ชีวิตที่พอเพียง 3252. สู่สังคม ซูเปอร์ สมาร์ท



ในการประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง “Teaching andLearning in Higher Education in the 21st Century”  วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ที่มทส.   Professor Masahiro Inoue,Vice President,  Shibaura Institute ofTechnology, Tokyo บรรยายเรื่อง Teaching and Learningin the 21st Century for Global Sustainability and Innovation     

 ท่านเอ่ยถึง Society 5.0, Super-smart Society (1) ซึ่งเป็นมุมมองของญี่ปุ่น    และ European Smart City Model (2015)(2)   และระบุลักษณะของ EuropeanSmart City 4.0 ว่าประกอบด้วย 7 smart (3)   คือ Smart Economy, Smart Mobility, Smart Governance, SmartEnvironment, Smart Living, Smart People  รวมกันเป็นสมาร์ทที่ ๗ คือ Smart City    แต่ละองค์ประกอบมีองค์ประกอบย่อย ที่คลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้    

ในขณะที่สหรัฐอเมริกาก็มีโมเดล Smart AmericaChallenge (4)  ที่มีความท้าทาย ๘ ปัจจัยตามลิ้งค์ (5)    และอาเซียนก็มี ASEAN Smart CityNetwork (6)   ซึ่งอ่านรายละเอียดได้ที่ (7)

เพื่อพัฒนาสู่ ประเทศไทย ๔.๐  เราสามารถนำแนวคิดเรื่อง smart society / city มาปรับใช้ให้เหมาะสมต่อบริบทของเราได้   โดยน่าจะใช้การพัฒนาโมเดลและประยุกต์ใช้โมเดลในการพัฒนาเมืองแต่ละเมือง ซึ่งอาจจะเป็นระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล   

นี่คือเครื่องมือแสนประเสริฐสำหรับให้มหาวิทยาลัยเข้าไปทำภารกิจหุ้นส่วนสังคม (social engagement)  ต่อยอดจากแนวทาง ABE(Area-Based Education) ของ สกว.  มหาวิทยาลัยที่แสดงจุดยืนเป็นมหาวิทยาลัยรับใช้สังคมหรือมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น น่าจะได้จัดตั้งทีมศึกษาเรื่องนี้    นำมาพัฒนาเป็นเป้าหมายของแต่ละ “เมือง”    โดยที่“ตำบล” ทุกตำบล ก็ถือเป็น เมืองในความหมายนี้ได้    เพราะ “กระบวนการกลายเป็นเมือง”(urbanization) กำลังเกิดขึ้นเป็นแนวโน้มโลก

เราสามารถนำแนวคิดที่หลากหลายของญี่ปุ่น  อียู อเมริกา  อาเซียน และประเทศอื่นๆมาเป็นแนวทางคิดหรือ “ฝัน” ภาพของ สังคม ซูเปอร์สมาร์ท ของเราเอง    โดยที่ต้องมีกระบวนการร่วมกันคิด    ขอย้ำว่า กระบวนการช่วยกันคิด ช่วยกันปฏิบัติเป็นหลักการสำคัญยิ่ง    โดยข้อเตือนใจคือหากคนในพื้นที่ไม่ร่วมกัน “จัดการ”การเปลี่ยนแปลง     ให้มีความสมดุลสอดคล้องกับบริบทของเรา    เราจะถูกแนวโน้มโลกเข้าครอบงำ   หากเราไม่รวมตัวกันเป็นผู้กระทำ เราจะถูกกระทำ

นี่คือเครื่องมือ  สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ๔.๐ ใช้ทำงานเชื่อมโยงหุ้นส่วนสังคม   เพื่อการบรรลุประเทศไทย ๔.๐ ใน ๒๐ปีข้างหน้า       

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ก.ค. ๖๑


หมายเลขบันทึก: 651369เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2018 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2018 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท