขึ้นให้เกิดความไว้วางใจต่อ และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนทัศนคติเพื่อให้คุณภาพชีวิตของครอบครัวดีขึ้น, หาประสบการณ์จากผู้รู้เกี่ยวกับเทคนิคในการ approach ผู้รับบริการติดเตียงและไม่มีผู้ดูแลตลอดเวลา รวมถึงเทคนิคในการสอนทำกิจกรรมต่างๆที่มีความเฉพาะแต่ละบุคคล

Home visit ครั้งที่ 2

  • รู้สึกอย่างไร

ความรู้สึกกังวลเนื่องจากไม่ได้เจอผู้ดูแล และจะต้องสอนผู้รับบริการให้ทำกิจกรรมต่างๆด้วยตัวเอง ขณะเข้าไปทำการสอนใส่ผ้าอ้อมรู้สึกกังวล และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้รับบริการสามารถใส่ผ้าอ้อมได้เอง และรู้สึกดีขณะฝึกเนื่องจากผู้รับบริการให้ความร่วมมือ ในการให้การรักษา

  • ได้เรียนรู้อะไร

การปรับกิจกรรมให้กับผู้รับบริการที่มีความสามารถน้อย  และจะต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุดมีความยากเนื่องจากการวิเคราะห์ขั้นตอนจะต้องมีความซับซ้อน และเป็นขั้นตอนที่จะต้องออกแบบมาเฉพาะบุคคล เรียนรู้การ approach ผู้รับบริการที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตร่วมด้วย และเทคนิคในการพูดเพื่อให้ผู้รับบริการเห็นถึงความสำคัญในการทำกิจกรรมต่างๆ

  • จะพัฒนาตนเองอย่างไร

เรียนรู้การปรับกิจกรรม วิธีการที่มีความเฉพาะกับผู้รับบริการที่มีความสามารถน้อย ฝึกการมองผู้รับบริการแบบองค์รวมมากขึ้น กล้าที่จะคิดและนำเสนอวิธีการต่างๆถึงแม่จะไม่สามารถทำได้ด้วยแต่เองทั้งหมดก็ควรหาทีมสุขภาพสาขาอื่นเพื่อมาช่วยเหลือผู้รับบริการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


  School visit

  • รู้สึกอย่างไร

ครั้งแรกที่เดินเข้ามาที่ศูนย์เด็กเล็กไม่คาดคิดว่าจะมีจำนวนเด็กที่เยอะกว่าจำนวนคุณครูผู้ดูแลในสัดส่วน 2 ต่อ 30 คน รู้สึกสนใจเกี่ยวกับวิธีการจัดการของคุณครู และปัญหาที่เกิดขึ้น ในส่วนของโรงเรียนชั้นอนุบาล ก็รู้สึกตกใจที่ในห้องมีนักเรียนที่มีเด็กถึง 30 คนที่มีช่วงอายุแตกต่างกัน มีความสามารถต่างกัน แต่มีคุณครูประจำชั้นดูแลแค่เพียง 1 คน และเมื่อได้เดินสำรวจในห้องเรียนรู้สึกได้ถึงความเอาใจใส่ของคุณครู และการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กผ่านสื่อที่จัดเตรียมไว้สำหรับเด็กแต่ละคน นั่นคือ ตัวอย่างพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ที่มีแปะไว้บนโต๊ะเรียนเกือบทุกโต๊ะพร้อมกับชื่อนักเรียนแต่ละคน

ในส่วนของโรงเรียนบ้านมหาสวัสดิ์รู้สึกประทับใจการเรียนการสอนที่มีนักเรียนแต่ละขั้นปี จำนวน 5-6 คน และความเอาใจใส่ ความสนิทสนมระหว่างครูกับศิษย์

  • ได้เรียนรู้อะไร

          เรียนรู้การทำงานเป็นทีมในการลงพื้นที่ชุมชน ตั้งแต่การติดต่อประสานงานตลอดจนการทำกิจกรรมจริง, เรียนรู้การเรียนการสอนและความต้องการทางด้านสาธารณสุขเพื่อประเมินและส่งเสริมความสามารถของเด็ก

  • จะพัฒนาตนเองอย่างไร

          ศึกษาข้อมูลโรคและพฤติกรรมต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในเด็กระดับประถมศึกษา ศึกษาการ approach ผู้รับบริการที่เข้ารับการประเมินโดยไม่มีข้อมูลการวินิจฉัยที่ชัดเจน หาโอกาสเข้าไปพูดคุยกับคุณครูประจำชั้นมากขึ้น เพื่อให้ทราบข้อมูลด้านการเรียนรู้และพฤติกรรมในห้องเรียนเพิ่มเติม หาโอกาสสัมภาษณ์ผู้ปกครองเพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมขณะอยู่ที่บ้าน

 

Pink day

ชื่อ คุณเอ(นามสมมุติ) เพศหญิง อายุ 62 ปี Dx.stroke

  • รู้สึกอย่างไร

รู้สึกอยากเข้าไปช่วยเหลือเนื่องจากครั้งที่เข้าไปประเมินผู้รับบริการมีความพยายามและตั้งใจมาก ที่อยากจะกลับมาช่วยเหลือตัวเองอีกครั้ง และประทับใจมากที่เห็นความเปลี่ยนแปลง คือ การลุกขึ้นจากที่นอนตะแคงมานั่งได้ด้วยตัวเอง จาก maximal assistance เป็น independent ในครั้งที่สองที่เข้าไป

ตั้งแต่ทราบว่าจะต้องเข้าไปทำการประเมินและรักษาผู้รับบริการที่บ้าน ร่วมกับ นศ.กายภาพบำบัดและ อ.กายภาพบำบัดรู้สึกมีความกดดันและกังวลว่าจะไม่สามารถแสดงบทบาทของ OT ได้ชัดเจน แต่เมื่อถึงวันที่ต้องเข้าไปทำงานจริงๆ เราได้แบ่งหน้าที่กันโดยในส่วนของ OT เข้าไปให้คำแนะนำญาติเกี่ยวกับการให้โอกาสผู้รับบริการได้ช่วยเหลือตัวเอง ได้ทำกิจกรรมต่างๆที่ผู้รับบริการสนใจ และสอนใส่เสื้อผ้า สอบถามความต้องการของผู้ดูแลและผู้รับบริการ ประเมินการทำ ADL  เมื่อได้โอกาสในการแสดงบทบาทจาก อ.กายภาพ จากเพื่อน นศ.กายภาพ ก็รู้สึกมีความสุข และประทับใจในการทำงานร่วมกัน เพราะเราสามารถช่วยเหลือกันได้เพื่อที่จะทำให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และรู้สึกดีเมื่อผู้ดูแลเริ่มให้ความสนใจและแสดงให้เห็นถึงการให้ความร่วมมือในการให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการหลังจากได้รับคำแนะนำทางกายภาพและทางกิจกรรมบำบัด

  • ได้เรียนรู้อะไร

เรียนรู้การทำงานร่วมกันกับกายภาพ การวางแผนการทำงานที่ไม่ใช่บริบทโรงพยาบาล การเข้า approach ผู้ดูแลที่ไม่ได้เห็นถึงความสำคัญของการบำบัดฟื้นฟูมากเท่าที่ควร ทำให้เห็นว่าในชุมชนการให้การดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง ยังไม่ทั่วถึง และผู้ดูแลไม่ค่อยให้ความสำคัญ

  • จะพัฒนาตนเองอย่างไร

เพิ่มความมั่นใจและความกล้าที่จะแสดงบทออกมามากขึ้น เพื่อให้การช่วยเหลือผู้รับบริการ มั่นใจที่จะไปร่วมวางแผนและช่วยเหลือผู้รับบริการร่วมกับกายภาพบำบัด

 

 

หมายเลขบันทึก: 654854เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2018 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2018 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท