Influencer หรือ ผู้เปลี่ยนโลก เขาทำอย่างไร (๑)


                            “การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ใช้เวลาไม่นานก็สำเร็จได้ หากทำถูกวิธี”

   ดิฉันได้ไปนั่งฟังวิทยากรท่านหนึ่ง อ.นพ.วัชระ รัตนะสีหา บรรยายเรื่อง Six source influencer น่าสนใจมาก จึงได้ค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยเล็กน้อย และนำมาแบ่งปัน เผื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จทั้งในระดับบุคคล สังคม ชุมชน เพราะความสำเร็จหากทำถูกวิธี ย่อมใช้เวลาไม่นาน แต่ทำอย่างไรให้ถูกวิธีมาดูกันค่ะ

Six source influencer หรือ “6 แหล่งพลังสู่การเปลี่ยนแปลง”

           แนวทาง “โมเดล 6 แหล่งพลังสู่การเปลี่ยนแปลง” (Six Sources of Influence) เป็นแนวคิดและวิธีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนในองค์กร เพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กรให้มีโอกาสสำเร็จกว่าเดิมเป็น 10 เท่า โดยฐานคิดเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงจะเล็กหรือยิ่งใหญ่แค่ไหน จะสำเร็จได้ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงที่พฤติกรรมของคนก่อน และมนุษย์ทุกคนล้วนมีศักยภาพในตัวเองที่จะสร้างพลังสู่การเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น กับทั้งผู้อื่น และตนเอง หากวันนี้องค์กรใด ๆ  ต้องการการเติบโต เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (productivity) หรือตามนโยบาย Thailand 4.0 ก็ว่าไป เป้าหมายเหล่านี้จะไม่มีทางสำเร็จได้เลยหากคนยังคงมีพฤติกรรมแบบเดิม ๆ คำถามคือ แล้วในฐานะผู้นำ และผู้บริหารจะมีส่วนช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้อย่างไร

Influencer หรือ ผู้เปลี่ยนโลก เขาทำอย่างไร

     Vital Smarts สถาบันผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์กรและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์จากประเทศสหรัฐอเมริกา ศึกษาบุคคลที่เป็น “Influencer” หรือ ผู้สร้างพลังสู่การเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก และพบสิ่งที่น่าสนใจว่า Influencer เหล่านี้ใช้เวลาเพียงไม่นาน แต่กลับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนได้จำนวนมหาศาล จนนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เปลี่ยนโลกได้

…….

ประเด็นที่น่าสนใจคือ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือเปลี่ยนคนในองค์กร ที่แม้เป็นเพียงพฤติกรรมเล็ก ๆ ก็ยังทำไม่สำเร็จ และกลับต้องใช้เวลานาน Influencer ที่ทำสำเร็จได้เขาโฟกัสไปที่อะไร ทำไมเขาทำได้

……..

Influencer ที่ประสบความสำเร็จให้ความสำคัญกับ 2 เรื่อง เท่านั้น คือ

……

1. โฟกัสที่ “Vital Behavior” (พฤติกรรมหลัก) การกระทำ หรือ พฤติกรรมที่เป็นหัวใจสำคัญอันจะนำไปสู่การแก้ปัญหา ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการจริงๆ เพราะแค่เปลี่ยนพฤติกรรมหลักเพียง 2-3 อย่าง ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มหาศาล แต่การจะหา Vital Behavior ให้เจอนั้น ต้องรู้ให้ชัดก่อนว่าผลลัพธ์ที่ต้องการนั้นคืออะไร ตัวอย่าง

  • ตัวอย่าง Influencerท่านที่ 1 ที่ประสบความสำเร็จมากมายจากทั่วโลกและหนึ่งในนั้นคือคนไทย ได้แก่ นพ.วิวัฒน์  โรจนพิทยากร แพทย์ผู้ริเริ่มการรณรงค์ให้คนใช้ถุงยางอนามัยจนลดการระบาดของโรคเอดส์ได้กว่า 88% ในเวลาเพียงไม่กี่ปี ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศแรกของโลกที่แก้ปัญหานี้ได้สำเร็จ จนได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ผู้ทรงอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงโลกในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ในฐานะที่เป็นผู้ที่กำราบความรุนแรงของกามโรค  และลดการระบาดของโรคเอดส์ลงอย่างราบคาบ เพราะพฤติกรรมสำคัญ (Vital Behavior) ของคนที่ทำให้มีการระบาดของกามโรคและเอดส์ในขณะนั้น คือ การไม่สวมถุงยางอนามัย ท่านจึงได้รณรงค์อย่างหนัก แต่รณรงค์ไม่ตรงเป้าเพราะพฤติกรรมหลักไม่ถูกแก้ พฤติกรรมหลัก คือ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย คือต้องหาพฤติกรรมหลักให้เจอ ค่อย ๆ แก้ไขเรื่องนั้นซ้ำ ๆ ไปเวทีไหนก็พูดแต่เรื่องถุงยางอนามัย หาแนวร่วมระดับจังหวัดที่จะผลักดันการใช้ถุงยางอนามัยในสถานบริการดังกล่าว จนหลายจังหวัดเข้าร่วม เสนอให้เป็นนโยบายของชาติให้ผู้หญิงขายบริการ และผู้ชายที่ไปใช้บริการเปลี่ยนพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย นี่คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สำคัญที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงสำคัญเป็นความสำเร็จของประเทศไทย ที่ทั่วโลกยังทึ่ง จนยกให้ท่านเป็น 1 ใน 5 ของโลก
  • ตัวอย่าง Influencerท่านที่ 2 ท่านเล่าถึง  ดร.มิมี่ ซิลเบิร์ท ท่านได้ประยุกทฤษฎีของ ดร.อัลเบิร์ต แบนดูราจนเปลี่ยน พฤติกรรมของนักโทษ อาชญากร และคนติดยา ให้เป็นคนที่มีคุณภาพกว่า 90% เขาทำอย่างไร น่าทึ่งมากค่ะ เพราะเขารับนักโทษเข้าทำงานแล้วสร้างค่านิยมการรายงาน หรือภาษาชาวบ้านว่า “ปากโป้ง” ว่าเป็น”ความรู้ผิดชอบชั่วดี” ดังนั้น ทุก ๆ เช้า จะมีคนปากโป้งมารายงานดร.มิมี่หมดว่าแต่ละคนไปทำชั่วอะไรมาบ้าง เพราะฉะนั้น ทุกคนจะละอายต่อการทำความชั่วขึ้นเรื่อย มากกว่าละอายต่อการรายงาน อาการปากโป้งเพิ่มขึ้น สวนทางกับการทำชั่วลดลง ที่สุดทั้งสองอย่างก็ลดลง จนได้คนคุณภาพ และสังคมคุณภาพคืนมา น่าคิดนะคะ เพราะเรายังให้คุณค่ากับการรายงานน้อย เพราะดร.มิมี่เขาเปลี่ยนมุมมองการรายงานว่าเป็น  ”ความรู้ผิดชอบชั่วดี” หาใช่ “คนปากโป้ง” “คนทำผิด” “คนปากสว่าง” หรืออะไรก็ว่ากันไป นั่นคือแก้ที่พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมผิดชอบชั่วดี ที่แก้ยากนักยากหนาเชียวค่ะในกลุ่มนักโทษ หรือแม้แต่ปุถุชน เช่นเราก็ตามเถอะๆ ล้ำลึกมากค่ะ 

      ดังนั้น พอสรุปได้ว่า ถ้าเราอยากจะประสบความสำเร็จ หรือแก้ปัญหาอะไร ต้องมองหาการกระทำ พฤติกรรมสำคัญของปัญหานั้น ๆ และแก้ให้ตรงจุด จับให้มั่นคั้นให้ตาย ประมาณกัดไม่ปล่อยเหมือนที่หลาย ๆ ท่านชอบพูดกันค่ะ ครั้งหน้าจะมาเล่าถึง Six Sources of Influence ตอนที่ 2 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ( 6 แหล่งพลังที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้สำเร็จ)  วันนี้เกินจะเล่าต่อไหวค่ะ ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ 

หมายเลขบันทึก: 651377เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2018 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2018 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ส่วนใหญ่ที่หมอสำเร็จได้เร็ว เพราะตั้งเป้าหมายชัดเจน แล้วดูเกณฑ์ที่จะต้องทำว่า ทำอะไรบ้างจึงจะเดินถึงเป้าหมายนั้น แล้วเริ่มวางแผนและทำตามเวลาที่กำหนดแพทย์จึงเป็น ศาสตราจารย์ตามเวลาพี่พูดเกี่ยวไหมคะนี่ 555

เกี่ยวค่ะ เราจึงต้องเรียนรู้วิธีคิด จากเขาเหมือนกันค่ะ ขอบพระคุณค่ะพี่แก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท