เพลงแห่งกำลังใจ


เพลงแห่งกำลังใจ


ในยามที่มนุษย์เราเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี ท้อแท้ หรือหมดกำลังใจจากอะไรสักอย่างนั้น ต่างคนต่างก็มีการวิธีเสริมสร้าง เติมกำลังใจให้กับตัวเองด้วยวิธีการที่แตกต่างกันไปตามรสนิยมของแต่ละคน บ้างก็ออกไปพบปะสังสรรค์ พบเจอผู้คน บ้างก็กินของอร่อย ของที่ชอบ บ้างก็ออกไปเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใดนั้นแต่ละคนก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ต้องการเติมไฟให้กับตัวเองเพื่อที่จะมีกำลังใจในการต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ที่เข้ามาบั่นทอนกำลังใจของตน

สำหรับฉันเองก็มีวิธีเติมกำลังใจให้ตัวเองง่าย ๆ และเชื่อว่าหลายคนเองก็ทำเช่นเดียวกันกับฉัน นั่นก็คือการฟังเพลง โดยในแต่ละครั้งที่ฉันรู้สึกหมดกำลังใจ เพลงแต่ละเพลงที่ฉันฟังก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานการณ์ที่ฉันพบเจอ

ในตอนนี้ที่ฉันกำลังสวมบทบาท ครู  ฉันก็มีเพลงเพลงหนึ่งที่ชื่นชอบมาก ซึ่งฉันรู้จักจากการแนะนำของเพื่อนคนหนึ่ง นั่นคือเพลง "Rise Up/School Anthem (Hakwon Byeulgok) หรือ School Byeolgok ของวง SECHSKIES(เชคส์กีส์)" ที่มีเนื้อหาสะท้อนระบบการศึกษาของประเทศเกาหลีใต้ โดยเพลงนี้ถูกปล่อยออกมาในปีค.ศ.1997 และได้ถูกนำมาทำใหม่โดยศิลปินเดิมในปีค.ศ.2016 และ ไม่ใช่เพียงแค่เนื้อหาของเพลงเท่านั้นที่ทำให้ฉันชอบ ยังมีดนตรี ทำนองเพลงที่ทำให้รู้สึกสนุก และรู้สึกฮึกเหิมได้ในเวลาเดียวกันอีกด้วย 

เนื้อหาของเพลงพูดถึงการแข่งขันของนักเรียนที่ต้องเรียนอย่างหนัก แข่งขันกันเองตลอดเวลาเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยดัง ๆ ที่ได้รับการยอมรับจากสังคม โดยมีการเรียนการสอนที่เน้นแค่วิชาหลัก ส่วนวิชาที่ผู้ใหญ่ไม่ให้ความสำคัญอย่างศิลปะ ดนตรีก็ถูกมองข้ามไป ทำให้นักเรียนไม่สามารถเรียนวิชาที่ตนถนัด หรือสนใจได้อย่างที่ต้องการ จนบางครั้งนักเรียนเกิดคำถามว่าวิชาที่พวกผู้ใหญ่ให้ความสำคัญสามารถช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของพวกเขาได้จริงหรือ? ซึ่งอาจเป็นเพราะบางครั้งวิชาหลักเหล่านั้นครูก็สอนให้ท่องจำ แต่กลับไม่สอนให้เข้าใจในเนื้อหา หรือแกนของมัน เนื่องจากการศึกษาเน้นให้นักเรียนสอบแข่งขันมากกว่านำไปใช้ได้จริง ส่งผลให้นักเรียนได้รับแรงกดดันจากผู้ปกครอง ครูที่คาดหวังให้พวกเขาทำออกมาดีให้ได้ดั่งใจของพวกผู้ใหญ่ ซ้ำยังต้องคอยกดดันตัวเองเพื่อคว้าชัยชนะในการแข่งขันระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน จึงทำให้นักเรียนรู้สึกเหมือนตัวเองถูกกักขัง ขาดอิสระ ขาดมิตรภาพ เพราะพวกเขารู้สึกได้ว่า เพื่อนไม่ต่างจากศัตรูเลย



จากที่ฉันเล่าไปก็จะเห็นได้ว่านอกจากเพลงนี้จะสะท้อนปัญหาของระบบการศึกษาของประเทศเกาหลีใต้ในปีค.ศ.1997 แล้วเนื้อหายังตรงกับปัญหาของระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันอีกด้วยทั้งที่ผ่านมา 21 ปีแล้ว นั่นทำให้ฉันเกิดพลัง รู้สึกมีกำลังใจที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เพราะฉันอยากให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข ได้มีโอกาสเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ ได้พัฒนาความสามารถแต่ละด้านตามความถนัดของแต่ละคน และกับวิชาอื่นที่นักเรียนไม่ได้สนใจเป็นพิเศษก็เช่นกัน ฉันอยากให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา และแกนของมันจริง ๆ สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาเหล่านั้นเข้ากับชีวิตประจำวันได้ เพื่อที่จะได้เห็นภาพชัดขึ้นแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้  ไม่ใช่เพียงแค่ท่องจำเพื่อไปสอบ หรือแข่งขันกันเท่านั้น

ที่มา : https://youtu.be/96535SYT-t4 

หมายเลขบันทึก: 653470เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2018 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2018 00:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

เป็นเพลงต่างประเทศเสียด้วย อยากทราบความหมายจริง ๆ ;)…

เป็นเพลงที่ให้กำลังใจอีกบทเพลงหนึ่งค่ะ

เป็นแพลงที่ล้อระบบการศึกษาของเกาหลีใต้ ฟังกี่ครั้งๆ ก็สนุก ความมัน คล้าย ๆ กับ กัมนังสไตล์ ครับ

@บัวแก้ว ตอนพี่ ๆ เขาทำเวอร์ชั่นใหม่ในปี 2016 ก็ย้ายมา YG ค่ายเดียวกันกับ PSY เจ้าของเพลง Gangnam Style ค่ะ

เขียนได้ดีและยาวจริงๆค่ะ

นี่ถ้าไม่มีซับนี่ยุ่งเลยนะครับ 555

เขียนได้เยี่ยมมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท